การนับและการเทียบศักราช มี ประโยชน์ อย่างไร


�ѡ�Ҫ��С����º�ѡ�Ҫ
�ѡ�Ҫ ���¶֧ �շ���˹�����˵ء�ó���˵ء�ó�˹�觫���Ӥѭ�ҡ ����Ѻ�����֡��� �ѡ�Ҫ����˹���� �� �ط��ѡ�Ҫ �ѵ���Թ����ѡ�Ҫ (�ѵ���Թ���ȡ) ����ѡ�Ҫ ��Ф��ʵ��ѡ�Ҫ �ѡ�Ҫ����ҹ��������鹹Ѻᵡ��ҧ�ѹ �֧��ͧ�ա����º�ѡ�Ҫ
�ط��ѡ�Ҫ�ҡ���Ҥ��ʵ��ѡ�Ҫ 543 ��
����ͨ�����¹ �.�. �� �.�. ������ 543 �ǡ ��Ҩ�����¹ �.�. �� �.�. ������ 543 ź
�ط��ѡ�Ҫ�ҡ�����ѵ���Թ���ȡ 2324 ��
����ͨ�����¹ �.�. �� �.�. ������ 2324 �ǡ ��Ҩ�����¹ �.�. �� �.�. ������ 2324 ź
�ط��ѡ�Ҫ�ҡ���Ҩ���ѡ�Ҫ 1181 ��
����ͨ�����¹ �.�.�� �.�. ������1181 �ǡ ��Ҩ�����¹ �.�. �� �.�. ������ 1181 ź



การนับและการเทียบศักราช มี ประโยชน์ อย่างไร

ศักราช หมายถึง การกำหนดเวลาขึ้นมาโดยนับเป็นปี ซึ่งเริ่มนับปีแรกจากเหตุการณ์สำคัญ โดยเฉพาะเหตุการณ์สำคัญทางศาสนาและการขึ้นครองราชย์ของพระมหากษัตริย์ การนับศักราชจะช่วยให้เรารู้ว่าเหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์ที่ผ่านมาเกิดในช่วงเวลาใด 

นอกจากปี พ.ศ. และปี ค.ศ. ที่เราคุ้นเคยกันแล้ว ยังมีวิธีการนับศักราชอีกหลายรูปแบบตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน แถมแต่ละประเทศก็ใช้ไม่เหมือนกันอีกต่างหาก วันนี้เราเลยจะพาเพื่อน ๆ ไปทำความรู้จักกับวิธีนับศักราชรูปแบบต่าง ๆ รวมถึงการใช้ทศวรรษ ศตวรรษ และสหัสวรรษ ว่าเริ่มนับจากตอนไหนและแตกต่างกันยังไงบ้าง

ส่วนใครที่อยากเรียนเรื่องนี้ในรูปแบบแอนิเมชัน คลิกดาวน์โหลดแอป StartDee เลย

การนับและการเทียบศักราช มี ประโยชน์ อย่างไร

การนับศักราชที่ใช้ในประวัติศาสตร์ไทย

  • พุทธศักราช (พ.ศ.) 

เป็นศักราชที่เราคุ้นเคยมากที่สุด ประเทศไทยเริ่มนับ พ.ศ. 1 หลังจากพระพุทธเจ้าเสด็จดับขันธปรินิพพานไปแล้ว 1 ปี แต่มีหลายประเทศเริ่มนับตั้งแต่พระพุทธเจ้าเสด็จดับขันธปรินิพพาน เช่น ประเทศเมียนมา ส่งผลให้ปี พ.ศ. ในไทยกับเมียนมาไม่ตรงกัน เช่น ถ้าไทยตรงกับปี พ.ศ. 2563 เมียนมาจะเป็นปี พ.ศ. 2564 เพราะนับเร็วกว่าไทย 1 ปี  การนับศักราชแบบพุทธศักราชในไทยเริ่มต้นครั้งแรกในสมัยอยุธยา และใช้อย่างเป็นทางการในสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัวจนถึงปัจจุบัน

  • มหาศักราช (ม.ศ.) 

สำหรับมหาศักราชนี้มีที่มาจากพระเจ้ากนิษกะแห่งราชวงศ์กุษาณะในประเทศอินเดีย ก่อนจะเผยแพร่มายังประเทศไทย ซึ่งส่วนใหญ่จะพบในศิลาจารึกยุคก่อนสุโขทัยและสมัยสุโขทัย มหาศักราชที่ 1 ตรงกับ พ.ศ. 622

  • จุลศักราช (จ.ศ.) 

จุลศักราชเริ่มนับครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. 1182 ซึ่งที่มาของจุลศักราชนั้น ยังไม่แน่ชัด บ้างก็กล่าวว่ามาจากพม่า โดยเริ่มจากวันที่พระเถระนามว่าบุพโสระหันสึกจากการเป็นพระออกมาชิงราชบัลลังก์ ในสมัยพุกาม บ้างก็กล่าวว่ามาจากล้านนา โดยพระยากาฬวรรณดิศ ได้ตั้งจุลศักราชขึ้นมาใช้แทนมหาศักราช หรือบางแหล่งกล่าวว่า จุลศักราชมีพัฒนาการมาจากศักราชโบราณของอินเดียเช่นเดียวกับมหาศักราช โดยนิยมใช้จุลศักราช สำหรับคำนวณเกี่ยวกับโหราศาสตร์ จารึก ตำนาน จดหมายเหตุ พงศาวดารต่าง ๆ ก่อนจะถูกยกเลิกไปในสมัยรัชกาลที่ 5 เพราะเปลี่ยนมาใช้รัตนโกสินทรศก (ร.ศ.) 

  • รัตนโกสินทรศก (ร.ศ.) 

หลังจากยกเลิกจุลศักราชแล้ว พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 5) ได้ริเริ่มการใช้รัตนโกสินทรศก (ร.ศ.) ซึ่งเริ่มนับตั้งแต่การสถาปนากรุงรัตนโกสินทร์ในปี พ.ศ. 2325 ก่อนจะถูกยกเลิกการใช้ในช่วงต้นรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว

การนับศักราชแบบอื่น ๆ

  • คริสต์ศักราช (ค.ศ.) : เริ่มนับ ค.ศ. 1 ตั้งแต่ พ.ศ. 544 ดังนั้น ค.ศ. =  พ.ศ. - 543

เป็นการนับศักราชของศาสนาคริสต์ซึ่งนิยมใช้ในประเทศทางตะวันตก และเผยแพร่ไปทั่วโลก โดยเริ่มนับคริสต์ศักราชที่ 1 ตั้งแต่ปีที่พระเยซูคริสต์ประสูติ ตรงกับ พ.ศ. 544

  • ฮิจเราะห์ศักราช (ฮ.ศ.) : เริ่มนับ ฮ.ศ. 1 ตั้งแต่ พ.ศ. 1665 (แต่จะเพิ่มขึ้น 1 ปี ทุก ๆ 32 ปีครึ่ง เมื่อเทียบกับพุทธศักราช) ปัจจุบัน ฮ.ศ. = พ.ศ - 1122 

เป็นการนับศักราชของศาสนาอิสลาม ซึ่งคำว่าฮิจเราะห์ แปลว่า การอพยพ โดยเริ่มนับจากเหตุการณ์ที่นบีมูฮัมหมัดนำเหล่าสาวกอพยพจากเมืองเมกกะไปยังเมืองเมดินา ในช่วงพุทธศักราช 1165 ปัจจุบันเราสามารถคำนวณปีฮิจเราะห์ศักราชได้โดยการนำปี พ.ศ. มาลบกับเลข 1122 อย่างไรก็ดี เนื่องจากการนับปีตามปฏิทินจันทรคติของศาสนาอิสลาม ทำให้ทุก ๆ 32 ปีครึ่งระยะห่างระหว่างปี ฮ.ศ. กับ พ.ศ. จะเพิ่มขึ้น 1 ปี หมายความว่าปัจจุบันเราใช้ 1122 ไปลบกับปี พ.ศ. แต่อนาคตเราจะเปลี่ยนไปใช้เลข 1123 มาลบกับปี พ.ศ. เพื่อคำนวณปี ฮ.ศ. 

การเทียบศักราช

ถ้าเพื่อน ๆ อยากรู้ว่าปีพุทธศักราชนั้น ตรงกับปีไหนในศักราชอื่น ๆ ก็สามารถนำตัวเลขพุทธศักราช หรือ พ.ศ. มาคำนวณได้ ดังนี้

  • มหาศักราช (ม.ศ.) 

คำนวณโดยการนำพุทธศักราช (พ.ศ.) มาลบด้วย 621 (ม.ศ. = พ.ศ. - 621)

  • จุลศักราช (จ.ศ.) 

คำนวณโดยการนำพุทธศักราช (พ.ศ.) มาลบด้วย 1181 (จ.ศ. = พ.ศ. - 1181)

  • รัตนโกสินทร์ศก (ร.ศ.)

คำนวณโดยการนำพุทธศักราช (พ.ศ.) มาลบด้วย 2325 (ร.ศ. = พ.ศ. - 2324)

  • คริสต์ศักราช (ค.ศ.) 

คำนวณโดยการนำพุทธศักราช (พ.ศ.) มาลบด้วย 543 (ค.ศ. =  พ.ศ. - 543)

  • ฮิจเราะห์ศักราช (ฮ.ศ.) 

คำนวณโดยการนำพุทธศักราช (พ.ศ.) มาลบด้วย 1122 (ฮ.ศ. = พ.ศ - 1122)

ทศวรรษ ศตวรรษ สหัสวรรษ

  • ทศวรรษ

‘ทศ’ แปลว่า สิบ ส่วน ‘วรรษ’ แปลว่า ปี ดังนั้น ทศวรรษจึงใช้เพื่อนับเวลาในรอบ 10 ปี โดยเริ่มนับจากศักราชที่ลงท้ายด้วย 0 ไปจนถึงศักราชที่ลงท้ายด้วย 9 เช่น

ทศวรรษ 1990 หรือ 1990’s หมายถึง ค.ศ. 1990 - ค.ศ. 1999 

  • ศตวรรษ

ศต’ แปลว่า หนึ่งร้อย ส่วน ‘วรรษ’ แปลว่า ปี ดังนั้น ศตวรรษจึงใช้เพื่อนับเวลาในรอบ 100 ปี โดยเริ่มนับจากศักราชที่ลงท้ายด้วย 01 ไปจนถึงศักราชที่ลงท้ายด้วย 00 เช่น

คริสต์ศตวรรษที่ 21 หมายถึง ค.ศ. 2001- ค.ศ. 2100

  • สหัสวรรษ

‘สหัส’ แปลว่า หนึ่งพัน ส่วน ‘วรรษ’ แปลว่า ปี ดังนั้น สหัสวรรษจึงใช้เพื่อนับเวลาในรอบ 1000 ปี โดยเริ่มนับจากศักราชที่ลงท้ายด้วย 001 ไปจนถึงศักราชที่ลงท้ายด้วย 000 เช่น

สหัสวรรษที่ 2 ตามคริสต์ศักราช หมายถึง ค.ศ. 1001 - ค.ศ. 2000

นอกจากการใช้ ทศวรรษ ศตวรรษและสหัสววรษ เพื่อบอกปีแล้ว เพื่อน ๆ ยังสามารถใช้สำหรับบอกระยะเวลาในอดีตและอนาคตได้ด้วยนะ เช่น “3 ทศวรรษผ่านไป เขาก็ได้พบกับเธออีกครั้ง” หมายถึง “30 ปี ผ่านไป เขาก็ได้พบกับเธออีกครั้ง” เป็นต้น

ถ้าเพื่อน ๆ สงสัยตรงไหน แล้วอยากทบทวนบทเรียนเพิ่มเติม อย่าลืมโหลดแอปฯ StartDee มาทบทวนกันอีกครั้ง หรือถ้าอยากอ่านต่อ ก็สามารถเสริมความรู้ภาษาไทยไปกับเรื่องนิราศภูเขาทอง เพื่อเตรียมพร้อมสำหรับการสอบของชั้นม.1 ให้คะแนนปัง กันทั้งสังคมและภาษากันไปเลย!

ขอบคุณข้อมูลจาก ครู Thanadol Hiranwat และครู Surarangsan Phasukwong

การนับและการเปรียบเทียบศักราชมีอะไรบ้าง

หลักเกณฑ์การเทียบศักราช โดยคานวณหาเกณฑ์บวกลบเฉพาะพุทธศักราช (พ.ศ.) ม.ศ. + ๖๒๑ = พ.ศ. พ.ศ. – ๖๒๑ = ม.ศ. จ.ศ. + ๑๑๘๑ = พ.ศ.พ.ศ. – ๑๑๘๑ = จ.ศ. ร.ศ. + ๒๓๒๔ = พ.ศ.พ.ศ. – ๒๓๒๔ = ร.ศ. ค.ศ. + ๕๔๓ = พ.ศ. พ.ศ. – ๕๔๓ = ค.ศ. ฮ.ศ. + ๑๑๒๒ = พ.ศ.พ.ศ. – ๑๑๒๒ = ฮ.ศ.

การนับศักราชที่ใช้ในประวัติศาสตร์ไทยมีอะไรบ้าง

ศักราชแบบไทยที่ปรากฏในหลักฐานทางประวัติศาสตร์ของไทย เช่น พุทธศักราช มหาศักราช จุลศักราช และรัตนโกสินทรศก (๑) พุทธศักราช (พ.ศ.) พุทธศักราชเกิดขึ้นในประเทศอินเดียและแพร่หลายในประเทศที่นับถือพระพุทธ- ศาสนาเป็นศาสนาหลัก การนับพุทธศักราชเริ่มตั้งแต่ปีที่พระพุทธเจ้าเสด็จดับขันธปรินิพพาน แต่มีวิธีการ

ในการบันทึกเรื่องราวในประวัติศาสตร์สากลจะใช้ศักราชแบบใด

คริสต์ศักราช (ค.ศ.) - เริ่มนับตั้งแต่ พ.ศ. 544 โดยนับปีที่พระเยซูคริสต์ประสูติ เป็น ค.ศ. 1 นิยมใช้ในประเทศที่นับถือศาสนาคริสต์และใช้เป็นปีอ้างอิงสากล มหาศักราช (ม.ศ.) - เริ่มตั้งแต่ พ.ศ. 622 พระเจ้ากนิษกะของอินเดียทรงตั้งขึ้น ใช้ในศิลาจารึกและเอกสารประวัติศาสตร์ของไทยบ้าง แต่น้อยกว่าจุลศักราช

การนับเวลา พศ.และค.ศ.เกี่ยวข้องกับเรื่องใด

พุทธศักราช หรือ .. เป็นศักราชที่นิยมใช้ในประเทศที่นับถือ พระพุทธศาสนา โดยประเทศไทยเริ่มนับปีที่พระพุทธเจ้าเสด็จ ปรินิพพาน (ตาย) ครบ ๑ ปีเป็น พ.. ๑ คริสต์ศักราช หรือ .. เป็นศักราชที่นิยมใช้ในโลกตะวันตก ซึ่งนับถือคริสต์ศาสนา โดยได้เริ่มนับปีที่พระเยซูประสูติ(เกิด) เป็น ค.. ๑