วิธีการป้องกันและดูแลสุขภาพของสมาชิกในครอบครัวของนักเรียนมีวิธีอะไรบ้าง

วิธีการป้องกันและดูแลสุขภาพของสมาชิกในครอบครัวของนักเรียนมีวิธีอะไรบ้าง

ปัญหาครอบครัวเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นได้ทั่วไป ไม่ว่าจะเกิดจากความคิดเห็นที่แตกต่างกัน การเลี้ยงลูก ปัญหาทางการเงิน หรือแม้แต่เรื่องสุขภาพ สิ่งต่างๆ เหล่านี้ก็ล้วนเป็นปัจจัยที่อาจทำให้เกิดความขัดแย้งระหว่างสมาชิกภายในบ้านและอาจจะบานปลายจนกระทบต่อความสัมพันธ์ในครอบครัวได้นะคะ วันนี้เรามีวิธีรับมือที่จะให้สมาชิกภายในบ้านร่วมมือกันจัดการปัญหาต่างๆ เพื่อให้อยู่ร่วมกันอย่างมีความสุขมาฝากค่ะ

  • หาเวลาพูดคุยกันอย่างพร้อมหน้าพร้อมตา โดยเลือกเวลาที่ทุกคนสะดวกเพื่อพบปะพูดคุยกัน ให้สมาชิกทุกคนพูดคุย มีส่วนร่วมในการเสนอคำแนะนำ และวิธีแก้ปัญหาภายในครอบครัว ควรเปิดโอกาสให้ทุกคนพูดถึงสิ่งที่คิดออกมาตรง ๆ เพื่อแก้ปัญหาได้อย่างตรงจุด การเผชิญและก้าวผ่านปัญหาครอบครัวคงเป็นเรื่องยากหากสมาชิกคนใดคนหนึ่งทำเพียงลำพัง แต่เมื่อสมาชิกทุกคนช่วยกันก็จะแก้ปัญหาได้ง่ายขึ้น
  • รู้จักควบคุมอารมณ์ เป็นเรื่องปกติที่แต่ละคนมีความคิดเป็นของตัวเอง หรือมีความคิดเห็นคนละมุมมอง ต้องรู้จักใช้เหตุผล หลีกเลี่ยงการโต้เถียงและไม่ใช้อารมณ์เป็นใหญ่
  • สร้างสภาพแวดล้อมที่ดี สภาพแวดล้อมอาจส่งผลต่อพฤติกรรมได้ การปรับเปลี่ยนสภาพแวดล้อมภายในบ้านหรือรอบ ๆ บ้านให้ดีขึ้นอาจช่วยลดอาการเครียดที่เกิดขึ้นได้
  • กำหนดกฎ แบ่งหน้าที่รับผิดชอบ เพื่อให้เกิดความเป็นระเบียบเรียบร้อยและความเข้าใจที่ตรงกันของทุกคนในครอบครัว เช่น กำหนดเวลาการกินอาหารเย็นร่วมกันของสมาชิกในครอบครัว การแบ่งงานบ้านต่างๆ เช่น การกวาดบ้าน การถูบ้าน การทิ้งขยะ และการดูดฝุ่น เป็นต้น จะทำให้สมาชิกทุกคนในบ้านมีส่วนร่วมในการทำงานร่วมกัน
  • ร่วมมือกันดูแลครอบครัว คุณพ่อคุณแม่ควรร่วมมือและช่วยเหลือกันในการดูแลครอบครัว แก้ไขปัญหาต่าง ๆ และดูแลพฤติกรรมของลูก ๆ โดยไม่ปล่อยให้เป็นภาระหน้าที่ของใครคนใดคนหนึ่งเท่านั้น

ให้คะแนนบทความนี้

[คะแนนบทความนี้: 2.6]

  1. หน้าหลัก
  2. บทความสุขภาพ
  3. 10 วิธีง่ายๆ ในการดูแลผู้สูงวัยในครอบครัว

วิธีการป้องกันและดูแลสุขภาพของสมาชิกในครอบครัวของนักเรียนมีวิธีอะไรบ้าง

elderlyElderly Careสุขภาพผู้สูงอายุ

HIGHLIGHTS:

  • ผู้สูงวัยที่ยังแข็งแรงอยู่ ควรออกกำลังกายให้ครบทั้ง 3 รูปแบบ คือ คาร์ดิโอ (เดินเร็ว วิ่งเหยาะๆ ว่ายน้ำ ปั่นจักรยาน แอโรบิคเบาๆ) เล่นเวทเพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ และ ยืดเหยียดกล้ามเนื้อและฝึกการทรงตัวเพื่อให้สามารถเคลื่อนไหวได้คล่องแคล่ว
  • ผักผลไม้ที่รับประทานง่ายและไม่หวานจัด จะช่วยให้ผู้สูงอายุได้รับวิตามินและกากใยอาหารอย่างพอเพียง
  • หากผู้สูงอายุมีอาการเจ็บป่วย เช่น มีไข้ หอบเหนื่อย ซึมลง อาเจียนหรือท้องเสีย ถ้าอาการไม่ดีขึ้นภายใน 1 – 2 วัน ควรรีบผู้สูงอายุมาโรงพยาบาล ไม่ควรซื้อยารับประทานเอง

ด้วยอัตราการเกิดใหม่ของประชากรโลกลดลง ขณะเดียวกันจำนวนผู้สูงอายุและผู้ที่กำลังจะเป็นผู้สูงอายุกลับมีจำนวนมากขึ้น เนื่องจากความเจริญทางการแพทย์และการรักษาพยาบาลที่มีประสิทธิภาพ ประเทศไทยเองก็กำลังอยู่ในช่วงการเปลี่ยนผ่านเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุโดยสมบูรณ์เช่นกัน

การดูแลผู้สูงอายุกลายเป็นเรื่องกังวลใจของหลายคน แต่ในความจริงแล้วหากดูแลผู้สูงวัยในครอบครัวด้วยความรักและความเข้าใจ การรับมือกับผู้สูงวัยจะกลายเป็นเรื่องง่ายๆ ในพริบตา

1. เรื่องกินเรื่องใหญ่

ผู้สูงอายุส่วนใหญ่รับประทานอาหารได้น้อยลง เนื่องจากอวัยวะในร่างกายเสื่อมสภาพลง โดยเฉพาะระบบย่อยอาหาร ทำให้ท้องอืดเฟ้อ รวมถึงปัญหาช่องปากและฟัน ส่งผลให้เคี้ยวอาหารได้ไม่ละเอียด นอกจากนี้ผู้สูงวัยมักดื่มน้ำน้อย และขาดการออกกำลังกาย จึงเป็นสาเหตุของอาการท้องผูก ดังนั้นอาหารของผู้สูงอายุจึงควรเป็นอาหารที่อ่อนนุ่ม เคี้ยวง่าย อาจใช้การหั่น สับ หรือการปั่นให้อาหารชิ้นเล็ก รวมถึงปรับเปลี่ยนวิธีปรุงเป็นการนึ่ง ตุ๋น หรือ ต้มอาหารให้นิ่ม

เน้นการรับประทานผักผลไม้ที่รับประทานง่ายและไม่หวานจัด เพื่อช่วยให้ผู้สูงอายุได้รับวิตามินและกากใยอาหารอย่างพอเพียง โปรตีนควรเลือกประเภทที่ย่อยง่าย เช่น เนื้อปลา ไข่ขาว หรือ นม เลี่ยงการปรุงอาหารรสชาติจัดจ้าน ลดหวาน มัน เค็ม รวมถึงดื่มน้ำสะอาดให้พอเพียงอย่างน้อย 1-1.5 ลิตรต่อวัน ลดการดื่มน้ำหวาน แอลกอฮอล์ หลีกเลี่ยงการดื่มชา กาแฟ ในช่วยบ่ายหรือเย็นเพราะจะทำให้นอนหลับยากขึ้น

2. ขยับร่างกายวันละนิดชีวิตยืนยาว

การออกกำลังกายช่วยให้อวัยวะในร่างกายแข็งแรงทุกระบบ ตั้งแต่ หัวใจ ปอด ระบบขับถ่าย กระดูกและกล้ามเนื้อ รวมถึงสมอง แต่ผู้สูงอายุหลายท่านไม่กล้าออกกำลังกายเพราะกลัวว่าจะพลัดตกหกล้ม หรือกลัวว่าจะไม่มีแรงออกกำลัง ดังนั้นผู้ดูแลจึงมีบทบาทสำคัญในการช่วยส่งเสริมการออกกำลังกายของผู้สูงวัย เริ่มตั้งแต่จัดกิจกรรมออกกำลังกายที่ปลอดภัยเหมาะสมกับสภาพร่างกายและคอยให้ความช่วยเหลือ เช่น ช่วยพยุงให้ขยับกายบริหารเบาๆ พาเดินหรือเดินแกว่งแขนช้าๆ ช่วยยืดคลายกล้ามเนื้อ ให้ได้ทุกวันอย่างน้อยวันละ 10-20 นาที และค่อยๆเพิ่มความหนักและระยะเวลาขึ้นเรื่อยๆ หากผู้สูงวัยยังแข็งแรงอยู่ ควรออกกำลังกายให้ครบทั้ง 3 รูปแบบ คือ 1.คาร์ดิโอ (เดินเร็ว วิ่งเหยาะๆ ว่ายน้ำ ปั่นจักรยาน แอโรบิคเบาๆ) 2.เล่นเวทเพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ และ 3.ยืดเหยียดกล้ามเนื้อและฝึกการทรงตัวเพื่อให้สามารถเคลื่อนไหวได้คล่องแคล่ว เพิ่มเติมตามความเหมาะสมครั้งละอย่างน้อย 30 นาที สัปดาห์ละ 3-5 วัน

3. สุขอนามัยที่ดี

ลด ละ เลิกสิ่งที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ เช่น การสูบบุหรี่ ดื่มเหล้า พฤติกรรมเสี่ยงต่ออุบัติเหตุหรือการหกล้ม ดูแลควบคุมโรคประจำตัวตามแพทย์แนะนำ และพบแพทย์ตามนัดสม่ำเสมอ สำหรับผู้ที่ร่างกายแข็งแรงดีควรตรวจสุขภาพและตรวจคัดกรองโรคประจำวัย ของผู้สูงอายุ เช่น สมองเสื่อม ซึมเศร้า กระดูกพรุน ภาวะการมองเห็นหรือการได้ยินผิดปกติ ภาวะขาดสารอาหาร เป็นประจำทุกปี

4. การขับถ่ายก็สำคัญ

ผู้สูงอายุควรหมั่นสังเกตการขับถ่ายของตัวเองว่ามีปัญหาท้องผูก ท้องผูกสลับท้องเสียบ่อยๆ อุจจาระมีมูกเลือด หรือมีปัสสาวะอุจจาระเล็ดหรือไม่ ทั้งนี้ไม่ควรอายที่จะบอกปัญหาการขับถ่ายกับผู้ดูแลหรือคนใกล้ชิดเพราะอาการเหล่านี้อาจเป็นสัญญาณเตือนของโรคบางอย่าง ซึ่งอาจจะสามารถแก้ไขได้ และผู้สูงวัยจะได้กลับไปมีคุณภาพชีวิตที่ดีอีกครั้ง

5. ความสะอาด

ภูมิคุ้มกันของผู้สูงอายุไม่ค่อยแข็งแรงมักติดโรคได้ง่าย โดยเฉพาะผู้สูงอายุที่ไม่สามารถดูแลตัวเองได้หรือมีโรคเรื้อรัง เช่น เบาหวาน ผู้ดูแลควรใส่ใจดูแลฟัน เล็บ ผิวหนัง ผมและซอกหลืบต่างๆ ของร่างกาย รวมถึงบริเวณอวัยวะเพศและก้น ไม่ควรปล่อยให้อับชื้นและเกิดการระคายเคือง อาหารก็สำคัญ ไม่ควรนำอาหารค้างคืนมารับประทาน หรือเอายาเก่าๆ ที่อาจหมดอายุมาใช้ ซึ่งจะเป็นอันตรายต่อสุขภาพได้

6. อุปกรณ์ช่วยเดิน

ควรใช้อุปกรณ์ช่วยทรงตัวตามที่แพทย์แนะนำ อุปกรณ์ควรมีขนาดเหมาะกับผู้สูงวัยแต่ละท่าน รองเท้าควรเลือกที่มีความนุ่ม กระชับเท้า หุ้มส้นหรือมีสายรัดข้อเท้าไม่ให้หลุดง่าย และพื้นมีดอกยางยึดเกาะได้ดีและไม่ลื่น อย่าอายที่จะต้องใช้อุปกรณ์ช่วยทรงตัวหากต้องไปนอกบ้านหรือเดินไกลๆ เพราะจะช่วยลดอุบัติเหตุ และเป็นผู้ช่วยทำให้ผู้สูงวัยสามารถออกไปใช้ชีวิตด้วยตัวเองได้ ไม่กลายเป็นผู้ป่วยติดเตียง

7. ไม่ละเลยเรื่องยาและการพบแพทย์

ผู้ดูแลควรจัดยาให้ง่ายต่อการรับประทาน และใส่ใจให้ผู้สูงอายุรับประทานยาให้ตรงตามที่แพทย์แนะนำ ห้ามหยุดยาเอง และพบแพทย์ตามนัดอย่างเคร่งครัด ควรจดจำยาที่ผู้สูงอายุใช้ให้ได้และแจ้งรายการยาแก่แพทย์ทุกท่าน ทุกโรงพยาบาลที่ไปพบเพื่อป้องกันการจ่ายยาซ้ำซ้อน หรือยาที่ออกฤทธิ์ตีกัน นอกจากนี้เมื่อพบว่าผู้สูงอายุมีอาการเจ็บป่วย เช่น มีไข้ หอบเหนื่อย ซึมลง อาเจียนหรือท้องเสีย ถ้าอาการไม่ดีขึ้นภายใน 1 – 2 วัน ควรรีบพาผู้สูงอายุมาโรงพยาบาล ไม่ควรซื้อยารับประทานเอง

8. ปล่อยวาง พักผ่อน และอยู่ในสิ่งแวดล้อมที่ดี

ความเครียด กังวล คิดลบ เป็นสารพิษที่รบกวนการทำงานของเซลล์สมอง ผู้สูงอายุและผู้ดูแลควรพยายามหาวิธีผ่อนคลายจิตใจ เลือกการพักผ่อนในแบบที่ชอบ เช่น เดินทาง ท่องเที่ยว อ่านหนังสือ ฟังเพลง เต้นรำ หรือทำงานอดิเรก จัดสภาพแวดล้อมให้สงบ สะอาด มีอากาศถ่ายเท ไม่มีเสียงดังเกินไป และควรออกมารับแสงแดดอย่างน้อยวันละ 1 ครั้ง ผู้ดูแลและครอบครัวควรคอยสังเกตอาการซึมเศร้าของผู้สูงอายุเสมอ เมื่อมีอาการมากจนกระทบต่อการกิน การนอน การคิดหรือจดจำ หรือการใช้ชีวิตประจำวัน ควรรีบพามาปรึกษาแพทย์

9. บ้านเป็นมิตรกับผู้สูงวัย

การจัดเตรียมบ้านให้เหมาะกับผู้สูงอายุก็เป็นสิ่งจำเป็นที่ไม่ควรมองข้าม ภายในบ้านไม่ควรมีพื้นต่างระดับเพื่อป้องกันสะดุดล้ม พื้นห้องน้ำไม่ลื่น และควรแยกส่วนเปียกส่วนแห้งออกจากกัน ติดตั้งราวจับในห้องน้ำและในบริเวณที่ผู้สูงอายุใช้บ่อยๆ นอกจากนี้ยังควรดูแลให้แสงสว่างพอเพียง ปลั๊กและสวิตช์ควรไฟอยู่ในระดับที่ผู้สูงวัยเอื้อมถึงง่ายๆ โดยเฉพาะในห้องนอน

10. ความอบอุ่น

กำลังใจและความรักในครอบครัวสำคัญต่อผู้สูงอายุอย่างมาก หากอยู่บ้านเดียวกันควรมีกิจกรรมร่วมกัน ไม่แยกให้ผู้สูงอายุใช้ชีวิตแบบ “คนแก่” อย่างโดดเดี่ยว หาโอกาสพาลูกหลานไปเยี่ยมผู้สูงวัยที่อยู่เพียงลำพังอย่างสม่ำเสมอ พาท่านไปทำกิจกรรมที่คนหลายๆ วัยสามารถทำร่วมกันได้ ที่สำคัญควรใส่ใจในการ “รับฟัง” ท่านอย่างให้เกียรติ เพราะท่านก็ยังต้องการรู้สึกเป็นที่ยอมรับ และรู้สึกว่าตัวเองยังมีคุณค่าในสายตาของคนในครอบครัว

แม้ผู้สูงอายุจะเคยเป็นคนแข็งแรง แต่เมื่อร่างกายเสื่อมถอยลงจึงเป็นบุคคลที่ต้องการการดูแลอย่างเอาใจใส่และถูกสุขลักษณะ เพื่อสุขภาพที่แข็งแรงทั้งด้านร่างกายและจิตใจ โดยไม่มองข้ามการพบแพทย์ตามนัดสม่ำเสมอ และให้ความสำคัญกับการตรวจสุขภาพประจำปี เพราะการป่วยไข้เป็นเรื่องที่ไม่มีใครอยากให้เกิด ดังนั้นการป้องกันจึงย่อมดีกว่าการรักษาเสมอ

พญ. ทิปภา ชุติกาญจน์โกศล

อายุรศาสตร์ผู้สูงอายุ

ดูประวัติ

วิธีป้องกันและดูแลสุขภาพของคนในครอบครัวของนักเรียนมีวิธีอะไรบ้าง

5 วิธีดูแลตัวเองและคนในบ้าน สู้โรคไม่ป่วยง่าย.
1. ล้างมือบ่อย ๆ ด้วยสบู่ ... .
2. ควรดื่มน้ำ 6-8 แก้วต่อวัน ... .
3. กินอาหารมากวิตามิน ... .
4. ออกกำลังกายสม่ำเสมอ ... .
5. ทำอารมณ์ให้แจ่มใส.

วิธีการวางแผนดูแลสุขภาพของตนเองและบุคคลในครอบครัว มีกี่วิธี

2. วิธีการวางแผนพัฒนาสุขภาพของตนเองและครอบครัว การวางแผนพัฒนาสุขภาพของตนเองและ ครอบครัว สามารถวางแผนได้โดยแบ่งเป็น 4 ด้าน ได้แก่ การงานแผนพัฒนาสุขภาพทางกาย การวาง แผนพัฒนาสุขภาพจิต การวางแผนพัฒนาสุขภาพด้านสังคม และการวางแผนพัฒนาสุขภาพด้านปัญญา

นักเรียนจะช่วยดูแลและบริการด้านอาหารให้แก่บุคคลในครอบครัวได้อย่างไรบ้าง

1. ดูแลรักษาร่างกายและของใช้ให้สะอาด 2. รักษาฟันให้แข็งแรง 3. ล้างมือให้สะอาดก่อนรับประทานอาหารและหลังการขับถ่าย 4. รับประทานอาหารปรุงสุก สะอาด ปราศจากสารอันตรายและหลีกเลี่ยงอาหารรสจัด สีฉูดฉาด

นักเรียนคิดว่าการวางแผนดูแลสุขภาพของตนเองและครอบครัวมีประโยชน์อย่างไร

การวางแผนดูแลสุขภาพตนเองและบุคคลในครอบครัว เป็นเรื่องที่มีคุณค่าอย่างยิ่งเพราะนอกจากจะเป็นสิ่งที่ช่วยกระตุ้นให้ตัวของเราเองและบุคคลในครอบครัวเกิดความกระตือรือร้นในการดูแลสุขภาพแล้ว ยังเป็นสิ่งที่ช่วยให้เกิดสัมพันธภาพอันดีระหว่างสมาชิกทุกคนในครอบครัว เกิดความรักในครอบครัวซึ่งจะช่วยแก้ปัญหาต่างๆ ได้อย่างดี อันจะนำไปสู่ ...

วิธีป้องกันและดูแลสุขภาพของคนในครอบครัวของนักเรียนมีวิธีอะไรบ้าง วิธีการวางแผนดูแลสุขภาพของตนเองและบุคคลในครอบครัว มีกี่วิธี นักเรียนจะช่วยดูแลและบริการด้านอาหารให้แก่บุคคลในครอบครัวได้อย่างไรบ้าง นักเรียนคิดว่าการวางแผนดูแลสุขภาพของตนเองและครอบครัวมีประโยชน์อย่างไร การดูแลสุขภาพเมื่อมีอาการเจ็บป่วย เพราะเหตุใด บุคคลในแต่ละวัยจึงมีวิธีการดูแลสุขภาพที่แตกต่างกัน การดูแลสุขภาพของสมาชิกในครอบครัว ควรมีแนวทางในการปฏิบัติอย่างไร การวางแผนดูแลสุขภาพของตนเองและครอบครัว มีขั้นตอนอย่างไร 5 วิธีดูแลสุขภาพ หน่วยที่ 2 การวางแผนดูแลสุขภาพของตนเองและครอบครัว