กระบวนการพัฒนานวัตกรรม 6 ขั้นตอน

นวัตกรรม หมายถึง ความคิดและการกระทำใหม่ๆที่นำมาใช้ในการปรับปรุง เปลี่ยนแปลง การดำเนินงานให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้น (สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน หนึ่งโรงเรียนหนึ่งนวัตกรรม:2549

              นวัตกรรมทางการศึกษา หมายถึง แนวคิด ทฤษฎี ระบบ กระบวนการ เทคนิค วิธีการ แนวปฏิบัติ และสิ่งประดิษฐ์ที่พัฒนาขึ้นใหม่เพื่อแก้ปัญหา และพัฒนาคุณภาพการศึกษา(สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน หนึ่งโรงเรียนหนึ่งนวัตกรรม :2549)

        การสร้าง พัฒนานวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการเรียนรู้ คือ การกระทำใหม่ การสร้างใหม่ หรือการพัฒนาดัดแปลงจางสิ่งใดๆ แล้วทำให้การศึกษาหรือการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนมีประสิทธิภาพดีขึ้นกว่าเดิม ทำให้ผู้เรียนเกิดการเรียนเปลี่ยนแปลงในการเรียนรู้ เกิดการเรียนรู้อย่างรวดเร็ว มีแรงจูงใจในการเรียน ทำให้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูงสุดกับผู้เรียน

เป้าหมายของนวัตกรรมทางการศึกษา

       1. เพื่อแก้ปัญหาการเรียนรู้ที่เกิดขึ้น

       2. เพื่อทำให้การเรียนรู้บรรลุเป้าหมายทางการศึกษาที่วางไว้

       3. เพื่อให้การจัดการศึกษามีประสิทธิภาพบรรลุเป้าหมายได้ดีขึ้น

องค์ประกอบของการวิจัยและพัฒนานวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการเรียนรู้

1. ผู้ใช้ผลการวิจัยและพัฒนา

2 .นักวิจัย

3.สถาบันที่ให้การสนับสนุนทุนเพื่อการวิจัย

4.สิ่งที่เกี่ยวข้องกับการวิจัยและพัฒนา

ประเภทของนวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการเรียนรู้

แบ่งเป็น 5 ประเภท ได้แก่

1.นวัตกรรมด้านสื่อสารการสอน

2.นวัตกรรมด้านวิธีการจัดการเรียนการสอน

3.นวัตกรรมด้านหลักสูตร

4.นวัตกรรมด้านการวัดและการประเมินผล

5.นวัตกรรมด้านการบริหารจัดการ

กระบวนการการสร้างและพัฒนานวัตกรรม 5 ขั้นตอน

กระบวนการพัฒนานวัตกรรม 6 ขั้นตอน

ขั้นตอนที่ 1 การศึกษาเอกสารแนวคิดหลักการ

       เป็นขั้นตอนของการสำรวจว่าในทางวิชาการมีพัฒนาเรื่องนี้ไว้ว่าอย่างไร มีใครที่เคยประสบปัญหาการพัฒนาการเรียนรู้หรือการบริหารสถานศึกษาเช่นเดียวกันนี้มาก่อน และคนที่หาปัญหาเช่นเดียวกันนี้มีแนวทางในการแก้ไขปัญหานี้ในห้องเรียนของตนเองอย่างไร เพื่อให้ได้แนวคิดและแนวทางที่จะนำมาแก้ปัญหาของตนเองต่อไป

1.1 การแลกเปลี่ยนเรียนรู้และการแสวงหาแนวคิดและหลักการ

1.2 การศึกษาเอกสารงานวิจัยและประสบการของผู้เกี่ยวข้อง

ขั้นตอนที่ การเลือกและการวางแผนสร้างนวัตกรรม

โดยพิจารณาเลือกจากลักษณะของนวัตกรรมการเรียนรู้ที่ดี ดังนี้

1. เป็นนวัตกรรมการเรียนรู้ที่ตรงกับความต้องการและความจำเป็น

2.มีความหน้าเชื่อถือและเป็นไปได้สูงที่จะสามารถแก้ปัญหา และพัฒนาการเรียนรู้ของผู้เรียน

3. เป็นนวัตกรรมที่มีแนวคิดหรือหลักการทางวิชาการรองรับจนน่าเชื่อถือ

4.  สามารถนำไปใช้ในห้องเรียนได้จริง ใช้ได้ง่าย สะดวกต่อการใช้และการพัฒนานวัตกรรม

5.  มีผลการพิสูจน์เชิงประจักษ์ว่าได้ใช้ในสถานการณ์จริงแล้วสามารถแก้ปัญหาหรือพัฒนาคุณภาพการจัดการเรียนรู้ได้อย่างน่าเพิ่งพอใจ

ขั้นตอนที่ 3 สร้างและพัฒนานวัตกรรม

จากแผนการสร้างนวัตกรรม ครูต้องศึกษาถึงรายละเอียดของนวัตกรรมที่จะสร้างและดำเนินการตามขั้นตอน เช่น การสร้างนวัตกรรมที่เป็นชุดการเรียนรู้ ครูอาจดำเนินการสร้างตามขั้นตอนต่อไปนี้ เช่น

–  วิเคราะห์จุดประสงค์การเรียนรู้

–  กำหนดและออกแบบชุดการเรียนรู้ด้วยตนเอง

–   ออกแบบสื่อเสริม

–  ลงมือทำ

–  ตรวจสอบคุณภาพครั้งแรกโดยผู้เชี่ยวชาญ

–  ทดลองใช้ระยะสั้นเพื่อปรับปรุงเนื้อหาสาระ

นำไปใช้เพื่อแก้ปัญหาหรือการพัฒนาการเรียนรู้

ขั้นตอนที่ 4  การหาประสิทธิภาพของนวัตกรรม

ขั้นตอนนี้เป็นขั้นตอนที่พิสูจน์ว่านวัตกรรมที่สร้างขั้นนั้นเมื่อนำไปใช้จะได้ผลตามที่ต้องการหรือไม่ สามารถแก้ปัญหาในชั้นเรียนหรือพัฒนาผู้เรียนได้จริงหรือไม่การประสิทธิภาพของนวัตกรรมมีหลายวิธี เช่น

1.การตรวจสอบโดยผู้เชี่ยวชาญ

2. การบรรยายคุณภาพ

3.การคำนวณค่าร้อยละของผู้เรียน

4.การหาประสิทฺธิภาพของนวัตกรรม

5.การประเมินสื่อมัลติมีเดีย

ขั้นตอนที่ ปรับปรุงนวัตกรรม

          หลังจากที่หาประสิทธิภาพของนวัตกรรมที่สร้างขั้น ไม่ว่าจะโดยวิธีการใดก็ตามควรนำความคิดเห็นหรือข้อเสนอแนะเล่านั้นมาปรับปรุงนวัตกรรมให้มีคุณภาพเหมาะสมที่จะนำไปใช้ในห้องเรียนได้มากขึ้น โดยเฉพาะค่าหาประสิทธิภาพโดยการให้ผู้เชี่ยวชาญช่วยตรวจและการบรรยายคุณภาพก่อนการทดลองใช้และหลังการทดลองใช้กับผู้เรียนกลุ่มเล็กจะทำให้ได้ข้อมูลที่ชัดเจนและเป็นรายละเอียดที่จะปรับปรุงนวัตกรรมได้ง่ายขึ้น

กระบวนการการสร้างและพัฒนานวัตกรรมในด้านการสอน

ในการออกแบบการสร้างและพัฒนานวัตกรรม มีขั้นตอนดังนี้

      1. ศึกษาปัญหาการเรียนการสอน

การศึกษาปัญหาการเรียนการสอนซึ่งเราสามารถพิจารณาได้จาก

1.1  ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียน

1.2  ผลการวัดและประเมินจุดประสงค์การเรียนรู้

1.3  การทำแบบฝึกหัดของผู้เรียน

1.4  ผลการตรวจผลงานของผู้เรียน

1.5  ผลจากการทดสอบความรู้ความเข้าใจและทักษะการเรียนรู้ของผู้เรียน

1.6  บันทึกผลการสอนหลังสอนในแผนการสอน

1.7  ผลการวิจัยที่ผู้สอนได้จัดทำขึ้น

    2. กำหนดและจัดทำนวัตกรรมการเรียนการสอน

การกำหนดนวัตกรรมที่จะนำมาใช้ในการแก้ปัญหาหรือพัฒนาการเรียนการสอนให้สอดคล้องกันสาเหตุของปัญหา และการสร้างนวัตกรรมดังนี้

2.1 วิเคราะห์หลักสูตร

2.2 ศึกษาหลักการ แนวคิด ทฤษฎีและผลงานที่เกี่ยวข้อง

2.3 จัดทำโครงสร้างของนวัตกรรมการเรียนการสอน

2.4 สร้างนวัตกรรมการเรียนการสอนตามโครงสร้างและขั้นตอนที่กำหนด

2.5 นำนวัตกรรมการเรียนการสอนที่สร้างขึ้นไปพิสูจน์คุณภาพและประสิทธิภาพ

    3. การจัดทำเครื่องมือประเมินคุณภาพและประสิทธิภาพนวัตกรรมการเรียนการสอน

ขั้นตอนในการจัดทำเครื่องมือประเมินคุณภาพและประสิทธิภาพของนวัตกรรมมีดังนี้

3.1 ศึกษาวัตถุประสงค์ของนวัตกรรมการเรียนการสอนที่สร้างขึ้น

3.2 กำหนดเครื่องมือที่ต้องใช้ประกอบการประเมินคุณภาพและประสิทธิภาพ

3.3 ศึกษาแนวทางการสร้างเครื่องมือ

3.4 ออกแบบและสร้างเครื่องมือ

3.5 ตรวจสอบและผ่านการกลั่นกรองของผู้เชี่ยวชาญ

3.6 ศึกษาคุณภาพและประสิทธิภาพของเครื่องมือ

3.7 จัดทำเป็นเครื่องมือฉบับจริง

  4. การทดลองศึกษาคุณภาพและประสิทธิภาพนวัตกรรมการเรียนการสอน

ขั้นการศึกษาคุณภาพของนวัตกรรมการเรียนการสอนดำเนินการดังนี้

  1. 1.  กลั่นกรองเบื้องต้นโดยให้ผู้เรียนและครูผู้สอนกลุ่มสาระนั้นอ่านเพื่อตรวจสอบข้อบกพร่อง และปรับปรุงแก้ไขให้เหมาะสม
  2. 2.  นำนวัตกรรมการเรียนการสอนที่ปรับปรุงแก้ไขเรียบร้อยแล้วให้ผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 3-5 คน ประเมินเพื่อตรวจสอบคุณภาพ และให้ข้อเสนอแนะเพื่อปรับปรุงนวัตกรรม
  3. วิเคราะห์ผลการประเมินของผู้เชี่ยวชาญเพื่อดูว่ามีคุณภาพอยู่ในระดับใด และปรับปรุงข้อบกพร่องตามข้อเสนอแนะ

4. จัดทำเป็นนวัตกรรมการเรียนการสอนที่พร้อมสำหรับนำไปทดลองใช้

การศึกษาประสิทธิภาพของนวัตกรรมการเรียนการสอนดำเนินการดังนี้

  1. นำนวัตกรรมการเรียนการสอนที่ผ่านการตรวจสอบและประเมินคุณภาพของผู้เชี่ยวชาญแล้ว ไปทดลองใช้กับผู้เรียนที่มีคุณสมบัติเช่นเดียวกับกลุ่มเป้าหมายของการแก้ปัญหาหรือพัฒนา ตามรูปแบบและวิธีการที่กำหนด
  2. นำผลการทดลองมาคำนวณหาประสิทธิภาพของนวัตกรรมการเรียนการสอนโดยใช้สูตร E1/E2

   5.  การนำนวัตกรรมการเรียนการสอนไปใช้ในการแก้ปัญหา/พัฒนาผู้เรียน

หลังจากได้ศึกษาคุณภาพและประสิทธิภาพของนวัตกรรมการเรียนการสอน ตามวิธีการและขั้นตอนที่เชื่อถือได้ และมีคุณภาพและประสิทธิภาพตามที่กำหนดแล้ว นำนวัตกรรมการเรียนการสอนไปใช้แก้ปัญหาและพัฒนาผู้เรียนที่เป็นประชากรกลุ่มตัวอย่าง หรือกลุ่มเป้าหมายเพื่อสร้างความเชื่อมั่นว่านวัตกรรมการเรียนการสอนที่สร้างขึ้นมานั้นมีคุณภาพและมีประสิทธิภาพอย่างแท้จริง

     6.  การเขียนรายงานผลการพัฒนานวัตกรรมการเรียนการสอน

การเขียนรายงานผลการพัฒนานวัตกรรมแบ่งการเขียนออกเป็น 5 บท ดังนี้

บทที่ 1 บทนำ นำเสนอรายละเอียดตามหัวข้อต่อไปนี้

– ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา

– วัตถุประสงค์ของการทดลอง

– สมมุติฐานของการทดลอง

– ขอบเขตของการทดลอง

– ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ

– นิยามศัพท์

บทที่ 2 การศึกษาเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง นำเสนอแนวคิด หลักการ ทฤษฎี และผลการวิจัยทีเกี่ยวข้องที่นำมาใช้ในการพัฒนานวัตกรรม ดังนี้

– หลักการ แนวคิด ทฤษฎี ที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนานวัตกรรม

– ผลการวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนานวัตกรรม

– หลักการ แนวคิด ทฤษฎี และผลการวิจัยที่นำมาใช้พัฒนานวัตกรรมในกลุ่มสาระ/วิชาที่คิดค้นและสร้างนวัตกรรมการเรียนการสอน

บทที่ 3 วิธีดำเนินการสร้างและทดลองใช้นวัตกรรมการเรียนการสอน

– วัตถุประสงค์ของการทดลอง

– สมมุติฐานของการทดลอง

– ประชากรที่ใช้ในการทดลอง

– กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการทดลอง

– นวัตกรรมและเครื่องมือที่ใช้ในการทดลอง

– การสร้างนวัตกรรมและเครื่องมือที่ใช้ในการทดลอง

– การดำเนินการทดลอง

– การวิเคราะห์ผลการทดลอง

– สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ผลการทดลอง

บทที่ 4 การวิเคราะห์ข้อมูลและผลการวิเคราะห์ข้อมูล

เป็นการนำเสนอผลการวิเคราะห์ข้อมูล  โดยนำเสนอในรูปของตาราง  กราฟ หรือบรรยาย ตามวัตถุประสงค์ของการทดลองที่กำหนดในบทที่ 1

บทที่ 5 การสรุปผล อภิปรายผลและข้อเสนอแนะ

– สรุปผลการวิจัย นำเสนอวัตถุประสงค์ ขั้นตอนการดำเนินงาน และผลการวิจัยโดยสรุป ให้เห็นภาพของการดำเนินการสร้างและพัฒนานวัตกรรมตลอดแนว

– อภิปรายผลการวิจัย นำผลที่เกิดขึ้นจากการวิจัยมานำเสนอให้เห็นภาพรวมที่เป็นผลน่าพอใจ สิ่งที่เป็นข้อสังเกต โดยอ้างอิงหลักการ ทฤษฎีและผลการวิจัยที่สอดคล้องประกอบการอภิปรายอย่างเหมาะสม

 – ข้อเสนอแนะ นำเสนอสิ่งที่ควรดำเนินการต่อเนื่อง หรือพัฒนาผลการวิจัยอย่างต่อเนื่อง ที่จะทำให้เกิดคุณภาพในการพัฒนาอย่างเด่นชัด

   7. การเผยแพร่การพัฒนานวัตกรรม

หลังจากพิสูจน์ผลชัดเจนว่านวัตกรรมการเรียนการสอนที่คิดค้นและพัฒนานั้น สามารถแก้ปัญหาและพัฒนาการเรียนการสอนได้อย่างแท้จริงและได้นำเสนอผลการทดลองใช้ออกมาเป็นรายงานที่ถูกต้องแล้ว ควรเผยแพร่ผลการพัฒนานวัตกรรมการเรียนการสอนอย่างกว้างขวางเพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อการพัฒนาการจัดการศึกษา