กระบวนการพัฒนานวัตกรรม 7 ขั้นตอน ทิศนา

การพัฒนานวัตกรรมการศึกษา (Educational Innovation) หมายถึง การกระทำใหม่ การสร้างใหม่ หรือการพัฒนาดัดแปลงจากสิ่งใดๆ แล้วทำให้การศึกษาหรือการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนมีประสิทธิภาพดีขึ้นกว่าเดิม ทำให้ผู้เรียนเกิดการเรียนเปลี่ยนแปลงในการเรียนรู้ เกิดการเรียนรู้อย่างรวดเร็ว มีแรงจูงใจในการเรียน ทำให้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูงสุดกับผู้เรียน

ทิศนา แขมมณี (2548 : 423) ได้ให้หลักการพัฒนานวัตกรรมทางการศึกษาไว้พอสรุปได้ดังนี้

  1. การระบุปัญหา (Problem)ความคิดในการพัฒนานวัตกรรมนั้น ส่วนใหญ่จะเริ่มจากการมองเห็นปัญหา และต้องการแก้ไขปัญหานั้นให้ประสบความสำเร็จอย่างมีคุณภาพ
  2. การกำหนดจุดมุ่งหมาย (Objective)เมื่อกำหนดปัญหาแล้วก็กำหนดจุดมุ่งหมายเพื่อจัดทำหรือพัฒนานวัตกรรมให้มีคุณสมบัติ หรือลักษณะตรงตามจุดมุ่งหมายที่กำหนดไว้
  3. การศึกษาข้อจำกัดต่างๆ (Constraints)ผู้พัฒนานวัตกรรมทางด้านการเรียนการสอนต้องศึกษาข้อมูลของปัญหาและข้อจำกัดที่จะใช้นวัตกรรมนั้น เพื่อประโยชน์ในการนำไปใช้ได้จริง
  4. การประดิษฐ์คิดค้นนวัตกรรม (Innovation)ผู้จัดทำหรือพัฒนานวัตกรรมจะต้องมีความรู้ ประสบการณ์ ความริเริ่มสร้างสรรค์ ซึ่งอาจนำของเก่ามาปรับปรุง ดัดแปลง เพื่อใช้ในการแก้ปัญหาและทำให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น หรืออาจคิดค้นขึ้นมาใหม่ทั้งหมด นวัตกรรมทางการศึกษามีรูปแบบแตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับลักษณะปัญหาหรือวัตถุประสงค์ของนวัตกรรมนั้น เช่นอาจมีลักษณะเป็นแนวคิด หลักการ แนวทาง ระบบ รูปแบบ วิธีการ กระบวนการ เทคนิค หรือสิ่งประดิษฐ์ และเทคโนโลยี เป็นต้น
  5. การทดลองใช้ (Experimentation)เมื่อคิดค้นหรือประดิษฐ์นวัตกรรมทางการศึกษาแล้ว ต้องทดลองนวัตกรรม ซึ่งเป็นสิ่งจำเป็นเพื่อเป็นการประเมินผลและปรับปรุงแก้ไขผลการทดลองจะทำให้ได้ข้อมูลนำมาใช้ในการปรับปรุงและพัฒนานวัตกรรมต่อไป ถ้าหากมีการทดลองใช้นวัตกรรมหลายครั้งก็ย่อมมีความมั่นใจในประสิทธิภาพของนวัตกรรมนั้น
  6. การเผยแพร่ (Dissemination)เมื่อมั่นใจนวัตกรรมที่สร้างขึ้นมีประสิทธิภาพแล้วก็สามารถนำไปเผยแพร่ให้เป็นที่รู้จัก

นคร ละลอกน้ำ (สัมภาษณ์) กล่าวว่า การพัฒนานวัตกรรมทางการศึกษาเริ่มต้นจากปัญหาที่พบในการสอนจึงรวบรวมปัญหาและสร้างนวัตกรรมขึ้นเพื่อนำไปพัฒนาระบบการสอนใหม่และทดลองใช้นวัตกรรมนำไปปรับปรุงและพัฒนาจนสามารถแก้ไขปัญหาที่พบได้จริง

กล่าวโดยสรุปขั้นตอนการพัฒนานวัตกรรมคือ เริ่มต้นด้วยการสร้างหรือการพัฒนา ซึ่งหมายถึงการยกร่างนวัตกรรมขึ้นมาใหม่ หรือการพัฒนาวัตกรรมที่มีอยู่แล้วให้ดีขึ้น จากนั้นสู่ขั้นตอนการนำนวัตกรรมไปใช้หมายถึง การนำนวัตกรรมไปใช้กับกลุ่มเป้าหมาย เพื่อรับรองผลว่ามีผลการใช้อยู่ในระดับดี โดยยืนยันจากผลการทดสอบ และในขั้นตอนสุดท้ายคือ การประเมินผลการใช้นวัตกรรม หมายถึงการสอบถามความคิดเห็น หรือความพึงพอใจที่มีต่อนวัตกรรมนั้นๆ ว่าดีมีประโยชน์ มีคุณค่า สามารถนำไปใช้ได้เป็นอย่างดี โดยยืนยันจากเครื่องมือการวัดและประเมินผลนวัตกรรมนั้น

การเผยแพร่ หมายถึง กระบวนการที่ทำให้นวัตกรรมได้รับการยอมรับและถูกนำไปใช้โดยสมาชิกของชุมชน เป้าหมาย ฉะนั้นการเผยแพร่จึงเป็นกระบวนการซึ่งนวัตกรรม (Innovation) จะถูกนำไปถ่ายทอดผ่านช่องทางของการสื่อสาร (Communication Channels) ในช่วงเวลาหนึ่ง (Time) กับสมาชิกที่อยู่ในระบบสังคมหนึ่ง (Social System) ให้เกิดการยอมรับ (Adoption) เมื่อนวัตกรรมได้รับการยอมรับนำไปใช้จนเป็นปกติวิสัยแล้วไม่มีความรู้สึกว่าเป็นของใหม่อีกต่อไป นวัตกรรมนั้นจะกลายเป็นเทคโนโลยีซึ่งอาจจะอยู่ในรูปแบบของอุปกรณ์ (Hardware) วัสดุ (Software) และเทคนิควิธี (Techniques)

การแพร่กระจายนวัตกรรม มีองค์ประกอบดังนี้

  1. นวัตกรรมเกิดขึ้น (Innovation)
  2. สื่อเป็นช่องทางในการส่งผ่านนวัตกรรมนั้น (Communication channels)
  3. ช่วงระยะเวลาที่เกิดแพร่กระจาย (Time) ผ่านไปยังสมาชิกในระบบสังคมหนึ่ง (Social System)

ทฤษฎีการเผยแพร่หรือการใช้นวัตกรรม

  1. ทฤษฎีกระบวนการตัดสินใจรับนวัตกรรม(The Innovation Decision Process Theory)

1.1 ขั้นของความรู้ (Knowledge)

1.2 ขั้นของการถูกชักนำ (Persuasion)

1.3 ขั้นของการตัดสินใจ (Decision)

1.4 ขั้นของการนำไปสู่การปฏิบัติ (Implementation)

1.5 ขั้นของการยืนยันการยอมรับ (Confirmation)

  1. ทฤษฎีความเป็นนวัตกรรมในเอกัตบุคคล(The individual innovativeness theory)

2.1 กลุ่มไวต่อการรับนวัตกรรม (Innovators)

2.2 กลุ่มแรกๆที่รับนวัตกรรม (Early adopters)

2.3 กลุ่มใหญ่แรกที่รับนวัตกรรม (Early maicoity)

2.4 กลุ่มใหญ่ที่หลังรับนวัตกรรม (Late majority)

2.5 กลุ่มสุดท้ายที่รับนวัตกรรม (Laggards)

  1. ทฤษฏีอัตราการยอมรับ(The theory of rate of adoption) rogers ได้อธิบายทฤษฎีนี้ไว้ว่า เป็นการเผยแพร่นวัตกรรมในช่วงเวลาอย่างเป็นแบบแผน เขียนกราฟเป็นรูปตัว S
  2. ทฤษฎีการยอมรับด้วยคุณสมบัติ(The theory of perceibutes) rogers (1995) ได้ขยายความทฤษฎีนี้ไว้ว่า กลุ่มผู้มีศักยภาพในการยอมรับนวัตกรรม ตัดสินใจรับโดยใช้ฐานของการรับรู้รับทราบถึงคุณสมบัติของนวัตกรรม ซึ่งมีอยู่ด้วยกัน 5 ประการ ได้แก่

4.1 นวัตกรรมนั้นสามารถทดลองใช้ได้ก่อนการจะยอมรับ (Trilability)

4.2 นวัตกรรมนั้นสามารถสังเกตผลที่เกิดขึ้นได้อย่างชัดเจน (Obscervability )

4.3 นวัตกรรมนั้นมีข้อดีกว่าหรือเห็นประโยชน์ได้ชัดเจนกว่าสิ่งอื่น ๆ มีอยู่ในขณะนั้นหรือสิ่งที่มีลักษณะใกล้เคียงกัน (Relative Advantage)

4.4 ไม่มีความซับซ้อนง่ายต่อการนำไปใช้ (Complexity)

4.5 สอดคล้องกับการปฏิบัติและค่านิยมที่เป็นอยู่ในขณะนั้น (Compatibility)

ความหมายของรายงาน

ได้มีผู้ให้ความหมายของคำว่ารายงาน “รายงาน” ไว้หลายความหมายด้วยกัน เช่น วาณี ฐาปนวงศ์ศานติ (2539 : 98) กล่าวว่ารายงาน หมายถึง กิจกรรมในการศึกษาที่นับเป็นการประเมินผล การศึกษาส่วนหนึ่ง มีหลาบแบบเช่น การทดลอง การสำรวจ หรือวิธีการอื่นๆ ที่ผู้สอนจะกำหนดให้นักศึกษาทำ อาจเป็นรายงานบุคคล หรือกลุ่ม ทั้งนี้แล้วแต่ลักษณะวิชา และผลของรายงานจะต้องเขียนตามแบบที่สถาบันนั้นกำหนด

บุปผา สุดสวัสดิ์ (2524 : 64) กล่าวว่า รายงานหมายถึง การศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับเรื่องใดเรื่องหนึ่ง เพื่อให้ได้ข้อมูลที่ถูกต้อง แล้วนำข้อมูลนั้นมาเรียบเรียงขึ้นใหม่ อย่างมีระเบียบแบบแผน มีเนื้อหาต่อเนื่อง และสมบูรณ์ ถือเป็นส่วนหนึ่งของการประเมิลผลด้วย

จากคำจำกัดความ หรือความหมายดังกล่าว สรุปได้ว่า รายงาน หมายถึงเรื่องราวที่ได้ศึกษาค้นคว้าหาข้อมูลเกี่ยวกับเรื่องใดเรืองหนึ่งอย่างถูกต้อง สมบูรณ์ แล้วนำข้อมูลนั้นมาเรียบเรียงขึ้นใหม่อย่างมีระเบียบแบบแผน จากนั้นจึงเขียนหรือพิมพ์ขึ้นตามแบบแผนที่นิยมเป็นสากล

วัตถุประสงค์ของการรายงาน

การทำรายงานมีวัตถุประสงค์ให้ผู้เรียนรู้มีความสามารถ และทักษะด้านต่างๆ ดังนี้

  1. เพื่อให้รู้จักวิธีการค้นคว้าหาความรู้ด้วยตัวเอง มีโอกาสศึกษาค้นคว้าวิชาต่างๆ ที่ตนสนใจอย่างกว้างขวางและลึกซึ้ง
  2. เพื่อฝึกทักษะด้านการอ่านและสร้างนิสัยรักการอ่านและการค้นคว้า สามารถสรุปความหรือจับใจความของเรื่องที่อ่านได้
  3. เพื่อส่งเสริมให้มีความคิดริเริ่ม รู้จักคิดอย่างมีระเบียบ มีเหตุผล และสามารถรวบรวมความรู้ ความคิด นำมาเรียบเรียงให้เป็นระเบียบได้
  4. เพื่อให้สามารถวิเคราะห์เรื่องราวต่างๆ ได้ โดยรู้จักใช้วิจารณญาณของตนเอง ตลอดจนสามารถแสดงความคิดเห็นอย่างมีเหตุผลโดยมีหลักฐานอ้างอิง
  5. เพื่อฝึกทักษะด้านการเขียน สามารถเรียบเรียงข้อมูลที่ได้มาให้เป็นเรื่องราวอย่างมีระเบียบด้วยสำนวนภาษาที่ถูกต้อง
  6. เพื่อเป็นส่วนหนึ่งในการประเมินผลว่ามีความรู้ความเข้าใจในปัญหาที่ได้ศึกษามามากน้อยเพียงใด

ประเภทของรายงาน

รายงานแบ่งออกเป็น 3 ประเภทใหญ่ๆ คือ

  1. รายงานทั่วไป เป็นรายงานที่เสนอข้อเท็จจริง หรือข้อคิดเห็นของบุคคลเกี่ยวกับข่าว เหตุการณ์ต่างๆ ให้ผู้อ่านได้ทราบความเคลื่อนไหวของบุคคลสำคัญ หรือสถานการณ์อย่างใดอย่างหนึ่งซึ่งดำเนินไปแล้ว หรือกำลังดำเนินอยู่ หรือที่จะดำเนินต่อไป รายงานประเภทนี้ได้แก่

1.1 รายงานเสนอผลงาน เป็นรายงานผลการปฏิบัติงานต่อผู้บังคับบัญชา หรือผู้ที่เกี่ยวข้องให้ทราบ

1.2 รายงานเหตุการณ์ เป็นรายงานที่บอกให้ทราบเรื่องราวต่างๆ ทุกระยะ ถ้ามีเหตุการณ์ใดเกิดขึ้นจะได้แก้ไขได้ทันท่วงที

  1. รายงานทางวิชาการ เป็นรายงานที่ได้จากการศึกษาค้นคว้าวิจัยอย่างมีระเบียบและเป็นระบบ มีลักษณะเป็นวิทยาศาสตร์ สามารถพิสูจน์ได้ เนื้อหาของรายงานมุ่งเสนอผลที่ได้จากการศึกษาโดยไม่มีการต่อเติมให้ผิดไปจากข้อเท็จจริง รายงานทางวิชาการแบ่งออกเป็น 3 ประเภท ได้แก่

2.1 รายงาน (Report) เป็นกิจกรรมประกอบการเรียนเรื่องใดเรื่องหนึ่งซึ่งผู้สอนกำหนดให้มีรายงานเพื่อใช้ในการประเมินผลการเรียน หรือผู้เรียนเลือกศึกษาเองตามความสนใจ รายงานอาจทำเป็นรายบุคคลหรือกลุ่มก็ได้ เป็นรายงานผลการทดลอง รายงานการสังเกต เป็นต้น

2.2 ภาคนิพนธ์ หรือรายงานประจำภาค (Term Paper) มีลักษณะเช่นเดียวกับรายงาน เพียงแต่เรื่องที่ใช้ทำภาคนิพนธ์จะมีขอบเขตกว้างขวางและลึกซึ้งกว่าเรื่องที่รายงาน ใช้เวลาในการค้นคว้ามากกว่า ความยาวของเนื้อหาสาระมากกว่า

2.3 วิทยานิพนธ์ หรือปริญญานิพนธ์ (Thesis or Dissertation) เป็นรายงานที่เรียบเรียงจากการศึกษาค้นคว้า วิจัย ข้อเท็จจริงอย่างละเอียดลึกซึ้งรอบคอบตามลำดับขั้นตอนของการทำวิจัยอย่างมีระเบียบแบบแผน ประกอบด้วยข้อเท็จจริง และข้อเสนอแนะ วิทยานิพนธ์เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรปริญญามหาบัณฑิต และปริญญาดุษฎีบัณฑิต

  1. รายงานทางด้านธุรกิจ

หลักการเขียนรายงาน

ลักษณะของรายงานที่ดี รายงานที่ดีควรมีลักษณะที่ดีดังนี้

  1. แสดงให้เห็นว่าผู้เขียนได้ศึกษาค้นคว้าอย่างจริงจัง กว้างขวาง และมีเนื้อเรื่องครบถ้วนตามหัวข้อที่กำหนด
  2. มีความถูกต้องเที่ยงตรง และแม่นยำ
  3. ต้องมีลักษณะอย่างใดอย่างหนึ่ง หรือหลายอย่างรวมกัน
  4. ผู้เขียนแสดงให้เห็นถึงความสำคัญของเรื่องที่กำลังศึกษาอยู่
  5. แสดงว่าผู้เขียนมีความเข้าใจแจ่มแจ้งในเรื่องที่เขียน อาจจะเป็นแนวทางสำหรับการศึกษาค้นคว้าเรื่องนั้นให้กว้างขวางและลึกซึ้งต่อไป
  6. มีแนวทางที่แก้ไขปัญหาที่กำลังศึกษาอยู่
  7. จัดเรียงลำดับของเนื้อหาอย่างต่อเนื่อง มีความสัมพันธ์กันเป็นอย่างดี เมื่อกล่าวถึงสิ่งใดก็มีหลักฐานอ้างอิงอย่างเพียงพอ สมเหตุสมผล ตลอดจนมีความสามารถในการกลั่นกรองและสรุปความรู้ความคิดได้จากแหล่งต่างๆ
  8. แสดงให้เห็นว่าผู้เขียนมีความคิดสร้างสรรค์เป็นของตนเอง
  9. แสดงหลักฐานที่มาอย่างถูกต้องและละเอียดถี่ถ้วน
  10. ใช้ภาษาได้ถูกต้องได้ผลตามจุดมุ่งหมาย และเป็นภาษาที่นิยมใช้กันโดยทั่วไป

การใช้ภาษาในการเขียนรายงาน

ภาษาที่ใช้ในการเขียนรายงานต้องใช้ภาษาที่เป็นทางการ พึงระมัดระวังในเรื่องของการสะกด เครื่องหมาย การแบ่งวรรคตอน การจัดเรียงรูปประโยคที่ถูกต้อง หลักในการเขียนรายงาน สามารถสรุปได้ดังนี้

  1. การใช้คำในภาษาไทย
  • ใช้คำในภาษาราชการ ไม่ใช้ภาษาพูด และให้เป็นคำภาษาไทยมากที่สุด
  • ใช้คำที่สามารถเข้าใจได้ง่าย ไม่ใช้คำที่ต้องมีการแปลความหมายอีกครั้งหนึ่ง
  • ในการอธิบายความต้องเลือกใช้คำที่มีความหมายสอดคล้องตรงกับความเป็นจริง
  • เลือกใช้คำที่มีความหมายชัดเจน เพื่อหลีกเลี่ยงการเข้าใจผิด
  • ไม่ใช้คำภาษาถิ่น คำผวน คำสแลง หากจำเป็นต้องใช้ต้องมีคำอธิบายกำกับ
  • ไม่ใช้คำที่ไม่สื่อความหมาย
  • ไม่ใช้คำย่อต้องเขียนเป็นคำเต็ม
  • ไม่ใช้เครื่องหมายแทนคำพูด
  • เมื่อต้องใช้ศัพท์ทางวิชาการ ควรเลือกใช้ศัพท์บัญญัติของราชบัณฑิตยสถาน
  1. การใช้คำในภาษาอังกฤษ
  • ถ้าเป็นคำที่ใช้กันแพร่หลายในภาษาไทยอยู่แล้ว ให้เขียนเป็นภาษาไทยโดยไม่ต้องมีคำภาษาอังกฤษกำกับ
  • ถ้าเป็นคำใหม่ ศัพท์บัญญัติ ศัพท์วิชาการที่เขียนศัพท์ในการใช้ครั้งแรกให้กำกับคำภาษาอังกฤษไว้ในวงเล็บ และไม่ต้องกำกับอีกเมื่อใช้ครั้งต่อไป

ส่วนประกอบของรายงาน

รายงานที่ดีควรประกอบด้วยส่วนสำคัญ 3 ส่วนดังนี้คือ ส่วนประกอบตอนต้น หรือส่วนนำส่วนประกอบตอนกลางหรือส่วนเนื้อเรื่อง และส่วนประกอบตอนท้าย

  1. ส่วนประกอบตอนต้น หรือส่วนนำ คือส่วนที่อยู่ตอนต้นเล่มของรายงานก่อนถึงเนื้อเรื่อง ประกอบด้วย ปกนอก หน้าปกใน คำนำ สารบัญ บัญชีตาราง บัญชีภาพประกอบ
  2. ส่วนประกอบตอนกลาง หรือส่วนเนื้อเรื่อง คือส่วนที่อยู่ต่อจากส่วนประกอบตอนต้นหรือส่วนนำ เป็นส่วนที่สำคัญที่สุดของรายงาน เพราะจะครอบคลุมเนื้อเรื่องทั้งหมดของรายงานตามโครงเรื่องที่กำหนดไว้ หรือตามหัวข้อที่แจ้งไว้ในสารบัญ
  3. ส่วนประกอบตอนท้าย คือส่วนเพิ่มเติมให้ทราบถึงความพยายามหรือแนวค้นคว้าของผู้จัดทำรายงาน ตลอดจนส่วนที่จะช่วยให้ผู้อ่านหรือผู้ใช้ประโยชน์จากรายงานสามารถตรวจสอบค้นคว้าเพิ่มเติม

ขั้นตอนการเขียนรายงานทั่วไป

การทำรายงานต้องมีระบบและขั้นตอนซึ่งได้วางแผนไว้เป็นอย่างดี โดยทั่วไปมีขั้นตอนดังนี้

  1. การเลือกหัวข้อรายงาน หัวข้อของรายงานมีความสำคัญอย่างมากต่อความสำเร็จของการเขียนรายงาน ผู้ทำรายงานควรเลือกหัวข้ออย่างพิถีพิถัน และมีการวางแผนอย่างดี
  2. การรวบรวมบรรณานุกรมเบื้องต้น สำรวจดูว่ามีหนังสือ วัสดุอ้างอิงใดบ้างที่จะใช้ศึกษาค้นคว้าเรื่องนี้ได้ และการหาวัสดุดังกล่าวได้จากที่ใดบ้าง
  3. การเขียนโครงเรื่อง เป็นการกำหนดขอบข่ายของเรื่องที่ต้องการค้นคว้าอย่างคร่าวๆ เพื่อจัดลำดับการนำเสนอและเป็นแนวทางในการศึกษาค้นคว้า
  4. การอ่านและทำบัตรบันทึก อ่านเพื่อจดบันทึกข้อความไว้ เพื่อนำไปเรียบเรียงเนื้อหาของรายงาน ควรอ่านเฉพาะเรื่องหรือตอนที่เกี่ยวข้องเท่านั้น ไม่จำเป็นต้องอ่านตลอดทั้งเล่ม
  5. การเรียบเรียงเนื้อหา ตามโครงเรื่องที่ได้กำหนดไว้ แบ่งออกเป็น 2 ขั้นตอน คือการเขียนรายงานฉบับร่าง และการเขียนรายงานฉบับจริง
  6. การอ้างอิง คือการบอกหรือแจ้งให้ผู้อ่านทราบว่าข้อความที่นำมาอ้างผู้ทำรายงานได้คัดลอกหรือเรียบเรียงจากผลงานของบุคคลอื่น
  7. การเขียนบรรณานุกรม (Bibliography) คือรายการทรัพยากรสารนิเทศ

การเข้ารูปเล่มรายงาน เป็นการจัดลำดับการเข้ารูปเล่ม โดยจัดส่วนต่างๆ ของรายงานเรียงลำดับตั้งแต่ปกนอก หน้าปกใน คำนำ สารบัญ เนื้อเรื่อง บรรณานุกรม ภาคผนวก อภิธานศัพท์ ปกหลัง ตามส่วนประกอบต่างๆ ของรายงาน

เมื่อพิมพ์รายงานเสร็จเรียบร้อยแล้ว ควรตรวจสอบว่ามีข้อผิดพลาดในการพิมพ์หรือไม่ เพื่อจะได้แก้ไขให้ถูกต้อง สิ่งที่ต้องตรวจสอบ คือรูปแบบการพิมพ์ เช่น การย่อหน้าในหัวข้อรอง หัวข้อย่อย การลำดับหน้าถูกต้องหรือไม่ ตรวจตัวสะกดการันต์ให้ถูกต้องตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน และสุดท้ายคือตรวจดูเนื้อหาให้ครบถ้วน การอ้างอิงต้องถูกต้องตามหลักเกณฑ์

ขั้นตอนในการทำรายงานทางวิชาการ

  1. การเลือกเรื่อง การเลือกเรื่องในการทำรายงานทางวิชาการนั้น ควรพิจารณาจากความสำคัญของเรื่อง ความสนใจ และความสามารถของผู้ทำรายงาน
  2. การวางโครงเรื่อง คือการกำหนดขอบข่ายของรายงานเอาไว้อย่างคร่าวๆ
  3. การรวบรวมข้อมูล ข้อมูลที่นำมาประกอบในการทำรายงานทางวิชาการมี 2 ลักษณะคือ

ก. ข้อมูลภาคเอกสาร (Documentary Data) หมายถึง หนังสือและเอกสารต่างๆ ที่มีข้อมูลที่ถูกต้องและเชื่อถือได้

ข. ข้อมูลภาคสนาม (Field Data) หมายถึง ข้อมูลที่ได้จากการสัมภาษณ์ การสอบถามและการสังเกต

  1. การบันทึกข้อมูล คือ การนำข้อมูลที่ได้มาทั้งหมด มาจัดเป็นหมวดหมู่ เพื่อสะดวกแก่การศึกษาค้นคว้า วิธีการบันทึกข้อมูลที่นิยมใช้มากคือ การบันทึกลงกระดาษบันทึก ในการบันทึกข้อมูลควรบันทึกดังนี้

4.1 บันทึกแหล่งที่มาของข้อมูล

4.2 บันทึกข้อมูล

  1. การวิเคราะห์ข้อมูล คือ การนำข้อมูลที่ได้มาทั้งหมดมาพิจารณาว่า น่าเชื่อถือมากเพียงใด ถูกต้อง และเป็นจริงในปัจจุบันหรือไม่ โดยพิจารณาจากเหตุผลและข้อมูลที่ปรากฏเป็นเกณฑ์
  2. การเสนอผลของรายงาน คือ การนำข้อมูลที่ได้จากการวิเคราะห์มาเรียบเรียงให้เป็นรายงานทางวิชาการที่สมบูรณ์

ตัวอย่างการเขียนรายงานการพัฒนาและการใช้นวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการเรียนรู้

  1. ชื่อเรื่องเป็นสิ่งสำคัญที่จะทำให้ผู้อ่านเกิดความเข้าใจในปัญหาและวิธีการพัฒนาได้ตรงกับผู้พัฒนา ชื่อเรื่องที่ดีควรจะดึงดูดความสนใจของผู้อื่น และสามารถวิเคราะห์หาคุณลักษณะของตัวแปรที่ประสงค์จะศึกษา
  2. ส่วนที่เป็นเนื้อหาแบ่งออกเป็น 5 บท ดังนี้

บทที่ 1 บทนำ บทนี้เป็นการนำเข้าสู่เนื้อหาของรายงาน ประกอบด้วยหัวข้อดังนี้

1.1 ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา

การเขียนควรกล่าวถึงลักษณะของปัญหาในการจัดการเรียนการสอนที่รับผิดชอบโดยตรงในลักษณะความเรียง โดยกล่าวถึง

1.1.1 ลักษณะที่ปรากฏของปัญหา เช่น นักเรียนมีผลการเรียนรู้เป็นอย่างไร การเขียนอาจจะมีหลักฐานประกอบ เช่น กราฟ แผนภูมิ ฯลฯ

1.1.2 สาเหตุของปัญหา ควรกล่าวถึงสิ่งที่อาจเป็นสาเหตุให้เกิดปัญหาโดยสาเหตุอาจมาจากองค์ประกอบต่าง ๆ เช่น สาเหตุจากตัวนักเรียน สาเหตุจากครอบครัว สาเหตุจากเพื่อน สาเหตุจากสิ่งแวดล้อมในชุมชน สาเหตุจากสิ่งแวดล้อมในโรงเรียน สาเหตุจากครูสาเหตุจากหลักสูตร ฯลฯ

1.1.3 แนวทางที่จะนำมาแก้ปัญหา กล่าวถึง แนวทางต่าง ๆ ที่จะสามารถใช้แก้ปัญหาได้ แต่ละแนวทางอาจอ้างอิงทฤษฎี หลักการหรือผลการวิจัยต่าง ๆ หรืออาจใช้ความคิดสร้างสรรค์หรือประสบการณ์ส่วนตัว

1.2 วัตถุประสงค์

การเขียนควรกล่าวถึงผลที่ต้องการได้รับหลังจากใช้นวัตกรรมนั้นแล้ว เช่น กล่าวถึงตัวนักเรียนว่าจะเพิ่มพูนความรู้ ความเข้าใจ ความสามารถ ทักษะ เจตคติ ค่านิยม และศึกษานิสัยในแง่ใดบ้าง นอกจากนั้นการเขียนหัวข้อนี้จะต้องคำนึงถึงลักษณะของปัญหาที่ได้กล่าวไว้ในหัวข้อ 1.1 ในบางครั้งนวัตกรรมอาจไม่มีวัตถุประสงค์ที่จะแก้ปัญหาโดยตรง แต่ต้องเชื่อมโยงให้เห็นว่าจะนำไปสู่ผลกระทบลดสภาพปัญหาลงได้อย่างไร

1.3 ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ           

การเขียนอาจกล่าวถึงผลที่คาดว่าจะได้รับหลังจากใช้นวัตกรรมไปแล้ว ทั้งทางตรง ทางอ้อม ระยะสั้น และระยะยาว โดยจะต้องสอดคล้องกับวัตถุประสงค์

1.4 ขอบเขตของการศึกษา

ควรระบุให้ชัดว่า นวัตกรรมที่พัฒนาขึ้นมานี้ใช้ในการจัดการเรียนการสอนเมื่อใด เวลาใด ฯลฯ

1.5 คำนิยามศัพท์เฉพาะ

การกำหนดคำนิยามศัพท์เฉพาะ เขียนขึ้นเพื่อให้ผู้อ่านได้เข้าใจตรงกับที่ผู้เขียนต้องการสื่อความหมาย และไม่ควรเขียนยาวมากนัก

บทที่ 2 การพัฒนานวัตกรรม

การตั้งชื่อบทนี้อาจตั้งชื่อให้ตรงกับนวัตกรรมที่พัฒนาก็ได้ เช่น การพัฒนาสื่อคอมพิวเตอร์ช่วยสอนการเขียนบทนี้ อาจประกอบด้วย หัวข้อดังต่อไปนี้

2.1 แนวคิดทฤษฎีที่ใช้

การเขียนหัวข้อนี้ควรกล่าวถึง กรอบความคิดหรือแนวคิดทฤษฎีที่นำมาใช้ในการสร้างนวัตกรรม เพื่อชี้นำให้เห็นว่านวัตกรรมที่สร้างมีความสำคัญ มีเหตุผล และมีความเป็นไปได้สูง และมีผู้ที่เคยทำไว้แล้วหรือยัง ถ้ามีผู้เคยทำไว้แล้วผลการใช้เป็นอย่างไร

2.2 ขั้นตอนการดำเนินงาน

เป็นการกล่าวถึงขั้นตอนในการผลิตนวัตกรรม ตั้งแต่เริ่มดำเนินการจนกระทั่งได้นวัตกรรม เช่น การวิเคราะห์หลักสูตร การออกแบบการจัดการเรียนรู้ ฯลฯ อนึ่ง การเขียนในหัวข้อนี้ ควรเขียนให้เห็นถึงความเพียรพยายามอุตสาหะของการคิดค้น พัฒนา สร้างนวัตกรรม ถ้ามีแหล่งอ้างอิง หรือแหล่งต้นแบบ หรือแหล่งช่วยเหลือแนะนำใด ๆ ที่ได้นำมาใช้จริง ก็ควรกล่าวไว้ให้ครบถ้วน

2.3 ผลงานหรือนวัตกรรมที่ได้

กล่าวถึงนวัตกรรมที่ได้ หลังจากทำตามขั้นตอนต่าง ๆ

2.4 แนวทางการนำนวัตกรรมไปใช้

เป็นส่วนที่กล่าวถึงเทคนิควิธีการใช้นวัตกรรมในสถานการณ์จริง เช่น การนำสื่อคอมพิวเตอร์ช่วยสอนไปใช้ในการจัดการเรียนการสอน

บทที่ 3 การทดลองใช้นวัตกรรม

การตั้งชื่อบทนี้อาจใช้ชื่อนวัตกรรมที่พัฒนา เช่น การทดลองใช้สื่อคอมพิวเตอร์ช่วยสอน บทนี้เป็นการแสดงให้เห็นถึงประโยชน์ของนวัตกรรมที่สามารถนำไปใช้ได้ในสถานการณ์จริงว่าสามารถใช้ได้เพียงใด หัวข้อที่นำเสนอในบทนี้มีดังนี้

 

3.1 รูปแบบการทดลอง

การจะสรุปว่านวัตกรรมที่สร้างหรือพัฒนามีประสิทธิภาพเพียงใด มีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องนำไปในการทดลองใช้อาจจะใช้กับนักเรียนกลุ่มเดียวหรือ 2 กลุ่มก็ได้ขึ้นอยู่กับผู้พัฒนา

3.2 วิธีการทดลอง

เป็นการเสนอข้อมูลเกี่ยวกับกระบวนการทดลองทั้งหมด ได้แก่

  1. ประชากร ขนาดของกลุ่มตัวอย่าง
  2. การสุ่มตัวอย่าง
  3. เครื่องมือที่ใช้ในการประเมินและการสร้างเครื่องมือ (รวมถึงการหาคุณภาพของเครื่องมือ)
  4. การใช้นวัตกรรม
  5. การเก็บรวบรวมข้อมูล
  6. สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล

บทที่ 4 ผลการทดลองใช้นวัตกรรม

การเสนอผลการทดลอง เป็นหลักฐานที่พิสูจน์ความสำเร็จของนวัตกรรมบางครั้งการเสนอผลอาจเป็นเพียงความคิดเห็น หรือความรู้สึกของผู้เกี่ยวข้องทั้งโดยตรงหรือโดยอ้อม ผ่านการใช้แบบสอบถามหรืออาจจะเป็นการทดสอบ ซึ่งก็จะเป็นข้อมูลที่ยืนยันผลการทดลองใช้ได้ การนำเสนอผลการทดลองใช้ อาจเสนอในรูปของการบรรยาย ตาราง แผนภูมิหรือกราฟประกอบการบรรยาย และสาระที่นำเสนอจะต้องตอบวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้ในบทที่ 1 ทุกข้อ

บทที่ 5 สรุปผล อภิปรายผล และข้อเสนอแนะ

การเขียนบทนี้ จะเป็นการสรุปผลจากบทที่ 1 – 4 มาเขียนย่อๆ ให้เห็นภาพรวมทั้งหมด โดยจะกล่าวถึง

5.1 สรุปผล เป็นการสรุปผลในเรื่อง การพัฒนานวัตกรรม ลักษณะของนวัตกรรมที่พัฒนา การทดลองใช้และผลการทดลอง

5.2 อภิปรายผล เป็นการอภิปรายผลการใช้นวัตกรรมที่ได้นำเสนอในบทที่ 4 โดยชี้ให้เห็นว่านวัตกรรมที่พัฒนาตรงตามวัตถุประสงค์ที่วางไว้เพียงใด มีอะไรที่เป็นจุดเด่น หรือมีข้อจำกัดอะไรบ้างที่ทำให้ผลการใช้นวัตกรรมไม่บรรลุตามวัตถุประสงค์ที่วางไว้

5.3 ข้อเสนอแนะ เป็นการเสนอทั้งจุดเด่นและจุดด้อยของนวัตกรรมที่พัฒนา ไม่ว่าจะเป็นการสร้าง การวิจัยพัฒนาขั้นต่อไป ตลอดจนข้อเสนอแนะในการนำนวัตกรรมไปใช้ให้เกิดผลในการเรียนการสอนต่อไป

  1. ส่วนอ้างอิง

การเขียนรายงานผลการพัฒนา นอกจากจะเขียนเนื้อเรื่องทั้ง 5 บทที่กล่าวแล้วจะมีส่วนท้ายซึ่งเป็นส่วนอ้างอิง ประกอบด้วย

บรรณานุกรม การเขียนบรรณานุกรม ต้องมีจำนวนหนังสือมากกว่าหรือเท่ากับจำนวนหนังสือที่กล่าวถึงในเล่ม และการเขียนให้ใช้ตามหลักของวิชาบรรณารักษ์

ภาคผนวก อาจจะเป็นเครื่องมือที่ใช้ในการประเมินนวัตกรรม

`

ความหมายของกฎหมาย

หมายถึง  สิ่งที่พึงประพฤติปฏิบัติ มีพฤติกรรมที่ดีงามต้องประสงค์ของสังคมเป็นหลักหรือกรอบที่ทุกคนกำหนดไว้ เป็นแนวปฏิบัติสำหรับสังคม เพื่อให้เกิดความเป็นระเบียบเรียบร้อย เกิดความสงบและปลอดภัยในการดำรงชีวิต

ความหมายของเทคโนโลยีและการสื่อสาร

เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร หมายถึง ข้อมูลที่ได้ถูกผ่านกระบวนการต่างๆกลั่นกรองมาเป็นข้อมูลสารสนเทศ ซึ่งเป็นทั้งเทคโนโลยีและการสื่อสาร อาจเรียกได้ว่าเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารนับตั้งแต่ การสร้าง การนำมาวิเคราะห์หรือประมวลผล การรับและส่งข้อมูล การจัดเก็บและการนำไปใช้งานใหม่

บทบาทความสำคัญของเทคโนโลยีสารสนเทศ

ความก้าวหน้าทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี  ทำให้มีการพัฒนาคิดค้นสิ่งอำนวยความสะดวกต่อการดำรงชีวิตของมนุษย์  เทคโนโลยีได้เข้ามาเสริมปัจจัยพื้นฐานทำให้มนุษย์มีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น  เช่น  การสร้างที่พักอาศัยที่มีคุณภาพมาตรฐาน  การผลิตสินค้าและการให้บริการต่าง ๆ ที่ตอบสนองความต้องการของมนุษย์ได้มากขึ้น  เทคโนโลยีทำให้ระบบการผลิตสามารถผลิตสินค้าได้เป็นจำนวนมากและมีราคาถูกลง  เทคโนโลยีทำให้การติดต่อสื่อสารเป็นไปอย่างสะดวกและรวดเร็ว  การสื่อสารที่เชื่อมโยงกันอย่างทั่วถึงทำให้ประชากรในโลกสามารถติดต่อสื่อสารและรับฟังข่าวสารจากทั่วทุกมุมโลกได้ตลอดเวลา

เทคโนโลยีสารสนเทศมีความหมายกว้างขวางมาก  เราจะพบได้กับสิ่งรอบ ๆ ตัวที่เกี่ยวกับการใช้สารสนเทศ  ดังนี้

  1. การเก็บรวบรวมข้อมูล   เป็นวิธีการรวบรวมข้อมูลเข้าสู่ระบบด้วยวิธีการต่าง ๆ เช่นพนักงานการไฟฟ้าบันทึกข้อมูลการใช้ไฟฟ้าลงในเครื่องคอมพิวเตอร์ขนาดเล็กเพื่อให้เครื่องอ่านเก็บรวบรวมข้อมูลได้ ห้างสรรพสินค้าใช้รหัสแท่ง   (bar code)  ตรวจสินค้าเพื่ออ่านข้อมูลการซื้อสินค้าที่บรรจุในรหัสแท่ง
  2. การประมวลผล ข้อมูลที่เก็บมาได้มักจะเก็บในสื่อต่าง ๆ เช่นแผ่นบันทึก แผ่นซีดีหรือเทป เป็นต้น ข้อมูลเหล่านี้จะถูกนำมาประมวลผลตามต้องการ เช่น แยกแยะข้อมูลเป็นกลุ่ม เรียงลำดับข้อมูล คำนวณ  หรือจัดการคัดแยกข้อมูลที่จัดเก็บนั้น
  3. การแสดงผลลัพธ์คือ  การนำผลจากการประมวลผลที่ได้มาแสดงผลลัพธ์ในรูปแบบต่าง ๆ อุปกรณ์ที่ใช้เทคโนโลยีในการแสดงผลลัพธ์มีมาก สามารถแสดงเป็นตัวหนังสือ    เป็นรูปภาพ   ตลอดจนพิมพ์ออกมาที่กระดาษ    การแสดงผลลัพธ์มีทั้งที่แสดงเป็นภาพ  เป็นเสียง  เป็นวีดีทัศน์
  4. การทำสำเนา  เป็นการทำสำเนาข้อมูลหรือสารสนเทศที่จัดเก็บไว้ในสื่ออิเลคทรอนิกส์ชนิดต่างๆให้มีหลายชุด เพื่อสะดวกต่อการเก็บรักษา และการนำไปใช้   อุปกรณ์ที่ใช้ทำสำเนา   เช่นเครื่องพิมพ์    เครื่องถ่ายเอกสาร  แผ่นบันทึก   ฮาร์ดดิสก์ หรือ CD-ROM
  5. การสื่อสารโทรคมนาคม  เป็นวิธีการที่ส่งข้อมูลข่าวสารจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่ง ปัจจุบันมีอุปกรณ์ระบบสื่อสารโทรคมนาคมหลายประเภท  ตั้งแต่โทรเลข โทรศัพท์และเครือข่ายคอมพิวเตอร์ในรูปแบบของสื่อ  เช่น  เส้นใยนำแสง  เคเบิลใต้น้ำ คลื่นวิทยุ  ไมโครเวฟ   และดาวเทียม

ความสำคัญของเทคโนโลยีสารเทศและการสื่อสาร

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (2547:11-17) ได้กล่าวถึงความสำคัญของเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารต่อการศึกษาไว้ว่า เทคโนโลยีที่ก้าวหน้าและรวดเร็วที่สุดในยุคนี้ คือ  เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ ซึ่งเข้ามาเป็นเครื่องมืออำนวยความสะดวกเกือบทุกอย่างและที่สำคัญคือ การสื่อสาร(Communication)  ซึ่งการบริหารในยุคปัจจุบันมีการแข่งขันกันสูง การบริหารจัดการและการตัดสินใจที่ดีคือการตัดสินใจอยู่บนฐานข้อมูลที่ถูกต้องเป็นปัจจุบันและเพียงพอซึ่งจะถือว่าเป็นการตัดสินใจที่ถูกต้องหรือเป็นการตัดสินใจที่ผิดพลาดน้อยที่สุด จึงจำเป็นที่จะต้องแสวงหาข้อมูลที่ถูกต้อง เพื่อการตัดสินใจในการพัฒนากระบวนการต่าง ๆ ของระบบสื่อสาร (Communication System) เพื่อให้ได้มาซึ่ง Information มากมายและมีประสิทธิภาพสูง กระบวนการให้ได้มาซึ่งสารสนเทศและการนำไปใช้ โดยอาศัยเทคโนโลยีต่าง ๆ ( Information and Communications Technoloty : ICT ) นั่นเอง ดังนั้น คนในยุคใหม่ที่จะอยู่ในสังคมโลกเทคโนโลยีเหล่านี้ได้อย่างกลมกลืน จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีทักษะพื้นฐานที่เพียงพอในด้าน ICT การเริ่มต้นพัฒนาตนในเวลาที่เหมาะสม ควรจะเริ่มต้นในวัยเรียน โรงเรียนจึงจำเป็นต้องเตรียมความพร้อมให้แก่นักเรียนให้มีทักษะพื้นฐานเพียงพอที่จะเรียนรู้พัฒนาความรู้และทักษะได้ด้วยตนเอง  ในการจัดการศึกษามุ่งหวังให้การจัดการศึกษาให้แก่นักเรียนที่จบการศึกษาขั้น

ความสำคัญของเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร  การสื่อสาร มีส่วนในการพัฒนากิจกรรมต่าง ๆ ของมนุษย์ประกอบด้วย Communications media  การสื่อสารโทรคมนาคม (Telecoms) และเทคโนโลยีสารสนเทศ (IT) เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารประกอบด้วยผลิตภัณฑ์หลักที่มากไปกว่า โทรศัพท์และคอมพิวเตอร์ เช่น แฟกซ์ อินเทอร์เน็ต อีเมล์ ทำให้สารสนเทศเผยแพร่หรือกระจายออกไปในที่ต่าง ๆ ได้สะดวก  เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารมีผลให้การใช้งานด้านต่าง ๆ มีราคาถูกลง เครือข่ายสื่อสาร (Communication networks) ได้รับประโยชน์จากเครือข่ายภายนอกเนื่องจากจำนวนการใช้เครือข่าย จำนวนผู้เชื่อมต่อ และจำนวนผู้ที่มีศักยภาพในการเข้าเชื่อมต่อกับเครือข่ายนับวันจะเพิ่มสูงขึ้น เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารทำให้ฮาร์ดแวร์คอมพิวเตอร์ และต้นทุนการใช้ IT มีราคาถูกลงมาก (มูลนิธิเพื่อยุติการแสวงหาผลประโยชน์ทางเพศจากเด็ก. 2552 : ออนไลน์)

จากที่กล่าวมาจึงสรุปได้ว่า เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร มีความสำคัญต่อการจัดการศึกษา โดยเฉพาะอย่างยิ่งการปฏิรูปการศึกษาที่เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเข้ามามีบทบาทสำคัญทั้งในด้านการปฏิรูปการบริหารจัดการ ที่มีการนำเทคโนโลยีมาใช้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ การปฏิรูปการเรียนรู้ ที่ต้องจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาปัญญา ไม่ใช่การเรียนรู้เพื่อจำข้อมูล การจำมีความจำเป็นในส่วนที่เป็นพื้นฐานสำคัญ ส่วนข้อมูลควรจะอยู่ในแหล่งเรียนรู้ใด ๆ และสามารถเรียกใช้ได้ทันท่วงทีเมื่อจำเป็น และสามารถแสวงหาข้อมูลได้อย่างมีประสิทธิภาพด้วยเทคโนโลยีที่เหมาะสม ทักษะทางด้าน ICT จึงเป็นเครื่องมือสำคัญในการขยายขีดความสามารถในการเรียนรู้ต่อไป

พระราชบัญญัติคอมพิวเตอร์ 2560

พระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.2560 ที่สภานิติบัญญัติแห่งชาติให้ความเห็นชอบเมื่อเดือนธันวาคม เมื่อปีที่ผ่านมา (2559) และได้ประกาศลงราชกิจจานุเบกษาเมื่อวันที่ 24 มกราคม ล่าสุด มีผลบังคับใช้แล้วในวันที่ 24 พ.ค.นี้

เตือนความจำกันสักหน่อย เพื่อการใช้ออนไลน์อย่างถูกกฎหมาย สำหรับสาระสำคัญที่หลายคนควรพึงระวังใน พ.ร.บ.ว่าด้วยกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2560 หรือ พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ ฉบับ 2  มีสาระสำคัญจำง่ายๆ ดังนี้

  1. การฝากร้านใน Facebook, IG ถือเป็นสแปม ปรับ 200,000 บาท
  2. ส่ง SMS โฆษณา โดยไม่รับความยินยอม ให้ผู้รับสามารถปฏิเสธข้อมูลนั้นได้ ไม่เช่นนั้นถือเป็นสแปม ปรับ 200,000 บาท
  3. ส่ง Email ขายของ ถือเป็นสแปม ปรับ 200,000 บาท
  4. กด Like ได้ไม่ผิด พ.ร.บ.คอมพ์ฯ ยกเว้นการกดไลค์ เป็นเรื่องเกี่ยวกับสถาบัน เสี่ยงเข้าข่ายความผิดมาตรา 112 หรือมีความผิดร่วม
  5. กด Share ถือเป็นการเผยแพร่ หากข้อมูลที่แชร์มีผลกระทบต่อผู้อื่น อาจเข้าข่ายความผิดตาม พ.ร.บ.คอมพ์ฯ โดยเฉพาะที่กระทบต่อบุคคลที่ 3
  6. พบข้อมูลผิดกฎหมายอยู่ในระบบคอมพิวเตอร์ของเรา แต่ไม่ใช่สิ่งที่เจ้าของคอมพิวเตอร์กระทำเอง สามารถแจ้งไปยังหน่วยงานที่รับผิดชอบได้ หากแจ้งแล้วลบข้อมูลออกเจ้าของก็จะไม่มีความผิดตามกฎหมาย เช่น ความเห็นในเว็บไซต์ต่าง ๆ รวมไปถึงเฟซบุ๊ก ที่ให้แสดงความคิดเห็น หากพบว่าการแสดงความเห็นผิดกฎหมาย เมื่อแจ้งไปที่หน่วยงานที่รับผิดชอบเพื่อลบได้ทันที เจ้าของระบบเว็บไซต์จะไม่มีความผิด

7.สำหรับ แอดมินเพจ ที่เปิดให้มีการแสดงความเห็น เมื่อพบข้อความที่ผิด พ.ร.บ.คอมพ์ฯ เมื่อลบออกจากพื้นที่ที่ตนดูแลแล้ว จะถือเป็นผู้พ้นผิด

  1. ไม่โพสต์สิ่งลามกอนาจาร ที่ทำให้เกิดการเผยแพร่สู่ประชาชนได้
  2. การโพสเกี่ยวกับเด็ก เยาวชน ต้องปิดบังใบหน้า ยกเว้นเมื่อเป็นการเชิดชู ชื่นชม อย่างให้เกียรติ
  3. การให้ข้อมูลเกี่ยวกับผู้เสียชีวิต ต้องไม่ทำให้เกิดความเสื่อมเสียเชื่อเสียง หรือถูกดูหมิ่น เกลียดชัง ญาติสามารถฟ้องร้องได้ตามกฎหมาย
  4. การโพสต์ด่าว่าผู้อื่น มีกฏหมายอาญาอยู่แล้ว ไม่มีข้อมูลจริง หรือถูกตัดต่อ ผู้ถูกกล่าวหา เอาผิดผู้โพสต์ได้ และมีโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี ปรับไม่เกิน 200,000 บาท
  5. ไม่ทำการละเมิดลิขสิทธิ์ผู้ใด ไม่ว่าข้อความ เพลง รูปภาพ หรือวิดีโอ
  6. ส่งรูปภาพแชร์ของผู้อื่น เช่น สวัสดี อวยพร ไม่ผิด ถ้าไม่เอาภาพไปใช้ในเชิงพาณิชย์ หารายได้

(pigabyte 2560. ออนไลน์ )

การละเมิดสิทธิโปรแกรมคอมพิวเตอร์

  1. การละเมิดสิทธิโปรแกรมคอมพิวเตอร์

คือสิ่งที่ได้รับความคุ้มครองภายใต้พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 (“พ.ร.บ. ลิขสิทธิ์”) โดยจัดเป็นงานอันมีลิขสิทธิ์ประเภทงานวรรณกรรม (Literary work)  ตามพ.ร.บ. ลิขสิทธิ์ กำหนดว่า โปรแกรมคอมพิวเตอร์ หมายถึง คำสั่ง ชุดคำสั่ง หรือสิ่งอื่นใดที่นำไปใช้กับคอมพิวเตอร์ เพื่อให้เครื่องคอมพิวเตอร์ทำงานหรือให้ได้ผลอย่างหนึ่งอย่างใด ในกรณีที่บุคคลใด ทำซ้ำ ดัดแปลง เผยแพร่ต่อสาธารณชน หรือให้เช่าต้นฉบับหรือสำเนาของโปรแกรมคอมพิวเตอร์ บุคคลนั้นจะมีความผิดฐานละเมิดลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์ มีโทษปรับตั้งแต่ 20,000 บาทถึง 200,000 บาท  และหากเป็นการกระทำเพื่อการค้า จะต้องโทษจำคุกตั้งแต่ 6 เดือน ถึง 4ปี หรือปรับตั้งแต่ 100,000 ถึง 800,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

  1. อาชญากรรมคอมพิวเตอร์

อาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์ (Cyber-Crime) เป็นการกระทำที่ผิดกฎหมายโดยใช้วิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์เพื่อโจมตีระบบคอมพิวเตอร์และข้อมูลที่อยู่บนระบบดังกล่าว ส่วนในมุมมองที่กว้างขึ้น “อาชญากรรมที่เกี่ยวเนื่องกับคอมพิวเตอร์” หมายถึงการกระทำที่ผิดกฎหมายใดๆ ซึ่งอาศัยหรือมีความเกี่ยวเนื่องกับระบบคอมพิวเตอร์หรือเครือข่าย อย่างไรก็ตาม อาชญากรรมประเภทนี้ไม่ถือเป็นอาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์โดยตรง

3.การใช้คอมพิวเตอร์ในทางที่ผิด

การละเมิดลิขสิทธิ์ทางอินเตอร์เน็ตแม้จะมีผู้จำหน่ายซอฟต์แวร์ผ่านอินเตอร์เน็ตอย่างถูกต้องก็ตาม แต่ก็มีการละเมิดลิขสิทะผ่านอินเตอร์เน็ต เป็นจำนวนมากได้เช่นกัน ได้แก่

– เว็บไซต์ที่เปิดให้ดาว์นโหลดหรือแลกเปลี่ยนซอฟต์แวร์ทางการค้าโดยไม่มีค่าใช้จ่าย

– เว็บไซต์ที่เสนอการประมูลซอฟต์แวร์ผิดกฎหมาย, ซอฟต์แวร์ละเมิดลิขสิทธิ์ หรือซอฟต์แวร์ที่ไม่ตรงกับช่องทางจำหน่ายที่กำหนด

– เครือข่าย Peer-to-Peer ที่อนุญาตให้แลกเปลี่ยนซอฟต์แวร์มีลิขสิทธิ์ระหว่างกัน

การละเมิดลิขสิทธิ์ผ่านอินเตอร์เน็ต ยังถือเป็นเรื่องคุกคามการค้าอิเล็กทรอนิกส์ที่สำคัญที่สุด

  1. การติดตั้ง ซอฟต์แวร์ในฮาร์ดดิสก์เกิดจากการที่ผู้จำหน่ายคอมพิวเตอร์ทำการติดตั้งซอฟต์แวร์ให้กับลูกค้าอย่าง ผิดกฎหมาย เพื่อจูงใจให้เกิดการซื้อ
  2.  การสำเนาซอฟต์แวร์อย่างผิดกฎหมาย คือการทำสำเนาอย่างผิดกฎหมาย หรือจำหน่ายสินค้าที่ละเมิดลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์โดยเจตนา สำหรับกรณีของซอฟต์แวร์ที่มีบรรจุภัณฑ์นั้นพบว่า ได้มีการจำหน่ายซีดีหรือดิสก์เก็ตที่ทำสำเนาอย่างผิดกฎหมายพร้อมด้วยคู่มือ, สัญญาการใช้งานและบัตรลงทะเบียนโดยมีบรรจุภัณฑ์และคุณสมบัติป้องกันการปลอม แปลงที่เหมือนกันกับผลิตภัณฑ์ของแท้ให้เห็นเช่นกัน
  3. ไวรัสคอมพิวเตอร์ไวรัส คือโปรแกรมชนิดหนึ่งที่มีความสามารถในการสำเนาตัวเองเข้าไปติดอยู่ในระบบคอมพิวเตอร์ได้และถ้ามีโอกาสก็สามารถแทรกเข้าไประบาดในระบบคอมพิวเตอร์อื่น ๆ ซึ่งอาจเกิดจากการนำเอาดิสก์ที่ติดไวรัสจากเครื่องหนึ่งไปใช้อีกเครื่องหนึ่ง หรืออาจผ่านระบบเครือข่ายหรือระบบสื่อสารข้อมูลไวรัสก็อาจแพร่ระบาดได้เช่นกัน

การที่คอมพิวเตอร์ใดติดไวรัส หมายถึงว่าไวรัสได้เข้าไปผังตัวอยู่ในหน่วยความจำ คอมพิวเตอร์ เรียบร้อยแล้ว เนื่องจากไวรัสก็เป็นแค่โปรแกรม ๆ หนึ่งการที่ไวรัสจะเข้าไปอยู่ ในหน่วยความจำได้นั้นจะต้องมีการถูกเรียกให้ทำงานได้นั้นยังขึ้นอยู่กับประเภทของไวรัส แต่ละตัวปกติผู้ใช้มักจะไม่รู้ตัวว่าได้ทำการปลุกคอมพิวเตอร์ไวรัสขึ้นมาทำงานแล้ว

จุดประสงค์ของการทำงานของไวรัสแต่ละตัวขึ้นอยู่กับตัวผู้เขียนโปรแกรมไวรัสนั้น เช่น อาจสร้างไวรัสให้ไปทำลายโปรแกรมหรือข้อมูลอื่น ๆ ที่อยู่ในเครื่องคอมพิวเตอร์ หรือ แสดงข้อความวิ่งไปมาบน หน้าจอ เป็นต้นสามารถสังเกตการทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์ถ้ามีอาการดังต่อไปนี้อาจเป็นไปได้ว่าได้มีไวรัสเข้าไปติดอยู่เครื่องแล้ว อาการที่ว่านั้นได้แก่

  1. กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีสารสนเทศกฎหมายเทคโนโลยีสารสนเทศของประเทศไทยเริ่มวันที่ 15 ธันวาคม 2541 โดยคณะ กรรมการเทคโนโลยีสารสนเทศแห่งชาติ (กทสช) ได้ท าการศึกษาและยกร่างกฎหมายเทคโนโลยีสารสนเทศ จำนวน6 ฉบับ

☆ พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.2550  พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 ผ่านการเห็นชอบจาก
สภานิติบัญญัติ การลงพระปรมาภิไธย และการประกาศลงในราชกิจจานุเบกษาแล้ว เมื่อ 18 มิถุนายน
พ.ศ. 2550 และจะมีผลใช้บังคับตั้งแต่ 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2550 เป็ นต้นไป ดังนั้นผู้ใช้คอมพิวเตอร์
อินเทอร์เน็ตโดยทั่วไป ผู้ให้บริการ ซึ่งรวมไปถึงหน่วยงานต่างๆ ที่เปิดบริการอินเทอร์เน็ตให้แก่ผู้อื่นหรือ
กลุ่มพนักงานนักศึกษาในองค์กร ควรทราบถึงรายละเอียดของพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิด
เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 โดยประเทศไทยได้มีการบังคับใช้เป็นที่เรียบร้อยแล้ว

  1. จริยธรรมในระบบสารสนเทศจริยธรรมในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ โดยทั่วไปเมื่อพิจารณาถึงคุณธรรมจริยธรรมเกี่ยวกับการใช้เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และ สารสนเทศแล้ว จะกล่าวถึงใน 4 ประเด็น ที่รู้จักกันในลักษณะตัวย่อว่า PAPAประกอบด้วย
  2. ความเป็นส่วนตัว (Information Privacy) หมายถึง สิทธิที่จะอยู่ตามลำพัง และเป็นสิทธิที่เจ้าของสามารถที่จะควบคุมข้อมูลของตนเองในการเปิดเผยให้กับ ผู้อื่น สิทธินี้ใช้ได้ครอบคลุมทั้งปัจเจกบุคคล กลุ่มบุคคล และองค์การต่างๆ ปัจจุบันมีประเด็นเกี่ยวกับความเป็นส่วนตัวที่เป็นข้อหน้าสังเกตดังนี้

1.1.การ เข้าไปดูข้อความในจดหมายอิเล็กทรอนิกส์และการบันทึกข้อมูลในเครื่อง คอมพิวเตอร์ รวมทั้งการบันทึก-แลกเปลี่ยนข้อมูลที่บุคคลเข้าไปใช้บริการเว็บไซต์และกลุ่มข่าวสาร

1.2.การ ใช้เทคโนโลยีในการติดตามความเคลื่อนไหวหรือพฤติกรรมของบุคคล ซึ่งทำให้สูญเสียความเป็นส่วนตัว ซึ่งการกระทำเช่นนี้ถือเป็นการผิดจริยธรรม

1.3.การใช้ข้อมูลของลูกค้าจากแหล่งต่างๆ เพื่อผลประโยชน์ในการขยายตลาด

1.4.การ รวบรวมหมายเลขโทรศัพท์ ที่อยู่อีเมล์ หมายเลขบัตรเครดิต และข้อมูลส่วนตัวอื่นๆ เพื่อนำไปสร้างฐานข้อมูลประวัติลูกค้าขึ้นมาใหม่ แล้วนำไปขายให้กับบริษัทอื่น

ดังนั้น เพื่อเป็นการป้องกันการละเมิดสิทธิความเป็นส่วนตัวของข้อมูลและสารสนเทศ จึงควรจะต้องระวังการให้ข้อมูล โดยเฉพาะการใช้อินเตอร์เน็ตที่มีการใช้โปรโมชั่น หรือระบุให้มีการลงทะเบียนก่อนเข้าใช้บริการ เช่น ข้อมูลบัตรเครดิต และที่อยู่อีเมล์

  1. ความถูกต้อง (Information Accuracy) ในการใช้คอมพิวเตอร์เพื่อการรวบรวม จัดเก็บ และเรียกใช้ข้อมูลนั้น คุณลักษณะที่สำคัญประการหนึ่ง คือ ความน่าเชื่อถือได้ของข้อมูล ทั้งนี้ จะขึ้นอยู่กับความถูกต้องในการบันทึกข้อมูลด้วย โดยทั่วไปจะพิจารณาว่าใครจะเป็นผู้รับผิดชอบต่อความถูกต้องของข้อมูลที่จัดเก็บและเผยแพร่ ดังนั้น ในการจัดทำข้อมูลและสารสนเทศให้มีความถูกต้องและน่าเชื่อถือนั้น ข้อมูลควรได้รับการตรวจสอบความถูกต้องก่อนที่จะนำเข้าฐานข้อมูล รวมถึงการปรับปรุงข้อมูลให้มีความทันสมัยอยู่เสมอ นอกจากนี้ ควรให้สิทธิแก่บุคคลในการเข้าไปตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลตนเองด้วย
            3. ความเป็นเจ้าของ (Information Property) สิทธิความเป็นเจ้าของ หมายถึง กรรมสิทธิ์ในการถือครองทรัพย์สิน ซึ่งอาจเป็นทรัพย์สินทั่วไปที่จับต้องได้ เช่น คอมพิวเตอร์ รถยนต์ หรืออาจเป็นทรัพย์สินทางปัญญา (ความคิด) ที่จับต้องไม่ได้ เช่น บทเพลงโปรแกรมคอมพิวเตอร์ แต่สามารถถ่ายทอดและบันทึกลงในสื่อต่างๆ ได้ เช่น สิ่งพิมพ์ เทป ซีดีรอม เป็นต้นโดยในการคัดลอกโปรแกรมคอมพิวเตอร์ให้กับเพื่อน เป็นการกระทำที่จะต้องพิจารณาให้รอบคอบก่อนว่าโปรแกรมที่จะทำการคัดลอกนั้น เป็นโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่ท่านมีสิทธ์ในระดับใด
  2. การเข้าถึงข้อมูล (Data Accessibility) ปัจจุบันการเข้าใช้งานโปรแกรม หรือระบบคอมพิวเตอร์มักจะมีการกำหนดสิทธิตามระดับของผู้ใช้งาน ทั้งนี้ เพื่อเป็นการป้องกันการเข้าไปดำเนินการต่างๆ กับข้อมูลของผู้ใช้ที่ไม่มีส่วนเกี่ยวข้อง และเป็นการรักษาความลับของข้อมูล ดังนั้น ในการพัฒนาระบบคอมพิวเตอร์จึงได้มีการออกแบบระบบรักษาความปลอดภัยในการเข้าถึงของผู้ใช้ และการเข้าถึงข้อมูลของผู้อื่นโดยไม่ได้รับความยินยอมนั้น ก็ถือเป็นการผิดจริยธรรมเช่นเดียวกับการละเมิดข้อมูลส่วนตัว  (สกล หาญสุทธิวารินทร์. 2558: ออนไลน์)

 

 

 

นวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศทางการศึกษา

9.1.ความหมายของนวัตกรรม

คำว่า”นวัตกรรม”เป็นคำที่ค่อนข้างจะใหม่ในวงการศึกษาของไทยคำนี้เป็นศัพท์บัญญัติของคณะกรรมการพิจารณาศัพท์วิชาการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ มาจากภาษาอังกฤษว่า Innovation มาจากคำกิริยาว่า Innovate แปลว่าทำใหม่เปลี่ยนแปลงให้เกิดสิ่งใหม่ในภาษาไทยเดิมใช้คำว่า “นวกรรม”ต่อมาพบว่าคำนี้มีความหายคลาดเคลื่อนจึงเปลี่ยนมาใช้คำว่า นวัตกรรม หมายถึงการนำสิ่งใหม่ๆเข้ามาเปลี่ยนแปลงเพิ่มเติมจากวิธีการที่ทำอยู่เดิมเพื่อใช้ให้ได้ผลดียิ่งขึ้นดังนั้นไม่ว่าวงการหรือกิจการใดๆก็ตามเมื่อมีการนำเอาความเปลี่ยนแปลงใหม่ๆเข้ามาใช้เพื่อปรับปรุงงานให้ดีกว่าเดิมก็เรียกได้ว่าเป็นนวัตกรรมของวงการนั้นๆเช่นในวงการการศึกษานำเอามาใช้ก็เรียกว่า “นวัตกรรมการศึกษา”(EducationalInnovation)สำหรับผู้ที่กระทำหรือนำความเปลี่ยนแปลงใหม่ๆมาใช้นี้เรียกว่าเป็น”นวัตกร”

นวัตกรรม (Innovation) มีรากศัพท์มาจากภาษาลาตินว่า innovare แปลว่า to renew หรือ to modifyมีนักการศึกษาหลายท่านได้ให้ความหมายของ “นวัตกรรม”ไว้ดังนี้

ความหมายของเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการศึกษาหมายถึงการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศกับงานด้านการศึกษาอันได้แก่การจัดเก็บข้อมูลและประมวลผลฐานข้อมูล การพัฒนาระบบสารสนเทศช่วยการเรียนการสอนการวางแผนและการบริหารการศึกษา การวางแผนหลักสูตรการแนะแนวและการบริการการทดสอบวัดผลการพัฒนาบุคลากร 

ความหมายของเทคโนโลยี

ดังนั้นเมื่อรวมคำแล้วเทคโนโลยีจึงหมายถึงศาสตร์ที่ว่าด้วยเทคนิควิธีการหรือวิธีปฏิบัติโดยใช้ความรู้ทางวิทยาศาสตร์อย่างเป็นระบบเมื่อนำเทคโนโลยีมาใช้ในการศึกษาเรียกว่า เทคโนโลยีการศึกษา

9.2 ความสำคัญของนวัตกรรมการและเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการเรียนรู้

ความสำคัญของนวัตกรรมการและเทคโนโลยีสารสนเทศทางการศึกษา นวัตกรรมการมีความสำคัญต่อการศึกษาหลายประการทั้งนี้เนื่องจากในโลกยุคโลกาภิวัตต์โลกมีการเปลี่ยนแปลงในทุกด้านอย่างรวดเร็วโดยเฉพาะอย่างยิ่งด้านความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีและสารสนเทศการศึกษาจึงจำเป็นต้องมีการพัฒนาเปลี่ยนแปลงจากระบบการศึกษาที่มีอยู่เดิมเพื่อให้ทันสมัยต่อการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีและสภาพสังคมที่เปลี่ยนแปลงไปอีกทั้งเพื่อแก้ไขปัญหาทางด้านการศึกษาบางอย่างที่เกิดขึ้นอย่างมีประสิทธิภาพเช่นเดียวกับการเปลี่ยนแปลงทางด้านการศึกษาจึงจำเป็นต้องมีการศึกษาเกี่ยวกับนวัตกรรมการศึกษาที่จะนำมาใช้เพื่อแก้ไขปัญหาทางการศึกษาในบางเรื่อง เช่น ปัญหาที่เกี่ยวเนื่องกันจำนวนผู้เรียนที่มาก

9.3 บทบาทของนวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศ

บทบาทของนวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศทางการศึกษา

1.เทคโนโลยีการศึกษาทำให้การเรียนการสอนมีความหายมากขึ้นทำให้ผู้เรียนสามารถเรียนได้กว้างขวางเรียนได้เร็วขึ้นทำให้ผู้สอนมีเวลาให้ผู้เรียนมากขึ้น

2.เทคโนโลยีการศึกษาสามารถตอบสนองความแตกต่างของผู้เรียนผู้เรียนสามารถเรียนได้ตามความสามารของผู้เรียนการเรียนการสอนจะเป็นการตอบสนองความสนใจและความต้องการของแต่ละบุคคลได้ดี

3.เทคโนโลยีการศึกษาทำให้การจัดการศึกษาตั้งบนรากฐานของวิธีการทางวิทยาศาสตร์ทำให้จัดการศึกษาเป็นระบบและเป็นขั้นตอน

4.เทคโนโลยีการศึกษาช่วยให้การศึกษามีพลังมากขึ้นการนำเทคโนโลยีด้านสื่อเป็นเครื่องมืออย่างหนึ่งที่จะทำให้การศึกษามีพลัง

5.เทคโนโลยีการศึกษาทำให้ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ได้อย่างกว้างขวางและได้พบกับสภาพความจริงในชีวิตมากที่สุด

6.เทคโนโลยีการศึกษาทำให้เปิดโอกาสทางการศึกษาทั้งๆการศึกษาในระบบ การศึกษานอกระบบ และการศึกษาตามอัธยาศัย

สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ. (2546). การจัดการนวัตกรรมและสารสนเทศ.

กรุงเทพฯ: เอส แอนด์ จี กราฟฟิค. (113-114)

9.4 การใช้นวัตกรรมการและเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการเรียนรู้

การใช้นวัตกรรม(Innovation)และเทคโนโลยี(Technology)ในการจัดการศึกษาคือใช้ ในการเรียนการสอนถ้าใช้ทั้ง2อย่างร่วมกันด้วยการนำเอาเทคนิคและสิ่งประดิษฐ์ ใหม่ ๆทางวิทยาศาสตร์มาใช้เรียก“INNOTECH”ซึ่งมาจากคำเต็ม ว่า“InnovationTechnology”เป็นการนำเอาคำนวัตกรรมและเทคโนโลยีเข้าด้วยกัน ขณะนี้ยังไม่มีศัพท์เฉพาะในปัจจุบันถือว่าเป็นความจำเป็นที่โรงเรียนจะต้อง นำเอาหลักวิชาใหม่ๆประดิษฐ์สิ่งใหม่ขึ้นใช้และใช้เทคนิคใหม่ๆที่ เป็นInnovation มาใช้ร่วมกันไปกับสิ่งประดิษฐ์ที่เป็นอุปกรณ์สำเร็จรูปเป็นเครื่องช่วยสอน ซึ่งเป็นTechnologyนำมาใช้ในการจัดการเรียนการสอนไปว่าถึงเวลาแล้วที่จะต้อง นำ INNOTECH เข้ามาใช้ในโรงเรียนหรือสถานศึกษา

สิ่งที่ต้องคำนึงถึงเมื่อนำนวัตกรรมและเทคโนโลยีมาใช้ในการศึกษาการนำนวัตกรรม และเทคโนโลยีมาใช้ในการศึกษาและใช้ในการเรียนการสอน ต้องคำนึงถึงความสำคัญ 3 ประการ คือ

  1. ประสิทธิภาพ(Efficiency)ในการเรียนการสอนต้องให้ผู้เรียนผู้สอนได้เรียนและได้สอนเต็มความสามารถเต็มหลักสูตรเต็มเวลาด้วยความพึงพอใจ เกิดการเรียนรู้ตามจุดประสงค์เต็มความสามารถ (Full Energy) และเกิดความพอใจ (Satisfaction) เป็นที่ได้ใช้สื่อนั้น
  2. ประสิทธิผล(Productivity)ในการจัดการเรียนการสอนให้บรรลุจุดประสงค์ตามที่กำหนดจุดประสงค์ไว้ซึ่งนักเรียนเกิดการเรียนรู้บรรลุจุดประสงค์ได้ดีกว่า สูงกว่าไม่ใช้สื่อนั้น
  3. ประหยัด (Economy) ในการใช้นวัตกรรมและเทคโนโลยีเข้ามาช่วยในการจัดการเรียนการสอน ต้องคำนึงถึงสภาพความเหมาะสมตามฐานะแล้ว จะต้องประหยัด นั่นคือ ประหยัดทั้งเงินประหยัดเวลา และประหยัดแรงงาน

การประยุกต์ทฤษฎีการเรียนรู้มาใช้ในเทคโนโลยีทางการศึกษาและการสอน

การเรียนรู้ได้ตามจุดประสงค์ของบทเรียนอย่างมีประสิทธิภาพ 4 ประการ คือ

1.ให้ผู้เรียนได้มีส่วนร่วมในการเรียนรู้อย่างแข็งขันด้วยความพึงพอใจและเต็มใจที่จะเรียนรู้
2.ให้ผู้เรียนได้รับข้อมูลย้อนกลับอย่างฉับพลันช่วยกระตุ้นผู้เรียนต้องการจะเรียนรู้ต่อไป
3.ให้ผู้เรียนได้รับการเสริมแรงด้วยการให้ประสบการณ์แห่งความสำเร็จเรียนรู้ด้วยความพอใจ
4. ให้ผู้เรียนได้เรียนรู้เป็นขั้นตอนทีละน้อย ไม่เกิดความดับข้องใจ เรียนด้วยความสนใจ พอใจ

บทบาทของคอมพิวเตอร์ที่จำเป็นต้องนำมาใช้ในการศึกษา จึงแบ่งเป็น 3 ประเภท

  1. คอมพิวเตอร์เพื่อการบริหาร (computer Applications into Administration)
  2. คอมพิวเตอร์เพื่อการจัดการเรียนการสอน (Computer -Managed Instruction)
  3. คอมพิวเตอร์ช่วยสอน (Computer -Assisted Instruction : CAI)

กองการวิจัยทางการศึกษา กรมวิชาการ กระทรวงศึกษาธิการ.(2545).การพัฒนาและการใช้คอมพิวเตอร์เพื่อการเรียนการสอนในโรงเรียน มัธยมศึกษา.กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.    (157-158)

การใช้เทคโนโลยีในการจัดการฐานข้อมูลขององค์การทางการศึกษา

การใช้เทคโนโลยีในการจัดการฐานข้อมูล (Database Management) ขององค์การทางการศึกษาจะก่อให้เกิดผลดีหลายประการ เช่น ได้ฐานข้อมูลที่มีความเบ็ดเสร็จในตัวเอง มีการแยกการจัดเก็บอย่างเป็นระบบ โดยผู้ใช้ไม่ต้องทำการใด ๆ ที่เกี่ยวกับการบรรจุรวบรวมข้อมูลอีก ใช้ได้กับผู้ใช้บริการหลายกลุ่มและลดความซ้ำซ้อนของข้อมูลเพราะสามารถใช้ร่วมกันได้ ขจัดความไม่ตรงกันของข้อมูล ผู้ใช้สามารถใช้ข้อมูลและควบคุมการใช้ข้อมูลได้ในเวลาเดียวกัน สามารถกำหนดมาตรการในการควบคุมและเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อมูลได้ มีการกำหนดมาตรฐานข้อมูลไว้ตายตัวเป็นแนวเดียวกันและทำให้ข้อมูลทุกด้านมีความสัมพันธ์กัน

การนำนวัตกรรมและเทคโนโลยีทันสมัยมาใช้ในการพัฒนาการเรียนการสอน

วิธีการจัดการศึกษา สามารถแบ่งเป็นหัวข้อต่าง ๆ ได้ดังนี้ เช่น การศึกษารายบุคคล การศึกษาเป็นกลุ่ม การศึกษามวลชน (กิดานันท์ มลิทอง 2536 : 12-13) การศึกษาทางไกล การศึกษาระบบเปิด การศึกษาต่อเนื่อง การศึกษาผู้ใหญ่ เป็นต้น ( อุ่นตา นพคุณ 2523 : 28-29 )
การใช้เทคโนโลยีช่วยสนับสนุนการตัดสินใจของผู้บริหารองค์การทางการศึกษา

เทคโนโลยีช่วยการตัดสินใจเป็นสิ่งสำคัญและจำเป็น เพราะกระบวนการตัดสินใจ จำเป็นต้องอาศัยปัจจัยหลายด้าน มีข้อมูลที่เกี่ยวข้องจำนวนมาก มีการดำเนินงานหลายขั้นตอน แต่มีเวลาจำกัด นักเทคโนโลยีสารสนเทศจึงพยายามพัฒนาระบบที่เอื้อต่อกระบวนการตัดสินใจเพื่อให้เกิดผลกระทบกับงานด้านต่าง ๆ อันเป็นผลจากการตัดสินใจนั้น ๆ

การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการบริหารองค์การทางการศึกษา

ผู้บริหารองค์การทางการศึกษามีหน้าที่เกี่ยวข้องกับงานสาขาต่าง ๆ หลายด้าน เช่น งานด้านงบประมาณและการเงิน งานบุคลากร งานอาคารสถานที่ งานโปรแกรมการศึกษาและงานนิสิตนักศึกษา เป็นต้น งานเหล่านี้ยังแบ่งเป็นระบบงานย่อย ๆ อีกมากมาย ผู้บริหารจึงจำเป็นต้องมีระบบสารสนเทศหรือข่าวสารข้อมูลที่ดี กล่าวคือ เป็นข้อมูลที่ทันต่อเวลาและการใช้ประโยชน์ตรงตามความต้องการในขณะนั้น มีความถูกต้องแม่นยำ ความสมบูรณ์ ครอบคลุมทุกเรื่องที่ผู้บริหารต้องการ

การใช้เทคโนโลยีเสริมสร้างคุณภาพองค์การทางการศึกษา

การเสริมสร้างคุณภาพขององค์การทางการศึกษา เป็นงานพัฒนาสถาบันที่เพิ่มขึ้นนอกเหนือจากการจัดการฐานข้อมูล การใช้เทคโนโลยีสนับสนุนการตัดสินใจ ใช้เทคโนโลยีเพื่อการบริหารที่กล่าวมาแล้ว เป็นการเสริมสร้างคุณภาพภายใน (internal quality control) การตรวจสอบคุณภาพ (quality auditing) และการประเมินคุณภาพ (quality assessment)สวัสดิ์  ปุษปาคม.(2543).นวกรรมและเทคโนโลยีในการศึกษา. กรุงเทพฯ: ห้างหุ้นส่วนำกัดสุนทรกิจการพิมพ์.    (57-60)

 

ความหมาย

“นวัตกรรม” หมายถึง ความคิด การปฏิบัติ หรือสิ่งประดิษฐ์ใหม่ ๆ ที่ยังไม่เคยมีใช้มาก่อน หรือเป็นการพัฒนาดัดแปลงมาจากของเดิมที่มีอยู่แล้วก็ได้ ให้มีความทันสมัยและใช้ได้ผลดียิ่งขึ้น เมื่อนำ นวัตกรรมมาใช้จะช่วยให้การทำงานนั้นได้ผลดีมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูงกว่าเดิม ทั้งยังช่วย ประหยัดเวลาและแรงงานได้ด้วย

เทคโนโลยี หมายถึง สิ่งที่มนุษย์พัฒนาขึ้น เพื่อช่วยในการทำงานหรือแก้ปัญหาต่าง ๆ เข่น อุปกรณ์, เครื่องมือ, เครื่องจักร, วัสดุ หรือ แม้กระทั่งที่ไม่ได้เป็นสิ่งของที่จับต้องได้  เช่น  โปรแกรมต่างๆ  ที่มีความทันสมัยและสามารถต่อยอดได้

การปรับปรุงนวัตกรรม หมายถึง การปรับปรุงสิ่งที่มีอยู่แล้วหรืออกแบบเพื่อพัฒนาวัสดุอุปกรณ์ เทคนิคหรือวิธีการขึ้นมาใช้ในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้รูปแบบใหม่ให้สอดคล้องกับการแก้ปัญหาหรือตรงกับความต้องการที่คาดหวังไว้ วิธีการหรือนวัตกรรมที่ได้มาต้องเป็นเครื่องมือที่มีบทบาทสำคัญ ในการถ่ายทอดความรู้และประสบการณ์จากผู้สอนไปสู้ผู้เรียน  ช่วยกระตุ้นความสนใจและเป็นตัวการในการสื่อสารระหว่างผู้สอนและผู้เรียน ดำเนินไปอย่างมีประสิทธิภาพ ทำให้ผู้เรียนมีพัฒนาการด้านความรู้ ความเข้าใจ ทักษะปฏิบัติและทัศนคติ ได้ตามที่ผู้สอนต้องการ

วิธีการขั้นตอนการปรับปรุงนวัตกรรม

ขั้นตอนการวิจัยเชิงการพัฒนาโดยทั่วไปมักกำหนดไว้ 3 ขั้นตอน

ขั้นที่ 1 การสร้างและหาประสิทธิภาพ โดยดำเนินในขั้นตอนย่อยๆดังนี้

  1. ศึกษาเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
  2. ยกร่างนวัตกรรม( สื่อ วิธีการ หลักสูตร การวัดและการประเมิน และกระบวนการบริหาร )
  3. เสนอผู้เชียวชาญ
  4. ทดลองใช้กับกลุ่มเป้าหมาย
  5. อาจจะหาประสิทธิภาพE1E2

ขั้นที่ 2 ศึกษาผลการใช้

  1. นำไปใช้กับกลุ่มตัวอย่าง/กลุ่มเป้าหมาย
  2. ทำการทดสอบผลและประเมินผลการใช้ โดยอาจใช้
  • เปรียบเทียบก่อนใช้หลังใช้ ( ใช้T-test แบบ t-pair )
  • เปรียบเทียบกับเกณฑ์ที่กำหนด ( ใช้T-test แบบ one – sample )

ขั้นที่ 3 ประเมินผล

ใช้แบบวัดความพึงพอใจ แบบวัดทัศนคติ แบบวัดความคิดเห็น หรือใช้รูปแบบประเมินใดๆ เพื่อการประเมินผลการใช้นวัตกรรมนั้น

ความสำคัญและบทบาทไอซีทีในสังคมโลก

เทคโนโลยีการศึกษามีความสำคัญและมีความจำเป็นที่เด่นชัดในปัจจุบันนี้ คือ การนำเทคโนโลยีและนวัตกรรมต่าง ๆ มาใช้ในกระบวนการศึกษาด้วยเหตุผลสำคัญ

  1. ความเจริญอย่างรวดเร็วทางด้านวิชาการต่างๆ ของโลก
  2. การเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วของสังคม
  3. ลักษณะสังคมสารสนเทศหรือสังคมข้อมูลข่าวสาร

บทบาทความสำคัญของเทคโนโลยีสารสนเทศ ความก้าวหน้าทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ทำให้มีการพัฒนาคิดค้นสิ่งอำนวยความสะดวกสบายต่อการดำรงชีวิตเป็นอันมาก เทคโนโลยีได้เข้ามาเสริมปัจจัยพื้นฐานการดำรงชีวิตได้เป็นอย่างดี เทคโนโลยีทำให้การสร้างที่พักอาศัยมีคุณภาพมาตรฐาน สามารถผลิตสินค้าและให้บริการต่าง ๆ เพื่อตอบสนองความต้องการของมนุษย์มากขึ้น

ระดับการสร้างนวัตกรรมที่กล่าวกันมากในปัจจุบัน

E-learning ความหมาย e-Learning เป็นคำที่ใช้เรียกเทคโนโลยีการศึกษาแบบใหม่ ที่ยังไม่มีชื่อภาษาไทยที่แน่ชัด  อาจหมายถึง  การเรียนผ่านทางสื่ออิเลคทรอนิกส์ซึ่งใช้การ นำเสนอเนื้อหาทางคอมพิวเตอร์ในรูปของสื่อมัลติมีเดียได้แก่ ข้อความอิเลคทรอนิกส์ ภาพนิ่ง ภาพกราฟิก วิดีโอ ภาพเคลื่อนไหว ภาพสามมิติ ฯลฯ

ห้องเรียนเสมือนจริง  การเรียนการสอนที่จำลองแบบเสมือนจริง เป็นนวัตกรรมทางการศึกษาที่สถาบันการศึกษา ต่างๆ ทั่วโลกกำลังให้ความสนใจและจะขยายตัวมากขึ้นในศตวรรษที่ 21 การเรียนการสอนในระบบนี้อาศัยสื่ออิเล็กทรอนิกส์โทรคมนาคม และเครือข่ายคอมพิวเตอร์เป็นหลัก ที่เรียกว่า Virtual Classroom หรือ Virtual Campus

การศึกษาทางไกล (Distance Education) หมายถึง ระบบการศึกษาที่ผู้เรียนและผู้สอนอยู่ ไกลกัน แต่สามารถทำให้เกิดการเรียนรู้ได้โดยอาศัยสื่อการสอนในลักษณะของสื่อประสม กล่าวคือ การใช้สื่อต่างๆ ร่วมกัน เช่น ตำราเรียน เทปเสียง แผนภูมิ คอมพิวเตอร์ หรือโดยการใช้อุปกรณ์ทาง โทรคมนาคม และสื่อมวลชนประเภทวิทยุและโทรทัศน์เข้ามาช่วยในการแพร่กระจาย การศึกษาไปยังผู้ที่ปรารถนาจะเรียนรู้ได้อย่างกว้างขวางทั่วทุกท้องถิ่น

สื่อหลายมิตินั้นเป็นสื่อประสมที่พัฒนามาจากข้อความหลายมิติ ซึ่งแนวความคิดเกี่ยวกับข้อ ความหลายมิติ (hypertext)การจัดทำสื่อหลายมิติ จัดทำโดยใช้กระบวนการของสื่อประสมในการผลิตเรื่องราวและบท เรียนต่าง ๆ ในรูปลักษณะและวิธีการของข้อความหลายมิติ นั่นเอง โดยการใช้คอมพิวเตอร์เป็นศูนย์ กลางการเขียนเรื่องราว

ประเภทของนวัตกรรม

นวัตกรรมสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภทใหญ่ ๆ ได้ดังนี้

  1. นวัตกรรมที่จับต้องได้ (Tangible Innovation) เป็นนวัตกรรมที่เน้นในส่วนของ นวัตกรรมผลิตภัณฑ์ (Product Innovation) แบ่งได้เป็น

1.1 ผลิตภัณฑ์ที่จับต้องได้ (Tangible product) เป็นนวัตกรรมที่ผู้ผลิตสร้างสรรค์ผลงานขึ้นมาและผู้ใช้สามารถเห็นและสัมผัสได้ เช่น รถยนต์รุ่นใหม่ เครื่องเล่นดีวีดีรุ่นใหม่ โทรศัพท์มือถือระบบใหม่ เป็นต้น

1.2 ผลิตภัณฑ์ที่จับต้องไม่ได้ (Intangible Product) เป็นบริการ (Service) ที่ผู้ให้บริการพยายามสร้างสรรค์สิ่งใหม่ ๆ ขึ้นมา เช่น การใช้ Internet Banking ของธนาคาร การขาย Software ทางอินเตอร์เน็ต เป็นต้น

2.นวัตกรรมที่จับต้องไม่ได้ (Intangible Innovation) เป็นนวัตกรรมที่เน้นในส่วนของ นวัตกรรมกระบวนการ (Process Innovation) เพราะทำให้ระบบการทำงานต่าง ๆ ในองค์กรมีการเปลี่ยนแปลง แบ่งได้เป็นคือ

2.1 นวัตกรรมขบวนการทางเทคโนโลยี (Technological Process Innovation) เป็นการนำเอาเทคโนโลยีใหม่ ๆ มาพัฒนาทำให้กระบวนการ และรูปแบบการทำงานในองค์มีการพัฒนามากขึ้น เช่น การนำหุ่นยนต์ (Robot) มาใช้ในการผลิตรถยนต์ ธนาคารนำตู้ถอน-ฝากเงินอัตโนมัติ (ATM) มาใช้ เป็นต้น

2.2 นวัตกรรมขบวนการทางองค์กร (Organization Process Innovation) เป็นการนำเอาระบบการบริหารงานรูปแบบใหม่เข้ามาพัฒนากระบวนการและขีดความสามารถทางการบริหารองค์กรให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น

การนำนวัตกรรมมาใช้ในการบริหารจัดการศึกษา

บทบาทความก้าวหน้าของเทคโนโลยีการสื่อสาร มีผลต่อการศึกษาและเกิดการเปลี่ยนแปลงกระบวนการทางศึกษาครั้งสำคัญ สถาบันการศึกษาต่างๆ ย่อมต้องปรับตัวเพื่อตอบสนองต่อการใช้เทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว

แนวโน้มเทคโนโลยีการสื่อสารที่นำมาใช้ในระบบการศึกษา

ปัจจุบันเทคโนโลยีการศึกษามีบทบาทอย่างยิ่งในการจัดการศึกษาในยุคโลกาภิวัฒน์  เทคโนโลยีการศึกษาช่วยให้การขยายโอกาสทางการศึกษาเป็นไปอย่างมประสิทธิภาพ การขยายโอกาสทางการศึกษาโดยการใช้การศึกษานอกระบบโรงเรียนเข้ามาช่วยจัดการศึกษาให้กับกลุ่มผู้ด้อยโอกาสทางการศึกษาโดยการใช้เทคโนโลยีในการเรียนผ่านสื่อต่างๆ เช่น หนังสือบทเรียนสำเร็จรูป โทรทัศน์  โทรคมนาคม การจัดการศึกษาทางไกลโดยใช้ดาวเทียมแบบส่งตรงถึงบ้าน

  1. ช่วยให้การจัดการศึกษา ตอบสนองความแตกต่างระหว่างบุคคลและชุมชนที่แตกต่างกันตามความต้องการได้ สื่อและเทคโนโลยีจะช่วยแก้ปัญหาการขาดแคลนบุคลากรและผู้เชี่ยวชาญ
  2. มหาวิทยาลัยในส่วนภูมิภาค สามารถใช้ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีในการเชื่อมเครือข่ายคอมพิวเตอร์ สามารถดึงข้อมูลงานวิจัยของมหาวิทยาลัยในกรุงเทพฯ ไปใช้ได้
  3. ช่วยให้การกระจายอำนาจทางการศึกษา สามารถทำได้อย่างมีประสิทธิภาพ การควบคุมคุณภาพ สามารถทำได้จากส่วนกลางโดยเทคโนโลยีเครือข่าย
  4. เทคโนโลยีการศึกษาทำให้ผู้พิการ ผู้ด้อยโอกาสทางการศึกษา มีโอกาสเรียนได้ทัดเทียมกับคนปกติ

การประเมินคุณภาพนวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการเรียนรู้แบ่งออกเป็น

  1. การประเมินสื่อการสอน โดยสุมาลี, 2545 กล่าวว่ามี 2 วิธี ดังนี้

1.1 การประเมินโดยอาศัยเกณฑ์

แนวคิดการประเมินโดยอาศัยเกณฑ์จะมีการกำหนดค่าตัวเลขขึ้นมาเพื่อเป็นสิ่งที่จะระบุถึงประสิทธิภาพของสื่อ ในปัจจุบันการกำหนดเกณฑ์นิยมปฏิบัติใน 2 แนวทาง คือ

(1) เกณฑ์มาตรฐาน 90/90 เป็นวิธีการที่ได้รับการพัฒนามาเพื่อประเมินประสิทธิภาพของบทเรียนโปรแกรม  มีพื้นฐานมาจากการเรียนรู้แบบรอบรู้ (Mastery learning) นิยามของเกณฑ์มาตรฐาน 90/90 นั้นได้อธิบายไว้ว่า

90 ตัวแรกเป็นคะแนนของทั้งกลุ่ม ซึ่งหมายถึงนักเรียนทุกคน ถ้าบทเรียนโปรแกรมถึงเกณฑ์ค่าร้อยละเฉลี่ยของกลุ่มจะต้องเป็น 90 หรือสูงกว่า

90 ตัวที่สองแทนคุณสมบัติที่ว่า ร้อยละ 90 ของนักเรียนทั้งหมดได้รับผลสัมฤทธิ์ตามมุ่งหมายแต่ละข้อ และทุกข้อของบทเรียนโปรแกรม

(2) การทดสอบประสิทธิภาพตามเกณฑ์ประสิทธิภาพ E1/E2 เป็นแนวคิดการประเมินที่เกิดขึ้นเพื่อประเมินประสิทธิภาพของชุดการสอนและสื่อการสอนประเภทต่างๆ ยกเว้นบทเรียนโปรแกรม ซึ่งตั้งอยู่บนพื้นฐานของกลุ่มพฤติกรรมนิยมที่ต้องการประเมินผลพฤติกรรมของผู้เรียนใน 2 ประเภท คือ พฤติกรรมต่อเนื่อง (กระบวนการ) และพฤติกรรมสุดท้าย (ผลลัพธ์) โดยกำหนดค่าประสิทธิภาพเป็น E1 (ประสิทธิภาพของกระบวนการ) E2 (ประสิทธิภาพของผลลัพธ์) นิยามประสิทธิภาพ E1/E2

E1 หมายถึง ค่าร้อยละของคะแนนเฉลี่ยที่เกิดจากการทำกิจกรรมระหว่างเรียนจากชุดการสอนหรือสื่ออื่นๆ ของผู้เรียน (ประสิทธิภาพของกระบวนการเรียนรู้)

E2 หมายถึง ค่าร้อยละของคะแนนเฉลี่ยที่เกิดจากการทำแบบทดสอบหลังการเรียนของผู้เรียน (ประสิทธิภาพของผลลัพธ์การเรียนรู้)

1.2 การประเมินโดยค่าดัชนีประสิทธิผล

การวิเคราะห์ค่าดัชนีประสิทธิผล ( Effectiveness index: E.I.) เป็นอีกวิธีที่ใช้ ในการประเมินประสิทธิภาพสื่อการสอนซึ่งนิยมใช้ วิธีของ Goodman, Fletcher and Schneider(1980) โดยดัชนีประสิทธิผลที่ใช้ได้ควรมีค่า 0.50 ขึ้นไป

การประเมินที่นำมาใช้ ควรมีลักษณะที่สอดคล้อง คือ การประเมินเพื่อปรับปรุงและการประเมิน ผลลัพธ์  ด้วยเหตุนี้การประเมินเพียงเฉพาะมิติด้านผลสัมฤทธิ์ซึ่งใช้ข้อมูลเชิงปริมาณที่เป็นค่าคะแนน หรือตัวเลขอย่างเดียว อาจให้รายละเอียดไม่เพียงพอที่จะนำมาสู่การปรับปรุงในกระบวนการพัฒนา

  1. การประเมินสื่อการเรียนรู้และสิ่งแวดล้อมทางการเรียนรู้

สุมาลี ชัยเจริญ, 2551 ได้อธิบายว่า ภายหลังกระบวนทัศน์การประเมินที่เปลี่ยนแปลงจากสื่อเพื่อการถ่ายทอดมาสู่สื่อหรือเทคโนโลยีทางปัญญา (Cognitive technology) ที่มุ่งเน้นการส่งเสริมกระบวนการรู้คิดหรือกระบวนการทางพุทธิปัญญา (Cognitive process) และแนวโน้มในปัจจุบันทฤษฎีในกลุ่มพุทธิปัญญานิยมและกลุ่มคอนสตรัคติวิสต์ที่นิยามการเรียนรู้ คือการสร้างความรู้ของผู้เรียน

วิธีการประเมินประสิทธิภาพของสื่อหรือนวัตกรรมทางการศึกษา ซึ่งมีขั้นตอนการหาประสิทธิภาพเริ่มตั้งแต่ การทดลองแบบกลุ่มต่อหนึ่ง (One to one testing) แล้วนาสื่อมาทดลองกับกลุ่มเล็ก (Small group testing) และท้ายสุดทาการทดลองภาคสนาม (Field testing) และอาจใช้วิธีการหาค่าประสิทธิภาพกระบวนการ(E1)/ผลลัพธ์(E2) หรืออาจใช้วิธีการหาค่าดัชนีประสิทธิผล(Effectiveness index หรือ E.I.) ค่าประสิทธิภาพดังกล่าว ล้วนแต่เป็นค่าที่ได้จากการทำแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ซึ่งจะได้เป็นเพียงเฉพาะค่าคะแนนที่เป็นตัวเลขเชิงปริมาณเท่านั้น ซึ่งวิธีการหาประสิทธิภาพดังกล่าว อาศัยพื้นฐานกระบวนทัศน์การประเมินเชิงปริมาณ (Quantitative paradigm) ซึ่งเชื่ออยู่บนพื้นฐานที่ สามารถวัดได้ และได้พยายามที่จะอธิบายความเปลี่ยนแปลงในลักษณะของความจริงแท้แน่นอน (Reality)

หากเราพิจารณาความสอดคล้องกับการออกแบบนวัตกรรมการเรียนรู้หรือนวัตกรรมการเรียนรู้ตามแนวคอนสตรัคติวิสต์ ที่มุ่งเน้นการปรับปรุงและพัฒนาให้ผลผลิตที่มีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น ดังนั้นในกระบวนการออกแบบและพัฒนา การประเมินที่นามาใช้ ควรมีลักษณะที่สอดคล้อง คือ การประเมินเพื่อปรับปรุง(Formative assessment หรือ Formative evaluation) รวมทั้งการประเมินที่มีลักษณะเป็นประเมินผลลัพธ์ (Summative evaluation) ในการประเมินเพื่อยืนยันผลลัพธ์ ด้วยเหตุผลดังกล่าว การประเมินที่ใช้ข้อมูลเชิงปริมาณที่เป็นค่าคะแนน หรือตัวเลข อย่างเดียว อาจให้รายละเอียดไม่เพียงพอที่จะนามาสู่การปรับปรุงใน    กระบวนการพัฒนา โดยเฉพาะอย่างยิ่งการออกแบบนวัตกรรมตามแนวคอนสตรัคติวิสต์ จะอาศัยวิธีการประเมินตามสภาพจริง (Authentic assessment) เพื่อสะท้อนให้เห็นถึงคุณภาพที่แท้จริงของนวัตกรรมที่พัฒนาขึ้นที่ส่งผลต่อการพัฒนาคุณภาพของผู้เรียน ซึ่งมีหลักการที่สำคัญที่ควรพิจารณา ประกอบด้วย

(1) การประเมินด้านผลผลิต

(2) การประเมินบริบทการใช้

(3) การประเมินด้านความสามารถทางปัญญา

(4) การประเมินด้านความคิดเห็น

(5) การประเมินผลสัมฤทธิ์

ดังมีรายละเอียดต่อไปนี้

  1. การประเมินด้านผลผลิตการประเมินด้านผลผลิต เป็นการตรวจสอบคุณลักษณะของนวัตกรรมฯด้านต่างๆได้แก่
  2. การประเมินด้านเนื้อหาเป็นการตรวจสอบเนื้อหา โดยผู้เชี่ยวชาญด้านเนื้อหา จะทำการตรวจสอบเนื้อหาในด้านต่างๆ ผู้เชี่ยวชาญอาจเป็นครูผู้สอน หรือผู้ที่มีความรู้ ความสามารถ หรือมีความเชี่ยวชาญเกี่ยวกับเนื้อหาเรื่องที่จะประเมิน หลักการสำคัญที่นามาเป็นพื้นฐานในการพิจารณาเนื้อหาที่นามาใช้ในการเรียนรู้ (Khan, B.H, Vega R. , 1997; Hannafin, 1999)
  3. ด้านสื่อเป็นการตรวจสอบเกี่ยวกับคุณภาพการออกแบบสื่อ คุณลักษณะของสื่อชนิดต่างๆ ซึ่งจะแตกต่างกันไป เช่น สื่อบนเครือข่าย มัลติมีเดีย สื่อสิ่งพิมพ์ ในที่นี้ผู้เขียนนาเสนอตัวอย่างหลักการพื้นฐานที่ใช้ในการพิจารณาสื่อบนเครือข่ายของ Khan, B.H, Vega R. (1997), Hannafin (1999) และ ชุดสร้างความรู้
  4. การออกแบบสิ่งแวดล้อมทางการเรียนรู้เป็นการตรวจสอบการออกแบบการสอนที่อาศัยพื้นฐานทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ ซึ่งนาหลักการสำคัญของ Cognitive constructivism ของ Piajet และ Social constructivism ของ Vygotsky มาเป็นพื้นฐานในการออกแบบ หรือเรียกว่า การนำทฤษฎีสู่การปฏิบัติ ที่อยู่ในลักษณะองค์ประกอบที่สำคัญ ได้แก่ สถานการณ์ปัญหา ธนาคารความรู้ ฐานการช่วยเหลือ การร่วมมือกันแก้ปัญหา
  5. การประเมินด้านบริบทการใช้

การประเมินบริบทการใช้ในสภาพจริง หรือเป็นการนำไปทดลองใช้ เพื่อศึกษาเพื่อหาบริบทที่เหมาะสมในการใช้นวัตกรรมการเรียนรู้ตามแนวคอนสตรัคติวิสต์ อย่างมีประสิทธิภาพในสภาพจริง เช่น จำนวนสมาชิกในกลุ่มที่เรียนแบบร่วมมือกันแก้ปัญหาที่มีประสิทธิภาพสูงสุด ในกิจกรรมการแก้ปัญหาที่ใช้สิ่งแวดล้อมทางการเรียนรู้บนเครือข่าย (Web-based learning environment) เป็นต้น รวมทั้งซึ่งเพื่อนำข้อคิดเห็นของผู้เรียนที่เรียนด้วยนวัตกรรมการเรียนรู้ตามแนวคอนสตรัคติวิสต์ของสื่อบนเครือข่ายหรือข้อบกพร่องต่างๆของนวัตกรรมการเรียนรู้ตามแนวคอนสตรัคติวิสต์ มาเพื่อเป็นพื้นฐานในการปรับปรุง แก้ไข นวัตกรรมการเรียนรู้บนเครือข่าย ตามแนวคอนสตรัคติวิสต์ ดังรายละเอียด

  1. การประเมินด้านความคิดเห็นของผู้เรียน

ความคิดเห็นของผู้เรียนเกี่ยวกับนวัตกรรมการเรียนรู้ตามแนวคอนสตรัคติวิสต์ เป็นส่วนหนึ่งที่สะท้อนเกี่ยวกับประสิทธิภาพนวัตกรรมการเรียนรู้ตามแนวคอนสตรัคติวิสต์ มิใช่เพียงแต่ค่าคะแนนที่ได้จากผู้เรียนที่ได้เรียนทำได้เช่น ค่า E1/E2 เท่านั้น นอกจากนี้ผลของความคิดเห็นฯของผู้เรียน สามารถนำมาเป็นพื้นฐานในการปรับปรุงนวัตกรรมการเรียนรู้ตามแนวคอนสตรัคติวิสต์

การประเมินคุณภาพของนวัตกรรมการเรียนรู้ตามแนวคอนสตรัคติวิสต์ อาศัยพื้นฐานด้านที่สำคัญ ได้แก่ 1) ด้านคุณลักษณะของสื่อบนเครือข่าย 2) ด้านเนื้อหาในการเรียนรู้ และ 3) ด้านการออกแบบนวัตกรรมการเรียนรู้ตามแนวคอนสตรัคติวิสต์ การประเมินความคิดเห็นของผู้เรียนที่เรียนด้วยนวัตกรรมการเรียนรู้ตามแนวคอนสตรัคติวิสต์ของสื่อบนเครือข่าย ทั้ง 3 ด้านดังกล่าวข้างต้น จะสะท้อนให้เห็นเกี่ยวกับประสิทธิภาพของนวัตกรรมการเรียนรู้ตามแนวคอนสตรัคติวิสต์ของสื่อบนเครือข่าย และสามารถนาข้อคิดเห็นดังกล่าว มาเป็นพื้นฐานในการปรับปรุง แก้ไข นวัตกรรมการเรียนรู้บนเครือข่าย ตามแนวคอนสตรัคติวิสต์ให้มีประสิทธิภาพเพิ่มมากขึ้น ดังรายละเอียดในแต่ละด้านที่อาศัยกรอบแนวคิดการประเมินเกี่ยวกับด้านต่างๆมีความคล้ายคลึงกับการประเมินของผู้เชี่ยวชาญ

  1. การประเมินด้านความสามารถทางพุทธิปัญญา

ความสามารถ(Performance) ทางพุทธิปัญญาของผู้เรียน ถือเป็นอีกมิติหนึ่งที่จะสะท้อนให้เห็นประสิทธิภาพของนวัตกรรมการเรียนรู้บนเครือข่าย ตามแนวคอนสตรัคติวิสต์ที่ส่งเสริมการสร้างความรู้ฯ นอกเหนือจากการประเมินผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน หรือ ประสิทธิภาพของกระบวนการ/ประสิทธิภาพของผลลัพธ์ หรือ E1/E2 เท่านั้น ความสามารถ (Performance) ทางพุทธิปัญญาของผู้เรียน อาจสามารถประเมินได้จากการกระทาที่แสดงออกโดยตรงจาการทางานด้านต่างๆ โดยจะมุ่งเน้นการแสดงออกในเชิงพุทธิปัญญา (Cognitive) มากกว่าพฤติกรรม (Behavior) ที่แสดงออกมา ตัวอย่างเช่น สถานการณ์ที่กำหนดให้ ที่เป็นสภาพจริงหรือใกล้เคียงกับสภาพจริง เปิดโอกาสให้ผู้เรียนแก้ปัญหา หรือปฏิบัติงานจริง อาจประเมินได้จาก การแก้ปัญหา กระบวนการทำงาน กระบวนการคิด (Cognitive process) โดยเฉพาะการคิดในระดับสูง (higher-order thinking) ได้แก่ การคิดวิเคราะห์ การคิดวิพากษ์วิจารณ์ การคิดสร้างสรรค์ การคิดเชิงเหตุผล และทักษะทางการคิด (Thinking skills) เป็นต้น นอกจากนี้เป็นการประเมินเกี่ยวกับกระบวนการทำงาน เช่น กระบวนการแก้ปัญหา เป็นต้น สำหรับกรอบแนวคิดเชิงทฤษฎีที่นามาเป็นพื้นฐานในการประเมินนั้น จะขึ้นกับหลักการ ทฤษฎี ที่เกี่ยวข้องกับตัวแปร หรือ เรื่องที่ทาการศึกษานั้นๆ

  1. การประเมินด้านผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน

ประเมินด้านผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหรือค่าคะแนนที่ได้จากประเมินได้จากคะแนนจากการทดสอบหลังเรียนของผู้เรียนหลังจากการเรียนด้วยนวัตกรรมการเรียนรู้ตามแนวคอนสตรัคติวิสต์ เป็นมิติหนึ่งของการประเมินสื่อโดยทั่วไป ที่ทุกท่านคุ้นเคย ได้แก่ ประสิทธิภาพของกระบวนการ/ประสิทธิภาพของผลลัพธ์ หรือ E1/E2 หรือ ค่าดัชนีประสิทธิผล (Index effectiveness) ที่จะสะท้อนให้เห็นประสิทธิภาพของสื่อ

นอกจากนี้ยังสามารถประเมินได้จากคะแนนจากการทดสอบหลังเรียนของผู้เรียนตามเกณฑ์ที่กำหนด เช่น การผ่านเกณฑ์ของรายวิชา หรือการผ่านเกณฑ์ของโรงเรียน เช่น กำหนดให้ผู้เรียนทุกคนต้องผ่านเกณฑ์ร้อยละ 65 ของคะแนนเต็ม เป็นต้น

 

 

1.ความหมายของการทดสอบประสิทธิภาพ

ประสิทธิภาพ (Efficiency) หมายถึงสภาวะหรือคุณภาพของสมรรถนะในการดำเนินงานเพื่อให้งานมีความสำเร็จโดยใช้เวลา ความพยายามและค่าใช้จ่ายคุ้มค่าที่สุดตามจุดมุ่งหมายที่กำหนดไว้เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ โดยกำหนดเป็นอัตราส่วนหรือร้อยละระหว่างปัจจัยนำเข้า กระบวนการและผลลัพธ์ ประสิทธิภาพเน้นการดำเนินการที่ถูกต้องหรือกระทำสิ่งใดๆ อย่างถูกวิธี

คำว่าประสิทธิภาพมักสับสนกับคำว่าประสิทธิผล (Effectiveness) ซึ่งเป็นคำที่คลุมเครือไม่เน้นปริมาณ และมุ่งให้บรรลุวัตถุประสงค์และเน้นการทำสิ่งที่ถูกที่ควร ดังนั้นสองคำนี้จึงมักใช้คู่กัน คือประสิทธิภาพและประสิทธิผล

การทดสอบประสิทธิภาพของสื่อ

การทดสอบประสิทธิภาพของสื่อ หมายถึงการหาคุณภาพของสื่อ โดยพิจารณาตามขั้นตอนของการพัฒนาสื่อแต่ละขั้น ตรงกับภาษาอังกฤษว่า Developmental Testing

    Developmental Testing คือ การทดสอบคุณภาพตามพัฒนาการของการผลิตสื่อตามลำดับขั้นเพื่อตรวจสอบคุณภาพของแต่ละองค์ประกอบของต้นแบบชิ้นงานให้ดำเนินไปอย่างมีประสิทธิภาพ โดยมี 2 ขั้นตอน คือ การทดสอบประสิทธิภาพใช้เบื้องต้น และทดสอบประสิทธิภาพสอนจริง เพื่อหาคุณภาพของสื่อตามขั้นตอนที่กำหนดใน 3 ประเด็น คือ การทำให้ผู้เรียนมีความรู้เพิ่มขึ้น การช่วยให้ผู้เรียนผ่านกระบวนการเรียนและทำแบบประเมินสุดท้ายได้ดี และการทำให้ผู้เรียนมีความพึงพอใจนำผลที่ได้มาปรับปรุงแก้ไข ก่อนที่จะผลิตออกมาเผยแพร่

     1.การทดสอบประสิทธิภาพใช้เบื้องต้น เป็นการนำสื่อที่ผลิตขึ้นมาเป็นต้นแบบแล้วไปทดสอบประสิทธิภาพใช้ตามขั้นตอนที่กำหนดไว้ในแต่ละระบบ เพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพของสื่อให้เท่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้ และปรับปรุงจนถึงเกณฑ์

     2.การทดสอบประสิทธิภาพสอนจริง หมายถึงการนำสื่อที่ได้ทดสอบประสิทธิภาพใช้และปรับปรุงจนได้คุณภาพถึงเกณฑ์แล้วของแต่ละหน่วย ทุกหน่วยในแต่ละวิชาไปสอนจริงในชั้นเรียนหรือในสถานการณ์การเรียนที่แท้จริงในช่วงเวลาหนึ่ง อาทิ 1 ภาคการศึกษาเป็นอย่างน้อย เพื่อตรวจสอบคุณภาพเป็นครั้งสุดท้ายก่อนนำไปเผยแพร่และผลิตออกมา

-การทดสอบประสิทธิภาพทั้งสองขั้นตอนจะต้องผ่านการวิจัยเชิงวิจัยและพัฒนา โดยต้องดำเนินการวิจัยในขั้นทดสอบประสิทธิภาพเบื้องต้น และอาจทดสอบประสิทธิภาพซ้ำในขั้นทดสอบประสิทธิภาพใช้จริงด้วยก็ได้เพื่อประกันคุณภาพของสถาบันการศึกษาทางไกลนานาชาติ

ความจำเป็นที่จะต้องหาประสิทธิภาพ

  1. สำหรับหน่วยงานผลิตสื่อหรือชุดชุดการสอน การทดสอบประสิทธิภาพช่วยประกันคุณภาพของสื่อหรือชุดการสอนว่าอยู่ในขั้นสูง
  2. สำหรับผู้ใช้สื่อหรือชุดการสอน สื่อหรือชุดการสอนที่ผ่านการทดสอบประสิทธิภาพ จะทำหน้าที่เป็นเครื่องมือช่วยสอนได้ดี
  3. สำหรับผู้ผลิตสื่อหรือชุดการสอน การทดสอบประสิทธิภาพจะทำให้ผู้ผลิตมั่นใจได้ว่า เนื้อหาสาระที่บรรจุลงในสื่อหรือชุดการสอนมีความเหมาะสม

การตรวจสอบคุณภาพของนวัตกรรม (เทคนิค วิธีการสอน วิธีการต่าง ๆ สื่อ อุปกรณ์ ฯลฯ)

การตรวจสอบคุณภาพนวัตกรรม ที่สำคัญก็คือ การหาความตรงเชิงเนื้อหา   (CONTENT VALIDITY) ว่านวัตกรรมนั้น มีความเหมาะสม ถูกต้อง หรือสอดคล้องกับปัญหา เนื้อหา จุดประสงค์ วัยของนักเรียน หรือไม่ วิธีการตรวจสอบสามารถกระทำได้โดย ให้ผู้เชี่ยวชาญ (EXPERT) หรือผู้ทรงคุณวุฒิ หรือผู้มีประสบการณ์ในเรื่องนั้น ๆ อย่างน้อยที่สุด 3 คน ได้อ่าน หรือตรวจสอบว่า สื่อ/นวัตกรรมนั้น ดี เหมาะสม ใช้ได้หรือไม่ สอดคล้องกับวัตถุประสงค์หรือตามเจตนาของผู้สร้างหรือไม่

การตรวจสอบคุณภาพของนวัตกรรมโดยผู้เชี่ยวชาญ

เป็นการนำนวัตกรรมที่ครูสร้างขึ้นไปให้ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้าน อย่างน้อย 3 คนตรวจสอบ ถ้ามีความเห็นว่าเหมาะสมสอดคล้องกันอย่างน้อย 2 คน แสดงว่า เนื้อหาหรือรูปแบบของนวัตกรรม มีคุณภาพ โดยทั่วไป นิยมหาดัชนีความสอดคล้อง IOC โดยสร้างแบบประเมิน คุณภาพนวัตกรรมไปให้ผู้เชี่ยวชาญ อย่างน้อย 3 คน พิจารณาให้คะแนน ดังนี้

+1 หมายถึง แน่ใจว่าลักษณะของนวัตกรรมสอดคล้องกับจุดประสงค์
0 หมายถึง ไม่แน่ใจลักษณะของนวัตกรรมสอดคล้องกับจุดประสงค์
-1 หมายถึง แน่ใจว่าลักษณะของนวัตกรรมไม่สอดคล้องกับจุดประสงค์

จากนั้นนำคะแนนความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญทั้ง 3 ท่าน มาวิเคราะห์หาดัชนีความสอดคล้องโดยใช้สูตร

ขั้นตอนในการตรวจสอบคุณภาพ

  1. นำสื่อ/นวัตกรรมที่สร้างขึ้น พร้อมวัตถุประสงค์การวิจัย/ศึกษา พร้อมนิยามศัพท์และแบบแสดงความคิดเห็น นำเสนอผู้เชี่ยวชาญ เช่น แบบแสดงความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญที่มีต่อ….

****ให้ท่านผู้เชี่ยวชาญแสดงความคิดเห็นของท่านที่มีต่อ………. โดยใส่เครื่องหมาย /ลงในช่องทางขวามือของรายการที่กำหนด ว่ามีความเหมาะสม สอดคล้อง กับแนวทางการแก้ปัญหาที่กำหนดไว้ในวัตถุประสงค์การวิจัยหรือไม่ พร้อมกับเขียนข้อเสนอแนะข้อคิดเห็นที่เป็นประโยชน์ในการวิจัยด้วย

  1. นำรายการที่ผู้เชี่ยวชาญแสดงความคิดเห็นมาให้ค่าน้ำหนักคะแนน ถ้าเหมาะสม ได้ค่าน้ำหนัก +1 ถ้าไม่แน่ใจ ได้ค่าน้ำหนัก 0 และถ้าไม่เหมาะสม ได้ค่าน้ำหนัก –1

3.บันทึกค่าน้ำหนักคะแนนแต่ละคน และทำการวิเคราะห์หาค่า IOC ดังตัวอย่างแบบบันทึก จากผู้เชี่ยวชาญ 5 คน ดังนี้

หมายเหตุ ค่า IOC ตั้งแต่ 0.5 ขึ้นไป ถือว่าใช้ได้

การตรวจสอบคุณภาพสื่อ/นวัตกรรมบางอย่าง เมื่อผ่านการตรวจสอบจากผู้เชี่ยวชาญแล้ว จะต้องนำไปทดลองใช้ (TRY-OUT) หรือนำไปให้นักเรียนที่เป็นคนละกลุ่มกับกลุ่มที่ศึกษา ทำการตรวจสอบ เช่น   ชุดการสอน บทเรียนสำเร็จรูป บทเรียนโปรแกรม ศูนย์การเรียน  หนังสืออ่านประกอบ เป็นต้น ที่เรียกว่า เกณฑ์ ประสิทธิภาพ    (E1 /E2 )

E1 หมายถึง ประสิทธิภาพของกระบวนการ (ขณะทำงาน)

E2 หมายถึง ประสิทธิภาพของผลลัพธ์

เกณฑ์ประสิทธิภาพเป็นการกำหนดอัตราส่วนร้อยละระหว่าง  E1 /E2 โดยกำหนด 75/75 หรือ 80/80 หรือ 90/90 การกำหนดเกณฑ์เท่าไร จะขึ้นอยู่กับลักษณะหรือธรรมชาติของเนื้อหาวิชา เช่น ถ้าเนื้อหาประเภทความรู้ ความจำ กำหนดเกณฑ์ประสิทธิภาพ 80/80 หรือ 90/90 ถ้าเนื้อหาประเภททักษะหรือเจตคติ กำหนดเกณฑ์ประสิทธิภาพ 75/75 โดยที่เกณฑ์ประสิทธิภาพมีความหมาย 2 นัยด้วยกัน คือ

นัยที่ 1

E1 หมายถึง ร้อยละของจำนวนนักเรียนที่ผ่านเกณฑ์ความพึงพอใจที่กำหนด ขณะ (ระหว่าง)  จัดกิจกรรมการเรียนการสอนรวมทุกกิจกรรม (กระบวนการเรียน/ทำงาน)

E2 หมายถึง ร้อยละของจำนวนนักเรียนที่ผ่านเกณฑ์ความพึงพอใจที่กำหนด เมื่อสิ้นสุด การจัดกิจกรรมการเรียนการสอน (ผลสำเร็จ/ผลลัพธ์ที่ได้)

นัยที่ 2

E1 หมายถึง คะแนนเฉลี่ยร้อยละของนักเรียนทุกคนขณะ (ระหว่าง) จัดกิจกรรมการเรียน การสอนรวมทุกกิจกรรม (กระบวนการเรียน/กระบวนการทำงาน)

E2 หมายถึง คะแนนเฉลี่ยร้อยละของนักเรียนทุกคน เมื่อสิ้นสุดการจัดกิจกรรมการเรียน การสอน (ผลสำเร็จ/ผลลัพธ์ที่ได้)

การประเมินผลสื่อการเรียนรู้

ความหมายของการประเมินผลสื่อการเรียนรู้

การประเมินผลสื่อการเรียนรู้ หมายถึง การนำเอาผลการวัดและประเมินสื่อการเรียนการสอนมาตีความหมาย ( Interpretation ) และตัดสินคุณค่า ( Value Judgment ) เพื่อที่จะรู้ว่าสื่อนั้นทำหน้าที่ตามวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้ได้แค่ไหน มีคุณภาพดีหรือไม่เพียงใด มีลักษณะถูกต้องตามที่ต้องการหรือไม่ประการใด จะเห็นได้ว่าการประเมินผลสื่อการเรียนรู้กระทำได้โดยการพิจารณาจากข้อมูลที่ได้จากการวัดผลสื่อการเรียนรู้นั้นเทียบกับวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้ ข้อมูลที่ได้จากการวัดผลซึ่งมีความสำคัญ การวัดผลจึงต้องกระทำอย่างมีหลักการและเหตุผลอย่างเป็นระบบ เพื่อที่จะได้ข้อมูลที่มีความเที่ยงตรง สามารถบ่งบอกถึงศักยภาพของสื่อได้ถูกต้องตรงตามความเป็นจริง เพื่อประโยชน์ของการประเมินผลสื่อการเรียนรู้อย่างเที่ยงตรงต่อไป ซึ่งในความหมายเดียวกันนี้จะมีคาว่าการวัดผลสื่อการเรียนรู้ควบคู่กันไปด้วย ซึ่งคาว่า “การวัดผลสื่อการเรียนรู้”นี้หมายถึง การกำหนดตัวเลขหรือสัญลักษณ์อย่างมีกฎเกณฑ์ให้กับสื่อการเรียนรู้ ดังนั้นการวัดผลและประเมินผลสื่อการเรียนรู้จึงเป็นกระบวนการที่ต้องจัดทำควบคู่กันไปเสมอโดยใช้เครื่องมือในการวัดและประเมินผลสื่อการเรียนรู้หลากหลายประเภทหลายรูปแบบเลือกใช้ตามความเหมาะสม

ความสำคัญของการประเมินผลสื่อการเรียนรู้

การประเมินผลสื่อการเรียนการสอนหรือสื่อการเรียนรู้นั้น มีความสำคัญและก่อให้เกิดประโยชน์ในด้านต่างๆดังต่อไปนี้ กล่าวคือ

  1. ได้ข้อมูลเกี่ยวกับการเรียนรู้ของผู้เรียนและคุณภาพของการเรียนการสอน ในการประเมินผลสื่อการเรียนรู้จะมีส่วนของการตรวจสอบการเรียนรู้ของผู้เรียนซึ่งเป็นสิ่งที่สำคัญมาก การใช้สื่อการเรียนรู้เป็นการอำนวยความสะดวกและกำหนดเส้นทางให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ตามวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้ การประเมินผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเป็นกระบวนการสำคัญที่จะทาให้ได้ข้อมูลเพื่อยืนยันว่าผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ตามจุดประสงค์หรือไม่ อย่างไร เพียงใด หากไม่ทาการประเมินผลสื่อการเรียนรู้เราก็ไม่สามารถทราบผลของการจัดการเรียนรู้และไม่สามารถบอกได้ว่าการเรียนการสอนนั้นประสบผลสำเร็จหรือไม่อย่างไร ข้อมูลที่ได้จากการประเมินผลสื่อการเรียนรู้ในแง่มุมเหล่านี้จะบ่งบอกประสิทธิภาพการเรียนการสอนได้
  2. ได้ข้อมูลเกี่ยวกับคุณลักษณะและคุณภาพของสื่อการเรียนรู้ การประเมินผลสื่อการเรียนรู้จะทาให้ได้ข้อมูลว่าสื่อได้รับการสร้างและพัฒนาได้ถูกต้องเหมาะสมหรือไม่ในกระบวนการของการผลิต ทำให้ได้สื่อการเรียนรู้ตรงตามลักษณะหรือรูปแบบเป็นไปตามที่ต้องการหรือไม่ และเมื่อนำสื่อการเรียนรู้ที่ผลิตนั้นไปใช้สามารถใช้ได้จริงตามที่ออกแบบหรือตามที่คาดหวังไว้หรือไม่ ข้อมูลเหล่านี้จะบ่งบอกคุณลักษณะและคุณภาพของสื่อการเรียนรู้ว่ามีความเหมาะสม ถูกต้อง หรือเหมาะสมที่จะนำไปใช้ในการเรียนการสอนได้หรือไม่
  3. เกิดการพัฒนาการใช้สื่อการเรียนรู้ให้มีประสิทธิภาพและมีคุณภาพมากยิ่งขึ้น การประเมินผลสื่อการเรียนรู้ในแต่ละบริบท โดยเฉพาะอย่างยิ่งการทำวิจัยหรือการพัฒนาจะทำให้ได้ข้อมูลซึ่งในบางครั้งเป็นองค์ความรู้ใหม่ในการใช้สื่อการเรียนรู้ ทำให้ได้ข้อมูลที่จะเป็นแนวทาง เป็นวิธีการ หรือเป็นรูปแบบใหม่ของการผลิตหรือการใช้สื่อการเรียนรู้ ซึ่งจะทาให้การจัดการเรียนการสอนมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นและส่งผลดีต่อผู้เรียน ช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ได้อย่างสะดวก รวดเร็ว ถูกต้องและมีคุณภาพมากยิ่งขึ้น
  4. สร้างความมั่นใจและอำนวยความสะดวกแก่ผู้ใช้ในการเลือกสื่อการเรียนรู้ สื่อการสอนที่ได้รับการประเมินผลแล้วจะมีข้อมูลเกี่ยวกับคุณลักษณะ คุณภาพของสื่อ รวมทั้งมีข้อมูลที่ช่วยในการกำหนดสถานการณ์ที่เหมาะสมต่อการนำสื่อการเรียนรู้นั้นไปใช้งาน ข้อมูลเหล่านี้จะช่วยสร้างความมั่นใจให้กับผู้นำสื่อการเรียนรู้ไปใช้ รวมทั้งช่วยอำนวยความสะดวกให้กับผู้ใช้สามารถเลือกและใช้สื่อการเรียนรู้นั้นได้อย่างสะดวก เกิดประสิทธิภาพสูงสุดในการใช้ในการจัดการเรียนการสอนได้

ขั้นตอนการตรวจสอบเกณฑ์ประสิทธิภาพ

1.ทดลองกับกลุ่มตัวอย่างที่เรียกว่า แบบเดี่ยว (หนึ่งคน) หรือ 1:1 หมายถึง ทดลองใช้นวัตกรรมกับนักเรียน 3 คน ที่ประกอบด้วย เก่ง ปานกลางและอ่อน อย่างละ 1 คน   แล้วคำนวณหา E1 /E2 (ตามนัยที่ 1 หรือ 2) แล้วนำมาปรับปรุง

  1. ทดลองกับกลุ่มตัวอย่างที่เรียกว่าแบบกลุ่ม หรือ 1:10 หมายถึง ทดลองใช้นวัตกรรมกับนักเรียนประมาณ 5-10 คน ที่ประกอบด้วย เก่ง ปานกลางและอ่อนคละกันไปในจำนวนเท่า ๆ กัน แล้วคำนวณหา  E1/E2 (ตามนัยที่ 1 หรือ 2) แล้วนำมาปรับปรุง
  2. ทดลองกับกลุ่มใหญ่ที่เรียกว่าภาคสนาม หรือ 1 ห้องเรียน หมายถึง ทดลองใช้นวัตกรรมกับนักเรียน 1 ห้องเรียน แล้วคำนวณหาE1/E2 (ตามนัยที่ 1 หรือ 2) แล้วนำผลการวิเคราะห์เทียบกับเกณฑ์      ถ้าต่ำกว่าเกณฑ์ไม่เกินร้อยละ 5 ก็ยอมรับได้

วิธีการวิเคราะห์ตามนัยที่ 1   (จำนวนร้อยละคนที่ผ่านเกณฑ์ความพึงพอใจร้อยละ 70)

การคำนวณหา E1 / E2

ดังนั้นสื่อมีประสิทธิภาพเท่ากับ   71.43/71.43

วิธีการวิเคราะห์ตามนัยที่ 2   (คะแนนเฉลี่ยร้อยละ)

การคำนวณหา E1 / E2

ดังนั้นสื่อมีประสิทธิภาพเท่ากับ   76.19/78.43 

วิธีคำนวณหาประสิทธิภาพ

ในการหาประสิทธิภาพของชุดการสอนโดยใช้เกณฑ์ E1/E2 เป็นวิธีการที่สามารถชี้วัดประสิทธิภาพของชุดการเรียนการสอน ได้ทั้งภาพรวมในลักษณะกว้าง และวัดส่วนย่อยเป็นรายจุดประสงค์ทำให้ได้ผลการวัดที่ชัดเจน นำข้อมูลที่ได้มาเป็นเครื่องตัดสินใจได้โดยไม่ต้องใช้วิธีการอื่นมาประกอบให้เกิดการซ้ำซ้อนอีก
เกณฑ์ที่ใช้คือ E1/E2 อาจเท่ากับ 80/80 หรือ 90/90 หรืออื่นๆอีกก็ได้ แต่ถ้ากำหนดเกณฑ์ไว้ต่ำเกินไปอาจทำให้ผู้ใช้บทเรียนไม่เชื่อถือคุณภาพของบทเรียน การหาค่า E1 และ E2 มีวิธีการคำนวณหาค่าร้อยละ โดยใช้สูตรต่อไปนี้

E1   = (∑X/N) X 100
A

โดย       E1 คือประสิทธิภาพของกระบวนการที่จัดไว้ในชุดการสอนคิดเป็นร้อยละจากการทำแบบฝึกหัดและหรือประกอบด้วยกิจกรรมการเรียนระหว่างเรียน

∑X คือ คะแนนจากการทำแบบฝึกหัดและหรือการประกอบกิจกรรมการเรียน ระหว่างเรียน
A    คือ คะแนนเต็มของแบบฝึกหัดและหรือกิจกรรมการเรียน
N    คือ จำนวนผู้เรียน

E2   = (∑F/N)X 100
B

โดยที่   E2 คือ ประสิทธิภาพของผลลัพธ์ (พฤติกรรมที่เปลี่ยนในตัวผู้เรียนหลังการเรียนด้วยชุดการเรียนการสอน) คิดเป็นอัตราส่วนจากการทำแบบทดสอบหลังเรียนและหรือประกอบกิจกรรมหลังเรียน
∑F  คือ คะแนนรวมของผู้เรียนจากการทำแบบทดสอบหลังเรียนและหรือการประกอบกิจกรรมหลังเรียน
B     คือ คะแนนเต็มของการสอบหลังเรียนและหรือกิจกรรมหลังเรียน
N    คือ จำนวนผู้เรียน

ฉลองชัย  สุรวัฒนบูรณ์ (2528, หน้า 215) เกณฑ์ประสิทธิภาพของชุดการสอนที่ผลิตได้นั้น กำหนดไว้ 3 ระดับ
1.   สูงกว่าเกณฑ์เมื่อประสิทธิภาพของชุดการสอนสูงกว่าเกณฑ์ที่ตั้งไว้มี่ค่าเกิน 2.5% ขึ้นไป
2.   เท่ากับเกณฑ์เมื่อประสิทธิภาพของชุดการสอนเท่ากับหรือสูงกว่าเกณฑ์ที่ตั้งไว้ไม่เกิน 2.5%
3.   ต่ำกว่าเกณฑ์เมื่อประสิทธิภาพของชุดการสอนต่ำกว่าเกณฑ์แต่ไม่ต่ำกว่า 2.5% ถือว่ายังมีประสิทธิภาพที่ยอมรับได้ 

ขั้นตอนการทดสอบประสิทธิภาพ

เมื่อผลิตชุดการสอนที่เป็นต้นแบบได้แล้วต้องนำชุดการสอนนั้นไปทดสอบประสิทธิภาพซึ่งทำได้ตามขั้นตอนนี้
ขั้นที่ 1 ทดลองแบบเดี่ยว เป็นการทดลองครู 1 คนต่อผู้เรียน 1คน โดยทดลองกับผู้เรียนอ่อนก่อน จากนั้นนำไปทดลองกับผู้เรียนระดับปานกลาง และเก่งตามลำดับหลังจากที่คำนวณหาประสิทธิภาพเสร็จแล้วปรับปรุงให้ดีขึ้น ถ้าเวลาไม่อำนวยและสภาพการณ์ไม่เหมาะสมก็ทดลองกับผู้เรียนอ่อนหรือปานกลางก็ได้ โดยปกติคะแนนที่ได้จากการทดลองแบบเดี่ยวนี้จะได้คะแนนต่ำกว่าเกณฑ์มากแต่เมื่อปรับปรุงแล้วคะแนนจะสูงขึ้นอีกในการทดลองแบบกลุ่มต่อไปในขั้นนี้จะมีประสิทธิภาพประมาณ 60/60
ขั้นที่ 2 ทดลองแบบกลุ่ม เป็นการทดลองครู 1 คนต่อผู้เรียน 6-10 คนโดยคละผู้เรียนห้ามทดลองกับเด็กที่เรียนอ่อนหรือเก่งล้วน เมื่อคำนวณหาค่าประสิทธิภาพของชุดการสอนแล้วจึงนำมาปรับปรุงข้อบกพร่องอีกครั้งหนึ่ง ในครั้งนี้คะแนนของผู้เรียนจะเพิ่มขึ้นอีกเกือบเท่าเกณฑ์โดยเฉลี่ยจะห่างจากเกณฑ์ประมาณ 10% นั้นเอง
ขั้นที่ 3  ทดสอบภาคสนาม เป็นการทดลองครู 1 คน ต่อผู้เรียนทั้งชั้น ที่เลือกมาทดลองจะต้องมีนักเรียนคละกันไม่ควรเลือกห้องที่เรียนเก่งหรือเรียนอ่อนล้วน คำนวณหาประสิทธิภาพแล้วทำการปรับปรุงผลลัพธ์ที่ได้ควรใกล้เคียงกับเกณฑ์ที่ตั้งไว้ไม่เกิน 2.5%ถือว่ายอมรับได้ หากแตกต่างกันมากผู้สอนต้องกำหนดเกณฑ์ประสิทธิภาพของชุดการสอนใหม่โดยยึดสภาพการณ์ตามความเป็นจริง สถานที่เวลาสำหรับชุดการสอนแบบเดี่ยวและแบบกลุ่ม ควรใช้เวลานอกชั้นเรียนหรือแยกผู้เรียนมาเรียนต่างหากจากห้องเรียนอาจเป็นห้องประชุมโรงเรียนโรงอาหารหรือสนามใต้ร่มไม้ก็ได้

การกำหนดเกณฑ์ประสิทธิภาพ

 ความหมายของเกณฑ์(Criterion)

เกณฑ์เป็นขีดกำหนดที่จะยอมรับว่า สิ่งใดหรือพฤติกรรมใดมีคุณภาพและหรือปริมาณที่จะรับได้ การตั้งเกณฑ์ ต้องตั้งไว้ครั้งแรกครั้งเดียวเพื่อจะปรับปรุงคุณภาพให้ถึงเกณฑ์ขั้นต่ำที่ตั้งไว้ จะตั้งเกณฑ์การทดสอบประสิทธิภาพไว้ต่างกันไม่ได้

ความหมายของเกณฑ์ประสิทธิภาพ

ระดับประสิทธิภาพของสื่อหรือชุดการสอนที่จะช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม เป็นระดับที่ผลิตสื่อหรือชุดการสอนจะพึงพอใจว่าหากสื่อหรือชุดการสอนมีประสิทธิภาพถึงระดับนั้นแล้ว สื่อหรือชุดการสอนนั้นก็มีคุณค่าที่จะนำไปสอนนักเรียนและคุ้มแก่การลงทุนผลิตออกมาเป็นจำนวนมาก

ประเมินพฤติกรรมสุดท้าย

E1/E2

–  ประสิทธิภาพของสื่อหรือชุดการสอนจะกำหนดเป็นเกณฑ์ที่ผู้สอนคาดหมายว่าผู้เรียนจะเปลี่ยนพฤติกรรมเป็นที่พึงพอใจ โดยกำหนดให้ของผลเฉลี่ยของคะแนนการทำงานและการประกอบกิจกรรมของผู้เรียนทั้งหมดต่อร้อยละของผลการประเมินหลังเรียนทั้งหมด นั่นคือ E1/E2 = ประสิทธิภาพของกระบวนการ/ประสิทธิภาพของผลลัพธ์

–  ตัวอย่าง 80/80 หมายความว่าเมื่อเรียนจากสื่อหรือชุดการสอนแล้ว ผู้เรียนจะสามารถทำแบบฝึกปฏิบัติ หรืองานได้ผลเฉลี่ย 80% และประเมินหลังเรียนและงานสุดท้ายได้ผลเฉลี่ย 80%

เครื่องมือที่ใช้ในการประเมิน

เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูลเพื่อการประเมินสื่อจึงทำได้หลายลักษณะ คือ

  1. แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน จะเป็นเครื่องมือวัดความรู้ของผู้เรียนภายหลังการเรียนจากสื่อแล้ว
  2. แบบทดสอบความถนัดเพื่อวัดสมรรถนะของผู้เรียนภายหลังเรียนจากสื่อ
  3. แบบสอบถาม เป็นเครื่องมือที่ใช้ในการสำรวจซึ่งเครื่องมือนี้จะประกอบด้วยข้อความหรือคำ ถามต่างๆเกี่ยวกับสื่อหรืออาจจะมีช่องว่างให้เติมข้อความด้วยก็ได้ เครื่องมือลักษณะนี้ใช้ประเมินได้กับทุกกลุ่มเรียน
  4. การสังเกตเป็นการเฝ้าดูผลที่เกิดขึ้นจากการใช้สื่อการสอนตั้งแต่เริ่มต้นจนจบกระบวนการใช้
  5. การสัมภาษณ์เป็นการซักถามและพูดคุยกับทั้งผู้ผลิต ผู้ใช้และผู้เรียนเกี่ยวกับสื่อนั้น เพื่อนำข้อมูลมาประกอบพิจารณาในการประเมินสื่อ ลักษณะของเครื่องมือการประเมินสื่อการเรียนการสอน นอกจากที่ได้กล่าวมาแล้วนั้น ยังมีเครื่องมืออีกหลายลักษณะที่สามารถนำมาประยุกต์ในการออกแบบเครื่องมือการประเมินสื่อได้ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับจุดมุ่งหมายและวิธีการประเมิน

 

1.ความหมาย

-“นวัตกรรม”  

                ผศ.วีระประเสริฐศิลป์ และคณะ (2546) ได้ให้ความหมายของ “นวัตกรรม” (Innovation)  หมายถึงวิธีการใหม่ ๆ ที่นำมาใช้ ซึ่งไม่เคยใช้ในหน่วยงานนั้นมาก่อน อาจเป็นวิธีการใหม่ที่ใช้เป้นครั้งแรก หรืออาจเป็นวิธีใหม่ที่เคยใช้ในหน่วยงานอื่นแล้วก็ได้

สวัสดิ์ ปุษบาคม (2517) ได้ให้ความหมายของ “นวัตกรรม” (Innovation)  หมายถึงการปฏิบัติหรือกรรมวิธีการใหม่มาใช้ หรือการทำการเปลี่ยนแปลงปรับปรุงวิธีทำสิ่งต่างๆ ให้ดีกว่าเดิม คือทำให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้น ตัวอย่างเช่น ในการให้การศึกษาก็ใช้เครื่องมือช่วยสอน ที่เรียกว่า Teaching machine หรือใช้คอมพิวเตอร์ช่วยสอนที่เรียกว่า Computer Assisted Instruction เป็นต้น

                Thoeas Hughes ได้ให้ความหมายของ “นวัตกรรม” (Innovation)  เป็นการใช้วิธีการ เป็น 3 ระยะ คือระยะแรกมีการประดิษฐ์คิดค้น การประดิษฐ์คิดค้นที่จะยังไม่แพร่หลายเป็นที่ปฏิบัติทั่วไป จะต้องถึงระยะที่ 2 คือพัฒนาการ ของการคิดหรือสิ่งประดิษฐ์ เช่น ทำการทดลองในแหล่งทดลองจัดทำ เช่น Silot Project เป็นการพัฒนาได้ผลก็จะนำไปปฏิบัติในสถานการณ์ทั่วไป เป็นแนวทางการปฏิบัติใหม่จากที่เคยปฏิบัติมา ซึ่งเรียกว่า เป็นนวัตกรรมที่สมบูรณ์

จากคำกล่าวข้างต้น สรุปได้ว่า นวัตกรรม หมายถึง วิธีการปฏิบัติทางการศึกษาใหม่ๆซึ่งแปลกจากที่เคยปฏิบัติมาแต่เดิม แต่การที่จะปฏิบัติแบบใหม่จะต้องมีขบวนการและขั้นตอนในการปฏิบัติ คือเมื่อมีความคิดใหม่หรือสิ่งประดิษฐ์ใหม่ก็ต้องใช้เวลาเพื่อทดลอง เพื่อให้เกิดผลที่ดีและมีประโยชน์สูงสุด

– “เทคโนโลยีสารสนเทศ”

ผศ.วีระประเสริฐศิลป์ และคณะ(2546)ได้ให้ความหมายของ“เทคโนโลยีสารสนเทศ” (Information  Technology )หรือที่เรียกกันย่อๆว่า IT หมายถึงเทคโนโลยีที่นำมาใช้ในการจัดเก็บข้อมูล และการประมวลผลข้อมูลให้เกิดผลลัพธ์เป็นสารสนเทศ เพื่อนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์

เทคโนโลยีสารสนเทศ หรือ ไอที(information technology: IT) คือการประยุกต์ใช้คอมพิวเตอร์และอุปกรณ์โทรคมนาคม เพื่อจัดเก็บ ค้นหา ส่งผ่าน และจัดดำเนินการข้อมูล  ซึ่งมักเกี่ยวข้องกับธุรกิจหนึ่งหรือองค์การอื่น ๆ  ศัพท์นี้โดยปกติก็ใช้แทนความหมายของเครื่องคอมพิวเตอร์และเครือข่ายคอมพิวเตอร์ และยังรวมไปถึงเทคโนโลยีการกระจายสารสนเทศอย่างอื่นด้วย เช่นโทรทัศน์และโทรศัพท์ อุตสาหกรรมหลายอย่างเกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีสารสนเทศ ตัวอย่างเช่น ฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์ อิเล็กทรอนิกส์ อุปกรณ์กึ่งตัวนำ อินเทอร์เน็ต อุปกรณ์โทรคมนาคม การพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ และบริการทางคอมพิวเตอร์

  1. บทบาทและความสำคัญของนวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศ

ในวงการบริหารงานต่างๆโดยเฉพาะในวงการบริหารธุรกิจซึ่งมีการแข่งขันกันสูงได้นำเอา นวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาใช้ในการบริหารเป็นอันมาก เพื่อให้การบริหารมีประสิทธิภาพสูง และได้ประสิทธิผลสูงสุด ผู้บริหารยุคใหม่ทุกระดับจึงนำนวัตกรรม และเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้กันอย่างแพร่หลาย เช่น ผู้บริหารระดับสูงในองค์กร จะนำสารสนเทศที่แสดงภาพรวมของการดำเนินงาน ความสัมพันธ์ระหว่างองค์กรกับสิ่งแวดล้อมสรุปปัญหาและแนวทางแก้ไขมาใช้เพื่อประกอบในการแก้ปัญหาและการตัดสินใจกำหนด กลยุทธ์ขององค์กร ส่วนผู้บริหารระดับกลางจะนำสารสนเทศที่ประมวลผลงานประจำปีมาใช้จัดทำแผนงบประมาณและกำหนดเป็นการดำเนินงานของหน่วยงานสำหรับผู้บริหารงานระดับต้น จะใช้เทคโนโลยีสารสนเทศช่วยในการควบคุมการปฏิบัติงานเป็นต้น

ปัจจุบันผู้บริหารในวงการศึกษาได้นำนวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ในการบริหารจัดการศึกษากันมากขึ้น เช่น

  1. การนำนวัตกรรมและเทคโนโลยีมาใช้ในการตัดสินใจที่ดีจะต้องรวดเร็วและไม่ผิดพลาดและการตัดสินใจรวดเร็วและไม่ผิดพลาดนั้นจำเป็นต้องมีข้อมูลสารสนเทศที่เป็นปัจจุบันไม่ล้าสมัยมีจำนวนมากเพียงพอและสามารถนำมาใช้ได้ง่ายและรวดเร็ว ซึ่งเทคโนโลยีสารสนเทศจะช่วยในเรื่องนี้ได้เป็นอย่างดี ระบบสารสนเทศที่มีผู้บริหารนำมาใช้ในการช่วยการตัดสินใจ มีดังนี้

1.1 ระบบสารเทศสำหรับผู้บริหาร หรือ เรียกว่าระบบสนับสนุนผู้บริหาร หรือ essเป็นระบบที่ออกแบบและพัฒนาขึ้นมาเพื่อจัดเตรียมสารสนเทศที่เหมาะสมในการตัดสินใจของผู้บริหารระดับสูง ช่วยให้ผู้บริหารสามารถทำความเข้าใจปัญหาอย่างชัดเจนและสามารถตัดสินใจเลือกแนวทางแก้ปัญหาอย่างมีประสิทธิภาพ

1.2 ระบบสนับสนุนการตัดสินใจหรือ dssเป็นระบบที่ออกแบบและพัฒนาขึ้นมาเพื่อใช่สนับสนุนการตัดสินใจของผู้บริหารระดับกลาง ระบบ dssจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการตัดสินใจของผู้บริหาร แต่จะไม่ทำการตัดสินใจแทนผู้บริหารโดยประมวลผลและนำเสนอข้อมูลที่สำคัญต่อการตัดสินใจจลอดจนประมวลทางเลือกที่เหมาะสมภายใต้ข้อจำกัดของแต่ละสถานการณ์เพื่อให้ผู้บริหารใช้สติปัญญา เหตุผล ประสบการณ์ และความคิดสร้างสรรค์ของตนวิเคราะห์และเปรียบเทียบทางเลือกให้สอดคล้องกับปัญหาหรือสถานการณ์นั้นๆ

  1. การนำนวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ในการบริหารทางไกลมีการนำสื่อหลายๆอย่าง เช่น โทรศัพท์มือถือ โทรสาร วิทยุ โทรทัศน์ คอมพิวเตอร์ และเครื่องมือสื่อสารโทรคมนาคมมาใช้ในการติดต่อสื่อสารและการบริหารทางไกลได้สะดวกรวดเร็ว ประหยัดเวลา และค่าใช้จ่ายเป็นอันมาก ถึงแม้จะอยู่ไกลกันก็สามารถทำงานร่วมกัน ประชุมร่วมกันได้ โดยใช้ Telecomferenceเป็นต้น
  2. การนำนวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ในการบริหารสถานศึกษาปัจจุบันสถานศึกษาหลายแห่งพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อใช้ในการบริหารงานด้านต่างๆทั้งการบริหารงานวิชาการ การบริหารกิจการนักเรียนการบริหารงานบุคคลกร การบริหารงานวิชาการ การเงิน พัสดุ ครุภัณฑ์ การบริหารงานอาคารสถานที่ และการบริหารงานชุมชน
  3. การสร้างเครือข่ายข้อมูลด้วยระบบสารสนเทศ เครือข่ายนี้จะช่วยพัฒนาคุณภาพการศึกษาไทยเป็นอันมาก ปัจจุบันมีโครงการเครือข่ายคอมพิวเตอร์โรงเรียนมัธยมศึกษา ซึ่งเป็นโครงการด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ โครงการหนึ่งในหลายโครงการที่เกิดขึ้นตามพระราชดำริของสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี โดยศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ ได้นำแนวทางพระราชดำริ มาดำเนินการร่วมกับหน่วยงานและสถานศึกษา โดยมีวัตถุประสงค์ดังนี้
    • เพื่อให้โรงเรียนทั่วประเทศได้มี และได้ประโยชน์จากเครือข่ายเทคโนโลยีสารสนเทศในการศึกษาเรียนรู้
    • เพื่อโรงเรียนมัธยมศึกษาทั้งในกรุงเทพและต่างจังหวัดเข้าถึงเครือข่ายอินเตอร์เน็ต และเครือข่ายข้อมูลระหว่างกลุ่มโรงเรียน
    • เพื่อให้โรงเรียนสามารถแลกเปลี่ยนเอกสาร สื่อการสอน และดัชนีห้องสมุดระหว่างโรงเรียน
    • เพื่อช่วยให้ผู้ใช้ในระดับโรงเรียนได้เข้าถึงศูนย์ข้อมูลต่างๆและห้องสมุดในอินเตอร์เน็ต
    • เพื่อให้ครู อาจารย์สามารถติดต่อกับครู อาจารย์ในโรงเรียน หรือสถาบันการศึกษาอื่นๆทั้งในและต่างประเทศ
  1. การนำนวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ในการจัดการศึกษา ในปัจจุบันผู้บริหารหน่วยงานทางการศึกษานำนวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ในการจัดการศึกษา เป็นประโยชน์ต่อการเรียนรู้หลายอย่าง เช่น

5.1 อินเตอร์เน็ต เพื่อใช้ค้นคว้าหาข้อมูล ข่าวสารทางวิชาการและอื่นๆ จากที่ต่างๆ เป็นการส่งเสริมให้เกิดการเรียนรู้ตลอดชีวิต

  • จดหมายอิเล็กทรอนิกส์ เพื่อใช้รับส่งข่าวสาร ข้อมูล รูปภาพ และส่งงานให้ครูอาจารย์ตรวจ
  • การจัดทำ Website ของสถานศึกษา เพื่อการเผยแพร่ข่าวสารของสถานศึกษา
  • การใช้โปรแกรม SPSS เพื่อการวิเคราะห์ข้อมูลต่างๆ
  • การทำ Powerpointเพื่อใช้เป็นสื่อการเรียนการสอน
  • คอมพิวเตอร์ช่วยสอน หรือ CAI เพื่อช่วยให้ผู้เรียนเรียนรู้ด้วยตัวเองจากบทเรียนสำเร็จรูป
  • การเรียนรู้ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ เป็นการเรียนทางไกลที่ผู้เรียนสามารถโต้ตอบกับผู้สอนได้ โดยอาศัยเครือข่ายอินเตอร์เน็ต จึงช่วยให้เรียนรู้ได้โดยไม่มีข้อจำกัดของเวลา และสถานที่
  • ห้องเรียนอัจฉริยะ เป็นการจัดระบบบริหารจัดการห้องเรียน ที่ใช้การเรียนการสอนแบบออนไลน์และปฏิสัมพันธ์สามารถควบคุมและตรวจสอบกิจกรรมของนักเรียนได้โดยตรงจากคอมพิวเตอร์ของครู
  • หนังสืออิเล็กทรอนิกส์และห้องสมุดอิเล็กทรอนิกส์ เพื่อเสริมการเรียนการสอนและให้บริการค้นคว้าหาความรู้แก่นักเรียน ครู อาจารย์ และประชาชนทั่วไป

5.10การใช้เทคโนโลยีสารสนและการสื่อสาร หรือ ICT เพื่อพัฒนาการศึกษา

3.ประเภทนวัตกรรมทางการศึกษาและเทคโนโลยีสารสนเทศทางการศึกษา

ประเภทของนวัตกรรมการศึกษา

พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 ได้มีบทบัญญัติที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีการศึกษาและนวัตกรรมการศึกษาไว้หลายมาตรา มาตราที่สำคัญ คือ มาตรา 67 รัฐต้องส่งเสริมให้มีการวิจัยและพัฒนาการผลิตและการพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา รวมทั้งการติดตาม ตรวจสอบและประเมินผลการใช้เทคโนโลยีเพื่อการศึกษา เพื่อให้เกิดการใช้ที่คุ้มค่าและเหมาะสมกับกระบวนการเรียนรู้ของคนไทยและในมาตรา 22 “การจัดการศึกษาต้องยึดหลักว่าผู้เรียนทุกคนมีความสามารถเรียนรู้และพัฒนาตนเองได้และถือว่าผู้เรียนมีความสำคัญที่สุด กระบวนการจัดการศึกษาตนเองได้และถือว่าผู้เรียนมีความสำคัญที่สุด กระบวนการจัดการศึกษาต้องส่งเสริมให้ผู้เรียนสามารถพัฒนาตามธรรมชาติและเต็มตามศักยภาพ” การดำเนินการปฏิรูปการศึกษาให้สำเร็จได้ตามที่ระบุไว้ในพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 ดังกล่าว จำเป็นต้องทำการศึกษาวิจัยและพัฒนานวัตกรรมการศึกษาใหม่ๆ ที่จะเข้ามาช่วยแก้ไขปัญหาทางการศึกษาทั้งในรูปแบบของการศึกษาวิจัย การทดลองและการประเมินผลนวัตกรรมหรือเทคโนโลยีที่นำมาใช้ว่ามีความเหมาะสมมากน้อยเพียงใด นวัตกรรมที่นำมาใช้ทั้งที่ผ่านมาแล้วและที่จะมีในอนาคตมีหลายประเภทขึ้นอยู่กับการประยุกต์ใช้นวัตกรรมในด้านต่างๆ ในที่นี้จะขอกล่าวคือ นวัตกรรม 5 ประเภท คือ

3.1 นวัตกรรมทางด้านหลักสูตร

นวัตกรรมทางด้านหลักสูตร เป็นการใช้วิธีการใหม่ๆ ในการพัฒนาหลักสูตรให้สอดคล้องกับสภาพแวดล้อมในท้องถิ่นและตอบสนองความต้องการสอนบุคคลให้มากขึ้น เนื่องจากหลักสูตรจะต้องมีการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอเพื่อให้สอดคล้องกับความก้าวหน้าทางด้านเทคโนโลยีเศรษฐกิจและสังคมของประเทศและของโลก นอกจากนี้การพัฒนาหลักสูตรยังมีความจำเป็นที่จะต้องอยู่บนฐานของแนวคิดทฤษฎีและปรัชญาทางการจัดการสัมมนาอีกด้วย การพัฒนาหลักสูตรตามหลักการและวิธีการดังกล่าวต้องอาศัยแนวคิดและวิธีการใหม่ๆ ที่เป็นนวัตกรรมการศึกษาเข้ามาช่วยเหลือจัดการให้เป็นไปในทิศทางที่ต้องการ นวัตกรรมทางด้านหลักสูตรในประเทศไทย ได้แก่ การพัฒนาหลักสูตรดังต่อไปนี้

  1. หลักสูตรบูรณาการ เป็นการบูรณาการส่วนประกอบของหลักสูตรเข้าด้วยกันทางด้านวิทยาการในสาขาต่างๆ การศึกษาทางด้านจริยธรรมและสังคม โดยมุ่งให้ผู้เรียนเป็นคนดีสามารถใช้ประโยชน์จากองค์ความรู้ในสาขาต่างๆ ให้สอดคล้องกับสภาพสังคมอย่างมีจริยธรรม

2.หลักสูตรรายบุคคล เป็นแนวทางในการพัฒนาหลักสูตรเพื่อการศึกษาตามอัตภาพ เพื่อตอบสนองแนวความคิดในการจัดการศึกษารายบุคคล ซึ่งจะต้องออกแบบระบบเพื่อรองรับความก้าวหน้าของเทคโนโลยีด้านต่างๆ

3.หลักสูตรกิจกรรมและประสบการณ์ เป็นหลักสูตรที่มุ่งเน้น กระบวนการในการจัดกิจกรรมและประสบการณ์ให้กับผู้เรียนเพื่อนำไปสู่ความสำเร็จ เช่น กิจกรรมที่ส่งเสริมให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในบทเรียน ประสบการณ์การเรียนรู้จากการสืบค้นด้วยตนเอง เป็นต้น

4.หลักสูตรท้องถิ่น เป็นการพัฒนาหลักสูตรที่ต้องการกระจายการบริหารจัดการออกสู่ท้องถิ่น เพื่อให้สอดคล้องกับศิลปวัฒนธรรมสิ่งแวดล้อมและความเป็นอยู่ของประชาชนที่มีอยู่ในแต่ละท้องถิ่น แทนที่หลักสูตรในแบบเดิมที่ใช้วิธีการรวมศูนย์การพัฒนาอยู่ในส่วนกลาง

3.2 นวัตกรรมการเรียนการสอน

เป็นการใช้วิธีระบบในการปรับปรุงและคิดค้นพัฒนาวิธีสอนแบบใหม่ๆ ที่สามารถตอบสนองการเรียนรายบุคคล การสอนแบบผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง การเรียนแบบมีส่วนร่วม การเรียนรู้แบบแก้ปัญหา การพัฒนาวิธีสอนจำเป็นต้องอาศัยวิธีการและเทคโนโลยีใหม่ๆ เข้ามาจัดการและสนับสนุนการเรียนการสอน ตัวอย่างนวัตกรรมที่ใช้ในการเรียนการสอน ได้แก่ การสอนแบบศูนย์การเรียน การใช้กระบวนการกลุ่มสัมพันธ์ การสอนแบบเรียนรู้ร่วมกัน และการเรียนผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์และอินเทอร์เน็ต การวิจัยในชั้นเรียน ฯลฯ

3.3 นวัตกรรมสื่อการสอน

                  เนื่องจากมีความก้าวหน้าของเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ คอมพิวเตอร์เครือข่ายและเทคโนโลยี โทรคมนาคม ทำให้นักการศึกษาพยายามนำศักยภาพของเทคโนโลยีเหล่านี้มาใช้ในการผลิตสื่อการเรียนการสอนใหม่ๆ จำนวนมากมาย ทั้งการเรียนด้วยตนเองการเรียนเป็นกลุ่มและการเรียนแบบมวลชน ตลอดจนสื่อที่ใช้เพื่อสนับสนุนการฝึกอบรม ผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์ตัวอย่าง นวัตกรรมสื่อการสอน ได้แก่

– คอมพิวเตอร์ช่วยสอน (CAI)

– มัลติมีเดีย (Multimedia)

– การประชุมทางไกล (Teleconference)

– ชุดการสอน (Instructional Module)

– วีดิทัศน์แบบมีปฎิสัมพันธ์ (Interactive Video)

3.4 นวัตกรรมการประเมินผล

                เป็นนวัตกรรมที่ใช้เป็นเครื่องมือเพื่อการวัดผลและประเมินผลได้อย่างมีประสิทธิภาพและทำได้อย่างรวดเร็ว รวมไปถึงการวิจัยทางการศึกษา การวิจัยสถาบัน ด้วยการประยุกต์ใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์มาสนับสนุนการวัดผล ประเมินผลของสถานศึกษา ครู อาจารย์ ตัวอย่าง นวัตกรรมทางด้านการประเมินผล ได้แก่

– การพัฒนาคลังข้อสอบ

– การลงทะเบียนผ่านทางเครือข่ายคอมพิวเตอร์ และอินเตอร์เน็ต

– การใช้บัตรสมาร์ทการ์ด เพื่อการใช้บริการของสถาบันศึกษา

– การใช้คอมพิวเตอร์ในการตัดเกรด

– ฯลฯ

3.5 นวัตกรรมการบริหารจัดการ

เป็นการใช้นวัตกรรมที่เกี่ยวข้องกับการใช้สารสนเทศมาช่วยในการบริหารจัดการ เพื่อการตัดสินใจของผู้บริหารการศึกษาให้มีความรวดเร็วทันเหตุการณ์ ทันต่อการเปลี่ยนแปลงของโลก

นวัตกรรมการศึกษาที่นำมาใช้ทางด้านการบริหารจะเกี่ยวข้องกับระบบการจัดการฐานข้อมูลในหน่วยงานสถานศึกษา เช่น ฐานข้อมูล นักเรียน นักศึกษา ฐานข้อมูล คณะอาจารย์และบุคลากร ในสถานศึกษา       ด้านการเงิน บัญชี พัสดุ และครุภัณฑ์ ฐานข้อมูลเหล่านี้ต้องการออกระบบที่สมบูรณ์มีความปลอดภัยของข้อมูลสูง

นอกจากนี้ยังมีความเกี่ยวข้องกับสารสนเทศภายนอกหน่วยงาน เช่น ระเบียบปฏิบัติ กฎหมาย พระราชบัญญัติ ที่เกี่ยวกับการจัดการศึกษา ซึ่งจะต้องมีการอบรม เก็บรักษาและออกแบบระบบการสืบค้นที่ดีพอซึ่งผู้บริหารสามารถสืบค้นข้อมูลมาใช้งานได้ทันทีตลอดเวลา

การใช้นวัตกรรมแต่ละด้านอาจมีการผสมผสานที่ซ้อนทับกันในบางเรื่อง ซึ่งจำเป็นต้องมีการพัฒนาร่วมกันไปพร้อมๆ กันหลายด้าน การพัฒนาฐานข้อมูลอาจต้องทำเป็นกลุ่มเพื่อให้สามารถนำมาใช้ร่วมกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ

4.ประเภทเทคโนโลยีทางการศึกษา

  1. เครื่องมือ (Hardware)ซึ่งเป็นผลผลิตที่เกิดจากการพัฒนาทางวิทยาศาสตร์ และอุตสาหกรรม เป็นเครื่องมือที่จะนำเสนอเนื้อหาสาระ หรือเป็นเครื่องมือที่ช่วย ในการผลิต
  2. วัสดุ (Software) เป็นส่วนที่เก็บสาระ เนื้อหาไว้ในตัวของมันเอง อาจจะ นำเสนอโดยตัวของมันเองก็ได้ หรือนำเสนอผ่านเครื่องมือก็ได้
  3. วิธีการเป็นเทคโนโลยีที่มีลักษณะเป็นนามธรรม ไม่เป็นวัตถุ แต่เป็นลักษณะการเสนอ การกระทำ อาจใช้รวมกับเครื่องมือหรือวัสดุ มักจะอยู่ในรูปของกิจกรรม

จากวัตถุประสงค์ดังกล่าว ฝ่ายเทคโนโลยีทางการศึกษาจึงเป็นหน่วยที่ทั้งอาจารย์   ข้าราชการและนักศึกษา  รวมทั้งส่วนราชการภายนอกและเอกชนในท้องถิ่นใช้บริการตลอดมา  แต่อย่างไรก็ตามฝ่ายเทคโนโลยีทางการศึกษาก็ได้จัดลำดับความสำคัญก่อนหลัง ดังนี้

  1. บริการเพื่อการสอนของอาจารย์
  2. บริการเพื่อกิจกรรมของมหาวิทยาลัย
  3. บริการเพื่อการสนับสนุนวิชาการของมหาวิทยาลัย
  4. บริการเพื่อการเรียนของนักศึกษา
  5. บริการเพื่อสวัสดิการของบุคลากร
  6. บริการเพื่อส่วนราชการและบุคคลทั่วไป 

5.ความสำคัญของนวัตกรรมและเทคโนโลยีการศึกษา

                ความสำคัญของนวัตกรรมการศึกษา

       สุรินทร์ บุญสนอง (2555) นวัตกรรมมีความสำคัญต่อการศึกษาหลายประการ  ทั้งนี้เนื่องจากในโลกยุคโลกาภิวัตต์โลกมีการเปลี่ยนแปลงในทุกด้านอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ความก้าวหน้าทั้งด้านเทคโนโลยีและสารสนเทศ  การศึกษาจึงจำเป็นต้องมีการพัฒนาเปลี่ยนแปลงจากระบบการศึกษาที่มีอยู่เดิม  เพื่อให้ทันสมัยต่อการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยี และสภาพสังคมที่เปลี่ยนแปลงไป อีกทั้งเพื่อแก้ไขปัญหาทางด้านศึกษาบางอย่างที่เกิดขึ้นอย่างมีประสิทธิภาพเช่นเดียวกัน  การเปลี่ยนแปลงทางด้านการศึกษาจึงจำเป็นต้องมีการศึกษาเกี่ยวกับนวัตกรรมการศึกษาที่จะนำมาใช้เพ่อแก้ไขปัญหาทางการศึกษาในบางเร่อง  เช่น ปัญหาที่เกี่ยวเนื่องกัน  จำนวนผู้เรียนที่มากขึ้น การพัฒนาหลักสูตรให้ทันสมัย  การผลิตและพัฒนาสื่อใหม่ ๆ ขึ้นมาเพื่อตอบสนองการเรียนรู้ของมนุษย์ให้เพิ่มมากขึ้นด้วยระยะเวลาที่สั้นลง  การใช้นวัตกรรมมาประยุกต์ในระบบการบริหารจัดการด้านการศึกษาก็มีส่วนช่วยให้การใช้ทรัพยากรการเรียนรู้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ เช่น เกิดการเรียนรู้ด้วยตนเอง

กล่าวโดยสรุป  นวัตกรรมการศึกษาเกิดขึ้นตามสาเหตุใหม่ ๆ ดังต่อไปนี้

1)  การเพิ่มปริมาณของผู้เรียนในระดับชั้นประถมศึกษาและมัธยมศึกษาเป็นไปอย่างรวดเร็ว  ทำให้นักเทคโนโลยีการศึกษาต้องหานวัตกรรมใหม่ ๆ มาใช้ เพื่อให้สามารถสอนนักเรียนได้มากขึ้น

2)  การเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีเป็นไปอย่างรวดเร็ว  การเรียนการสอนจึงต้องตอบสนองการเรียนการสอนแบบใหม่ ๆ ที่ช่วยให้ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ได้เร็วและเรียนรู้ได้มากในเวลาจำกัดนักเทคโนโลยีการศึกษาจ่งต้องค้นหานวัตกรรมมาประยุกต์ใช้เพื่อวัตถุประสงค์นี้

3)  การเรียนรู้ของผู้เรียนมีแนวโน้มในการเรียนรู้ด้วยตนเองมากขึ้น ตามแนวปรัชญาสมัยใหม่ที่ยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง  นวัตกรรมการศึกษาสามารถช่วยตอบสนองการเรียนรู้ตามอัตภาพ ตามความสามารถของแต่ละคน เช่นการใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ช่วยสอน  CAI (Computer Assisted instruction)  การเรียนแบบศูนย์การเรียน

4)  ความก้าวหน้าของเทคโนโลยีสารสนเทศและเทคโนโลยีโทรคมนาคม ที่ส่วนผลักดันให้มีการใช้นวัตกรรมการศึกษาเพิ่มมากขึ้น เช่น เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ทำให้คอมพิวเตอร์ มีขนาดเล็กลง แต่มีประสิทธิภาพสูงขึ้นมาก เทคโนโลยีเครือข่ายคอมพิวเตอร์และอินเตอร์เน็ต ทำให้เกิดการสื่อสารไร้พรมแดน  นักเทคโนโลยีการศึกษาจึงคิดค้นหาวิธีการใหม่ ๆ ในการประยุกต์ใช้ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์เป็นฐานในการเรียนรู้ ที่เรียกว่า “Web-based Learning”   ทำให้สามารถเรียนรู้ในทุกพี่ทุกเวลาสำหรับทุกคน (Sny where, Any time for  Everyone )  ถ้าหากผู้เรียนสามารถใช้อิเตอร์เน็ตได้

การใช้คอมพิวเตอร์ในปัจจุบันเป็นไปอย่างกว้างขวาง  ในวงการศึกษาคอมพิวเตอร์มิใช่เพียงแต่สิ่งอำนวยความสะดวกในสำนักงานเท่านั้น  แต่ยังใช้เป็นสื่อหรือเป็นเครื่องมือสร้างสื่อได้อย่างสวยงามเหมือนจริง และรวดเร็วมากกว่าก่อน  นักเทคโนโลยีการศึกษาจึงศึกษาวิจัยบทนวัตกรรมทางด้านการผลิตและการใช้สื่อใหม่ ๆ ตามศักยภาพของเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ เช่น คอมพิวเตอร์กราฟิก ระบบมัลติมีเดีย วิดีโอออนดีมานด์  การประชุมทางไกล อี-เส้นนิ่ง อี-เอ็ดดูเคชั่น เป็นต้น

ดร.กฤษมันต์ ได้กล่าวว่า นวัตกรรมมีความสำคัญต่อการศึกษาหลายประการ  คือ

  1. เพื่อให้ทันสมัยต่อการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยี และสภาพสังคมที่เปลี่ยนแปลงไป
  2. เพื่อแก้ไขปัญหาทางด้านการศึกษาบางอย่างที่เกิดขึ้นอย่างมีประสิทธิภาพ
  3. เพื่อแก้ไขปัญหาทางด้านการศึกษาในบางเรื่อง เช่น ปัญหาที่เกี่ยวเนื่องกับจำนวนผู้เรียนที่มากขึ้น การพัฒนาหลักสูตรให้ทันสมัยการผลิตและพัฒนาสื่อใหม่ ๆ ขึ้นมา
  4. เพื่อตอบสนองการเรียนรู้ของมนุษย์ให้เพิ่มมากขึ้นด้วยระยะเวลาที่สั้นลง
  5. การใช้นวัตกรรมมาประยุกต์ในระบบการบริหารจัดการด้านการศึกษาก็มีส่วนช่วยให้การใช้ทรัพยากรการเรียนรู้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ

ทั้งนี้เนื่องจากในโลกยุคโลกาภิวัตต์โลกมีการเปลี่ยนแปลงในทุกด้านอย่างรวดเร็ว  โดยเฉพาะอย่างยิ่งความก้าวหน้าทั้งด้านเทคโนโลยีและสารสนเทศ  การศึกษาจึงจำเป็นต้องมีการพัฒนาเปลี่ยนแปลงจากระบบการศึกษาที่มีอยู่เดิม  เพื่อ ให้ทันสมัยต่อการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยี และสภาพสังคมที่เปลี่ยนแปลงไป  อีกทั้งเพื่อแก้ไขปัญหาทางด้านศึกษาบางอย่างที่เกิดขึ้นอย่างมีประสิทธิภาพ เช่นเดียวกันการเปลี่ยนแปลงทางด้านการศึกษาจึงจำเป็นต้องมีการศึกษาเกี่ยว กับนวัตกรรมการศึกษาที่จะนำมาใช้เพื่อแก้ไขปัญหาทางการศึกษาในบางเรื่อง  เช่น  ปัญหาที่เกี่ยวเนื่องกัน  จำนวนผู้เรียนที่มากขึ้น การพัฒนาหลักสูตรให้ทันสมัย  การผลิตและพัฒนาสื่อใหม่ๆ  ขึ้นมาเพื่อตอบสนองการเรียนรู้ของมนุษย์ให้เพิ่มมากขึ้นด้วยระยะเวลาที่สั้นลง  การใช้นวัตกรรมมาประยุกต์ในระบบการบริหารจัดการด้านการศึกษาก็มีส่วนช่วยให้การ ใช้ทรัพยากรการเรียนรู้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ

ความสำคัญของเทคโนโลยีการศึกษา

1.สามารถทำให้มีการเรียนการสอน การศึกษามีความหมายมากขึ้น ผู้เรียนเรียนได้กว้างขวางมากขึ้น เรียนได้เร็วขึ้น เข้าใจได้อย่างสมบูรณ์ ทำให้ครูมีเวลาให้แก่นักเรียนมากขึ้น

  1. สามารถสนองเรื่องความแตกต่างระหว่างบุคคลได้ ผู้เรียนมีอิสระในการเรียนรู้ มีความรับผิดชอบ
  2. สามารถทำให้การจัดการศึกษาตั้งอยู่บนรากฐานของวิธีทางวิทยาศาสตร์ ค้นพบวิธีใหม่ๆ และสมเหตุสมผลตามความเปลี่ยนแปลงของสังคม
  3. ช่วยให้การศึกษามีพลังมากขึ้น
  4. ทำให้การเรียนรู้อยู่แค่เอื้อม
  5. ทำให้เกิดความเสมอภาคทางการศึกษา

6.กระบวนการสร้างและพัฒนานวัตกรรมเพื่อการเรียนรู้

เนาวนิตย์  สงคราม ได้กล่างถึง “ขั้นตอนการพัฒนานวัตกรรมหรือวิธีการจัดการเรียนรู้ให้มีคุณภาพ”  เป็นอย่างไร ซึ่งมี 9 ขั้นตอนดังนี้

ขั้นตอนที่ 1. สร้างกรอบแนวคิดในการพัฒนา

ขั้นตอนที่ 2. วิเคราะห์หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน

ขั้นตอนที่ 3. กำหนดวัตถุประสงค์การเรียนรู้

ขั้นตอนที่ 4. กำหนดคุณลักษณะนวัตกรรมการเรียนรู้

ขั้นตอนที่ 5. สำรวจทรัพยากรการพัฒนานวัตกรรมการเรียนรู้

ขั้นตอนที่ 6. ออกแบบนวัตกรรมการเรียนรู้

ขั้นตอนที่ 7. วางแผนและดำเนินการพัฒนาการเรียนรู้

ขั้นตอนที่ 8. ตรวจสอบ ทดลองและพัฒนานวัตกรรมการเรียนรู้

ขั้นตอนที่ 9. สรุปและประเมินผลการเรียนรู้

ในแต่ละขั้นตอน มีรายละเอียดอย่างไร บ้าง ให้ครูผู้สอนที่จะทำการวิจัยได้ตั้งใจศึกษาและทำความเข้าใจด้วยตนเองให้แจ่มแจ้งและจริงจัง ดังจะได้อธิบายต่อไป

  1. การสร้างกรอบแนวคิดในการพัฒนา ให้พิจารณาองค์ประกอบที่เกี่ยวข้อง ดังนี้

1.1 ศึกษาหลักสูตร เนื้อหาและเนื้อเรื่อง ที่จะสอน โดยให้พิจารณาถึง ความจำเป็น สภาพความต้องการและความสำคัญ ที่ผู้สอนควรกำหนดขอบเขตการนำเสนอเนื้อหาด้วยนวัตกรรมการเรียนรู้เป็นหัวข้อหลักและหัวข้อรองตามลำดับ

1.2 ศึกษาจุดเด่นและจุดด้อยของเนื้อหาวิชา เพื่อให้ทราบสภาพพื้นฐานเบื้องต้นด้านโครงสร้าง สาระสำคัญและรายละเอียดที่ต้องดำเนินการปรับปรุงหรือพัฒนาการเรียนรู้แก่ผู้เรียน

1.3 ศึกษาสภาพปัญหา การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ และระดับความต้องการในขณะนั้น เพื่อนำมาเป็นแนวทางในการพัฒนาและช่วยให้นวัตกรรมที่พัฒนาขึ้น มีความสอดคล้องและเหมาะสมกับปัญหาหรือความต้องการที่เกิดขึ้น

1.4 กำหนดแนวทางการพัฒนา และการประเมินคุณภาพ นวัตกรรมการเรียนรู้ ที่พัฒนาขึ้นว่า ต้องการนำไปให้ผู้สอนหรือผู้เรียนใช้ และหลังจากใช้นวัตกรรมการเรียนรู้ที่พัฒนาขึ้น ตามกระบวนการที่กำหนดไว้แล้ว ผู้เรียนจะบรรลุเป้าหมายได้อย่างไร และจะทราบได้อย่างไรว่านวัตกรรมนั้นประสบความสำเร็จในการนำไปใช้งานนั้น ๆ

  1. การวิเคราะห์หลักสูตร ให้วิเคราะห์หาองค์ประกอบ ดังนี้

2.1 วิเคราะห์โครงสร้างของเนื้อหา เพื่อศึกษาถึงองค์ประกอบของเนื้อหา ว่ามีลักษณะโครงสร้างตามหลักสูตรที่กำหนดไว้ ควรประกอบด้วยสาระที่เป็นแกนหลักและรายละเอียดใดบ้างที่ทำให้เนื้อหาสาระที่กำหนดขึ้นสามารถนำไปพัฒนานวัตกรรมได้อย่างเหมาะสม มีความสมบูรณ์ ทันสมัย และตรงตามวัตถุประสงค์

2.2 วิเคราะห์ความยาวนานของเวลาที่ใช้ เพื่อแบ่งเนื้อหาสาระและจัดลำดับการนำเสนอนวัตกรรมให้เหมาะสมกับความคงทนในการเรียนรู้ของผู้เรียนแต่ละกลุ่มแต่ละวัย

2.3 วิเคราะห์ผู้เรียน เพื่อพิจารณาคุณลักษณะผู้เรียนในด้านต่าง ๆ เช่นวัฒนธรรม สิ่งแวดล้อม ประสบการณ์เดิม ลักษณะทางกายภาพ สติปัญญา อารมณ์ ความต้องการ เจตคติ เป็นต้น ซึ่งทั้งหมดนี้เป็นส่วนหนึ่งของพัฒนาการด้านร่างกาย สติปัญญา สังคมและอารมณ์ของผู้เรียน เนื่องจากลักษณะของผู้เรียนจะมีผลโดยตรงต่อการพิจารณาเลือกพัฒนานวัตกรรมตลอดจนวิธีการนำเสนอให้สอดคล้องและเหมาะสมกับการเรียนรู้

  1. การกำหนดวัตถุประสงค์การเรียนรู้ ให้พิจารณาจากวิธีการกำหนดให้ผู้เรียนเกิดพฤติกรรม ที่แสดงถึงการเรียนรู้และระดับของพฤติกรรมที่ต้องการ ด้วยการจัดลำดับเนื้อหา กำหนดเวลาการนำเสนอและกิจกรรม เพื่อให้นวัตกรรมสามารถถ่ายทอดพฤติกรรมและคุณลักษณะที่ต้องการให้แก่ผู้เรียนได้ดียิ่งขึ้น ซึ่งสามารถแบ่งประเภทการเรียนรู้และระดับการเกิดพฤติกรรมการเรียนรู้ได้ ดังนี้

3.1 พุทธิพิสัย (Cognitive) เป็นการรับข้อมูลและเนื้อหาความรู้จากสิ่งที่ง่ายไปสู่สิ่งยาก อันเป็นการพัฒนาด้านสติปัญญาของมนุษย์ ซึ่งมี 6 ระดับ ได้แก่ 1) รู้และจำได้ 2) เข้าใจเรื่องราว 3) นำไปใช้ได้  4) วิเคราะห์ได้ 5) สังเคราะห์ได้ และ 6) ประเมินคุณค่าได้

3.2 ทักษะพิสัย (Psycho-motor) เป็นการเรียนรู้ที่แสดงออกในด้านทักษะและความสามารถทางด้านการบังคับกลไกของร่างกายในการปฏิบัติงานต่าง ๆ มี 7 ระดับ ได้แก่ 1) รับรู้การกระทำ 2) เตรียมความพร้อม 3) ตอบสนองตามสภาพ 4) ปรับกลไกการตอบสนอง 5) ตอบสนองโดยอัตโนมัติ 6) ดัดแปลงกระบวนการตอบสนอง และ 7) ปรับประยุกต์ใช้ในสถานการณ์อื่นๆ

3.3 จิตพิสัย (Affective) เป็นการเรียนรู้ที่แสดงออกด้านทัศนคติ ความรู้สึก เพื่อพัฒนาพฤติกรรมหรือบุคลิกลักษณะของแต่ละบุคคล มี 5 ระดับ ได้แก่ 1) ตั้งใจรับรู้ 2) ยอมรับและเชื่อถือ 3) เห็นคุณค่า 4) จัดระบบคุณค่าได้ 5) สร้างลักษณะนิสัย

  1. การกำหนดคุณลักษณะนวัตกรรมการเรียนรู้ ให้นำเอาวัตถุประสงค์มาเป็นกรอบคุณลักษณะ โดยให้พิจารณา คุณลักษณะ ดังต่อไปนี้

4.1 คุณลักษณะของนวัตกรรมการเรียนรู้ด้านประเภทการใช้งาน จัดอยู่ในประเภทใด เช่น นวัตกรรมประเภทเครื่องฉาย นวัตกรรมประเภทไม่ใช้เครื่องฉาย  นวัตกรรมประเภทเครื่องเสียง เป็นต้น

4.2 คุณลักษณะของนวัตกรรมการเรียนรู้ด้านลำดับขั้นการเรียนรู้ ควรใช้นวัตกรรมในลำดับใด ตามลำดับขั้นการเรียนรู้แบบกรวยประสบการณ์ ซึ่งมีการเรียงลำดับกิจกรรมการเรียนรู้ ที่ช่วยให้ผู้เรียนเกิดประสบการณ์เรียนรู้จากมากไปหาน้อยตามลำดับ ได้แก่   1) ประสบการณ์ตรง  2) ประสบการณ์รอง      3) ประสบการณ์จากการแสดง 4) การสาธิต  5) การศึกษานอกสถานที่ 6) นิทรรศการ 7) โทรทัศน์      8) ภาพยนตร์ 9) การบันทึกเสียง 10) วิทยุ 11) ภาพนิ่ง 12) ทัศนสัญญาณ 13) วจนสัญญาณ

4.3 คุณลักษณะของนวัตกรรมการเรียนรู้ เนื่องจากนวัตกรรมมีประสิทธิภาพในการถ่ายทอดประสบการณ์และช่วยให้เกิดการเรียนรู้ ได้ในระดับที่แตกต่างกัน ดังนั้นจะต้องพิจารณาคัดเลือกนวัตกรรมให้สอดคล้องกับประเภทของลักษณะข้อมูลและประสิทธิภาพการรับรู้ของผู้เรียน ดังแสดงไว้ในตารางต่อไปนี้

ตาราง       แสดงประสิทธิภาพของนวัตกรรม

ลักษณะข้อมูล/

นวัตกรรม

ข้อมูลเชิงสถิติและตัวเลขภาพและสถานการณ์จริงหลักการแนวคิดทฤษฏีขั้นตอนการปฏิบัติแนวคิดค่านิยมเจตคติภาพนิ่ง

ภาพยนตร์

โทรทัศน์

วัสดุ 3 มิติ

เทปบันทึกเสียง

การสาธิต

สิ่งพิมพ์

การบรรยาย

***

**

**

*

*

*

***

**

**

***

***

*

**

**

*

*

**

***

***

*

*

*

**

**

**

***

**

*

**

***

**

**

*

***

**

*

**

***

**

**

*** ประสิทธิภาพสูงสุด             ** ประสิทธิภาพปานกลาง               * ประสิทธิภาพต่ำ

  1. การสำรวจทรัพยากรการพัฒนานวัตกรรม ให้มีการสำรวจทรัพยากรพัฒนานวัตกรรมการเรียนรู้ ดังต่อไปนี้

5.1 สำรวจบุคลากร ควรสำรวจบุคลากรที่มีความเชี่ยวชาญ ผู้มีความรู้ความสามารถในเรื่องที่เกี่ยวข้อง อาจได้แก่ 1) นักเทคโนโลยีการศึกษาด้านการพัฒนา การทดสอบ และทดลองใช้นวัตกรรมการเรียนรู้ 2) นักวิชาการ ด้านหลักสูตรและเนื้อหา 3) นักจิตวิทยาการศึกษา ด้านพฤติกรรมและพัฒนาการเรียนรู้ 4) ผู้สอน ที่เป็นผู้เชี่ยวชาญด้านการสอน 5) นักวัดและประเมินผล ที่เป็นผู้เชี่ยวชาญด้านการวัดและประเมินผล

5.2 สำรวจเครื่องมือ วัสดุและอุปกรณ์ ให้สำรวจก่อนดำเนินงานเพื่อเตรียมความพร้อมเกี่ยวกับการนำเครื่องมือ วัสดุและอุปกรณ์มาใช้เพราะกระบวนการพัฒนาจำเป็นต้องใช้เครื่องมือและวัสดุอุปกรณ์มาใช้ในการดำเนินการตามขั้นตอนต่อไป รวมทั้งจะได้คำนวณถึงปริมาณหรือ

งบประมาณในการดำเนินการ

5.3 สำรวจงบประมาณ ให้ทำการสำรวจงบประมาณเพื่อดำเนินการ ซึ่งอาจโดยการเขียนโครงการขอรับการสนับสนุนจากโรงเรียนหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องหรือผู้มีเมตตาจิตที่จะให้การอนุเคราะห์

5.4 สำรวจสถานที่ ให้ทำการสำรวจสถานที่ที่จะนำนวัตกรรมไปทดลองใช้ว่ามีความเหมาะสมเพียงใด รวมทั้งสภาพแวดล้อมข้างเคียงด้วย

  1. การออกแบบนวัตกรรมการเรียนรู้ การออกแบบนวัตกรรมการเรียนรู้ที่ดี ต้องให้ความสำคัญเกี่ยวกับหลักการและทฤษฏีต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องและส่งผลกระทบต่อคุณภาพของนวัตกรรมการเรียนรู้พัฒนาขึ้น ให้พิจารณาโดยยึดหลักการ ดังนี้

6.1 หลักการและทฤษฏีทางจิตวิทยาการศึกษา ควรคำนึงถึงหลักการและทฤษฏีทางจิตวิทยาการศึกษา ดังนี้

1) การเสริมแรง นวัตกรรมการเรียนรู้ต้องมีอิทธิพลต่อการจูงใจผู้เรียนให้มากที่สุดหรือมากกว่าที่เคยใช้มา

2) การให้ความรู้เฉพาะเรื่อง นวัตกรรมการเรียนรู้ต้องเป็นสิ่งที่มีอิทธิพลต่อการเรียนรู้เนื้อหาสาระให้ผู้เรียนเกิดประสบการณ์การเรียนรู้มากที่สุด

3) ความสัมพันธ์  เนื้อหาและแรงจูงใจทั้งภายในและภายนอกของนวัตกรรมที่ดีมีคุณค่าและมีความหมายต่อผู้เรียนต้องสัมพันธ์กันในขณะจัดกิจกรรมการเรียนรู้

4) พื้นฐานของการรับรู้ ความประณีต ความละเอียด ความสัมพันธ์กันและความชัดเจนของเนื้อหาพื้นฐานของการรับรู้ย่อม มีอิทธิพลต่อการพัฒนานวัตกรรมการเรียนรู้อย่างยิ่ง

5) การใช้องค์ประกอบ ความคุ้นเคยของผู้เรียนและการใช้เทคนิคการนำเสนอของผู้สอนต้องสอดคล้องกับทัศนคติของผู้เรียน เป็นองค์ประกอบสำคัญของการพัฒนานวัตกรรม

6) ความเป็นรูปธรรม นวัตกรรมการเรียนรู้ที่ตอบสนองต่อผู้เรียน สามารถสัมผัสได้อย่างเป็นรูปธรรมเป็นสิ่งที่ควรพัฒนาให้เกิดขึ้นอย่างยิ่ง

7) อัตราส่วนของเนื้อหาสาระ ในขณะนำนวัตกรรมไปจัดกิจกรรมการเรียนรู้ต้องกำหนดปริมาณเนื้อหาและจัดลำดับการนำเสนอให้มีอิทธิพลและส่งผลต่อการเรียนรู้มากที่สุด

8) การจัดตัวแปรทางการสอน นวัตกรรมการเรียนรู้ต้องสามารถจัดสภาพขององค์ประกอบต่าง ๆ ให้สามารถเกิดประโยชน์ต่อผู้เรียนเฉพาะจุดมุ่งหมายที่ต้องการได้มากที่สุด

9) ความเป็นผู้นำทางการสอน นวัตกรรมการเรียนรู้ต้องช่วยให้สามารถประยุกต์ใช้เทคนิควิธี หลักการและทฤษฏีต่าง ๆ ในการจัดการเรียนรู้มาหลอมรวมกับประสบการณ์เดิม เพื่อใช้กิจกรรมการเรียนรู้ได้อย่างเหมาะสมและสอดคล้องกับสถานการณ์และสภาพของผู้เรียน

6.2 หลักการออกแบบนวัตกรรมการเรียนรู้ ให้คำนึงถึงพื้นฐานขององค์ปะกอบต่าง ๆ ที่บรรจุไว้ในนวัตกรรม ต้องมุ่งเพื่อให้ผู้เรียนเกิดความสนใจ การสังเกต การจดจำ มีความคิดสร้างสรรค์และกระตือรือร้นในการปฏิบัติกิจกรรม โดยเฉพาะองค์ประกอบภายในนวัตกรรม ได้แก่ ความกลมกลืน สัดส่วน ความสมดุล จังหวะ การเน้น ความเป็นเอกภาพและความแตกต่างหรือ

การตัดกันที่แสดงออกด้วยการใช้ เส้น สี แสงและเงา

6.3 หลักการสื่อสาร สิ่งที่เราควรคำนึงในการใช้นวัตกรรมการเรียนรู้ คือ การถ่ายทอดข้อมูลอันเป็นความรู้และประสบการณ์จากผู้สอนไปยังผู้เรียน ด้วยการให้ความสำคัญกับองค์ประกอบของการสื่อสาร ได้แก่ ผู้ส่งสารหรือแหล่งของสาร เนื้อหาเรื่องราวของนวัตกรรมหรือช่องทางการนำข่าวสาร ไปถึงผู้รับหรือกลุ่มเป้าหมาย ผลที่เกิดขึ้นและปฏิกิริยาต้องตอบสนอง ผู้เรียนที่สัมผัสได้  นอกจากนี้ยังต้องพิจารณารูปแบบของการสื่อสารด้วยว่าเป็นการสื่อสารทางเดียวหรือการสื่อสารสองทางด้วย

6.4 หลักการเรียนรู้ ให้พิจารณาว่านวัตกรรมที่พัฒนาขึ้น ควรตอบสนองต่อการเรียนรู้ในลักษณะใดบ้าง เช่น โดยการวางเงื่อนไข ด้านภาษา ด้านทักษะ การสัมผัส การแก้ปัญหา กระบวนการทางสังคม การสังเกต ความผิดพลาด การคัดค้านหรือโต้แย้ง เป็นต้น

  1. การวางแผนและดำเนินการพัฒนานวัตกรรมการเรียนรู้ ควรยึดหลักการ ดังนี้

7.1 กำหนดขั้นตอนการดำเนินงาน  ต้องกำหนดขั้นการปฏิบัติ เป้าหมาย จำนวนทรัพยากรและระยะเวลาที่ใช้ในการดำเนินงานแต่ละขั้นตอนไว้

7.2 การดำเนินงานตามแผน ให้นำเอาทรัพยากรต่าง ๆ ที่กำหนดไว้มาดำเนินการพัฒนาตามแผนที่วางไว้อย่างเป็นระบบ ซึ่งอาจเป็นคู่มือหรือแบบประเมินผล หรือปฏิทินการดำเนินงานการพัฒนานวัตกรรมการเรียนรู้ เป็นต้น

  1. การตรวจสอบ ทดลองและพัฒนานวัตกรรมการเรียนรู้ โดยควรยึดหลักการ ดังนี้

8.1 การตรวจสอบเบื้องต้น เป็นการตรวจสอบคุณภาพและความสอดคล้องกับการนำนวัตกรรมการเรียนรู้ที่พัฒนาขึ้นไปใช้งานจริง โดยกลุ่มผู้พัฒนาและผู้เชี่ยวชาญ ซึ่งเป็นการตรวจสอบที่เหมาะสมกับการวิจัยเพื่อพัฒนาคุณภาพการเรียนรู้ที่มีระยะเวลาแก้ไขปัญหาในช่วงสั้น ๆ

8.2 การทดลองและพัฒนา (Try – out) เป็นการตรวจสอบคุณภาพโดยนำไปใช้กับสถานการณ์ที่แตกต่างกัน เพื่อปรับปรุงแก้ไขความบกพร่องที่ค้นพบจากการทดลอง ในชั้นนี้จะมีความเหมาะสมกับการวิจัยเพื่อพัฒนาคุณภาพการเรียนรู้ ซึ่งการทดลองที่ได้มาตรฐานมี 3 ลำดับชั้น ดังนี้

1) ชั้นการทดลองแบบ 1 : 1 โดยการสังเกตพฤติกรรมของผู้สอนและผู้เรียนในขณะใช้นวัตกรรมการเรียนรู้โดยละเอียด หากพบว่ามีส่วนใดขาดตกบกพร่องจะต้องดำเนินการแก้ไขให้ดียิ่งขึ้น

2) ขั้นการทดลองกลุ่มเล็ก (5-10 คน) โดยการสังเกตพฤติกรรมของผู้เรียนที่มีความสามารถทางการเรียนแตกต่างกัน ทั้งที่เรียนอ่อน ปานกลางและเก่ง หากพบข้อผิดพลาดหรือบกพร่องก็ทำการแก้ไขอีกครั้ง อันเป็นการตรวจสอบความเหมาะสมของนวัตกรรมการเรียนรู้

3) ขั้นทดลองกลุ่มใหญ่ (30 คนขึ้นไป) เป็นการตรวจสอบคุณภาพจากการใช้งานในสถานการณ์ที่จำลองขึ้นเช่นเดียวกับกลุ่มเล็ก ซึ่งประกอบด้วยกลุ่มผู้เรียนอ่อน ปานกลางและเก่งเช่นเดียวกันและหากพบข้อบกพร่องก็ให้ทำการแก้ไขให้ดียิ่ง ๆ ขึ้น

8.3 การทดสอบประสิทธิภาพในสถานการณ์จริง หลังจากทดลองและปรับปรุงคุณภาพจนแน่ใจว่านวัตกรรมการเรียนรู้ที่พัฒนาขึ้นมีคุณภาพอย่างแท้จริงแล้ว ต้องทดสอบประสิทธิภาพเพื่อยืนยันว่านวัตกรรมนั้น ๆ เป็นนวัตกรรมที่มีมาตรฐานเชื่อถือได้อีกครั้งหนึ่ง

อนึ่งในการแก้ปัญหาหรือพัฒนาการเรียนรู้ด้วย การวิจัยในชั้นเรียน นั้น ควรใช้เพียงการตรวจสอบเบื้องต้น เท่านั้น เพื่อความรวมเร็วและให้ทันกับสถานการณ์ที่ผู้เรียนจะต้องเรียนรู้ในเรื่องต่อ ๆ ไป

  1. การสรุปและประเมินผล ซึ่งควรมีหลักการพิจารณา 4 ประการ ดังนี้

9.1 มีประสิทธิภาพ (Efficiency) หลังใช้นวัตกรรมการเรียนรู้แล้ว ผู้เรียนมีพฤติกรรมการเรียนรู้ตรงตามเป้าหมายที่หลักสูตรกำหนดไว้อย่างชัดเจน

9.2 มีประสิทธิผล (Productivity) การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยนวัตกรรมที่พัฒนาขึ้นช่วยให้ผู้เรียนบรรลุเป้าหมายและวัตถุประสงค์การเรียนรู้ โดยผู้เรียนจำนวนมากหรือทุกคนเกิดพฤติกรรมการเรียนรู้ผ่านเกณฑ์ที่กำหนดไว้

9.3 มีความประหยัด (Economy) นวัตกรรมการเรียนรู้ที่พัฒนาขึ้นเมื่อนำมาใช้สอนแล้วมีความคุ้มค่ากับการลงทุน ทั้งด้านทุนทรัพย์ แรงงานและระยะเวลาที่สูญเสียไป ตลอดจนมีความคงทนถาวรไม่ชำรุดเสียหายง่าย ๆ

9.4 มีคุณลักษณะที่ดี (Goodness) นวัตกรรมการเรียนรู้ที่พัฒนาขึ้นต้องตรงกับวัตถุประสงค์การเรียนรู้เหมาะสมกับวัยของผู้เรียน เหมาะสมกับกิจกรรมการเรียนรู้ เหมาะสมกับเนื้อหาวิชาใช้ง่ายสะดวกปลอดภัย ไม่สิ้นเปลืองประหยัดคุ้มค่า สามารถแก้ปัญหาข้อบกพร่องของเนื้อหาวิชาและสถานการณ์การเรียนรู้ได้เป็นอย่างดี

โดยสรุปแล้ว การพัฒนาวิธีการหรือนวัตกรรมเพื่อแก้ปัญหาหรือพัฒนาการเรียนรู้ หรือจะกล่าวสั้น ๆ ว่า การสร้างนวัตกรรมเพื่อการเรียนรู้นั้นมีหลักการหรือวิธีการอย่างไรนั่นเอง ซึ่งมีขั้นตอนการพัฒนานวัตกรรมการเรียนรู้   9   ขั้นตอน ดังนี้

  1. สร้างกรอบแนวคิดในการพัฒนา
  2. วิเคราะห์หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน
  3. กำหนดวัตถุประสงค์การเรียนรู้
  4. กำหนดคุณลักษณะนวัตกรรมการเรียนรู้
  5. สำรวจทรัพยากรการพัฒนานวัตกรรม
  6. ออกแบบนวัตกรรมการเรียนรู้
  7. วางแผนและดำเนินการพัฒนานวัตกรรมการเรียนรู้
  8. ตรวจสอบ ทดลองและพัฒนานวัตกรรมการเรียนรู้
  9. สรุปและประเมินผลการเรียนรู้

ทิศนา แขมมณี (2548 : 423) ได้ให้หลักการพัฒนานวัตกรรมทางการศึกษาไว้พอสรุปได้ดังนี้

  1. การระบุปัญหา(Problem) ความคิดในการพัฒนานวัตกรรมนั้น ส่วนใหญ่จะเริ่มจากการมองเห็นปัญหา และต้องการแก้ไขปัญหานั้นให้ประสบความสำเร็จอย่างมีคุณภาพ
  2. การกำหนดจุดมุ่งหมาย(Objective) เมื่อกำหนดปัญหาแล้วก็กำหนดจุดมุ่งหมายเพื่อจัดทำหรือพัฒนานวัตกรรมให้มีคุณสมบัติ หรือลักษณะตรงตามจุดมุ่งหมายที่กำหนดไว้
  3.  การศึกษาข้อจำกัดต่างๆ(Constraints) ผู้พัฒนานวัตกรรมทางด้านการเรียนการสอนต้องศึกษาข้อมูลของปัญหาและข้อจำกัดที่จะใช้นวัตกรรมนั้น เพื่อประโยชน์ในการนำไปใช้ได้จริง
  4. การประดิษฐ์คิดค้นนวัตกรรม(Innovation) ผู้จัดทำหรือพัฒนานวัตกรรมจะต้องมีความรู้ประสบการณ์ ความริเริ่มสร้างสรรค์ ซึ่งอาจนำของเก่ามาปรับปรุง ดัดแปลง เพื่อใช้ในการแก้ปัญหาและทำให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น หรืออาจคิดค้นขึ้นมาใหม่ทั้งหมด นวัตกรรมทางการศึกษามีรูปแบบแตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับลักษณะปัญหาหรือวัตถุประสงค์ของนวัตกรรมนั้น เช่นอาจมีลักษณะเป็นแนวคิด หลักการ แนวทาง ระบบ รูปแบบ วิธีการ กระบวนการ เทคนิค หรือสิ่งประดิษฐ์ และเทคโนโลยี เป็นต้น
  5. การทดลองใช้(Experimentation) เมื่อคิดค้นหรือประดิษฐ์นวัตกรรมทางการศึกษาแล้ว ต้องทดลองนวัตกรรม ซึ่งเป็นสิ่งจำเป็นเพื่อเป็นการประเมินผลและปรับปรุงแก้ไขผลการทดลองจะทำให้ได้ข้อมูลนำมาใช้ในการปรับปรุงและพัฒนานวัตกรรมต่อไป ถ้าหากมีการทดลองใช้นวัตกรรมหลายครั้งก็ย่อมมีความมั่นใจในประสิทธิภาพของนวัตกรรมนั้น
  6. การเผยแพร่(Dissemination) เมื่อมั่นใจนวัตกรรมที่สร้างขึ้นมีประสิทธิภาพแล้วก็สามารถนำไปเผยแพร่ให้เป็นที่รู้จัก

กระบวนการสร้างและพัฒนานวัตกรรม 5 ขั้นตอน

ขั้นตอนที่ 1 การศึกษาเอกสารแนวคิดหลักการ

เป็นขั้นตอนของการสำรวจว่าในทางวิชาการมีพัฒนาเรื่องนี้ไว้ว่าอย่างไร มีใครที่เคยประสบปัญหาการพัฒนาการเรียนรู้หรือการบริหารสถานศึกษาเช่นเดียวกันนี้มาก่อน และคนที่หาปัญหาเช่นเดียวกันนี้มีแนวทางในการแก้ไขปัญหานี้ในห้องเรียนของตนเองอย่างไร เพื่อให้ได้แนวคิดและแนวทางที่จะนำมาแก้ปัญหาของตนเองต่อไป

1.1    การแลกเปลี่ยนเรียนรู้และการแสวงหาแนวคิดและหลักการ

1.2    การศึกษาเอกสารงานวิจัยและประสบการของผู้เกี่ยวข้อง

ขั้นตอนที่ 2 การเลือกและการวางแผนสร้างนวัตกรรม

โดยพิจารณาเลือกจากลักษณะของนวัตกรรมการเรียนรู้ที่ดี ดังนี้

  1. เป็นนวัตกรรมการเรียนรู้ที่ตรงกับความต้องการและความจำเป็น
  2. มีความหน้าเชื่อถือและเป็นไปได้สูงที่จะสามารถแก้ปัญหา และพัฒนาการเรียนรู้ของผู้เรียน
  3. เป็นนวัตกรรมที่มีแนวคิดหรือหลักการทางวิชาการรองรับจนน่าเชื่อถือ
  4. สามารถนำไปใช้ในห้องเรียนได้จริง ใช้ได้ง่าย สะดวกต่อการใช้และการพัฒนานวัตกรรม
  5. มีผลการพิสูจน์เชิงประจักษ์ว่าได้ใช้ในสถานการณ์จริงแล้วสามารถแก้ปัญหาหรือพัฒนาคุณภาพการจัดการเรียนรู้ได้อย่างน่าเพิ่งพอใจ

ขั้นตอนที่ 3 สร้างและพัฒนานวัตกรรม

จากแผนการสร้างนวัตกรรม ครูต้องศึกษาถึงรายละเอียดของนวัตกรรมที่จะสร้างและดำเนินการตามขั้นตอน เช่น การสร้างนวัตกรรมที่เป็นชุดการเรียนรู้ ครูอาจดำเนินการสร้างตามขั้นตอนต่อไปนี้ เช่น

– วิเคราะห์จุดประสงค์การเรียนรู้

– กำหนดและออกแบบชุดการเรียนรู้ด้วยตนเอง

– ออกแบบสื่อเสริม

– ลงมือทำ

– ตรวจสอบคุณภาพครั้งแรกโดยผู้เชี่ยวชาญ

– ทดลองใช้ระยะสั้นเพื่อปรับปรุงเนื้อหาสาระ

– นำไปใช้เพื่อแก้ปัญหาหรือการพัฒนาการเรียนรู้

ขั้นตอนที่ 4  การหาประสิทธิภาพของนวัตกรรม

ขั้นตอนนี้เป็นขั้นตอนที่พิสูจน์ว่านวัตกรรมที่สร้างขั้นนั้นเมื่อนำไปใช้จะได้ผลตามที่ต้องการหรือไม่ สามารถแก้ปัญหาในชั้นเรียนหรือพัฒนาผู้เรียนได้จริงหรือไม่การประสิทธิภาพของนวัตกรรมมีหลายวิธี เช่น

  1. การตรวจสอบโดยผู้เชี่ยวชาญ
  2. การบรรยายคุณภาพ
  3. การคำนวณค่าร้อยละของผู้เรียน
  4. การหาประสิทฺธิภาพของนวัตกรรม
  5. การประเมินสื่อมัลติมีเดีย

ขั้นตอนที่ 5 ปรับปรุงนวัตกรรม

หลังจากที่หาประสิทธิภาพของนวัตกรรมที่สร้างขั้น ไม่ว่าจะโดยวิธีการใดก็ตามควรนำความคิดเห็นหรือข้อเสนอแนะเล่านั้นมาปรับปรุงนวัตกรรมให้มีคุณภาพเหมาะสมที่จะนำไปใช้ในห้องเรียนได้มากขึ้น โดยเฉพาะค่าหาประสิทธิภาพโดยการให้ผู้เชี่ยวชาญช่วยตรวจและการบรรยายคุณภาพก่อนการทดลองใช้และหลังการทดลองใช้กับผู้เรียนกลุ่มเล็กจะทำให้ได้ข้อมูลที่ชัดเจนและเป็นรายละเอียดที่จะปรับปรุงนวัตกรรมได้ง่ายขึ้น

7.ตัวอย่างนวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการศึกษา

  1.) E-learning

ความหมาย    e-Learning  เป็นคำที่ใช้เรียกเทคโนโลยีการศึกษาแบบใหม่ ที่ยังไม่มีชื่อภาษาไทยที่แน่ชัด และมีผู้นิยามความหมายไว้หลายประการ ผศ.ดร.ถนอมพร เลาหจรัสแสง ให้คำนิยาม E-Learning หรือ Electronic Learning ว่า หมายถึง “การเรียนผ่านทางสื่ออิเลคทรอนิกส์ซึ่งใช้การ นำเสนอเนื้อหาทางคอมพิวเตอร์ในรูปของสื่อมัลติมีเดียได้แก่ ข้อความอิเลคทรอนิกส์ ภาพนิ่ง ภาพกราฟิก วิดีโอ ภาพเคลื่อนไหว ภาพสามมิติฯลฯ”เช่นเดียวกับ คุณธิดาทิตย์ จันคนา ที่ให้ความ หมายของ e-learning หมายถึงการศึกษาที่เรียนรู้ผ่านเครือข่ายอินเตอร์เนตโดยผู้เรียนรู้จะเรียนรู้ ด้วยตัวเอง การเรียนรู้จะเป็นไปตามปัจจัยภายใต้ทฤษฎีแห่งการเรียนรู้สองประการคือ เรียนตามความรู้ความสามารถของผู้เรียนเอง และ การตอบสนองใน ความแตกต่างระหว่างบุคคล(เวลาที่แต่ละบุคคลใช้ในการเรียนรู้)การเรียนจะกระทำผ่านสื่อบนเครือข่ายอินเตอร์เนต โดยผู้สอนจะนำเสนอข้อมูลความรู้ให้ผู้เรียนได้ทำการศึกษาผ่านบริการ World Wide Web หรือเวปไซด์ โดยอาจให้มีปฏิสัมพันธ์ (สนทนา โต้ตอบ ส่งข่าวสาร) ระหว่างกัน จะที่มีการ เรียนรู้ ู้ในสามรูปแบบคือ ผู้สอนกับ ผู้เรียน ผู้เรียนกับผู้เรียนอีกคนหนึ่ง หรือผู้เรียนหนึ่งคนกับกลุ่มของผู้เรียน ปฏิสัมพันธ์นี้สามารถ กระทำ ผ่านเครื่องมือสองลักษณะคือ

1) แบบ Real-time ได้แก่การสนทนาในลักษณะของการพิมพ์ข้อความแลกเปลี่ยนข่าวสารกัน หรือ ส่งในลักษณะของเสียง จากบริการของ Chat room

2) แบบ Non real-time ได้แก่การส่งข้อความถึงกันผ่านทางบริการ อิเลคทรอนิคเมลล์ WebBoard News-group เป็นต้น

2). ห้องเรียนเสมือนจริง

ความหมายการเรียนการสอนที่จำลองแบบเสมือนจริง เป็นนวัตกรรมทางการศึกษาที่สถาบันการศึกษา ต่างๆ ทั่วโลกกำลังให้ความสนใจและจะขยายตัวมากขึ้นในศตวรรษที่ 21 การเรียนการสอนในระบบนี้อาศัยสื่ออิเล็กทรอนิกส์โทรคมนาคม และเครือข่ายคอมพิวเตอร์เป็นหลัก ที่เรียกว่า Virtual Classroom หรือ Virtual Campus บ้าง นับว่าเป็นการพัฒนาการ บริการทางการศึกษาทางไกลชนิดที่เรียกว่าเคาะประตูบ้านกันจริงๆ เป็นรูปแบบใหม่ของสถาบันการศึกษาในโลกยุคไร้พรมแดนมีนักวิชาการหลายท่านได้ให้ความหมายของคำว่า Virtual Classroom ไว้ดังนี้

ศ. ดร. ครรชิต มาลัยวงศ์ (2540) ได้กล่าวถึงความหมายของห้องเรียนเสมือน(Virtual Classroom) ว่าหมายถึง การเรียนการสอนที่ผ่านระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมโยงคอมพิวเตอร์ของผู้เรียน เข้าไว้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ของผู้ให้บริการเครือข่าย (File Server) และเครื่องคอมพิวเตอร์ผู้ให้ บริการเว็บ (Web Server) อาจเป็นการเชื่อมโยงระยะใกล้หรือระยะไกล ผ่านทางระบบการสื่อสารและอินเทอร์เน็ตด้วย กระบวนการสอนผู้สอนจะออกแบบระบบการเรียนการสอนไว้โดยกำหนด กิจกรรมการเรียนการสอน สื่อต่างๆ นำเสนอผ่านเว็บไซต์ประจำวิชา จัดสร้างเว็บเพจในแต่ละส่วนให้ สมบูรณ์ ผู้เรียนจะเข้าสู่เว็บไซต์ประจำวิชาและดำเนินการเรียนไปตามระบบการเรียน ที่ผู้สอนออกแบบไว้ในระบบเครือข่ายมีการจำลองสภาพแวดล้อมต่างๆ ในลักษณะเป็นห้องเรียนเสมือน

บุญเกื้อ ควรหาเวช (2543) ได้กล่าวถึงห้องเรียนเสมือนว่า (Virtual Classroom) หมายถึง การ จัดการเรียนการสอนที่ ผู้เรียนจะเรียนที่ไหนก็ได้ เช่น ที่บ้าน ที่ทำงาน โดยไม่ต้องไปนั่งเรียนในห้อง เรียนจริงๆ ทำให้ประหยัดเวลา ค่าเดินทาง และค่าใช้จ่ายอื่นๆ อีกมากมาย

โดยสรุป กล่าวได้ว่าได้ว่า ห้องเรียนเสมือน (Virtual Classroom) หมายถึง การเรียนการสอนที่กระทำผ่านระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมโยงคอมพิวเตอร์ของผู้เรียนเข้าไว้กับเครื่อง คอมพิวเตอร์ของผู้ให้บริการเครือข่าย (File Server) และคอมพิวเตอร์ผู้ให้บริการเว็บ (Web sever) เป็นการเรียนการสอนที่จะมีการนัดเวลาหรือไม่นัดเวลาก็ได้ และนัดสถานที่ นัดตัวบุคคล เพื่อให้เกิด การเรียนการสอน มีการกำหนดตารางเวลาหรือตารางสอน เข้าสู่กระบวนการเรียนการสอนพร้อมๆ กันหรือไม่พร้อมกัน มีการใช้สื่อการสอนทั้งภาพและเสียง ผู้เรียนสามารถร่วมกิจกรรมกลุ่มหรือตอบ โต้แลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับผู้สอนหรือกับเพื่อนร่วมชั้นได้เต็มที่ (คล้าย chat room) ส่วนผู้สอน สามารถตั้งโปรแกรมติดตามพัฒนาการประเมินผลการเรียนรวมทั้งประสิทธิภาพของหลักสูตรได้ ทั้งนี้ ไม่จำกัดเรื่องสถานที่ เวลา (Any Where & Any Time) ของผู้เรียนในชั้นและผู้สอน

3.) การศึกษาทางไกล (Distance Learning)

การศึกษาทางไกลเป็นการเปิดโอกาสทางการศึกษาให้แก่ผู้ใฝ่รู้และใฝ่เรียนที่ไม่สามารถสละเวลาไปรับการศึกษาจากระบบการศึกษาปกติได้เนื่องจากภาระทางหน้าที่การงานหรือทางครอบครัว และเป็นการเปิดโอกาสให้ผู้ที่ต้องการเพิ่มพูนหรือปรับปรุงความรู้ที่มีอยู่ให้ทันสมัยเพื่อประโยชน์ใน การทำงาน

ความหมายของการศึกษาทางไกล (Distance Education) 

การศึกษาทางไกล (Distance Education) หมายถึง ระบบการศึกษาที่ผู้เรียนและผู้สอนอยู่ ไกลกัน แต่สามารถทำให้เกิดการเรียนรู้ได้โดยอาศัยสื่อการสอนในลักษณะของสื่อประสม กล่าวคือ การใช้สื่อต่างๆ ร่วมกัน เช่น ตำราเรียน เทปเสียง แผนภูมิ คอมพิวเตอร์ หรือโดยการใช้อุปกรณ์ทาง โทรคมนาคม และสื่อมวลชนประเภทวิทยุและโทรทัศน์เข้ามาช่วยในการแพร่กระจาย การศึกษาไปยังผู้ที่ปรารถนาจะเรียนรู้ได้อย่างกว้างขวางทั่วทุกท้องถิ่น การศึกษานี้มีทั้งในระดับต้นจนถึงระดับสูงขั้นปริญญา

การศึกษาทางไกลเป็นการศึกษาวิธีหนึ่งในการศึกษาทั้งในระบบและนอกระบบโรงเรียน ที่ อาศัยสื่อสิ่งพิมพ์ สื่ออิเลคทรอนิกส์ และสื่อบุคคล รวมทั้งระบบโทรคมนาคมในรูปแบบต่างๆ เป็น หลักการเรียนการสอน เพื่อให้ผู้เรียนเรียนรู้ได้ด้วยตนเองจากสื่อเหล่านั้น และอาจมีการสอนเสริม ควบคู่ไปด้วย เพื่อให้ผู้เรียนซักถามปัญหาจากผู้สอนหรือผู้สอนเสริม โดยการศึกษานี้อาจจะอยู่ใน รูปแบบของการศึกษาอิสระ การศึกษารายบุคคล หรือรูปแบบของมหาวิทยาลัยเปิดก็ได้ ตัวอย่างการ ศึกษาทางไกลในประเทศไทย ได้แก่

มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช ซึ่งในการจัดการเรียนการ สอนของมหาวิทยาลัยแห่งนี้ใช้ สื่อสิ่งพิมพ์ เป็นหลัก โดยมี สื่อเสริม คือรายการวิทยุกระจายเสียง และรายการโทรทัศน์บางวิชาอาจ มีเทปคาสเซ็ท วีดิโอเทป หรือสื่อพิเศษอย่างอื่นร่วมด้วย นักศึกษาจะเรียนด้วยตนเอง โดยอาศัยสื่อ เหล่านี้เป็นหลัก แต่มหาวิทยาลัยก็จัดการสอนเสริมเป็นครั้งคราวซึ่งเปิดโอกาสให้ผู้สอนและผู้เรียนได้พบกันเพื่อซักถามข้อสงสัยหรือขอคำอธิบายเพิ่มเติม

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

1.ความหมาย

-“นวัตกรรม”  

                ผศ.วีระประเสริฐศิลป์ และคณะ (2546) ได้ให้ความหมายของ “นวัตกรรม” (Innovation)  หมายถึงวิธีการใหม่ ๆ ที่นำมาใช้ ซึ่งไม่เคยใช้ในหน่วยงานนั้นมาก่อน อาจเป็นวิธีการใหม่ที่ใช้เป้นครั้งแรก หรืออาจเป็นวิธีใหม่ที่เคยใช้ในหน่วยงานอื่นแล้วก็ได้

สวัสดิ์ ปุษบาคม (2517) ได้ให้ความหมายของ “นวัตกรรม” (Innovation)  หมายถึงการปฏิบัติหรือกรรมวิธีการใหม่มาใช้ หรือการทำการเปลี่ยนแปลงปรับปรุงวิธีทำสิ่งต่างๆ ให้ดีกว่าเดิม คือทำให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้น ตัวอย่างเช่น ในการให้การศึกษาก็ใช้เครื่องมือช่วยสอน ที่เรียกว่า Teaching machine หรือใช้คอมพิวเตอร์ช่วยสอนที่เรียกว่า Computer Assisted Instruction เป็นต้น

                Thoeas Hughes ได้ให้ความหมายของ “นวัตกรรม” (Innovation)  เป็นการใช้วิธีการ เป็น 3 ระยะ คือระยะแรกมีการประดิษฐ์คิดค้น การประดิษฐ์คิดค้นที่จะยังไม่แพร่หลายเป็นที่ปฏิบัติทั่วไป จะต้องถึงระยะที่ 2 คือพัฒนาการ ของการคิดหรือสิ่งประดิษฐ์ เช่น ทำการทดลองในแหล่งทดลองจัดทำ เช่น Silot Project เป็นการพัฒนาได้ผลก็จะนำไปปฏิบัติในสถานการณ์ทั่วไป เป็นแนวทางการปฏิบัติใหม่จากที่เคยปฏิบัติมา ซึ่งเรียกว่า เป็นนวัตกรรมที่สมบูรณ์

จากคำกล่าวข้างต้น สรุปได้ว่า นวัตกรรม หมายถึง วิธีการปฏิบัติทางการศึกษาใหม่ๆซึ่งแปลกจากที่เคยปฏิบัติมาแต่เดิม แต่การที่จะปฏิบัติแบบใหม่จะต้องมีขบวนการและขั้นตอนในการปฏิบัติ คือเมื่อมีความคิดใหม่หรือสิ่งประดิษฐ์ใหม่ก็ต้องใช้เวลาเพื่อทดลอง เพื่อให้เกิดผลที่ดีและมีประโยชน์สูงสุด

– “เทคโนโลยีสารสนเทศ”

ผศ.วีระประเสริฐศิลป์ และคณะ(2546)ได้ให้ความหมายของ“เทคโนโลยีสารสนเทศ” (Information  Technology )หรือที่เรียกกันย่อๆว่า IT หมายถึงเทคโนโลยีที่นำมาใช้ในการจัดเก็บข้อมูล และการประมวลผลข้อมูลให้เกิดผลลัพธ์เป็นสารสนเทศ เพื่อนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์

เทคโนโลยีสารสนเทศ หรือ ไอที(information technology: IT) คือการประยุกต์ใช้คอมพิวเตอร์และอุปกรณ์โทรคมนาคม เพื่อจัดเก็บ ค้นหา ส่งผ่าน และจัดดำเนินการข้อมูล  ซึ่งมักเกี่ยวข้องกับธุรกิจหนึ่งหรือองค์การอื่น ๆ  ศัพท์นี้โดยปกติก็ใช้แทนความหมายของเครื่องคอมพิวเตอร์และเครือข่ายคอมพิวเตอร์ และยังรวมไปถึงเทคโนโลยีการกระจายสารสนเทศอย่างอื่นด้วย เช่นโทรทัศน์และโทรศัพท์ อุตสาหกรรมหลายอย่างเกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีสารสนเทศ ตัวอย่างเช่น ฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์ อิเล็กทรอนิกส์ อุปกรณ์กึ่งตัวนำ อินเทอร์เน็ต อุปกรณ์โทรคมนาคม การพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ และบริการทางคอมพิวเตอร์

  1. บทบาทและความสำคัญของนวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศ

ในวงการบริหารงานต่างๆโดยเฉพาะในวงการบริหารธุรกิจซึ่งมีการแข่งขันกันสูงได้นำเอา นวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาใช้ในการบริหารเป็นอันมาก เพื่อให้การบริหารมีประสิทธิภาพสูง และได้ประสิทธิผลสูงสุด ผู้บริหารยุคใหม่ทุกระดับจึงนำนวัตกรรม และเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้กันอย่างแพร่หลาย เช่น ผู้บริหารระดับสูงในองค์กร จะนำสารสนเทศที่แสดงภาพรวมของการดำเนินงาน ความสัมพันธ์ระหว่างองค์กรกับสิ่งแวดล้อมสรุปปัญหาและแนวทางแก้ไขมาใช้เพื่อประกอบในการแก้ปัญหาและการตัดสินใจกำหนด กลยุทธ์ขององค์กร ส่วนผู้บริหารระดับกลางจะนำสารสนเทศที่ประมวลผลงานประจำปีมาใช้จัดทำแผนงบประมาณและกำหนดเป็นการดำเนินงานของหน่วยงานสำหรับผู้บริหารงานระดับต้น จะใช้เทคโนโลยีสารสนเทศช่วยในการควบคุมการปฏิบัติงานเป็นต้น

ปัจจุบันผู้บริหารในวงการศึกษาได้นำนวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ในการบริหารจัดการศึกษากันมากขึ้น เช่น

  1. การนำนวัตกรรมและเทคโนโลยีมาใช้ในการตัดสินใจที่ดีจะต้องรวดเร็วและไม่ผิดพลาดและการตัดสินใจรวดเร็วและไม่ผิดพลาดนั้นจำเป็นต้องมีข้อมูลสารสนเทศที่เป็นปัจจุบันไม่ล้าสมัยมีจำนวนมากเพียงพอและสามารถนำมาใช้ได้ง่ายและรวดเร็ว ซึ่งเทคโนโลยีสารสนเทศจะช่วยในเรื่องนี้ได้เป็นอย่างดี ระบบสารสนเทศที่มีผู้บริหารนำมาใช้ในการช่วยการตัดสินใจ มีดังนี้

1.1 ระบบสารเทศสำหรับผู้บริหาร หรือ เรียกว่าระบบสนับสนุนผู้บริหาร หรือ essเป็นระบบที่ออกแบบและพัฒนาขึ้นมาเพื่อจัดเตรียมสารสนเทศที่เหมาะสมในการตัดสินใจของผู้บริหารระดับสูง ช่วยให้ผู้บริหารสามารถทำความเข้าใจปัญหาอย่างชัดเจนและสามารถตัดสินใจเลือกแนวทางแก้ปัญหาอย่างมีประสิทธิภาพ

1.2 ระบบสนับสนุนการตัดสินใจหรือ dssเป็นระบบที่ออกแบบและพัฒนาขึ้นมาเพื่อใช่สนับสนุนการตัดสินใจของผู้บริหารระดับกลาง ระบบ dssจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการตัดสินใจของผู้บริหาร แต่จะไม่ทำการตัดสินใจแทนผู้บริหารโดยประมวลผลและนำเสนอข้อมูลที่สำคัญต่อการตัดสินใจจลอดจนประมวลทางเลือกที่เหมาะสมภายใต้ข้อจำกัดของแต่ละสถานการณ์เพื่อให้ผู้บริหารใช้สติปัญญา เหตุผล ประสบการณ์ และความคิดสร้างสรรค์ของตนวิเคราะห์และเปรียบเทียบทางเลือกให้สอดคล้องกับปัญหาหรือสถานการณ์นั้นๆ

  1. การนำนวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ในการบริหารทางไกลมีการนำสื่อหลายๆอย่าง เช่น โทรศัพท์มือถือ โทรสาร วิทยุ โทรทัศน์ คอมพิวเตอร์ และเครื่องมือสื่อสารโทรคมนาคมมาใช้ในการติดต่อสื่อสารและการบริหารทางไกลได้สะดวกรวดเร็ว ประหยัดเวลา และค่าใช้จ่ายเป็นอันมาก ถึงแม้จะอยู่ไกลกันก็สามารถทำงานร่วมกัน ประชุมร่วมกันได้ โดยใช้ Telecomferenceเป็นต้น
  2. การนำนวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ในการบริหารสถานศึกษาปัจจุบันสถานศึกษาหลายแห่งพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อใช้ในการบริหารงานด้านต่างๆทั้งการบริหารงานวิชาการ การบริหารกิจการนักเรียนการบริหารงานบุคคลกร การบริหารงานวิชาการ การเงิน พัสดุ ครุภัณฑ์ การบริหารงานอาคารสถานที่ และการบริหารงานชุมชน
  3. การสร้างเครือข่ายข้อมูลด้วยระบบสารสนเทศ เครือข่ายนี้จะช่วยพัฒนาคุณภาพการศึกษาไทยเป็นอันมาก ปัจจุบันมีโครงการเครือข่ายคอมพิวเตอร์โรงเรียนมัธยมศึกษา ซึ่งเป็นโครงการด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ โครงการหนึ่งในหลายโครงการที่เกิดขึ้นตามพระราชดำริของสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี โดยศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ ได้นำแนวทางพระราชดำริ มาดำเนินการร่วมกับหน่วยงานและสถานศึกษา โดยมีวัตถุประสงค์ดังนี้
    • เพื่อให้โรงเรียนทั่วประเทศได้มี และได้ประโยชน์จากเครือข่ายเทคโนโลยีสารสนเทศในการศึกษาเรียนรู้
    • เพื่อโรงเรียนมัธยมศึกษาทั้งในกรุงเทพและต่างจังหวัดเข้าถึงเครือข่ายอินเตอร์เน็ต และเครือข่ายข้อมูลระหว่างกลุ่มโรงเรียน
    • เพื่อให้โรงเรียนสามารถแลกเปลี่ยนเอกสาร สื่อการสอน และดัชนีห้องสมุดระหว่างโรงเรียน
    • เพื่อช่วยให้ผู้ใช้ในระดับโรงเรียนได้เข้าถึงศูนย์ข้อมูลต่างๆและห้องสมุดในอินเตอร์เน็ต
    • เพื่อให้ครู อาจารย์สามารถติดต่อกับครู อาจารย์ในโรงเรียน หรือสถาบันการศึกษาอื่นๆทั้งในและต่างประเทศ
  1. การนำนวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ในการจัดการศึกษา ในปัจจุบันผู้บริหารหน่วยงานทางการศึกษานำนวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ในการจัดการศึกษา เป็นประโยชน์ต่อการเรียนรู้หลายอย่าง เช่น

5.1 อินเตอร์เน็ต เพื่อใช้ค้นคว้าหาข้อมูล ข่าวสารทางวิชาการและอื่นๆ จากที่ต่างๆ เป็นการส่งเสริมให้เกิดการเรียนรู้ตลอดชีวิต

  • จดหมายอิเล็กทรอนิกส์ เพื่อใช้รับส่งข่าวสาร ข้อมูล รูปภาพ และส่งงานให้ครูอาจารย์ตรวจ
  • การจัดทำ Website ของสถานศึกษา เพื่อการเผยแพร่ข่าวสารของสถานศึกษา
  • การใช้โปรแกรม SPSS เพื่อการวิเคราะห์ข้อมูลต่างๆ
  • การทำ Powerpointเพื่อใช้เป็นสื่อการเรียนการสอน
  • คอมพิวเตอร์ช่วยสอน หรือ CAI เพื่อช่วยให้ผู้เรียนเรียนรู้ด้วยตัวเองจากบทเรียนสำเร็จรูป
  • การเรียนรู้ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ เป็นการเรียนทางไกลที่ผู้เรียนสามารถโต้ตอบกับผู้สอนได้ โดยอาศัยเครือข่ายอินเตอร์เน็ต จึงช่วยให้เรียนรู้ได้โดยไม่มีข้อจำกัดของเวลา และสถานที่
  • ห้องเรียนอัจฉริยะ เป็นการจัดระบบบริหารจัดการห้องเรียน ที่ใช้การเรียนการสอนแบบออนไลน์และปฏิสัมพันธ์สามารถควบคุมและตรวจสอบกิจกรรมของนักเรียนได้โดยตรงจากคอมพิวเตอร์ของครู
  • หนังสืออิเล็กทรอนิกส์และห้องสมุดอิเล็กทรอนิกส์ เพื่อเสริมการเรียนการสอนและให้บริการค้นคว้าหาความรู้แก่นักเรียน ครู อาจารย์ และประชาชนทั่วไป

5.10การใช้เทคโนโลยีสารสนและการสื่อสาร หรือ ICT เพื่อพัฒนาการศึกษา

3.ประเภทนวัตกรรมทางการศึกษาและเทคโนโลยีสารสนเทศทางการศึกษา

ประเภทของนวัตกรรมการศึกษา

พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 ได้มีบทบัญญัติที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีการศึกษาและนวัตกรรมการศึกษาไว้หลายมาตรา มาตราที่สำคัญ คือ มาตรา 67 รัฐต้องส่งเสริมให้มีการวิจัยและพัฒนาการผลิตและการพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา รวมทั้งการติดตาม ตรวจสอบและประเมินผลการใช้เทคโนโลยีเพื่อการศึกษา เพื่อให้เกิดการใช้ที่คุ้มค่าและเหมาะสมกับกระบวนการเรียนรู้ของคนไทยและในมาตรา 22 “การจัดการศึกษาต้องยึดหลักว่าผู้เรียนทุกคนมีความสามารถเรียนรู้และพัฒนาตนเองได้และถือว่าผู้เรียนมีความสำคัญที่สุด กระบวนการจัดการศึกษาตนเองได้และถือว่าผู้เรียนมีความสำคัญที่สุด กระบวนการจัดการศึกษาต้องส่งเสริมให้ผู้เรียนสามารถพัฒนาตามธรรมชาติและเต็มตามศักยภาพ” การดำเนินการปฏิรูปการศึกษาให้สำเร็จได้ตามที่ระบุไว้ในพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 ดังกล่าว จำเป็นต้องทำการศึกษาวิจัยและพัฒนานวัตกรรมการศึกษาใหม่ๆ ที่จะเข้ามาช่วยแก้ไขปัญหาทางการศึกษาทั้งในรูปแบบของการศึกษาวิจัย การทดลองและการประเมินผลนวัตกรรมหรือเทคโนโลยีที่นำมาใช้ว่ามีความเหมาะสมมากน้อยเพียงใด นวัตกรรมที่นำมาใช้ทั้งที่ผ่านมาแล้วและที่จะมีในอนาคตมีหลายประเภทขึ้นอยู่กับการประยุกต์ใช้นวัตกรรมในด้านต่างๆ ในที่นี้จะขอกล่าวคือ นวัตกรรม 5 ประเภท คือ

3.1 นวัตกรรมทางด้านหลักสูตร

นวัตกรรมทางด้านหลักสูตร เป็นการใช้วิธีการใหม่ๆ ในการพัฒนาหลักสูตรให้สอดคล้องกับสภาพแวดล้อมในท้องถิ่นและตอบสนองความต้องการสอนบุคคลให้มากขึ้น เนื่องจากหลักสูตรจะต้องมีการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอเพื่อให้สอดคล้องกับความก้าวหน้าทางด้านเทคโนโลยีเศรษฐกิจและสังคมของประเทศและของโลก นอกจากนี้การพัฒนาหลักสูตรยังมีความจำเป็นที่จะต้องอยู่บนฐานของแนวคิดทฤษฎีและปรัชญาทางการจัดการสัมมนาอีกด้วย การพัฒนาหลักสูตรตามหลักการและวิธีการดังกล่าวต้องอาศัยแนวคิดและวิธีการใหม่ๆ ที่เป็นนวัตกรรมการศึกษาเข้ามาช่วยเหลือจัดการให้เป็นไปในทิศทางที่ต้องการ นวัตกรรมทางด้านหลักสูตรในประเทศไทย ได้แก่ การพัฒนาหลักสูตรดังต่อไปนี้

  1. หลักสูตรบูรณาการ เป็นการบูรณาการส่วนประกอบของหลักสูตรเข้าด้วยกันทางด้านวิทยาการในสาขาต่างๆ การศึกษาทางด้านจริยธรรมและสังคม โดยมุ่งให้ผู้เรียนเป็นคนดีสามารถใช้ประโยชน์จากองค์ความรู้ในสาขาต่างๆ ให้สอดคล้องกับสภาพสังคมอย่างมีจริยธรรม

2.หลักสูตรรายบุคคล เป็นแนวทางในการพัฒนาหลักสูตรเพื่อการศึกษาตามอัตภาพ เพื่อตอบสนองแนวความคิดในการจัดการศึกษารายบุคคล ซึ่งจะต้องออกแบบระบบเพื่อรองรับความก้าวหน้าของเทคโนโลยีด้านต่างๆ

3.หลักสูตรกิจกรรมและประสบการณ์ เป็นหลักสูตรที่มุ่งเน้น กระบวนการในการจัดกิจกรรมและประสบการณ์ให้กับผู้เรียนเพื่อนำไปสู่ความสำเร็จ เช่น กิจกรรมที่ส่งเสริมให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในบทเรียน ประสบการณ์การเรียนรู้จากการสืบค้นด้วยตนเอง เป็นต้น

4.หลักสูตรท้องถิ่น เป็นการพัฒนาหลักสูตรที่ต้องการกระจายการบริหารจัดการออกสู่ท้องถิ่น เพื่อให้สอดคล้องกับศิลปวัฒนธรรมสิ่งแวดล้อมและความเป็นอยู่ของประชาชนที่มีอยู่ในแต่ละท้องถิ่น แทนที่หลักสูตรในแบบเดิมที่ใช้วิธีการรวมศูนย์การพัฒนาอยู่ในส่วนกลาง

3.2 นวัตกรรมการเรียนการสอน

เป็นการใช้วิธีระบบในการปรับปรุงและคิดค้นพัฒนาวิธีสอนแบบใหม่ๆ ที่สามารถตอบสนองการเรียนรายบุคคล การสอนแบบผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง การเรียนแบบมีส่วนร่วม การเรียนรู้แบบแก้ปัญหา การพัฒนาวิธีสอนจำเป็นต้องอาศัยวิธีการและเทคโนโลยีใหม่ๆ เข้ามาจัดการและสนับสนุนการเรียนการสอน ตัวอย่างนวัตกรรมที่ใช้ในการเรียนการสอน ได้แก่ การสอนแบบศูนย์การเรียน การใช้กระบวนการกลุ่มสัมพันธ์ การสอนแบบเรียนรู้ร่วมกัน และการเรียนผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์และอินเทอร์เน็ต การวิจัยในชั้นเรียน ฯลฯ

3.3 นวัตกรรมสื่อการสอน

                  เนื่องจากมีความก้าวหน้าของเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ คอมพิวเตอร์เครือข่ายและเทคโนโลยี โทรคมนาคม ทำให้นักการศึกษาพยายามนำศักยภาพของเทคโนโลยีเหล่านี้มาใช้ในการผลิตสื่อการเรียนการสอนใหม่ๆ จำนวนมากมาย ทั้งการเรียนด้วยตนเองการเรียนเป็นกลุ่มและการเรียนแบบมวลชน ตลอดจนสื่อที่ใช้เพื่อสนับสนุนการฝึกอบรม ผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์ตัวอย่าง นวัตกรรมสื่อการสอน ได้แก่

– คอมพิวเตอร์ช่วยสอน (CAI)

– มัลติมีเดีย (Multimedia)

– การประชุมทางไกล (Teleconference)

– ชุดการสอน (Instructional Module)

– วีดิทัศน์แบบมีปฎิสัมพันธ์ (Interactive Video)

3.4 นวัตกรรมการประเมินผล

                เป็นนวัตกรรมที่ใช้เป็นเครื่องมือเพื่อการวัดผลและประเมินผลได้อย่างมีประสิทธิภาพและทำได้อย่างรวดเร็ว รวมไปถึงการวิจัยทางการศึกษา การวิจัยสถาบัน ด้วยการประยุกต์ใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์มาสนับสนุนการวัดผล ประเมินผลของสถานศึกษา ครู อาจารย์ ตัวอย่าง นวัตกรรมทางด้านการประเมินผล ได้แก่

– การพัฒนาคลังข้อสอบ

– การลงทะเบียนผ่านทางเครือข่ายคอมพิวเตอร์ และอินเตอร์เน็ต

– การใช้บัตรสมาร์ทการ์ด เพื่อการใช้บริการของสถาบันศึกษา

– การใช้คอมพิวเตอร์ในการตัดเกรด

– ฯลฯ

3.5 นวัตกรรมการบริหารจัดการ

เป็นการใช้นวัตกรรมที่เกี่ยวข้องกับการใช้สารสนเทศมาช่วยในการบริหารจัดการ เพื่อการตัดสินใจของผู้บริหารการศึกษาให้มีความรวดเร็วทันเหตุการณ์ ทันต่อการเปลี่ยนแปลงของโลก

นวัตกรรมการศึกษาที่นำมาใช้ทางด้านการบริหารจะเกี่ยวข้องกับระบบการจัดการฐานข้อมูลในหน่วยงานสถานศึกษา เช่น ฐานข้อมูล นักเรียน นักศึกษา ฐานข้อมูล คณะอาจารย์และบุคลากร ในสถานศึกษา       ด้านการเงิน บัญชี พัสดุ และครุภัณฑ์ ฐานข้อมูลเหล่านี้ต้องการออกระบบที่สมบูรณ์มีความปลอดภัยของข้อมูลสูง

นอกจากนี้ยังมีความเกี่ยวข้องกับสารสนเทศภายนอกหน่วยงาน เช่น ระเบียบปฏิบัติ กฎหมาย พระราชบัญญัติ ที่เกี่ยวกับการจัดการศึกษา ซึ่งจะต้องมีการอบรม เก็บรักษาและออกแบบระบบการสืบค้นที่ดีพอซึ่งผู้บริหารสามารถสืบค้นข้อมูลมาใช้งานได้ทันทีตลอดเวลา

การใช้นวัตกรรมแต่ละด้านอาจมีการผสมผสานที่ซ้อนทับกันในบางเรื่อง ซึ่งจำเป็นต้องมีการพัฒนาร่วมกันไปพร้อมๆ กันหลายด้าน การพัฒนาฐานข้อมูลอาจต้องทำเป็นกลุ่มเพื่อให้สามารถนำมาใช้ร่วมกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ

4.ประเภทเทคโนโลยีทางการศึกษา

  1. เครื่องมือ (Hardware)ซึ่งเป็นผลผลิตที่เกิดจากการพัฒนาทางวิทยาศาสตร์ และอุตสาหกรรม เป็นเครื่องมือที่จะนำเสนอเนื้อหาสาระ หรือเป็นเครื่องมือที่ช่วย ในการผลิต
  2. วัสดุ (Software) เป็นส่วนที่เก็บสาระ เนื้อหาไว้ในตัวของมันเอง อาจจะ นำเสนอโดยตัวของมันเองก็ได้ หรือนำเสนอผ่านเครื่องมือก็ได้
  3. วิธีการเป็นเทคโนโลยีที่มีลักษณะเป็นนามธรรม ไม่เป็นวัตถุ แต่เป็นลักษณะการเสนอ การกระทำ อาจใช้รวมกับเครื่องมือหรือวัสดุ มักจะอยู่ในรูปของกิจกรรม

จากวัตถุประสงค์ดังกล่าว ฝ่ายเทคโนโลยีทางการศึกษาจึงเป็นหน่วยที่ทั้งอาจารย์   ข้าราชการและนักศึกษา  รวมทั้งส่วนราชการภายนอกและเอกชนในท้องถิ่นใช้บริการตลอดมา  แต่อย่างไรก็ตามฝ่ายเทคโนโลยีทางการศึกษาก็ได้จัดลำดับความสำคัญก่อนหลัง ดังนี้

  1. บริการเพื่อการสอนของอาจารย์
  2. บริการเพื่อกิจกรรมของมหาวิทยาลัย
  3. บริการเพื่อการสนับสนุนวิชาการของมหาวิทยาลัย
  4. บริการเพื่อการเรียนของนักศึกษา
  5. บริการเพื่อสวัสดิการของบุคลากร
  6. บริการเพื่อส่วนราชการและบุคคลทั่วไป 

5.ความสำคัญของนวัตกรรมและเทคโนโลยีการศึกษา

                ความสำคัญของนวัตกรรมการศึกษา

       สุรินทร์ บุญสนอง (2555) นวัตกรรมมีความสำคัญต่อการศึกษาหลายประการ  ทั้งนี้เนื่องจากในโลกยุคโลกาภิวัตต์โลกมีการเปลี่ยนแปลงในทุกด้านอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ความก้าวหน้าทั้งด้านเทคโนโลยีและสารสนเทศ  การศึกษาจึงจำเป็นต้องมีการพัฒนาเปลี่ยนแปลงจากระบบการศึกษาที่มีอยู่เดิม  เพื่อให้ทันสมัยต่อการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยี และสภาพสังคมที่เปลี่ยนแปลงไป อีกทั้งเพื่อแก้ไขปัญหาทางด้านศึกษาบางอย่างที่เกิดขึ้นอย่างมีประสิทธิภาพเช่นเดียวกัน  การเปลี่ยนแปลงทางด้านการศึกษาจึงจำเป็นต้องมีการศึกษาเกี่ยวกับนวัตกรรมการศึกษาที่จะนำมาใช้เพ่อแก้ไขปัญหาทางการศึกษาในบางเร่อง  เช่น ปัญหาที่เกี่ยวเนื่องกัน  จำนวนผู้เรียนที่มากขึ้น การพัฒนาหลักสูตรให้ทันสมัย  การผลิตและพัฒนาสื่อใหม่ ๆ ขึ้นมาเพื่อตอบสนองการเรียนรู้ของมนุษย์ให้เพิ่มมากขึ้นด้วยระยะเวลาที่สั้นลง  การใช้นวัตกรรมมาประยุกต์ในระบบการบริหารจัดการด้านการศึกษาก็มีส่วนช่วยให้การใช้ทรัพยากรการเรียนรู้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ เช่น เกิดการเรียนรู้ด้วยตนเอง

กล่าวโดยสรุป  นวัตกรรมการศึกษาเกิดขึ้นตามสาเหตุใหม่ ๆ ดังต่อไปนี้

1)  การเพิ่มปริมาณของผู้เรียนในระดับชั้นประถมศึกษาและมัธยมศึกษาเป็นไปอย่างรวดเร็ว  ทำให้นักเทคโนโลยีการศึกษาต้องหานวัตกรรมใหม่ ๆ มาใช้ เพื่อให้สามารถสอนนักเรียนได้มากขึ้น

2)  การเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีเป็นไปอย่างรวดเร็ว  การเรียนการสอนจึงต้องตอบสนองการเรียนการสอนแบบใหม่ ๆ ที่ช่วยให้ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ได้เร็วและเรียนรู้ได้มากในเวลาจำกัดนักเทคโนโลยีการศึกษาจ่งต้องค้นหานวัตกรรมมาประยุกต์ใช้เพื่อวัตถุประสงค์นี้

3)  การเรียนรู้ของผู้เรียนมีแนวโน้มในการเรียนรู้ด้วยตนเองมากขึ้น ตามแนวปรัชญาสมัยใหม่ที่ยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง  นวัตกรรมการศึกษาสามารถช่วยตอบสนองการเรียนรู้ตามอัตภาพ ตามความสามารถของแต่ละคน เช่นการใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ช่วยสอน  CAI (Computer Assisted instruction)  การเรียนแบบศูนย์การเรียน

4)  ความก้าวหน้าของเทคโนโลยีสารสนเทศและเทคโนโลยีโทรคมนาคม ที่ส่วนผลักดันให้มีการใช้นวัตกรรมการศึกษาเพิ่มมากขึ้น เช่น เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ทำให้คอมพิวเตอร์ มีขนาดเล็กลง แต่มีประสิทธิภาพสูงขึ้นมาก เทคโนโลยีเครือข่ายคอมพิวเตอร์และอินเตอร์เน็ต ทำให้เกิดการสื่อสารไร้พรมแดน  นักเทคโนโลยีการศึกษาจึงคิดค้นหาวิธีการใหม่ ๆ ในการประยุกต์ใช้ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์เป็นฐานในการเรียนรู้ ที่เรียกว่า “Web-based Learning”   ทำให้สามารถเรียนรู้ในทุกพี่ทุกเวลาสำหรับทุกคน (Sny where, Any time for  Everyone )  ถ้าหากผู้เรียนสามารถใช้อิเตอร์เน็ตได้

การใช้คอมพิวเตอร์ในปัจจุบันเป็นไปอย่างกว้างขวาง  ในวงการศึกษาคอมพิวเตอร์มิใช่เพียงแต่สิ่งอำนวยความสะดวกในสำนักงานเท่านั้น  แต่ยังใช้เป็นสื่อหรือเป็นเครื่องมือสร้างสื่อได้อย่างสวยงามเหมือนจริง และรวดเร็วมากกว่าก่อน  นักเทคโนโลยีการศึกษาจึงศึกษาวิจัยบทนวัตกรรมทางด้านการผลิตและการใช้สื่อใหม่ ๆ ตามศักยภาพของเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ เช่น คอมพิวเตอร์กราฟิก ระบบมัลติมีเดีย วิดีโอออนดีมานด์  การประชุมทางไกล อี-เส้นนิ่ง อี-เอ็ดดูเคชั่น เป็นต้น

ดร.กฤษมันต์ ได้กล่าวว่า นวัตกรรมมีความสำคัญต่อการศึกษาหลายประการ  คือ

  1. เพื่อให้ทันสมัยต่อการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยี และสภาพสังคมที่เปลี่ยนแปลงไป
  2. เพื่อแก้ไขปัญหาทางด้านการศึกษาบางอย่างที่เกิดขึ้นอย่างมีประสิทธิภาพ
  3. เพื่อแก้ไขปัญหาทางด้านการศึกษาในบางเรื่อง เช่น ปัญหาที่เกี่ยวเนื่องกับจำนวนผู้เรียนที่มากขึ้น การพัฒนาหลักสูตรให้ทันสมัยการผลิตและพัฒนาสื่อใหม่ ๆ ขึ้นมา
  4. เพื่อตอบสนองการเรียนรู้ของมนุษย์ให้เพิ่มมากขึ้นด้วยระยะเวลาที่สั้นลง
  5. การใช้นวัตกรรมมาประยุกต์ในระบบการบริหารจัดการด้านการศึกษาก็มีส่วนช่วยให้การใช้ทรัพยากรการเรียนรู้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ

ทั้งนี้เนื่องจากในโลกยุคโลกาภิวัตต์โลกมีการเปลี่ยนแปลงในทุกด้านอย่างรวดเร็ว  โดยเฉพาะอย่างยิ่งความก้าวหน้าทั้งด้านเทคโนโลยีและสารสนเทศ  การศึกษาจึงจำเป็นต้องมีการพัฒนาเปลี่ยนแปลงจากระบบการศึกษาที่มีอยู่เดิม  เพื่อ ให้ทันสมัยต่อการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยี และสภาพสังคมที่เปลี่ยนแปลงไป  อีกทั้งเพื่อแก้ไขปัญหาทางด้านศึกษาบางอย่างที่เกิดขึ้นอย่างมีประสิทธิภาพ เช่นเดียวกันการเปลี่ยนแปลงทางด้านการศึกษาจึงจำเป็นต้องมีการศึกษาเกี่ยว กับนวัตกรรมการศึกษาที่จะนำมาใช้เพื่อแก้ไขปัญหาทางการศึกษาในบางเรื่อง  เช่น  ปัญหาที่เกี่ยวเนื่องกัน  จำนวนผู้เรียนที่มากขึ้น การพัฒนาหลักสูตรให้ทันสมัย  การผลิตและพัฒนาสื่อใหม่ๆ  ขึ้นมาเพื่อตอบสนองการเรียนรู้ของมนุษย์ให้เพิ่มมากขึ้นด้วยระยะเวลาที่สั้นลง  การใช้นวัตกรรมมาประยุกต์ในระบบการบริหารจัดการด้านการศึกษาก็มีส่วนช่วยให้การ ใช้ทรัพยากรการเรียนรู้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ

ความสำคัญของเทคโนโลยีการศึกษา

1.สามารถทำให้มีการเรียนการสอน การศึกษามีความหมายมากขึ้น ผู้เรียนเรียนได้กว้างขวางมากขึ้น เรียนได้เร็วขึ้น เข้าใจได้อย่างสมบูรณ์ ทำให้ครูมีเวลาให้แก่นักเรียนมากขึ้น

  1. สามารถสนองเรื่องความแตกต่างระหว่างบุคคลได้ ผู้เรียนมีอิสระในการเรียนรู้ มีความรับผิดชอบ
  2. สามารถทำให้การจัดการศึกษาตั้งอยู่บนรากฐานของวิธีทางวิทยาศาสตร์ ค้นพบวิธีใหม่ๆ และสมเหตุสมผลตามความเปลี่ยนแปลงของสังคม
  3. ช่วยให้การศึกษามีพลังมากขึ้น
  4. ทำให้การเรียนรู้อยู่แค่เอื้อม
  5. ทำให้เกิดความเสมอภาคทางการศึกษา

6.กระบวนการสร้างและพัฒนานวัตกรรมเพื่อการเรียนรู้

เนาวนิตย์  สงคราม ได้กล่างถึง “ขั้นตอนการพัฒนานวัตกรรมหรือวิธีการจัดการเรียนรู้ให้มีคุณภาพ”  เป็นอย่างไร ซึ่งมี 9 ขั้นตอนดังนี้

ขั้นตอนที่ 1. สร้างกรอบแนวคิดในการพัฒนา

ขั้นตอนที่ 2. วิเคราะห์หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน

ขั้นตอนที่ 3. กำหนดวัตถุประสงค์การเรียนรู้

ขั้นตอนที่ 4. กำหนดคุณลักษณะนวัตกรรมการเรียนรู้

ขั้นตอนที่ 5. สำรวจทรัพยากรการพัฒนานวัตกรรมการเรียนรู้

ขั้นตอนที่ 6. ออกแบบนวัตกรรมการเรียนรู้

ขั้นตอนที่ 7. วางแผนและดำเนินการพัฒนาการเรียนรู้

ขั้นตอนที่ 8. ตรวจสอบ ทดลองและพัฒนานวัตกรรมการเรียนรู้

ขั้นตอนที่ 9. สรุปและประเมินผลการเรียนรู้

ในแต่ละขั้นตอน มีรายละเอียดอย่างไร บ้าง ให้ครูผู้สอนที่จะทำการวิจัยได้ตั้งใจศึกษาและทำความเข้าใจด้วยตนเองให้แจ่มแจ้งและจริงจัง ดังจะได้อธิบายต่อไป

  1. การสร้างกรอบแนวคิดในการพัฒนา ให้พิจารณาองค์ประกอบที่เกี่ยวข้อง ดังนี้

1.1 ศึกษาหลักสูตร เนื้อหาและเนื้อเรื่อง ที่จะสอน โดยให้พิจารณาถึง ความจำเป็น สภาพความต้องการและความสำคัญ ที่ผู้สอนควรกำหนดขอบเขตการนำเสนอเนื้อหาด้วยนวัตกรรมการเรียนรู้เป็นหัวข้อหลักและหัวข้อรองตามลำดับ

1.2 ศึกษาจุดเด่นและจุดด้อยของเนื้อหาวิชา เพื่อให้ทราบสภาพพื้นฐานเบื้องต้นด้านโครงสร้าง สาระสำคัญและรายละเอียดที่ต้องดำเนินการปรับปรุงหรือพัฒนาการเรียนรู้แก่ผู้เรียน

1.3 ศึกษาสภาพปัญหา การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ และระดับความต้องการในขณะนั้น เพื่อนำมาเป็นแนวทางในการพัฒนาและช่วยให้นวัตกรรมที่พัฒนาขึ้น มีความสอดคล้องและเหมาะสมกับปัญหาหรือความต้องการที่เกิดขึ้น

1.4 กำหนดแนวทางการพัฒนา และการประเมินคุณภาพ นวัตกรรมการเรียนรู้ ที่พัฒนาขึ้นว่า ต้องการนำไปให้ผู้สอนหรือผู้เรียนใช้ และหลังจากใช้นวัตกรรมการเรียนรู้ที่พัฒนาขึ้น ตามกระบวนการที่กำหนดไว้แล้ว ผู้เรียนจะบรรลุเป้าหมายได้อย่างไร และจะทราบได้อย่างไรว่านวัตกรรมนั้นประสบความสำเร็จในการนำไปใช้งานนั้น ๆ

  1. การวิเคราะห์หลักสูตร ให้วิเคราะห์หาองค์ประกอบ ดังนี้

2.1 วิเคราะห์โครงสร้างของเนื้อหา เพื่อศึกษาถึงองค์ประกอบของเนื้อหา ว่ามีลักษณะโครงสร้างตามหลักสูตรที่กำหนดไว้ ควรประกอบด้วยสาระที่เป็นแกนหลักและรายละเอียดใดบ้างที่ทำให้เนื้อหาสาระที่กำหนดขึ้นสามารถนำไปพัฒนานวัตกรรมได้อย่างเหมาะสม มีความสมบูรณ์ ทันสมัย และตรงตามวัตถุประสงค์

2.2 วิเคราะห์ความยาวนานของเวลาที่ใช้ เพื่อแบ่งเนื้อหาสาระและจัดลำดับการนำเสนอนวัตกรรมให้เหมาะสมกับความคงทนในการเรียนรู้ของผู้เรียนแต่ละกลุ่มแต่ละวัย

2.3 วิเคราะห์ผู้เรียน เพื่อพิจารณาคุณลักษณะผู้เรียนในด้านต่าง ๆ เช่นวัฒนธรรม สิ่งแวดล้อม ประสบการณ์เดิม ลักษณะทางกายภาพ สติปัญญา อารมณ์ ความต้องการ เจตคติ เป็นต้น ซึ่งทั้งหมดนี้เป็นส่วนหนึ่งของพัฒนาการด้านร่างกาย สติปัญญา สังคมและอารมณ์ของผู้เรียน เนื่องจากลักษณะของผู้เรียนจะมีผลโดยตรงต่อการพิจารณาเลือกพัฒนานวัตกรรมตลอดจนวิธีการนำเสนอให้สอดคล้องและเหมาะสมกับการเรียนรู้

  1. การกำหนดวัตถุประสงค์การเรียนรู้ ให้พิจารณาจากวิธีการกำหนดให้ผู้เรียนเกิดพฤติกรรม ที่แสดงถึงการเรียนรู้และระดับของพฤติกรรมที่ต้องการ ด้วยการจัดลำดับเนื้อหา กำหนดเวลาการนำเสนอและกิจกรรม เพื่อให้นวัตกรรมสามารถถ่ายทอดพฤติกรรมและคุณลักษณะที่ต้องการให้แก่ผู้เรียนได้ดียิ่งขึ้น ซึ่งสามารถแบ่งประเภทการเรียนรู้และระดับการเกิดพฤติกรรมการเรียนรู้ได้ ดังนี้

3.1 พุทธิพิสัย (Cognitive) เป็นการรับข้อมูลและเนื้อหาความรู้จากสิ่งที่ง่ายไปสู่สิ่งยาก อันเป็นการพัฒนาด้านสติปัญญาของมนุษย์ ซึ่งมี 6 ระดับ ได้แก่ 1) รู้และจำได้ 2) เข้าใจเรื่องราว 3) นำไปใช้ได้  4) วิเคราะห์ได้ 5) สังเคราะห์ได้ และ 6) ประเมินคุณค่าได้

3.2 ทักษะพิสัย (Psycho-motor) เป็นการเรียนรู้ที่แสดงออกในด้านทักษะและความสามารถทางด้านการบังคับกลไกของร่างกายในการปฏิบัติงานต่าง ๆ มี 7 ระดับ ได้แก่ 1) รับรู้การกระทำ 2) เตรียมความพร้อม 3) ตอบสนองตามสภาพ 4) ปรับกลไกการตอบสนอง 5) ตอบสนองโดยอัตโนมัติ 6) ดัดแปลงกระบวนการตอบสนอง และ 7) ปรับประยุกต์ใช้ในสถานการณ์อื่นๆ

3.3 จิตพิสัย (Affective) เป็นการเรียนรู้ที่แสดงออกด้านทัศนคติ ความรู้สึก เพื่อพัฒนาพฤติกรรมหรือบุคลิกลักษณะของแต่ละบุคคล มี 5 ระดับ ได้แก่ 1) ตั้งใจรับรู้ 2) ยอมรับและเชื่อถือ 3) เห็นคุณค่า 4) จัดระบบคุณค่าได้ 5) สร้างลักษณะนิสัย

  1. การกำหนดคุณลักษณะนวัตกรรมการเรียนรู้ ให้นำเอาวัตถุประสงค์มาเป็นกรอบคุณลักษณะ โดยให้พิจารณา คุณลักษณะ ดังต่อไปนี้

4.1 คุณลักษณะของนวัตกรรมการเรียนรู้ด้านประเภทการใช้งาน จัดอยู่ในประเภทใด เช่น นวัตกรรมประเภทเครื่องฉาย นวัตกรรมประเภทไม่ใช้เครื่องฉาย  นวัตกรรมประเภทเครื่องเสียง เป็นต้น

4.2 คุณลักษณะของนวัตกรรมการเรียนรู้ด้านลำดับขั้นการเรียนรู้ ควรใช้นวัตกรรมในลำดับใด ตามลำดับขั้นการเรียนรู้แบบกรวยประสบการณ์ ซึ่งมีการเรียงลำดับกิจกรรมการเรียนรู้ ที่ช่วยให้ผู้เรียนเกิดประสบการณ์เรียนรู้จากมากไปหาน้อยตามลำดับ ได้แก่   1) ประสบการณ์ตรง  2) ประสบการณ์รอง      3) ประสบการณ์จากการแสดง 4) การสาธิต  5) การศึกษานอกสถานที่ 6) นิทรรศการ 7) โทรทัศน์      8) ภาพยนตร์ 9) การบันทึกเสียง 10) วิทยุ 11) ภาพนิ่ง 12) ทัศนสัญญาณ 13) วจนสัญญาณ

4.3 คุณลักษณะของนวัตกรรมการเรียนรู้ เนื่องจากนวัตกรรมมีประสิทธิภาพในการถ่ายทอดประสบการณ์และช่วยให้เกิดการเรียนรู้ ได้ในระดับที่แตกต่างกัน ดังนั้นจะต้องพิจารณาคัดเลือกนวัตกรรมให้สอดคล้องกับประเภทของลักษณะข้อมูลและประสิทธิภาพการรับรู้ของผู้เรียน ดังแสดงไว้ในตารางต่อไปนี้

ตาราง       แสดงประสิทธิภาพของนวัตกรรม

ลักษณะข้อมูล/

นวัตกรรม

ข้อมูลเชิงสถิติและตัวเลขภาพและสถานการณ์จริงหลักการแนวคิดทฤษฏีขั้นตอนการปฏิบัติแนวคิดค่านิยมเจตคติภาพนิ่ง

ภาพยนตร์

โทรทัศน์

วัสดุ 3 มิติ

เทปบันทึกเสียง

การสาธิต

สิ่งพิมพ์

การบรรยาย

***

**

**

*

*

*

***

**

**

***

***

*

**

**

*

*

**

***

***

*

*

*

**

**

**

***

**

*

**

***

**

**

*

***

**

*

**

***

**

**

*** ประสิทธิภาพสูงสุด             ** ประสิทธิภาพปานกลาง               * ประสิทธิภาพต่ำ

  1. การสำรวจทรัพยากรการพัฒนานวัตกรรม ให้มีการสำรวจทรัพยากรพัฒนานวัตกรรมการเรียนรู้ ดังต่อไปนี้

5.1 สำรวจบุคลากร ควรสำรวจบุคลากรที่มีความเชี่ยวชาญ ผู้มีความรู้ความสามารถในเรื่องที่เกี่ยวข้อง อาจได้แก่ 1) นักเทคโนโลยีการศึกษาด้านการพัฒนา การทดสอบ และทดลองใช้นวัตกรรมการเรียนรู้ 2) นักวิชาการ ด้านหลักสูตรและเนื้อหา 3) นักจิตวิทยาการศึกษา ด้านพฤติกรรมและพัฒนาการเรียนรู้ 4) ผู้สอน ที่เป็นผู้เชี่ยวชาญด้านการสอน 5) นักวัดและประเมินผล ที่เป็นผู้เชี่ยวชาญด้านการวัดและประเมินผล

5.2 สำรวจเครื่องมือ วัสดุและอุปกรณ์ ให้สำรวจก่อนดำเนินงานเพื่อเตรียมความพร้อมเกี่ยวกับการนำเครื่องมือ วัสดุและอุปกรณ์มาใช้เพราะกระบวนการพัฒนาจำเป็นต้องใช้เครื่องมือและวัสดุอุปกรณ์มาใช้ในการดำเนินการตามขั้นตอนต่อไป รวมทั้งจะได้คำนวณถึงปริมาณหรือ

งบประมาณในการดำเนินการ

5.3 สำรวจงบประมาณ ให้ทำการสำรวจงบประมาณเพื่อดำเนินการ ซึ่งอาจโดยการเขียนโครงการขอรับการสนับสนุนจากโรงเรียนหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องหรือผู้มีเมตตาจิตที่จะให้การอนุเคราะห์

5.4 สำรวจสถานที่ ให้ทำการสำรวจสถานที่ที่จะนำนวัตกรรมไปทดลองใช้ว่ามีความเหมาะสมเพียงใด รวมทั้งสภาพแวดล้อมข้างเคียงด้วย

  1. การออกแบบนวัตกรรมการเรียนรู้ การออกแบบนวัตกรรมการเรียนรู้ที่ดี ต้องให้ความสำคัญเกี่ยวกับหลักการและทฤษฏีต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องและส่งผลกระทบต่อคุณภาพของนวัตกรรมการเรียนรู้พัฒนาขึ้น ให้พิจารณาโดยยึดหลักการ ดังนี้

6.1 หลักการและทฤษฏีทางจิตวิทยาการศึกษา ควรคำนึงถึงหลักการและทฤษฏีทางจิตวิทยาการศึกษา ดังนี้

1) การเสริมแรง นวัตกรรมการเรียนรู้ต้องมีอิทธิพลต่อการจูงใจผู้เรียนให้มากที่สุดหรือมากกว่าที่เคยใช้มา

2) การให้ความรู้เฉพาะเรื่อง นวัตกรรมการเรียนรู้ต้องเป็นสิ่งที่มีอิทธิพลต่อการเรียนรู้เนื้อหาสาระให้ผู้เรียนเกิดประสบการณ์การเรียนรู้มากที่สุด

3) ความสัมพันธ์  เนื้อหาและแรงจูงใจทั้งภายในและภายนอกของนวัตกรรมที่ดีมีคุณค่าและมีความหมายต่อผู้เรียนต้องสัมพันธ์กันในขณะจัดกิจกรรมการเรียนรู้

4) พื้นฐานของการรับรู้ ความประณีต ความละเอียด ความสัมพันธ์กันและความชัดเจนของเนื้อหาพื้นฐานของการรับรู้ย่อม มีอิทธิพลต่อการพัฒนานวัตกรรมการเรียนรู้อย่างยิ่ง

5) การใช้องค์ประกอบ ความคุ้นเคยของผู้เรียนและการใช้เทคนิคการนำเสนอของผู้สอนต้องสอดคล้องกับทัศนคติของผู้เรียน เป็นองค์ประกอบสำคัญของการพัฒนานวัตกรรม

6) ความเป็นรูปธรรม นวัตกรรมการเรียนรู้ที่ตอบสนองต่อผู้เรียน สามารถสัมผัสได้อย่างเป็นรูปธรรมเป็นสิ่งที่ควรพัฒนาให้เกิดขึ้นอย่างยิ่ง

7) อัตราส่วนของเนื้อหาสาระ ในขณะนำนวัตกรรมไปจัดกิจกรรมการเรียนรู้ต้องกำหนดปริมาณเนื้อหาและจัดลำดับการนำเสนอให้มีอิทธิพลและส่งผลต่อการเรียนรู้มากที่สุด

8) การจัดตัวแปรทางการสอน นวัตกรรมการเรียนรู้ต้องสามารถจัดสภาพขององค์ประกอบต่าง ๆ ให้สามารถเกิดประโยชน์ต่อผู้เรียนเฉพาะจุดมุ่งหมายที่ต้องการได้มากที่สุด

9) ความเป็นผู้นำทางการสอน นวัตกรรมการเรียนรู้ต้องช่วยให้สามารถประยุกต์ใช้เทคนิควิธี หลักการและทฤษฏีต่าง ๆ ในการจัดการเรียนรู้มาหลอมรวมกับประสบการณ์เดิม เพื่อใช้กิจกรรมการเรียนรู้ได้อย่างเหมาะสมและสอดคล้องกับสถานการณ์และสภาพของผู้เรียน

6.2 หลักการออกแบบนวัตกรรมการเรียนรู้ ให้คำนึงถึงพื้นฐานขององค์ปะกอบต่าง ๆ ที่บรรจุไว้ในนวัตกรรม ต้องมุ่งเพื่อให้ผู้เรียนเกิดความสนใจ การสังเกต การจดจำ มีความคิดสร้างสรรค์และกระตือรือร้นในการปฏิบัติกิจกรรม โดยเฉพาะองค์ประกอบภายในนวัตกรรม ได้แก่ ความกลมกลืน สัดส่วน ความสมดุล จังหวะ การเน้น ความเป็นเอกภาพและความแตกต่างหรือ

การตัดกันที่แสดงออกด้วยการใช้ เส้น สี แสงและเงา

6.3 หลักการสื่อสาร สิ่งที่เราควรคำนึงในการใช้นวัตกรรมการเรียนรู้ คือ การถ่ายทอดข้อมูลอันเป็นความรู้และประสบการณ์จากผู้สอนไปยังผู้เรียน ด้วยการให้ความสำคัญกับองค์ประกอบของการสื่อสาร ได้แก่ ผู้ส่งสารหรือแหล่งของสาร เนื้อหาเรื่องราวของนวัตกรรมหรือช่องทางการนำข่าวสาร ไปถึงผู้รับหรือกลุ่มเป้าหมาย ผลที่เกิดขึ้นและปฏิกิริยาต้องตอบสนอง ผู้เรียนที่สัมผัสได้  นอกจากนี้ยังต้องพิจารณารูปแบบของการสื่อสารด้วยว่าเป็นการสื่อสารทางเดียวหรือการสื่อสารสองทางด้วย

6.4 หลักการเรียนรู้ ให้พิจารณาว่านวัตกรรมที่พัฒนาขึ้น ควรตอบสนองต่อการเรียนรู้ในลักษณะใดบ้าง เช่น โดยการวางเงื่อนไข ด้านภาษา ด้านทักษะ การสัมผัส การแก้ปัญหา กระบวนการทางสังคม การสังเกต ความผิดพลาด การคัดค้านหรือโต้แย้ง เป็นต้น

  1. การวางแผนและดำเนินการพัฒนานวัตกรรมการเรียนรู้ ควรยึดหลักการ ดังนี้

7.1 กำหนดขั้นตอนการดำเนินงาน  ต้องกำหนดขั้นการปฏิบัติ เป้าหมาย จำนวนทรัพยากรและระยะเวลาที่ใช้ในการดำเนินงานแต่ละขั้นตอนไว้

7.2 การดำเนินงานตามแผน ให้นำเอาทรัพยากรต่าง ๆ ที่กำหนดไว้มาดำเนินการพัฒนาตามแผนที่วางไว้อย่างเป็นระบบ ซึ่งอาจเป็นคู่มือหรือแบบประเมินผล หรือปฏิทินการดำเนินงานการพัฒนานวัตกรรมการเรียนรู้ เป็นต้น

  1. การตรวจสอบ ทดลองและพัฒนานวัตกรรมการเรียนรู้ โดยควรยึดหลักการ ดังนี้

8.1 การตรวจสอบเบื้องต้น เป็นการตรวจสอบคุณภาพและความสอดคล้องกับการนำนวัตกรรมการเรียนรู้ที่พัฒนาขึ้นไปใช้งานจริง โดยกลุ่มผู้พัฒนาและผู้เชี่ยวชาญ ซึ่งเป็นการตรวจสอบที่เหมาะสมกับการวิจัยเพื่อพัฒนาคุณภาพการเรียนรู้ที่มีระยะเวลาแก้ไขปัญหาในช่วงสั้น ๆ

8.2 การทดลองและพัฒนา (Try – out) เป็นการตรวจสอบคุณภาพโดยนำไปใช้กับสถานการณ์ที่แตกต่างกัน เพื่อปรับปรุงแก้ไขความบกพร่องที่ค้นพบจากการทดลอง ในชั้นนี้จะมีความเหมาะสมกับการวิจัยเพื่อพัฒนาคุณภาพการเรียนรู้ ซึ่งการทดลองที่ได้มาตรฐานมี 3 ลำดับชั้น ดังนี้

1) ชั้นการทดลองแบบ 1 : 1 โดยการสังเกตพฤติกรรมของผู้สอนและผู้เรียนในขณะใช้นวัตกรรมการเรียนรู้โดยละเอียด หากพบว่ามีส่วนใดขาดตกบกพร่องจะต้องดำเนินการแก้ไขให้ดียิ่งขึ้น

2) ขั้นการทดลองกลุ่มเล็ก (5-10 คน) โดยการสังเกตพฤติกรรมของผู้เรียนที่มีความสามารถทางการเรียนแตกต่างกัน ทั้งที่เรียนอ่อน ปานกลางและเก่ง หากพบข้อผิดพลาดหรือบกพร่องก็ทำการแก้ไขอีกครั้ง อันเป็นการตรวจสอบความเหมาะสมของนวัตกรรมการเรียนรู้

3) ขั้นทดลองกลุ่มใหญ่ (30 คนขึ้นไป) เป็นการตรวจสอบคุณภาพจากการใช้งานในสถานการณ์ที่จำลองขึ้นเช่นเดียวกับกลุ่มเล็ก ซึ่งประกอบด้วยกลุ่มผู้เรียนอ่อน ปานกลางและเก่งเช่นเดียวกันและหากพบข้อบกพร่องก็ให้ทำการแก้ไขให้ดียิ่ง ๆ ขึ้น

8.3 การทดสอบประสิทธิภาพในสถานการณ์จริง หลังจากทดลองและปรับปรุงคุณภาพจนแน่ใจว่านวัตกรรมการเรียนรู้ที่พัฒนาขึ้นมีคุณภาพอย่างแท้จริงแล้ว ต้องทดสอบประสิทธิภาพเพื่อยืนยันว่านวัตกรรมนั้น ๆ เป็นนวัตกรรมที่มีมาตรฐานเชื่อถือได้อีกครั้งหนึ่ง

อนึ่งในการแก้ปัญหาหรือพัฒนาการเรียนรู้ด้วย การวิจัยในชั้นเรียน นั้น ควรใช้เพียงการตรวจสอบเบื้องต้น เท่านั้น เพื่อความรวมเร็วและให้ทันกับสถานการณ์ที่ผู้เรียนจะต้องเรียนรู้ในเรื่องต่อ ๆ ไป

  1. การสรุปและประเมินผล ซึ่งควรมีหลักการพิจารณา 4 ประการ ดังนี้

9.1 มีประสิทธิภาพ (Efficiency) หลังใช้นวัตกรรมการเรียนรู้แล้ว ผู้เรียนมีพฤติกรรมการเรียนรู้ตรงตามเป้าหมายที่หลักสูตรกำหนดไว้อย่างชัดเจน

9.2 มีประสิทธิผล (Productivity) การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยนวัตกรรมที่พัฒนาขึ้นช่วยให้ผู้เรียนบรรลุเป้าหมายและวัตถุประสงค์การเรียนรู้ โดยผู้เรียนจำนวนมากหรือทุกคนเกิดพฤติกรรมการเรียนรู้ผ่านเกณฑ์ที่กำหนดไว้

9.3 มีความประหยัด (Economy) นวัตกรรมการเรียนรู้ที่พัฒนาขึ้นเมื่อนำมาใช้สอนแล้วมีความคุ้มค่ากับการลงทุน ทั้งด้านทุนทรัพย์ แรงงานและระยะเวลาที่สูญเสียไป ตลอดจนมีความคงทนถาวรไม่ชำรุดเสียหายง่าย ๆ

9.4 มีคุณลักษณะที่ดี (Goodness) นวัตกรรมการเรียนรู้ที่พัฒนาขึ้นต้องตรงกับวัตถุประสงค์การเรียนรู้เหมาะสมกับวัยของผู้เรียน เหมาะสมกับกิจกรรมการเรียนรู้ เหมาะสมกับเนื้อหาวิชาใช้ง่ายสะดวกปลอดภัย ไม่สิ้นเปลืองประหยัดคุ้มค่า สามารถแก้ปัญหาข้อบกพร่องของเนื้อหาวิชาและสถานการณ์การเรียนรู้ได้เป็นอย่างดี

โดยสรุปแล้ว การพัฒนาวิธีการหรือนวัตกรรมเพื่อแก้ปัญหาหรือพัฒนาการเรียนรู้ หรือจะกล่าวสั้น ๆ ว่า การสร้างนวัตกรรมเพื่อการเรียนรู้นั้นมีหลักการหรือวิธีการอย่างไรนั่นเอง ซึ่งมีขั้นตอนการพัฒนานวัตกรรมการเรียนรู้   9   ขั้นตอน ดังนี้

  1. สร้างกรอบแนวคิดในการพัฒนา
  2. วิเคราะห์หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน
  3. กำหนดวัตถุประสงค์การเรียนรู้
  4. กำหนดคุณลักษณะนวัตกรรมการเรียนรู้
  5. สำรวจทรัพยากรการพัฒนานวัตกรรม
  6. ออกแบบนวัตกรรมการเรียนรู้
  7. วางแผนและดำเนินการพัฒนานวัตกรรมการเรียนรู้
  8. ตรวจสอบ ทดลองและพัฒนานวัตกรรมการเรียนรู้
  9. สรุปและประเมินผลการเรียนรู้

ทิศนา แขมมณี (2548 : 423) ได้ให้หลักการพัฒนานวัตกรรมทางการศึกษาไว้พอสรุปได้ดังนี้

  1. การระบุปัญหา(Problem) ความคิดในการพัฒนานวัตกรรมนั้น ส่วนใหญ่จะเริ่มจากการมองเห็นปัญหา และต้องการแก้ไขปัญหานั้นให้ประสบความสำเร็จอย่างมีคุณภาพ
  2. การกำหนดจุดมุ่งหมาย(Objective) เมื่อกำหนดปัญหาแล้วก็กำหนดจุดมุ่งหมายเพื่อจัดทำหรือพัฒนานวัตกรรมให้มีคุณสมบัติ หรือลักษณะตรงตามจุดมุ่งหมายที่กำหนดไว้
  3.  การศึกษาข้อจำกัดต่างๆ(Constraints) ผู้พัฒนานวัตกรรมทางด้านการเรียนการสอนต้องศึกษาข้อมูลของปัญหาและข้อจำกัดที่จะใช้นวัตกรรมนั้น เพื่อประโยชน์ในการนำไปใช้ได้จริง
  4. การประดิษฐ์คิดค้นนวัตกรรม(Innovation) ผู้จัดทำหรือพัฒนานวัตกรรมจะต้องมีความรู้ประสบการณ์ ความริเริ่มสร้างสรรค์ ซึ่งอาจนำของเก่ามาปรับปรุง ดัดแปลง เพื่อใช้ในการแก้ปัญหาและทำให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น หรืออาจคิดค้นขึ้นมาใหม่ทั้งหมด นวัตกรรมทางการศึกษามีรูปแบบแตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับลักษณะปัญหาหรือวัตถุประสงค์ของนวัตกรรมนั้น เช่นอาจมีลักษณะเป็นแนวคิด หลักการ แนวทาง ระบบ รูปแบบ วิธีการ กระบวนการ เทคนิค หรือสิ่งประดิษฐ์ และเทคโนโลยี เป็นต้น
  5. การทดลองใช้(Experimentation) เมื่อคิดค้นหรือประดิษฐ์นวัตกรรมทางการศึกษาแล้ว ต้องทดลองนวัตกรรม ซึ่งเป็นสิ่งจำเป็นเพื่อเป็นการประเมินผลและปรับปรุงแก้ไขผลการทดลองจะทำให้ได้ข้อมูลนำมาใช้ในการปรับปรุงและพัฒนานวัตกรรมต่อไป ถ้าหากมีการทดลองใช้นวัตกรรมหลายครั้งก็ย่อมมีความมั่นใจในประสิทธิภาพของนวัตกรรมนั้น
  6. การเผยแพร่(Dissemination) เมื่อมั่นใจนวัตกรรมที่สร้างขึ้นมีประสิทธิภาพแล้วก็สามารถนำไปเผยแพร่ให้เป็นที่รู้จัก

กระบวนการสร้างและพัฒนานวัตกรรม 5 ขั้นตอน

ขั้นตอนที่ 1 การศึกษาเอกสารแนวคิดหลักการ

เป็นขั้นตอนของการสำรวจว่าในทางวิชาการมีพัฒนาเรื่องนี้ไว้ว่าอย่างไร มีใครที่เคยประสบปัญหาการพัฒนาการเรียนรู้หรือการบริหารสถานศึกษาเช่นเดียวกันนี้มาก่อน และคนที่หาปัญหาเช่นเดียวกันนี้มีแนวทางในการแก้ไขปัญหานี้ในห้องเรียนของตนเองอย่างไร เพื่อให้ได้แนวคิดและแนวทางที่จะนำมาแก้ปัญหาของตนเองต่อไป

1.1    การแลกเปลี่ยนเรียนรู้และการแสวงหาแนวคิดและหลักการ

1.2    การศึกษาเอกสารงานวิจัยและประสบการของผู้เกี่ยวข้อง

ขั้นตอนที่ 2 การเลือกและการวางแผนสร้างนวัตกรรม

โดยพิจารณาเลือกจากลักษณะของนวัตกรรมการเรียนรู้ที่ดี ดังนี้

  1. เป็นนวัตกรรมการเรียนรู้ที่ตรงกับความต้องการและความจำเป็น
  2. มีความหน้าเชื่อถือและเป็นไปได้สูงที่จะสามารถแก้ปัญหา และพัฒนาการเรียนรู้ของผู้เรียน
  3. เป็นนวัตกรรมที่มีแนวคิดหรือหลักการทางวิชาการรองรับจนน่าเชื่อถือ
  4. สามารถนำไปใช้ในห้องเรียนได้จริง ใช้ได้ง่าย สะดวกต่อการใช้และการพัฒนานวัตกรรม
  5. มีผลการพิสูจน์เชิงประจักษ์ว่าได้ใช้ในสถานการณ์จริงแล้วสามารถแก้ปัญหาหรือพัฒนาคุณภาพการจัดการเรียนรู้ได้อย่างน่าเพิ่งพอใจ

ขั้นตอนที่ 3 สร้างและพัฒนานวัตกรรม

จากแผนการสร้างนวัตกรรม ครูต้องศึกษาถึงรายละเอียดของนวัตกรรมที่จะสร้างและดำเนินการตามขั้นตอน เช่น การสร้างนวัตกรรมที่เป็นชุดการเรียนรู้ ครูอาจดำเนินการสร้างตามขั้นตอนต่อไปนี้ เช่น

– วิเคราะห์จุดประสงค์การเรียนรู้

– กำหนดและออกแบบชุดการเรียนรู้ด้วยตนเอง

– ออกแบบสื่อเสริม

– ลงมือทำ

– ตรวจสอบคุณภาพครั้งแรกโดยผู้เชี่ยวชาญ

– ทดลองใช้ระยะสั้นเพื่อปรับปรุงเนื้อหาสาระ

– นำไปใช้เพื่อแก้ปัญหาหรือการพัฒนาการเรียนรู้

ขั้นตอนที่ 4  การหาประสิทธิภาพของนวัตกรรม

ขั้นตอนนี้เป็นขั้นตอนที่พิสูจน์ว่านวัตกรรมที่สร้างขั้นนั้นเมื่อนำไปใช้จะได้ผลตามที่ต้องการหรือไม่ สามารถแก้ปัญหาในชั้นเรียนหรือพัฒนาผู้เรียนได้จริงหรือไม่การประสิทธิภาพของนวัตกรรมมีหลายวิธี เช่น

  1. การตรวจสอบโดยผู้เชี่ยวชาญ
  2. การบรรยายคุณภาพ
  3. การคำนวณค่าร้อยละของผู้เรียน
  4. การหาประสิทฺธิภาพของนวัตกรรม
  5. การประเมินสื่อมัลติมีเดีย

ขั้นตอนที่ 5 ปรับปรุงนวัตกรรม

หลังจากที่หาประสิทธิภาพของนวัตกรรมที่สร้างขั้น ไม่ว่าจะโดยวิธีการใดก็ตามควรนำความคิดเห็นหรือข้อเสนอแนะเล่านั้นมาปรับปรุงนวัตกรรมให้มีคุณภาพเหมาะสมที่จะนำไปใช้ในห้องเรียนได้มากขึ้น โดยเฉพาะค่าหาประสิทธิภาพโดยการให้ผู้เชี่ยวชาญช่วยตรวจและการบรรยายคุณภาพก่อนการทดลองใช้และหลังการทดลองใช้กับผู้เรียนกลุ่มเล็กจะทำให้ได้ข้อมูลที่ชัดเจนและเป็นรายละเอียดที่จะปรับปรุงนวัตกรรมได้ง่ายขึ้น

7.ตัวอย่างนวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการศึกษา

  1.) E-learning

ความหมาย    e-Learning  เป็นคำที่ใช้เรียกเทคโนโลยีการศึกษาแบบใหม่ ที่ยังไม่มีชื่อภาษาไทยที่แน่ชัด และมีผู้นิยามความหมายไว้หลายประการ ผศ.ดร.ถนอมพร เลาหจรัสแสง ให้คำนิยาม E-Learning หรือ Electronic Learning ว่า หมายถึง “การเรียนผ่านทางสื่ออิเลคทรอนิกส์ซึ่งใช้การ นำเสนอเนื้อหาทางคอมพิวเตอร์ในรูปของสื่อมัลติมีเดียได้แก่ ข้อความอิเลคทรอนิกส์ ภาพนิ่ง ภาพกราฟิก วิดีโอ ภาพเคลื่อนไหว ภาพสามมิติฯลฯ”เช่นเดียวกับ คุณธิดาทิตย์ จันคนา ที่ให้ความ หมายของ e-learning หมายถึงการศึกษาที่เรียนรู้ผ่านเครือข่ายอินเตอร์เนตโดยผู้เรียนรู้จะเรียนรู้ ด้วยตัวเอง การเรียนรู้จะเป็นไปตามปัจจัยภายใต้ทฤษฎีแห่งการเรียนรู้สองประการคือ เรียนตามความรู้ความสามารถของผู้เรียนเอง และ การตอบสนองใน ความแตกต่างระหว่างบุคคล(เวลาที่แต่ละบุคคลใช้ในการเรียนรู้)การเรียนจะกระทำผ่านสื่อบนเครือข่ายอินเตอร์เนต โดยผู้สอนจะนำเสนอข้อมูลความรู้ให้ผู้เรียนได้ทำการศึกษาผ่านบริการ World Wide Web หรือเวปไซด์ โดยอาจให้มีปฏิสัมพันธ์ (สนทนา โต้ตอบ ส่งข่าวสาร) ระหว่างกัน จะที่มีการ เรียนรู้ ู้ในสามรูปแบบคือ ผู้สอนกับ ผู้เรียน ผู้เรียนกับผู้เรียนอีกคนหนึ่ง หรือผู้เรียนหนึ่งคนกับกลุ่มของผู้เรียน ปฏิสัมพันธ์นี้สามารถ กระทำ ผ่านเครื่องมือสองลักษณะคือ

1) แบบ Real-time ได้แก่การสนทนาในลักษณะของการพิมพ์ข้อความแลกเปลี่ยนข่าวสารกัน หรือ ส่งในลักษณะของเสียง จากบริการของ Chat room

2) แบบ Non real-time ได้แก่การส่งข้อความถึงกันผ่านทางบริการ อิเลคทรอนิคเมลล์ WebBoard News-group เป็นต้น

2). ห้องเรียนเสมือนจริง

ความหมายการเรียนการสอนที่จำลองแบบเสมือนจริง เป็นนวัตกรรมทางการศึกษาที่สถาบันการศึกษา ต่างๆ ทั่วโลกกำลังให้ความสนใจและจะขยายตัวมากขึ้นในศตวรรษที่ 21 การเรียนการสอนในระบบนี้อาศัยสื่ออิเล็กทรอนิกส์โทรคมนาคม และเครือข่ายคอมพิวเตอร์เป็นหลัก ที่เรียกว่า Virtual Classroom หรือ Virtual Campus บ้าง นับว่าเป็นการพัฒนาการ บริการทางการศึกษาทางไกลชนิดที่เรียกว่าเคาะประตูบ้านกันจริงๆ เป็นรูปแบบใหม่ของสถาบันการศึกษาในโลกยุคไร้พรมแดนมีนักวิชาการหลายท่านได้ให้ความหมายของคำว่า Virtual Classroom ไว้ดังนี้

ศ. ดร. ครรชิต มาลัยวงศ์ (2540) ได้กล่าวถึงความหมายของห้องเรียนเสมือน(Virtual Classroom) ว่าหมายถึง การเรียนการสอนที่ผ่านระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมโยงคอมพิวเตอร์ของผู้เรียน เข้าไว้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ของผู้ให้บริการเครือข่าย (File Server) และเครื่องคอมพิวเตอร์ผู้ให้ บริการเว็บ (Web Server) อาจเป็นการเชื่อมโยงระยะใกล้หรือระยะไกล ผ่านทางระบบการสื่อสารและอินเทอร์เน็ตด้วย กระบวนการสอนผู้สอนจะออกแบบระบบการเรียนการสอนไว้โดยกำหนด กิจกรรมการเรียนการสอน สื่อต่างๆ นำเสนอผ่านเว็บไซต์ประจำวิชา จัดสร้างเว็บเพจในแต่ละส่วนให้ สมบูรณ์ ผู้เรียนจะเข้าสู่เว็บไซต์ประจำวิชาและดำเนินการเรียนไปตามระบบการเรียน ที่ผู้สอนออกแบบไว้ในระบบเครือข่ายมีการจำลองสภาพแวดล้อมต่างๆ ในลักษณะเป็นห้องเรียนเสมือน

บุญเกื้อ ควรหาเวช (2543) ได้กล่าวถึงห้องเรียนเสมือนว่า (Virtual Classroom) หมายถึง การ จัดการเรียนการสอนที่ ผู้เรียนจะเรียนที่ไหนก็ได้ เช่น ที่บ้าน ที่ทำงาน โดยไม่ต้องไปนั่งเรียนในห้อง เรียนจริงๆ ทำให้ประหยัดเวลา ค่าเดินทาง และค่าใช้จ่ายอื่นๆ อีกมากมาย

โดยสรุป กล่าวได้ว่าได้ว่า ห้องเรียนเสมือน (Virtual Classroom) หมายถึง การเรียนการสอนที่กระทำผ่านระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมโยงคอมพิวเตอร์ของผู้เรียนเข้าไว้กับเครื่อง คอมพิวเตอร์ของผู้ให้บริการเครือข่าย (File Server) และคอมพิวเตอร์ผู้ให้บริการเว็บ (Web sever) เป็นการเรียนการสอนที่จะมีการนัดเวลาหรือไม่นัดเวลาก็ได้ และนัดสถานที่ นัดตัวบุคคล เพื่อให้เกิด การเรียนการสอน มีการกำหนดตารางเวลาหรือตารางสอน เข้าสู่กระบวนการเรียนการสอนพร้อมๆ กันหรือไม่พร้อมกัน มีการใช้สื่อการสอนทั้งภาพและเสียง ผู้เรียนสามารถร่วมกิจกรรมกลุ่มหรือตอบ โต้แลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับผู้สอนหรือกับเพื่อนร่วมชั้นได้เต็มที่ (คล้าย chat room) ส่วนผู้สอน สามารถตั้งโปรแกรมติดตามพัฒนาการประเมินผลการเรียนรวมทั้งประสิทธิภาพของหลักสูตรได้ ทั้งนี้ ไม่จำกัดเรื่องสถานที่ เวลา (Any Where & Any Time) ของผู้เรียนในชั้นและผู้สอน

3.) การศึกษาทางไกล (Distance Learning)

การศึกษาทางไกลเป็นการเปิดโอกาสทางการศึกษาให้แก่ผู้ใฝ่รู้และใฝ่เรียนที่ไม่สามารถสละเวลาไปรับการศึกษาจากระบบการศึกษาปกติได้เนื่องจากภาระทางหน้าที่การงานหรือทางครอบครัว และเป็นการเปิดโอกาสให้ผู้ที่ต้องการเพิ่มพูนหรือปรับปรุงความรู้ที่มีอยู่ให้ทันสมัยเพื่อประโยชน์ใน การทำงาน

ความหมายของการศึกษาทางไกล (Distance Education) 

การศึกษาทางไกล (Distance Education) หมายถึง ระบบการศึกษาที่ผู้เรียนและผู้สอนอยู่ ไกลกัน แต่สามารถทำให้เกิดการเรียนรู้ได้โดยอาศัยสื่อการสอนในลักษณะของสื่อประสม กล่าวคือ การใช้สื่อต่างๆ ร่วมกัน เช่น ตำราเรียน เทปเสียง แผนภูมิ คอมพิวเตอร์ หรือโดยการใช้อุปกรณ์ทาง โทรคมนาคม และสื่อมวลชนประเภทวิทยุและโทรทัศน์เข้ามาช่วยในการแพร่กระจาย การศึกษาไปยังผู้ที่ปรารถนาจะเรียนรู้ได้อย่างกว้างขวางทั่วทุกท้องถิ่น การศึกษานี้มีทั้งในระดับต้นจนถึงระดับสูงขั้นปริญญา

การศึกษาทางไกลเป็นการศึกษาวิธีหนึ่งในการศึกษาทั้งในระบบและนอกระบบโรงเรียน ที่ อาศัยสื่อสิ่งพิมพ์ สื่ออิเลคทรอนิกส์ และสื่อบุคคล รวมทั้งระบบโทรคมนาคมในรูปแบบต่างๆ เป็น หลักการเรียนการสอน เพื่อให้ผู้เรียนเรียนรู้ได้ด้วยตนเองจากสื่อเหล่านั้น และอาจมีการสอนเสริม ควบคู่ไปด้วย เพื่อให้ผู้เรียนซักถามปัญหาจากผู้สอนหรือผู้สอนเสริม โดยการศึกษานี้อาจจะอยู่ใน รูปแบบของการศึกษาอิสระ การศึกษารายบุคคล หรือรูปแบบของมหาวิทยาลัยเปิดก็ได้ ตัวอย่างการ ศึกษาทางไกลในประเทศไทย ได้แก่

มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช ซึ่งในการจัดการเรียนการ สอนของมหาวิทยาลัยแห่งนี้ใช้ สื่อสิ่งพิมพ์ เป็นหลัก โดยมี สื่อเสริม คือรายการวิทยุกระจายเสียง และรายการโทรทัศน์บางวิชาอาจ มีเทปคาสเซ็ท วีดิโอเทป หรือสื่อพิเศษอย่างอื่นร่วมด้วย นักศึกษาจะเรียนด้วยตนเอง โดยอาศัยสื่อ เหล่านี้เป็นหลัก แต่มหาวิทยาลัยก็จัดการสอนเสริมเป็นครั้งคราวซึ่งเปิดโอกาสให้ผู้สอนและผู้เรียนได้พบกันเพื่อซักถามข้อสงสัยหรือขอคำอธิบายเพิ่มเติม

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

6.1 ความหมาย การออกแบบนวัตกรรมการศึกษา

การถ่ายทอดความคิด จินตนาการแล้วถ่ายทอดออกมาเป็นชิ้นงานหรือผลงานได้อย่างเป็นขั้นตอน เพื่อแสดงให้ผู้อื่นสามารถมองเห็นรับรู้ หรือสัมผัสได้ และเป็นที่เข้าใจในผลงานร่วมกันสิ่งใหม่ที่นำมาใช้ให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้

  1. 2 ประเภทนวัตกรรมการศึกษา

นวัตกรรมการศึกษา  5 ประเภทดังนี้

  1. นวัตกรรมทางด้านหลักสูตรเป็นการใช้วิธีการใหม่ๆในการพัฒนาหลักสูตรให้สอดคล้องกับสภาพแวดล้อมในท้องถิ่น  และตอบสนองความต้องการสอนบุคคลให้มากขึ้น  เนื่องจากหลักสูตรจะต้องมีการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ  เพื่อให้สอดคล้องกับความก้าวหน้าทางด้านเทคโนโลยี เศรษฐกิจและสังคมของประเทศและของโลก  นวัตกรรมทางด้านหลักสูตรได้แก่  การพัฒนาหลักสูตรบูรณาการ  หลักสูตรรายบุคคล  หลักสูตรกิจกรรมและประสบการณ์   และหลักสูตรท้องถิ่น
  2. นวัตกรรมการเรียนการสอน  เป็นการใช้วิธีระบบในการปรับปรุงและคิดค้นพัฒนาวิธีสอนแบบใหม่ๆ ที่สามารถตอบสนองการเรียนรายบุคคล  การสอนแบบผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง  การเรียนแบบมีส่วนร่วม  การเรียนรู้แบบแก้ปัญหา  การพัฒนาวิธีสอนจำเป็นต้องอาศัยวิธีการและเทคโนโลยีใหม่ๆ เข้ามาจัดการและสนับสนุนการเรียนการสอน
  3. นวัตกรรมสื่อการสอน    เนื่องจากมีความก้าวหน้าของเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์    คอมพิวเตอร์เครือข่ายและเทคโนโลยีโทรคมนาคม     ทำให้นักการศึกษาพยายามนำศักยภาพของเทคโนโลยีเหล่านี้มาใช้ในการผลิตสื่อการเรียนการสอนใหม่ๆ จำนวนมากมาย  ทั้งการเรียนด้วยตนเอง การเรียนเป็นกลุ่ม และการเรียนแบบมวลชน  ตลอดจนสื่อที่ใช้เพื่อสนับสนุนการฝึกอบรมผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์
  4. นวัตกรรมทางด้านการประเมินผล  เป็นนวัตกรรมที่ใช้เป็นเครื่องมือเพื่อการวัดผลและประเมินผลได้อย่างมีประสิทธิภาพ  และทำได้อย่างรวดเร็ว  รวมไปถึงการวิจัยทางการศึกษา  การวิจัยสถาบัน ด้วยการประยุกต์ใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์มาสนับสนุนการวัดผล  ประเมินผลของสถานศึกษา ครู อาจารย์
  5. นวัตกรรมการบริหารจัดการเป็นการใช้นวัตกรรมที่เกี่ยวข้องกับการใช้สารสนเทศมาช่วยในการบริหารจัดการ   เพื่อการตัดสินใจของผู้บริหารการศึกษา   ให้มีความรวดเร็วทันเหตุการณ์  ทันต่อการเปลี่ยนแปลงของโลก นวัตกรรมการศึกษาที่นำมาใช้ทางด้านการบริหารจะเกี่ยวข้องกับระบบการจัดการฐานข้อมูลในหน่วยงานสถานศึกษา

6.3 แนวคิด ทฤษฎีการเรียนรู้เพื่อการออกแบบนวัตกรรม

มนุษย์สามารถรับข้อมูลโดยผ่านเส้นทางการรับรู้ 3 ทาง คือ

  1. พฤติกรรมนิยม (Behaviorism) พฤติกรรมนิยมมองผู้เรียนเหมือนกับ กระดานชนวนที่ว่างเปล่าผู้สอนเตรียม ประสบการณ์ให้กับผู้เรียน เพื่อสร้างประสบการณ์ใหม่ให้ผู้เรียน อาจ กระทำซ้ำจนกลายเป็นพฤติกรรม ผู้เรียนทำในสิ่งที่พวกเขาได้รับฟังและจะไม่ทำการคิดริเริ่มหา หนทางด้วยตนเองต่อการเปลี่ยนแปลง หรือพัฒนาปรับปรุงเปลี่ยนแปลงสิ่ง ต่างๆ ให้ดีขึ้นประกอบด้วยทฤษฏีย่อย4 ทฤษฏี ดังนี้

1) ทฤษฏีการวางเงื่อนไขแบบอัตโนมัติของพาฟลอฟ(Pavlov’s Classical Conditioning) เน้นการตอบสนองต่อสิ่งเร้าที่วางเงื่อนไข สรุปแนวคิดตามทฤษฏีนี้ได้ว่า การเรียนรู้ของสิ่งมีชีวิตเกิดจากการตอบสนองต่อสิ่งเร้าที่วางเงื่อนไข

2) ทฤษฏีการวางเงื่อนไขแบบอัตโนมัติของวัตสัน(Watson’s Classical Conditioning) เน้นการตอบสนองต่อสิ่งเร้าที่วางเงื่อนไขเช่นกัน สรุปแนวคิดตามทฤษฏีนี้ได้ว่า การเรียนรู้จะคงทนถาวรหากมีการให้สิ่งเร้าที่สัมพันธ์กันนั้นควบคู่กันไปอย่างสม่ำเสมอ

3) ทฤษฏีการวางเงื่อนไขแบบต่อเนื่องของกัทธรี(Guthrie’s Contiguous Conditioning) เน้นหลักการจูงใจ สรุปแนวคิดตามทฤษฏีนี้ได้ว่า การเรียนรู้เมื่อเกิดขึ้นแล้วแม้เพียงครั้งเดียว ก็นับว่าได้เรียนรู้แล้วไม่จำเป็นต้องทำซ้ำอีก

4) ทฤษฏีการวางเงื่อนไขแบบโอเปอร์แรนต์ของสกินเนอร์(Skinner’s Operant Conditioning) เน้นการเสริมแรงหรือให้รางวัล สรุปแนวคิดตามทฤษฏีนี้ได้ว่า การกระทำใดๆ ถ้าได้รับการเสริมแรงจะมีแนวโน้มที่จะเกิดขึ้นอีก การเสริมแรงที่แปรเปลี่ยนทำให้การตอบสนองคงทนกว่าการเสริมแรงที่ตายตัว การจัดการเรียนการสอนตามทฤษฏีนี้จึงเน้นที่การเสนอสิ่งเร้าในการเรียนการสอน การจัดกิจกรรมอย่างต่อเนื่อง มีการแสริมแรงหรือให้รางวัลเพื่อให้ผู้เรียนเกิดความพึงพอใจที่จะเรียน

  1. ปัญญานิยม (Cognitivism) ปัญญานิยมอยู่บนฐานของกระบวนการคิดก่อน แสดงพฤติกรรม การเปลี่ยนแปลง พฤติกรรมที่จะถูกสังเกต สิ่งเหล่านั้น มันก็เป็นเพียงแต่การบ่งชี้ว่าสิ่งนี้ กำลังดำเนินต่อไปในสมองของผู้เรียน เท่านั้น ทักษะใหม่ๆ ที่จะทำ การสะท้อนส่งออกมา กระบวนการประมวลผลข้อมูลสารสนเทศทางปัญญา
  2. การสร้างสรรค์องค์ความรู้ด้วยปัญญา (Constructivism) การสร้างสรรค์ความรู้ด้วยปัญญาอยู่บนฐานของ การอ้างอิงหลักฐานในสิ่งที่พวกเราสร้างขึ้นแสดงให้ปรากฏแก่สายตาของ เราด้วยตัวของเราเอง และอยู่บนฐานประสบการณ์ของแต่ละบุคคล องค์ความรู้จะถูกสร้างขึ้นโดยผู้เรียนและโดยเหตุผลที่ทุกคนต่างมีชุดของประสบการณ์ต่างๆ ของการเรียนรู้จึงมีลักษณะเฉพาะตน และมี ความแตกต่างกันไปในแต่ละคน

6.4 แนวคิด และกระบวนการออกแบบนวัตกรรมการศึกษา

แนวคิดของสกินเนอร์ (Skinner) เพียเจต์ (Piaget) และกานเย (Gagné) ผลงานในการนำทฤษฎี การเรียงลงมือปฏิบัติหรือขั้นทาเป็น แม้ว่าจะไม่สามารถอธิบายได้ว่ามีขั้นตอนในการทำอย่างไรนำรู้ไปใช้ในการออกแบบหลักสูตรและการเรียนการสอนของบุคคลเหล่านี้ ได้แก่รูปแบบการพัฒนาหลักสูตรของบรูเนอร์บรูเนอร์เป็นผู้ที่เสนอว่า เป้าหมายทางการศึกษาควรเป็นไปเพื่อพัฒนาบุคคลให้มีความรู้และสติปัญญา ซึ่งหมายถึงบุคคลที่มีความสามารถในการแก้ปัญหา หลักสูตรควรเอื้อต่อการพัฒนาทักษะการแก้ปัญหาโดยผ่านกระบวนการสืบสอบและค้นพบ

บรูเนอร์ได้แบ่งระดับการพัฒนาสติปัญญาว่ามี 3 ลำดับ ได้แก่   ขั้น enactive เป็นขั้นที่สามารถสรุปสิ่งที่เห็นเป็นภาพ คือ สามารถนำเสนอสิ่งที่ทำได้เป็น  แผนภูมิ แผนภาพได้ ขั้น symbolic เป็นขั้นการคิดอย่างเป็นนามธรรม คือ สามารถใช้ภาษาหรือสัญลักษณ์เพื่ออธิบายประสบการณ์หรือการกระทำของตนได้

เครื่องช่วยสอนของสกินเนอร์ (Skinner’s teaching machine) สกินเนอร์เป็นนักทฤษฎีในกลุ่มพฤติกรรมนิยมที่ศึกษาการวางเงื่อนไขแบบปฏิบัติการ (operant conditioningtheory) ในหลากหลายลักษณะเพื่อศึกษาผลของการตอบสนองต่อสิ่งเร้า สกินเนอร์สนใจการให้แรงเสริมที่มีผลต่อการแสดงพฤติกรรมซึ่งทำให้ได้ข้อสรุปสำคัญในการเรียนรู้ว่า การกระทำใด ๆ ถ้าได้รับการเสริมแรงมีแนวโน้มที่จะกระทำซ้ำอีก ส่วนการกระทำที่ไม่มีการเสริมแรงมีแนวโน้มว่าความถี่ของการกระทำจะลดลงและหายไปในที่สุด

                กระบวนการออกแบบนวัตกรรมการศึกษามีขั้นตอนดังนี้

  1. กำหนดจุดประสงค์การเรียนรู้เมื่อครูได้วิเคราะห์สาเหตุของปัญหาในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ เพื่อพัฒนาการเรียนรู้ของผู้เรียนแล้ว ก็ตั้งเป้าหมายในการพัฒนาคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้เรียนนั้นคือ กำหนดจุดประสงค์การเรียนรู้ที่ต้องการให้เกิดขึ้นในตัวผู้เรียนตามเป้าหมายของหลักสูตร เช่น ความสามารถในกระบวนการแก้ปัญหา ความสามารถในทักษะกระบวนการสร้างค่านิยม
  2. กำหนดกรอบแนวคิดของกระบวนการเรียนรู้เมื่อได้กำหนดจุดประสงค์การเรียนรู้แล้ว ครูควรศึกษาค้นคว้าหลักวิชาการ แนวคิดทฤษฎีผลงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับจุดประสงค์ในการพัฒนาคุณลักษณะของผู้เรียน และนำมาผสมผสานกับความคิดและประสบการณ์ของตนเอง กำหนดเป็นกรอบแนวคิดของกระบวนการเรียนรู้ขึ้นเพื่อจัดสร้างเป็นต้นแบบนวัตกรรมขึ้น เพื่อใช้แก้ปัญหาหรือพัฒนาการเรียนรู้ของผู้เรียน
  3. สร้างต้นแบบนวัตกรรมเมื่อตัดสินใจได้ว่าจะเลือกจัดทำนวัตกรรมชนิดใดครูผู้ต้องศึกษาวิธีการจัดทำนวัตกรรมชนิดนั้น ๆ อย่างละเอียด เช่น จะจัดทำบทเรียนสำเร็จรูปในรายวิชาหนึ่ง ต้องศึกษาค้นคว้าวิธีการจัดทำบทเรียนสำเร็จรูปว่ามีวิธีการจัดทำอย่างไรจากเอกสารตำราที่เกี่ยวข้อง แล้วจัดทำต้นแบบบทเรียนสำเร็จรูปให้สมบูรณ์ตามข้อกำหนดของวิธีการทำบทเรียนสำเร็จรูปสำหรับเครื่องมือที่ต้องใช้ในการวัดผลสัมฤทธิ์หรือเครื่องมืออื่น ๆ ต้องมีการพัฒนาเครื่องมือตามวิธีการทางวิจัยด้วย การสร้างต้นแบบนวัตกรรมจะต้องนำไปทดลองใช้เพื่อหาประสิทธิภาพของนวัตกรรม ซึ่งมีขั้นตอนการหาประสิทธิภาพนวัตกรรม

6.5 การออกแบบ รายละเอียดนวัตกรรม

ในการออกแบบนวัตกรรมการเรียนรู้ประเภทสื่อการสอนผู้ออกแบบต้องคำนึงถึงดังนี้คือ

1.วัตถุประสงค์การเรียนรู้

2.ลักษณะผู้เรียน ความเหมาะสมกับวัย ความสนใจ ระดับชั้น ความรู้ ทักษะ

3.พื้นฐาน และประสบการณ์ของผู้เรียน

4.รูปแบบการเรียนการสอน และการเรียนรู้

5.ธรรมชาติเนื้อหาสาระการเรียนรู้ และวิธีการนำเสนอที่เหมาะสม

6.สภาพการเรียน

7.ทรัพยากรต่าง ๆ เช่น วัสดุอุปกรณ์ ครุภัณฑ์ งบประมาณ

8.ราคานวัตกรรมที่เหมาะสม

โครงสร้างของการออกแบบนวัตกรรม ดังนี้คือ

1.ชื่อนวัตกรรม ผู้พัฒนาควรตั้งชื่อนวัตกรรมให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ และเข้าใจง่าย

2.วัตถุประสงค์ของนวัตกรรม การกำหนดวัตถุประสงค์ของนวัตกรรมให้ชัดเจนส่งผลให้ การพัฒนานวัตกรรมนั้น รวดเร็วและมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

3.ทฤษฎี หลักการ ในการออกแบบนวัตกรรม ผู้พัฒนาต้องพิจารณาทฤษฎีการเรียนรู้เพื่อให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ ซึ่งทฤษฎีการเรียนรู้ถือเป็นสิ่งสำคัญที่จะใช้ในการพัฒนานวัตกรรมทางการศึกษา

4.ส่วนประกอบของนวัตกรรม ในการออกแบบนวัตกรรมผู้พัฒนาต้องพิจารณาส่วนประกอบของนวัตกรรม ว่ามีอะไรบ้าง

5.การนำนวัตกรรมไปใช้และประเมินผล เป็นส่วนที่แสดงความสำเร็จของนวัตกรรม ประกอบด้วย วิธีวัดผล เครื่องมือที่ใช้วัดผล และวิธีการประเมินผลประเภทของนวัตกรรมการเรียนการสอน เมื่อการเรียนการสอนมีลักษณะเป็นระบบ ประกอบด้วยตัวป้อน (Input) กระบวนการ (Process) และผลผลิต (Output) การนำนวัตกรรมมาใช้จัดการเรียนการสอนจึงมีจุดหมายที่จะปรับปรุงหรือเพิ่มประสิทธิภาพให้กับระบบการเรียนการสอน

หลักการออกแบบสื่อเพื่อการเรียนรู้ ประกอบด้วย 9 ขั้นตอน ดังนี้

ขั้นตอนที่1 เร้าความสนใจ (Gain Attention)

ขั้นตอนที่2 บอกวัตถุประสงค์ (Specify Objectives)

ขั้นตอนที่ 3 ทวนความรู้เดิม (Activate Prior Knowledge)

ขั้นตอนที่4 การเสนอเนื้อหา (Present New Information)

ขั้นตอนที่ 5 ชี้แนวทางการเรียนรู้ (Guide Learning)

ขั้นตอนที่6 กระตุ้นการตอบสนอง (Elicit Responses)

ขั้นตอนที่ 7 ให้ข้อมูลย้อนกลับ (Provide Feedback)

ขั้นตอนที่8 ทดสอบความรู้ (Access Performance)

ขั้นตอนที่9 การจำและนำไปใช้ (Promote Retention and Transfer)

ดังนั้นในการออกแบบนวัตกรรมการเรียนรู้ผู้ออกแบบต้องคำนึงถึงหลักการข้างต้น เพื่อให้นวัตกรรมนั้นสามารถนำมาใช้ได้ตรงตามวัตถุประสงค์หลัก คือเพื่อช่วยแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นในการเรียนการสอน และเพิ่มความสามารถในการเรียนรู้ของผู้เรียน ให้มีประสอทธิภาพมากยิ่งขึ้น

6.6 การออกแบบ เครื่องมือศึกษาคุณภาพ และประสิทธิภาพนวัตกรรม

ขั้นตอนในการจัดทำเครื่องมือประเมินคุณภาพและประสิทธิภาพของนวัตกรรมมีดังนี้

  1. ศึกษาวัตถุประสงค์ของนวัตกรรมการเรียนการสอนที่สร้างขึ้น
  2. กำหนดเครื่องมือที่ต้องใช้ประกอบการประเมินคุณภาพและประสิทธิภาพ
  3. ศึกษาแนวทางการสร้างเครื่องมือ
  4. ออกแบบและสร้างเครื่องมือ
  5. ตรวจสอบและผ่านการกลั่นกรองของผู้เชี่ยวชาญ
  6. ศึกษาคุณภาพและประสิทธิภาพของเครื่องมือ
  7. จัดทำเป็นเครื่องมือฉบับจริง

6.7 การออกแบบ การศึกษาคุณภาพ และประสิทธิภาพนวัตกรรม

ขั้นการศึกษาคุณภาพของนวัตกรรมการเรียนการสอนดำเนินการดังนี้

  1. กลั่นกรองเบื้องต้นโดยให้ผู้เรียนและครูผู้สอนกลุ่มสาระนั้นอ่านเพื่อตรวจสอบข้อบกพร่อง และปรับปรุงแก้ไขให้เหมาะสม
  2. นำนวัตกรรมการเรียนการสอนที่ปรับปรุงแก้ไขเรียบร้อยแล้วให้ผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 3-5 คน ประเมินเพื่อตรวจสอบคุณภาพ และให้ข้อเสนอแนะเพื่อปรับปรุงนวัตกรรม
  3. วิเคราะห์ผลการประเมินของผู้เชี่ยวชาญเพื่อดูว่ามีคุณภาพอยู่ในระดับใด และปรับปรุงข้อบกพร่องตามข้อเสนอแนะ
  4. จัดทำเป็นนวัตกรรมการเรียนการสอนที่พร้อมสำหรับนำไปทดลองใช้ การศึกษาประสิทธิภาพของนวัตกรรมการเรียนการสอนดำเนินการดังนี้ นำนวัตกรรมการเรียนการสอนที่ผ่านการตรวจสอบและประเมินคุณภาพของผู้เชี่ยวชาญแล้ว ไปทดลองใช้กับผู้เรียนที่มีคุณสมบัติเช่นเดียวกับกลุ่มเป้าหมายของการแก้ปัญหาหรือพัฒนา ตามรูปแบบและวิธีการที่กำหนด นำผลการทดลองมาคำนวณหาประสิทธิภาพของนวัตกรรมการเรียนการสอนโดยใช้สูตร E1/E2

6.8 การออกแบบ เครื่องมือการนำนวัตกรรมไปใช้

นำนวัตกรรมการเรียนการสอนที่ผ่านการตรวจสอบและประเมินคุณภาพของผู้เชี่ยวชาญแล้ว ไปทดลองใช้กับผู้เรียนที่มีคุณสมบัติเช่นเดียวกับกลุ่มเป้าหมายของการแก้ปัญหาหรือพัฒนา ตามรูปแบบและวิธีการที่กำหนด นำผลการทดลองมาคำนวณหาประสิทธิภาพของนวัตกรรมการเรียนการสอนโดยใช้สูตร E1/E2

6.9 การออกแบบ เครื่องมือวัด ประเมินผลการใช้นวัตกรรม

วางแผนศึกษาจัดทำ และศึกษาคุณภาพและประสิทธิภาพของเครื่องมือ ก่อนจัดทำเป็นเครื่องมือฉบับจริง

6.10 การออกแบบ การนำนวัตกรรมไปใช้

หลังจากได้ศึกษาคุณภาพและประสิทธิภาพของนวัตกรรมการเรียนการสอน ตามวิธีการและขั้นตอนที่เชื่อถือได้ และมีคุณภาพและประสิทธิภาพตามที่กำหนดแล้ว นำนวัตกรรมการเรียนการสอนไปใช้แก้ปัญหาและพัฒนาผู้เรียนที่เป็นประชากรกลุ่มตัวอย่าง หรือกลุ่มเป้าหมายเพื่อสร้างความเชื่อมั่นว่านวัตกรรมการเรียนการสอนที่สร้างขึ้นมานั้นมีคุณภาพและมีประสิทธิภาพอย่างแท้จริง

6.11 การออกแบบ การวัด ประเมินผลการใช้นวัตกรรม

การจัดทำเครื่องมือประเมินคุณภาพและประสิทธิภาพ

6.12 การออกแบบ การเขียนรายงานการพัฒนานวัตกรรม

การเขียนรายงานผลการพัฒนานวัตกรรมการเรียนการสอน การเขียนรายงานผลการพัฒนานวัตกรรมแบ่งการเขียนออกเป็น 5 บท ดังนี้

บทที่ 1 บทนำ นำเสนอรายละเอียดตามหัวข้อต่อไปนี้

– ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา

– วัตถุประสงค์ของการทดลอง

– สมมุติฐานของการทดลอง

– ขอบเขตของการทดลอง

– ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ

– นิยามศัพท์

บทที่ 2 การศึกษาเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง นำเสนอแนวคิด หลักการ ทฤษฎี และผลการวิจัยที่เกี่ยวข้องที่นำมาใช้ในการพัฒนานวัตกรรม ดังนี้

– หลักการ แนวคิด ทฤษฎี ที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนานวัตกรรม

– ผลการวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนานวัตกรรม

– หลักการ แนวคิด ทฤษฎี และผลการวิจัยที่นำมาใช้พัฒนานวัตกรรมในกลุ่มสาระ/วิชาที่คิดค้นและสร้างนวัตกรรมการเรียนการสอน

บทที่3 การทดลองใช้นวัตกรรมการตั้งชื่อบทนี้อาจใช้ชื่อนวัตกรรมที่พัฒนา เช่น การทดลองใช้สื่อคอมพิวเตอร์ช่วยสอนบทนี้เป็นการแสดงให้เห็นถึงประโยชน์ของนวัตกรรมที่สามารถนำไปใช้ได้สถานการณ์จริง ว่าสามารถใช้ได้เพียงใด หัวข้อที่นำเสนอในบทนี้มีดังนี้

3.1 รูปแบบการทดลอง  การจะสรุปว่านวัตกรรมที่สร้างหรือพัฒนามีประสิทธิภาพเพียงใด มีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องนำไปทดลองใช้ และในการทดลองใช้อาจจะใช้กับนักเรียนกลุ่มเดียวหรือ 2 กลุ่มก็ได้ขึ้นอยู่กับผู้พัฒนา

3.2 วิธีการทดลอง

เป็นการเสนอข้อมูลเกี่ยวกับกระบวนการทดลองทั้งหมด ได้แก่

– ประชากร ขนาดของกลุ่มตัวอย่าง

– การสุ่มตัวอย่าง

– เครื่องมือที่ใช้ในการประเมินและการสร้างเครื่องมือ (รวมถึงการหาคุณภาพของเครื่องมือ)

– การใช้นวัตกรรม

– การเก็บรวบรวมข้อมูล

– สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล

บทที่ 4 ผลการทดลองใช้นวัตกรรม  การเสนอผลการทดลอง เป็นหลักฐานที่พิสูจน์ความสำเร็จของนวัตกรรมบางครั้งการเสนอผลอาจเป็นเพียงความคิดเห็น หรือความรู้สึกของผู้เกี่ยวข้องทั้งโดยตรงหรือโดยอ้อม ผ่านการใช้แบบสอบถามหรืออาจจะเป็นการทดสอบ ซึ่งก็จะเป็นข้อมูลที่ยืนยันผลการทดลองใช้ได้การนำเสนอผลการทดลองใช้ อาจเสนอในรูปของการบรรยาย ตาราง แผนภูมิหรือกราฟประกอบการบรรยาย และสาระที่นำเสนอจะต้องตอบวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้ในบทที่ 1 ทุกข้อ

บทที่ 5 สรุปผล อภิปรายผล และข้อเสนอแนะ  การเขียนบทนี้ จะเป็นการสรุปผลจากบทที่1 – 4 มาเขียนย่อ ๆ ให้เห็นภาพรวมทั้งหมด โดยจะกล่าวถึง

5.1 สรุปผล   เป็นการสรุปผลในเรื่อง การพัฒนานวัตกรรม ลักษณะของนวัตกรรมที่พัฒนา การทดลองใช้และผลการทดลอง

5.2 อภิปรายผล  เป็นการอภิปรายผลการใช้นวัตกรรมที่ได้นำเสนอในบทที่4 โดยชี้ให้เห็นว่านวัตกรรมที่พัฒนาตรงตามวัตถุประสงค์ที่วางไว้เพียงใด มีอะไรที่เป็นจุดเด่น หรือมีข้อจำกัดอะไรบ้างที่ทำให้ผลการใช้นวัตกรรมไม่บรรลุตามวัตถุประสงค์ที่วางไว้

5.3 ข้อเสนอแนะ  เป็นการเสนอทั้งจุดเด่นและจุดด้อยของนวัตกรรมที่พัฒนา ไม่ว่าจะเป็นการสร้าง การวิจัยพัฒนาขั้นต่อไป ตลอดจนข้อเสนอแนะในการนำนวัตกรรมไปใช้ให้เกิดผลในการเรียนการสอนต่อไป

6.13 การออกแบบ การเผยแพร่นวัตกรรม

การแพร่กระจายหรือการเผยแพร่นวัตกรรม เป็นกระบวนการในการถ่ายเทความคิด การปฏิบัติ ข่าวสาร หรือพฤติกรรมไปสู่ที่ต่างๆ จากบุคคลหรือกลุ่มบุคลไปสู่กลุ่มบุคคลอื่น โดยกว้างขวาง จนเป็นผลให้เกิดการยอมรับความคิดและการปฏิบัติเหล่านั้น อันมีผลต่อโครงสร้างและวัฒนธรรมและการเปลี่ยนแปลงทางสังคมในที่สุด  พบว่ามีสิ่งที่มีอิทธิพลในการดำเนินการของกระบวนการเผยแพร่  อยู่ 5 ประการ  คือ

– ตัวนวัตกรรมเอง

– สารสนเทศหรือข้อมูลที่นำไปใช้ในการสื่อสารของนวัตกรรมนั้น

– เงื่อนไขด้านเวลา

– ธรรมชาติของระบบสังคมหรือชุมชนที่นวัตกรรมจะนำไปเผยแพร่

– การยอมรับ

 

แหล่งเรียนรู้และเครือข่าย เพื่อการเรียนรู้

1. ความหมายแหล่งเรียนรู้

แหล่งเรียนรู้ หมายถึง แหล่งข้อมูลข่าวสาร สารสนเทศ และประสบการณ์ ที่สนับสนุนส่งเสริมให้ผู้เรียนใฝ่เรียน ใฝ่รู้ แสวงหาความรู้และเรียนรู้ด้วยตนเองตามอัธยาศัย อย่างกว้างขวางและต่อเนื่อง เพื่อเสริมสร้างให้ผู้เรียนเกิดกระบวนการเรียนรู้ และเป็นบุคคลแห่งการเรียนรู้

2. แหล่งเรียนรู้ที่สำคัญ 

  1. แหล่งการศึกษาตามอัธยาศัย
  2. แหล่งการเรียนรู้ตลอดชีวิต
  3. แหล่งปลูกฝังนิสัยรักการอ่าน การศึกษาค้นคว้า แสวงหาความรู้ด้วยตนเอง
  4. แหล่งสร้างเสริมประสบการณ์ภาคปฏิบัติ
  5. แหล่งสร้างเสริมความรู้ ความคิด วิทยาการและประสบการณ์

3 .ความหมายเครือข่ายการเรียนรู้

เครือข่ายการเรียนรู้ (Learning Network) หมายถึง การแลกเปลี่ยนความรู้ ความคิด ข้อมูลข่าวสาร ประสบการณ์ และการเรียนรู้ระหว่างบุคคล กลุ่มบุคคล องค์การ และแหล่งความรู้ที่มีส่วนร่วมในกระบวนการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง จนเป็นระบบที่เชื่อมโยงกัน ส่งผลให้เกิดการเผยแพร่และการประยุกต์ความรู้ใหม่ๆ เพื่อวัตถุประสงค์ทางวิชาชีพหรือทางสังคม

4. ความหมาย เครือข่ายการเรียนรู้ส่วนบุคคล

เครือข่ายการเรียนรู้ที่มุ่งเน้นเอกัตบุคคลเป็นหลัก มีลักษณะของการประสานสัมพันธ์การดำเนินงานของหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง เพื่อขยายการให้บริการทางการศึกษาในระบบโรงเรียน นอกระบบโรงเรียน และการศึกษาตามอัธยาศัย ไปยังผู้ที่ต้องการ อย่างกว้างขวาง และสนองตอบปัญหาความต้องการของแต่ละบุคคล ตลอดจนจิตใต้สำนึกในการมีส่วนร่วมพัฒนา

5. ประเภทแหล่งเรียนรู้และเครือข่ายการเรียนรู้

5.1 ประเภทของแหล่งเรียนรู้

ประเภทของแหล่งเรียนรู้สามารถแบ่งได้หลากหลาย ตามลักษณะการแบ่งของแต่ละบุคคล ดังต่อไปนี้ สำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ ได้จำแนกประเภทของแหล่งการเรียนรู้ไว้ 2 แบบ

  1. จัดตามลักษณะของแหล่งการเรียนรู้

1.1 แหล่งการเรียนรู้ตามธรรมชาติ เป็นแหล่งการเรียนรู้ที่ผู้เรียนจะหาความรู้ได้จากสิ่งที่มีอยู่แล้วตามธรรมชาติ เช่น แม่น้า ภูเขา ป่าไม้ ลาธาร กรวด หิน ทราย ชายทะเล เป็นต้น

1.2 แหล่งการเรียนรู้ที่มนุษย์สร้างขึ้น เพื่อสืบทอดศิลปวัฒนธรรม ตลอดจนเทคโนโลยีทางการศึกษาที่อานวยความสะดวกแก่มนุษย์เช่น โบราณสถาน พิพิธภัณฑ์ ห้องสมุดประชาชน สถาบันการศึกษา สวนสาธารณะ ตลาด บ้านเรือน ที่อยู่อาศัย สถานประกอบการ เป็นต้น

1.3 บุคคล เป็นแหล่งการเรียนรู้ที่ถ่ายทอดความรู้ความสามารถ คุณธรรม จริยธรรม การสืบสานวัฒนธรรม และภูมิปัญญาท้องถิ่น ทั้งด้านประกอบอาชีพ ตลอดจนนักคิด นักประดิษฐ์ และผู้มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์

  1. จัดตามแหล่งที่ตั้งของแหล่งการเรียนรู้

2.1 แหล่งการเรียนรู้ในโรงเรียน เดิมมีแหล่งการเรียนรู้หลัก คือ ครู อาจารย์ ต่อมามีการพัฒนาเป็นห้องปฏิบัติการต่างๆ เช่น ห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์ ห้องปฏิบัติการทางภาษา ห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ ห้องโสตทัศนศึกษา ห้องจริยธรรม ห้องศิลปะ ตลอดจนอาคารสถานที่และสิ่งแวดล้อมในโรงเรียน เช่น ห้องอาหาร สนาม ห้องน้า สวนดอกไม้ สวนสมุนไพร แหล่งน้าในโรงเรียน เป็นต้น

2.2 แหล่งการเรียนรู้ในท้องถิ่น ครอบคลุมทั้งด้านสถานที่และบุคคล ซึ่งอาจอยู่ในท้องถิ่นใกล้เคียงโรงเรียน ท้องถิ่นที่โรงเรียนพาผู้เรียนไปเรียนรู้ เช่น แม่น้ำ  ภูเขา ชายทะเล สวนสาธารณะ สวนสัตว์ ทุ่งนา สวนผัก สวนผลไม้ วัด ตลาด ร้านอาหาร ห้องสมุดประชาชน สถานีตำรวจ สถานีอนามัย ดนตรีพื้นบ้าน การละเล่นพื้นเมือง แหล่งทอผ้า เทคโนโลยีชาวบ้าน เทคโนโลยีในชีวิตประจาวัน แหล่งข้อมูลข่าวสารต่างๆ

5.2 ประเภทเครือข่ายการเรียนรู้

เครือข่ายการเรียนรู้ ซึ่งพิจารณาถึงโครงสร้างเครือข่ายการเรียนรู้อาศัยความร่วมมือระหว่างบุคคล องค์กร และเทคโนโลยีการสื่อสารเชื่อมโยงกันเป็นเครือข่ายการเรียนรู้ สามารถจำแนกออกได้เป็น 4 ประเภท ดังนี้

  1. เครือข่ายการเรียนรู้โครงสร้างกระจายศูนย์ มีศูนย์กลางทำหน้าที่ประสานงาน แต่ภารกิจในการเรียนการสอนจะกระจายความรับผิดชอบให้สมาชิกเครือข่ายซึ่งต่างก็มีความสัมพันธ์เท่าเทียมกัน รูปแบบนี้อาจเรียกว่าการกระจายความรับผิดชอบ (Distributed Network) ซึ่งพบได้ในเครือข่ายการพัฒนาชนบท และการเรียนรู้จากแหล่งวิทยาการชุมชน โดยอาศัยสื่อบุคคลเป็นหลัก
  2. เครือข่ายการเรียนรู้โครงสร้างรวมศูนย์ มีองค์กรกลางเป็นทั้งศูนย์ประสานงาน และเป็นแม่ข่ายรวบรวมอำนาจการจัดการความรู้ไว้ในศูนย์กลาง การลงทุนด้านเทคโนโลยีและกำลังคนอยู่ที่แม่ข่าย ส่วนลูกข่ายหรือสมาชิกเป็นเพียงผู้ร่วมใช้บริการจากศูนย์กลาง
  3. เครือข่ายการเรียนรู้โครงสร้างลำดับขั้น (Hierarchical Network) มีลักษณะเช่นเดียวกับแผนภูมิองค์กร การติดต่อสื่อสารข้อมูลต้องผ่านตามลำดับขั้นตอนมาก นิยมใช้การบริหาร จัดการองค์กรต่างๆ ซึ่งเหมาะแก่การควบคุม ดูแลระบบงาน
  4. เครือข่ายการเรียนรู้โครงสร้างแบบผสม คือมีทั้งแบบรวมศูนย์และกระจายศูนย์ ซึ่งพบมากในการจัดการศึกษานอกระบบโรงเรียน เนื่องจากการเรียนรู้มิได้อาศัยสื่อใดสื่อหนึ่งเป็นหลัก หากแต่มีการผสมผสานสื่อบุคคล และเทคโนโลยีจึงจำเป็นต้องจัดระบบเครือข่ายแบบผสม เพื่อสนองความต้องการได้อย่างกว้างขวางและตรง

6. ตัวอย่างเครือข่ายการเรียนรู้

เครือข่าย (Network) เป็นแนวคิดและกระบวนการที่เกี่ยวข้องกับการจัดระบบความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล กลุ่มบุคคล องค์กร ตลอดจนชุมชนให้เกื้อกูลเชื่อมโยงกันโดยที่แต่ละฝ่ายต้องมีความเท่าเทียมกัน มีอิสระต่อกันสามารถยืนหยัดอยู่ได้ด้วยตนเอง และพร้อมที่จะปฏิบัติงานร่วมกันของสมาชิกเครือข่ายบนพื้นฐานของความเท่าเทียมกัน การมีความสัมพันธ์จะเป็นแบบเพื่อนร่วมงาน ประสานความช่วยเหลือกันและเป็นความสัมพันธ์เชิงแนวราบมากกว่าที่จะเป็นแนวดิ่ง ดังนั้นเครือข่ายจึงเป็นสัมพันธภาพของมนุษย์กับมนุษย์ที่ครอบคลุมทั้งการให้และการรับ และการเอื้ออาทรต่อกัน การก่อเกิดของเครือข่ายอาจพิจารณาได้ 2 ทาง คือเครือข่ายที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ ซึ่งดูได้จากความเป็นเครือญาติกัน การมีภูมิลำเนาถิ่นกำเนิดเดียวกัน การมีความเชื่อถือศรัทธาเหมือนกัน การมีปัญหาร่วมกัน และการมีความสนใจร่วมกันในงานหรือกิจกรรม เป็นต้น เครือข่ายโดยการจัดตั้ง ซึ่งจะต้องมีผู้คอยกระตุ้นปลุกจิตสำนึกให้เกิดความคิดตระหนักถึงปัญหาของชุมชนร่วมกันและก่อให้เกิดการจัดตั้งกลุ่มองค์กรขึ้นมาเพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าว โดยเฉพาะอย่างยิ่งมักจะเป็นเครือข่ายในระบบราชการเครือข่ายมีลักษณะเป็นวงจรเปรียบได้กับสิ่งมีชีวิตธรรมชาติของเครือข่ายจะต้องมีการเจริญเติบโตอยู่เสมอต้องมีการปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไปและต้องมีการต่อสู้เพื่อความอยู่รอดของเครือข่ายเช่นเดียวกันกับสิ่งมีชีวิต