เครื่องยนต์2จังหวะมีขั้นตอนการทํางานอย่างไร

เครื่องยนต์ 2 จังหวะ (Two-stroke engine) คือ การที่เครื่องยนต์รวบรวมจังหวะการดูดและอัดไว้ด้วยกันในจังหวะที่ 1 ส่วนการระเบิดและคายเป็นจังหวะที่ 2 ทำให้ถูกเรียกว่าเครื่องยนต์ 2 จังหวะ ส่งผลให้เครื่องยนต์มีพละกำลังที่สูงมากกว่าเครื่องยนต์ 4 จังหวะ อีกทั้งยังทำให้การเผาไหม้มีประสิทธิภาพมากขึ้นอีกด้วย

1. ตัวเสื้อสูบของเครื่องยนต์ 2 จังหวะจะไม่มีระบบกลไกของวาล์ว มีเพียงแค่ท่อสำหรับคายไอเสียออกมาเท่านั้น อีกทั้งท่อดูดอากาศก็ไม่ได้อยู่ในบริเวณของเสื้อสูบ แต่จะอยู่บริเวณด้านล่างแทน ทำให้เสื้อสูบ 2 จังหวะมีขนาดเล็ก แต่มีปริมาตรความจุเท่ากับเครื่องยนต์ 4 จังหวะ

2. เสียงของเครื่องยนต์ 2 จังหวะ จะมีเสียงออกแหลม ๆ และเมื่อจอดรถติดเครื่องยนต์ไว้จะมีรอบเดินรถที่ไม่เรียบ

3. ท่อดูดอากาศจากคาร์บูเรเตอร์บริเวณเสื้อสูบของเครื่องยนต์ 2 จังหวะจะไม่ได้อยู่ในระดับเดียวกันกับท่อไอเสีย ซึ่งจะต่างจากเครื่องยนต์แบบ 4 จังหวะที่จะอยู่ในระดับเดียวกันเสมอ

4. จะมีควันออกจากท่อไอเสีย เพราะจำเป็นต้องใช้น้ำมันเครื่องชนิดพิเศษที่เรียกว่า “ออโต้ลูป (Auto Lube)” เพื่อเข้าไปช่วยหล่อลื่นชิ้นส่วนต่าง ๆ ภายในบริเวณห้องเครื่อง พร้อมกับเกิดการเผาไหม้ออกมาทางท่อไอเสีย

5. สามารถติดตั้งหัวเทียนบริเวณส่วนบนสุดของฝาสูบได้เลย เพราะไม่มีระบบกลไกของวาล์ว

เครื่องยนต์ 2 จังหวะ ทำงานอย่างไร ?

- การดูดและอัด จังหวะที่ 1  คือ เมื่อลูกสูบวิ่งจากข้างบนลงข้างล่าง จะเป็นจังหวะที่ “ดูด” อากาศจากห้องแครงก์เข้าสู่กระบอกสูบและทำการ “อัด” อากาศขึ้นไป

- การระเบิดและคาย จังหวะที่ 2 คือ หัวเทียนจะสร้างกระแสไฟออกมาเพื่อ “จุดระเบิด” ในห้องเผาไหม้ หลังจากการจุดระเบิด ลูกสูบจะถูกดันลงมา เพื่อดันไอดีในห้องเผาไหม้ที่ถูกอัดไว้จากจังหวะก่อนหน้าให้ไล่ไอเสียออกมา ทำให้เกิดจังหวะ “คาย” ในช่วงเวลาที่ไล่เลี่ยกันนั่นเอง

ข้อดีและข้อเสีย เครื่องยนต์ 2 จังหวะ

ข้อดีของเครื่องยนต์ 2 จังหวะคือ เครื่องยนต์มีพละกำลังที่สูง สามารถออกตัวได้อย่างรวดเร็ว อัตราการเร่งดีเยี่ยม ลากรอบเครื่องยนต์ได้สูง ชิ้นส่วนมีการเคลื่อนไหวที่น้อย อีกทั้งยังดูแลรักษาง่าย

ส่วนข้อเสียของเครื่องยนต์ 2 จังหวะนั้นคือ ไม่ค่อยทนทานแข็งแรง เสี่ยงต่อการสึกหรอสูง เสียงดังแหลม เครื่องเดินไม่เรียบ กินน้ำมันมากกว่าเครื่องยนต์ 4 จังหวะ และยังก่อให้เกิดมลพิษด้วยการปล่อยควันขาวออกจากท่อไอเสีย

สรุปได้ว่า เครื่องยนต์ 2 จังหวะคือการรวบรวมการดูดและอัดไว้ในจังหวะที่ 1 ส่วนการระเบิดและคายเป็นจังหวะที่ 2 ซึ่งข้อดีของเครื่องยนต์ 2 จังหวะคือมีพละกำลังที่สูง เร็ว แรงกว่าเครื่องยนต์ 4 จังหวะถึง 2 เท่า แต่กลับมีข้อเสียในการปล่อยมลพิษด้วยควันขาวออกจากท่อไอเสีย อีกทั้งยังกินน้ำมันเป็นอย่างมาก

ดังนั้นหากจำเป็นต้องใช้เครื่องยนต์ 2 จังหวะ ควรศึกษารายละเอียดให้ครบถ้วน เพื่อให้เครื่องยนต์ทำงานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ ด้วยความห่วงใยจาก 35 ยนตรการ

หลักการทำงานของเครื่องยนต์เล็กแก๊สโซลีนแบบ 2 จังหวะ (two-stroke engine)

     ” เครื่องยนต์เล็กและหลักการทำงานมีความสำคัญมาก ดังนั้น นักเรียนจะต้องมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับ ชนิดของเครื่องยนต์เล็ก หลักการทำงาน ส่วนประกอบ หน้าที่ การถอดและประกอบ และการบำรุงรักษาเครื่องยนต์เล็กแก๊สโซลีนและดีเซล 2 และ 4 จังหวะ เพื่อจะได้นำความรู้ความเข้าใจไปใช้ในการตรวจซ่อมเครื่องยนต์เล็กต่อไป “

  • หลักการทำงานของเครื่องยนต์เล็กแก๊สโซลีนแบบ 2 จังหวะ ที่ใช้ลูกสูบแทนลิ้น และเป็นการทำงานที่นิยมใช้กันในรถจักรยานยนต์ , เครื่องตัดหญ้าสะพายข้าง เป็นต้น

คือ  จังหวะที่ 1 เป็นจังหวะดูดและอัด

       จังหวะที่ 2 เป็นจังหวะระเบิดและคาย

             เครื่องยนต์ 2 จังหวะจะไม่มีวาล์วเปิดปิดไอดี-ไอเสีย แต่จะใช้ลูกสูบเป็นตัวเปิดปิดไอดี-ไอเสียแทน ซึ่งเครื่องยนต์ 2 จังหวะจะทำงานรอบจัดกว่าเครื่องยนต์ 4 จังหวะและการเผาไหม้ก็มีประสิทธิภาพด้อยกว่าเครื่องยนต์ 4 จังหวะ

จังหวะที่ 1 ดูดและอัด (Suction or intake stroke and Compression stroke) ด้านบนลูกสูบจะอัดไอดี ส่วนด้านใต้ลูกสูบจะดูดไอดี เข้าไปในห้องเพลาข้อเหวี่ยง 

เครื่องยนต์2จังหวะมีขั้นตอนการทํางานอย่างไร

เครื่องยนต์2จังหวะมีขั้นตอนการทํางานอย่างไร

ดูดและอัด (Suction or intake stroke and Compression stroke)

จังหวะที่ 2 ระเบิดและคาย (Power stroke and Exhaust stroke) ด้านบนลูกสูบจะส่งกาลัง ส่วนด้านล่างลูกสูบจะเพิ่ม ความดันของไอดี การทำงานของเครื่องยนต์ในจังหวะที่ 2 กลับไปยังจังหวะที่ 1 ด้านบนของลูกสูบจะคาย และขับไล่ไอเสียด้วยไอดีส่วนด้านล่างลูกสูบจะอัดไอดีเข้าไปในกระบอกสูบ

เครื่องยนต์2จังหวะมีขั้นตอนการทํางานอย่างไร

เครื่องยนต์2จังหวะมีขั้นตอนการทํางานอย่างไร

ระเบิดและคาย (Power stroke and Exhaust stroke)

  • หลักการทำงานของเครื่องยนต์เล็กแก๊สโซลีนแบบ 2 จังหวะ ที่ใช้ลิ้นแผ่น

เครื่องยนต์เล็กแก๊สโซลีน 2 จังหวะ (Two-stroke engine) คือ เครื่องยนต์ที่ทำงาน 2 จังหวะที่ใช้ลิ้นแผ่นหรือรีดวาล์วเป็นลิ้นที่ใช้ในระบบส่งไอดี ทำจากเหล็กสปริงติดอยู่ด้านบนของห้องเพลาข้อเหวี่ยง ในขณะที่ลูกสูบเคลื่อนที่ขึ้น-ลง ความดันในห้องเพลาข้อเหวี่ยงจะเพิ่มขึ้นและลดลงสลับกัน ขณะเดียวกันลิ้นแผ่น จะเปิดและปิดสลับกันไปด้วย เวลาในการเปิดของลิ้นแผ่นจะแปรผันตรงกับความเร็วรอบของเครื่องยนต์ ลิ้นแผ่นจะทางานโดยสุญญากาศ และความดันในห้องเพลาข้อเหวี่ยง

จังหวะที่ 1 ดูดและอัด (Suction or intake stroke and Compression stroke) เป็นจังหวะที่ลูกสูบเคลื่อนที่จากศูนย์ตายล่างขึ้นสู่ศูนย์ตายบน ระหว่างการเคลื่อนที่นี้เอง ด้านบนลูกสูบเป็นการอัดอากาศไอดี ในขณะเดียวกันช่องไอเสียจะถูกปิดด้วยตัวลูกสูบโดยอัตโนมัติ โดยที่เวลาเดียวกันนี้เอง รีดวาล์วก็จะเปิดช่องไอดี ทาให้อากาศไอดีไหลเข้าสู่ห้องเพลาข้อเหวี่ยงโดยอัตโนมัติ

จังหวะที่ 2 ระเบิดและจังหวะคาย (Power stroke and Exhaust stroke)
เมื่อลูกสูบเคลื่อนที่ขึ้นไปสู่ศูนย์ตายบนจะเกิดประกายไฟจากหัวเทียนทำให้เกิดระเบิด เพื่อดันลูกสูบลงไปสู่ศูนย์ตายล่างอีกครั้ง ในระหว่างการเคลื่อนที่ลงครั้งนี้ ความสูงของลูกสูบก็จะไปปิดช่องอากาศทางเข้าไอดี และด้านบนของลูกสูบก็จะพ้นช่องทางออกของไอเสีย ทำให้อากาศไอเสียไหลผ่านออกไป ในขณะเดียวกันที่ด้านบนของลูกสูบก็จะพ้นช่องจากห้องเพลาข้อเหวี่ยง ไอดีจากห้องเพลาข้อเหวี่ยงไหลเข้าไปขับไล่ไอเสีย และเข้าไปแทนที่ในห้องเผาไหม้
     เมื่อเครื่องยนต์ทางานครบ 2 จังหวะ เพลาข้อเหวี่ยงจะหมุนไปได้ 1 รอบ เมื่อลูกสูบอยู่ที่ตำแหน่งศูนย์ตายล่างในจังหวะดูดภายในกระบอกสูบจะมีปริมาตรที่บรรจุส่วนผสมน้ามันและอากาศ เมื่อลูกสูบเคลื่อนที่ขึ้นในจังหวะอัดปริมาตรนี้จะถูกอัดให้ลดลงตรงส่วนของลูกสูบ เมื่อลูกสูบเคลื่อนที่ถึงจุดศูนย์ตายบนปริมาตรจะมีขนาดเล็กที่สุดบริเวณที่มีปริมาตรเล็กนี้ถูกเรียกว่าห้องเผาไหม้

  • หลักการทำงานของเครื่องยนต์เล็กแก๊สโซลีนแบบ 2 จังหวะ ที่ใช้เพาเวอร์รีดวาล์ว

      เนื่องจากการอัดไอดีในแบบเก่าซึ่งใช้ลูกสูบแทนลิ้น และใช้ลิ้นแผ่นนั้นยังมีข้อเสียอยู่ คือ ที่ความเร็วรอบต่าง ความเร็วรอบปานกลาง และความเร็วรอบสูง ไอดีที่อัดเข้ากระบอกสูบในแต่ละความเร็วรอบนั้นไม่มีความแน่นอนคงที่ และไม่สัมพันธ์กับการทำงานของเครื่องยนต์เท่าที่ควร จึงได้มีการพัฒนาระบบการควบคุมไอดีของเครื่องยนต์แก๊สโซลีนแบบ 2 จังหวะขึ้นเป็นแบบเพาเวอร์รีดวาล์ว (Power Reed Valve) เพื่อให้ไอดีที่เข้าไปในเครื่องยนต์มีความคงที่สม่ำเสมอทุก ๆ ความเร็วรอบของเครื่องยนต์ ทำให้เครื่องยนต์มีสมรรถนะเพิ่มขึ้น และที่สำคัญทาให้ประหยัดน้ำมันเชื้อเพลิง หลักการทำงานของเครื่องยนต์เล็กแก๊สโซลีน 2 จังหวะที่ใช้เพาเวอร์รีดวาล์วมีดังนี้ 

       ในขณะที่ลูกสูบเคลื่อนที่ลงไปยังศูนย์ตายล่างช่องไอดีจากคาร์บูเรเตอร์จะถูกลูกสูบปิดลิ้นแผ่นก็จะปิดด้วยไอดีที่ผ่านคาร์บูเรเตอร์จะมีแรงเฉื่อยอยู่ และห้องพักไอดีก็ยังเป็นสุญญากาศไอดีจากคาร์บูเรเตอร์จึงเข้าไปในห้องพักไอดีจนเต็ม เพื่อสะสมไว้ใช้งานในจังหวะต่อไปการไหลของไอดีผ่านคาร์บูเรเตอร์จะไม่มีการหยุดชะงักจะมีการไหลผ่านอย่างต่อเนื่องตลอดเวลา

” สรุป ” หลักการทางานของเครื่องยนต์เล็กแก๊สโซลีน 2 จังหวะ วัฎจักรการทำงานของเครื่องยนต์เล็กแก๊สโซลีนแบบ 2 จังหวะ คือ ดูดและอัด,ระเบิดและคาย ลูกสูบ จะขึ้นลง 2 ครั้ง เพลาข้อเหวี่ยงหมุน 1 รอบ คือ 360 องศา

เครื่องยนต์2จังหวะมีขั้นตอนการทํางานอย่างไร


เครื่องยนต์ 2 จังหวะมีการทำงานพร้อมกันคือจังหวะใด

เครื่องยนต์ 2 จังหวะ (Two-stroke engine) คือ การที่เครื่องยนต์รวบรวมจังหวะการดูดและอัดไว้ด้วยกันในจังหวะที่ 1 ส่วนการระเบิดและคายเป็นจังหวะที่ 2 ทำให้ถูกเรียกว่าเครื่องยนต์ 2 จังหวะ ส่งผลให้เครื่องยนต์มีพละกำลังที่สูงมากกว่าเครื่องยนต์ 4 จังหวะ อีกทั้งยังทำให้การเผาไหม้มีประสิทธิภาพมากขึ้นอีกด้วย

เครื่องยนต์ 2 จังหวะหมุนกี่รอบ

เครื่องยนต์ 2 จังหวะทำการหมุนหนึ่งครั้งสำหรับการระเบิดแต่ละครั้ง ในขณะที่เครื่องยนต์ 4 จังหวะจะทำการหมุนสองครั้งสำหรับการระเบิดแต่ละครั้ง เครื่องยนต์ 2 จังหวะมีน้ำมันเชื้อเพลิงและน้ำมันผสมไว้ล่วงหน้า ดังนั้นคุณจึงไม่มีช่องเติมน้ำมันบนตัวเครื่อง และคุณเพียงแค่ต้องซื้อเชื้อเพลิงประเภทเดียวเท่านั้น

เพราะเหตุใดจึงเรียกเครื่องยนต์ 2 จังหวะ

เครื่องยนต์ 2 จังหวะ (อังกฤษ: Two-stroke engine ) คือเครื่องยนต์ที่ทำงาน 2 ช่วงชัก คือช่วงชักที่ 1 คือช่วงชักดูดกับอัด และ ช่วงชักที่ 2 คือช่วงชักระเบิดและคาย และเครื่องยนต์2 ช่วงชักจะไม่มีวาล์วเปิดปิดไอดีไอเสีย แต่จะใช้ลูกสูบเป็นตัวเปิดปิดไอดีไอเสียแทน ซึ่งเครื่องยนต์ 2 ช่วงชักจะทำงานรอบจัดกว่าเครื่องยนต์ 4 จังหวะ และ ...

เครื่องยนต์ 4 จังหวะมีขั้นตอนการทำงานอย่างไร

เครื่องยนต์ 4 จังหวะทำงานอย่างไร.
ดูด (Intake) ลูกสูบเคลื่อนลงจากด้านบนลงล่างของกระบอกสูบ ดูดส่วนผสมของอากาศและน้ำมันเชื้อเพลิงเข้าสู่กระบอกสูบ วาล์วไอดีจะปิดเมื่อสิ้นสุดจังหวะดูด.
อัด (Compression) ... .
ระเบิด (Power) ... .
คาย (Exhaust) ... .
การบำรุงรักษาเครื่องยนต์ 4 จังหวะของคุณ.