ตัวอย่าง การ กรอก แบบ ผ ท 5

1.2.6 ผลการสำรวจข้อมูลภาคสนามการตรวจสอบการสำรวจข้อมูลภาคสนาม มีดังนี้1) การสำรวจข้อมูลสนาม หมายถึง อปท. จะต้องออกสำรวจรายละเอียดข้อมูลเกี่ยวกับทรัพย์สินต่างๆ ของประชาชนในพื้นที่ โดยข้อมูลเกี่ยวกับที่ดินจะบันทึกลงในแบบ ผ.ท.1 ข้อมูลเกี่ยวกับโรงเรือนและสิ่งปลูกสร้างจะบันทึกลงในแบบ ผ.ท.2 ข้อมูลเกี่ยวกับป้ายและการประกอบการค้าจะบันทึกลงในแบบ ผ.ท.32) การตรวจสอบว่า อปท. มีจำนวนแปลงที่ดินจากข้อมูลแผนที่แม่บท แต่ละแผนตามโครงการจัดทำแผนที่ภาษีฯ ของแต่ละ อปท.3) สูตรการคำนวณ
จำนวนแปลงที่ดินสำรวจข้อมูลภาคสนาม X 100
จำนวนแปลงที่ดินตามแผนที่แม่บทฯ4) ให้ตรวจสอบว่า อปท. ได้มีการสำรวจข้อมูลภาคสนามได้เป็น ร้อยละเท่าไรของจำนวนแปลงที่ดินทั้งหมดตามข้อ 21.2.7 การนำทะเบียนทรัพย์สิน (ผ.ท.4) และทะเบียนคุมผู้ชำระภาษี (ผ.ท.5) ไปใช้เป็นข้อมูลในการประเมินภาษี การตรวจสอบการนำทะเบียนทรัพย์สิน (ผ.ท.4) และทะเบียนคุม ผู้ชำระภาษี (ผ.ท.5) ไปใช้เป็นข้อมูลในการประเมินภาษี มีดังนี้1) ให้ตรวจสอบว่า ภ.ร.ด.2, ภ.บ.ท.5 และ ภป.1 มีการประทับตราข้อความว่าได้ตรวจสอบกับ ผ.ท.4 ผ.ท.5 หรือไม่2) ให้ตรวจสอบว่า ผ.ท.5 ของผู้อยู่ในข่ายต้องชำระภาษีว่าได้มีการบันทึกข้อมูลการชำระภาษี (รับยื่นแบบประเมิน และชำระภาษี) และได้มีการติดสลิปสีเขียวหรือไม่1.2.8 การปรับข้อมูลทะเบียนทรัพย์สิน (ผ.ท.4) เป็นปัจจุบัน การตรวจสอบการปรับปรุงข้อมูลทะเบียนทรัพย์สิน (ผ.ท.4) เป็นปัจจุบัน มีดังนี้1) ให้ตรวจสอบจากแบบบัญชีแสดงรายการปรับข้อมูล (ผ.ท.13) จาก ผู้ที่รับผิดชอบจากหน่วยงานคลัง และผู้บังคับบัญชาลงลายมือชื่อรับทราบ2) ให้ตรวจสอบจากทะเบียนทรัพย์สิน (ผ.ท.4) ว่ามีการปรับปรุงข้อมูลตามแบบ ผ.ท.13 ตามข้อ 1 หรือไม่ (ข้อสังเกต) หากมีการปรับปรุงข้อมูลในทะเบียนทรัพย์สิน (ผ.ท.4) จะมีข้อมูลการปรับปรุง ดังนี้2.1 มีรหัสแปลงที่ดินรหัสใหม่ขึ้นมา เช่น รหัสที่ดินเดิมเป็น 01A001/001 เป็นต้น2.2 จะมีการขีดฆ่าข้อความเดิมด้วยปากกาสีแดงและเขียนข้อความใหม่1.2.9 การปรับปรุงข้อมูลแผนที่ภาษี (ผ.ท.7) เป็นปัจจุบัน การตรวจสอบการปรับปรุงข้อมูลแผนที่ภาษี (ผ.ท.7) เป็นปัจจุบัน มีดังนี้1) ให้ตรวจสอบจากแบบบัญชีแสดงรายการปรับข้อมูล (ผ.ท.13) จากผู้รับผิดชอบจากฝ่ายช่าง และผู้บังคับบัญชาลงลายมือชื่อรับทราบ2) ให้ตรวจสอบจากแผนที่ภาษี (ผ.ท.7) ว่ามีการปรับปรุงข้อมูลตามแบบรายงาน ผ.ท.13 ตามข้อ 1 หรือไม่1.2.10 อัตราการเพิ่มขึ้นของจำนวนผู้เสียภาษีโรงเรือนและที่ดิน ภาษีป้าย และภาษีบำรุงท้องที่1) ตรวจสอบจากทะเบียนคุมผู้ที่ได้ชำระภาษี 3 เรื่อง (ภาษีโรงเรือนและที่ดิน ภาษีบำรุงท้องที่และ ภาษีป้าย) ในปีงบประมาณ 2559 และ 2560 แล้วนำมาคำนวณเปรียบเทียบประกอบกับทะเบียนคุมผู้ชำระภาษี (ผ.ท.5)7) สูตรการคำนวณ
จำนวนผู้เสียภาษีปี 61– ปี 60 X 100
จำนวนผู้เสียภาษีปี 60<< หน้าแรก...     13      14      15      16     (17)     18      19      20      21     ....หน้าสุดท้าย >> 48