ประโยชน์ของการมีสติและสมาธิ ได้แก่

ปัญหาของคนวัยทำงานส่วนใหญ่คงหนีไม่พ้นความเครียด เพราะ 1 ใน 3 ของแต่ละวันหมดไปกับการทำงาน บางคนโหมทำงานมากเกินไปจนสูญเสียสมดุลในชีวิต ซึ่งส่งผลเสียต่อสุขภาพในระยะยาวโดยเฉพาะโรคเกี่ยวกับหัวใจ

กรมสุขภาพจิตเล็งเห็นถึงปัญหาดังกล่าว จึงจัดทำคู่มือสร้างสุขด้วยสติในองค์กร (Mindfulness In Organization : MIO) เพื่อเผยแพร่ความรู้และวิธีกำจัดความเครียดที่ถูกต้องให้แก่ประชาชนด้วยการฝึกสติและสมาธิง่ายๆ นำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้

นอกจากนี้ผลการวิจัยทั้งในและต่างประเทศยืนยันตรงกันว่า การฝึกสติและสมาธิง่ายๆ ช่วยกำจัดความเครียดออกจากจิตใต้สำนึกอย่างได้ผลและยั่งยืน โดยเฉพาะคนกลุ่มวัยทำงาน 

สำหรับขั้นตอนในการฝึกสมาธิ 3 ขั้นตอนนั้น ประกอบด้วย

1. ฝึกหยุดความคิด 2 นาที โดยนั่งตัวตรง ศีรษะตรง หลับตาเบาๆ หายใจเข้าออกยาวๆสัก 5-6 ครั้ง ให้รับรู้ลมหายใจที่มาสัมผัสบริเวณปลายจมูก ซึ่งเราจะต้องตั้งใจจับความรู้สึกลมหายใจเข้าออก เนื่องจากบริเวณปลายจมูกมีประสาทรับรู้น้อยกว่าที่อื่น การรับรู้ลมหายใจจึงทำให้หยุดคิด เมื่อทำได้แล้ว ให้หายใจตามปกติ

2 .ฝึกจัดการความคิด 4 นาที ฝึกการจัดการความคิดที่เกิดขึ้นในใจ โดยให้รู้ตัวว่ามีความคิดเกิดขึ้น แต่อย่าติดตาม ปลดปล่อยความคิดนั้นไป และกลับมาสนใจที่ลมหายใจบริเวณปลายจมูก อย่าสั่งตัวเองให้หยุดคิดหรือว้าวุ่นวกวนกับความคิดเพราะจะทำให้จิตไม่สงบ วิธีนี้สมองจะค่อยๆปลดปล่อยความว้าวุ่นออกไปจากจิตใต้สำนึกจนสงบ

3. ฝึกจัดการความง่วงความง่วงเกิดจากจิตเริ่มสงบ ต้องจัดการโดยพยายามยืดตัวให้ตรง เพื่อให้ร่างกายตื่นตัว หายใจเข้าออกลึกๆ 5-6 ครั้ง เมื่อหายง่วงให้กลับมารับรู้ลมหายใจบริเวณปลายจมูกเช่นเดิม ช่วงเวลาฝึกสมาธิที่ดีที่สุดคือเช้าตรู่หรือก่อนนอน เนื่องจากเป็นช่วงที่สงบ

นพ.ยงยุทธ วงศ์ภิรมย์ศานติ์ นายแพทย์ทรงคุณวุฒิกรมสุขภาพจิต กล่าวว่า สติเป็นจิตที่มีคุณภาพในขณะทำงาน ส่วนสมาธิเป็นจิตที่มีคุณภาพขณะพัก ทั้ง 2 ส่วนนี้สัมพันธ์เกื้อหนุนกัน

การนั่งสมาธิทุกวัน วันละ 10-20 นาที จะเกิดการเปลี่ยนแปลงที่ตัวบุคคล ทำให้การทำงานดีขึ้น ควบคุมอารมณ์ได้ดีขึ้น แสดงออกอย่างระมัดระวัง ตระหนักรู้ตัวเอง ทำให้จิตมีความรัก ความเมตตาเสียสละ และอดทน 

เนื่องจากจิตในขณะที่มีสติ จะทำงานโดยไม่วอกแวก ไม่ถูกสอดแทรกด้วยอารมณ์ ส่วนจิตขณะทำสมาธิจะหยุดคิดจนเกิดความสงบ เกิดการผ่อนคลายทั้งร่างกายและจิตใจ เป็นการคลายเครียดในระดับลึก

ตรงข้ามกับกระบวนการเกิดอารมณ์และความเครียด  ซึ่งจะเริ่มจากการสะสมความว้าวุ่น ความคิดลบจากแรงกดดันต่างๆและจบด้วยการเกิดอารมณ์และความเครียด 

จะเห็นได้ว่าการฝึกสมาธิมีประโยชน์มาก ไม่ใช่แค่ช่วยพัฒนาด้านอารมณ์และจิตใจเท่านั้น แต่ยังส่งผลต่อบุคลิกภาพและสุขภาพในระยะยาวด้วยหากเราปรับเปลี่ยนรูปแบบชีวิตให้สอดคล้องย่อมทำให้เกิดความสมดุลและมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น


แหล่งข้อมูล 

http://www.springradio.in.th/columnist.php?page=1&menu_id=&columnist_id=20&content_id=65&subcontent_id=801

การฝึกสติเป็นเรื่องสากล ไม่ว่าคนชาติใดศาสนาใดก็ฝึกได้ เพราะสติเป็นสิ่งที่นำมาใช้ได้ประโยชน์ได้มากมาย จากการศึกษาวิจัยพบว่า การฝึกสติเป็นประจำสมํ่าเสมอจะช่วยป้องกัน บรรเทา และบำบัดอาการเจ็บป่วยได้อย่างหลากหลาย เช่น อาการซึมเศร้า เครียด ไมเกรน พฤติกรรมเสพติด โรคกระเพาะอาหารและลำไส้ ฯลฯ ผู้ที่ฝึกสติเป็นประจำจะเกิดการเปลี่ยนแปลงของคลื่นสมองและสมองส่วนหน้า ทำให้มีความสงบมากขึ้น มีความยั้งคิดมากขึ้น มีประสิทธิภาพในการจำมากขึ้น มีสภาวะอารมณ์ทางบวกมากขึ้น และปรับตัวเข้ากับคนอื่นได้ดีขึ้น

ในการออกกำลังกายหรือการทำกิจกรรมทางกาย สติก็จะมีส่วนช่วยได้มากเช่นกัน สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ได้จัดทำโครงการจัดการความรู้และส่งเสริมกิจกรรมทางกายอย่างมีสติ เพื่อศึกษาว่าการออกกำลังการและการทำกิจกรรมทางกายอย่างมีสติในชีวิตประจำวันมีผลต่อสุขภาพกายและสุขภาพใจอย่างไร โดยรวบรวมข้อมูลที่น่าสนใจเกี่ยวกับการศึกษาวิจัยและประสบการณ์ของผู้ที่ฝึกสติในการออกกำลังกาย พร้อมทั้งจัดกลุ่มทดลองในกิจกรรมทางกายประเภทต่างๆ พบว่า

การฝึกสติช่วยให้ออกกำลังกายได้นานขึ้น เพลิดเพลินมากขึ้น การมีสติรู้ตัวช่วยป้องกันอุบัติเหตุต่างๆ ที่อาจเกิดขึ้นได้ และการฝึกสติให้รับรู้การเคลื่อนไหวและความรู้สึกของอวัยวะส่วนต่างๆ ของร่างกายยังช่วยป้องกันการบาดเจ็บที่เกิดจากการหักโหม หรือการออกกำลังกายที่ไม่ถูกต้อง หรือการไม่ประเมินขีดความสามารถในขณะนั้นๆ ได้ด้วย ส่งผลให้สามารถทำกิจกรรมทางกายได้อย่างมีความสุขยิ่งขึ้น และได้รับพลังชีวิตมากขึ้น การฝึกสติ สามารถฝึกได้ในหลายระดับ เช่น ระดับพื้นฐาน คือมีสติในการทำงานและการใช้ชีวิตทั่วไปให้มีข้อผิดพลาดน้อย สำหรับการพัฒนาสุขภาพกาย-สุขภาพใจให้ดีขึ้น ระดับลึกซึ้งมากขึ้นคือมุ่งไปสู่สมาธิและปัญญา ได้แก่ การฝึกวิปัสสนากรรมฐาน

ประโยชน์ของการมีสติและสมาธิ ได้แก่

น.ส.จุฑารัตน์ มณีธาดา

น.ส.จุฑารัตน์ มณีธาดา เป็นผู้หนึ่งที่ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ ทั้งโยคะ ว่ายน้ำ แดนซ์ เดิน ฯลฯ และได้ฝึกสติในการปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานเป็นเวลากว่า 15 ปี ในหลายแนวทางจากหลายสำนัก กล่าวว่า “การฝึกสติมีประโยชน์อย่างมากในหลายด้าน ในการทำงานและการใช้ชีวิตประจำวัน สติทำให้เราตั้งใจ ระมัดระวัง และรับมือกับสถานการณ์ต่างๆ ได้ดี ในส่วนของการออกกำลังกาย จะสังเกตตัวเองได้ดีขึ้น หากไม่สบายหรือมีอาการเจ็บปวดก็จะประเมินตัวเองได้และทำตามศักยภาพให้พอเหมาะ บางครั้งเคยคิดว่า ‘คงทำต่อไม่ไหวแล้ว’ แต่เมื่อนำสติมากำกับก็กลับเพลิดเพลินจนสามารถเพิ่มเวลามากขึ้นอีกได้ ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ สุขภาพก็แข็งแรง สำหรับสุขภาพใจ เมื่อมีสติ ทำให้เราไม่เครียด มีความยั้งคิดมากขึ้น จิตใจสบาย ยอมรับอะไรๆ ได้มากขึ้น โดยไม่ยึดว่าต้องเป็นอย่างนั้นอย่างนี้”

สำหรับผู้สนใจการฝึกสติเพื่อพัฒนาสมาธิและปัญญาจัดการกับอารมณ์ได้เหมาะสม คือสติในวิปัสสนากรรมฐาน ในเมืองไทยมีหลากแนวทางหลายรูปแบบ และมีสถานที่จัดฝึกอบรมต่างๆ เช่น ยุวพุทธิกสมาคมฯ บางแค, เสถียรธรรมสถาน รามอินทรา, หมู่บ้านพลัม ปากช่อง, วัดสนามใน นนทบุรี เป็นต้น ในส่วนของวัดสนามในนั้น เป็นการฝึกสติแบบเคลื่อนไหวตามแนวทางของหลวงพ่อเทียน จิตฺตสุโภ ที่เน้นให้รู้สึกถึงการเคลื่อนไหว กระพริบตาก็รู้ หายใจก็รู้ จิตใจนึกคิดอะไรก็รู้ คือให้มีสติหรือให้รู้สึกตัว เมื่อร่างกายเคลื่อนไหวไปอย่างไร ใจตามรู้ทัน โดยใช้รูปแบบโดยให้สติอยู่กับการเคลื่อนไหวมือ 14 จังหวะ เช่น พลิก ยก เลื่อน ลด ตะแคง คว่ำ ฯลฯ และให้รู้การเคลื่อนไหวของจิตใจกับการนึกคิด เมื่อจิตคิด ก็ให้สติรับรู้การคิดที่เกิดขึ้นนั้น และสามารถนำมาปรับใช้ให้รู้สึกตัวกับการเคลื่อนไหวตามปกติในชีวิตประจำวันได้

ส่วนผลของการปฏิบัติฝึกสติตามแนวทางนี้ มีงานวิจัยได้สรุปว่า ผู้ปฏิบัติสามารถควบคุมอารมณ์ของตนเองได้ดีกว่าเดิม มีสติระลึกรู้ในการทำงาน เข้าใจคนอื่นได้ดี ปรับสภาวะทางจิตให้ยืดหยุ่นได้ มีความตั้งใจมั่น หรือทำให้มีสมาธิที่ยาวนานกว่าเดิม ทำให้เกิดปัญญาในการแก้ไขปัญหาต่างๆ ในชีวิตประจำวันได้

ผู้ที่สนใจเข้ารับการฝึกเจริญสติตามแนวหลวงพ่อเทียน สามารถติดต่อขอข้อมูลได้ที่วัดสนามใน โทร. 0 2883 7251 นอกจากนี้ คณะศิษย์หลวงพ่อเทียน จิตฺตสุโภ ยังได้จัดการอบรมโดยนิมนต์พระภิกษุในสายงานปฏิบัติของหลวงพ่อเทียนมาให้คำแนะนำ ที่หอจดหมายเหตุพุทธทาส อินทปัญโญ (สวนโมกข์ กรุงเทพฯ) ในสวนวชิรเบญจทัศน์ (สวนรถไฟ) จตุจักร ในวันเสาร์และวันอาทิตย์ทุกสัปดาห์ที่ 2 ของเดือน ดูรายละเอียดได้ที่ http://www.bia.or.th/html_th/events/2012-03-12-09-31-10/item/380-2013-08-07-09-58-22.html

ประโยชน์ของการมีสติและสมาธิมีอะไรบ้าง

การฝึกสติและสมาธิเป็นประจําาสม่ําาเสมอทุกวันโดยการนั่งสมาธิวันละ 10-30 นาที จะช่วยให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในตัวเรา ดังนี้ 1.เราสามารถควบคุมการทําางานของร่างกายส่วนต่างๆ ได้ดีขึ้น 2.สมองส่วนต่างๆ สามารถติดต่อสื่อสารกันได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น 3.ควบคุมอารมณ์ของตนเองได้ดีขึ้น และแสดงออกอย่างระมัดระวังมากขึ้น

ประโยชน์ของการฝึกสติคืออะไร

เจริญสติเพื่อให้ชีวิตของคุณรับความเป็นไปของสรรพสิ่งที่เกิดขึ้นได้ ไม่ว่าจะเป็นอารมณ์ หรือเหตุการณ์ใดๆ ก็ตาม เรียนรู้วิธีเตรียมพร้อม ยอมรับในสิ่งที่กำลังจะมาถึง เพราะทุกสรรพสิ่งล้วนไม่เที่ยง เพื่อสร้างภูมิคุ้มกันให้กับชีวิต เตรียมเผชิญกับสิ่งที่กำลังจะมาในอนาคต

ข้อใดคือประโยชน์ของสมาธิ

5 ประโยชน์จากการทำสมาธิ เพื่อสุขภาพใจที่ดีของคุณ.
ฉลาดมากขึ้น ... .
ลดความเครียด ... .
ใจมีความสุขมากขึ้น ... .
การนอนหลับดีขึ้น ... .
ยืดอายุสมอง.

ข้อดีของการทำสมาธิรวมคณะคืออะไร

การทำสมาธิเมื่อจิตใจเรานิ่งมากๆ ผสานเป็นหนึ่งเดียวกับลมหายใจแล้ว สารแห่งความสุขจะหลั่งไหลออกมาจนแผ่ซ่านความเย็นไปทั่วสรรพางค์กายอย่างน่าอัศจรรย์ใจทีเดียวค่ะ ด้วยเหตุนี้ จึงช่วยผ่อนคลายความเครียดได้อย่างปลิดทิ้งทันตาและยังทำให้เรามีจิตใจสงบเยือกเย็น และมีความสุขอย่างที่ไม่เคยสัมผัสมาก่อนแน่นอน