วิชาเครื่องจักรกลงานก่อสร้าง

การจัดการเครื่องจักรกลก่อสร้าง
(managing construction equipment)

โดย นางสาวณัฐพร ลอยพิลา

รหัสนักศึกษา 56101226140

สาขาวิชาอุตสาหกรรมศิลป์และเทคโนโลยี

จุดประสงค์ในการในเครื่องจักรกล

  • ประสิทธิภาพการทํางานบางอย่างสูงกว่าการใช้แรง =งานแรงงาน ได้หลายๆคนประหยัดค่าใช้จ่ายได้ดีอีกด้วย
  • การทํางานบางอย่างซึ่งถ้าใช้แรงงานแล้ว ความล่าช้า ไม่สะดวกด้วยซึ่งการใช้เครื่องจักรประหยัดเวลา ได้ดีกว่า

3. ลักษณะของงานก่อสร้างบางอย่าง ต้องกระทำให้ตรงตามมาตรฐานที่กําหนดไว้ในรายการ ก่อสร้าง การบดอัด การตัดเกรด เป็นต้น ซึ่งแรงงาน ได้ผลดีเท่ากับเครื่องจักรกล และ งานบางอย่างใช้ได้เฉพาะเครื่องจักรกลเท่านั้น

จุดประสงค์ในการในการใช้เครื่องจักรกล

4. แนวโน้มของค่าจ่างแรงงานสูงขึ้นเรื่อยๆ คิดค้นเครื่องจักรกลและเครื่องทุ่นแรงต่างๆเข้ามาใช้แทนแรงงาน จํานวนคนงน

5. การใช้แรงงานเป็นจํานวนมาก ย่อม มีปัญหาต่างๆ

ขึ้นได้เสมอ ปัญหาในเรื่องที่อยู่อาศัย อุบัติเหตุข้อพิพาทระหว่างผู้ใช้แรงงานด้วยกันเอง การเรียกรองผลประโยชน์ อื่นๆ ตลอดจนการนัดหยุดงานเพื่อต่อรองกับผู้รับเหมาก่อสร้าง อันเป็นปัญหาแรงงาน เวลาและค่าใช้จ่ายของงานในโครงการอย่างแน่นอน

การจัดการเครื่องจักรกลก่อสร้าง

(managing construction equipment)

การจัดการ

เครื่องจักรกล

ประเภทของเครื่องจักรกล

การแบ่งเป็นประเภทจะแบ่งจากการใช้งาน ตามหัวข้อ โดยพิจารณาจากลักษณะการทำงานการจัดแบ่งหมวดหมู่ของงาน หรือการแบ่งประเภทของ เครื่องจักรกลตามลักษณะการใช้งานนั้น ต่างกันไป ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับการพิจารณา ว่าอย่างใดจึงจะเหมาะสม

ประเภทของเครื่องจักรกล

1. เครื่องจักรกลที่ใช้ยกและขนถ่ายวัสดุ

5. เครื่องจักรกลที่ใช้กับงานฐานราก

4. เครื่องจักรกลที่ใช้ในงานถนน

2. เครื่องจักรกลที่ใช้ในงานดิน

3. เครื่องจักรกลที่ใช้ในงานคอนกรีต

6. เครื่องจักรกลที่ใช้ในการขุดเจาะ

หลักการเลือกใช้เครื่องจักรกล

1. การเลือกเครื่องจักรกลต้องพอเหมาะกับงาน ขนาดใหญ่หรือเล็กจนเกินไป

2. เลือกใช้เครื่องจักรกลแต่ละชนิดให้ถูกต้องเหมาะสมกับลักษณะของงานและสภาพของงาน

3. ใช้เครื่องจักรกลให้เต็มความสามารถ เกินขีดความสามารถเป็นอันขาด

4. ใช้เครื่องจักรกลตามข้อแนะนำของผู้ผลิตอย่างเคร่งครัด รักษาเครื่องจักรกลให้อยู่ในสภาพที่

5. ถ้าเกิดการชำรุดเพียงเล็กน้อย เครื่องตรวจสอบแก้ไขข้อเสียหายนั่นทันที


อายุการใช้งานของเครื่องจักรกล

พิจารณาถึงอายุการใช้งานของเครื่องจักรกลเป็นช่วงเวลา

ช่วงเวลาคุ้มค่าสูงสุด (Economic Life) =ช่วงอายุการใช้งานของเครื่องจักรกล ซึ่ง สามารถทำงานได้มีประสิทธิภาพสูงสุดตลอดอายุการใช้งานของเครื่องจักรกล เครื่องจักรกล ยังอยู่ในสภาพที่ใหม่มีความคล่องตัวสูง ช่วงเวลาที่เครื่องจักรกลทำงานให้ผลคุ้มค่าที่สุดช่วงเวลานี้คิดอายุของเครื่องจักรกลประมาณ 5 ปี

2. ช่วงเวลาส่งผลกำไร (Profit Life) = อายุการใช้งานของเครื่องจักรกล เครื่องจักรกลนั้นยังสามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ คล่องตัวนักก็ตาม มีการชำรุดสึกหรออยู่บ้าง แต่ก็ไม่กระทบต่อประสิทธิภาพของงานมากนัก ผลผลิตที่ได้จึงน้อยกว่า ช่วงเวลาคุ้มค่าสูงสุด การคิดอายุของเครื่องจักรกลนี้ประมาณไว้ 10 ปี

3. อายุตามสภาพ (Physical Life) = อายุการใช้งานของเครื่องจักรกลซึ่งสามารถจะใช้งานต่อไปได้อีกจนถึงอายุประมาณ 14 ปี แต่สภาพการใช้งานของเครื่องจักรกล มีปัญหาต่อประสิทธิภาพของการทำงาน เครื่องจักรกลมีการสึกหรอไม่คล่องตัว จึงไม่สามารถทำงานได้เต็มตามประสิทธิภาพ และอาจจะไม่คุ้มค่ากับผลที่ได้ นอกจากนี้อาจจะต้องเสียเวลาซ่อมบำรุง เพราะมีสภาพเก่าเนื่องผ่านการใช้งานมามาก ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อเวลาและค่าใช้จ่ายเป็นอย่างมากด้วย

ปั้นจั่นที่ใช้โดยทั่วไปนั้น มีอุปกรณ์ประกอบอยู่หลายชนิด ซึ่งสามารถจะเลือกใช้กับงานต่างๆ ได้ตามความประสงค์ เป็นเครื่องมือที่จำเป็นและอำนวยความสะดวกกับการก่อสร้างเป็นอย่างยิ่ง ปั้นจั่นส่วนมากจะใช้สำหรับการยกของและใช้เคลื่อนย้ายวัสดุต่างๆ

ส่วนประกอบที่สำคัญอยู่ 3 ส่วน

1. ยานบรรทุก(Carrierormounting)

2. โครงหมุน(RevolvingSuperstructure)

3. อุปกรณ์ประกอบทางด้านหน้า (Front-end Attachment)

โครงหมุนและยานบรรทุกปั้นจั่น (Revolving Superstructure and Mounting)

ยานบรรทุกปั้นจั่นนั้นมีอยู่ 3 แบบ

คือรถตีนตะขาบ (Crawler Mounting)

รถล้อยาง

(Wheel Mounting)

  • ปั้นจั่นยกของ (Crane)ประกอบด้วยโครงของปั้นจั่น (Crane Boom) และตะขอเกี่ยว (Hook) แรกเริ่มเดิมทีนั้นใช้สำหรับการยกของ และเคลื่อนย้ายของในทางราบตามตำแหน่งที่ต้องการอุปกรณ์ที่นำมาประกอบกับตะขอเกี่ยวมีอยู่หลายชนิด ซึ่งสามารถจะเลือกใช้ให้เหมาะกับงานแต่ละอย่างและยานที่ใช้บรรทุก

แบบรถบรรทุกแบบล้อยาง

Tower Crane

แบบที่เคลื่อนย้ายได้

ติดตั้งอยู่กับที่

นอกจากนี้ยังมีปั้นจั่นที่ใช้สำหรับงานต่างๆ ส่วนมากจะขึ้นอยู่กับลักษณะของอุปกรณ์ที่นำมา
ประกอบไว้ตรงส่วนหน้า จึงมีลักษณะการทำงานแตกต่างกันออกไป มีทั้งชนิดที่เป็นรถล้อยางและรถตีนตะขาบ โดยทำงานด้วยระบบไฮโดรลิกทั้งสิ้น ดังนี้

เป็นปั้นจั่นที่ใช้สำหรับการขุดดิน แต่เป็นการขุดโดยวิธีการตักเหมาะสำหรับการขุดดินอ่อนๆ

โดยทั่วไปใช้สำหรับตักกรวด หิน ดิน ทราย หรือตักวัสดุที่กองไว้ไปยังตำแหน่งที่ต้องการ

ใช้สำหรับขุดดินอ่อนๆ เช่น ขุดสระน้ำ ขุดทางระบายน้ำ แต่เป็น ลักษณะการขุดโดยวิธีลาก

ใช้สำหรับขุดดินที่แข็ง ขุดหิน ขุดกรวด เบางรุ่นจะมีเที่ขุดอย่างเดียว แต่บางรุ่นจะมีที่ขุดและที่ตักอยู่ในคันเรียกกันทั่วไปว่า “รถตักหน้าขุดหลัง”

ใช้สำหรับตอกเสาเข็มทำฐานรากในงานก่อสร้างทุกประเภท โดยมีตุ้มน้ำหนักเป็นตัวตอก ตุ้มน้ำหนักนี้จะผูกติดกับสายเคเบิลซึ่งสามารถบังคับให้เลื่อนขึ้นลงได้

ปั้นจั่นขุดแบบ Clamshell

ปั้นจั่นตัก (Shovels)

ปั้นจั่นที่ขุดแบบ Dragline

ปั้นจั่นขุดแบบ hoe หรือ Excavator

ปั้นจั่นตอกเสาเข็ม (Pile Driver)

สรุปปั่นจั่น

ชื่อของปั้นจั่นแต่ละชนิดจะเรียกไปตามอุปกรณ์ที่นำมาประกอบทางด้านหน้า โดยเรียกตามลักษณะการใช้งาน

ปั้นจั่นที่ติดอุปกรณ์สำหรับขุด = “ปั้นจั่นขุด”

ปั้นจั่นที่ติดอุปกรณ์สำหรับตัก = “ปั้นจั่นตัก”

การทำงานของปั้นจั่นจะทำงานโดยผ่านการบังคับตามสายเคเบิล(Cable) หรือบังคับด้วยระบบไฮโดรลิก (hydraulic) และเป็นที่เชื่อกันแน่ว่า ในอนาคตนั้นจะมีแนวโน้มที่จะใช้ระบบ ไฮโดรลิก มากยิ่งขึ้นด้วย

รถแทรกเตอร์ (Tractor)

ป็นรถที่ขับเคลื่อนด้วยตัวเอง มีทั้งชนิดที่เป็นล้อยางและตีนตะขาบ ใช้กับงานปรับพื้นที่ดันดินถางป่า โดยมีอุปกรณ์หรือใบมีดติดไว้ตรงส่วนหน้าเพื่อใช้ปฏิบัติงานต่างๆ ซึ่งเรียกว่า Dozerหรือ Bulldozer นอกจากนี้รถแทรกเตอร์ยังใช้กับงานอื่นๆ เช่น ลากจูงอุปกรณ์บดถนน ลากจูงรถขุด และ อาจจะเปลี่ยนอุปกรณ์ส่วนหน้าเป็นอุปกรณ์สำหรับการตักหรือขุดดินก็ได้

รถแทรกเตอร์ (Tractor)

ส่วนรถแทรกเตอร์แบบล้อยาง

ส่วนรถแทรกเตอร์แบบตีนตะขาบ

ใช้กับงานทั่วไป และเหมาะกับพื้นดิน

ที่มีความต้านทานไม่มากนัก

จึงสามารถขับเคลื่อนไปได้โยก

สะดวกแทบทุกท้องที่

และสามารถนำไปใช้กับพื้นที่

ที่ลาดเอียงถึง 45 องศาได้ด้วย

แต่ถ้านำไปใช้งานในระยะไกลๆแล้ว

ควรบรรทุกไปบนรถบรรทุก จะเป็นการสะดวกและประหยัดกว่า

ไม่เหมาะกับพื้นที่ที่เป็นดินอ่อน

การใช้งานก็เช่นเดียวกันกับรถตีนตะขาบ

รถล้อยางนี้มีทั้งแบบสี่ล้อและสอง

ล้อ ชนิดสองล้อจะใช้เป็นรถลาก

จูงเครื่องมือชนิดอื่นๆ

เช่น ลากจูงเครื่องมือบดอัดถนน

ลากจูงรถขุดเป็นต้น

ใบมีดที่เป็นอุปกรณ์ติดกับรถแทรกเตอร์มีอยู่ด้วยกัน 4 แบบ

2. แบบเหลี่ยม

3. แบบทั่วไป

4. แบบรองรับ

1. แบบเหยียดตรง

ใบมีดแบบนี้ใช้สำหรับงานปรับพื้นที่ทั่วไปหรือใช้เคลื่อนย้ายดิน

ดันดินในระยะทางสั้นๆ

ใช้งานเช่นเดียวกันกับใบมีดเหยียดตรง แต่จะเหมาะมากกับงานกลบ

ใช้กับงานเคลื่อนย้ายวัสดุ เช่น ดิน หิน กรวด ทรายโดยขนย้ายไปได้ครั้งละมากๆ และสามารถนำไปได้ในระยะไกลๆ อีกด้วย

ใบมีดแบบนี้ใช้เป็นอุปกรณ์ประกอบสำหรับการผลักหรือลากจูงเครื่องมือชนิดอื่นๆ

รถขูดหรือรถไส (Scraper)

ใช้สำหรับไสดินหรือตักดิน และบรรทุกดินที่ได้จากการไสหรือการตักนั้นไปเทยังตำแหน่งที่

ต้องการปกติจะลากจูงด้วยรถล้อยางที่ใช้กับรถไสโดยเฉพาะ หรือลากจูงด้วยรถแทรกเตอร์ล้อยางก็ได้

เครื่องมือเกี่ยวกับการบดอัด(Compaction)

  • การบดอัดดินเป็นกระบวนการอย่างหนึ่งที่จะเพิ่มความหนาแน่นหรือความต้านทานของดินขึ้น พยายามไม่ให้มีช่องว่างของอากาศแทรกอยู่ และขับไล่น้ำให้ออกไปจากช่องว่างเหล่านั้น พื้นดินเกิดความมั่นคงสามารถรับน้ำหนักได้มากขึ้น ซึ่งถ้าปล่อยให้เป็นไปตามธรรมชาติแล้ว ต้องใช้เวลาแรมเดือน แรมปีหรือเป็นระยะเวลาหลายๆ ปีจนกว่าพื้นดินจะแน่น การบดอัดจึงมีความต้องการให้ดินเกิดความมั่นคงแข็งแรงในช่วงระยะเวลาสั้นๆ การบดอัดดินต้องกระทำให้บังเกิดผลดังต่อไปนี้ คือ

1. เพิ่มความแข็งแรงของดินให้สามารรับแรงได้ตามความประสงค์

2. มีการยุบตัวของดินน้อยมาก

3. มีการเปลี่ยนลักษณะและมีปริมาตรของดินเพิ่มขึ้น

4. ลดการซึมของน้ำ หรือน้ำซึมเข้าไปได้น้อยลงกว่าแต่ก่อน

การบดอัดดินให้เกิดผลดังกล่าวข้างต้นได้นั้น จำเป็นต้องใช้เครื่องมือที่มีประสิทธิภาพ ชนิดของเครื่องมือที่ใช้ในการบดอัดดินโดยทั่วไปแล้วแบ่งออกเป็น 6 ประเภท คือ

1.ลูกกลิ้งแบบกระทุ้ง

ทำหน้าที่กระทุ้งให้แน่น และทำให้ดินเกิดการแยกตัวอกจากก้อน

2. ลูกกลิ้งแบบตาข่าย เหมาะสำหรับการบดอัดที่มุ่งหวังให้ดินเกิดการทรุดตัว

เครื่องสั่นสะเทือน

เหมาะกับการบดอัดดินที่มีความชื้นหรือดินที่ค่อนข้างแห้ง

4. ลูกกลิ้งเหล็กเรียบใช้สำหรับการบดอัดพื้นผิวชั้นสุดท้ายก่อนจะลาดยางมะตอย

5. ลูกกลิ้งลม ใช้สำหรับการบดอัดชั้นพื้นดินที่เทไว้หนาๆ และพื้นดินที่มีความหนาแน่นสูง

6. ลูกกลิ้งปล้องหรือลูกกลิ้งแบบเป็นข้อ ใช้งานเช่นเดียวกันกับลูกกลิ้งตีนแกะ แต่สามารถขับเคลื่อนไปได้ด้วยตัวเอง

เป็นรถที่ใช้เกลี่ยปรับแต่งผิวดิน ส่วนมากจะใช้กับงานทำถนน การเกลี่ยปรับผิวดินนี้เป็นขั้นตอนทำงานหลังจากการขุดแต่และการบดอัดดินในชั้นแรกๆ ใบมีดที่ใช้เกลี่ยดินจะติดไว้ใต้ท้องรถตอนช่วงกลางและสามารถจะปรับหันทิศทางได้ตามตำแหน่งที่ต้องการนอกจากนี้ยังมีเครื่องมือที่ใช้กับงานในสนามอีกหลายชนิด เช่น เครื่องผสมคอนกรีต รถผสมคอนกรีต เป็นต้น

รถเกลี่ยดิน (Grader)

คำถาม “การซื้อและการเช่าเครื่องมือเพื่อนำมาใช้กับงานก่อสร้างนั้น อย่างไหนจึงจะอำนวยประโยชน์ได้มากกว่ากัน” ???

คำถามนี้คงจะตอบไปได้หลายทาง ต้องขึ้นอยู่กับความต้องการและเวลาของผู้ใช้ด้วยผู้รับเหมาก่อสร้างบางครั้งมีความจำเป็นต้องซื้อเครื่องมือไว้ใช้งาน แต่ในบางโอกาสก็จำเป็นต้องเช่าเหมือนกัน หลักทั่วไปผู้รับเหมาจะพิจารณาซื้อเครื่องมือที่มีความจำเป็นต้องใช้งานเกือบทุกวัน จะเช่าหรือทำสัญญาเช่าเฉพาะเครื่องมือชนิดพิเศษเท่านั้น

ตามข้อเท็จจริงผู้รับเหมาที่รับเหมาเฉพาะงานก่อสร้างอาคาร เจ้าของเครื่องมือน้อยกว่าผู้รับเหมางานสร้างถนนหรืองานก่อสร้างขนาดใหญ่ ที่ งานก่อสร้างอาคารนั้นมีเครื่องมือกระจุกกระจิกอยู่มากมาย ผู้เป็นเจ้าของเครื่องมือเหล่านี้ได้แก่ พวกช่างฝีมือ ผู้รับเหมาจะเป็นเจ้าของเครื่องมือใหญ่ๆ

เครื่องผสมคอนกรีต เครื่องสั่นคอนกรีต รถบรรทุก รถยก รถแทรกเตอร์ เครื่องสูบน้ำปั้นจั่น และเครื่องมือทางงานไฟฟ้า

สำหรับการเช่าหรือการทำสัญญาเช่าเครื่องมือ ผู้รับเหมาอาจจะเช่าตั้งแต่เครื่องมือขนนาดเล็กจนกระทั่งถึงเครื่องมือขนาดใหญ่ ปั้นจั่นยกของ (Tower Crane) การตัดสินใจเช่าเครื่องมือแต่ละอย่างแต่ละชนิด จะต้องมีแผนการใช้เครื่องเหล่านั้นให้รัดกุมรอบคอบ ต้องพิจารณามากกว่าการเช่า ราคาค่าเช่าเป็นราคาที่กำหนดไว้คงที่แล้ว จึงไม่มีข้อที่พิจารณาถึงมากนัก เพียงแต่ผู้เช่าต้องวางแผนการทำงาน หรือจัดลำดับขั้นตอนทำงานให้สอดคล้องกับการใช้เครื่องมือได้อย่างมีประสิทธิภาพและคุ้มกับค่าเช่าที่ต้องจ่ายไปเท่านั้น การซื้อเครื่องมือมาใช้งานจึงต้อง

วิเคราะห์ไปตามหลักทางเศรษฐศาสตร์

ราคาครอบครองและราคาปฏิบัติการ (Owning and Operating Cost)

เรียกกันโดยทั่วไปว่า “ราคาโอแอนด์โอ” (O & O Cost) ราคาดังกล่าวนี้จะคิดคำนวณไปตามชั่วโมงการทำงาน ราคาต่อหน่วยของผลผลิต หรือการทำงานได้ของเครื่องมือแต่ละชนิดนั้น จะพิจารณาจากอัตราการทำงานได้และจากการที่ครอบครองเครื่องมือเหล่านั้นไว้ การคิดคำนวณหาราคาต่อหน่วยจึงมี

ความสำคัญและใช้เป็นข้อมูลสำหรับการเสนอราคาก่อสร้างของผู้รับเหมาด้วย

1. ราคาครอบครอง (Owning Costs) = การซื้อเครื่องมือมาไว้ใช้งานหรือซื้อไว้เป็นเจ้าของการคิดคำนวณราคาครอบครอง

ก. ค่าเสื่อมราคา(Depreciation)

ข. ค่าการลงทุน (Investment Cost)

ค. ภาษี (Taxes)

ง. การประกัน (Insurance)

จ. การเก็บรักษาและอื่นๆ

(Storage and Miscellaneous)

ก. ค่าเสื่อมราคา (Depreciation) = การลดลงในคุณค่า การหมดค่า การสูญเสียของ

ทรัพย์สิน ตลอดระยะเวลาที่ครอบครองอยู่นั้น การคิดคำนวณหาค่าเสื่อมราคา จึงมีจุดหมายเป็นหลักใหญ่อยู่ 3 ประการ

- การพิจารณาถึงส่วนประกอบของราคาครอบครองและราคาปฏิบัติการ ตามความโน้มเอียงของ ราคาในระหว่างช่วงเวลานั้น

- การพิจารณาค่าเสื่อมราคาระหว่างเวลาที่ใช้งาน

- การประเมินผลภาระทางภาษี

การเสื่อมราคาที่เห็นได้ชัดในเบื้องต้น = ค่าตกต่ำของเครื่องมือตามระยะเวลาที่ครอบครองอยู่นั้น (Salvage Value ใช้ตัวย่อ S) ซึ่งเป็นราคาหรือเป็นค่าสุดท้ายของเครื่องมือที่หมดอายุการใช้งานแล้ว(Useful Life ใช้ตัวย่อ L) หรือเป็นราคาที่จะขายเลหลัง (Auction Price) นั่นเอง สำหรับอายุการใช้งานของเครื่องมือก่อสร้างแต่ละชนิดจะกำหนดไปตามชนิดและสัญลักษณ์ของการใช้เครื่องมือนั้นๆ โดยหลักทั่วไปจะคิดอายุการใช้งานประมาณ 5 ปี และคิดค่าตกต่ำของเครื่องมือ (Salvage Value) ไม่ต่ำกว่า 10% ของ ราคาเบื้องต้น (Initial Cost)

ดังนั้น ราคาเบื้องต้น (Initial Cost ใช้ตัวย่อ C) ที่จะใช้เป็นเกณฑ์คำนวณหาค่าเสื่อมราคา(Depreciation ใช้ตัวย่อ D) จึงเป็นเรื่องสำคัญมาก ต้องกำหนดขอบข่ายให้แน่ชัดว่า จะรวมราคาใช้จ่ายด้านใดบ้าง ปกติราคาเบื้องต้นได้คิดรวมค่าขนส่ง ค่าประกัน ค่าออกของ ค่าประกอบและติดตั้ง ค่าบริการ ค่าภาษีการค้าและค่าใช้จ่ายทางธุรการด้วย หรือเป็นราคา C.I.F. (Cost, Insurance and Freight) นั่นเอง

วิธีการคิดคำนวณหาค่าเสื่อมราคามีอยู่หลายวิธี อย่างไรก็ตาม วิธีทั้งสามที่จะกล่าวถึงต่อไปนี้นั้น

เป็นวิธีที่นิยมใช้กันอยู่ทั่วไป คือ

1. วิธีเส้นตรง (Straight Line and Method)

2. วิธีรวมตัวเลขของแต่ละปี (Sum-of-the-Years-Digist-Method)

3. วิธีถดถอย (Double Declining Balance Method)

การคำนวณหาค่าเสื่อมราคาของเครื่องมือโดยวิธีนี้ ต้องนำเอาราคาเบื้องต้นลบด้วยค่าตกต่ำของเครื่องมือและหารด้วยอายุการใช้งาน ซึ่งเขียนเป็นสมการได้ดังนี้

ค่าเสื่อมราคา = ราคาเบื้องต้น – ราคาตกต่ำของเครื่องมืออายุการใช้งานหรือเขียนเป็นสูตรได้ดังนี้

D = C – S

L

(1) วิธีเส้นตรง (Straight Line Method)

(2) วิธีรวมตัวเลขของแต่ละปี

(Sum-of-the-Years-Digits-Method)

วิธีตามข้อนี้มีลักษณะการคิดคำนวณคล้ายๆ กับวิธีทางตรง กล่าวคือ ใช้จำนวนที่หักด้วยค่าตกต่ำ(ราคาเบื้องต้น - ค่าตกต่ำของเครื่องมือ) เป็นตัวคูณกับจำนวนที่แปรผันไปแต่ละปี

(จำนวนของแต่ละปี /ผลรวมของทุกปี) ตามสมการ ดังนี้

ค่าเสื่อมราคาแต่ละปี (Dn) = จำนวนของแต่ละปี x จำนวนที่หักด้วยค่าตกต่ำ แล้วผลรวมของทุกปี

ผลรวมของทุกปีซึ่งใช้เป็นตัวหาร ได้แก่ ผลรวมของแต่ละปีตามอายุการใช้งานของเครื่องมือนั้นๆซึ่งถ้ากำหนดให้อายุการใช้งานเท่ากับ 5 ปี ผลรวมของทุกปีจะเป็น 1+2+3+4+5 = 15 เลขจำนวน 15 ใช้เป็นตัวหาร เพื่อหาค่าเสื่อมราคาของแต่ละปี และจำนวนของแต่ละปีซึ่งใช้เป็นตัวตั้งจะมีจำนวนตรงกันข้ามกับอายุการใช้งาน ดังนั้น ถ้าคิดค่าเสื่อมราคาเมื่อสิ้นปีแรก ตัวตั้งจึงเป็นเลข 5 และในทำนองเดียวกัน ถ้าคิดค่าเสื่อมราคาเมื่อสิ้นปีที่สอง ตัวตั้งต้องเป็นเลข 4 ดังนี้เรื่อยไปตามลำดับจนกระทั่งสิ้นสุดอายุการใช้งาน


(3) วิธีถดถอย (Double Declining Balance Method)

ในการใช้วิธีลดค่าดุลยภาพนี้ อัตราของค่าเสื่อมราคาต่อปีต้องคิดจากจำนวน 200 และหารด้วยอายุการใช้งานของเครื่องมือนั้นๆ แล้วนำเอาผลลัพธ์ที่ได้ไปคูณกับราคาเบื้องต้น จึงจะเป็นค่าเสื่อมราคาเมื่อสิ้นปีแรก สำหรับค่าเสื่อมราคาเมื่อปีที่สอง ต้องเอาค่าเสื่อมราคาของปีแรกหักออกจากราคาเบื้องต้นก่อนที่จะคูณกับอัตราของค่าเสื่อมราคาต่อปี เช่นเดียวกับการคำนวณหาค่าเสื่อมราคาเมื่อสิ้นปีที่สามกล่าวคือ ต้องนำเอาค่าเสื่อมราคาของปีที่สองหักออกจากราคาที่เหลือเมื่อสิ้นปีแรก ซึ่งเขียนเป็นสมการได้ดังนี้

ค่าเสื่อมราคา (Dn) = 200 x ราคาทุกสิ้นปีซึ่งเป็นราคาเริ่มต้นของปีถัดไป

N

การพิจารณาเลือกช่วงที่ดีที่สุดสำหรับการเปลี่ยนชิ้นส่วนเครื่องมือก่อสร้าง หรือซื้อเครื่องมือแทนเครื่องเก่านั้น งานเพิ่มมากขึ้น ดีกว่าที่จะปล่อยให้สภาพของเครื่องมือเครื่องจักรอยู่ในลักษณะที่ชำรุดทรุดโทรม ผู้รับเหมาก่อสร้างจะพิจารณาเปลี่ยนเครื่องมือใหม่ เครื่องมือที่ใช้อยู่เดิมนั้นมีรายการที่ต้องซ่อมมาก หรือต้องยกเครื่องอยู่บ่อยๆ และต้องใช้ค่าใช้จ่ายเงินไปเป็นจำนวนมากกรณีดังกล่าวนี้ผู้รับเหมาก่อสร้างจะต้องตัดสินใจซ้อเครื่องมือมาใช้งานแทนเครื่องเก่า หรือมีโครงการใหม่ที่จะก่อสร้าง การซ้อเครื่องมือมาใช้แทนเครื่องเก่า ความรอบคอบโดยคำนึงถึงหลักทางเศรษฐศาสตร์ประกอบกันไปด้วย ทั้งนี้ก็เพื่อประโยชน์ให้มีผลตอบแทนที่คุ้มค่านั้นเอง ซึ่งมีข้อควร

พิจารณาดังต่อไปนี้

การตัดสินใจเปลี่ยนเครื่องมือแทนเครื่องเก่า

( The Replacement Decision )

ต่อ

1. ค่าเสื่อมราคาและค่าเปลี่ยนเครื่องมือใหม่ (Depreciation and Replacement Cost )

2. ค่าการลงทุน ( Investment Cost )

3. ค่าซ่อม ( Repair Cost )

4. ค่าลดลงตามประสิทธิภาพของการทำงาน ( Down Time Cost )

5. ค่าความเก่าตามสภาพของเครื่องมือ ( Obsolescence Cost )

สำหรับค่าลดลงตามประสิทธิภาพของการทำงาน ( Down Time Cost) = ประสิทธิภาพของในการทำงานของเครื่องมือ ซึ่งอยู่กับสภาพการใช้งานของเครื่องมือแต่ละปีและตามข้อเท็จจริงประสิทธิภาพของเครื่องมือมีแนวโน้มลดต่ำลงทุกปี การคิดคำนวณหาค่าลดลงตามสภาพดังกล่าวนั้น กระทำได้โดยเอาเปอร์เซ็นต์ที่เครื่องมือทำงานลดลงแต่ละปี คูณด้วยชั่วโมงตามแผนการทำงานแต่ละปีของเครื่องนั้นและคูณด้วยราคาต่อชั่วโมงของเครื่องมือใหม่หรือเครื่องมือที่เช่ามาทำงานแทนค่าความเก่าตามสภาพของเครื่องมือ

ต่อ

  • ค่าความเก่าตามสภาพของเครื่องมือ ( Obsolescence Cost ) ความเก่าของเครื่องมือนอกจากจะมี
  • ปัญหาเกี่ยวกับการซ่อม การบำรุงรักษา และเวลาที่สูญเสียไปเนื่องจากการซ่อมหรือยกเครื่องแล้วความเก่า
  • ของเครื่องมือยังเป็นผลกระทบต่อประสิทธิภาพของการทำงานอีกด้วย ซึ่งประสิทธิภาพย่อมสู้เครื่องใหม่
  • ไม่ได้ ความเก่าของเครื่องมือจึงเป็นลักษณะคล้ายๆ กันกับค่าลดลงตามประสิทธิภาพในข้อที่ 4 อายุของ
  • เครื่องมือเครื่องจักรจึงเป็นส่วนสำพันธ์กันกับราคาของเครื่อง เพราะเครื่องมือเก่าย่อมหย่อนประสิทธิภาพ
  • ในการทำงาน ดังนั้นการคำนวณหาค่าความเก่าตามสภาพของเครื่องมือจึงสามารถกระทำได้ โดยเอา
  • เปอร์เซ็นต์ของผลผลิตที่สูญเสียไป คูณด้วยชั่วโมงตามแผนการดำเนินงานแต่ละปีของเครื่องมือนั้น คูณ
  • ด้วยราคาต่อชั่วโมงของเครื่องมือใหม่
  • ฉะนั้นการพิจารณาถึงช่วงเวลาที่เหมาะสมที่สุดจะตัดสินใจเปลี่ยนเครื่องมือ จึงต้องคิดคำนวณหา
  • ค่าจากองค์ประกอบทั้ง 5 ประการดังกล่าวข้างต้น โดยใช้วิธีคิดค่าแบบสะสม
  • ( Cumulative Cost Method ) ซึ่งจะเป็นการหาช่วงเวลาที่เหมาะสมนั้นเอง

ค่าความเก่าตามสภาพของเครื่องมือ ( Obsolescence Cost ) ความเก่าของเครื่องมือนอกจาก เกี่ยวกับการซ่อม การบำรุงรักษา และเวลาที่สูญเสียไป การซ่อมหรือยกเครื่องแล้วความเก่าของเครื่อง มือ ประสิทธิภาพของการทำงานอีกด้วย ซึ่งประสิทธิภาพย่อมสู้เครื่องใหม่ไม่ได้ ความเก่าของเครื่องมือจึงเป็นลักษณะคล้ายๆ กันกับค่าลดลงตามประสิทธิภาพในข้อที่ 4 อายุของเครื่องมือเครื่องจักรจึงเป็นส่วนสำพันธ์กันกับราคาของเครื่อง เพราะเครื่องมือเก่าย่อมหย่อนประสิทธิภาพในการทำงาน ดังนั้นการคำนวณหาค่าความเก่าตามสภาพของเครื่องมือจึงสามารถกระทำได้ โดยเอาเปอร์เซ็นต์ของผลผลิตที่สูญเสียไป คูณด้วยชั่วโมงตามแผนการดำเนินงานแต่ละปีของเครื่องมือนั้น คูณด้วยราคาต่อชั่วโมงของเครื่องมือใหม่ฉะนั้นการพิจารณาถึงช่วงเวลาที่เหมาะสมที่สุดจะตัดสินใจเปลี่ยนเครื่องมือ จึงต้องคิดคำนวณหาค่าจากองค์ประกอบทั้ง 5 ประการดังกล่าวข้างต้น โดยใช้วิธีคิดค่าแบบสะสม( Cumulative Cost Method ) ซึ่งจะเป็นการหาช่วงเวลาที่เหมาะสมนั้นเอง

ในบรรดาค่าใช้จ่ายทั้งหมดที่เกี่ยวข้องกับเครื่องจักรกลก่อสร้าง ค่าใช้จ่ายในการซ่อมบำรุงรักษาเป็นสิ่งที่ควบคุมง่ายที่สุด แต่ก็มักถูกมองข้ามบ่อยครั้งที่สุด ทั้งๆ ที่ค่าใช้จ่ายในการซ่อมบำรุงรักษาตลอดอายุการใช้งานมักจะสูงกว่าราคาของเครื่องจักรกล สาเหตุของการมองข้ามความสำคัญของค่าใช้จ่ายในการซ่อมบำรุงรักษาอาจเป็นเพราะ

- ค่าใช้จ่ายเหล่านี้เป็นสิ่งที่คาดหวังว่าต้องเกิดขึ้นอยู่แล้ว

- เป็นค่าใช้จ่ายที่ค่อยๆ พอกพูนขึ้นทีละน้อยๆ ตลอดช่วงอายุการใช้งานของเครื่องจักรกล

- มักถูกละเลยไม่มีการแสดงรายละเอียด และเสนอต่อผู้บริหาร

- ค่าใช้จ่ายในส่วนของการบำรุงรักษาประจำวันมักต่ำจนมองไม่เห็นหรือรู้สึกได้

- การใช้จ่ายที่ต้องเสียไปเนื่องจากเครื่องจักรกลหยุดการทำงาน มักไม่นำมารวมอยู่ในรายการบำรุงรักษาและการซ่อมแซม

การจัดการซ่อมบำรุงรักษา

( Maintenance Management )

หัวใจของการจัดการซ่อมบำรุงรักษาก็คือ การซ่อมบำรุงรักษาอย่างมีแผน หรือ การซ่อมบำรุงตามหมายกำหนดการ ( Scheduled Maintenance )หากการซ่อมบำรุงกระทำตามคำเรียกร้องของผู้ใช้เครื่องจักรกลเฉพาะเมื่อเกิดปัญหาขึ้น ก็ แก้ปัญหาที่ไม่มีวันจบ หน่วยงานที่รับผิดชอบการซ่อมบำรุงรักษาจะต้องวางหมายกำหนดการตรวจทำความสะอาด และซ่อมเครื่องจักรกลเสมอ โดยแจ้งให้กับผู้ที่เกี่ยวข้องกับการใช้เครื่องจักรกลทราบหมายกำหนดการนั้น ขณะเดียวกันผู้ที่ใช้เครื่องจักรกลจะต้องรายงานและบันทึกสิ่งบกพร่องและอุปกรณ์ที่เกิดขึ้นขณะใช้เครื่องทุกครั้ง ตลอดจนข้อเสนอแนะในการปรับปรุงให้หน่วยซ่อมบำรุงรักษาทราบ

การบำรุงรักษาและการซ่อมแซมอาจแบ่งระดับประเภทออกเป็น

1. การบำรุงรักษาแบบป้องกัน ( Preventive Maintenance )

2. การซ่อม ซึ่งแบ่งออกเป็น

ก. การซ่อมย่อยหรือซ่อมในสนาม

ข. การซ่อมใหญ่หรือการซ่อมในโรงงาน

3. การยกเครื่อง ( Overhauls ) = ใช้เครื่องจักกล เพื่อถอดชิ้นส่วนมาทดสอบปรับปรุงและซ่อมแซมขนาดใหญ่ทั้งระบบการซ่อมบำรุงรักษาบางประเภทไม่จำเป็นต้องทำโดยเจ้าของโครงการหรือเจ้าของเครื่องจักรกล การซ่อมใหญ่ และการยกเครื่อง มักจะทำโดยผู้จัดจำหน่ายหรือบริษัทรับจ้างซ่อมทางด้านนี้โดยเฉพาะ เป็นต้น

ประเภทของการซ่อมบำรุงรักษา

การซ่อมบำรุงรักษาเครื่องจักกลเป็นไปอย่างมีระบบ การบันทึกค่าใช้จ่ายและรายละเอียดการบำรุงรักษาที่ทำเป็นประจำ การซ่อม การยกเครื่อง ตลอดจนจำนวนชั่วโมงที่ใช้งาน การบันทึกข้อมูลเหล่านี้ ควรจะมีแบบฟอร์มที่เข้าใจง่าย สะดวกต่อการใช้ หากเป็นไปได้ควรจะมีรายการที่เป็นประโยชน์ต่อผู้กรอกซึ่งเป็นผู้ที่ใช้เครื่องจักรด้วย ผู้กรอกเห็นความสำคัญของข้อมูลนั้นและปฏิบัติหน้าที่ด้วยความรับผิดชอบ ได้ข้อมูลที่ถูกต้องและเป็นไปตามความเป็นจริงมากขึ้น การบันทึกแบบฟอร์มเหล่านี้นอกจากจะมีลายเซ็นของหัวหน้างานกำกับด้วย ตรวจสอบข้อมูลที่บันทึกอีกทางหนึ่ง โดยทั่วไปจะประกอบไปด้วยข้อมูลเหล่านี้

- ประวัติของการซ่อมของเครื่องจักรกล

- ใบสั่งการซ่อมในโรงงาน

- ข้อมูลการบำรุงรักษาแบบป้องกัน

- รายงานจากหน่วยบริการ

- รายงานประจำวันของผู้ใช้เครื่องจักรกล

  • รายงานข้อบกพร่องของเครื่องจักรกลโดยผู้ใช้เครื่องแบบฟอร์มมาตรฐานในการบันทึกข้อมูลเหล่านี้ มีอยู่ทั่วไปจากบริษัทของผู้จัดจำหน่ายเครื่องจักรกล หรือผู้รับจ้างซ่อมบำรุงรักษา แต่สามารถสร้างใหม่ตามความเหมาะสมก็ได้

การบันทึกประวัติการซ่อมบำรุงรักษา