สัตว์ที่ใช้ กล้าม เนื้อ ในการเคลื่อนที่

สัตว์ที่ใช้ กล้าม เนื้อ ในการเคลื่อนที่


1.การเคลื่อนที่ของโลมาและวาฬ

สัตว์ที่ใช้ กล้าม เนื้อ ในการเคลื่อนที่

ภาพแสดงการเคลื่อนที่ของโลมาและวาฬ

             โลมาและวาฬมีขนาดใหญ่กว่าปลาทั่ว ๆ ไปมากและมีรูปร่างเพรียวเหมือนปลา   มีส่วนกระดูกคอสั้น   ทำให้กลมกลืนระหว่างลำตัวกับหัว   ขาคู่หน้าเปลี่ยนไปเป็นครีบ ช่วยในการว่ายน้ำ  และขาคู่หลังก็หดหายไป   แต่มีหางที่แบนขนาดใหญ่ขนานกับพื้น  การเคลื่อนที่ใช้การตวัดหาง  และใช้ครีบหน้าช่วยในการพยุงตัว  ทำให้เคลื่อนที่ไปข้างหน้าได้เป็นอย่างดี

             สัตว์กลุ่มนี้จะมีขาคู่หน้าที่เปลี่ยนแปลงไปมีลักษณะเป็นพาย เรียกว่า  ฟลิปเปอร์   ( flipper )  ช่วยในการโบกพัดร่วมกับส่วนประกอบอื่นของร่างกาย  ทำให้มันเคลื่อนที่ไปในน้ำเป็นอย่างดี   

สัตว์ที่ใช้ กล้าม เนื้อ ในการเคลื่อนที่

ภาพแมวน้ำและเต่าที่มีขาคู่หน้าลักษณะเป็นพายเรียกว่า "flipper"

2.การเคลื่อนที่ของกบและเป็ดในน้ำ

สัตว์ที่ใช้ กล้าม เนื้อ ในการเคลื่อนที่

รูปกบและเป็ดที่บริเวณนิ้วเท้าจะเป็น "web"

             กบและเป็ดขณะที่เคลื่อนไหวในน้ำ จะใช้โครงสร้างที่มีลักษณะเป็นแผ่นบางๆ   ยึดติดอยู่ระหว่างนิ้วเท้าช่วยโบกพัดน้ำทำให้ลำตัวเคลื่อนไปข้างหน้าได้เรียกว่า web ถ้าเป็นการกระโดดของกบจะใช้ขาหลังทั้งสองในการดีดตัวไปข้างหน้า

3.การเคลื่อนที่ของนก

             นกมีกระดูกที่กลวง   ทำให้ตัวเบา  และอัดตัวกันแน่น  ทำให้นกมีขนาดเล็ก  และรูปร่างเพรียวลมจึงเคลื่อนตัวไปในอากาศได้ดี

             นกมีกล้ามเนื้อที่ใช้ในการขยับปีกที่แข็งแรงโดยกล้ามเนื้อนี้จะยึดอยู่ระหว่างโคนปีกกับกระดูกอก (keel or sternum) กล้ามเนื้อคู่หนึ่ง ทำหน้าที่ เป็น กล้ามเนื้อยกปีก (levater muscle)  คือ กล้ามเนื้อเพกทอราลิสไมเนอร์ (pectorlis minor) และกล้ามเนื้ออีกคู่มีขนาดใหญ่มากทำหน้าที่ในการหุบปีกลง (depresser muscle) คือ กล้ามเนื้อเพกทอราลิสเมเจอร์ (pectorralis major)   การทำงานของกล้ามเนื้อคู่นี้มีลักษณะเป็นแอนทาโกนิซึมด้วย คือ ขณะที่นกกดปีกลง กล้ามเนื้อเพกทอราลิสเมเจอร์จะหดตัว  ส่วนเพกทอราลิสไมเนอร์จะคลายตัวขณะที่นกยกปีกขึ้นกล้ามเนื้อเพกทอราลิสไมเนอร์จะหดตัวขณะที่กล้ามเนื้อเพกทอราลิสเมเจอร์จะคลายตัวสลับกันไป

 

สัตว์ที่ใช้ กล้าม เนื้อ ในการเคลื่อนที่

ภาพนกแสดงปีกขนที่ปีกและกล้ามเนื้อกดปีก

สัตว์ที่ใช้ กล้าม เนื้อ ในการเคลื่อนที่

นกมีถุงลม  (air sac)

             ถุงลมของนกเจริญดีมากและอยู่ติดกับปอด  นอกจากนี้ยังแทรกเข้าไปในโครงกระดูกด้วย  ในขณะที่นกหายใจเข้ากระดูกอกจะลดต่ำลงถุงลมขยายขนาดขึ้น  อากาศจะไหลผ่านเข้าสู่หลอดลม  เข้าสู่ปอดและเข้าสู่ถุงลมตอนท้าย  ส่วนอากาศที่ถูกใช้แล้ว  จะออกจากปอดเข้าสู่ถุงลมตอนหน้า  ในขณะที่หายใจออก  อากาศจากถุงลมตอนท้ายจะเข้าสู่ปอด  ทำให้ปอดพองออกและอากาศจากถุงลมตอนหน้าถูกขับออกนอกร่างกายต่อไปอย่างนี้เสมอ    การมีถุงลมของนกทำให้เพิ่มประสิทธิภาพในการถ่ายเทอากาศให้แก่ปอดได้เป็นอย่างดี  แต่ถุงลมทำหน้าที่ช่วยปอดเท่านั้นไม่ได้ทำหน้าที่ในการแลกเปลี่ยนแก๊ส  การที่นกบินนกต้องใช้พลังงานจำนวนมาก จึงทำให้นกมีเมแทบอลิซึมสูงมาก  นกจึงต้องกินมากและใช้ออกซิเจนมากด้วย

นกมีขน (feather)

                ขนของนกบางและเบาช่วยในการอุ้มอากาศ  ขนที่ปีกช่วยในการดันอากาศขณะหุบปีกลง  ทำให้ตัวนกพุ่งไปข้างหน้า    การเคลื่อนที่ของนกในอากาศจะเร็วหรือช้าขึ้นอยู่กับน้ำหนักของ   ตัวนก   ขนาดของปีก   ความเร็วของการขยับปีกและกระแสลมในขณะที่นกเริ่มบินต้องใช้แรงอย่างมากแต่เมื่อลอยตัวอยู่ในอากาศแล้วก็ไม่ต้องใช้แรงมากนัก  การบินของนกโดยทั่ว ๆ ไป  มีดังนี้

1.  นกกางปีกออกเต็มที่

2.  นกจะโบกปีกลงทำให้ลำตัวนกเชิดขึ้น  เนื่องจากเกิดแรงปะทะกับอากาศ  ตัวนกจึงลอยขึ้นไปในอากาศได้

3.  ปีกที่โบกลงนั้นจะเคลื่อนที่ไปข้างหน้า  ทำให้เกิดแรงปะทะกับอากาศเพิ่มมากขึ้น

4.  เมื่อโบกปีกลงและเคลื่อนที่ไปข้างหน้าแล้ว  นกจะยกปีกขึ้น  และสะบัดไปข้างหลังอย่างแรง  ทำให้นกพุ่งไปข้าง

     หน้ากระบวนการต่างๆ เกิดขึ้นเร็วมาก  จึงทำให้นกบินได้อย่างรวดเร็ว

4.การเคลื่อนที่ของเสือชีต้า

สัตว์ที่ใช้ กล้าม เนื้อ ในการเคลื่อนที่

ภาพแสดงการเคลื่อนที่ของเสือชีต้า

             เสือชีต้ามีกล้ามเนื้อขาทั้งสี่ที่แข็งแรงมาก  โดยเฉพาะอย่างยิ่งขาหลังจะแข็งแรงเป็นพิเศษ เพราะต้องใช้ในการกระโดด  นอกจากนี้กระดูกสันหลังของเสือชีต้าก็ช่วยได้มาก  เนื่องจากมีขนาดยาวและเคลื่อนที่ขึ้นลงได้ดี  ทำให้ช่วงการก้าวของขาหน้าและขาหลังห่างกันมาก  มันจึงวิ่งได้เร็ว  ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อช่วยให้ความถี่และความแรงของการก้าวสูง  เสือชีต้าจึงวิ่งได้เร็วมาก  

             ในกรณีของสัตว์ที่มีขาสั้น  เช่น  จิ้งจก ตุ๊กแก  การเคลื่อนที่อาศัยการก้าวขาที่ไม่พร้อมกัน  ทำให้เกิดการโค้งไปโค้งมาของส่วนร่างกายเป็นรูปตัว S   สำหรับงูไม่มีรยางค์หรือขา  การเคลื่อนที่ก็อาศัยกล้ามเนื้อและโครงกระดูก  หดตัวและเคลื่อนที่กลับไปกลับมา  ที่เรียกว่า  การเลื้อย 

สัตว์ที่ใช้ กล้าม เนื้อ ในการเคลื่อนที่

ภาพแสดงการเคลื่อนที่รูปตัว S ของสัตว์เลื้อยคลาน