การสถาปนาอาณาจักรสุโขทัยเกิดขึ้นจากสาเหตุและปัจจัยอะไรบ้าง

ใบงานที่ 4.1 การสถาปนาอาณาจักรสุโขทัย

การสถาปนาอาณาจักรสุโขทัยเกิดขึ้นจากสาเหตุและปัจจัยอะไรบ้าง

คำชี้แจง   ให้นักเรียนตอบคำถามต่อไปนี้

    1.  สภาพการณ์ของเมืองสุโขทัยก่อนการสถาปนาอาณาจักรสุโขทัยเป็นอย่างไรบ้าง

           สุโขทัยแต่เดิมเป็นชุมชนเมืองที่น่าจะมีความสัมพันธ์กับชุมชนชาวมอญ ชาวขอม ชาวละว้าหรือลั้ว ลาว รวมถึงชาวไตหรือชาวไทย ดังพบหลักฐานทางโบราณคดี เช่น พระปรางค์วัดพระพายหลวง  เป็นพระปรางค์ที่ได้รับอิทธิพลมาจากขอม ต่อมาได้พัฒนาจนเป็นชุมชนขนาดใหญ่ มีการปกครองที่มั่นคง และสถาปนาเป็นอาณาจักรในที่สุด                                              

     2.  ปัจจัยภายในปัจจัยใดบ้างที่นำไปสู่การสถาปนาอาณาจักรสุโขทัย

     1) การขยายตัวของชุมชนสุโขทัยมีคนหลายกลุ่มอพยพเข้ามาตั้งถิ่นฐานจนเกิดการผสมผสานทางวัฒนธรรม และขยายตัวขึ้นเรื่อยๆ และมีผู้นำ ทำให้ชุมชนมีความเข้มแข็ง                                                                                     

2) ทำเลที่ตั้งเหมาะสมอยู่ใกล้แม่น้ำ ทำให้สามารถค้าขายกับแคว้นต่างๆ ได้อย่างสะดวก ทำให้มีพื้นฐานทางเศรษฐกิจดี      

3) มีผู้นำที่เข้มแข็ง มีความพร้อมในทุกๆ ด้าน และเป็นที่ยอมรับของผู้คนในชุมชน                                                         

     3.  ปัจจัยภายนอกปัจจัยใดบ้างที่เอื้อต่อการสถาปนาอาณาจักรสุโขทัย

         1) กษัตริย์ขอมสิ้นพระชนม์ ทำให้อาณาจักรขอมเสื่อมอำนาจ สุโขทัยจึงมีความปลอดภัยมากยิ่งขึ้น 

            2) คนไทยในแคว้นอื่นๆ ที่เคยตั้งตัวเป็นอิสระยอมรับอำนาจของแคว้นสุโขทัย  

     4.  ปัจจัยใดบ้างที่มีอิทธิพลต่อพัฒนาการด้านต่างๆ ในสมัยสุโขทัย

           1)   ปัจจัยด้านภูมิศาสตร์และสิ่งแวดล้อม

                            (1) สภาพภูมิประเทศ สุโขทัยตั้งอยู่บนที่ราบลุ่ม มีแม่น้ำ  ปิง  วัง  ยม  และน่านไหลผ่าน เหมาะแก่การเกษตร  และการค้า

                            (2) ภูมิอากาศ สุโขทัยมีเทือกเขาถนนธงชัย เทือกเขาตะนาวศรี และเทือกเขาเพชรบูรณ์ขนานกัน ทำให้อากาศไม่ร้อน และมีมรสุมพัดผ่าน จึงมีฝนตกชุกในฤดูมรสุม 

                            (3) สุโขทัยมีทรัพยากรธรรมชาติอุดมสมบูรณ์ เอื้อต่อการดำรงชีวิตของผู้คนในชุมชน

                            (4) การคมนาคมสะดวก โดยเฉพาะทางน้ำ

2)   ปัจจัยด้านอารยธรรม   สุโขทัยรับความเจริญจากภายนอกมาผสมผสานกับวัฒนธรรมเดิมของไทย โดยมี  พระพุทธศาสนาเป็นหลักยึดเหนี่ยวจิตใจ และสร้างสรรค์ศิลปวัฒนธรรมและภูมิปัญญา

     5.  การสถาปนาอาณาจักรสุโขทัยส่งผลต่ออาณาจักรไทยในสมัยต่อมาอย่างไรบ้าง

            การสถาปนาอาณาจักรสุโขทัยเป็นราชธานี ทำให้เกิดการสร้างสรรค์ความเจริญในด้านต่างๆ ทั้งด้านการเมือง           การปกครอง เศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม จนเป็นอาณาจักรที่มีความเจริญรุ่งเรือง และเป็นพื้นฐานในการพัฒนาของ คนไทยในสมัยต่อมา ซึ่งวัฒนธรรมบางส่วนของสุโขทัยก็ยังคงมีอิทธิพลจนถึงปัจจุบันด้วย 

1.ปัจจัยที่เอื้อต่อการสถาปนาอาณาจักรสุโขทัย มี 2 ด้าน คือ 1. ปัจจัยภายใน ได้แก่ ๏ มีผู้นำที่เข้มแข็ง ในสมัยนั้นผู้นำคนไทยที่กล้าหาญมีสติปัญญาเฉียบแหลมและรอบคอบ 2 คน ซึ่งเป็นสหายกัน ได้แก่ พ่อขุนผาเมือง เจ้าเมืองราด และพ่อขุนบางกลางหาว เจ้าเมืองบางยาง ได้ร่วมกันรวบรวมคนไทย และกำลังเข้าต่อสู้กับขอมจนสามารถขับไล่ขอมไปได้


2.พ่อปกครองลูก สมบูรณาญาสิทธิราชย์ เป็นอำนาจเบ็ดเสร็จ

3.ปัจจัยที่เอื้อต่อการสถาปนาอาณาจักรสุโขทัย มี 2 ด้าน คือ 1. ปัจจัยภายใน ได้แก่ ๏ มีผู้นำที่เข้มแข็ง ในสมัยนั้นผู้นำคนไทยที่กล้าหาญมีสติปัญญาเฉียบแหลมและรอบคอบ 2 คน ซึ่งเป็นสหายกัน ได้แก่ พ่อขุนผาเมือง เจ้าเมืองราด และพ่อขุนบางกลางหาว เจ้าเมืองบางยาง ได้ร่วมกันรวบรวมคนไทย และกำลังเข้าต่อสู้กับขอมจนสามารถขับไล่ขอมไปได้

3.สังคมสมัยสุโขทัย กลุ่มคนในสังคมสุโขทัยแบ่งเป็นชนชั้น แต่ละชนชั้น แบ่งออกเป็น 6 กลุ่ม ประกอบด้วย 1. ชนชั้นปกครอง ได้แก่ กษัตริย์ ราชวงศ์ชั้นสูง ขุนนาง 2. ชนชั้นใต้ปกครอง ได้แก่ ไพร่ ข้า 3. ชนชั้นนักบวชในศาสนา ได้แก่ พระสงฆ์

.  ชนชั้นปกครอง ประกอบด้วย กษัตริย์หรือเจ้านาย มีอำนาจสูงสุดในอาณาจักรสุโขทัย เป็น ผู้บำบัดทุกข์บำรุงสุขของประชาชน สร้างความเป็นปึกแผ่นในอาณาจักร ตลอด จนการดำรงชีวิต และการทำมาหากินของประชาชน เป็นผู้นำกองทัพส่งเสริม ทะนุบำรุงพระพุทธศาสนา ราชวงศ์ชั้นสูง มีเชื้อสายเดียวกับพระมหากษัตริย์และเป็นชนชั้นที่ พระมหากษัตริย์ทรงไว้วางใจ และมีความใกล้ชิดพระองค์ โดยกษัตริย์จะส่งไป ปกครอง หัวเมืองต่างๆที่สำคัญ ขุนนางหรือข้าราชการ มีหน้าที่ดูแลบ้านเมือง ปกครองประชาชน ตามพระบรมราชโองการของกษัตริย์ โดยพระมหากษัตริย์ทรงโปรดให ้ขุนนาง ข้าราชการ มีส่วนร่วมในการปกครองแต่ไม่มีอำนาจใดๆ ต้องรับนโยบาย ปกครอง และการตัดสินพระทัยจากพระมหากษัตริย์ 2.  ชนชั้นใต้ปกครอง ประกอบด้วย ไพร่ คือราษฎรสามัญชนธรรมดา มีอิสระในการดำรงชีวิต อยู่ภายใต้ การควบคุมของขุนนาง ตามพระราชโองการของพระมหากษัตริย์ จะถูกขุนนาง เกณฑ์แรงงานไปรับใช้แก่ราชการเป็นครั้งคราว เช่น การเกษตรกรรม การก่อสร้าง และการชลประทาน นอกจากนั้นไพร่ในสุโขทัยได้รับสิทธิ หลายด้านได้แก่ สิทธิในการประกอบอาชีพ ทรัพย์สิน การรับมรดก จากหลักศิลาจารึกหลักที่ 1 เรียกชนชั้นนี้ว่า ลูกบ้านลูกเมือง ข้า พวกข้ามิใช่พวกทาส ข้าในสมัยสุโขทัยเป็นผู้ติดตาม คอยรับใช้ชนชั้นปกครอง มีอิสระในการดำรงชีวิตของตนเองอยู่บ้าง 3.  ชนชั้นนักบวชในศาสนา พระสงฆ์ เป็นผู้สืบทอด เผยแผ่พระพุทธศาสนา สั่งสอนประชาชน ให้ความศรัทธาต่อพระสงฆ์ ตลอดจนเป็นผู้เชื่อมโยงให้ชนชั้นปกครอง และชนชั้นใต้ปกครองอยู่ด้วยกัน อย่างมีความสุข

4.เมื่อเริ่มตั้งอาณาจักรสุโขทัยนั้น  กล่าวได้ว่าเมืองสุโขทัยอยู่ท่ามกลางอาณาจักรหรือหัวเมืองที่เป็นของชนชาติไทยกลุ่มอื่นหรือชนชาติอื่นซึ่งต่างเป็นอิสระมี่อำนาจมากบ้างน้อยบ้าง  คือ                   ทางตะวันออก  มีอาณาจักรขอม  และเมืองขึ้นของขอม                   ทางใต้    มีพวกขอมเข้ามาตั้งราชธานีเป็นเมืองมหาอุปราชที่เมืองละโว้    และมีแคว้นของชนชาติไทยอีกหลายแคว้น  เช่น  แคว้นสุพรรณภุมิ (สุพรรณบุรี)   และแคว้นนครศรีธรรมราช                  ทางตะวันตก    มีคนไทยตั้งถิ่นฐานเป็นอิสระอยู่หลายเมือง  เช่น  เมืองฉอด  ซึ่งมีอำนาจเข้มแข็งอยู่กอนสุโขทัย  ถัดออกไปเป็นเมืองของชาติมอญ                   ทางเหนือ    มีเมืองในอาณาจักรล้านนา                     สภาพแวดล้อมตามที่กล่าวข้างต้นทำให้เห็นว่า  อาณาจักรสุโขทัยจำเป็นต้องมีนโยบายสร้างความสัมพันธ์กับอาณาจักรหรือเมืองต่างๆ ให้เหมาะสมกับสถานการณ์

5.สรุปได้ว่า การที่อาณาจักรสุโขทัยเสื่อมอำนาจอย่างรวดเร็ว มีสาเหตุมาจากจุดอ่อน ในรูปแบบการปกครองที่มีโครงสร้างแบบกระจายอำนาจ วิธีการควบคุมกำลังคนไม่กระชับรัดกุม ทำเลอาณาจักรไม่เหมาะสม เศรษฐกิจไม่มั่งคั่ง ตลอดจนการเป็นรัฐกันชนระหว่างอาณาจักรล้านนาและกรุงศรีอยุธยา จึงทำให้อาณาจักรสุโขทัยสิ้นสุดลง