ดอกเบี้ยร้อยละ 1 ต่อเดือน คิดยังไง

เราเชื่อว่าถ้าเลือกได้ หลายคนคงไม่มีใครอยากจะมี"หนี้"ติดตัว ที่ต้องจ่ายกันทุกสิ้นเดือนหรอก แต่ถ้าไม่มีเงินกู้ ชีวิตมันก็อาจจะไปต่อไม่ได้ เช่น คนประกอบอาชีพค้าขาย ถ้าเงินทุนตัวเองไม่พอ ก็ต้องกู้ยืมมาขยายกิจการ หรือบางคนที่อยากจะซื้อบ้าน ก็จำเป็นต้องกู้เงินเช่นกัน เพราะฉะนั้นถ้าเราจำเป็นต้องสร้างหนี้ สิ่งสำคัญที่พี่ ป้า น้า อา ควรต้องรู้ก่อนเป็นหนี้ 2 อย่างก็คือ

  1. เขาคิดดอกเบี้ยเราแบบไหน

    เรื่องนี้เป็นสิ่งสำคัญที่เราต้องรู้ก่อนเป็นอันดับแรก เพื่อที่เราจะได้วางแผนการเงินในการจ่ายชำระหนี้ได้ถูกต้อง ซึ่งโดยทั่วไปแล้วการคิดดอกเบี้ยก็จะมี 2 แบบ คือ

    • การคิดดอกเบี้ยแบบเงินต้นคงที่

      คือ เจ้าหนี้จะคิดดอกเบี้ยเราจากยอดเงินที่เรากู้ทั้งหมดคงที่ตลอดอายุสัญญา แม้ว่าเราจะผ่อนไปบ้างแล้วดอกเบี้ยก็ไม่ลดลงตามต้นเงินครับ

      ตัวอย่างเช่น กู้เงินมา 15,000 บาท ดอกเบี้ยคงที่ร้อยละ 15 ต่อปี ระยะเวลาผ่อน 12 เดือน ซึ่งดอกเบี้ยทั้งหมดจะอยู่ที่ 2,250 บาท เจ้าหนี้ก็จะเอาไปบวกกับเงินที่กู้ไป รวมเป็นเงิน 17,250 บาท แล้วก็เอามาหาร 12 เดือน ก็จะได้เงินที่ต้องจ่ายคืนเจ้าหนี้ ต่อเดือนๆ ละ 1,437.5 บาท และหากผ่อนไปแล้ว 6 เดือน เกิดโชคดีถูกหวยขึ้นมา อยากรีบเอาเงินมาปิดหนี้ ก็ไม่มีประโยชน์มากนักเพราะก็ต้องจ่ายส่วนที่ขาดไปอีก 6 เดือน ดอกเบี้ยคงที่ไม่ลด ซึ่งการคิดดอกเบี้ยแบบนี้ส่วนใหญ่จะเจอในการกู้ซื้อรถ หรือการกู้หนี้นอกระบบนั่นเอง

    คิดดอกเบี้ย...แบบเงินต้นคงที่
    • การคิดดอกเบี้ยแบบลดต้นลดดอก

      คือ เจ้าหนี้จะคิดดอกเบี้ย ตามยอดหนี้ที่เหลืออยู่ในแต่ละเดือน เช่น กู้มา 15,000 บาท เดือนแรกเขาก็จะคิดดอกเราจากยอดเงิน 15,000 บาท และในเดือนแรกเราผ่อนจ่ายไป 1,500 บาทแล้ว เดือนถัดไปเขาจะเอาเงินต้นที่เหลืออยู่ก็คือ 13,500 บาท มาคิดดอกเบี้ย ซึ่งจะต่างจากแบบแรกที่ถ้ากู้ 15,000 บาท จะผ่อนจ่ายไปกี่เดือนแล้วก็ตามเวลาคิดดอกเบี้ยก็จะคิดจากยอดกู้ 15,000 บาท เห็นไหมว่าดอกเบี้ยแตกต่างกันอย่างเห็นได้ชัด

      ตัวอย่างเช่น ไปกู้เงินมา 15,000 บาท ดอกเบี้ย ลดต้นลดดอกร้อยละ 15 ต่อปี ระยะเวลาผ่อน 12 เดือน ทางเจ้าหนี้เขาจะคำนวนมาให้เลยว่าเราจะผ่อนเดือนละ 1,360 บาท รวมเป็นเงิน 16,320 บาท ซึ่งรวมแล้วเราจะจ่ายถูกกว่าแบบเงินต้นคงที่และถ้าเรามีเงินก้อน เราก็สามารถเอาเงินก้อนไปโปะได้ ดอกเบี้ยก็จะลดลงอีกด้วย จากยอดที่เราต้องจ่ายทั้งหมด 16,320 บาท อาจจะเหลือแค่ 16,000 บาทก็เป็นได้ ซึ่งส่วนใหญ่ดอกเบี้ยลักษณะนี้คือการกู้สินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัย หรือสินเชื่อส่วนบุคคลครับ

    คิดดอกเบี้ย...แบบลดต้นลดดอก
  2. แล้วเราจะเลือกผ่อนสั้นผ่อนยาวดีล่ะถึงเหมาะกับเรา ?

    เรื่องนี้ต้องขอกระซิบบอกหน่อยว่า “ไม่ว่าจะเป็นการคิดดอกเบี้ยแบบเงินต้นคงที่ หรือการคิดดอกเบี้ยแบบลดต้นลดดอก แม้ว่าทั้งสองแบบจะมีวิธีการคิดดอกเบี้ยต่างกัน แต่สิ่งที่เขาให้เรามีสิทธิ์เลือกได้ก็คือ เราจะผ่อนแบบสั้น หรือแบบยาว” หากคุณยังไม่สามารถตัดสินใจได้ว่าจะเลือกผ่านแบบไหน!!! เราขอแนะนำแบบกระชับและได้ใจความ ดังนี้

    ถ้าเลือกผ่อนแบบสั้น

    การผ่อนหนี้ในแต่ละเดือนยอดชำระก็จะสูง แต่ก็หมดไวมีภาระผ่อนไม่นาน แถมดอกเบี้ยก็จะน้อยลงไปด้วย ซึ่งถ้าเรารู้ตัวเองว่ามีรายได้ประจำที่แน่นอน เช่น เป็นพนักงานมีเงินเดือน สามารถประเมินรายได้แต่ละเดือนได้ ถ้าดูจากเงินเดือนแล้วสามารถผ่อนระยะสั้นไหว การผ่อนระยะสั้นก็ถือว่าเป็นทางเลือกที่น่าสนใจมากเช่นกัน เพราะหมดหนี้ไว หมดปัญหาหนี้สินกวนใจนั่นเอง

    ถ้าเลือกผ่อนแบบยาว

    ในแต่ละเดือนเราก็จะผ่อนน้อย ผ่อนนาน ผ่อนสบาย แต่ว่าดอกเบี้ยก็เยอะขึ้นตามระยะเวลาที่นานขึ้น ซึ่งถ้าเราทำอาชีพค้าขาย หรืองานรับจ้างต่างๆ ที่มีรายได้ขึ้นอยู่กับงานที่ทำ รายได้ไม่คงที่ไม่ได้เป็นประจำแน่นอนตลอด การเลือกผ่อนแบบยาวก็ดูเข้าทางมากกว่าการผ่อนแบบสั้น ถึงแม้ว่าดอกเบื้ยจะแพงกว่าก็เถอะ แต่เราก็จะไม่ลำบากต้องไปหาหยิบยืม สร้างหนี้ มาจ่ายหนี้ทบหนี้อีก แต่ถ้าเดือนไหนมีรายได้เข้ามาค่อนข้างเยอะ เราก็ควรกันไว้จ่ายในกรณีฉุกเฉินหากเดือนไหนรายได้เราลดน้อยลง หรือเอาไปโปะยอดเงินต้นถ้าสินเชื่อที่เรากู้เป็นแบบลดต้นลดดอก จะได้หมดหนี้ไวๆ เสียดอกน้อยลง แทนที่จะเอาเงินไปจ่ายดอกอย่างเดียวก็เอาไปใช้ประโยชน์อย่างอื่นดีกว่า

    จะเลือกผ่อนสั้นหรือผ่อนยาวดี?

สุดท้าย และท้ายสุดอยากฝากไว้ว่าถ้าพี่ ป้า น้า อา ทั้งหลาย จำเป็นจะต้องใช้เงินก้อน ต้องกู้ขอสินเชื่อ จนทำให้เกิดการสร้างหนี้เพื่อให้ชีวิตหมุนต่อได้ แต่ก็ต้องเลือกให้เหมาะสมว่าหนี้ของเรานั้นควรจะผ่อนสั้นหรือยาว ควรเลือกผ่อนในแบบที่เราสามารถจ่ายไหว ไม่เกินกำลังของตัวเอง แต่หากคิดไม่เผื่ออนาคต กลัวเสียดอกเบี้ยเยอะเลยเลือกผ่อนสั้น แต่พอถึงคราวผ่อนจริงๆ ดันผ่อนไม่ไหว อันนี้จะกลายเป็นปัญหาในอนาคตให้ต้องนอนเอาขาก่ายหน้าผากวันละ 8 ตลบได้ หากไม่อยากเป็นหนี้เกินตัว ก็ต้องวางแผนการเงินอย่างฉลาดและรู้ทันตัวเอง ไม่ว่าเราจะเลือกผ่านแบบไหน ควรสอบถามเงื่อนไขของการชำระและการปิดหนี้ให้แน่ใจก่อนการตัดสินใจ

1. ฝากเงินก้อนนึงตั้งแต่เดือนมกราคม ในบัญชีออมทรัพย์ธรรมดา ดอกเบี้ย 0.5% ต่อปีและไม่ถอนเลย จำนวน 10,000 บาท เมื่อสิ้นปีจะได้ดอกเบี้ยเท่าไหร่

ดอกเบี้ยที่ได้ = เงินฝาก* อัตราดอกเบี้ย * (จำนวนวันที่ฝาก/ 365 วัน) แทนค่าไปในสูตร 10,000 บาท * 0.5% * (365/365) = 50 บาท

2. ถ้ากรณีคิดดอกเบี้ยครึ่งปีจำนวนวันที่ฝากก็จะลดลง เหลือ 180 วัน แทนค่าในสูตรได้ 10,000* 0.5% *( 180/365) = ประมาณ 24.65 บาท

โดยปกติแล้วธนาคารจะจ่ายดอกเบี้ย 2 รอบคือเดือนมิถุนายนและเดือนธันวาคม ฉะนั้นให้ใช้แบบตัวอย่างที่ 2 ก็ได้เพราะครึ่งปีแรกกับครึ่งปีหลังก็จะได้ดอกเบี้ยเท่ากัน

แบบที่ 2 กรณีฝากเงินไม่ได้เริ่มต้นปี

1. ฝากเงินก้อนนึงตั้งแต่เดือนเมษายน ในบัญชีออมทรัพย์ธรรมดา ดอกเบี้ย 0.5% ต่อปีและไม่ถอนเลย จำนวน 10,000 บาท ธนาคารจ่ายดอกเบี้ยเดือน มิถุนายน ดังนั้นตั้งแต่เดือนเมษายน-มิถุนายน ระยะเวลาประมาณ 90 วัน จะได้ดอกเบี้ยเท่าไหร่

ดอกเบี้ยที่ได้ = เงินฝาก* อัตราดอกเบี้ย * (จำนวนวันที่ฝาก/ 365 วัน) แทนค่าไปในสูตร 10,000 บาท * 0.5% * (90/365) = 12.32 บาท

แบบที่ 3 กรณีฝากเงิน 2 รอบก่อนจ่ายดอกเบี้ยครึ่งปี

ฝากเงินก้อนนึงตั้งแต่ วันที่ 1 เดือนมกราคม ในบัญชีออมทรัพย์ธรรมดา ดอกเบี้ย 0.5% ต่อปีและไม่ถอนเลย จำนวน 10,000 บาท และมาฝากเงินอีก 10,000 บาท วันที่ 1 เดือนเมษายน ในคอบครึ่งปีเดือนมิถุนายนจะได้ดอกเบี้ยเท่าไหร่

1. ดอกเบี้ยจากเงินฝากก้อนแรก 10,000 บาทตั้งแต่ วันที่ 1 เดือนมกราคมมาถึงวันที่ 31 เดือนมีนาคมประมาณ 90 วันดอกเบี้ยที่ได้ = เงินฝาก* อัตราดอกเบี้ย * (จำนวนวันที่ฝาก/ 365 วัน) แทนค่าไปในสูตร 10,000 บาท * 0.5% * (90/365) = 12.32 บาท

2. ดอกเบี้ยจากเงินฝากเพิ่มอีก 10,000 บาทในวันที่ 1 เดือนเมษายนรวมเงินฝากก้อนเดิมอีก 10,000 บาทเป็น 20,000 บาท ไปจ่ายดอกเบี้ยในเดือน มิถุนายน รวมเวลา 90 วัน ดอกเบี้ยที่ได้ = เงินฝาก* อัตราดอกเบี้ย * (จำนวนวันที่ฝาก/ 365 วัน) แทนค่าไปในสูตร 20,000 บาท * 0.5% * (90/365) = 24.65 บาท

ฉะนั้นในรอบเดือนมิถุนายนที่ธนาคารจ่ายดอกเบี้ยก็จะได้ประมาณ  36.97 บาท

ฝากเงินอาทิตย์เดียวได้ดอกเบี้ยเบี้ยเท่าไหร่

เนื่องจากเงินฝากของเราธนาคารคิดดอกเบี้ยให้เป็นรายวันอยู่แล้วแต่จะจ่ายให้ทุกรอบกลางปีและสิ้นปี ถ้าสมมติว่าไม่นับว่าเริ่มต้นฝากเงินเดือนไหนแต่ฝากแค่ 7 วันธนาคารก็ให้ดอกเบี้ยเหมือนกัน ตัวอย่างวิธีคิดคือ

ฝากเงินในบัญชีออมทรัพย์ธรรมดา ดอกเบี้ย 0.5% ต่อปีและไม่ถอนเลย จำนวน 10,000 บาท ระยะเวลา 7 วัน จะได้ดอกเบี้ยที่ได้ = เงินฝาก* อัตราดอกเบี้ย * (จำนวนวันที่ฝาก/ 365 วัน) แทนค่าไปในสูตร 10,000 บาท * 0.5% * (7/365) = 0.95 บาท ครับ

หลายคนไม่รู้ว่าถ้าเรามีเงินนิ่งๆ อยู่ในธนาคาร 1 วันหรือ 2 วันเค้าก็คิดดอกเบี้ยให้แล้ว แต่อาจจะไม่ได้เยอะ ฉะนั้นอย่าทิ้งเงินไว้ในกระปุกที่บ้านเลย เอาไปฝากไว้กับธนาคารจะดีกว่า

เปลี่ยนจากฝากเงินเอาดอกเบี้ยหลักสิบเป็นความคุ้มครองหลักล้านและได้ลงทุนดีกว่า

เพื่อนๆ กำลังฝากเงินไว้ในธนาคารเพื่อเอาดอกเบี้ยที่เท่ากับเงินทอนอยู่รึป่าว หรือกำลังมองหาประกันสะสมทรัพย์เพื่อความคุ้มครองแต่ผลตอบแทนที่ได้ก็ไม่คุ้มค่า

อัตราดอกเบี้ยต่อเดือน คิดยังไง

วิธีคิดดอกเบี้ยต่อปีเป็นต่อเดือน สามารถคำนวณได้โดยเอา อัตราดอกเบี้ยต่อปี /12 เช่น ดอกเบี้ย 12% ต่อปี เมื่อคิดเป็นต่อเดือน = 12/12 = 1% ต่อเดือน

ดอกเบี้ยร้อยละต่อปี คิดยังไง

ดอกเบี้ยที่ต้องชำระงวดนั้น = (เงินต้น x อัตราดอกเบี้ย x จำนวนวันในงวด) / 365 หรือ 366 (วันต่อปี) ตัวอย่างการคำนวณดอกเบี้ย

การคิดดอกเบี้ยคิดยังไง

ดอกเบี้ย = [(เงินต้น x อัตราดอกเบี้ย (%) x จำนวนวันที่ฝากในงวดนั้น) / จำนวนวันทั้งปี] โดยแบ่งคำนวณเป็น 2 ส่วน คือ ดอกเบี้ยงวดครึ่งปีแรก = [(10,000 x 0.25% x 181) / 365] = 12.39 บาท ดอกเบี้ยงวดครึ่งปีหลัง = [(10,012.39 x 0.25% x 184) / 365] = 12.61 บาท

ดอกเบี้ย ร้อย ละ 10 ต่อเดือน ผิดกฎหมายไหม

การกำหนดอัตราดอกเบี้ยที่ชอบด้วยกฎหมายตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 654 วางหลักไว้ว่า ห้ามมิให้คิดดอกเบี้ยเกินร้อยละสิบห้าต่อปี ถ้าในสัญญากำหนดดอกเบี้ยเกินกว่านั้น ก็ให้ลดลงมาเป็นร้อยละสิบห้าต่อปี