เฉลย ใบงาน เรื่อง อุณหภูมิและ หน่วยวัด

1.  ในระหว่างกระบวนการหล่อเย็นพบว่าอุณหภูมิของระบบลดลง 27 องศาฟาเรนไฮน์ จงคำนวณหาอุณหภูมิที่เปลี่ยนแปลงไปในหน่วย R K และ องศาเซลเซียส 

 2. นำเทอร์โมมิเตอร์อันหนึ่ง มีจุดเยือกแข็ง -20 องศา และจุดเดือด 180 องศาไปวัดอุณหภูมิของสารชนิดหนึ่งได้ 60 องศา ถ้าเทอร์โมมิเตอร์แบบ องศาเซลเซียสไปวัดอุณหภูมิของสารนี้จะได้กี่องศาเซลเซียส

3. จงเปลี่ยนค่าอุณหภูมิ 25  องศาเซลเซียส  ให้เป็นหน่วยของฟาเรนไฮต์ โรเมอร์ และเคลวิน

4. ถ้าอุณหภูมิบนยอดเขาแห่งหนึ่งเท่ากับ  59 องศาฟาเรนไฮต์เมื่อคิดเป็นเซลเซียส  โรเมอร์ และเคลวิน มีค่าเท่าไร

5. จงเปลี่ยนค่าอุณหภูมิ  293 เคลวิน  ให้มีหน่วยเป็นเซลเซียส โรเมอร์ และฟาเรนไฮต์

คำแนะนำขั้นตอนการเรียนผ่านเว็บไซต์ 

1.  ให้นักเรียนลงชื่อเข้าเรียน

2.  ศึกษามาตรฐาน/ตัวชี้วัด/จุดประสงค์การเรียนรู้/สาระสำคัญ

3.  ศึกษาบทเรียนผ่านวิดิทัศน์เรื่อง  "อุณหภูมิและการวัด"

5.  ศึกษาเพิ่มเติมจากหนังสือเรียนวิทยาศาสตร์ของนักเรียน/สื่อสรุปเนื้อหาที่คุณครูแนบให้ค่ะ

แบบลงชื่อเข้าเรียน หน่วยที่ 1 อุณหภูมิและการวัด

ให้นักเรียนศึกษามาตรฐาน/ตัวชี้วัดและจุดประสงค์การเรียนรู้/สาระสำคัญโดยดูวิดิทัศน์ประกอบและศึกษาเพิ่มเติมจากหนังสือเรียน/สรุปเนื้อหาที่แนบท้ายค่ะ

1. มาตรฐานการเรียนรู้/ตัวชี้วัด

3.2  ม.1/2 ใช้เทอร์มอมิเตอร์ในการวัดอุณหภูมิของสสาร

2.  จุดประสงค์การเรียนรู้

     2.1  อธิบายถึงหน่วยวัดอุณหภูมิของสารได้ (K)

2.2    ใช้เทอร์มอมิเตอร์ในการวัดอุณหภูมิของสสารได้ (P)

     2.3  รับผิดชอบต่อหน้าที่และงานที่ได้รับมอบหมาย (A)

3. สาระสำคัญ/ความคิดรวบยอด

เครื่องมือวัดอุณหภูมิ เรียกว่า เทอร์มอมิเตอร์ (thermometer) มี 2 แบบ คือ เทอร์มอมิเตอร์แบบกระเปาะ   ใช้หลักการการขยายตัวและหดตัวของของเหลวที่บรรจุอยู่ในกระเปาะตามอุณหภูมิภายนอก เทอร์มอมิเตอร์แบบดิจิทัล ภายในมีไมโครชิปสามารถเปลี่ยนกระแสไฟฟ้าให้เป็นตัวเลข ซึ่งเป็นค่าอุณหภูมิขณะนั้นได้ โดยหน่วยวัดอุณหภูมิมีอยู่หลายหน่วย ได้แก่ องศาเซลเซียส เคลวิน องศาฟาเรนไฮต์ และองศาโรเมอร์ ซึ่งแต่ละหน่วยจะมีจุดเยือกแข็ง และจุดเดือดแตกต่างกัน หากต้องการเปรียบเทียบค่าอุณหภูมิระหว่างหน่วยวัดอุณหภูมิ จะได้สมการ ดังนี้

C/5 =  (K-273)/5 =  (F-32)/9 =R/4

วิดีโอ YouTubeอุณหภูมิและการวัด

ความร้อน

            ความร้อน เป็นพลังงานรูปหนึ่งที่สะสมอยู่ในรูปพลังงานจลน์ของโมเลกุลของวัตถุ  ความร้อนอาจเปลี่ยนมาจากพลังงานไฟฟ้า  พลังงานกล  พลังงานแสง และพลังงานความร้อนก็สามารถเปลี่ยนเป็นพลังงานรูปอื่นได้

 อุณหภูมิ

            อุณหภูมิ (Temperature) หมายถึง ระดับความร้อนของสาร ซึ่งเกิดขึ้นเมื่อเราใส่พลังงานความร้อนให้กับสสาร อะตอมของมันจะเคลื่อนที่เร็วขึ้น ทำให้อุณหภูมิสูงขึ้น แต่เมื่อเราลดพลังงานความร้อน อะตอมของสสารจะเคลื่อนที่ช้าลง ทำให้อุณหภูมิลดต่ำลง

เทอร์มอมิเตอร์

            โดยการ วัดระดับความร้อนของสิ่งนั้นๆ เครื่องมือที่ใช้วัดระดับความร้อน เรียกว่า "เทอร์มอมิเตอร์" ซึ่งทั่วไปนิยมใช้บอกองศาเซลเซียส และองศาฟาเรนไฮต์ การใช้โดยการให้กระเปาะเทอร์มอมิเตอร์สัมผัสกับสิ่งที่ต้องการวัดโดยตรงจริงๆ เท่านั้นและตั้งตรง อ่านสเกลต้องอ่านในระดับสายตาและระดับเดียวกับของเหลวในเทอร์มอมิเตอร์

หลักการทำงานของเทอร์มอมิเตอร์

            ของเหลวที่บรรจุภายในเป็นปรอท หรือ แอลกอฮอล์ผสมสี นิยมใช้บิวทิลแอลกอฮอล์  และใส่สีแดงผสมลงไป เพื่อให้มองเห็นได้ชัดเจนยิ่งขึ้นเหตุที่ใช้ของเหลวนี้เพราะมีคุณสมบัติในการขยายและหดตัว หลักการสำคัญของเทอร์มอมิเตอร์ มีอยู่ว่า สารเมื่อได้รับความร้อนจะขยายตัว และเมื่อลดความร้อนจะหดตัว หรือมีการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิ  มี  2  ชนิด

        1. เทอร์มอมิเตอร์แบบธรรมดา เป็นเทอร์มอมิเตอร์ที่ใช้วัดอุณหภูมิทั่วๆ ไป โดยอาศัยหลักการของการขยายตัวของของเหลวเมื่อได้รับความร้อน  และหดตัวเมื่อคายความร้อน

            2. เทอร์มอมิเตอร์วัดไข้ เป็นเทอร์มอมิเตอร์ที่ใช้วัดอุณหภูมิของร่างกายโดยเฉพาะ  มีขีดบอกอุณหภูมิระหว่าง  35 - 42

องศา  มีการแบ่งช่องระหว่างองศาอย่างละเอียด

  ของเหลวที่นิยมใช้บรรจุในเทอร์มอมิเตอร์  คือ  ปรอท  และแอลกอฮอล์  

    เทอร์มอมิเตอร์ที่ใช้ปรอท

            ข้อดี

                1. ขยายตัวทันทีเมื่ออุณหภูมิเปลี่ยนแปลง  ทำให้อ่านอุณหภูมิได้ละเอียด

                2. เป็นตัวนำความร้อนที่ดี

                3. ทึบแสงและสะท้อนแสงได้ดี

                4. ไม่เกาะผิวหลอดแก้ว  ทำให้เคลื่อนที่ขึ้นลงได้สะดวก  ไม่มีการติดค้างหรือขาดตอน

                5. เปลี่ยนสถานะเป็นไอยาก

            ข้อเสีย

                1. จะแข็งตัว  ถ้าใช้ในบริเวณที่หนาวมากๆ  ซึ่งปรอทมีจุดหลอมเหลวที่ -39 องศา  และมีจุดเดือดที่  357  องศา

                2. ปรอทเป็นสารพิษ

    เทอร์มอมิเตอร์ที่ใช้แอลกอฮอล์

            ข้อดี

                1. สามารถใช้ในบริเวณที่มีอุณหภูมิต่ำมากๆ  ได้  เพราะมีจุดหลอมเหลวที่  -895  องศา  และมีจุดเดือดที่  117.7  องศา

                2. ขยายตัวได้ดีกว่าปรอท  6  เท่า

                3. ราคาถูกกว่า

            ข้อเสีย

                - ใช้ในบริเวณที่ที่ร้อนมากไม่ได้  เพราะแอลกอฮอล์จะเดือดที่อุณหภูมิต่ำกว่าปรอท

 หน่วยวัดอุณหภูมิ

           เทอร์มอมิเตอร์มีหน่วยวัดบอกอุณหภูมิ  4  หน่วย

ก.  และ  ข. เทอร์โมมิเตอร์แบบกระเปาะ

เทอร์โมมิเตอร์แบบดิจิทัล

ใบงานที่ 1 เรื่อง อุณหภูมิและการวัด

แบบทดสอบ วิทย์ ม. 1 เรื่อง พลังงานความร้อน