ข้อสอบ วิทยาศาสตร์ ป.2 แสงและการ มอง เห็น

วิทยาศาสตร์
แบบทดสอบท้ายบท แสงและการรมองเห็น
 ID: 2588192
Language: Thai
School subject: วิทยาศาสตร์
Grade/level: ป.2
Age: 7-9
Main content: แสงและการมองเห็น
Other contents: แบบทดสอบท้ายบท

ข้อสอบ วิทยาศาสตร์ ป.2 แสงและการ มอง เห็น
 Add to my workbooks (1)
ข้อสอบ วิทยาศาสตร์ ป.2 แสงและการ มอง เห็น
 Download file pdf
ข้อสอบ วิทยาศาสตร์ ป.2 แสงและการ มอง เห็น
 Embed in my website or blog
ข้อสอบ วิทยาศาสตร์ ป.2 แสงและการ มอง เห็น
 Add to Google Classroom
ข้อสอบ วิทยาศาสตร์ ป.2 แสงและการ มอง เห็น
 Add to Microsoft Teams
ข้อสอบ วิทยาศาสตร์ ป.2 แสงและการ มอง เห็น
 Share through Whatsapp

Link to this worksheet:  Copy
ข้อสอบ วิทยาศาสตร์ ป.2 แสงและการ มอง เห็น

krunong16


ข้อสอบ วิทยาศาสตร์ ป.2 แสงและการ มอง เห็น
ข้อสอบ วิทยาศาสตร์ ป.2 แสงและการ มอง เห็น

What do you want to do?

ข้อสอบ วิทยาศาสตร์ ป.2 แสงและการ มอง เห็น
ข้อสอบ วิทยาศาสตร์ ป.2 แสงและการ มอง เห็น
Check my answersEmail my answers to my teacher

Enter your full name:

Group/level:

School subject:

Enter your teacher's email or key code:

Cancel

Please allow access to the microphone
Look at the top of your web browser. If you see a message asking for permission to access the microphone, please allow.

Close

เอกสารประกอบการเรียนรู้

วิทยาศาสตร์ ป.2

แสงและการมองเห็น

จัดทำโดย
คุณครูกฤตติการ์ งามเอนก
โรงเรียนวัดพลับพลา(อินทราษฎร์ประสิ ทธิ์)

ของ
ชื่อ............................................................

ชั้น.............เลขที่.........

1

แหล่งกำเนิ ดแสง

เป็นพลังงานรูปหนึ่ งที่ช่วยให้เรามองเห็นสิ่งต่างๆ รอบตัวได้
ทุกสิ่งที่สามารถส่องแสงได้ เราเรียกว่า

แหล่งกำเนิดแสง มี 2 ประเภท คือ

1. แหล่งกำเนิดแสงจากธรรมชาติ

แหล่งกำเนิ ดแสงจากธรรมชาติ คือ สิ่งที่ทำให้เกิดแสงได้ด้วยตัวเอง
โดยอาจเกิดจากปรากฏการณ์ธรรมชาติ หรือสิ่งมีชีวิตบางชนิ ด เช่น

แสงจากดวงอาทิตย์

ดวงอาทิตย์ คือ ดาวฤกษ์ดวงหนึ่ ง
ที่มีอุณหภูมิสูงและให้พลังงานมหาศาล
ดวงอาทิตย์จะเปล่งแสงออกมารอบๆ
และส่องมายังโลก แสงสว่างบนโลก
ของเราส่ วนใหญ่ได้มาจากดวงอาทิตย์

แสงจากดาวฤกษ์

ดาวฤกษ์เป็นแหล่งกำเนิ ดแสงจาก
ธรรมชาติเช่นเดียวกับดวงอาทิตย์ แต่เรา
จะเห็นดาวฤกษ์มีแสงสว่างไม่ต่อเนื่ อง
เหมือนดวงอาทิตย์ เพราะดาวฤกษ์อยู่
ไกลจากโลกมาก จึงทำให้เราเห็นแสง
สว่างจากดาวฤกษ์เป็นแสงกระพริบ

"ดวงจันทร์" เป็นดาวเคราะห์ที่ไม่มีแสงสว่างในตนเอง
แต่ที่มีแสงส่องสว่างอย่างที่เราเห็นกันนั้น เป็นเพราะได้รับ
แสงสะท้อนมาจากดวงอาทิตย์ จึงทำให้เรามองเห็นดวงจันทร์

จัดทำโดย คุณครูกฤตติการ์ งามเอนก

2

หิ่งห้อย

หิ่งห้อยเป็นแมลงปีกแข็งขนาดเล็ก
สามารถส่ องแสงได้โดยมีอวัยวะที่ทำให้
เกิดแสง อยู่บริเวณส่วนท้องด้านล่างของ
ลำตัว หิ่งห้อยจะส่องแสงเพื่อเป็นการ
สื่อสาร ล่อเหยื่อ และเพื่อการสืบพันธุ์

เห็ดเรืองแสง

เห็ดเรืองแสง จะเปล่งแสงในเวลา
กลางคืน เป็นสีเขียวอมเหลือง ซึ่งการ
เรืองแสงได้นั้ นเกิดจากการทำปฏิกิริยา
เคมีภายในเซลล์ของเห็ด

เห็ดเรืองแสงไม่สามารถนำมาบริโภคได้
เพราะส่วนใหญ่เป็นเห็ดที่มีพิษ ถ้าบริโภค
อาจทำให้เสี ยชีวิตได้

ฟ้าแลบ ฟ้าผ่า

ฟ้าแลบ ฟ้าผ่า เกิดขึ้นพร้อมกับ
ฟ้าร้อง แต่มนุษย์เรามองเห็นฟ้าแลบ
ก่อนได้ยินเสียงฟ้าร้อง เนื่ องจากแสง
เดินทางเร็วกว่าเสี ยง

ปลาแองเกลอร์

ปลาชนิ ดนี้ มีลักษณะหัวใหญ่ ฟันคม
ลำตัวมีสีเทาเข้มจนถึงน้ำตาลเข้ม บริเวณ
ส่วนหัวเหนื อปากจะมีชิ้นส่วนของกระดูก
สั นหลังยื่นออกมาเหมือนเบ็ดตกปลา
เรียกส่วนนี้ ว่าเอสคา นอกจากนี้ ปลาย
เบ็ดสามารถเรืองแสงได้ด้วยแบคทีเรีย
ใช้ในการล่อเหยื่อให้มาติดกับดัก

จัดทำโดย คุณครูกฤตติการ์ งามเอนก

3

2. แหล่งกำเนิดแสงที่มนุษย์สร้างขึ้น

แหล่งกำเนิ ดแสงที่มนุษย์สร้างขึ้น คือ สิ่งที่ทำให้เกิดแสง ซึ่งเกิดจาก
การสร้างหรือเกิดจากการกระทำของมนุษย์ เช่น

กองไฟ หลอดไฟ

เทียนไข ไฟฉาย

โทรทัศน์ ตะเกียง

จัดทำโดย คุณครูกฤตติการ์ งามเอนก

4

ใบงานที่ 1
แหล่งกำเนิ ดแสง

คำชี้แจง : ให้นั กเรียนนำคำไปเติมให้ตรงกับภาพและตอบคำถาม

เทียนไข ฟ้าผ่า หลอดไฟ ตะเกียง

ดวงอาทิตย์ หิ่งห้อย ดาวฤกษ์ ไฟฉาย

1. . 2. . 3. . 4. .

5. . 6. . 7. . 8. .

1. ภาพใดเป็นแหล่งกำเนิ ดแสงจากธรรมชาติ
ตอบ

2. ภาพใดเป็นแหล่งกำเนิ ดแสงที่มนุษย์สร้างขึ้น
ตอบ

3. กองไฟ และ ไม้ขีดไฟ เป็นแหล่งกำเนิ ดแสงประเภทใด
ตอบ

4. เห็ดเรืองแสง เป็นแหล่งกำเนิ ดแสงประเภทใด
ตอบ

จัดทำโดย คุณครูกฤตติการ์ งามเอนก

5

ใบงานที่ 2
แหล่งกำเนิ ดแสง

คำชี้แจง : ให้นั กเรียนทำเครื่องหมาย ภาพที่เป็นแหล่งกำเนิ ดแสงพร้อมทั้งระบายสีให้สวยงาม

จัดทำโดย คุณครูกฤตติการ์ งามเอนก

6

การเคลื่อนที่ของแสง

แสง เคลื่อนที่จากแหล่งกำเนิ ดแสง ทุกทิศทาง และเคลื่อนที่เป็น แนวเส้นตรง
ด้วยลำแสงขนาดเล็กที่เรียกว่า รังสีของแสง การเขียนแผนภาพแสดงการเคลื่อนที่
ของแสงสามารถทำได้โดยเขียนลูกศรและใช้หัวลูกศรแสดงทิศทางที่แสงเคลื่อนที่

ทิศทางการคลื่อนที่ของแสงจากเปลวเทียน
( แสดงทิศทางการเคลื่อนที่ของแสง)

แสงเดินทางด้วยความเร็วประมาณ 8 นาที
300,000 กิโลเมตรต่อ 1 วินาที
149,597,000
แสงเดินทางได้เร็วกว่าทุกสิ่ งในจักรวาล กิโลเมตร
และสามารถเดินทางผ่านสุญญากาศได้

แสงเคลื่อนที่จากดวงอาทิตย์มายังโลกใช้เวลาเพียง 8 นาที

แสงเคลื่อนที่ออกจาก แสงเคลื่อนที่ออกจาก
แหล่งกำเนิ ดแสง แหล่งกำเนิ ดแสง
ทุกทิศทาง เป็นแนวเส้ นตรง

จัดทำโดย คุณครูกฤตติการ์ งามเอนก

7

การทดลองการเคลื่อนที่ของแสง
จากแหล่งกำเนิ ดแสง

อุปกรณ์ การทดลอง

1. กระดาษแข็งทึบแสง ขนาด A4 จำนวน 3 แผ่น
2. กระดาษขาวฉากรับแสง
3. ไฟฉาย
4. ดินน้ำมัน

วิธีการทดลอง

1. ขีดเส้นทะแยงมุมและใช้ดินสอปลายแหลมเจาะรูกลมๆ ที่จุดเส้นทะแยงมุมตัดกัน
บนแผ่นกระดาษแข็งทั้ง 3 แผ่น

2. วางกระดาษแข็งทั้ง 3 แผ่น ให้ตรงกันโดยใช้ดินน้ำมันช่วยในการตั้งแผ่น
กระดาษแข็ง ตั้งกระดาษที่เป็นฉากรับแสงไว้ด้านหลังแผ่นกระดาษแข็งแผ่นที่ 3

3. ฉายแสงจากไฟฉายส่องผ่านรูบนแผ่นกระดาษทั้ง 3 แผ่นไปยังฉากรับแสง
สังเกตและบันทึกผล โดยทำเครื่องหมาย ในตารางบันทึกผล

4. เลื่อนแผ่นกระดาษแข็งแผ่นที่ 1 ออกไปจากแนวเดิมเล็กน้ อย สังเกตและ
บันทึกผล นำแผ่นกระดาษแข็งแผ่นที่ 1 ออก สังเกตและบันทึกผล

5. ทำการทดลองเช่นเดียวกับข้อ 4 แต่เปลี่ยนแผ่นกระดาษแข็งเป็นแผ่นที่ 2
และ 3 แทน สังเกตและบันทึกผล

จัดทำโดย คุณครูกฤตติการ์ งามเอนก

8

บันทึกผลการทดลอง

ตาราง ผลการสังเกตแสงจากไฟฉายที่ตกกระทบบนฉากรับแสง

สรุปผลการทดลอง (เขียนครึ่งบรรทัด)

จัดทำโดย คุณครูกฤตติการ์ งามเอนก

9

ใบงานที่ 3
การเคลื่อนที่ของแสง

คำชี้แจง : ให้นั กเรียนเขียนเส้นรังสีของแสง จากแหล่งกำเนิ ดแสงพร้อมทั้งระบายสีให้สวยงาม

จัดทำโดย คุณครูกฤตติการ์ งามเอนก

10

การมองเห็นวัตถุ

การที่มนุษย์เราสามารถมองเห็นสิ่ งต่างๆ
รอบตัวได้ เนื่ องจากมีแสงจากวัตถุเข้าสู่ตาของเรา
ซึ่งแสงนั้ นอาจเป็นแสงจากวัตถุที่เป็นแหล่ง
กำเนิ ดแสง หรือแสงจากแหล่งกำเนิ ดแสง
ที่ตกกระทบวัตถุที่ไม่ใช่แหล่งกำเนิ ดแสงก็ได้

วัตถุที่เป็น
แหล่งกำเนิ ดแสง

การมองเห็นวัตถุที่เป็น
แหล่งกำเนิ ดแสง
แสงจากวัตถุนั้ น
จะเข้าสู่ ตาของเราโดยตรง

วัตถุที่ ไม่ใช่
แหล่งกำเนิ ดแสง

การมองเห็นวัตถุที่ไม่ใช่แหล่ง
กำเนิดแสง ต้องมีแสงจากแหล่ง
กำเนิ ดแสงไปกระทบกับวัตถุ
แล้วสะท้อนเข้าตาของเรา

จัดทำโดย คุณครูกฤตติการ์ งามเอนก

11

การมองเห็นวัตถุ

ในเวลากลางวัน เราสามารถมองเห็นสิ่งต่างๆ รอบตัวได้
เนื่ องจาก แสงจากดวงอาทิตย์ส่องกระทบที่วัตถุต่างๆ

แล้วสะท้อนเข้าตาของเรา

เราอ่านหนั งสือได้เมื่อมีปริมาณแสง
ที่เพียงพอ จากแหล่งกำเนิ ดแสง

กระทบตัวหนั งสือแล้วสะท้อนเข้าตาของเรา

ดาวฤกษ์

เป็นวัตถุที่เป็นแหล่งกำเนิ ดแสง
แต่ในเวลากลางวัน เราไม่สามารถมองเห็น

แสงจากดาวฤกษ์ได้ เนื่ องจากแสงจาก
ดวงอาทิตย์มีความส่ วางมาก
จึงบดบังแสงจากดาวฤกษ์ไว้

จัดทำโดย คุณครูกฤตติการ์ งามเอนก

12

การทดลองการมองเห็นวัตถุ
ที่ไม่ใช่แหล่งกำเนิ ดแสง

อุปกรณ์ การทดลอง

1. กล่องกระดาษที่มีฝาปิด
2. วัตถุขนาดเล็ก 2-3 ชิ้น
3. ไฟฉาย

วิธีการทดลอง

1. นำวัตถุที่เตรียมไว้ใส่ในกล่องกระดาษทึบแสงที่เจาะรูเป็นช่องเล็ก ๆ
ไว้สำหรับมอง จากนั้ นปิดฝากล่องแล้วมองดูวัตถุที่อยู่ในกล่องกระดาษ
บอกสิ่ งที่สั งเกตเห็นแล้วบันทึกผล

2. ดำเนิ นการเช่นเดียวกับขั้นตอนที่ 1 แต่ให้นำไฟฉายที่เปิดไฟวางไว้ใน
กล่องกระดาษ บอกสิ่งที่สังเกตเห็นแล้วบันทึกผล

จัดทำโดย คุณครูกฤตติการ์ งามเอนก

13

บันทึกการทดลอง ภายในกล่องเป็นอย่างไร
และเด็กๆ มองเห็นอะไร

ในกล่องบ้างคะ

สรุปผลการทดลอง (เขียนครึ่งบรรทัด)

จัดทำโดย คุณครูกฤตติการ์ งามเอนก

14
ใบงานที่ 4
การมองเห็นวัตถุ

คำชี้แจง : ให้นั กเรียนเขียนเส้นรังสีของแสงที่เคลื่อนจากแหล่งกำเนิ ดแสงที่กำหนดให้
และระบายสี ให้สวยงาม

จัดทำโดย คุณครูกฤตติการ์ งามเอนก

15
ใบงานที่ 5
การมองเห็นวัตถุ

คำชี้แจง : ให้นั กเรียนวาดภาพพร้อมทั้งเขียนเส้นรังสีของแสงที่เคลื่อนจากแหล่งกำเนิ ดแสง
จากสิ่งที่กำหนดให้ และระบายสีให้สวยงาม

สุนั ขนั่ งมองลูกบอลกลางสนามหญ้าในเวลาเช้า

ฉั นนั่ งดูโทรทัศน์ กับครอบครัว

จัดทำโดย คุณครูกฤตติการ์ งามเอนก

16

การป้องกันอันตรายที่เกิดจากแสง

นั กเรียนเคยสังเกตหรือไม่ว่าขณะที่อ่านหนังสือ หน้ าหนั งสือจะรับแสงจากดวงอาทิตย์
หรือหลอดไฟฟ้าซึ่งเป็นแหล่งกำเนิ ดแสง นอกจากนี้ เมื่อเราดูโทรทัศน์ โทรศั พท์มือถือ
คอมพิวเตอร์ หรือแท็บเล็ต ตาของเราก็จะรับแสงจากหน้ าจอของแหล่งกำเนิ ดแสงเหล่านั้ น
ถ้าแสงดังกล่าว มีความสว่างมากหรือปริมาณของแสงมากเกินไป จะทำให้เรารู้สึกตาพร่าและ
เมื่อใช้งานเป็นเวลานานนานอาจทำให้ตาบอดได้ แต่ถ้าแสงมีความสว่างน้ อยหรือปริมาณของ
แสงน้อยเกินไป ก็จะทำให้เรารู้สึกปวดตาและไม่สามารถใช้งานเป็นเวลานานนานได้เช่นกัน

จัดทำโดย คุณครูกฤตติการ์ งามเอนก

17

ดังนั้ น เราจึงต้องหลีกเลี่ยงการมองวัตถุที่มีแสงสว่างมากๆ โดยการใช้แผ่นกรองแสง
ที่มีคุณภาพ เพื่อลดปริมาณของแสงที่เข้าสู่ตาเรา หรือไม่ใช้สายตามองวัตถุในที่ที่มีแสงสว่าง
น้ อยเกินไป แต่หากหลีกเลี่ยงไม่ได้จะต้องจัดความสว่างให้เหมาะสมหรืออยู่ในบริเวณที่มี
แสงสว่างเพียงพอกับการทำกิจกรรมต่างๆ

แนวทางการป้องกันอันตราย
จากการมองวัตถุที่อยู่ในที่ที่มีแสงสว่างไม่เหมาะสม

1. อ่านหนังสือในที่มีแสงสว่างเพียงพอ
หากต้องอยู่ในบริเวณที่มีแสงน้ อยควรจัดหาโคมไฟเพื่อส่ องสว่าง

ไม่ควรอ่านหนั งสื อในบริเวณที่มีแสงน้ อยเป็นเวลานาน

2. การดูจอโทรทัศน์
ควรปรับความสว่างหน้ าจอโทรทัศน์ ไม่ให้สว่างมากเกินไป
และควรนั่งให้ห่างในระยะที่เหมาะสม ไม่ควรใกล้เกิน 1 เมตร

จัดทำโดย คุณครูกฤตติการ์ งามเอนก

18

3. การใช้โทรศั พท์มือถือ แท็บเล็ต
ควรปรับแสงสว่างหน้าจอ และมีระยะการมองจอที่เหมาะสม

ไม่ควรเล่นขณะรถวิ่ง เพราะจะทำให้สายตาเสียได้

4. การทำกิจกรรมกลางแจ้ง
ควรสวมแว่นตากันแดด พยายามอย่าจ้องวัตถุหือสิ่ งของนานๆ

เมื่อกลับเข้าที่ร่มควรหลับตาสักพัก เพื่อให้ตาปรับสภาพ

5. การทำงานหน้าคอมพิวเตอร์
ควรใช้แผ่นกรองแสงหรือแว่นกรองแสง
ปรับความสว่างหน้อจอให้เหมาะสม ไม่ควรเข้าใกล้จอเกินไป

จัดทำโดย คุณครูกฤตติการ์ งามเอนก

19

6. การทำงานที่มีแสงสว่างจ้าเกินไป
ควรหาเครื่องป้องกันแสง ถ้าจำเป็นต้องจ้องแสงนานๆ

ให้สลับออกมาพักสายตาเป็นระยะอย่างเหมาะสม

ห้ามมองแสงจากดวงอาทิตย์โดยตรงนะจ๊ะ

แสงจากดวงอาทิตย์สามารถทำร้ายดวงตาของเราได้ เป็นตัวกระตุ้นให้เกิดโรคต้อกระจก
โรคจอประสาทตาเสื่อม เมื่อต้องเผชิญกับแสงจากดวงอาทิตย์หรืออยู่กลางแจ้ง
จึงควรสวมแว่นตากันแดด

ถนอมสายตา

เราควรดูแลรักษาดวงตาของเรา
เช่น ไม่ใช้สายตานานๆ

ทานอาหารบำรุ งสายตา
(อาหารที่มีวิตามิน A)

จัดทำโดย คุณครูกฤตติการ์ งามเอนก

20

เป็นห่วง เป็นใย

อันตรายจากการติดโทรศัพท์มือถือ การจ้องหน้ าจอโทรศัพท์นานๆ จะทำให้มีอาการ
แสบหรือปวดตาจนลืมตาไม่ขึ้น ตาแห้งทำให้น้ำตาไหลและกระพริบตาบ่อย สายตาพร่ามัว
มองเห็นไม่ชัดเจน ในระยะยาวอาจเป็นสาเหตุทำให้เกิดความบกพร่องในการมองเห็นได้
นอกจากนี้ ยังส่งผลต่อพัฒนาการทางสมองและอารมณ์ของเด็กๆ ด้วยนะคะ

เด็กๆ จึงควรทำกิจกรรมอื่นแทนการเล่นมือถือนานๆ เพื่อถนอมสายตาของตนเองค่ะ

จัดทำโดย คุณครูกฤตติการ์ งามเอนก

21

ใบงานที่ 6

แนวทางการป้องกันดวงตา

ตอนที่ 1 : ให้นั กเรียนดูภาพ แล้ววิเคราะห์ว่าเป็นการกระทำที่เหมาะสมหรือไม่เหมาะสม
พร้อมบอกเหตุผลประกอบ

เป็นการกระทำที่ เหมาะสม ไม่เหมาะสม
เพราะ

เป็นการกระทำที่ เหมาะสม ไม่เหมาะสม
เพราะ

เป็นการกระทำที่ เหมาะสม ไม่เหมาะสม
เพราะ

ตอนที่ 2 : ให้นั กเรียนอ่านสถานการณ์ แล้วเขียนแนวทางการป้องกันอันตรายจากการ
มองวัตถุ ในบริเวณที่มีแสงสว่างไม่เหมาะสม

หนูนิ ดนั่ งทำงานหน้ าจอคอมพิวเตอร์เป็นเวลานานหลายชั่วโมง
แนวทางการป้องกันอันตราย

ตอนกลางคืนนุ่ นเปิดโคมไฟดวงเล็กนั่ งอ่านหนั งสื อในห้องนอน
แนวทางการป้องกันอันตราย

จัดทำโดย คุณครูกฤตติการ์ งามเอนก

22

ใบงานที่ 7

แนวทางการป้องกันดวงตา

คำชี้แจง : ให้นั กเรียนเขียนแผนภาพความคิด แนวทางการป้องกันและถนอมดวงตา

แนวทาง
การป้องกัน
และถนอมดวงตา

จัดทำโดย คุณครูกฤตติการ์ งามเอนก

23

แบบทดสอบ
แสงและการมองเห็น

คำชี้แจง : ให้นั กเรียนเลือกคำตอบที่ถูกทีสุด

1. ข้อใดอธิบายเกี่ยวกับแสงได้ถูกต้อง
ก. แสงเคลื่อนที่ออกจากแหล่งกำเนิ ดแสงทุกทิศทาง
ข. แสงเป็นพลังงานรูปหนึ่ งที่เคลื่อนที่เป็นวงกลม
ค. แหล่งกำเนิ ดของแสงจะเกิดขึ้นเองตามธรรมชาติเท่านั้ น

2. ข้อใดแสดงการเคลื่อนที่ของแสงออกจากแหล่งกำเนิ ดแสงได้ถูกต้อง

ก. ข. ค.
ค. รังสีของแสง
3. ลำแสงที่พุ่งออกมาจากแหล่งกำเนิ ดแสงเรียกว่าอะไร

ก. เส้นทางของแสง ข. รัศมีของแสง

พิจารณาข้อความต่อไปนี้ แล้วตอบคำถามข้อ 4 - 6

แพรวาจัดจำแนกแหล่งกำเนิ ดแสงออกเป็น 2 กลุ่มดังนี้

4. แหล่งกำเนิ ดแสง คือข้อใด ค. ตะเกียง
ก. ดาวฤกษ์ ข. โทรทัศน์

5. แหล่งกำเนิ ดแสง คือข้อใด ค. ฟ้าแลบ
ก. ดวงอาทิตย์ ข. หลอดไฟ

6. แสงหน้ าจอคอมพิวเตอร์จัดเป็นแหล่งกำเนิ ดแสงในกลุ่มใด

ก. กลุ่ม A ข. กลุ่ม B ค. ทั้งกลุ่ม A และกลุ่ม B

7. ข้อใดเป็นแหล่งกำเนิ ดแสงที่สำคัญที่สุดของสิ่งมีชีวิต

ก. หลอดไฟ ข. ไฟฉาย ค. ดวงอาทิตย์

จัดทำโดย คุณครูกฤตติการ์ งามเอนก

24

8. แหล่งกำเนิ ดแสงในข้อใดให้ปริมาณแสงน้ อยที่สุด

ก. เทียน ข. หิ่งห้อย ค. กองไฟ

9. ข้อใดอธิบายเกี่ยวกับภาพได้ถูกต้อง

ก. แหล่งกำเนิ ดแสงจากธรรมชาติ
ข. แหล่งกำเนิ ดแสงที่มนุษย์สร้างขึ้น
ค. ไม่ใช่แหล่งกำเนิ ดแสง

10. ข้อใดคือปัจจัยที่ทำให้เรามองเห็นวัตถุที่ไม่ใช่แหล่งกำเนิ ดแสง

ก. วัตถุ ตา ข. แหล่งกำเนิ ดแสง วัตถุ ค. แหล่งกำเนิ ดแสง วัตถุ ตา

11. เรามองเห็นวัตถุต่างๆ ได้เพราะอะไร
ก. ผิวของวัตถุเรืองแสงจึงทำให้เรามองเห็นวัตถุ
ข. แสงส่องไปตกกระทบที่วัตถุแล้วสะท้อนเข้ามาสู่ตาของเรา
ค. ตาเราส่องแสงไปกระทบกับวัตถุแล้ววัตถุสะท้อนกลับมาที่ตาของเรา

12. ถ้านำวัตถุที่ไม่ใช่แหล่งกำเนิ ดแสง วางไว้ในห้องมืดสนิ ท จะเกิดผลอย่างไร
ก. มองเห็นบริเวณในห้องแต่ไม่เห็นวัตถุ
ข. มองเห็นวัตถุแต่ไม่เห็นบริเวณในห้อง
ค. มองไม่เห็นอะไรเลย

13. จินดาทำการบ้านในเวลากลางคืน แต่บริเวณที่จินดาทำการบ้านมีแสงสว่าง
ไม่เพียงพอ จินดาควรแก้ปัญหาอย่างไรจึงจะเหมาะสมที่สุด
ก. ออกไปทำนอกบ้านบริเวณที่มีแสงดาวเยอะที่สุด
ข. ให้คุณพ่อติดหลอดไฟเพิ่มบริเวณโต๊ะทำการบ้าน
ค. จุดเทียนไขทุกครั้งเพื่อให้มีแสงสว่างมากขึ้น

14. โทรศัพท์มือถือเป็นอุปกรณ์ที่มีแสงสีน้ำเงินที่ให้ความสว่างมาก เราควรใช้
โทรศัพท์มือถืออย่างไรจึงจะส่งผลกระทบต่อสายตาของเราน้ อยที่สุด
ก. ขณะใช้โทรศัพท์ควรปรับแสงหน้ าจอให้มืดที่สุด
ข. ใช้โทรศัพท์ในบริเวณที่มืด เพื่อช่วยลดแสงสว่างให้น้ อยลง
ค. ใช้โทรศัพท์ในบริเวณที่มีแสงสว่างเหมาะสม มองเห็นหน้ าจอชัดเจน

15. ใครปฏิบัติตนได้ถูกต้องในการป้องกันอันตรายจากแสงสว่าง
ก. พลอยใส่แว่นกรองแสงขณะใช้งานคอมพิวเตอร์
ข. เพชรเปิดโคมไฟขนาดใหญ่ 3 ดวง ขณะอ่านหนั งสือ
ค. พราวปิดไฟในห้องขณะเปิดดูโทรทัศน์

จัดทำโดย คุณครูกฤตติการ์ งามเอนก