การเกษตรแบบผสมผสาน มีกี่ประการ อะไรบ้าง

ปัจจุบัน ระบบเกษตรผสมผสาน กำลังอยู่ในความสนใจของเกษตรกร เพราะถือเป็นก้าวแรกที่นำไปสู่การทำเกษตรแบบยั่งยืน สามารถเพิ่มกิจกรรมการผลิตและมูลค่าผลผลิตได้จากพื้นที่การผลิตเดิม อีกทั้งยังเป็นการเพิ่มรายได้ให้แก่ครัวเรือนเกษตรกรรมอย่างยั่งยืนอีกด้วย แต่ทั้งนี้หลายท่านอาจจะยังไม่ทราบถึงความแตกต่างระหว่าง "ระบบเกษตรผสมผสาน" กับ "ระบบไร่นาสวนผสม" ที่เราคุ้นเคย

 

อย่างไรก็ตาม ระบบไร่นาสวนผสมสามารถพัฒนาไปสู่การดำเนินการในลักษณะของระบบเกษตรผสมผสานได้ไม่ยาก โดยการเพิ่มความรู้ความสามารถของเกษตรกรผู้ดำเนินการ และสามารถต่อยอดไปสู่การทำเกษตรแบบยั่งยืนได้ในที่สุด

 

การเกษตรแบบผสมผสาน มีกี่ประการ อะไรบ้าง

o ระบบไร่นาสวนผสม (Mixed/Diversified/Polyculture Farming System) เป็นระบบการเกษตรที่มีกิจกรรมการผลิตหลาย ๆ อย่างเพื่อตอบสนองการบริโภค หรือเพื่อลดความเสี่ยงจากราคา ผลิตผลที่มีความผันผวนเท่านั้น โดยมิได้คำนึงว่ากิจกรรมการผลิตเหล่านั้นจะต้องมีผสมผสานเกื้อกูลกันเพื่อลดต้นทุนการผลิต และคำนึงถึงสภาพแวดล้อม เช่นเดียวกับกับการเกษตรผสมผสาน การทำไร่นาสวนผสมอาจมีกิจกรรมการผลิตที่เกื้อกูลกันบ้าง แต่มิใช่เกิดจาก “ความรู้ ความเข้าใจ”

การเกษตรแบบผสมผสาน มีกี่ประการ อะไรบ้าง

o ระบบเกษตรผสมผสาน (Integrated Farming System) เป็นระบบการเกษตรที่ทำการเพาะปลูกพืชหรือเลี้ยงสัตว์ต่าง ๆ ชนิดอยู่ในพื้นที่เดียวกัน ภายใต้การเกื้อกูลประโยชน์ต่อกันอย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด โดยอาศัยหลักการอยู่รวมกันระหว่างพืช สัตว์ และสิ่งแวดล้อม ในรูปความสัมพันธ์ระหว่างพืชกับพืช พืชกับสัตว์ หรือสัตว์กับสัตว์ ก็ได้

การเกษตรแบบผสมผสาน มีกี่ประการ อะไรบ้าง

  • ระบบเกษตรผสมผสานจะประสบผลสำเร็จได้จะต้องมีการวางรูปแบบ และดำเนินการโดยให้ความสำคัญต่อกิจกรรมแต่ละชนิดอย่างเหมาะสมกับสภาพแวดล้อมทางกายภาพ เศรษฐกิจ สังคม มีการใช้แรงงาน เงินทุน ที่ดิน ปัจจัยการผลิตและทรัพยากร
    ธรรมชาติ อย่างมีประสิทธิภาพ ตลอดจนรู้จักนําวัสดุเหลือใช้จากการผลิตชนิดหนึ่งมาหมุนเวียนใช้ประโยชน์กับการผลิตอื่น ๆ แบบครบวงจร เช่น การเลี้ยงไก่หรือบนบ่อปลา การเลี้ยงเป็ดหรือปูนาในนาข้าว การเลี้ยงแมลงเพื่อช่วยผสมเกสรในสวนไม้ผล เป็นต้น
  • อย่างไรก็ตาม ระบบไร่นาสวนผสมสามารถพัฒนาไปสู่การดำเนินการในลักษณะของระบบเกษตรผสมผสานได้ไม่ยาก โดยการเพิ่มความรู้ความสามารถของเกษตรกรผู้ดำเนินการ

o ความสำเร็จในการทำการเกษตรแบบผสมผสานอย่างยั่งยืน ประกอบไปด้วย 3 องค์ประกอบ

ได้แก่

  • องค์ประกอบทางเศรษฐกิจ แรงจูงใจสำคัญที่ทำให้เกษตรกรตัดสินใจทำการเกษตรแบบผสมผสาน ก็เพื่อแก้ปัญหาเศรษฐกิจในครัวเรือนอันมีที่มาจากการทำเกษตรกรรมเชิงเดี่ยว เช่น การขาดรายได้ที่มั่นคงยั่งยืน รายรับให้สัมพันธ์กับรายจ่าย มีรายได้ไม่ตลอดทั้งปี เป็นต้น
  • องค์ประกอบทางลักษณะจิตใจและพฤติกรรมของเกษตรกร เกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการเกษตรผสมผสานควรเชื่ออำนาจในตนเอง ว่าตนสามารถทำได้ ทั้งอาศัยความรู้และทักษะดั้งเดิม อีกทั้งด้วยการใฝ่หาความรู้ที่เกิดจากความสามารถในการปรับตัวให้เข้ากับการทำเกษตรผสมผสาน และพัฒนาตนเองเพื่อความสำเร็จในอนาคต รวมถึงต้องควบคุมตนเองให้อดทนต่อสิ่งยั่วยุจากการสังคมทุนนิยม ไม่มีความคิดที่จะละทิ้งอาชีพเกษตรกร และการมีแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์สูง ถึงแม้จะต้องเผชิญกับอุปสรรคทางเศรษฐกิจต่างๆ นานา อาทิ ค่าครองชีพที่สูงขึ้น ค่าใช้จ่ายที่มากขึ้น แต่เกษตรกรเหล่านี้กลับมีความมุ่งมั่นที่จะบรรลุเป้าหมายและความสำเร็จในการทำการเกษตรผสมผสานต่อไป
  • การสนับสนุนจากภาครัฐ เช่น จัดให้มีเจ้าหน้าที่ส่งเสริมหรือพัฒนากรท้องถิ่น ที่มีความรู้ความเข้าใจในทักษะการทำเกษตรผสมผสาน ที่พร้อมจะให้คำแนะนำที่ถูกต้องแก่เกษตรกได้เป็นอย่างดี สามารถวิเคราะห์พื้นที่เพื่อจัดกิจกรรมที่เหมาะสม คัดเลือกเกษตรกรที่มีความตั้งใจและพัฒนาไปสู่เกษตรกรต้นแบบ รวมทั้งส่งเสริมกิจกรรมและองค์ความรู้อย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้เกษตรกรต้นแบบต้องสามารถถ่ายทอดประสบการณ์ ความรู้ และเทตนิคการทำเกษตรผสมผสานให้แก่บุคคลอื่นในชุมชน เพราะการเห็นแบบอย่างความสำเร็จจะเป็นแรงผลักดันและสร้างแรงจูงใจที่ดี เมื่อมีความอยากทำ อยากมี อยากเป็น เช่นนั้นแล้วการปฏิบัติตามแนวทางเกษตรกรผสมผสานอย่างยั่งยืนก็จะเกิดผลสำเร็จตามมา
  • รูปแบบของระบบเกษตรผสมผสาน (สำนักงานเกษตรจังหวัดนครศรีธรรมราช, 2556)
  •  แบ่งตามกิจกรรมที่ดำเนินการ
    •  ระบบเกษตรผสมผสานที่ยึดกิจกรรมพืชเป็นหลัก
    • ระบบเกษตรผสมผสานที่ยึดกิจกรรมเลี้ยงสัตวเป็นหลัก
    • ระบบเกษตรผสมผสานที่ยึดกิจกรรมประมงเป็นหลัก
    • ระบบเกษตรผสมผสานแบบไร่นาป่าผสมหรือวนเกษตร
  • แบ่งตามวิธีการดำเนินการ
    • ระบบเกษตรผสมผสานที่มีการใช้สารเคมี
    • ระบบการเกษตรอินทรีย์หลีกเลี่ยงการใช้สารเคมีทุกชนิด
  • แบ่งตามประเภทของพืชสำคัญเป็นหลัก
    • ระบบเกษตรผสมผสานที่มีข้าวเป็นพืชหลัก
    • ระบบเกษตรผสมผสานที่มีพืชไร่เป็นพืชหลัก
    • ระบบเกษตรผสมผสานที่มีไม้ผลไม้ยืนต้นเป็นพืชหลัก
  • แบ่งตามลักษณะของสภาพพื้นที่เป็นตัวกำหนด
    • ระบบเกษตรผสมผสานในพื้นที่สูง
    • ระบบเกษตรผสมผสานในพื้นที่ราบเชิงเขา
    • ระบบเกษตรผสมผสานในพื้นที่ดอน
    • ระบบเกษตรผสมผสานในพื้นที่ราบลุ่ม

 

นโยบายทางการเกษตรและเกษตรยั่งยืนของประเทศไทย ณ ปัจจุบัน

 ยุทธศาสตร์เกษตรและสหกรณ์ ระยะ 20 ปี (พ.ศ. 2560 - 2579)

ยุทธศาสตร์ที่ 4 บริหารจัดการทรัพยากรการเกษตรและสิ่งแวดล้อมอย่างสมดุลและยั่งยืน

1) บริหารจัดการทรัพยากรการเกษตรอย่างยั่งยืนที่สอดคล้องกับ SDGs

    (Sustainable Development Goals)

  • สามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับ นโยบายทางการเกษตรและเกษตรยั่งยืนในประเทศไทย จาก งานวิจัยเรื่อง องค์ประกอบความสำเร็จการทำเกษตรแบบผสมผสานอย่างยั่งยืน ในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน โดย พลตรี นำพล คงพันธ์ (หน้า 7-14)

เมื่อกล่าวถึง “เกษตรยั่งยืน” มีผู้ให้ความหมายไว้จำนวนมาก จึงขอนำเฉพาะองค์ประกอบและนัย จาก องค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ ซึ่งกล่าวไว้อย่างน่าสนใจ ว่า

การเกษตรยั่งยืน คือ หลักการว่าด้วยการจัดการทรัพยากรเพื่อการผลิตทางการเกษตร อันประสบความสำเร็จ เพื่อสนองความจำเป็นของมนุษย์ที่เปลี่ยนแปลง โดยสามารถรักษา หรือบำรุงคุณภาพของสิ่งแวดล้อมและอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ (FAO, 1989)

องค์ประกอบที่จำเป็นของการเป็นเกษตรยั่งยืนแท้จริง ต้องประกอบด้วย องค์ประกอบ 5 ประการ (FAO, 2008) ได้แก่

  • การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ (Resources-conserving)
  • ไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม (Environmentally non-degrading)
  • ยอมรับได้ทางเทคนิค (Technically appropriate)
  • ยอมรับได้ทางเศรษฐกิจ (Economically acceptable)
  • ยอมรับได้ทางสังคม (Socially acceptable)

นอกจากนี้ ในทางปฏิบัติเกษตรยั่งยืนต้องใช้ปัจจัยการผลิตจากภายนอกให้น้อยที่สุด และให้ใช้ทรัพยากรธรรมชาติที่มีอยู่ในท้องถิ่น หากจำเป็นต้องซื้อปัจจัยการผลิตก็ต้องใช้อย่างมีประสิทธิภาพ (Lee, 2005)

*สามารถหาความหมายและคำจำกัดความของการเกษตรยั่งยืน เพิ่มเติม ได้ที่ เกษตรยั่งยืน: ความหมาย รูปแบบ และการพัฒนา (หน้า 6-9)