ข้อ ใด กล่าว ถึง บทบาท ของไทยใน สงครามเย็น

ถึงชื่อจะเย็น แต่เราขอบอกไว้ก่อนว่าสงครามเย็นไม่เกี่ยวกับอากาศเย็น ไม่เกี่ยวกับตู้เย็น และก็ไม่ได้รบกันตอนเย็น ๆ ด้วย ก่อนจะเข้าสู่รายละเอียดของสงครามเย็น เราอยากให้เพื่อน ๆ ลองนึกภาพห้องเรียนห้องหนึ่งที่มีหัวหน้าแก๊งอยู่สองคนกำลังทะเลาะกันอยู่เพราะอุดมการณ์ไม่ตรงกัน ทั้งสองพยายามหาพรรคพวกและแข่งขันกันในทุก ๆ ด้านจนบรรยากาศในห้องเรียนตึงเครียดและปกคลุมไปด้วยความเย็นยะเยือก นี่คือบรรยากาศคร่าว ๆ ของโลกในช่วงสงครามเย็นที่เพื่อน ๆ น่าจะพอจินตนาการตามกันได้ ว่าแต่...หัวโจกระดับโลกทั้งสองคนคือใครกันล่ะ ???

เพื่อน ๆ จะอ่านบทความนี้ต่อ หรือติดตามที่แอปพลิเคชัน StartDee ก็ได้นะ คลิกแบนเนอร์หรือ scan QR code ได้เลย

ข้อ ใด กล่าว ถึง บทบาท ของไทยใน สงครามเย็น

 

แนะนำหัวหน้าแก๊ง:

สหภาพโซเวียตและสหรัฐอเมริกา สองมหาอำนาจของโลกในช่วงสงครามเย็น

สงครามเย็นเป็นการต่อสู้ด้านอุดมการณ์ของสองหัวหน้าแก๊งผู้ทรงอำนาจ ได้แก่ ‘สหภาพโซเวียต’ ที่ยึดมั่นในอุดมการณ์สังคมนิยมคอมมิวนิสต์และ ‘สหรัฐอเมริกา’ ที่เชื่อมั่นในอุดมการณ์เสรีประชาธิปไตย

โดยการต่อสู้ด้านแนวคิด เศรษฐกิจ และการเมืองของสองมหาอำนาจครั้งนี้นำไปสู่การสู้รบที่มีการนองเลือดกันจริง ๆ และบรรยากาศโลกที่ตึงเครียดจนหลาย ๆ ประเทศแทบจะไม่กล้ากระดิกตัว แต่ก่อนที่บรรยากาศจะตึงเครียดถึงขั้นนั้น เรามาทำความรู้จักหัวหน้าแก๊งทั้งสองให้ดียิ่งขึ้นกันเถอะ

 

สหภาพโซเวียตแห่งแก๊งสังคมนิยมคอมมิวนิสต์

ย้อนกลับไปในช่วง สงครามโลกครั้งที่ 1 สหภาพโซเวียตยังคงเป็นจักรวรรดิรัสเซียที่ปกครองโดยราชวงศ์โรมานอฟ ในรัชสมัยของพระเจ้าซาร์นิโคลัสที่ 2 จักรวรรดิรัสเซียได้เข้าร่วม สงครามโลกครั้งที่ 1 ในขณะที่เศรษฐกิจของประเทศไม่ค่อยดีเท่าที่ควร เมื่อรวมกับปัจจัยทางการเมืองอื่น ๆ จึงทำให้ประชาชนโดยเฉพาะกลุ่มชาวนาที่ยากจนเริ่มไม่พอใจ และนำไปสู่ การปฏิวัติรัสเซีย ในปี ค.ศ. 1917 หลังการปฏิวัติครั้งแรกมีการตั้งรัฐบาลชั่วคราวเพื่อปกครอง ก่อนจะเกิดการปฏิวัติครั้งที่สองโดยพรรคบอลเชวิกภายใต้การนำของวลาดิเมียร์ เลนิน (Vladiir Lenin) ผลจากการปฏิวัติทำให้ราชวงศ์โรมานอฟและจักรวรรดิรัสเซียล่มสลาย กลายเป็นสหภาพโซเวียตที่ปกครองด้วยแนวคิดแบบสังคมนิยมคอมมิวนิสต์* ล้มเลิกระบบศักดินาและชนชั้น มุ่งเน้นความเท่าเทียมในสังคม 

ต่อมาวลาดิเมียร์ เลนินประสบปัญหาด้านสุขภาพ โจเซฟ สตาลิน (Joseph Stalin) จึงขึ้นมาเป็นผู้นำสหภาพโซเวียตแทนและพาประเทศเข้าสู่สงครามโลกครั้งที่ 2 ในสมัยของเขา และเมื่อสงครามโลกครั้งที่ 2 จบลง สหภาพโซเวียตในฐานะประเทศผู้ชนะสงคราม จึงร่วมกำหนดระเบียบโลกหลังสงครามร่วมกับสหรัฐอเมริกา และมีบทบาทร่วมกันในฐานะสองมหาอำนาจของโลก

*แนวคิดแบบสังคมนิยมคอมมิวนิสต์เสนอโดยคาร์ล มากซ์ (Karl Marx) นักปรัชญา เศรษฐศาสตร์ ประวัติศาสตร์ และสังคมศาสตร์ชาวปรัสเซีย (ส่วนหนึ่งของประเทศเยอรมนีในปัจจุบัน) แนวคิดแบบสังคมนิยมคอมมิวนิสต์ของมากซ์เป็นสังคมที่ไม่มีชนชั้น ทุกคนเท่าเทียมกัน ซึ่งสังคมจะเปลี่ยนแปลงได้ก็ต้องผ่านการปฏิวัติโดยชนชั้นกรรมาชีพ

 

สหรัฐอเมริกาแห่งแก๊งเสรีประชาธิปไตย

เมื่อสหภาพโซเวียตกลายเป็นคอมมิวนิสต์ ต่อมาในสมัยของประธานาธิบดีแฮร์รี่ เอส ทรูแมน (Harry S. Truman) ก็ประกาศลัทธิทรูแมน (Truman Doctrine) ในปี ค.ศ. 1947 ซึ่งก็คือการให้การสนับสนุนประเทศที่มีแนวคิดแบบเสรีประชาธิปไตยในการต่อสู้กับสหภาพโซเวียต เพื่อจำกัดอำนาจของสหภาพโซเวียตไม่ให้ขยายแนวคิดแบบคอมมิวนิสต์จนครองโลกเสรีนิยม นอกจากนี้จอร์จ มาร์แชล (George Marshall) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงต่างประเทศของสหรัฐอเมริกาในขณะนั้นยังเสนอแผนการมาร์แชลล์ (Marshall Plan) ซึ่งเป็นแผนสนับสนุนทางการเงินเพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจของยุโรปหลัง สงครามโลกครั้งที่ 2 แผนการนี้ทำให้สหรัฐอเมริกามีอำนาจในยุโรป และป้องกันไม่ให้ยุโรปบางส่วนกลายเป็นรัฐคอมมิวนิสต์

 

จุดเริ่มต้นความขัดแย้งและเหตุการณ์ต่าง ๆ ในสงครามเย็น

เนื่องจากเป็นการต่อสู้ด้านแนวคิดและอุดมการณ์ จุดเริ่มต้นของสงครามเย็นจึงไม่สามารถสรุปได้ชัดเจนว่าเริ่มขึ้นเมื่อไหร่ แต่นักประวัติศาสตร์ส่วนใหญ่เริ่มนับตั้งแต่การประกาศลัทธิทรูแมนในปี ค.ศ. 1947 หลังจากนั้นทั้งสหภาพโซเวียตและสหรัฐอเมริกาจึงเริ่มดำเนินนโยบายสนับสนุนนานาประเทศในด้านต่าง ๆ ในลักษณะที่หักล้างและท้าทายกัน เช่น...

สงครามกลางเมืองกรีซ (ค.ศ. 1944 - 1949)

ข้อ ใด กล่าว ถึง บทบาท ของไทยใน สงครามเย็น
Government army unit during the Greek Civil War (1945 - 1949), Wikimedia Commons.

ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 เยอรมนียึดครองประเทศกรีซได้ แต่เมื่อสงครามโลกครั้งที่ 2 จบลงและขับไล่เยอรมนีออกไปได้แล้ว แนวคิดเกี่ยวกับแนวทางการปกครองในประเทศกลับแตกออกเป็นสองฝ่าย ระหว่างฝ่ายรัฐบาลกรีกที่ได้รับการสนับสนุนจากสหรัฐอเมริกา และฝ่ายกบฎซึ่งเป็นคอมมิวนิสต์และได้รับการสนับสนุนจากสหภาพโซเวียต การต่อสู้นี้กลายเป็นสงครามกลางเมือง (Greek Civil War) และถือว่าเป็นสงครามตัวแทนแรกที่เกิดขึ้นในช่วงสงครามเย็น

 

การแบ่งแยกประเทศเยอรมนี

การขัดแย้งด้านอุดมการณ์ของสหรัฐอเมริกาและสหภาพโซเวียตทำให้เกิดการแบ่งแยกดินแดนทางกายภาพขึ้น เมื่อสงครามโลกครั้งที่ 2 จบลง เยอรมนีก็อยู่ในสถานะที่ไร้ผู้นำ สหรัฐอเมริกา สหภาพโซเวียต และประเทศผู้ชนะสงครามจึงเข้าปกครองเยอรมนีและแบ่งแยกประเทศเยอรมนีออกเป็นสองฝั่ง ได้แก่ สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี (เยอรมนีตะวันตก) ที่ปกครองโดยสหรัฐอเมริกา อังกฤษ และฝรั่งเศส กับสาธารณรัฐประชาธิปไตยเยอรมนี (เยอรมนีตะวันออก)ที่ปกครองโดยสหภาพโซเวียต

ข้อ ใด กล่าว ถึง บทบาท ของไทยใน สงครามเย็น

A map of East and West Germany, dw.com.

ในปี ค.ศ. 1949 สหภาพโซเวียตได้เริ่มปิดกั้นเส้นทางภาคพื้นดินในการเข้าสู่ยุโรปตะวันออกและกรุงเบอร์ลิน พรมแดนนี้ทำให้ยุโรปตะวันออกถูกปิดตายจากโลกภายนอก ‘ดินแดนหลังม่านเหล็ก (Iron Curtain)*’ ของสหภาพโซเวียตจึงเป็นโลกที่ฝ่ายเสรีประชาธิปไตยไม่สามารถคาดเดาได้

*ดินแดนหลังม่านเหล็ก (Iron Curtain) เป็นคำที่วินสตัน เชอร์ชิลคิดขึ้น หมายถึงดินแดนในยุโรปตะวันออกที่สหภาพโซเวียตเป็นผู้นำ

 

การตอบโต้ด้วยนโยบาย

ในขณะที่สหรัฐอเมริกาใช้แผนการมาร์แชลล์ในการฟื้นฟูเศรษฐกิจและสร้างเครือข่ายพันธมิตรในยุโรป ในปี ค.ศ. 1949 สหภาพโซเวียตก็ก่อตั้ง ‘สภาเพื่อความช่วยเหลือซึ่งกันและกันทางเศรษฐกิจ (COMECON: The Council for Mutual Economic Assistance)’ ซึ่งเป็นกลุ่มให้ความช่วยเหลือทางเศรษฐกิจกับประเทศพันธมิตรเช่นเดียวกัน ในแง่ความมั่นคงทางการทหาร สหรัฐอเมริกาได้ก่อตั้ง ‘องค์การสนธิสัญญาป้องกันแอตแลนติกเหนือ (NATO: North Atlantic Treaty Organisation)’ ขึ้นในปี ค.ศ. 1949 เพื่อรวบรวมประเทศในแอตแลนติกเหนือมาเป็นพันธมิตรเพื่อความมั่นคงทางการทหาร 

ข้อ ใด กล่าว ถึง บทบาท ของไทยใน สงครามเย็น
The Warsaw Pact was an alliance formed by the Soviet Union and its Eastern bloc allies. It evolved from a treaty signed on May 14, 1955 in the Polish capital, Warsaw. Opendemocracy.net. 

จากนั้นสหภาพโซเวียตก็ประกาศ ‘กติกาสัญญาวอร์ซอ (Warsaw Pact)’ ในปี ค.ศ. 1955 ซึ่งเป็นส่วนเสริมของ COMECON แต่เป็นนโยบายด้านการทหารและมีจุดมุ่งหมายคล้ายกับ NATO (แต่เป็นเวอร์ชันคอมมิวนิสต์) มีหลายรัฐที่เข้าร่วม Warsaw Pact และนำไปสู่การจัดตั้งกลุ่มตะวันออก (Eastern Bloc)

 

สงครามตัวแทน (Proxy War) 

ในสงครามเหล่านี้ประเทศมหาอำนาจทั้งสองจะไม่เปิดฉากการรบในประเทศของตนเอง แต่จะไปรบในประเทศอื่น ๆ หรือให้ประเทศอื่น ๆ รบแทน โดยประเทศมหาอำนาจและพันธมิตรจะคอยสนับสนุนด้านกำลังทหารและอาวุธ สงครามตัวแทนที่สำคัญ เช่น สงครามเกาหลี (ค.ศ. 1950 - 1953) ที่นำไปสู่การแบ่งแยกประเทศเป็นเกาหลีเหนือและเกาหลีใต้ สงครามเวียดนาม (ค.ศ. 1955 - 1975) หรือสงครามอินโดจีนครั้งที่สอง ซึ่งเป็นการเผชิญหน้าระหว่างเวียดนามเหนือและเวียดนามใต้ ผลของสงครามทำให้เวียดนามเหนือและเวียดนามใต้รวมกันเป็นหนึ่งเดียวและกลายเป็นประเทศที่ปกครองด้วยระบบคอมมิวนิสต์ 

 

การแข่งขันด้านการจารกรรมข้อมูล

“คุณเป็นสายลับหรือเปล่า” เป็นบทพูดที่เราได้ยินบ่อยมาก ๆ ในภาพยนตร์อเมริกันช่วงสงครามเย็น เพราะอีกหนึ่งการแข่งขันที่สำคัญในช่วงสงครามเย็นก็คือ “การแข่งขันด้านการจารกรรมข้อมูล” หรือการล้วงความลับจากฝ่ายตรงข้าม เดือนกันยายน ค.ศ. 1947 ในสมัยของประธานาธิบดีแฮร์รี่ เอส ทรูแมน ทางสหรัฐอเมริกาได้จัดตั้งสำนักข่าวกรองกลางหรือหน่วยซีไอเอ (CIA: Central Intelligence Agency) หน่วยราชการที่ทำหน้าที่รวบรวมและประมวลผลข่าวกรองและข้อมูลที่เป็นภัยต่อความมั่นคงของชาติต่าง ๆ ปัจจุบันซีไอเอก็ยังคงปฏิบัติงานด้านข่าวกรองอยู่ โดยมีการเพิ่มบทบาทการทำงานจนประสบความสำเร็จในปฏิบัติการยับยั้งการก่อการร้ายต่าง ๆ 

ส่วนสหภาพโซเวียตก็มีการจัดตั้งคณะกรรมการความมั่นคงแห่งรัฐ (KGB หรือ КГБ: Комите́т госуда́рственной безопа́сности) ทำหน้าที่เกี่ยวกับข่าวกรองและความมั่นคงเช่นกัน ปัจจุบัน KGB ยุติบทบาทการทำงานแล้ว และมีสำนักความมั่นคงกลาง (FSB: Federalnaya sluzhba bezopasnosti) ปฏิบัติหน้าที่ในส่วนนี้แทน

 

การแข่งขันด้านอาวุธสงคราม

ข้อ ใด กล่าว ถึง บทบาท ของไทยใน สงครามเย็น

CIA reference photograph of Soviet medium-range ballistic missile (SS-4 in U.S. documents, R-12 in Soviet documents) in Red Square, Moscow, 1 May 1965, Wikimedia Commons. 

ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 สหรัฐอเมริกาได้เริ่มโครงการพัฒนาอาวุธนิวเคลียร์ขึ้นมา ซึ่งในเวลาต่อมาอาวุธชิ้นนี้ก็มีบทบาทในสงครามโลกครั้งที่ 2 และสร้างความเสียหายแก่ญี่ปุ่นอย่างมาก หลังจากสำแดงความร้ายแรงของอาวุธนิวเคลียร์ให้มนุษยชาติได้เห็น ในยุคของสงครามเย็นสหรัฐอเมริกาก็ยังทุ่มเทพัฒนาอาวุธสงครามที่ร้ายแรงขึ้นเรื่อย ๆ ทั้งอาวุธนิวเคลียร์และขีปนาวุธระยะไกล ส่วนสหภาพโซเวียตเองก็ประสบความสำเร็จด้านการจารกรรมข้อมูล จนได้พิมพ์เขียวสำหรับการสร้างอาวุธนิวเคลียร์และมีอาวุธนิวเคลียร์ในครอบครองในที่สุด

ข้อ ใด กล่าว ถึง บทบาท ของไทยใน สงครามเย็น

Maps of the Cuban Missile Crisis, atomicarchive.com.

จนกระทั่งในปี ค.ศ. 1962 ในสมัยรัฐบาลของจอห์น เอฟ เคเนดี้ (John F. Kenedy) ก็เกิด ‘วิกฤตการณ์คิวบา (Cuban Missile Crisis) เมื่อเครื่องบินสังเกตการณ์ของสหรัฐอเมริกาพบฐานยิงขีปนาวุธของสหภาพโซเวียตติดตั้งอยู่บนเกาะคิวบา ก่อนหน้านั้นสหรัฐอเมริกาได้ติดตั้งฐานยิงขีปนาวุธบริเวณพรมแดนของตุรกีและสหภาพโซเวียต นิกิตา ครุสชอฟ (Nikita Khrushchev) เลขาธิการพรรคคอมมิวนิสต์และประธานสภารัฐมนตรีแห่งสหภาพโซเวียต ซึ่งเป็นพันธมิตรกับฟิเดล กัสโตร (Fidel Castro) นายกรัฐมนตรีของคิวบาในขณะนั้น จึงโต้ตอบด้วยการติดตั้งฐานยิงขีปนาวุธในคิวบา สถานการณ์แบบตาต่อตาฟันต่อฟันนี้ทำให้ประชากรทั้งโลกต้องกลั้นหายใจ ความขัดแย้งกลายเป็นข้อพิพาทในองค์การสหประชาชาติ มีการโทรเลขโต้ตอบและนัดพบกันเพื่อเจรจาระหว่างสองผู้นำหลายต่อหลายครั้ง และเหตุการณ์จบลงที่สหภาพโซเวียตต้องยอมประกาศถอนฐานยิงขีปนาวุธในวันที่ 28 ตุลาคม ค.ศ. 1962

 

การแข่งขันด้านอวกาศ

ข้อ ใด กล่าว ถึง บทบาท ของไทยใน สงครามเย็น
A replica of Sputnik 1, the first artificial satellite in the world to be put into outer space: the replica is stored in the National Air and Space Museum, 1 January 2004, Wikimedia Commons.

แม้สหรัฐอเมริกาจะเป็นผู้นำหน้าด้านอาวุธนิวเคลียร์ แต่สหภาพโซเวียตก็มีก้าวแรกของเทคโนโลยีทางอวกาศที่เร็วกว่า เพราะในวันที่ 4 ตุลาคม ค.ศ. 1957 สหภาพโซเวียตได้ประสบความสำเร็จในการส่งดาวเทียมสปุตนิก 1 (Sputnik 1) ขึ้นไปโคจรรอบโลกได้สำเร็จ ซึ่งถือเป็นดาวเทียมดวงแรกของมนุษย์ ตามมาด้วยการส่งนักบินอวกาศคนแรกของโลกคือยูริ กาการินขึ้นโคจรรอบแรกเป็นผลสำเร็จเมื่อวันที่ 12 เมษายน ค.ศ. 1961 แต่ในที่สุด ความสำเร็จที่ยิ่งใหญ่กว่าก็ตกเป็นของสหรัฐอเมริกา จากการส่งนีล อาร์มสตรอง (Neil Armstrong) พร้อมสมาชิกในทีมและยานอพอลโล 11 (Apollo 11) ลงจอดบนดวงจันทร์เป็นเจ้าแรกของโลกในวันที่ 20 กรกฎาคม ค.ศ. 1969

 

That's one small step for [a] man, one giant leap for mankind.

นี่เป็นก้าวเล็ก ๆ ของชายคนนึง แต่เป็นก้าวกระโดดครั้งยิ่งใหญ่ของมนุษยชาติ

 

— นีล อาร์มสตรอง, ขณะเหยียบลงบนพื้นผิวของดวงจันทร์

 

ช่วงผ่อนคลายความตึงเครียด (Détente)

จากการแข่งขันทุกรูปแบบและวิกฤตการณ์คิวบาที่เกือบลุกลามกลายเป็นสงครามนิวเคลียร์ ในปี ค.ศ. 1969 - 1974 ก็เข้าสู่ช่วงผ่อนคลายความตึงเครียด (Détente) เกิดการจับเข่าพูดคุยกันระหว่างสองผู้นำคือ ริชาร์ด นิกสัน (Richard Nixon) และลีโอนิด เบรซเนฟ (Leonid Brezhnev) เพื่อลดความตึงเครียดทางการทหารและการแข่งขันทางการทูต

ข้อ ใด กล่าว ถึง บทบาท ของไทยใน สงครามเย็น

President Jimmy Carter and Soviet General Secretary Leonid Brezhnev sign the Strategic Arms Limitation Talks (SALT II) treaty, June 18, 1979, in Vienna, 18 June 1979, Wikimedia Commons. 

การเจรจาครั้งนี้ทำให้สถานการณ์ผ่อนคลายลงและนำไปสู่ ‘การเจรจาจำกัดอาวุธทางยุทธศาสตร์ (Strategic Arms Limitation Talks: SALT)’ เพื่อลด - จำกัดปริมาณอาวุธสงครามที่ทั้งสองประเทศครอบครอง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ‘อาวุธนิวเคลียร์’ เกิดเป็นสนธิสัญญาสองฉบับ ได้แก่

SALT I: ปี ค.ศ. 1974 ในสมัยของลีโอนิด เบรซเนฟ (Leonid Brezhnev) และเจอรัลด์ ฟอร์ด (Gerald Ford)

SALT II: ปี ค.ศ. 1979 ในสมัยของลีโอนิด เบรซเนฟและจิมมี คาร์เตอร์ (Jimmy Carter)

การสิ้นสุดสงครามเย็น

การเจรจาและสนธิสัญญาทำให้สถานการณ์สงบลงได้ระยะหนึ่งก่อนที่จะกลับมาตึงเครียดอีกครั้งในช่วงหลัง จากนั้นสงครามเย็นก็สิ้นสุดลงเมื่อมิคาอิล กอบราชอฟ (Mikhail Gorbrachev) ผู้นำสหภาพโซเวียต เริ่มดำเนินนโยบายสองนโยบายหลัก คือ

  1. Glasnost: การเปิดกว้าง เปิดประเทศ ยอมรับและทำการค้าขายกับประเทศเสรีประชาธิปไตยมากขึ้น
  2. Perestroika: การปรับโครงสร้าง ปรับโครงสร้างเชิงเศรษฐกิจ (ตอนมิคาอิลขึ้นเป็นผู้นำ เศรษฐกิจของสหภาพโซเวียตกต่ำ) เพื่อให้เศรษฐกิจกลับมาดี

การดำเนินนโยบายการค้าและพูดคุยกับประเทศเสรีประชาธิปไตยมากขึ้น ทำให้การปกครองที่เข้มงวดและตึงเครียดภายใต้ระบอบคอมมิวนิสต์เริ่มผ่อนคลายลง ประชาชนจึงมีอิสระและได้สัมผัสกับโลกเสรีมากขึ้น

ข้อ ใด กล่าว ถึง บทบาท ของไทยใน สงครามเย็น

The Fall of the Berlin Wall, 1989. The photo shows a part of a public photo documentation wall at the Brandenburg Gate, Berlin, 8 November 1989, Wikimedia Commons.

สงครามเย็นสิ้นสุดอย่างเป็นทางการเมื่อกำแพงเบอร์ลินเริ่มถูกทุบทำลายลง* ในวันที่ 9 พฤศจิกายน ค.ศ. 1989 ชาวเยอรมนีตะวันออกเดินทางไปชุมนุมเพื่อเรียกร้องเสรีภาพที่กำแพงเบอร์ลิน และเริ่มทุบทำลายกำแพงที่สหภาพโซเวียตสร้างขึ้น การเคลื่อนไหวนี้แสดงให้เห็นว่าระบอบคอมมิวนิสต์เริ่มอ่อนแอ และนำไปสู่การแยกตัวเป็นเอกราชของประเทศต่าง ๆ ในเวลาต่อมา

*กำแพงเบอร์ลินถูกทำลายอย่างเป็นทางการในปี ค.ศ. 1990 

 

ผลกระทบของสงครามเย็น

ระบอบคอมมิวนิสต์ที่เริ่มเปราะบางส่งผลให้สหภาพโซเวียตล่มสลายลงในปี ค.ศ.​ 1991 โดยแตกออกเป็นประเทศใหม่กว่า 15 ประเทศ เช่น รัสเซีย ลัตเวีย ลิทัวเนีย เอสโตเนีย จอร์เจีย เป็นต้น

หลายประเทศในยุโรปตะวันออกเปลี่ยนระบอบการปกครองจากระบอบสังคมนิยมคอมมิวนิสต์มาเป็นประชาธิปไตย สงครามตัวแทน (โดยเฉพาะสงครามเวียดนาม) ทำให้หลายประเทศในอินโดจีนประสบปัญหาเศรษฐกิจ และเกิดความแตกแยกภายในชาติ เช่น ประเทศเกาหลีที่ยังแยกเป็นเกาหลีเหนือและเกาหลีใต้จนถึงปัจจุบัน และท้ายที่สุด - สหรัฐอเมริกากลายมาเป็นผู้นำเพียงหนึ่งเดียวของโลก แต่ก็ในช่วงเวลาหนึ่งเท่านั้น เพราะเมื่อโลกเข้าสู่ศตวรรษที่ 21 ฐานการผลิตใหญ่ของโลกอย่างประเทศจีนก็ขึ้นมาเป็นคู่แข่งทางเศรษฐกิจคนสำคัญของสหรัฐอเมริกา

จากสงครามที่สู้รบกันด้วยอำนาจ แนวคิด และจิตวิทยา มรดกที่สงครามเย็นทิ้งไว้คือความเสียหายจากสงครามตัวแทน ความแตกแยกทางแนวคิดของผู้คนในแต่ละประเทศชาติ ข้อดีเพียงหนึ่งเดียวคงเป็นการที่เทคโนโลยีต่าง ๆ ที่มนุษย์สรรค์สร้างขึ้นในช่วงนี้ได้กลายมาเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตประจำวันของพวกเราและทำให้มนุษยชาติพัฒนาอย่างก้าวกระโดด แต่นอกจากเหตุการณ์สำคัญที่เราหยิบมาเล่าให้เพื่อน ๆ ฟัง รายละเอียดเล็ก ๆ น้อย ๆ เกี่ยวกับสงครามเย็นยังมีอีกเยอะมาก ถ้าเพื่อน ๆ สนใจก็สามารถดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน StartDee ได้เลย !