ความร่วมมือทางเศรษฐกิจระหว่างประเทศ ม. 5

แอพแชร์โน้ตสรุป Clearnote มีโน้ตสรุปมากกว่า 300,000 เล่ม ทั้งระดับ ม.ต้น ม.ปลาย และมหาวิทยาลัย

ให้โน้ตสรุปจาก Clearnote เป็นตัวช่วยในการเรียน ไม่ว่าจะเตรียมสอบที่โรงเรียน หรือสอบเข้ามหาลัย

และยังสามารถถามคำถามเกี่ยวกับการเรียนได้ที่ Q&A อีกด้วย

เศรษฐกิจระหว่างประเทศ


เศรษฐกิจระหว่างประเทศ

เศรษฐกิจระหว่างประเทศ หมายถึง ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศทางด้านเศรษฐกิจ ซึ่งมีความสัมพันธ์กันอยู่ 3 เรื่อง คือ การค้าระหว่างประเทศ การเงินระหว่างประเทศ และการร่วมมือทางเศรษฐกิจระหว่างประเทศ

การค้าระหว่างประเทศ หมายถึง การนำสินค้าและบริการจากประเทศหนึ่งไปแลกเปลี่ยนกับอีกประเทศหนึ่ง ซึ่งลักษณะการแลกเปลี่ยนมีทั้งที่เป็นการแลกเปลี่ยนสินค้ากับสินค้า การแลกเปลี่ยนโดยใช้เงินเป็นสื่อกลางและการแลกเปลี่ยนโดยใช้สินเชื่อหรือเครดิต การค้าระหว่างประเทศนั้นเกิดขึ้นเนื่องจากการที่ประเทศต่างๆ มีลักษณะทางกายภาพและทรัพยากรที่มีความสามารถในการผลิตแตกต่างกันนั่นเอง ในการค้าระหว่างประเทศนั้นจะมีสินค้าอยู่ 2 ชนิดคือ สินค้าเข้า (Import) คือ สินค้าที่นำมาจากต่างประเทศเพื่อเข้ามาจำหน่าย และสินค้าออก(Export) คือ สินค้าที่ส่งออกไปจำหน่ายต่างประเทศ

การค้าระหว่างประเทศก่อให้เกิดประโยชน์ทางเศรษฐกิจ ดังนี้

  1. ประเทศต่างๆ มีสินค้าครบตามความต้องการ
  2. ประเทศต่างๆ จะมีการผลิตสินค้าแบบการค้าหรือมีเศรษฐกิจแบบการค้า
  3. การผลิตสินค้าในประเทศต่างๆ จะมีการแข่งขันกันทางด้านคุณภาพและประสิทธิภาพ
  4. ก่อให้เกิดความรู้ความชำนาญเฉพาะอย่าง แบ่งงานทำตามความถนัด

นโยบายการค้าระหว่างประเทศ (Trade Policy) หมายถึง แนวทางปฏิบัติทางการค้า กับประเทศต่างๆมักจะกำหนดขึ้นใช้เพื่อรักษาไว้ซึ่งประโยชน์ทางเศรษฐกิจของประเทศ นโยบายการค้าระหว่างประเทศแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ นโยบายการค้าเสรี และนโยบายการค้าคุ้มกัน

  1. นโยบายการค้าเสรี (Free Trade Policy) เป็นนโยบายการค้าที่เปิดโอกาสให้มีการส่งสินค้าจากประเทศหนึ่งไปอีกประเทศหนึ่ง โดยไม่มีการกีดกันใดๆ ทางการค้า ประเทศที่ใช้นโยบายนี้มักจะใช้วิธีการ ดังนี้
  • ไม่มีการเก็บภาษีคุ้มกัน เช่น ไม่มีการตั้งกำแพงภาษีสินค้าขาเข้า หรือไม่มีการเก็บค่าพรีเมียม เป็นต้น
  • ไม่ให้สิทธิพิเศษทางการค้าแก่ประเทศหนึ่งประเทศใด
  • ไม่มีข้อจำกัดทางการค้าใดๆ เช่น ไม่มีการกำหนดโควตาสินค้า เป็นต้น
  • เลือกผลิตเฉพาะสินค้าที่ถนัด ซึ่งทำให้ทุนการผลิตต่ำ สินค้ามีคุณภาพ
  1. นโยบายการค้าคุ้มกัน (Protective Trade Policy) เป็นนโยบายการค้าที่จำกัดการนำสินค้าเข้ามาแข่งขันกับการผลิตในประเทศ นโยบายนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อคุ้มครองการผลิตภายในประเทศให้สามารถดำเนินการได้ ประเทศใดที่ใช้นโยบายนี้มักจะมีเครื่องมือในการคุ้มกัน คือ การตั้งกำแพงภาษี การกำหนดโควตาสินค้า การห้ามนำเข้าหรือส่งออกของสินค้าบางอย่าง การควบคุมการแลกเปลี่ยนเงินตรา และการให้เงินอุดหนุน

ปริมาณการค้าระหว่างประเทศ คือ มูลค่ารวมของสินค้าเข้าและสินค้าออกในระยะเวลา 1 ปี เพื่อศึกษาว่าการค้ากับต่างประเทศเพิ่มขึ้นหรือลดลง

ดุลการค้าระหว่างประเทศ หมายถึง การเปรียบเทียบระหว่างมูลค่าของสินค้าเข้ากับมูลค่าของสินค้าออกเพื่อศึกษาว่าการค้ากับต่างประเทศนั้นได้เปรียบหรือเสียเปรียบดุลการค้า มีอยู่ 3 ลักษณะ ดังนี้

  1. ดุลการค้าเกินดุล คือ มูลค่าของสินค้าออกสูงกว่ามูลค่าของสินค้าเข้า (ได้เปรียบดุลการค้า)
  2. ดุลการค้าขาดดุล คือ มูลค่าของสินค้าออกต่ำกว่ามูลค่าของสินค้าเข้า (เสียเปรียบดุลการค้า)
  3. ดุลการค้าได้ดุล (สมดุล) คือ มูลค่าของสินค้าออกเท่ากับมูลค่าของสินค้าเข้า

ในการศึกษาปริมาณการค้าระหว่างประเทศและดุลการค้าระหว่างประเทศจะต้องศึกษาจากมูลค่าของสินค้าเข้าและมูลค่าของสินค้าออก

ลักษณะการค้าต่างประเทศของไทย

  1. ใช้นโยบายการค้าคุ้มกัน เพื่อคุ้มครองการผลิตในประเทศโดยมีมาตรการที่สำคัญ เช่น การตั้งกำแพงภาษีสินค้าเข้า การกำหนดโควตาสินค้านำเข้า และการให้เงินอุดหนุนการผลิตหรือส่งออก เป็นต้น
  2. ให้เอกชนมีบทบาทในทางการค้ามากที่สุด โดยรัฐจะเป็นผู้อำนวยความสะดวกให้ แต่บางครั้งรัฐบาลก็อาจทำการค้ากับต่างประเทศโดยตรงบ้าง
  3. ใช้ระบบภาษีศุลกากรพิกัดอัตราเดียว คือสินค้าเข้าเป็นชนิดเดียวกันไม่ว่าจะส่งมาจากประเทศใดก็ตามจะเก็บภาษีศุลกากรในอัตราเดียวกัน

รายละเอียดของหนังสือ 

หนังสือ :  ความร่วมมือทางเศรษฐกิจระหว่างประเทศ

ผู้แต่ง :  สุรชัย จันทร์จรัส คณะวิทยาการจัดการ หรือ KKBS ในปัจจุบัน

ครั้งที่พิมพ์/ปีพิมพ์ :  1/2554

ขนาดหนังสือ กxยxส เซนติเมตร :  19x26.5x1.3 เซนติเมตร

>> สั่งซื้อ 3 เล่มขึ้นไป กรุณาเลือกการจัดส่งแบบ EMS

เนื่องจากหนังสือมีความหนาเกินจนไม่สามารถบรรจุใส่ซองเอกสารของ SCG EXPRESS ได้ครับ 

ความร่วมมือทางเศรษฐกิจระหว่างประเทศ ม. 5
ความร่วมมือทางเศรษฐกิจระหว่างประเทศ ม. 5

--------------------------------------------------------------------------------------------------

1. บทนํา 

1.1 ความสําคัญของความร่วมมือทางเศรษฐกิจระหว่างประเทศ

1.2 ขอบเขตของวิชาความร่วมมือทางเศรษฐกิจระหว่างประเทศ 

1.3 เค้าโครงการศึกษา 

2. แนวคิดและทฤษฎีการค้าระหว่างประเทศ 

2.1 บทนํา 

2.2 แนวคิดพาณิชย์นิยมกับการค้าระหว่างประเทศ 

2.3 ทฤษฎีความได้เปรียบเชิงสัมบูรณ์ 

2.4 ทฤษฎีความได้เปรียบเชิงเปรียบเทียบ 

2.5 ผลได้จากการค้าระหว่างประเทศ 

2.6 สรุป 

3. นโยบายการค้าระหว่างประเทศ 

3.1 บทนํา 

3.2 นโยบายการค้าเสรี 

3.3 นโยบายการค้าแบบคุ้มกัน 

3.3.1 นโยบายการค้าแบบคุ้มกันโดยใช้ภาษีศุลกากร 

3.3.2 นโยบายการค้าแบบคุ้มกันโดยจํากัดปริมาณการค้า 

3.3.3 นโยบายการค้าแบบคุ้มกัน โดยการควบคุมทางการเงิน 

3.3.4 นโยบายการค้าแบบคุ้มกันโดยมาตรการอื่น ๆ

3.4 : สรุป 

4. การรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจ 

4.1 บทนํา 

4.2 การเปลี่ยนแปลงของนโยบายการค้าระหว่างประเทศ 

4.3 การรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจในระดับภูมิภาค 

4.4 ความหมายของการรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจ 

4.5 รูปแบบของการรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจ 

4.6 วัตถุประสงค์ของการรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจ 

4.6.1 การสร้างสาขาอุตสาหกรรม 

4.6.2 การเร่งรัดพัฒนาเกษตรกรรม 

4.7 สรุป 

5. ผลกระทบของการรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจ 

5.1 บทนํา 

5.2 การวิเคราะห์ผลกระทบทางด้านการใช้ทรัพยากร 

5.2.1 การวิเคราะห์ผลกระทบทางด้านการผลิต 

5.2.2 การวิเคราะห์ผลกระทบเมื่อคํานึงถึงการบริโภค

 5.3 สรุป 

6. เงื่อนไขความสําเร็จของการรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจ 

6.1 บทนํา 

6.2 ลําดับขั้นของพัฒนาโครงสร้างของการผลิตและปริมาณของทรัพยากร 

6.3 การขนส่งและการคมนาคม 

6.4 อัตราแลกเปลี่ยน 

6.5 การรวมกลุ่มและอธิปไตยทางเศรษฐกิจ 

6.6 นโยบายการลงทุนภายในกลุ่ม 

6.7 มาตรการทางด้านการชดเชย 

6.8 สรุป 

7. องค์การการค้าโลก 

7.1 บทนํา 

7.2 สภาพการค้าโลกที่นําไปสู่ข้อตกลงทั่วไปว่าด้วยภาษีศุลกากรและการ 

7.3 ข้อตกลงทั่วไปว่าด้วยภาษีศุลกากรและการค้าในฐานะกฏเกณฑ์ 

การค้าโลก (2491-2537) 

7.4 หลักการสําคัญที่ทําให้ข้อตกลงทั่วไปว่าด้วยภาษีศุลกากรและการค้าเป็น 

กฎเกณฑ์การค้าโลก 

7.5 ข้อด้อยของข้อตกลงทั่วไปว่าด้วยภาษีศุลกากรและการค้า 

7.6 องค์การการค้าโลกและการบริหารกฏเกณฑ์การค้าโลก 

7.7 โครงสร้างองค์การการค้าโลก 

7.8 การทําหน้าที่ขององค์การการค้าโลก 

7.9 สรุป 

8. สหภาพยุโรป 

8.1 บทนํา 

8.2 ก่อนที่จะเป็นสหภาพยุโรป 

8.2.1 ประชาคมถ่านหินและเหล็กกล้ายุโรป 

8.2.2 ประชาคมเศรษฐกิจยุโรป 

8.2.3 ประชาคมพลังงานปรมาณูยุโรป 

8.2.4 ประชาคมยุโรป 

8.2.5 สนธิสัญญามาสทริชท์ 

8.2.6 สหภาพเศรษฐกิจและการเงินแห่งยุโรป 

8.3 ขนาดเศรษฐกิจของสหภาพยุโรป 

8.4 โครงสร้างของสหภาพยุโรป 

8.5 สหภาพยุโรปในประชาคมโลก 

8.6 ผลกระทบทางเศรษฐกิจต่อไทย 

8.7 สรุป 

9. เขตการค้าเสรีอาเซียน 

9.1 บทนํา 

9.2 สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ 

9.2.1 โครงสร้างของอาเซียน

9.2.2 กลไกบริหารของอาเซียน

9.2.3 ความร่วมมือในอาเซียน 

9.3 ความสําเร็จครั้งสําคัญของอาเซียน 

9.4 กลไกการดําเนินงานของเขตการค้าเสรีอาเซียน 

9.4.1 มาตรการด้านภาษี 

9.4.2 การยกเลิกมาตรการที่มิใช่ภาษี 

9.4.3 การเข้าเป็นภาคีข้อตกลงเขตการค้าเสรีอาเซียนของประเทศสมาชิก 

ใหม่อาเซียน 

9.5 ความคืบหน้าในการดําเนินการของเขตการค้าเสรีอาเซียน 

9.6 ผลกระทบต่อเศรษฐกิจของไทย 

9.7 สรุป 

10. ข้อตกลงการค้าเสรีอเมริกาเหนือ 

10.1 บทนํา 

10.2 ความเป็นมา 

10.3 ขนาดเศรษฐกิจของข้อตกลงการค้าเสรีอเมริกาเหนือ 

10.4 ผลกระทบของข้อตกลงการค้าเสรีอเมริกาเหนือ 

10.4.1 ผลกระทบต่อประเทศข้อตกลง 

10.4.2 ผลกระทบต่อการค้าโลกโดยส่วนรวม 

10.4.3 ผลกระทบทางด้านการลงทุน

10.5 ท่าทีและความคิดเห็นของแต่ละประเทศ 

10.5.1 สหรัฐ 

10.5.2 แคนาดา 

10.5.3 เม็กซิโก 

10.6 การค้าระหว่างไทยกับกลุ่มประเทศข้อตกลงการค้าเสรีอเมริกา 

10.7 ข้อตกลงการค้าเสรีอเมริกาเหนือกับผลกระทบต่อไทย

10.7.1 ภาคการค้าระหว่างประเทศ 

10.7.2 การลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ 

10.8 สรุป 

11. ความร่วมมือทางเศรษฐกิจในเอเชีย-แปซิฟิก 

11.1 บทนํา 

11.2 หลักการสําคัญของความร่วมมือทางเศรษฐกิจในเอเชีย-แปซิฟิก 

11.3 เป้าหมายของความร่วมมือทางเศรษฐกิจในเอเชีย-แปซิฟิก 

11.4 โครงสร้างองค์การของความร่วมมือทางเศรษฐกิจในเอเชีย-แปซิฟิก 

11.5 การค้าภายในภูมิภาคความร่วมมือทางเศรษฐกิจในเอเชีย-แปซิฟิก 

11.6 การค้าระหว่างไทยกับความร่วมมือทางเศรษฐกิจในเอเชีย-แปซิฟิก 

11.7 บทบาทของไทยในความร่วมมือทางเศรษฐกิจในเอเชีย-แปซิฟิก 

11.8 ยุทธศาสตร์ไทยในความร่วมมือทางเศรษฐกิจในเอเชีย-แปซิฟิก 

11.9 ผลประโยชน์ที่ไทยได้รับจากความร่วมมือทางเศรษฐกิจในเอเชีย-แปซิฟิก 

11.10 สรุป

12. การประชุมเอเชีย-ยุโรป 

12.1 บทนํา 

12.2 กลไกการดําเนินงาน 

12.3 โครงสร้างการประชุมเอเชีย-ยุโรป 

12.3.1 ความร่วมมือด้านการเมือง 

12.3.2 ความร่วมมือด้านเศรษฐกิจ 

12.3.3 ความร่วมมือด้านสังคม วัฒนธรรม และอื่น ๆ 

12.4 โอกาส อุปสรรค และสิ่งที่ไทยคาดหวังจากการประชุมเอเชีย-ยุโรป 

12.5 เป้าหมายของไทยในการประชุมเอเชีย-ยุโรป 

12.6 การประชุมระดับผู้นําเอเชีย-ยุโรป 

12.7 สรุป 

13. ความร่วมมือทางเศรษฐกิจในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ําโขง 

13.1 บทนํา 

13.2 ความเป็นมา 

13.3 กลไกการทํางานของความร่วมมือทางเศรษฐกิจในอนุภูมิภาคลุ่มแม่บ้าน 

13.3.1 กลยุทธ์การพัฒนา 

13.3.2 กรอบแผนยุทธศาสตร์ 

13.3.3 การดําเนินการของไทย 

13.4 ความคืบหน้าการดําเนินงานความร่วมมือทางเศรษฐกิจในอนุภูมิภาค 

ลุ่มแม่น้ําโขงที่สําคัญ 

13.5 โอกาสทางการค้าของไทย 

13.6 สรุป 

14. องค์การประเทศผู้ส่งน้ํามันเป็นสินค้าออก 

14.1 บทนํา 

14.2 ประวัติการก่อตั้ง 

14.3 การแข่งขันแย่งชิงน้ํามันโลกจากอดีตถึงปัจจุบัน 

14.4 ความสําคัญของน้ํามัน 

14.5 องค์การประเทศผู้ส่งน้ํามันเป็นสินค้าออกกับการผลิตน้ํามัน 

14.6 ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศไทยกับองค์การประเทศผู้ส่งน้ํามัน 

เป็นสินค้าออก 

14.7 แนวโน้มสถานการณ์น้ํามันโลก: ผลกระทบและแนวทางแก้ไข 

14.8 สรุป