มรดกโลกทางวัฒนธรรมและทางธรรมชาติมีความหมายอย่างไร

�ô��ҧ�Ѳ����� (Cultural Heritage) ���¶֧ ͹��ó�ʶҹ ������Ҥ�����ʶҹ������դس��ҷҧ����ѵ���ʵ�� �ع�����Ҿ ��ҳ��� �Է����ʵ�� �ҵԾѹ����Է�� �����ҹ����Է�� �����Ҩ��繧ҹ�ҧ��ҹʶһѵ¡��� ��е��ҡ��� �Եá��� ����������ҳ��շҧ�����ҵ� �� ��� ����ʶҹ����Ӥѭ����Ҩ�繼ŧҹ�ҡ����������������繼ŧҹ�����ѹ�����ҧ�����ҵ����������

 

มรดกโลกทางวัฒนธรรมและทางธรรมชาติมีความหมายอย่างไร

�ô��ҧ�����ҵ� (Natural Heritage) ���¶֧ ��觷���Դ��������ҧⴴ�������Ҩ����ͧ�Ҩҡ��кǹ��÷ҧ����Ҿ����Է����иó��Է�� ����ȹ�ͧ��¾ѹ���ͧ�ѵ����оת�����ѧ�١�ء������Ҩ���٭�ѹ����� ��ʹ����鹷�����դس����������㹷ҧ�Է����ʵ�� ���͹��ѡ������ع�����Ҿ��������ҵ�

แหล่งมรดกโลก (World Heritage Site) คือ พื้นที่หรือจุดหลัก (Landmark) ที่ได้รับคัดเลือกจากยูเนสโก เพราะมีลักษณะสำคัญทางวัฒนธรรม ประวัติศาสตร์ วิทยาศาสตร์ หรือด้านอื่น และได้รับความคุ้มครองทางกฎหมายตามสนธิสัญญา สถานที่เหล่านี้ถือว่าสำคัญต่อประโยชน์โดยรวมของมนุษยชาติ

ในปัจจุบัน (กรกฎาคม 2562) มีมรดกโลกทั้งหมด 1,121 แห่ง ใน 167 ประเทศทั่วโลก แบ่งเป็นมรดกโลกทางวัฒนธรรม 869 แห่ง มรดกโลกทางธรรมชาติ 213 แห่ง และอีก 39 แห่งเป็นแบบผสมทั้งสองประเภท โดยอิตาลีและจีนเป็นประเทศที่มีจำนวนแหล่งมรดกโลกมากที่สุด คือ 55 แห่ง รองลงมาคือสเปน (48 แห่ง) เยอรมนี (46 แห่ง) และฝรั่งเศส (45 แห่ง) แม้ว่ายูเนสโกจะอ้างอิงถึงมรดกโลกแต่ละแห่งด้วยหมายเลข แต่การขึ้นทะเบียนในหลายครั้งก็จะผนวกเอามรดกโลกที่ได้ขึ้นทะเบียนไปแล้วเข้าเป็นส่วนหนึ่งของมรดกโลกที่มีพื้นที่มากขึ้น ดังนั้นจึงมีหมายเลขมรดกโลกเกิน 1,200 แม้ว่าจะมีจำนวนมรดกโลกน้อยกว่าก็ตาม

ในส่วนแหล่งมรดกโลกของประเทศไทยนั้น มีสถานที่ที่ได้ขึ้นทะเบียนแล้วทั้งสิ้น 5 แห่ง ประกอบด้วยแหล่งมรดกโลกทางวัฒนธรรม 3 แห่ง และทางธรรมชาติอีก 2 แห่ง

สัญลักษณ์ มรดกโลก ออกแบบโดย Mr. Michel Olyff  มีความหมายเน้นย้ำความสัมพันธ์ระหว่างมรดกทางวัฒนธรรมและธรรมชาติ สี่เหลี่ยมจตุรัสหมายถึงรูปแบบที่สร้างขึ้นโดยมนุษย์และวงกลมหมายถึงธรรมชาติ ซึ่ง 2 สิ่งนี้เชื่อมโยงกันอย่างไม่มีที่สิ้นสุด ภายนอกเป็นสัญลักษญ์วงกลมคล้ายโลก และยังหมายถึงการปกป้องคุ้มครอง ซึ่งแสดงว่ารัฐภาคีนั้นได้อยู่ภายใต้อนุสัญญาว่าด้วยการคุ้มครองมรดกโลก ทำหน้าที่ในการจำแนกแจกแจงทรัพย์สมบัติที่ได้จารึกในบัญชีมรดกโลก รวมถึงการให้ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับอนุสัญญาว่าด้วยการคุ้มครองมรดกโลกแก่สังคม เพื่อเป็นการแสดงถึงความมีคุณค่าโดดเด่นอันเป็นสากล

มรดกโลกทางวัฒนธรรมและทางธรรมชาติมีความหมายอย่างไร

 

มรดกโลก คืออะไร

มรดก คือสิ่งที่ตกทอดมาจากอดีต
คือสิ่งที่ยังคงดำรงอยู่ให้เราได้ใช้ในปัจจุบัน
และเป็นสิ่งที่เราจะส่งต่อให้กับคนในรุ่นต่อๆ ไปในอนาคต

แนวคิดที่สำคัญของ มรดกโลก คือ การมีคุณสมบัติอันทรงคุณค่าในระดับสากล มรดกโลกเป็นของบุคคลทุกคนบนโลก ไม่ว่าแหล่งมรดกโลกนั้นจะตั้งอยู่ในอาณาเขตดินแดนใด

คุณสมบัติในระดับสากลของแหล่งมรดกโลกมีคุณค่าเหนือกว่าการเป็นเพียงอัตลักษณ์ของชาติใดชาติหนึ่ง ซึ่งทำให้มรดกโลกในประเทศหนึ่งๆ เช่น มรดกโลกในประเทศอียิปต์ เป็นทั้งของชาวอิยิปต์ ชาวอินโดนีเซีย ชาวอาร์เจนตินา หรือชาวไทย

คุณสมบัติเหล่านี้ได้รับการรับรองตามประกาศในอนุสัญญาคุ้มครองมรดกโลกทางวัฒนธรรมและทางธรรมชาติ (อนุสัญญาคุ้มครองมรดกโลก) ประเทศที่ลงนามในอนุสัญญาฯ คือประเทศที่ได้ตกลงร่วมกันว่า แหล่งมรดกโลกที่ตั้งอยู่ในอาณาเขตประเทศของตนและขึ้นทะเบียนไว้ในบัญชีรายชื่อมรดกโลกนั้น เป็นมรดกโลกซึ่งไม่ว่าจะอยู่ในขอบเขตอำนาจอธิปไตยของประเทศใดก็ตามก็ถือเป็นหน้าที่ของนานาประเทศในการที่จะร่วมมือกันปกป้องสงวนรักษาไว้

หากไม่ได้รับการส่งเสริมจากอนุสัญญาฯ แหล่งมรดกโลกที่มีคุณค่าทางวัฒนธรรมและทางธรรมชาติที่โดดเด่นเหล่านี้อาจเสื่อมค่า หรืออาจสูญสิ้นไปในที่สุด ซึ่งโดยส่วนใหญ่แล้วเกิดจากการขาดแคลนทุนทรัพย์ในการสงวนรักษาเอาไว้ ประเทศต่างๆ ที่เป็นภาคีในอนุสัญญาฯ มีหน้าที่ให้การสนับสนุนทางด้านการเงินและข้อมูลความรู้ที่จำเป็นในการสงวนรักษาแหล่งมรดกโลกต่างๆ เอาไว้

จนถึงปี 2563 มีรัฐภาคีในอนุสัญญามรดกโลกรวม 194 ประเทศ และมีแหล่งมรดกโลกในบัญชีรายชื่อมรดกโลกรวม 1,121 แหล่ง โดยแบ่งเป็น มรดกโลกทางวัฒนธรรม 869 แหล่ง มรดกโลกทางธรรมชาติ 213 แหล่ง และมรดกโลกแบบผสม 39 แหล่ง ใน 167 ประเทศ

มรดกโลกทางวัฒนธรรมและทางธรรมชาติมีความหมายอย่างไร

ป้ายมรดกโลก ทุ่งใหญ่-ห้วยขาแข้ง

มรดกโลกแตกต่างจากมรดกของชาติอย่างไร

หัวใจสำคัญคือ คุณค่าที่โดดเด่นเป็นเลิศในระดับสากล

ทุกประเทศต่างมีแหล่งที่มีความสำคัญอันเป็นมรดกประจำชาติหรือประจำท้องถิ่นของตน ซึ่งถือได้ว่าเป็นความภาคภูมิใจของประเทศนั้นๆ อนุสัญญาฯ ส่งเสริมให้ประเทศต่างๆ ให้ความสำคัญและปกป้องมรดกของตนไว้ ไม่ว่าจะอยู่ในบัญชีรายชื่อมรดกโลกหรือไม่ก็ตาม แหล่งที่ได้รับการขึ้นทะเบียนในบัญชีรายชื่อล้วนผ่านการประเมินเป็นอย่างดีแล้วว่ามีความโดดเด่นเป็นเลิศ และสามารถเป็นแบบฉบับของมรดกโลกทางวัฒนธรรมหรือทางธรรมชาติได้

บัญชีรายชื่อมรดกโลกประกอบด้วยสถานที่ที่เป็นที่รู้จักโดยทั่วไป และสถานที่ที่คนทั่วไปอาจไม่คาดคิดว่าจะมีอยู่ในบัญชีรายชื่อ แหล่งมรดกโลกที่ได้รับการขึ้นทะเบียน เช่น นาขั้นบันไดแห่งเทือกเขาฟิลิปปินส์ เมืองเก่าฆาดาเมสประเทศลิเบีย ค่ายกักกันเอาชวิทซ์ประเทศโปแลนด์ อุทยานแห่งชาติโยเซมิตีประเทศสหรัฐอเมริกา ทัชมาฮาลประเทศอินเดีย และ วาดี คาดิชา (หุบเขาศักดิ์สิทธิ์) และป่าไม้ซีดาร์ของพระเจ้า (ฮอร์ช อาร์ซ เอล-รับ) ประเทศเลบานอน เป็นต้น

คือ สถานที่ อันได้แก่ ป่าไม้ ภูเขา ทะเลสาบ ทะเลทราย อนุสาวรีย์ สิ่งก่อสร้างต่างๆ รวมไปถึงเมือง ซึ่งคัดเลือกโดยองค์การยูเนสโกตั้งแต่ปี พ.ศ.2515 เพื่อเป็นการบ่งบอกถึงคุณค่าของสิ่งที่มนุษยชาติ หรือธรรมชาติได้สร้างขึ้นมา และควรจะปกป้องสิ่งเหล่านั้นได้อย่างไร เพื่อให้ได้ตกทอดไปถึงอนาคต

           

อนุสัญญาคุ้มครองมรดกโลก


แหล่งวัฒนธรรมหรือแหล่งธรรมชาติที่มีความโดดเด่นเป็นเลิศระดับสากล เมื่อได้รับการยอมรับให้เป็น “มรดกโลก” ไม่ว่าจะตั้งอยู่ในดินแดนของประเทศใดก็ถือว่าเป็นมรดกของมนุษยชาติทั้งปวง และเพื่อยับยั้งความสูญสลายและเสื่อมโทรมของสมบัติล้ำค่าของโลก อนุสัญญาว่าด้วยการคุ้มครองมรดกโลกทางวัฒนธรรมและทางธรรมชาติ หรือเรียกสั้นๆ ว่า “อนุสัญญาคุ้มครองมรดกโลก” จึงถูกกำหนดขึ้นในการประชุมใหญ่สมัยสามัญ ครั้งที่ 17 เมื่อวันที่ 16 พฤศจิกายน 2515 ณ กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส โดยการรับรองขององค์การการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ หรือยูเนสโก (UNESCO) และมีผลบังคับใช้ในปี พ.ศ. 1518 เป็นต้นมา โดยแบ่งมรดกโลกออกเป็น 2 ประเภท  ได้แก่ มรดกทางวัฒนธรรม (Cultural Heritage) และมรดกทางธรรมชาติ (Natural Heritage)

         มรดกทางวัฒนธรรม หมายถึง สถานที่ซึ่งเป็นโบราณสถานไม่ว่าจะเป็นงานด้านสถาปัตยกรรม ประติมากรรม จิตรกรรม หรือแหล่งโบราณคดีทางธรรมชาติ เช่น ถ้ำ หรือกลุ่มสถานที่ก่อสร้างยกหรือเชื่อมต่อกันอันมีความเป็นเอกลักษณ์ หรือแหล่งสถานที่สำคัญอันอาจเป็นผลงานฝีมือมนุษย์หรือเป็นผลงานร่วมกันระหว่างธรรมชาติกับมนุษย์ รวมทั้งพื้นที่ที่เป็นแหล่งโบราณคดี ซึ่งสถานที่เหล่านี้มีคุณค่าความล้ำเลิศทางประวัติศาสตร์ ศิลปะ มนุษยวิทยา หรือวิทยาศาสตร์

          มรดกทางธรรมชาติ หมายถึง สภาพธรรมชาติที่มีลักษณะทางกายภาพและชีวภาพอันมีคุณค่าเด่นชัดในด้านความล้ำเลิศทางวิทยาศาสตร์ หรือเป็นสถานที่ซึ่งมีสภาพทางธรณีวิทยาและภูมิประเทศที่ได้รับการวิเคราะห์แล้วว่าเป็นถิ่นที่อยู่อาศัยของพันธุ์พืชและสัตว์ ซึ่งถูกคุกคาม หรือเป็นแหล่งเพาะพันธุ์ของพืชหรือสัตว์ที่หายาก เป็นต้น


           อนุสัญญานี้ต้องการส่งเสริมความร่วมมือระหว่างประเทศเพื่อคุ้มครองและอนุรักษ์มรดกทางวัฒนธรรมและทางธรรมชาติให้ดำรงคุณค่าความโดดเด่นเป็นมรดกของมวลมนุษยชาติทั้งในปัจจุบันและอนาคตสืบไป ทั้งนี้รัฐภาคีในอนุสัญญาฯ ต้องยอมรับในเบื้องต้นก่อนว่าจะต้องมีหน้าที่รับผิดชอบในการศึกษา วิเคราะห์ วิจัย เพื่อคุ้มครองป้องกันและสงวนรักษาแหล่งมรดกโลกที่อยู่ในประเทศของตน และบางครั้งอาจได้รับความช่วยเหลือจากนานาประเทศ เพื่อให้แหล่งมรดกโลกได้รับการปกป้องคุ้มครองอย่างเหมาะสมและดีที่สุด

หลักเกณฑ์การพิจารณาเป็นมรดกโลก

หลักเกณฑ์ทางวัฒนธรรม 

1. เป็นตัวแทนในการแสดงผลงานชิ้นเอกที่จัดทำขึ้นด้วยการสร้างสรรค์อันชาญฉลาดของมนุษย์


2. เป็นสิ่งที่มีอิทธิพลยิ่ง ผลักดันให้เกิดการพัฒนาสืบต่อมาในด้านการออกแบบทางสถาปัตยกรรม อนุสรณ์สถาน ประติมากรรม สวน และภูมิทัศน์ ตลอดจนการพัฒนาศิลปกรรมที่เกี่ยวข้อง หรือการพัฒนาการตั้งถิ่นฐานของมนุษย์ ซึ่งได้เกิดขึ้นในช่วงเวลาใดเวลาหนึ่ง หรือบนพื้นที่ใดๆ ของโลกซึ่งทรงไว้ซึ่งวัฒนธรรม

3. เป็นสิ่งที่ยืนยันถึงหลักฐานของวัฒนธรรมหรืออารยธรรมที่ปรากฏให้เห็นอยู่ในปัจจุบันหรือว่าที่สาบสูญไปแล้ว

4. เป็นตัวอย่างอันโดดเด่นของประเภทของสิ่งก่อสร้างอันเป็นตัวแทนของการพัฒนาทางด้านวัฒนธรรม สังคม ศิลปกรรม วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี อุตสาหกรรม ในประวัติศาสตร์ของมนุษยชาติ

5. เป็นตัวอย่างอันโดดเด่นของวัฒนธรรมมนุษย์ ขนบธรรมเนียมประเพณีแห่งสถาปัตยกรรม วิธีการก่อสร้าง หรือการตั้งถิ่นฐานของมนุษย์ซึ่งเสื่อมสลายได้ง่ายจากผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงทางสังคมและวัฒนธรรมตามกาลเวลา

6. มีความคิดหรือความเชื่อที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับเหตุการณ์ หรือมีความโดดเด่นยิ่งในประวัติศาสตร์

................................................................

หลักเกณฑ์ทางธรรมชาติ


หลักเกณฑ์ในการพิจารณาให้เป็นแหล่งมรดกโลกทางธรรมชาตินั้น  แหล่งดังกล่าวจะต้องมีคุณลักษณะโดดเด่นตามหลักเกณฑ์ข้อใดข้อหนึ่งหรือหลายข้อ ดังต่อไปนี้


7. เป็นตัวอย่างที่เด่นชัดของการเป็นตัวแทนในวิวัฒนาการสำคัญต่างๆ ในอดีตของโลก เช่น ยุคสัตว์เลื้อยคลาน ยุคน้ำแข็ง ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงการพัฒนาความหลากหลายทางธรรมชาติบนพื้นโลกหรือยุคน้ำแข็ง ซึ่งมนุษย์ดึกดำบรรพ์และสิ่งแวดล้อมเกิดการเปลี่ยนแปลงเป็นอย่างมาก


8. เป็นตัวอย่างเด่นชัดในการเป็นตัวแทนของกระบวนการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญทางธรณีวิทยา หรือวิวัฒนาการทางชีววิทยา และปฏิสัมพันธ์ของมนุษย์ต่อสิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติที่กำลังเกิดอยู่ ลักษณะนี้จะแตกต่างจากหลักเกณฑ์ในข้อแรก กล่าวคือ จะเน้นกระบวนการที่กำลังเป็นอยู่ของชุมชนพื้ชและสัตว์ การเกิดสภาพภูมิประเทศต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นแผ่นดิน ทะเล และแหล่งน้ำผิวดิน ลักษณะดังกล่าวนี้จึงรวมถึง

  • ขบวนการทางธรณีวิทยา ภูเขาน้ำแข็ง หรือภูเขาไฟ
  • วิวัฒนาการทางชีววิทยา ตัวอย่างของกลุ่มสิ่งมีชีวิต เช่น ป่าไม้เขตร้อน ทะเลทราย ที่ราบทุนด้า

9. เป็นแหล่งที่เกิดจากปรากฎการณ์ทางธรรมชาติที่เป็นเอกลักษณ์หายากเป็นพิเศษ เช่น การเกิดหรือลักษณะหรือแหล่งที่มีความงดงามทางธรรมชาติกว่าพื้นที่อื่นๆ เช่น ระบบนิเวศที่มีลักษณะพิเศษ สภาพธรรมชาติ เช่น แม่น้ำ ภูเขา และน้ำตก แหล่งรวมความหนาแน่นของสัตว์ สภาพทิวทัศน์ที่มีพืชนานาชนิดเป็นองค์ประกอบ และแหล่งรวมความผสมผสานระหว่างองค์ประกอบทางธรรมชาติและวัฒนธรรม

10. เป็นถิ่นที่อยู่อาศัยของชนิดสัตว์และพันธุ์พืชที่หายากหรือที่ตกอยู่ในสภาวะอันตราย แต่ยังคงสามารถดำรงชีวิตอยู่ได้ ซึ่งรวมถึงระบบนิเวศอันเป็นแหล่งรวมความอุดมสมบูรณ์ของพืชและสัตว์ที่ทั่วโลกให้ความสนใจด้วย