การแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์มีความสำคัญอย่างไร

การแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์มีความสำคัญอย่างไร

การแก้ปัญหาทางคณิตศาตร์
ความหมายของปัญหาและการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์
ปัญหา หมายถึง สถานการณ์ที่เผชิญอยู่และต้องการค้นหาคำตอบ โดยที่ยังไม่รู้วิธีการหรือขั้นตอนที่จะได้คำตอบของสถานการณ์นั้นในทันที
ปัญหาทางคณิตศาสตร์ หมายถึง สถานการณ์ที่เกี่ยวกับคณิตศาสตร์ซึ่งเผชิญอยู่และต้องการค้นหาคำตอบ โดยที่ยังไม่รู้วิธีการหรือขั้นตอนที่ได้คำตอบของสถานการณ์ นั้นในทันที และการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ หมายถึง กระบวนการในการประยุกต์ความรู้ทางคณิตศาสตร์ ขั้นตอน /กระบวนการแก้ปัญหา ยุทธวิธีแก้ปัญหา และประสบการณ์ที่มีอยู่ไปใช้ในการค้นหาคำตอบของปัญหาทางคณิตศาสตร์
กระบวนการแก้ปัญหา
กระบวนการแก้ปัญหาที่ยอมรับและนำมาใช้กันอย่างแพร่หลาย คือ กรระบวนการแก้ปัญหาตามแนวคิดของโพลยา (Polya) ซึ่งประกอบด้วยขั้นตอนสำคัญ 4 ขั้นตอน ดังนี้
ขั้นที่ 1 ขั้นทำความเข้าใจปัญหา
ขั้นที่ 2 ขั้นวางแผนแก้ปัญหา
ขั้นที่ 3 ขั้นดำเนินการตามแผน
ขั้นที่ 4 ขั้นตรวจสอบผล
ขั้นที่ 1 ขั้นทำความเข้าใจปัญหา
นขั้นตอนนี้ข้องทำความเข้าใจปัญหาและระบุส่วนสำคัญของปัญหา ซึ่งได้แก่ ตัวไม่รู้ค่า ข้อมูลและเงื่อนไข อาจใช้วิธีต่างๆช่วยในการทำความเข้าใจปัญหา เช่นการเขียนรูป การเขียนแผนภูมิ หรือการเขียนสาระปัญหาด้วยถ้อยคำของตนเอง
ขั้นที่ 2 ขั้นวางแผนแก้ปัญหา
ขั้นตอนนี้เป็นการค้นหาความเชื่อมโยงหรือความสัมพันธ์ระหว่างข้อมูลและตัวไม่รู้ค่า แล้วนำความสัมพันธ์นั้นมาผสมผสานกับประสบการณ์ในการแก้ปัญหา เพื่อกำหนดแนวทางหรือแผนในการแก้ปัญหา
ขั้นที่ 3 ขั้นดำเนินการตามแผน
ขั้นตอนนี้ต้องการให้นักเรียนลงมือปฏิบัติตามแนวทางหรือแผนที่วางไว้ โดยเริ่มจากการตรวจสอบความเป็นไปได้ของแผน เพิ่มเติมรายละเอียดต่างๆของแผนให้ชัดเจน แล้วลงมือปฏิบัติจนกระทั่งสามารถหาคำตอบได้
ขั้นที่ 4 ขั้นตรวจสอบผล
ขั้นตอนนี้ต้องการให้มองย้อนกกลับไปยังคำตอบที่ได้มา โดยเริ่มจากการตรวจสอบความถูกต้อง ความสมเหตุสมผลของคำตอบและยุทธวิธีแก้ปัญหาที่ใช้ แล้วพิจารณาว่ามีคำตอบหรือยุทธวิธีแก้ปัญหาอย่างอื่นอีกหรือไม่
วิลสัน (Wilson) และคณะ จึงได้เสนอแนะกรอบแนวคิดเกี่ยวกับกระบวนการแก้ปัญหาที่แสดงความเป็นพลวัตร มีลำดับไม่ตายตัว สามารถวนไปวนมาได้ ดังแผนภูมิ

การแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์มีความสำคัญอย่างไร

กระบวนการแก้ปัญหาที่เป็นพลวัตตามแนวคิดของวิลสันและคณะ
ยุทธวิธีแก้ปัญหา
ยุทธวิธีแก้ปัญหาเป็นเครื่องมือสำคัญที่สามารถนำมาใช้ในการแก้ปัญหาได้ดีที่พบบ่อยในคณิตศาสตร์ มีดังนี้
1. การค้นหาแบบรูป
2. การสร้างตาราง
3. การเขียนภาพหรือแผนภาพ
4. การแจงกรณีที่เป็นไปได้ทั้งหมด
5. การคาดเดาและตรวจสอบ
6. การทำงานแบบย้อนกลับ
7. การเขียนสมการ
8. การเปลี่ยนมุมมอง
9. การแบ่งเป็นปัญหาย่อย
10. การให้เหตุผลทางตรรกศาสตร์
11. การให้เหตุผลทางอ้อม
12. เชื่อมโยงกับปัญหาที่คุ้นเคย
13. การวาดภาพ
14. การสร้างแบบจำลอง
15. ลงมือแก้ปัญหา

การแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์มีความสำคัญอย่างไร

http://192.168.1.18/digitalschool/thai2_4_1/thai5_1/page3.php

การแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์มีความสำคัญอย่างไร

        Gardner. (อ้างถึงใน สิริพัชร์  เจษฎาวิโรจน์, 2546 : 12) ได้เป็นผู้เสนอแนวคิดเกี่ยวกับความสามารถทางสติปัญญาด้านต่างๆ เรียกว่า ทฤษฏีพหุปัญญา โดยสรุปไว้ว่า คนทุกคนมีความสามารถทางสติปัญญาหลายด้านและแตกต่างกันสามารถนำสติปัญญาไปใช้ในการสร้างสรรค์และแก้ปัญหาต่างๆ สติปัญญาในแต่ละด้านเป็นอิสระซึ่งกันและกันและทุกคนสามารถพัฒนาสติปัญญาเหล่านี้ได้ ในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนในห้องเรียนครูผู้สอนควรจัดกิจกรรมที่ส่งเสริมสติปัญญาที่หลากหลายเหล่านี้ด้วยการใช้วิธีสอนหลายวิธีและหลายรูปแบบให้นักเรียนปฏิบัติได้สอดคล้องกับความสามารถทางสติปัญญาด้านต่างๆของตน

แบบฝึกซ่อมเสริมทักษะการอ่านและเขียนภาษาไทย

ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑-๓

  ผู้เขียนได้จัดทำขึ้นเพื่อให้ครูผู้สอนใช้เป็นแนวทางในการจัดกิจกรรมการสอนซ่อมและเสริมนักเรียนที่มีปัญหาในการเรียนภาษาไทยด้านการอ่านและเขียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑-๓   โดยได้ทำตั้งแต่ปี ๒๕๔๘ เป็นต้นมา  ขณะนี้ได้พัฒนาเรื่องภาพและเนื้อห จึงเผยแพร่บนเว็บไซต์ของสพท.เชียงใหม่ เขต ๑ และเว็บไซต์ของผู้เขียนเอง ที่นำมาบอกกล่าวแก่คุณครูในบันทึกนี้ เนื่องจากมีคุณครูหลายๆท่านทั่วไทยโทรศัพท์มาสอบถามและอยากเห็นตัวอย่าง/แนวทางในการนำไปใช้  จึงขออนุญาตนำมาฝากค่ะ..

 เนื้อหาที่ใช้ในการสร้างกิจกรรมในแบบฝึกได้นำเนื้อหาสาระต่างๆในบทเรียนในเรื่องความรู้หลักเกณฑ์ทางภาษาที่เกี่ยวกับรูปและเสียงพยัญชนะ สระ วรรณยุกต์ การแจกลูกสะกดคำ การผันอักษร และ คำควบกล้ำ ซึ่งนักเรียนมักจะประสบปัญหาในการอ่านและเขียน   เนื่องจากทั้งการอ่านและการเขียนเป็นกระบวนการที่ยุ่งยากซับซ้อนสำหรับเด็กที่หัดอ่านใหม่ๆ   ถ้าเด็กยังไม่มีความพร้อม ครูจะสอนอย่างไรนักเรียนก็อ่านเขียนไม่ได้ เด็กที่มีความเจริญเติบโตด้านร่างกาย ได้แก่ ประสาทหู ประสาทตา มีความเจริญถึงขั้นที่จะฟังหรือเห็นความแตกต่างระหว่างรูปและเสียงพยัญชนะ สระ วรรณยุกต์ ในด้านสมองมีความเข้าใจพอที่จะทำตามคำสั่งง่าย ๆ ได้ เข้าใจเรื่องที่ครูเล่าหรืออ่านให้ฟัง มีความคิดรวบยอดกับสิ่งต่าง ๆ โดยการที่จะมีความคิดรวบยอดเกี่ยวกับสิ่งต่าง ๆ ได้นั้นก็ต้องอาศัยประสบการณ์ที่กว้างขวางทางสังคมและวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของตัวเด็กเองจะส่งผลให้เด็กมีความพร้อมที่จะอ่านและเขียนได้อย่างมีประสิทธิภาพ

นอกจากความพร้อมทางด้านต่าง ๆ แล้ว การเรียนรู้ภาษาไทยให้ได้ผลยังจะต้องได้รับการฝึกฝนให้คล่องแคล่ว แม่นยำ จึงจะนำไปใช้ได้ เช่น การฝึก การอ่านคำให้จำรูปคำได้แล้วฝึกแจกลูกสะกดคำ ให้นักเรียนนำหลักเกณฑ์ไปอ่านและเขียนคำอื่น ๆ เป็นต้น ดังนั้นพัฒนาการทางภาษาของเด็กจึงต้องคำนึงถึงความพร้อมและการฝึกฝนเป็นสำคัญ    

วัตถุประสงค์ของแบบฝึกฯ (๑)ให้ครูผู้สอนใช้เป็นสื่อหรือเครื่องมือในการช่วยเหลือนักเรียนที่มีข้อบกพร่อง ด้านการอ่านและเขียนที่สืบเนื่องมาจากขาดความพร้อมและทักษะพื้นฐานที่จำเป็นต่อการเรียนรู้แต่ละหน่วยการเรียนรู้/บทเรียน  (๒)ให้นักเรียนได้รับการฝึกฝนที่ถูกวิธีตามลำดับขั้นตอนของการฝึกทักษะ คือ ให้เห็นตัวอย่างแล้วทำตามอย่างได้ แล้วจึงฝึกให้ทำเองโดยไม่ต้องดูตัวอย่างและฝึกฝนบ่อยๆ จนคล่องแคล่ว สามารถนำไปใช้ได้  (๓)เพื่อช่วยเหลือนักเรียนที่มีปัญหาการเรียนรู้เฉพาะเรื่อง เช่น การอ่านและเขียนคำตามมาตราตัวสะกดต่าง ๆ การผันตัวอักษร การแจกลูกสะกดคำ การออกเสียงคำควบกล้ำ เป็นต้น

ลักษณะกิจกรรมในแบบฝึก

๑.ได้จัดเป็นแบบฝึกหัดแต่ละเรื่องตามเนื้อหา โดยแต่ละแบบฝึกหัดจะมี กิจกรรมประมาณ ๔-๖ กิจกรรม ซึ่งเนื้อหาได้จัดเรียงลำดับตามสาระการเรียนรู้ที่นำเสนอในสาระการเรียนรู้ กลุ่มสาระภาษาไทย ของกระทรวงศึกษาธิการ ซึ่งสถานศึกษาแต่ละแห่งสามารถปรับใช้ได้ตามหลักสูตรกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทยที่สถานศึกษาจัดขึ้นตามความเหมาะสม

๒.ทุกแบบฝึกหัดได้จัดเรียงลำดับเนื้อหาจากง่ายไปหายาก การฝึกแต่ละ กิจกรรมมีรูปภาพและเพลงประกอบทุกกิจกรรม ทั้งนี้เพื่อกระตุ้นและเร้าให้เด็กมีความสนใจที่จะทำแบบฝึกหัดและให้ได้รับความสนุกสนานเพลิดเพลิน

๓.ทุกแบบฝึกหัดจะประกอบด้วยกิจกรรมหลัก ๆ ดังต่อไปนี้คือ

  • การร้องเพลงเพื่อนำเข้าสู่บทเรียนให้น่าสนใจและสนุกสนานโดยเป็นเพลงที่เกี่ยวกับความรู้หลักเกณฑ์ทางภาษาที่เป็นเนื้อหา / สาระของแต่ละเรื่อง
  • การเขียนตามรอยและการขีดเส้นใต้คำ เพื่อให้จำรูปคำสระ และชื่อของพยัญชนะได้
  • การทายพยัญชนะจากภาพ เพื่อให้จำรูปและชื่อพยัญชนะได้
  • การโยงเส้นคำและข้อความกับรูปภาพ เพื่อให้รู้ความหมายของคำและข้อความ
  • การประสมคำจากภาพ เพื่อให้จำรูปพยัญชนะได้
  • การแยกส่วนประกอบของคำ เพื่อให้รู้จักหลักเกณฑ์ของการประสมคำ
  • การเติมคำหรือข้อความในช่องว่าง เพื่อให้รู้จักรูปและความหมายของคำและข้อความ
  • การจับคู่คำและความหมาย เพื่อให้รู้จักรูปคำและความหมาย
  • การเขียนคำให้ตรงกับภาพ เพื่อให้จำรูปคำและรู้จักสะกดคำ
  • การทายปริศนาคำทาย เพื่อให้รู้จักคิดด้วยความสนุกสนานเร้าใจ
  • การเรียงคำเป็นประโยค เพื่อให้รู้จักใช้คำในประโยค
  • การแต่งประโยคจากภาพ

วิธีใช้แบบฝึกในการสอนซ่อมเสริมทักษะการอ่านและเขียน ภาษาไทย

๑. ใช้สอนเป็นรายบุคคล

เป็นการสอนแบบตัวต่อตัว ตามข้อบกพร่องของแต่ละคน ควรใช้กับห้องเรียนที่มีจำนวนนักเรียนที่มี     ข้อบกพร่องในการเรียนเรื่องนั้น ๆ น้อยคน แต่มีลักษณะของปัญหา ต่างกัน ความสำเร็จของการสอน/จัดกิจกรรมวิธีนี้ขึ้นอยู่กับบุคลิกภาพ เทคนิคการถ่ายทอดความรู้ การสร้างแรงจูงใจและความเอาใจใส่ใกล้ชิดของครู

๒. ใช้สอนเป็นกลุ่มย่อย

ในบางเนื้อหานักเรียนจะมีปัญหาลักษณะเดียวกันหรือเรื่องเดียวกัน ควรให้เรียนรวมกันเป็นกลุ่มย่อยๆ ตามปัญหา ปฏิบัติกิจกรรมร่วมกันบ้าง หรือแยกฝึกเป็นรายบุคคลบ้าง ครูผู้สอนสามารถสลับการจัดกิจกรรมของแต่ละกลุ่มได้ตามความเหมาะสม

๓. ให้นักเรียนสอนกันเอง

ครูผู้สอนสามารถใช้แบบฝึกนี้โดยให้นักเรียนเก่งสอนนักเรียนอ่อน ลักษณะเพื่อนช่วยเพื่อน โดยอาจสอนตัวต่อตัวหรือเป็นกลุ่มย่อย ทั้งนี้ต้องอยู่ภายใต้การดูแลของครู ครูจะต้องทำความเข้าใจให้นักเรียนที่เป็นผู้สอนให้เข้าใจวัตถุประสงค์ของการสอน ขั้นตอนการสอน การใช้สื่อ และการจัดกิจกรรมที่ให้นักเรียนสอนกันเอง นักเรียนจะสื่อความหมายเข้าใจกันได้ง่ายกว่าที่ครูสื่อกับนักเรียนเพราะเป็นเด็กด้วยกันนอกจากจะทำให้นักเรียนที่เรียนอ่อนเรียนดีขึ้นแล้ว นักเรียนที่เป็นผู้สอนยังได้ทบทวนความรู้และทักษะของตนเองให้ดีขึ้นไปด้วย ข้อควรระวังคือ พฤติกรรมการสอนของนักเรียนเก่งอาจสร้างปมด้อยให้นักเรียนอ่อน ครูจึงควรหาวิธีแนะนำให้เข้าใจ ใช้คำพูดไม่กระทบกระเทือนจิตใจ และให้กำลังใจเพื่อนผู้เรียนอ่อนอยู่เสมอ

รายละเอียดเนื้อหา เล่ม ๑    (๑๕๖ หน้า)

แบบฝึกหัดที่ ๑ คำที่ใช้สระอาและพยัญชนะ ต ถ ฟ ม ร

แบบฝึกหัดที่ ๒ คำที่ใช้สระอูและพยัญชนะ ก ด ข ห น ว ด

แบบฝึกหัดที่ ๓ คำที่ใช้สระอี สระใอ(ไม้ม้วน) และพยัญชนะ ช บ อ

แบบฝึกหัดที่ ๔ คำที่ใช้สระโอ สระไอ(ไม้มลาย)และพยัญชนะ จ ป พ

แบบฝึกหัดที่ ๕ คำที่ใช้สระอุ สระอำ

แบบฝึกหัดที่ ๖ คำที่ใช้สระอะ

แบบฝึกหัดที่ ๗ คำที่ใช้สระอิ สระเอ

แบบฝึกหัดที่ ๘ คำที่ใช้สระอัว สระออ

แบบฝึกหัดที่ ๙ คำที่ใช้สระเอา สระเออ

แบบฝึกหัดที่ ๑๐ คำที่ใช้สระอือ

แบบฝึกหัดที่ ๑๑ คำที่ใช้สระแอะ และผันวรรณยุกต์อักษรสูง

แบบฝึกหัดที่ ๑๒ คำที่ประสมด้วยสระเออะ

แบบฝึกหัดที่ ๑๓ คำที่ประสมด้วยสระเอือ สระเอะ

แบบฝึกหัดที่ ๑๔ คำที่ประสมด้วยสระเอีย สระโอะ

แบบฝึกหัดที่ ๑๕ คำที่ประสมด้วยสระเอาะ

รายละเอียดเนื้อหา เล่ม ๒ (๑๐๐ หน้า)

แบบฝึกหัดที่ ๑ อ่าน เขียนคำที่มี ง สะกด

แบบฝึกหัดที่ ๒ อ่าน เขียนคำที่มี ย สะกด

แบบฝึกหัดที่ ๓ อ่าน เขียนคำที่มี ว สะกด

แบบฝึกหัดที่ ๔ อ่าน เขียนคำที่มี ก สะกด

แบบฝึกหัดที่ ๕ อ่าน เขียนคำที่สะกดด้วยแม่กด

แบบฝึกหัดที่ ๖ อ่าน เขียนคำที่สะกดด้วยแม่กบ

แบบฝึกหัดที่ ๗ อ่าน เขียนคำที่สระเปลี่ยนรูปและลดรูป

แบบฝึกหัดที่ ๘ ทบทวนการใช้พยัญชนะ สระ วรรณยุกต์และตัวสะกด

คู่มือครูแนวการจัดกิจกรรมฝึกทักษะการฟัง พูด อ่าน และเขียน

เครื่องมือตรวจสอบคุณภาพนักเรียน กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย

อีกนิดค่ะ..ในการใช้แบบฝึกซ่อมเสริมฯ

ระหว่างสอน/จัดกิจกรรม

๑.ควรให้นักเรียนเรียนรู้ด้วยการฝึกปฏิบัติและคิดค้นหาคำตอบด้วยตนเอง ครูเป็นผู้คอยกระตุ้นให้คิดและชี้แนะวิธีปฏิบัติให้เหมาะสมกับความสามารถของนักเรียนแต่ละคนเท่านั้น เพราะการใช้แบบฝึกที่นักเรียนค้นหาคำตอบได้ด้วยตนเองเป็นวิธีการเรียนรู้ที่สอดคล้องตามกำหนดในพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ผู้เรียนได้เรียนเต็มตามศักยภาพและความสามารถของตนเอง 

 ๒.ครูผู้สอนควรให้นักเรียนเห็นความสำคัญของการเรียนซ่อมเสริม โดยไม่รู้สึกว่าเกิดปมด้อย ควรมีการทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียน เพื่อทราบความก้าวหน้าของนักเรียนเป็นรายบุคคล ควรบันทึกผลการทดสอบไว้ในสมุดบันทึกการสอนซ่อมเสริม แสดงความก้าวหน้าทางการเรียนและข้อที่ควรปรับปรุงแก้ไขอย่างละเอียด

๓.ครูผู้สอนควรนำหลักจิตวิทยาการเรียนรู้มาประยุกต์ใช้ให้เหมาะสมกับ นักเรียน เช่น การเสริมแรง ให้กำลังใจ ชมเชย กระตุ้นยั่วยุ ชี้แนะให้นักเรียนเกิดความรู้สึกประสบความสำเร็จมากกว่าความล้มเหลว พร้อมทั้งระลึกเสมอว่านักเรียนต้องการความช่วยเหลือดูแลอย่างใกล้ชิด นักเรียนบางคนควรแทรกทักษะพื้นฐานที่จะนำไปสู่การเรียนรู้ เช่น การเล่นเกม ให้อวัยวะเคลื่อนไหว การฝึกกวาดสายตา เช่น ฝึกสมาธิก่อนอ่านหนังสือ เป็นต้น  

หลังสอน/จัดกิจกรรม

ควรให้นักเรียนทราบความก้าวหน้าของตนเองว่าเป็นไปตามจุดประสงค์ที่กำหนดไว้หรือไม่ โดยไม่นำไปเปรียบเทียบกับคนอื่น บันทึกผลการเรียนการสอนซ่อมเสริม เพื่อประโยชน์ในการปรับปรุงพัฒนาต่อไป และควรรายงานให้ ผู้เกี่ยวข้อง เช่น ผู้ปกครองและผู้บริหารสถานศึกษาทราบ เพื่อการร่วมมือกันแก้ไขต่อไป    

ทำไมต้องแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์

เบลล์ (Bell. 1978 : 310 - 311) กล่าวว่า การแก้ปัญหามีความสำคัญและเหมาะที่จะใช้ ในการเรียนการสอนคณิตศาสตร์ ทั้งนี้เพราะการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ช่วยให้นักเรียนพัฒนา ศักยภาพในการวิเคราะห์และเป็นเครื่องช่วยให้ประยุกต์ศักยภาพเหล่านั้นไปสู่สถานการณ์ใหม่

การแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์หมายถึงอะไร

การแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ หมายถึง กระบวนการในการประยุกต์ความรู้ทางคณิตศาสตร์ ขั้นตอน/กระบวนการแก้ปัญหา ยุทธวิธีแก้ปัญหาและประสบการณ์ที่มีอยู่ไปใช้ในการหาคำตอบของปัญหาทางคณิตศาสตร์ รูปแบบกระบวนการแก้ปัญหาตามแนวคิดของโพลยา (Polya)

คณิตศาสตร์มีความสําคัญอย่างไร

คณิตศาสตร์มีบทบาทสำคัญยิ่งต่อการพัฒนาความคิดมนุษย์ ทำให้มนุษย์มีความคิด สร้างสรรค์คิดอย่างมีเหตุผล เป็นระบบ มีแบบแผน สามารถวิเคราะห์ปัญหาหรือสถานการณ์ได้อย่าง ถี่ถ้วน รอบคอบช่วยให้คาดการณ์วางแผน ตัดสินใจ แก้ปัญหา และนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้อย่าง ถูกต้องเหมาะสม นอกจากนี้คณิตศาสตร์ยังเป็นเครื่องมือในการศึกษาทางด้าน ...

การมีทักษะการแก้ปัญหามีความสำคัญอย่างไร

ทักษะการแก้ปัญหา เป็นหนึ่งในทักษะส่วนบุคคลที่มีความสำคัญ เป็นเครื่องมือที่จะช่วยให้สามารถทำความเข้าใจปัญหา คิดวิเคราะห์ และนำไปสู่แนวทางแก้ไขปัญหาเหล่านั้น ทักษะนี้มีความจำเป็นต่อทุกช่วงวัยของชีวิต ตั้งแต่วัยเด็กจนถึงวัยที่เติบโตเป็นผู้ใหญ่