ขนาดแบบเท่ากับขนาดจริงจะใช้มาตราส่วนเท่าไร

มาตราส่วน เนื่องจากในความเป็นจริงบ้านมีความใหญ่กว่าหน้ากระดาษมาก เราจึงไม่สามารถเขียนแบบก่อสร้างบ้านในขนาดเท่าจริงได้...

Posted by Siam urbana Development รับสร้างบ้าน รับออกแบบบ้าน พัฒนาอสังหาริมทรัพย์ on Tuesday, May 31, 2016

       26 กุมภาพันธ์ 2565.............
     หลายวันที่ผ่านมานี้ มีแต่ข่าวที่ทำให้พวกเราหดหู่กันน่าดูครับ จะทำเป็นไม่กล่าวถึง ไม่รู้ไม่ชี้ มันก็คงลำบากใจเหมือนกันครับ ไม่ว่าจะเรื่องการจากไปของหลายๆท่าน การเกิดสงครามในต่างประเทศที่ไม่นึกว่าจะเกิดแต่ก็เกิดขึ้นจนได้ ก็คงกล่าวถึงได้เพียงแค่นี้ครับ รายละเอียดก็มีให้เห็นได้ตามข่าวทั่วๆไปแล้วนั่นเองครับ พวกเรายังอยู่ก็ต้องดำเนินชีวิตกันต่อไปครับ ทั้งหลายทั้งปวงก็ขอให้ผู้ที่จากไป ไปอยู่ในที่ที่ดี ผู้ที่สูญเสียก็ขอแสดงความเสียใจด้วยครับ
        ผมเองเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว หมอนัดเรื่องโรคหัวใจขาดเลือดฯ ก็ไปตามนัด แต่ก่อนไปหลายวัน ผมเองก็รู้สึกท้อแท้ หดหู่ใจกับตัวเองเป็นอย่างมาก มากจริงๆครับ หมดแรง หมดกำลัง วันๆได้แต่นั่งดู youtube ทั้งวัน นั่งดูอยู่ดีๆก็หมดแรง ง่วงนอน ก็ลงไปนอน นอนก็ไม่หลับอีก..........ร้อนก็ร้อน ฉีดน้ำรดตัวเป่าพัดลม ก็พอนอนได้ห้านาที สิบนาที มันหมดจริงๆนะครับด้วยโรคที่เป็นอยู่ เป็นมานานมากครับ อาจจะหลายเดือนแล้วด้วยแต่แรกๆผมเองก็ไม่รู้ตัวเหมือนกันครับ คิดอะไรก็ไม่ออก เดินมากก็เหนื่อย นั่งอยู่ดีๆก็เหนื่อย เฮ้อ เป็นไรของมันว่ะเนี่ย ชักรำคาญตัวเองอยู่เหมือนกัน เลยทำให้นึกถึงหลายคนที่ต้องจากไปด้วยเหตุที่ไม่ควรว่า อ้อ เขาคงหมดแล้วจริงๆ หันไปทางไหนก็ไม่เจอประตูทางออกหรือแม้แต่ช่องเล็กๆก็มองไม่เห็น จึงต้องใช้วิธีจากไป ดีกว่าอยู่โดยที่ทำอะไรไม่ได้เลย แม้ว่าจะมีทรัพย์สินเงินทอง เพื่อนพ้อง ญาติพี่น้องมากมาย บางท่านแย่กว่านั้นอีกคือ แม้แต่จะจากไปด้วยตัวเองยังทำไม่ได้เลยครับ
        หลังจากไปหาหมอตามนัดเสร็จแล้วก็ได้ไปฉีดวัคซีนเข็มสองเป็น ไฟเซอร์ กลับมานอนปวดแขนอยู่สามวันก็หายดีแล้ว ก็พยายามปลุกใจตัวเองเป็นระยะเรื่อยมาตั้งแต่ต้นเดือนแล้วครับ ได้มั่ง ไม่ได้มั่งก็พยายามกันไป บางเวลาก็ใจฟูเหมือนกันนะครับ เมื่อคิดอะไรออก ก็เลยเขียนบทความ เรื่องกระดานเขียนแบบขนาด A4 บทความสั้นๆแต่ใช้เวลาตั้งเกือบเดือนกว่าจะเสร็จ ก็ต้องสู้ต่อไปครับ จะล้มเมื่อไหร่ก็ไม่รู้ช่างมัน ตราบที่ยังมีแรงก็อยู่มันไปอย่างนี้ล่ะครับ
        วันนี้มันมั่วๆยังไงก็ไม่รู้นะครับอย่าถือสาผมเลยครับ จริงๆก็มีเรื่องมาบอกต่อจากบทความเรื่องกระดานเขียนแบบฯครับ ก็คือว่า ก่อนที่เราจะลงมือเขียนแบบอะไรก็ตาม เรามีโต๊ะ ,กระดานเขียนแบบ ,เครื่องมือและวัสดุที่ใช้เขียนครบถ้วนแล้ว เรื่องแรกที่ต้องทำความรู้จักให้ชำนาญอย่างเลี่ยงไม่ได้เลยก็คือ เรื่องของอัตราส่วน หรือ scale ซึ่งผมก็เคยทำบทความไปแล้วเมื่อนานมากแล้วครับ จำไม่ได้ว่าเมื่อไหร่ ก็เลยอยากบอกกล่าวกันอีกทีไหนก็มีกระดานเขียนแบบแล้ว อุปกรณืที่ใช้ในเรื่อง อัตราส่วนหรือ scale ผมเรียกมันว่าไม้ สเกลสามเหลี่ยม ก็เรียกตามๆกันมานั่นแหละครับ แต่มันก็มีอีกหลายรูปแบบนอกจากเป็นแท่งสามเหลี่ยมยาวเท่าไม่บรรทัดแล้วยังมีแบบที่เรียกว่า สเกลพัด ก็เป็นไม้บรรทัดพลาสติกบางๆมีตัวเลขบอกมาตราส่วนอยู่หลากหลายมากครับ ทั้งสองอย่างมีทั้งแบบเป็น เมตริก หรือ เมตร มิลลิเมตร เซ็นติเมตร ฯ และแบบเป็น นิ้ว ฟุตฯ

ขนาดแบบเท่ากับขนาดจริงจะใช้มาตราส่วนเท่าไร
ขนาดแบบเท่ากับขนาดจริงจะใช้มาตราส่วนเท่าไร

        สองภาพด้านบนเป็นไม่สเกลสามเหลี่ยมทีผมใช้อยู่ประจำตอนนี้ครับ ก็ครอบคลุมกับงานที่ทำอยู่พอสมควร ก็จากภาพที่สองมองแล้วมันก็เป็นสามเหลี่ยมหรือสามแฉกก็เลยเรียกกันติดปากว่า สเกลสามเหลี่ยม บนตัวมันจะมีอยู่หกอัตราส่วนครับ ที่ผมใช้อยู่อันนี้ก็มี 1:100 , 1:200 ,1:250 ,1:300 ,1:400 ,1:500 แต่ถ้าดูดีๆผมก็มี 1:10 , 1:20 ,1:25 ,1:30 ,1:40 ,1:50 อยู่บนไม้สเกลสามเหลี่ยมตัวนี้ด้วย หรือใหญ่กว่านั้นก็เป็น 1:1000 ,1:2000 ,1:2500 ,1:3000 ,1:4000 ,1:5000 ฯ

ขนาดแบบเท่ากับขนาดจริงจะใช้มาตราส่วนเท่าไร

            ภาพบนเป็นดินสอสองแบบครับ แท่งสีน้ำเงินใส้ดินสอขนาด 2 มิลลิเมตร แท่งสีขาวใส้ดินสอขนาด 0.5 มิลลิเมตร

ขนาดแบบเท่ากับขนาดจริงจะใช้มาตราส่วนเท่าไร

         ขยายดูความแตกต่างครับ ดินสอที่ใส้ขนาด 2 มิลลิเมตร สามารถเหลาได้แหลมกว่า ใส้ดินสอขนาด 0.5 มิลลิเมตรมาก แต่ข้อเสียคือต้องเหลาบ่อยมากๆๆ

ขนาดแบบเท่ากับขนาดจริงจะใช้มาตราส่วนเท่าไร

           ภาพด้านบนเป็นสเกล 1:20 หรือ 1:200 ครับ

ขนาดแบบเท่ากับขนาดจริงจะใช้มาตราส่วนเท่าไร

           ภาพด้านบนเป็นสเกล 1:10 หรือ 1:100 ครับ

ขนาดแบบเท่ากับขนาดจริงจะใช้มาตราส่วนเท่าไร

                       ภาพด้านบนเป็นสเกล 1:250 

ขนาดแบบเท่ากับขนาดจริงจะใช้มาตราส่วนเท่าไร

                          ภาพด้านบนเป็นสเกล 1:400 บนไม่สเกลครับ

ขนาดแบบเท่ากับขนาดจริงจะใช้มาตราส่วนเท่าไร
          ภาพด้านบนเป็นสเกล 1:30 หรือ 1:300 บนไม้สเกลครับ
 ****ตัวเลขบอกขนาดบนกระดาษทั้งหมดมีหน่วยเป็นมิลลิเมตรครับ
       ที่ผมต้องมาเน้นเรื่องอัตราส่วน หรือ scale กันก่อนเขียนแบบก็เพราะว่าถ้าคุณไม่มีความรู้เรื่องนี้ คุณจะเขียนและอ่านแบบไม่ได้เลย คุณจะเห็นแต่เส้นบอกขนาด(ถ้ามี) หรือรูปร่างของแบบเท่านั้น แต่ไม่สามารถวัดออกมาเป็นขนาดหรือระยะได้เลย และปัญหานี้ผมเองก็เจอมากับตัวเองตอนเริ่มทำงานเขียนแบบเรือนี่เอง ทั้งที่ตอนเรียนมัธยมต้นและ ปวช ก็ได้เรียนวิชาเชียนแบบเบื้องต้นมาแล้ว ที่บ้านก็มีพี่ชายเป็นสถาปนิกอีกตั้งคน แต่ก็มาเสียท่าในการทำงานอยู่ดี เมื่อถูกถามว่า เสากระโดงเรือในแบบมีระยะเท่าไร สูงสุดจากระดับน้ำเท่าไร ในแบบมีบอกอัตราส่วนไว้ว่า 1:75......
ตอนนั้นจำได้ว่า ตกใจมาก ไรวะ สเกล 1:75 มือก็ถือไอ้ไม้สามเหลี่ยมอยู่นี่แหละครับ หมุนดูมันจนรอบ ก็ไม่เจอมีแต่ 1:100 ,1:150 ฯ  ไม่มีใครบอก ไม่มีใครสอนเลย แล้วไอ้ 1:75 มันอยู่ไหนฟะ เหงื่อเริ่มมาละครับ พี่คนที่ถามก็เลยส่งไม้สเกลอีกอันมาให้ อ้อ มันอยู่บนอันนี้นี่เอง เออ แล้วมันวัดไงวะเนี่ย ตอนนี้เหงื่อเต็มหลังแล้วครับ หันไป หมุนมาบนแบบอยู่นั่นแล้ว มาทำงานได้ไม่ถึงสามวัน ทำไมต้องเจอแบบนี้ด้วยเนี่ย ได้แต่นึกอยู่ในใจ จนพี่เขารำคาญเลยเอาไปวัดเอง....เฮ้อ...เด็กใหม่ก็โดนแบบนี้ล่ะครับ ยังมีอีกหลายเรื่องที่โดนรับน้อง หลังจากวันนั้นผมก็ยอมกลับบ้านช้ากว่าคนอื่น เหมือนในละครเลยครับ ไปหาแบบเก่าๆมาดู มาวัด ตามสเกลต่างๆที่มีอยู่ในแบบเป็นอย่างนี้อยู่หลายวันจนเข้าใจและเริ่มใช้งานได้ทุกสเกลอย่างไม่มีปัญหาในเวลาไม่นาน

             27 กุมภาพันธ์ 2565

ขนาดแบบเท่ากับขนาดจริงจะใช้มาตราส่วนเท่าไร

         ภาพด้านบนเป็น แบบเรือ BARGE ท้องแบน ใช้บรรทุกของ มีขนาดระบุไว้ในแบบแค่ ยาว กว้าง ลึก กินน้ำลึก เท่านั้นครับถ้าเราอยากรู้ระยะหรือขนาดในส่วนอื่นของเรือลำนี้ เราต้องวัดเองด้วย ไม้สเกลสามเหลี่ยมดังที่ได้กล่าวไว้เมื่อคืนนี้
          
ขนาดแบบเท่ากับขนาดจริงจะใช้มาตราส่วนเท่าไร

          ภาพบน ผมลองเอา สเกล มาวัดดูความยาว ปรากฏว่ามันลงตัวพอดีกับ สเกล 1:200 นั่นคือเอาด้านที่มีสเกล 1:200 มาวัดก็ได้ขนาดเท่ากับ 42 เมตร พอดีครับ

ขนาดแบบเท่ากับขนาดจริงจะใช้มาตราส่วนเท่าไร

         ภาพบนนี้เอาไม้สเกลมาวัด Design Draft หรือความลึกที่ตัวเรือลำนี้จมลงในน้ำเนื่องจากบรรทุกเต็มที่ ที่มาจากการออกแบบของผู้ออกแบบที่สเกล 1:200 ก็ได้ระยะออกมาตรงกับที่ระบุไว้คือ 1.50 เมตร

ขนาดแบบเท่ากับขนาดจริงจะใช้มาตราส่วนเท่าไร

             ภาพบนนี้คือการวัดระยะความสูงสุดของเรือลำนี้จากระดับน้ำ L.W.L. ตามภาพวัด 9 เมตรนิดๆ ดังนั้นเรือลำนี้สามารถรอดสะพานที่สูงได้ไม่ต่ำกว่า 10 เมตรจากระดับน้ำที่เวลานั้นๆ นั่นเองครับ

ขนาดแบบเท่ากับขนาดจริงจะใช้มาตราส่วนเท่าไร

        ภาพบนแสดงการวัดระยะห่างของ เฟรม ตามขวางเรือ โดยส่วนมากจะมีหมายเลขกำกับไว้ เริ่มจาก FR 0 จากตำแหน่งกึ่งกลางหางเสือเรือ หรือ จากท้ายเรือก็ได้ครับ เรือลำนี้ไม่มีหางเสือที่ปรับเลี้ยวไปมาได้ มีแต่ SKEG หรือที่บ้านเราเรียกกันว่า หางปลา ระยะ เฟรม หรือ กงเรือ หรือ frame ของเรือแต่ละลำ มีระยะไม่เท่ากันนะครับ และในแต่ละเฟรมของเรือ ก็มีขนาดไม่เท่ากันด้วยครับ อันนีก็จะเป็นเรื่องของราบละเอียดในการออกแบบแยกไปอีกต่างหากครับ ผลจากการวัดระยะของเฟรมเรือลำนี้ได้เท่ากับ 500 มิลลิเมตร หรือ 0.5 เมตร นั่นเอง ถ้าสังเกตได้จะเห็นว่าผมใช้หน่วยเป็น มิลลิเมตร ในการเขียนแบบมาตั้งแต่เริ่มเขียนบทความแล้ว และในการทำงานจริง เราก็ใช้หน่วยเป็น มิลฯ ในกานเชียนแบบเหมือนกันครับ ข้อสังเกตตัวเลขในแบบว่าใช้หน่วยเป็นอะไร ก็ดูที่หลังตัวเลขบอกระยะหรือขนาดนั้นๆว่า มีตัวหนังสืออะไรกำกับไว้หรือไม่เช่น วัดระยะได้ 300 แล้วไม่มีอะไรมาต่อท้ายก็หมายความว่า ระที่วัดได้เท่ากับ 300 มิลลิเมตรนั่นเอง หรือ ว้ดได้ 125 cm. ก็คือ 125 เซ็นติเมตร หรือวัดได้ 20000 ก็หมายความว่าวัดได้ 20000 มิลลิเมตร หรือ 20 เมตรนั่นเองครับ เรื่องพวกนี้ต้องหัดใช้บ่อยๆครับจะได้ชำนาญ
          มีอีกเรื่องที่ดูเหมือนจะต้องรู้คู่กันไปด้วย จะว่าสำคัญมันก็มีส่วนอยู่บ้างคือ การแปลงหน่วยไปมา ระหว่าง มิลฯ ,เมตร ฯ กับ นิ้ว ,ฟุต ในการทำงานของผที่ผ่านมาต้องใช้มากอยู่เหมือนกันครับ เช่น ในการเขียนแบบโครสร้างเรือ วัสดุที่ใช้เป็นเหล็กรูปพรรณ เช่น เหล็กฉาก เหล็กตัวไอ เหล็กตัวที เหล็กแผ่น ฯลฯ ซึ่งขนาดของเหล็กเหล่านี้ในมาตรฐานการผลิต เหล็กบางอย่างมีขนาดเรียกความกว้าง ยาว เป็นนิ้ว ฟุต เช่น คงเคยได้ยินกันว่าเหล็กฉาก ขนาด สามนิ้ว สี่นิ้ว ท่อขนาดสองนิ้ว -แปดนิ้ว เหล็กแผ่น กว้าง 5 ฟุด ยาว 20 ฟุต หนา 6 มิลลิเมตร ฯลฯ ทีนี้เวลาจะเขียนลงในแบบก็ต้องวัดได้ตามขนาดที่ระบุไว้ในแบบด้วย ก็ต้องแปลงจาก นิ้ว ,ฟุต เป็น มิลลิเมตร
เช่น เหล็กแผ่น ขนาด 5x20 ฟุต หนา 6 มิลฯ เราจะเขียนกำกับในแบบว่า 5'x20'x6mm. แต่พอเขียนขนาดจริง เราต้องแปลง 5'x20' ออกมาเป็นมิลลิเมตรด้วยครับ ก็จะได้ 5x12=60 , 60x25.4=1524 มิลฯ 20x12=240 ,240x25.4=6096 มิลฯ ก็จะได้ 1524x6096x6 mm.
ก็อย่างที่เห็นครับ อาจจะต้องใชการฝึกฝนกันเยอะหน่อย แต่ถ้าไม่มีเรื่องไปยุงกับ นิ้ว ,ฟุต มาทำเป็นเมตรก็ไม่ต้องไปสนใจมันก็ได้ครับ แต่บางครั้งเราไปเห็นแบบหรือ เรือของต่างประเทศมันสวยดี เข้าตา อยากไปหาขนาด นู่น นี่ นั่น ฯลฯ ก็จอาจจะต้องไปเจอกับหน่วยของ อังกฤษ หรือ นิ้ว ,ฟุต นั่นเองครับ
           บทความนี้ก็ขอจบลงเท่านี้ครับ ท่านใดที่สงสัยก็ทัก ถาม มาได้ ตามช่องทางต่างๆที่ลงไว้ครับ พรุ่งนี้หมอ กายภาพโรคหัวใจนัดอีกแล้ว ก็ต้องไปตามนัดครับ ขาดไม่ได้ ถ้ายังไม่อยากไปเร็ว ขอให้ทุกท่านโชคดี มีสุขภาพแข็งแรงครับ

      1 มีนาคม 2565 ก่อนอื่นต้องขออภัยที่ต้องมาเพิ่มเติมเนื้อหาของ อัตราส่วน หรือ SCALE ตรงนี้ครับพึ่งนึกได้ คืออย่างนี้ครับ เรื่อง สเกลเนี่ย หลายๆท่านที่สนใจเรื่อง โมเดลต่างๆอาจจะทราบดีอยู่เเล้วก็ข้ามไปไดเลยครับ ส่วนผู้ที่เข้าวงการนี้ใหม่ๆอาจจะงงๆกับเรื่องนี้ ผมก็ขออธิบายเพิ่มเติมเลยก็แล้วกันครับ
         อัตราส่วน หรือ สเกล หรือ scale มันก็คือการเปรียบเทียบในเรื่องของขนาด ระหว่างวัตถุสองชิ้น เช่น ลูกบอลลูกนี้ ใหญ่กว่าลูกนั้น สองเท่า
หรือ กล่องใบนี้เล็กกว่าใบโน้นตั้งครึ่ง หรือ เรือบรรทุกน้ำมันใหญ่กว่าเรือบรรทุกน้ำตั้งร้อยเท่า ฯลฯ.......
          ในเรื่องของการเขียนแบบต่างๆ "อาจจะ" ไม่มีความเป็นไปได้เลยที่เราจะเขียนแบบงานใดๆก็ตามให้มีขนาดเท่าของจริง เพราะว่า ขนาดงานจริง ถ้าไม่ใหญ่ก็เล็กกว่ากระดาษเขียนแบบ โต๊ะเขียนแบ เครื่องปริ๊นแบบ ฯลฯ แต่ในที่นี้เรามองไปที่เรือก็แล้วกันครับ เอาแค่เรือพายลำเล็กๆก็ยาวมากกว่าสองเมตรแล้ว กว้างก็เกือบเมตร ลึก30-50 เซ็นฯ เอากระดาษมาต่อกันแล้วก็เขียนแบบ หรือเขียนในคอมฯ แล้วปริีนออกมา ? มันก็ไม่สดวกแน่ๆ ดังนั้นจึงจำเป็นต้องเขียนแบบเรือนั้ๆในอัตราส่วนที่เล็กลง ให้พอดีกับอุปกรณ์และเครื่องมือเขียนแบบของเรา แต่ได้ความละเอียดครบถ้วนๆไม่ใช่เขียนหรือปริ๊นแบบในอัตราส่วนที่เล็กจนเกินไปเพื่อประหยัดกระดาษ แต่มองรายละเอียดเล็กๆไม่เห็นหรือไม่ชัดเลยก็ไม่ได้เหมือนกันครับ
          ทีนี้เราก็มาดูว่าเราจะเขียนแบบในอัตราส่วนหรือ สเกลที่เท่าไหร่ถึงจะเหมาะสม ไม่มีกฏตายตัวว่าต้องเขียนแบบในสเกลใดสเกลหนึ่งเท่านั้นครับ คุณสามารถเขียนแบบเรือของคุณได้ทุกสเกล ที่เหมาะสมกับเครื่องมือของคุณครับ แต่ที่สำคัญอย่างที่บอกไป รายละเอียดบนแบบต้องชัดเจน ตัวหนังสือต้องอ่านได้ในสายตาปรกติ ไม่ใช่ต้องใช้แว่นขยายมาอ่านครับ
         มาดูกันว่าอัตราส่วนต่างๆมันเป็นยังไง บนไม้สเกลสามเหลี่ยมที่ผมกล่าวไว้เมื่อวันก่อน มีหน่วยเป็น เมตริก หรือ มิลลิเมตร ,เซ็นติเมตร ,เมตร ,กิโลเมตร ครับ
        scale 1:100 ก็หมายความว่า ขนาดจริง 100 หน่วย ขนาดในแบบที่เขียนเท่ากับ 1 หน่วย หรือขนาดจริง 100 เมตร ขนาดในแบบก็เท่ากับ 1 เมตร ครับ 1 ขีดบนสเกล 1:100 เท่า 10 เซ็นติเมตร ครับ
        scale 1:200 ก็หมายความว่า ขนาดจริง 200 หน่วย ขนาดในแบบที่เขียนเท่ากับ 1 หน่วย หรือขนาดจริง 200 เมตร ขนาดในแบบก็เท่ากับ 1 เมตร ครับ 1 ขีดบนสเกล 1:200 เท่า 20 เซ็นติเมตร ครับ ฯ
         แต่ในการต่อเรือจริงๆ ยังไงก็ต้องมีการเขียนแบบเท่าขนาดจริงอยู่ดีครับ ไม่ว่าเรือลำนั้นจะใหญ่โตมโหราฬขนาดไหนก็ตาม แต่เป็นการเขียนแบบลงบนวัสดุที่จะนำไปต่อเรือจริงๆเลยก็คือเขียนลงบนไม้อัดแล้วตัด ต่อ ให้ได้เท่าขนาดจริงแล้วก็ถ่ายหรือก๊อปลงบนแผ่นเหล็กที่ใช้ต่อเรือเพื่อนำไปตัดเป็นชิ้นงานนำไปประกอบเป็นเรือจนเสร็จครับ แต่นั่นคือวิธีเก่าเมื่อหลายสิบปีมาแล้ว ปัจจุบันนี้ทราบว่าหลายๆอู่ได้ปรับตัวเอา CNC มาใช้กันแล้ว งานขยายแบบ จากแบบที่เราเขียนให้กลายเป็นแบบเท่าของจริงคงจะหายไปในไม่ช้านี้แน่นอนครับ
         เรื่องของอัตราส่วน หรือ สเกล หรือ  scale ก็จะมีประมาณนี้ครับ


สมัครสมาชิก

ยังไม่มีบัญชีเทพ สร้างบัญชีใหม่ ไม่มีค่าใช้จ่าย

หน้าที่เข้าชม23,080 ครั้งผู้ชมทั้งหมด16,237 ครั้ง

มาตราส่วนที่ใช้ในการเขียนแบบมีอะไรบ้าง

มาตราส่วนในงานเขียนแบบ เป็นสัดส่วนของแบบกับชิ้นงานจริง ซึ่งมี 3 ลักษณะ ได้แก่ 1. มาตราส่วนเท่าของจริง ใช้เมื่อชิ้นงานมีขนาดไม่ใหญ่และเล็กมาก และสามารถ เขียนลงในแบบได้พอดี รวมถึงเห็นรายละเอียดได้ชัดเจน Page 4 4 2. มาตราส่วนย่อ ใช้เมื่อต้องการย่อส่วนชิ้นงานที่ใหญ่จนไม่สามารถเขียนลงในแบบได้ 3. มาตราส่วนขยาย ใช้เมื่อ ...

ข้อใดคือมาตราส่วนชนิดย่อแบบ

4.2.1.2 มาตราส่วนย่อ หมายถึง มาตราส่วนที่ขนาดของงานเขียนแบบมีขนาดเล็กกว่าขนาดของ งานจริง ใช้กับงานจริงที่มีขนาดใหญ่ไม่เหมาะที่จะเขียนแบบที่มีขนาดเท่าของจริง จึงเขียนย่อขนาดให้เล็กลง เพื่อให้เหมาะสมกับกระดาษเขียนแบบ และการใช้งาน ตัวอย่างเช่น มาตราส่วน 1:25, 1:50 และ1:100 (แบบ 1 หน่วย: ของจริง 25, 50 และ 100 หน่วยตามลา ...

Scale 1 : 100 เป็นมาตราส่วนประเภทใด

เรื่องมาตราส่วน.
มาตราส่วนปกติ (Full Scale)…… 1 : 1 ,.
มาตราส่วนย่อ (Brief Scale )…… 1 : 2 , 1 : 5 , 1 : 10 , 1 : 100, 1 : 200,.……….. ฯลฯ.
มาตราส่วนขยาย (Extended Scale)………….. 2 : 1 , 5 : 1 , 10 : 1,……… ….ฯลฯ.

มาตราส่วน 1 : 20 มีความหมายตรงกับข้อใด

1. การย่อส่วน ในกรณีที่ขนาดของวัตถุที่เราน ามาเขียนแบบมีขนาดใหญ่มาก เกินกว่าขนาดของกระดาษเขียนแบบ เราจ าเป็นต้องย่อส่วนให้มีขนาดเล็กลงเหมาะกับขนาด ของกระดาษ เช่น มาตราส่วน 1:20 หมายความว่า ขนาดของจริง 20 ส่วน ย่อลงเหลือเพียง 1 ส่วน ในกระดาษเขียนแบบ ตัวอย่าง ชิ้นงานมีความกว้าง 500 มม. และยาว 1,000 มม. ใช้มาตราส่วน 1:10 ...