เพศศึกษาเป็นการเรียนรู้ที่ครอบคลุมเกี่ยวกับเรื่องอะไรบ้าง

บทที่     ก้าวแรก

สาระสำคัญ

      การเข้าใจวัตถุประสงค์ของหลักสูตร การเคารพซึ่งกันและกัน ไว้ใจกัน ตลอดจนการยอมรับกติกาการเรียนรู้ร่วมกันเป็นสิ่งสำคัญสำหรับกระบวนการเรียนรู้ในรายวิชานี้

จุดประสงค์การเรียนรู้                                                                                

๑.           อธิบายวัตถุประสงค์ของหลักสูตรได้

๒.           ตระหนักถึงความสำคัญและบทบาทของตนเองต่อกระบวนการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม

3.     สร้างข้อตกลงในการเรียนรู้ร่วมกัน

ภาพรวมกิจกรรมการเรียนรู้

กิจกรรม ก้าวแรกเป็นกิจกรรมที่ต้องการละลายพฤติกรรมให้ผู้เรียนรู้สึกผ่อนคลาย เกิดความ

ไว้วางใจและเชื่อมั่นทั้งต่อผู้ดำเนินกิจกรรมและเพื่อนร่วมชั้นเรียน  ในการเคารพและยอมรับกติกาการเรียนรู้ร่วมกัน

เพศศึกษา

ในปัจจุบันสังคมไทยโดยส่วนใหญ่แล้ว ยังมีความเห็นว่าเรื่องเพศ เป็นสิ่งต้องห้ามเป็นของสกปรกต่ำช้า  น่าอับอายที่จะให้ความสนใจ และแม้จะเอ่ยถึง  ความคิดเช่นนี้มีพื้นฐานมาจากการเข้าใจที่ว่า  เรื่องเพศเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับการร่วมเพศเท่านั้น  ไม่เกี่ยวข้องกับประเด็นอื่นเลยแท้จริงแล้วคำว่าเพศ เป็นคำที่มีความหมายกว้างขวางและลึกซึ้งมาก ดังคำพูดที่ว่า เรื่องเพศเป็นเรื่องอะไรก็ได้ที่อยู่ระหว่างหูซึ่งหมายถึงสมอง ไม่ใช่เรื่องเรื่องระหว่างขาซึ่งหมายถึงอวัยวะเพศ  จากพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน  พุทธศักราช ๒๕๒๕  ให้ความหมายว่าเพศ คือรูปที่แสดงให้รู้ว่าเป็นหญิงเป็นชาย   รูปในที่นี้หมายถึง  รูปร่าง  กิริยาท่าทาง  อารมณ์  พฤติกรรมและบุคลิกภาพ ที่เป็นลักษณะเฉพาะของแต่ละเพศ

ความหมายของเพศศึกษา

                ประทักษ์ โอประเสริฐสวัสดิ์. http://www.ramacme.org/articles.htm 2550.                     เพศศึกษา หมายถึง กระบวนการเรียนรู้ที่จะทำให้ผู้เรียนมีความรู้ความเข้าใจ และมีพฤติกรรมทางเพศที่ถูกต้อง ในด้านกายวิภาค สรีรวิทยา จิตวิทยา สังคมวิทยา และผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นได้จากการมีพฤติกรรมทางเพศ โดยการเรียนการสอนเพศศึกษานั้นจะเน้นในเรื่องของสำนึกรับผิดชอบ และทัศนคติที่เหมาะสมกับเรื่องเพศ เพื่อที่จะได้นำความรู้ไปใช้ในการปรับตัวและพัฒนาบุคลิกภาพ ทำให้สามารถควบคุมพฤติกรรมและปฏิบัติตนได้อย่างถูกต้องเหมาะสม เพื่อให้การดำเนินชีวิตทางเพศเป็นไปอย่างมีความสุข

                องค์การอนามัยโลก(Wolrd Health Organization หรือ WHO) ได้นิยามคำว่าเพศศึกษาไว้ดังนี้ เพศศึกษาหรือSexuality Education        หมายถึง เพศศาสตร์ศึกษา คือ การสอนความเป็นชาย ความเป็นหญิง พัฒนาการของร่างกายและการแสดงออกในเรื่องเพศตามวัย ตามเพศ เมื่อพัฒนาไปถึงจุดหนึ่งจะเกิดอะไร เปลี่ยนแปลงอย่างไร ควรประพฤติปฏิบัติอย่างไร ป้องกันอย่างไร แก้ไขอย่างไร เมื่อถึงวัยฮอร์โมนหมด สมรรถภาพหย่อนยาน ควรปฏิบัติอย่างไร เรียกได้ว่าเป็นการเรียนรู้เรื่องความเป็นเพศตั้งแต่วัยเด็กจนถึงวัยชรา

                นิกร ดุสิตสิน.(คู่มือการสอนเพศศาสตร์ศึกษา.2545:3) เพศศาสตร์ศึกษาคือ หลักสูตรการเรียนที่มีวัตถุประสงค์ในการส่งเสริมความสมดุลทางเพศเข้ากับบุคลิกภาพของบุคคล

                ดังนั้นจึงสามารถสรุปได้ว่าเพศศึกษา เป็นกระบวนการจัดการเรียนรู้เกี่ยวกับเพศ(Sexuality) ที่ครอบคลุมพัฒนาการทางร่างกาย จิตใจ การทำงานของสรีระและการดูแลสุขอนามัย ทัศนคติ ค่านิยม สัมพันธภาพ พฤติกรรมทางเพศ มิติทางสังคมและวัฒนธรรมที่มีต่อวิถีชีวิตทางเพศ เป็นกระบวนการพัฒนาทั้งด้านความรู้ ความคิด ทัศนคติ อารมณ์ และทักษะที่จำเป็นสำหรับบุคคลที่จะช่วยให้สามารถเลือกดำเนินชีวิตทางเพศได้อย่างเป็นสุขและปลอดภัย สามารถพัฒนาและดำรงความสัมพันธ์กับผู้อื่นได้อย่างมีความรับผิดชอบและสมดุลย์

จุดมุ่งหมายของการจัดเพศศึกษา

                เพื่อลดความเสี่ยงที่จะเกิดผลในทางทางลบอันเนื่องมาจากพฤติกรรมทางเพศ เช่น การตั้งครรภ์ที่ไม่ตั้งใจ การติดเชื้อHIV และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์

·       เพื่อสร้างเสริมคุณภาพของความสัมพันธ์ทั้งระหว่างเพศ เพื่อน คู่รัก ครอบครัว บนพื้นฐานของการเคารพและให้เกียรติทั้งต่อตนเองและผู้อื่น

·       พัฒนาความสามารถในการคิด การตัดสินใจ การสื่อสาร ที่จะช่วยดำเนินชีวิตได้อย่างรู้เท่าทันความต้องการของตนเอง สามารถหาทางออกกับแรงกดดัน สิ่งชักจูงใจทั้งจากเพื่อน สิ่งแวดล้อมได้อย่างผู้ที่รู้คิด สามารถรับผิดชอบและมีความสุขกับสิ่งที่ตนเองเลือก

เพศศึกษาครอบคลุมเรื่องอะไรบ้าง

                ไม่ว่าเราจะจัดการเรียนรู้เพศศึกษาหรือไม่ วัยรุ่นส่วนใหญ่สนใจ และเรียนรู้เรื่องเพศจากเพื่อน สิ่งพิมพ์ หนัง วีดีโอ และอินเตอร์เน็ตอยู่แล้ว แต่เราไม่อาจแน่ใจได้เลยว่าสิ่งที่วัยรุ่นเรียนรู้จากช่องทางเหล่านั้นเป็นข้อมูลหรือข้อเท็จจริงแบบใด ส่งผลต่อการรับรู้ในเรื่องเพศของเยาวชนอย่างไร การจัดการเรียนรู้เรื่องเพศศึกษาจึงเป็นโอกาสที่จะแก้ไขความเข้าใจที่ผิด ให้ความรู้ที่ถูกต้องอย่างเพียงพอและครอบคลุมเกี่ยวกับ

·       พัฒนาการของมนุษย์ การเปลี่ยนแปลงทางสรีระเมื่อเข้าสู่วัยหนุ่มสาว พัฒนาการทางเพศ การสืบพันธ์ ภาพลักษณ์ต่อร่างกาย (body image) ตัวตนทางเพศและรสนิยมทางเพศ(sexual identity and orientation)

·       สัมพันธภาพ ในมิติของครอบครัว เพื่อน การคบเพื่อนต่างเพศ ความรัก การใช้ชีวิตคู่ การแต่งงาน การเป็นพ่อแม่

·       พฤติกรรมทางเพศที่พัฒนาไปตามช่วงชีวิต การเรียนรู้อารมณ์เพศ การจัดการอารมณ์เพศ การช่วยตัวเอง จินตนาการทางเพศ การแสดงออกทางเพศ การละเว้นการมีเพศสัมพันธ์ การตอบสนองทางเพศ การเสื่อมสมรรถภาพทางเพศ

·       สุขภาพทางเพศ เพื่อหลีกเลี่ยงผลกระทบที่ไม่พึงประสงค์จากสัมพันธ์ทางเพศ เพศศึกษาควรให้ความรู้เกี่ยวกับการมีเพศสัมพันธ์ที่ปลอดภัย วิธีการคุมกำเนิด การทำแท้ง การป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์และเอดส์ การล่วงละเมิดทางเพศ ความรุนแรงทางเพศ และอนามัยเจริญพันธ์

·       สังคมและวัฒนธรรม วิธีการเรียนรู้และแสดงออกในเรื่องเพศของบุคคลได้รับอิทธิพลจากสิ่งแวดล้อม และบรรยากาศทางสังคมและวัฒนธรรม เพศศึกษาจึงควรเปิดโลกทัศน์ให้เข้าใจบทบาททางเพศ เรื่องเพศในบริบทของสังคม วัฒนธรรม กฎหมาย ศิลปะและสื่อต่างๆ

·       ทักษะที่จำเป็นในการดำรงชีวิต เพราะความรู้และข้อมูลที่ได้รับเกี่ยวกับเพศนั้นไม่เพียงพอที่จะช่วยให้เยาวชนสามารถรับมือกับเหตุการณ์และแรงกดดันต่างๆที่ประสบในชีวิตจริง เพศศึกษาควรนำไปสู่การพัฒนาให้เยาวชนเกิดทักษะที่จำเป็นในการดำเนินชีวิต ได้แก่

-          การให้คุณค่ากับสิ่งต่างๆซึ่งระบบการให้คุณค่านี้เป็นตัวชี้นำพฤติกรรม เป้าหมายและการดำเนินชีวิตของเรา

-          การสื่อสาร การรับฟัง การแลกเปลี่ยนความรู้สำนึกคิดที่สอดคล้องหรือแตกต่างกัน

-          การตัดสินใจ การต่อรอง การทำความตกลงเพื่อบรรลุความตั้งใจหรือทางเลือกที่ตนสามารถรับผิดชอบได้

-          การรักษาและยืนยันการเป็นตัวของตัวเอง สามารถแสดงความรู้สึก ความต้องการของตนเอง โดยเคารพในสิทธิของผู้อื่น

-          การจัดการกับแรงกดดันจากเพื่อน สิ่งแวดล้อมและอคติทางเพศ

-          การแสวงหาคำแนะนำ ความช่วยเหลือ การจำแนกแยกแยะข้อมูลที่ถูกต้องออกจากที่ไม่ถูกต้อง

   การสร้างกติกาการเรียนรู้ร่วมกัน

                การเปิดโอกาสให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการกำหนดกติกาการเรียนรู้ เป็นการแสดงตัวและ        เจตจำนงของผู้ดำเนินกิจกรรม ที่จะช่วยให้นักเรียนเห็นถึงการยอมรับฟังและการเคารพความคิดเห็นเป็นเบื้องแรก  กติกาบางเรื่อง  แม้จะไม่ถูกนำเสนอโดยผู้เรียน  แต่เป็นประโยชน์ยิ่งต่อการเรียนรู้ในเรื่องเพศศึกษาที่ผู้ดำเนินกิจกรรมควรต้องพิจารณาหยิบยกขึ้นมาในห้องเรียน  ได้แก่

๑.       การรักษาความลับ

เป็นเรื่องสำคัญที่จะก่อให้เกิดความเชื่อมั่นต่อกันในการพูดคุย แลกเปลี่ยนประสบการณ์    จึง

เป็นเรื่องสำคัญที่จะไม่นำเรื่องต่าง ๆ ที่ได้รับการเปิดเผยแบ่งปันเพื่อการเรียนรู้ในห้องเรียน ไปเล่าต่อให้คนอื่นฟัง

๒.     การเปิดใจกว้าง

ในการรับฟังความคิดเห็นที่แตกต่างของผู้อื่น และพร้อมแลกเปลี่ยนความรู้สึก และความ

คิดเห็นของตนเองในประเด็นต่าง ๆ จะช่วยให้เกิดบรรยากาศการเรียนรู้ที่สนุกสนาน  ตลอดจนเป็นการพัฒนามุมมองต่อเรื่องต่าง ๆ ของตนเองด้วย

๓.      การไม่ด่วนตัดสินคุณค่า

เป็นเรื่องธรรมดาที่เราจะมีความเห็นไม่ตรงกัน หรือมีการโต้แย้งกัน  ดังนั้น การที่คิดเห็น

แตกต่างกัน  ไม่ควรนำมาซึ่งการตัดสินถูกผิด  หรือการดูถูกเหยียดหยามคนที่เห็นต่างจากเรา

๔.      สิทธิในการไม่ตอบคำถาม

กิจกรรมส่วนใหญ่ในหลักสูตรนี้  ส่งเสริมให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในทุกกิจกรรม  แต่ทุกคนยังมี

สิทธิที่จะไม่ตอบคำถาม หรือไม่ต้องการแลกเปลี่ยนในบางประเด็น หากรู้สึกไม่พร้อม

๕.     ทุกคำถามมีคุณค่า

ผู้เรียนควรให้ความสำคัญกับคำถามทุกคำถาม  แม้บางคำถามอาจจะมีปฏิกิริยาจากผู้เรียนบางคนว่าไม่น่าถามก็ตาม    ซึ่งผู้ดำเนินกิจกรรมควรชี้ให้เห็นว่า เราอาจรู้ไม่เท่ากันทุกคน  และการไม่รู้แล้วถาม เป็นการเรียนรู้แบบหนึ่ง  ดังนั้น  จึงเป็นโอกาสที่เราควรเรียนรู้ด้วยกัน  คนที่รู้แล้วสามารถแบ่งปันความรู้กับเพื่อนได้

๖.       บอกความคิดเห็นหรือความรู้สึกของตนเอง

ในกรณีที่ต้องการแสดงความคิดเห็น  ควรบอกว่าตนเองรู้สึกอย่างไรหรือคิดอย่างไร มากกว่า

การกล่าวโทษ หรือพูดถึงผู้อื่น

เรื่องเพศศึกษามีเนื้อหาครอบคลุมเกี่ยวกับเรื่องอะไรบ้าง

เพศศึกษา หมายถึง ความรู้ทั่วไปที่ควรให้เด็กได้ศึกษาเล่าเรียน ภายในขอบเขตที่ เหมาะสมของแต่ละวัย โดยการศึกษาปัญหาชีวิตเกี่ยวกับเรื่องเพศ และพฤติกรรมทางเพศในด้าน ความรู้ ทัศนคติและการปฏิบัติ เพื่อก่อให้เกิดความรับผิดชอบและความสัมพันธ์อันดีระหว่างเพศ

เพศศึกษาเรียนเกี่ยวกับอะไรบ้าง

เพศศึกษา เป็นการเรียนรู้เรื่องราวเกี่ยวกับ เพศหญิง และ เพศชาย เนื้อหาว่าด้วยสรีระร่างกายของแต่ละเพศ ลักษณะการเปลี่ยนแปลงจากวัยเด็กสู่วัยรุ่น ซึ่งเป็นวัยเจริญพันธุ์ เนื้อหาจะรวมถึงการปฏิบัติตนเพื่อการดูแลร่างกายตัวเอง และการปฏิบัติตัวต่อเพศตรงข้าม ชีวิตคู่ การมีเพศสัมพันธ์ การคุมกำเนิด กามโรค และ เนื้อหาต่าง ๆ ที่เกี่ยว ...

เรียนเพศศึกษาเพื่ออะไร

ความรู้เรื่องเพศสภาพช่วยให้นักเรียนมีกรอบแนวคิดพื้นฐานและคำศัพท์ในการทำความเข้าใจการเปลี่ยนแปลงเมื่อเข้าสู่วัยรุ่น ตลอดจนการเจริญเติบโตและพัฒนาการของมนุษย์ นอกจากนั้น ยังช่วยสร้างความเข้าใจและความรู้สึกสะดวกใจกับเส้นทางการเติบโตของตนเอง รวมทั้งความแตกต่างหลากหลายของเส้นทางการเติบโตที่อาจพบเจอในกลุ่มเพื่อนๆ

เพศวิถีศึกษามีความสําคัญอย่างไร

3. เพศวิถีศึกษาช่วยให้เยาวชนสามารถควบคุมพฤติกรรมของตน ในทางกลับกันช่วยให้ผู้เรียนรู้จักปฏิบัติต่อผู้อื่นด้วย ความเคารพ ยอมรับ อดทน และเอาใจใส่ โดยไม่เลือกเพศชาติพันธุ์ เชื้อชาติ หรือวิถีทางเพศ ท าให้มีแนวทางในการเลือก ดาเนินชีวิตทางเพศอย่างเหมาะสม เป็นสุข และปลอดภัย