ข้อ ใด เป็น หลักการ จัด ทำ โครงการวิจัย

หน่วยที่ 3

การเขียนโครงการวิจัย

เรียบเรียงโดย ผศ. พิพิษณ์  สิทธิศักดิ์

 แบบ เสนอโครงการวิจัย (research project) หรือโครงร่างการวิจัย (Research Proposal) หมายถึง แบบแปลนหรือแผนในการแสวงหาความรู้ โดยแสดงให้เห็นถึงความสำคัญและความเป็นไปได้ในการดำเนินการวิจัย โดยสามารถดำเนินการให้บรรลุตามจุดมุ่งหมายได้ ดังนั้น ก่อนที่นักวิจัยจะทำการวิจัย จะต้องมีการวางแผนงานเกี่ยวกับเรื่องที่จะทำการวิจัยไว้ล่วงหน้า  สำหรับนักศึกษาที่ทำศิลปะนิพนธ์ระดับปริญญาตรี จะใช้คำว่า “เค้าโครงศิลปะนิพนธ์”

การเขียนโครงร่างการวิจัย (Research proposal) นอกจากจะทำให้ผู้วิจัยทราบขั้นตอนและรายละเอียดในแต่ละขั้นตอนของการทำวิจัย แล้ว ยังใช้เป็นเครื่องมือในการนำเสนอขอรับการสนับสนุนหรือขอความเห็นชอบในการ อนุมัติให้ดำเนินการวิจัย เพื่อให้ผู้พิจารณาอนุมัติเชื่อว่า การวิจัยที่จะทำนั้นมีระเบียบวิธีการวิจัยที่ดี มีความเป็นไปได้ในการทำวิจัยให้สำเร็จ และประโยชน์ สมควรได้รับการอนุมัติให้ทำการวิจัยได้ (ผศ.ดร.ถิรพงษ์ ถิรมนัส คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา)

โดยทั่วไปแต่ละหน่วยงานจะกำหนด แบบฟอร์มของแบบเสนอโครงการวิจัย ที่มีหัวข้อหรือองค์ประกอบมากน้อยแตกต่างกันไปแต่ละหน่วยงาน  แต่ส่วนใหญ่จะมีคำชี้แจงประกอบการเขียน  เพื่อให้นักวิจัยเขียนแบบเสนอโครงการวิจัยไปในทิศทางเดียวกัน  ดังนั้น นักวิจัยจึงต้องเขียนให้สอดคล้องกับคำชี้แจงหรือคำแนะและครอบคลุมหัวข้อ ต่างๆ อย่างครบถ้วน

การเขียนโครงการวิจัยมักนิยมเขียนแบบพรรณนา บรรยายให้เห็นถึงลักษณะของโครงการวิจัย ความเป็นมา กระบวนการวิจัย และการบริหารโครงการตั้งแต่ต้นจนเสร็จสิ้นโครงการ ตามลำดับหัวข้อของแบบเสนอโครงวิจัยแต่ละหน่วยงาน

ปัญหาในการเขียน โครงการวิจัยสำหรับนักวิจัยมือใหม่ หรือนักศึกษาที่ทำศิลปะนิพนธ์ คือ มีความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับแนวคิด ทฤษฎี และระเบียบวิธีวิจัยยังไม่แน่นพอ รวมทั้งขาดทักษะและประสบการณ์ในการเขียนเชิงพรรณนา ทำให้ขยายความแต่ละหัวข้อหรือแต่ละประเด็นไม่กว้างขวางและครอบคลุมในสิ่งที่ ต้องการนำเสนอ  นอกจากนี้ยังพบว่าขาดทักษะการใช้ภาษาไทยให้ถูกต้องและสละสลวย (สิน  พันธุ์พินิจ 2553 : 338-340)

สิ่งสำคัญที่สุดในการเขียนโครงร่างการ วิจัยที่ดี ก็คือความรู้และความเข้าใจอย่างถ่องแท้ของผู้ที่จะการวิจัยว่าจะทำวิจัย เรื่องอะไร มีวัตถุประสงค์อะไร จะใช้ระเบียบวิธีการศึกษาอะไรและอย่างไร และงานวิจัยนั้นมีประโยชน์อะไรบ้าง ซึ่งหากผู้ที่ทำวิจัยไม่มีความชัดเจนในเรื่องต่างๆเหล่านี้แล้ว ก็ยากที่จะเขียนข้อเสนอโครงการวิจัยที่ดีได้ (คณะกรรมการฝึกอบรมและสอบความรู้ความชำนาญในการประกอบวิชาชีพเวชกรรม  สาขาเวชศาสตร์ครอบครัว  ราชวิทยาลัยแพทย์เวชศาสตร์ครอบครัวแห่งประเทศไทย)  โครงร่างการวิจัย ควรมีองค์ประกอบสำคัญดังนี้

1.   ชื่อเรื่องวิจัย

2.   ความสำคัญและที่มาของปัญหาการวิจัย

3.   วัตถุประสงค์ของการวิจัย (วัตถุประสงค์ของการศึกษา)

4.   คำถามของการวิจัย

5.   ทฤษฎีและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง

6.   สมมติฐาน* และกรอบแนวความคิดในการวิจัย*

7.   ขอบเขตของการวิจัย

8.   การให้คำนิยามเชิงปฏิบัติที่จะใช้ในการวิจัย*

9.   ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากการวิจัย

10. ระเบียบวิธีวิจัย

11. ระยะเวลาในการดำเนินงาน

12. งบประมาณค่าใช้จ่ายในการวิจัย

13. บรรณานุกรม

14. ภาคผนวก*

15. ประวัติของผู้ดำเนินการวิจัย

* ไม่จำเป็นต้องมีทุกโครงการ

อย่าง ไรก็ตาม รูปแบบโครงการวิจัยของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์ และเค้าโครงศิลปะนิพนธ์ของวิทยาลัยเพาะช่าง  จะมีหัวข้อดังนี้

โครงการวิจัย

เค้าโครงศิลปะนิพนธ์

1. ชื่อโครงการวิจัย 1.ชื่อเรื่อง
2. ประเภทการวิจัย 2.ความเป็นมาหรือความสำคัญของปัญหา
3. คำสำคัญ (keywords) ของโครงการวิจัย 3.วัตถุประสงค์ของการศึกษา
4. ความสำคัญและที่มาของปัญหาที่ทำการวิจัย 4.ผลที่คาดว่าจะได้รับ
5. วัตถุประสงค์ของโครงการวิจัย 5.ขอบเขตของการศึกษา
6. ขอบเขตของโครงการวิจัย 6.ขั้นตอนการศึกษา
7. วิธีการดำเนินการวิจัย และสถานที่ทำการทดลอง/เก็บข้อมูล 7.ข้อตกลงเบื้องต้น
8. ระยะเวลาทำการวิจัย และแผนการดำเนินงานตลอดโครงการวิจัย 8.ความจำกัดของการศึกษา
9. งบประมาณของโครงการวิจัย 9.คำจำกัดความที่ใช้ในการศึกษา
10. ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ และหน่วยงานที่นำผลการวิจัยไปใช้ประโยชน์ 10.บรรณานุกรม
11. ผลสำเร็จและความคุ้มค่าของการวิจัยที่คาดว่าจะได้รับและหน่วยงานที่จะทำผลการวิจัยไปใช้ประโยชน์ 11.ตารางดำเนินงาน
  12.ตัวอย่างผลงาน

โครงการวิจัยเป็นแผนงานที่เขียนขึ้นเพื่อใช้เป็นแนวทางในการดาเนินการวิจัยซึ่งเปรียบได้กับพิมพ์เขียวของบ้านที่สถาปนิกร่างขึ้นเพื่อใช้เป็นแนวทางในการสร้างบ้าน โครงการวิจัยจะช่วยให้เห็นกิจกรรมต่าง ๆ ที่ต้องดาเนินงานและความสัมพันธ์ของกิจกรรมเหล่านั้นตามลาดับก่อนหลังอย่างเป็นเหตุเป็นผล เอกสารโครงการวิจัยยังใช้เป็นเอกสารเพื่อเสนอขอรับทุนจากแหล่งทุนที่ให้การสนับสนุนการทาวิจัย สาหรับนักศึกษาที่เรียนในระดับบัณฑิตศึกษา โครงการวิจัยเป็นเอกสารที่จัดทาขึ้นเพื่อขอคาอนุมัติจากคณะกรรมการบริหารหลักสูตรให้ทาการวิจัยในเรื่องนั้นได้ นอกจากนี้ในปัจจุบันทุก

สถาบันการศึกษา องค์กรและหน่วยงานทางการศึกษาต่าง ๆ มีความคาดหวังที่จะให้ครู อาจารย์และบุคลากรทางศึกษาได้ทาวิจัยเพื่อเป็นเครื่องมือในการพัฒนางาน ดังนั้นความต้องการแหล่งทุนเพื่อสนับสนุนการดาเนินงานวิจัยจึงมีจานวนมากขึ้น การเขียนโครงการวิจัยที่ดีเพื่อให้มีโอกาสได้รับการพิจารณาสนับสนุนทุนวิจัยจึงมีความสำคัญ

ลักษณะของโครงการวิจัยที่ดี

การเขียนโครงการวิจัย ผู้เขียนจะต้องเตรียมการเป็นอย่างดี เกี่ยวกับข้อมูลพื้นฐานต่าง ๆ ที่จำเป็นต้องใช้ประกอบการเขียน โครงการวิจัยที่ดีควรมีลักษณะดังนี้

1) มีหัวข้อ ประเด็นครบถ้วนตามแบบฟอร์มที่หน่วยงานรับข้อเสนอโครงการวิจัยได้กำหนดไว้ทุกประเด็น

2) เขียนได้ชัดเจน ตรงประเด็น มีรายละเอียดพอเพียงที่จะทาให้ทราบว่าผู้วิจัยต้องการจะทาอะไร เพราะเหตุใดจึงต้องทาวิจัย สิ่งที่ทามีความสำคัญอย่างไร มีประโยชน์อย่างใด และจะทาอย่างไรกระบวนการที่คาดว่าจะทานั้นมีความเป็นไปได้และใช้หลักการทางวิทยาศาสตร์ที่น่าเชื่อถือเพียงใด

3) ข้อเสนอระยะเวลาและงบประมาณในการดาเนินงานมีความสมเหตุสมผลและสอดคล้องกับที่หน่วยงานที่รับข้อเสนอโครงการหรือแหล่งให้ทุนได้วางกรอบไว้

หลักการเขียนโครงการวิจัย

โครงการวิจัยและพัฒนาโดยทั่วไปนั้นจะประกอบด้วยหัวข้อการวิจัยที่จะต้องเขียนเสนอดังต่อไปนี้ (ทิศนา แขมมณี, 2527)

1. ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา ในหัวข้อนี้เป็นการอธิบายถึงความเป็นมาและสาเหตุของปัญหาหรือความต้องการในการพัฒนาการเรียนรู้ของผู้เรียนว่าเป็นอย่างไร และความจำเป็นที่ผู้วิจัยจะต้องหาแนวทางในการแก้ปัญหาหรือทาวิจัย และผลกระทบที่จะเกิดขึ้นหากไม่สามารถแก้ปัญหาได้ การเขียนควรนาเสนอปัญหาอย่างกระชับและตรงประเด็นโดยแสดงให้เห็นสภาพที่เป็นอยู่และสภาพที่คาดหวังให้เป็น การเขียนควรมีการอ้างอิงข้อมูลจากแหล่งข้อมูลที่เชื่อถือได้

2. วัตถุประสงค์การวิจัย การเขียนวัตถุประสงค์ของการวิจัยและพัฒนาให้เขียนเป็นข้อ ๆโดยมีหลักการเขียน ดังนี้

1) วัตถุประสงค์การวิจัยต้องแสดงให้เห็นว่าผู้วิจัยมุ่งพัฒนาหรือศึกษาอะไร ซึ่งเป็นผลจากการดาเนินการ ไม่ใช่กระบวนการดาเนินการ เช่นเพื่อพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์แทนที่จะเขียนว่าเพื่อหาประสิทธิภาพของชุดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานเป็นต้น

2) วัตถุประสงค์การวิจัยต้องสอดคล้องกับรูปแบบการวิจัย เช่น เขียนวัตถุประสงค์การวิจัยว่าเพื่อเปรียบเทียบผลการเรียนรู้ของผู้เรียนที่เรียนด้วยชุดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานแต่ในแบบแผนการวิจัยเป็นเพียงการวัดผลผู้เรียนในด้านต่าง ๆ หลังเรียนเท่านั้น ซึ่งในลักษณะนี้ควรเขียนว่าศึกษาผลการเรียนรู้ของผู้เรียน ...” เท่านั้น

3. สมมติฐานการวิจัย เป็นการคาดเดาคาตอบล่วงหน้าที่เป็นไปตามเกณฑ์ของการพัฒนาที่เป็นที่ยอมรับในทางวิชาการ ซึ่งผู้วิจัยต้องอาศัยการศึกษาแนวคิด ทฤษฎีจากเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง เช่น ในการพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้นั้นยึดหลักการเรียนแบบรอบรู้คือ ผู้เรียนต้องมีผลการเรียนรู้ทั้งด้านกระบวนการเรียนรู้และผลการเรียนรู้ทั้งสองด้านในระดับร้อยละ 80 ขึ้นไป ดังนั้นจึงตั้งสมมติฐานของชุดกิจกรรมการเรียนรู้ที่สร้างขึ้นให้มีประสิทธิภาพเป็นไปตามเกณฑ์ E1/E2 เท่ากับ80/80เป็นต้น หรือกำหนดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนต้องสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ 0.05ตามหลักการของการใช้สถิติภาคอ้างอิง เป็นต้น และการกำหนดความพึงพอใจของผู้เรียนที่มีต่อชุดกิจกรรมการเรียนรู้อยู่ในระดับดี ซึ่งหมายถึงระดับค่าเฉลี่ยตั้งแต่ร้อยละ 70 หรือระดับ B ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์สากลซึ่งเป็นที่ยอมรับ เป็นต้น

4. กรอบแนวคิดในการวิจัย หมายถึง พื้นฐานทางทฤษฎีและหลักการที่ผู้วิจัยยึดถือและนำมาใช้ในการกำหนดลักษณะสำคัญของตัวแปรต้นและตัวแปรตาม ซึ่งนามาใช้เป็นแนวทางสาหรับการออกแบบและพัฒนานวัตกรรมการเรียนการสอนและเครื่องมือในการรวบรวมข้อมูลในการวิจัย กรอบแนวคิดในการวิจัยจะต้องสรุปให้เห็นแนวคิดหรือหลักการที่แฝงอยู่ในนวัตกรรมและลักษณะสำคัญของนวัตกรรมที่พัฒนาขึ้น นามาใช้เป็นตัวแปรจัดกระทา และการกำหนดลักษณะสำคัญที่สังเกตได้ วัดได้ของตัวแปรตามเพื่อนามาใช้เป็นแนวทางในการสร้างเครื่องมือการวัดผล การนาเสนอกรอบแนวคิดในการ

วิจัย ผู้วิจัยจึงต้องสังเคราะห์จากเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องจนได้ข้อสรุปที่เป็นแนวคิดและหลักการสำคัญที่ใช้ในการดาเนินการวิจัย หากสรุปและนาเสนอเป็นแผนภาพได้ก็จะมีความชัดเจนแต่ไม่ใช่ข้อกำหนดตายตัว

5. ขอบเขตในการวิจัย สิ่งที่ควรกล่าวถึงได้แก่

1) ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง โดยกล่าวถึงลักษณะของประชากรที่เป็นกลุ่มเป้าหมายของการวิจัยว่าเป็นใคร มีจานวนเท่าใด มีลักษณะเป็นอย่างไร การเลือกกลุ่มตัวอย่างเพื่อเป็นตัวแทนของประชากรนั้น มีวิธีการเลือกมาได้อย่างไร จานวนเท่าใด

2) ตัวแปรในการวิจัย ได้แก่ ตัวแปรต้น และตัวแปรตาม ตัวแปรต้นในที่นี้ คือตัวแปรจัดกระทาการทดลอง หรือการใช้นวัตกรรม และตัวแปรตาม คือผลการเรียนรู้อันเป็นผลจากการจัดกระทาการทดลอง

3) เครื่องมือในการวิจัย หมายถึง เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูล ได้แก่ เครื่องมือประเมินประสิทธิภาพของนวัตกรรม และเครื่องมือที่ใช้ในการวัดประเมินผลตัวแปรตาม ในส่วนนี้ควรกล่าวถึงลักษณะและประเภทของเครื่องมือที่ใช้ จานวนของเครื่องมือ กระบวนการหรือวิธีการในการพัฒนาคุณภาพของเครื่องมือ เช่น ในกรณีที่เป็นแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน คุณภาพของเครื่องมือ ได้แก่ ความตรง ความเที่ยง ความยากง่ายและอำนาจจำแนกของเครื่องมือ เป็นต้น

6. วิธีดำเนินการวิจัย เนื่องจากเป็นการวิจัยและพัฒนาการเรียนการสอน ดังนั้นในส่วนนี้ควรเขียนให้สอดคล้องกับกระบวนการของการออกแบบการเรียนการสอน โดยนาเสนอขั้นตอนการวิจัยและพัฒนา ดังนี้

ขั้นตอนที่ 1 การวิเคราะห์ ผู้วิจัยควรนาเสนอขอบเขตของข้อมูลและสารสนเทศที่ต้องการวิเคราะห์ เช่น การวิเคราะห์หลักสูตร การวิเคราะห์ความต้องการของผู้เรียน และการวิเคราะห์สภาพและความต้องการของชุมชน เป็นต้น การนาเสนอวิธีการในการวิเคราะห์และเครื่องมือที่ใช้ ตลอดจนกำหนดผู้ให้ข้อมูลสำคัญ หรือแหล่งข้อมูลในการวิเคราะห์

ขั้นตอนที่ 2 การออกแบบ และพัฒนาเป็นขั้นที่ผู้วิจัยนาเสนอกระบวนการดาเนินการพัฒนา ได้แก่ การวิเคราะห์จุดประสงค์การเรียนรู้ การกำหนดและออกแบบสาระการเรียนรู้ การกำหนดขั้นตอนการสอนและกิจกรรมการเรียนการสอน การออกแบบและคัดเลือกสื่อการเรียนรู้ การกำหนดวิธีการประเมินผลผู้เรียน เป็นต้น ในองค์ประกอบการเรียนการสอนดังกล่าวมีวิธีดาเนินการให้ได้มาอย่างไรและมีกระบวนการที่จะตรวจสอบคุณภาพเบื้องต้นโดยผู้เชี่ยวชาญและผู้เรียนอย่างไร

ขั้นตอนที่ 3 การประเมิน เป็นขั้นของการทดลองใช้นวัตกรรมกับผู้เรียนที่ไม่ใช่กลุ่ม

ตัวอย่างประชากรเพื่อทดสอบประสิทธิภาพของนวัตกรรม ซึ่งเป็นการประเมินความก้าวหน้าเพื่อนาผลมาใช้ในการปรับปรุงแก้ไขนวัตกรรม ก่อนนาไปใช้กับกลุ่มตัวอย่างประชากรเพื่อประเมินผลสรุปโดยการวัดผลการเรียนรู้หลังเรียน การวัดความพึงพอใจของผู้เรียน ความคิดเห็นของผู้ใช้นวัตกรรม และการสังเกตการใช้นวัตกรรมเพื่อนาข้อมูลไปใช้ในการตัดสินใจว่านวัตกรรมที่ออกแบบนั้นมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลเป็นไปตามสมมติฐานที่ตั้งไว้หรือไม่ ในขั้นนี้ผู้วิจัยควรจะได้กล่าวถึงประเด็นที่สำคัญ ดังนี้

1) การประเมินนวัตกรรมโดยผู้เชี่ยวชาญจากภายนอกนั้นมีกระบวนการในการ

ดาเนินการอย่างไร การคัดเลือกผู้เชี่ยวชาญมีเกณฑ์ในการพิจารณาอย่างไร ประเมินนวัตกรรมด้านใด ใช้เกณฑ์ในการประเมินอย่างไร เป็นต้น

2) กระบวนการทดสอบประสิทธิภาพของนวัตกรรม โดยการทดสอบจากผู้เรียนนั้นทำอย่างไร เช่น การทดสอบแบบเดี่ยว แบบกลุ่มย่อย แบบกลุ่มใหญ่หรือภาคสนาม ทาอย่างไร ใช้เกณฑ์ในการพิจารณาอย่างไร

3) แบบการวิจัยทดลอง ที่ใช้เป็นแผนงานในการทดลองและรวบรวมข้อมูลการวิจัย

ในขั้นประเมินผลรวมนั้นเป็นแบบใด

4) การวิเคราะห์ข้อมูล การใช้สถิติกับข้อมูลที่รวบรวมแต่ละประเภทเป็นอย่างไร

ใช้เกณฑ์ในการวิเคราะห์อย่างไร และแปลผลการวิเคราะห์อย่างไร

7. ระยะเวลาในการดาเนินการวิจัย ควรนาเสนอเป็นแผนผังควบคุมงาน (gantt chart)แสดงขั้นตอนของการดำเนินการวิจัยและระยะเวลาที่ต้องใช้ในแต่ละกิจกรรม เพื่อใช้เป็นแผนงานสาหรับควบคุมการทางานให้บรรลุเป้าหมายที่ต้องการ

8. ประโยชน์ที่ได้จากการวิจัย ในส่วนนี้ต้องระบุให้ชัดเจนว่า งานวิจัยนี้จะได้ประโยชน์อะไรเพื่อใช้ประกอบการตัดสินใจว่าควรอนุมัติให้ทาหรือไม่ อย่างไร เช่น การแก้ปัญหา การพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่เป็นนวัตกรรม การได้ข้อความรู้ที่เป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาการเรียนการสอน การเขียนในส่วนของประโยชน์ของการวิจัยนี้จะต้องสอดคล้องกับวัตถุประสงค์แต่ไม่ใช่วัตถุประสงค์ ควรเขียนในลักษณะที่จะก่อให้เกิดประโยชน์และผลกระทบเมื่อนาผลการวิจัยไปใช้ เป็นต้น

9. งบประมาณที่ใช้ในการวิจัย สาหรับการเสนอโครงการวิจัยให้กับแหล่งผู้สนับสนุนทุนในการดำเนินการวิจัยนั้น ส่วนนี้นับว่ามีความสำคัญควรศึกษารายละเอียดให้ชัดเจนว่าแหล่งผู้สนับสนุนนั้นจัดหมวดหมู่ค่าใช้จ่ายไว้อย่างไร และมีหลักเกณฑ์สาหรับการเบิกจ่ายในแต่ละหมวดอย่างไรเพื่อจะได้ทาให้ถูกต้องตามความต้องการของแหล่งทุนที่สนับสนุน

10) คณะผู้วิจัย ควรระบุรายละเอียดข้อมูลส่วนตัวของผู้วิจัย ได้แก่ ชื่อ สกุล ตำแหน่งสถานที่ปฏิบัติงาน สถานที่ติดต่อ คุณวุฒิและประสบการณ์ของผู้ทาวิจัยให้ชัดเจนตามแบบฟอร์มที่แจ้งไว้

ประเด็นการวิจัยทั้ง 10 ข้อนี้ จะทาให้เห็นภาพงานของการวิจัยชัดเจนแต่จะต้องเขียนทั้ง 10หัวข้อนี้หรือไม่ ขึ้นอยู่กับแบบฟอร์มของหน่วยงานที่ต้องการโครงร่างการวิจัยเป็นผู้กำหนด

ตัวอย่างโครงการวิจัย

ตัวอย่างที่นามาเสนอในที่นี้ เป็นโครงการวิจัยที่นักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐมได้ทาขึ้นเพื่อเสนอขออนุมัติหัวข้อวิทยานิพนธ์ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรครุศาสตร์มหาบัณฑิต ซึ่งผู้เขียนได้ปรับปรุงให้มีความสมบูรณ์ตามแนวทางที่ได้เสนอไว้

หัวข้อวิทยานิพนธ์

ภาษาไทย: การพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนวิชาวิทยาศาสตร์พื้นฐานเรื่องโครงสร้างอะตอม

และโมเลกุล สาหรับนักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ

ภาษาอังกฤษ: The development of computer assisted instruction lessons in basic

science on atom structures and molecules for vocational certificate

students

ชื่อนักศึกษา นางสุพรรณี วงศ์สุวรรณ

สาขาวิชา หลักสูตรและการสอน

วัตถุประสงค์ของการวิจัย

1. เพื่อพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนวิชาวิทยาศาสตร์พื้นฐาน เรื่อง โครงสร้างอะตอมและโมเลกุล สาหรับนักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพที่มีประสิทธิภาพ

2. เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ก่อนและหลังเรียนของนักเรียนระดับ

ประกาศนียบัตรวิชาชีพที่เรียนโดยใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนวิชาวิทยาศาสตร์พื้นฐานเรื่องโครงสร้างอะตอมและโมเลกุล

3. เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพที่มีต่อการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์พื้นฐาน เรื่อง โครงสร้างอะตอมและโมเลกุลด้วยบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน

สมมติฐานการวิจัย

1. บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนวิชาวิทยาศาสตร์พื้นฐาน เรื่องโครงสร้างอะตอมและโมเลกุลสำหรับนักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพมีประสิทธิภาพ E1/E2 ไม่ต่ากว่า 80/80

2. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์พื้นฐาน เรื่องโครงสร้างอะตอมและโมเลกุลของนักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพที่เรียนด้วยบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน

3. ความพึงพอใจของนักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพที่มีต่อการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์พื้นฐาน เรื่องโครงสร้างอะตอมและโมเลกุลอยู่ในระดับมาก

คำสำคัญ

บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน หมายถึง บทเรียนที่ใช้คอมพิวเตอร์เป็นสื่ออุปกรณ์ในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เนื้อหาวิชาตามบทเรียน โดยการเรียนรู้ด้วยตนเองจากเครื่องคอมพิวเตอร์ โดยมีคาแนะนาในการใช้บทเรียน การนาเสนอเนื้อหาเป็นตัวหนังสือและภาพประกอบ มีการถามคาถามรับคาตอบจากนักเรียน มีการตรวจคาตอบและแสดงผลการเรียนรู้ในรูปแบบข้อมูลป้อนกลับให้แก่นักเรียน รวมทั้งการจัดเนื้อหาให้มีความเชื่อมโยงระหว่างหน่วยการเรียนรู้ในลักษณะไม่เป็นแบบเชิงเส้นเพื่อให้นักเรียนสามารถเรียนหน่วยต่าง ๆ ได้ตามระดับความสามารถของตนเอง

ประสิทธิภาพของคอมพิวเตอร์ช่วยสอน หมายถึง ความสามารถของคอมพิวเตอร์ช่วยสอน

ในการพัฒนาผลสัมฤทธิ์ให้กับผู้เรียน ทาให้นักเรียนเกิดการเรียนรู้ตามจุดประสงค์ที่กำหนดตามเกณฑ์E1/E2 เท่ากับ 80/80

80 ตัวแรก (E1) หมายถึง คะแนนเฉลี่ยจากแบบทดสอบระหว่างเรียนของนักเรียน โดยคิดเป็นค่าร้อยละไม่ต่ำกว่าร้อยละ 80

80 ตัวหลัง (E2) หมายถึง คะแนนเฉลี่ยจากแบบทดสอบหลังเรียนของนักเรียน โดยคิดเป็นค่าร้อยละไม่ต่ำกว่าร้อยละ 80

ความพึงพอใจของนักเรียน หมายถึง ระดับความรู้สึกของบุคคลเมื่อได้รับผลสาเร็จตามจุดประสงค์ความพึงพอใจของนักเรียนในงานวิจัยนี้ ประกอบด้วยความพึงพอใจด้านเนื้อหา การออกแบบ ประโยชน์และการนาไปใช้

ขอบเขตการวิจัย

1. ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง

1.1 ประชากรที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ นักเรียนในระดับชั้นประกาศนียบัตรวิชาชีพที่เรียนวิชาวิทยาศาสตร์พื้นฐาน ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2553 วิทยาลัยเทคนิคนครปฐม จานวน 5 ห้องเรียนจานวนนักเรียน 178 คน

1.2 กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนในระดับชั้นประกาศนียบัตรวิชาชีพที่เรียนวิชาวิทยาศาสตร์พื้นฐาน ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2553 วิทยาลัยเทคนิคนครปฐม จำนวน 2 ห้องเรียน ที่ได้มาโดยวิธีสุ่มแบบกลุ่ม โดยใช้ห้องเรียนเป็นหน่วยในการสุ่ม จากนั้นแบ่งนักเรียนในแต่ละห้องเป็นกลุ่มตามระดับความสามารถเป็นกลุ่มสูง ปานกลางและต่ำ โดยใช้เทคนิคร้อยละ 33 จากนั้นสุ่มนักเรียนเข้ากลุ่มทดลองดังนี้

1.2.1 สุ่มอย่างง่ายนักเรียนห้องหนึ่งจากห้องเรียน 2 ห้อง ห้องหนึ่งเข้ากลุ่มทดลองอีกห้องหนึ่งเพื่อใช้ในการหาประสิทธิภาพของบทเรียน ซึ่งนักเรียนในห้องนี้มีจานวน 27 คน ดำเนินการสุ่มนักเรียนในห้องเรียน ดังนี้

1) สุ่มอย่างง่ายครั้งที่ 1 จากนักเรียนในแต่ละกลุ่ม กลุ่มละ 1 คน ได้นักเรียน 3

คน เพื่อใช้ในการหาประสิทธิภาพของบทเรียนแบบ 1: 1

2) สุ่มอย่างง่ายครั้งที่ 2 จากนักเรียนในแต่ละกลุ่ม กลุ่มละ 2 คน ได้นักเรียน

6 คน เพื่อใช้ในการหาประสิทธิภาพของบทเรียนแบบกลุ่มเล็ก

3) สุ่มอย่างง่ายครั้งที่ 3 จากนักเรียนในแต่ละกลุ่ม กลุ่มละ 6 คน ได้นักเรียน

18 คน เพื่อใช้ในการหาประสิทธิภาพของบทเรียนแบบกลุ่มใหญ่

1.2.2 นักเรียนในห้องที่ได้รับการสุ่มให้เป็นกลุ่มทดลองสอนด้วยบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน นักเรียนในห้องนี้มีจานวน 38 คน

2. ตัวแปรที่ศึกษา

2.1 ตัวแปรต้น คือ บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนวิชาวิทยาศาสตร์พื้นฐานเรื่องโครงสร้างอะตอมและโมเลกุล

2.2 ตัวแปรตาม คือ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์พื้นฐานเรื่องโครงสร้างอะตอมและโมเลกุล และความพึงพอใจต่อการเรียนโดยใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน

3. เครื่องมือในการวิจัย

1) บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน

2) แบบประเมินบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน

3) แบบทดสอบคู่ขนานวัดผลสัมฤทธิ์ก่อนเรียนและหลังเรียนด้วยบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน

4) แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน

วิธีดำเนินการวิจัย

1. การสร้างและพัฒนาเครื่องมือในการวิจัย

1.1 การสร้างบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน มีขั้นตอนการดาเนินงานดังนี้

1) ศึกษาหลักสูตร เอกสาร ตารา ขอบข่ายเนื้อหาและคาอธิบายรายวิชา

2) กำหนดจุดประสงค์ทั่วไปและจุดประสงค์เชิงพฤติกรรม

3) กำหนดเค้าโครงเรื่องและแบ่งหน่วยการเรียนเสนอให้ผู้เชี่ยวชาญตรวจสอบ

4) เขียนผังงานของบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน

5) สร้างบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน

6) ตรวจสอบบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนโดยผู้เชี่ยวชาญ 3 คน ปรับปรุงแก้ไขตามข้อเสนอแนะของผู้เชี่ยวชาญ

7) หาประสิทธิภาพของบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนโดยทดลองกับนักเรียนแบบ

รายบุคคล แบบกลุ่มเล็กและแบบกลุ่มใหญ่

1.2 การสร้างแบบประเมินบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนมีขั้นตอนการดาเนินงานดังนี้

1) ศึกษาเนื้อหาสาระที่ใช้ในการสร้างบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน

2) ศึกษาแบบประเมินสื่อบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนจากเอกสารและงานต่าง ๆ

3) สร้างแบบประเมินคุณภาพให้มีความสอดคล้องและครอบคลุมคุณสมบัติที่ต้องการโดยสร้างเป็นแบบมาตราส่วนประเมินค่ามี 5 ระดับ

4) นำแบบประเมินที่สร้างขึ้นไปให้ผู้เชี่ยวชาญประเมินค่าความสอดคล้องของรายการประเมินและคุณสมบัติที่ต้องการประเมิน

1.3 การสร้างแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน มีขั้นตอนการดาเนินงานดังนี้

1) ศึกษาและวิเคราะห์หลักสูตรวิชาวิทยาศาสตร์พื้นฐาน เอกสารประกอบการเรียนขอบข่ายเนื้อหาเรื่อง โครงสร้างอะตอมและโมเลกุล

2) กำหนดรูปแบบของข้อสอบและจานวนข้อสอบในแต่ละจุดประสงค์การเรียนรู้ย่อย

ให้ครอบคลุมพฤติกรรมการเรียนรู้ด้านความรู้ ความเข้าใจ การนาไปใช้และการวิเคราะห์โดยจัดทาเป็นตารางวิเคราะห์ข้อสอบ

3) สร้างแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนให้ครอบคลุมเนื้อหาและจุดประสงค์การเรียนรู้เป็นแบบเลือกตอบมี 4 ตัวเลือก ตอบถูกได้ 1 คะแนน ตอบผิดได้ 0 คะแนน

4) นำแบบทดสอบไปทดลองใช้กับนักเรียนเพื่อหาคุณภาพของข้อสอบดังนี้

(1) ด้านความเที่ยงตรงของแบบทดสอบโดยการหาค่าดัชนีความสอดคล้องระหว่าง

ข้อสอบและจุดประสงค์การเรียนรู้ (index of item objective congruence - IOC) กำหนดเกณฑ์การยอมรับตั้งแต่ 0.5 ขึ้นไป

(2) หาค่าความยากง่ายของข้อสอบและอำนาจจำแนก และเลือกข้อสอบที่มีค่า

ความยากง่ายอยู่ระหว่าง 0.20-0.80 และค่าอำนาจจำแนกตั้งแต่ 0.20

(3) หาค่าความเชื่อมั่นของแบบทดสอบทั้งฉบับก่อนเรียนและหลังเรียนซึ่งเป็น

ข้อสอบคู่ขนาน โดยใช้สูตรสหสัมพันธ์ของเพียร์สัน (Pearson’s product moment correlationcoefficient)

1.4 การสร้างแบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนมีขั้นตอนการดาเนินงานดังนี้

1) ศึกษาเอกสารวิธีการสร้างแบบสอบถามความพึงพอใจและกำหนดตัวบ่งชี้พฤติกรรมความพึงพอใจ

2) สร้างแบบสอบถามความพึงพอใจที่มีต่อการเรียนด้วยบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนจำนวน 15 ข้อ เป็นแบบมาตราส่วนประเมินค่า 5 ระดับ

3) ตรวจสอบความตรงด้านเนื้อหาของแบบสอบถามโดยผู้เชี่ยวชาญ โดยหาค่าดัชนี

ความสอดคล้องระหว่างข้อกระทงในแบบสอบถามกับพฤติกรรมบ่งชี้โดยกำหนดเกณฑ์ยอมรับค่า IOCตั้งแต่ 0.50 ขึ้นไป ปรับปรุงแบบสอบถามตามข้อเสนอแนะของผู้เชี่ยวชาญ

4) นำแบบสอบถามไปทดลองใช้กับนักเรียนที่ไม่ใช่กลุ่มตัวอย่าง จานวน 30 คน

นาผลมาวิเคราะห์หาค่าความเชื่อมั่นของแบบทดสอบโดยใช้ค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค (αCoefficient of Cronbach)

2. การเก็บรวบรวมข้อมูล ใช้แบบแผนการทดลอง แบบกลุ่มเดียวมีการทดสอบก่อนและหลังโดยดาเนินการกับกลุ่มตัวอย่างที่เป็นกลุ่มทดลอง มีขั้นตอนดาเนินการดังนี้

1) เตรียมสถานที่และอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ นักเรียน 1 คน: 1 เครื่อง

2) แนะนาวิธีการเรียน บอกจุดประสงค์การเรียนและอธิบายขั้นตอนการเรียนด้วยบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน

3) ทาแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ก่อนเรียน

4) นักเรียนทาการศึกษาบทเรียนจากคอมพิวเตอร์ช่วยสอนและทาแบบทดสอบท้ายหน่วย

5) เมื่อเรียนครบทุกหน่วยนักเรียนทาแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์หลังเรียน

6) นักเรียนทาแบบสอบถามความพึงพอใจที่มีต่อบทเรียน

7) ผู้วิจัยเก็บรวบรวมข้อมูลเพื่อนำไปวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติ

3. การวิเคราะห์ข้อมูล ดาเนินการดังนี้

3.1 วิเคราะห์ประสิทธิภาพของบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนโดยใช้ค่าเฉลี่ยร้อยละ

(%X ) ตามเกณฑ์ E1/E2 เท่ากับ 80/80

3.2 เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์การเรียนระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียน โดยใช้ค่าเฉลี่ย (X )ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และค่า t แบบไม่อิสระ (t-test dependent)

3.3 ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน โดยใช้ค่าเฉลี่ย(X ) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.)

ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ

ได้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนเรื่องโครงสร้างอะตอมและโมเลกุล สาหรับพัฒนาการเรียนรู้ของนักเรียนประกาศนียบัตรวิชาชีพที่มีประสิทธิภาพซึ่งนักเรียนสามารถเรียนรู้ด้วยตนเองตามระดับความสามารถและในเวลาที่สะดวก

หัวข้อวิทยานิพนธ์

ภาษาไทย: การสร้างชุดกิจกรรมตามแนวคิดของทอร์แรนซ์เพื่อพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ในการแสดงท่าทางตามจินตนาการสาหรับนักเรียนในระดับประถมศึกษา

ภาษาอังกฤษ: Development of an activity package using the concept of Terrance forDeveloping creative thinking in imaginative gesture performance forprimary education students

ชื่อนักศึกษา นางสาวกาญจน์ปภา แท่นทอง

สาขาวิชา หลักสูตรและการสอน

วัตถุประสงค์ของการวิจัย

1. เพื่อสร้างชุดกิจกรรมเพื่อพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ในการแสดงท่าทางตามจินตนาการสำหรับนักเรียนในระดับประถมศึกษาตามแนวคิดของทอร์แรนซ์

2. เพื่อศึกษาความคิดสร้างสรรค์ในการแสดงท่าทางตามจินตนาการของนักเรียนหลังการใช้ชุดกิจกรรม

3. เพื่อศึกษาระดับความคิดเห็นของนักเรียนที่มีต่อชุดกิจกรรมเพื่อพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ในการแสดงท่าทางตามจินตนาการสมมติฐานการวิจัย

1. ชุดกิจกรรมเพื่อพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ในการแสดงท่าทางตามจินตนาการของนักเรียนในระดับประถมศึกษา มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ E1/E2 ไม่ต่ำกว่า 80/80

2. นักเรียนมีความคิดสร้างสรรค์ในการแสดงท่าทางตามจินตนาการหลังเรียนด้วยชุดกิจกรรมในระดับมาก

3. ความคิดเห็นของนักเรียนต่อชุดกิจกรรมเพื่อพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ในการแสดงท่าทางตามจินตนาการอยู่ในระดับดี

กรอบแนวคิดในการวิจัย

1. ศึกษากระบวนการคิดสร้างสรรค์ของทอร์แรนซ์ (Torrance) ในการกำหนดขั้นตอนการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนเพื่อพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ ซึ่งมี 4 ขั้น ได้แก่

ขั้นเริ่มต้น เป็นขั้นของการจัดกิจกรรมที่กระตุ้นความตื่นตัวในการคิดแก่นักเรียน

ขั้นครุ่นคิด เป็นขั้นของการจัดกิจกรรมเพื่อให้ข้อมูลที่จาเป็นต่อการคิดอย่างหลากหลาย

ขั้นเกิดความคิด เป็นขั้นของการจัดกิจกรรมให้ผู้เรียนได้สังเกต เปรียบเทียบข้อมูลอย่างรอบด้านจนเกิดการตกผลึกทางความคิดที่นาไปสู่ความคิดใหม่ที่แตกต่างจากเดิม

ขั้นปรับปรุง เป็นขั้นที่ผู้เรียนนาเสนอความคิดใหม่เพื่อให้เห็นผลจากการกระทา และครูจัดให้มีการประเมินผลงานอย่างรอบด้านโดยเพื่อนนักเรียนและครู เพื่อให้นักเรียนนาข้อมูลจากการประเมินไปใช้ในการปรับปรุงผลงานให้ดีขึ้น

2. นาแนวคิดและทฤษฎีโครงสร้างทางสติปัญญาของกิลฟอร์ด (Guilford) เรื่ององค์ประกอบของความคิดสร้างสรรค์ ซึ่งมี 4 ด้าน ได้แก่ ความคิดริเริ่ม ความคิดคล่อง ความคิดยืดหยุ่น และความคิดละเอียดลออ มาใช้ในการสร้างแบบวัดความคิดสร้างสรรค์ในการแสดงท่าทางตามจินตนาการโดยวัดพฤติกรรมที่แสดงความคิดสร้างสรรค์ทั้ง 4 ด้าน

วิธีดำเนินการวิจัย

ขั้นที่ 1 การศึกษาข้อมูลพื้นฐาน

1. วิเคราะห์มาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัดของกลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ สาระนาฏศิลป์ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6 เรื่องภาษาท่า เพื่อกำหนดจุดประสงค์การเรียนรู้และความคิดรวบยอด

2. วิเคราะห์ทฤษฎีกระบวนการคิดสร้างสรรค์ของทอแรนซ์เพื่อเป็นแนวทางในการกำหนดขั้นตอนการเรียนการสอนและหลักในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้

3. ศึกษาหลักการออกแบบและสร้างชุดกิจกรรมเพื่อเป็นแนวทางในการออกแบบชุดกิจกรรม

ขั้นที่ 2 การพัฒนาและหาประสิทธิภาพของชุดกิจกรรม

1. กำหนดโครงสร้างของชุดกิจกรรมการเรียนรู้

2. กำหนดจุดประสงค์การเรียนรู้ เนื้อหา

3. กำหนดขั้นตอนการสอนและออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้ในแต่ละขั้นตอน

4. คัดเลือกและผลิตสื่อการสอนสาหรับใช้ในชุดกิจกรรม

5. ออกแบบการวัดประเมินผลผู้เรียน

6. เขียนแผนการจัดการเรียนการสอน

7. ผลิตเอกสารประกอบการใช้ชุดกิจกรรม ได้แก่ ใบงาน ใบกิจกรรมและเอกสารความรู้

8. นาชุดกิจกรรมไปให้ผู้เชี่ยวชาญตรวจสอบความสอดคล้องระหว่างองค์ประกอบของการสอนและจุดมุ่งหมายของชุดกิจกรรมโดยใช้ค่าดัชนีความสอดคล้อง IOC

9. นาชุดกิจกรรมไปทดสอบหาประสิทธิภาพ ตามเกณฑ์ E1/E2 เท่ากับ 80/80 โดยดาเนินการทดลองดังนี้

ขั้นที่ 1 ทดลองแบบเดี่ยว (1:1) ครู 1 คน ต่อนักเรียน 1 คน ที่มีผลการเรียนปานกลาง

ขั้นที่ 2 ทดลองแบบกลุ่มย่อย (1:3) ครู 1 คน กับนักเรียนที่มีผลการเรียนสูง ปานกลางต่ำ รวม 3 คน

ขั้นที่ 3 ทดลองแบบกลุ่มใหญ่ ครู 1 คน ต่อนักเรียนทั้งชั้น จานวน 30 คน ที่ไม่ใช่กลุ่มตัวอย่าง

10. นาผลการประเมินมาปรับปรุงแก้ไขชุดกิจกรรม

ขั้นที่ 3 การทดลองใช้ชุดกิจกรรม

1. แบบแผนการทดลอง เป็นแบบทดลองแบบกลุ่มเดียวมีการวัดผลหลังการทดลอง (onegroup posttest only design) โดยจัดให้มีการประเมินความคิดสร้างสรรค์หลังการทดลองใช้ชุดกิจกรรมย่อยแต่ละชุดและประเมินผลรวมภายหลังใช้ครบทุกชุด

2. ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง

2.1 ประชากร คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนเทศบาล 1 (วัดสัตตนารถปริวัตร) อำเภอเมือง จังหวัดราชบุรี จานวน 2 ห้องเรียน ห้องเรียนที่ได้รับการจัดเข้าชั้นเรียนแบบคละความสามารถห้องละ 30 รวม รวม 60 คน

2.2 กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนเทศบาล 1 (วัดสัตตนารถปริวัตร) อาเภอเมือง จังหวัดราชบุรี ที่ได้มาโดยวิธีสุ่มแบบกลุ่มจานวน 1 ห้องเรียน นักเรียน 30 คน

3. ตัวแปรที่ศึกษา

3.1 ตัวแปรต้น คือ ชุดกิจกรรมเพื่อพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ในการแสดงท่าทางตามจินตนาการ

3.2 ตัวแปรตาม คือ ความคิดสร้างสรรค์ในการแสดงท่าทางตามจินตนาการ และความคิดเห็นของนักเรียนที่มีต่อชุดกิจกรรม

4. เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูล ได้แก่

4.1 แบบประเมินความคิดสร้างสรรค์ สร้างเป็นแบบเกณฑ์ประเมินเชิงคุณภาหลายมิติ(rubric) โดยดาเนินการดังนี้

4.1.1 ศึกษาเทคนิคการสร้างแบบประเมินความคิดสร้างสรรค์และงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง

4.1.2 วิเคราะห์พฤติกรรมบ่งชี้ในการวัดความคิดสร้างสรรค์ในการแสดงท่าทาง

ตามจินตนาการให้ครอบคลุมองค์ประกอบของความคิดสร้างสรรค์ด้านความคิดริเริ่ม ความคิดยืดหยุ่นความคิดละเอียดลออ และความคิดคล่องเพื่อใช้เป็นเกณฑ์ในการประเมิน

4.1.3 ประเมินความตรงของแบบประเมิน โดยผู้เชี่ยวชาญจานวน 4 คน โดยพิจารณาจากความสอดคล้องของเนื้อหากับเกณฑ์การประเมิน นาผลการประเมินไปปรับปรุงตามข้อเสนอแนะของผู้เชี่ยวชาญ โดยใช้ค่าดัชนีความสอดคล้อง IOC ที่กาหนดเกณฑ์ไม่ต่ากว่า 0.50

4.1.4 นาแบบประเมินไปทดลองใช้กับนักเรียนที่ไม่ใช่กลุ่มตัวอย่างเพื่อหาค่าความเชื่อมั่นของแบบประเมินด้วยค่าสัมประสิทธิ์แอลฟา

4.2 แบบประเมินความคิดเห็นที่มีต่อการเรียนด้วยชุดกิจกรรม มีขั้นตอนการสร้างดังนี้

4.2.1 ศึกษาเอกสารเกี่ยวกับการสร้างแบบสอบถามความคิดเห็น

4.2.2 สร้างแบบสอบถามความคิดเห็นของนักเรียนที่มีต่อการเรียนด้วยชุดกิจกรรมเป็นแบบมาตราส่วนประเมินค่ามี 3 ระดับ คือ มาก ปานกลาง น้อย จานวน 15 ข้อ เพื่อสอบถามความคิดเห็นที่มีต่อการจัดการเรียนรู้และบรรยากาศการเรียนรู้

4.2.3 หาค่าความเที่ยงตรงของแบบประเมินโดยผู้เชี่ยวชาญเป็นผู้ประเมิน โดยหาค่าดัชนีความสอดคล้องระหว่างข้อคาถามกับจุดประสงค์ของการวัด (IOC) ที่กำหนดเกณฑ์ไม่ต่ำกว่า 0.50

4.2.4 หาค่าความเชื่อมั่นของแบบประเมิน โดยนาไปใช้กับนักเรียนจานวน 30 คน

นาผลมาวิเคราะห์หาค่าความเชื่อมั่นของแบบทดสอบ โดยใช้ค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค (αCoefficient of Cronbach)

5. การทดลองและเก็บข้อมูล ชี้แจงการใช้ชุดกิจกรรมกับนักเรียน ดาเนินการจัดการเรียนการสอนกับกลุ่มตัวอย่างด้วยชุดกิจกรรมเพื่อพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ในการแสดงท่าทางตามจินตนาการภายหลังการสอนชุดกิจกรรมครบทุกชุดจัดให้มีการประเมินความคิดสร้างสรรค์ในการแสดงท่าทางตามจินตนาการจากผลงานชิ้นสุดท้ายและประเมินความคิดเห็นของผู้เรียน

6. การวิเคราะห์ข้อมูล

6.1 วิเคราะห์ประสิทธิภาพของชุดกิจกรรมโดยหาค่าเฉลี่ยร้อยละของการประเมินความคิดสร้างสรรค์ของชิ้นงานในชุดกิจกรรมแต่ละชุด และค่าเฉลี่ยร้อยละของคะแนนประเมินความคิดสร้างสรรค์ของชิ้นงานหลังเรียนนามาเทียบกับเกณฑ์ E1/E2 เท่ากับ 80/80

6.2 ศึกษาความคิดสร้างสรรค์ของชิ้นงานของนักเรียนหลังการจัดกิจกรรมด้วยชุดกิจกรรมโดยใช้ค่าเฉลี่ยร้อยละนามาเทียบกับเกณฑ์

6.3 ศึกษาความคิดเห็นของนักเรียนที่มีต่อชุดกิจกรรม โดยใช้ค่าเฉลี่ย ( X ) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.)

ขั้นที่ 4 การประเมินและปรับปรุงแก้ไขชุดกิจกรรม สรุปผลการประเมินจากเครื่องมือรวบรวมข้อมูล ข้อสังเกตของผู้วิจัยในระหว่างการทดลองใช้ชุดกิจกรรมและข้อเสนอแนะของผู้เชี่ยวชาญมาสรุปและนาไปใช้ในการปรับปรุงแก้ไขชุดกิจกรรม

ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ

1. ได้ชุดกิจกรรมตามแนวคิดของทอร์แรนซ์เพื่อพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ในการแสดงท่าทางตามจินตนาการสาหรับนักเรียนในระดับประถมศึกษาสาหรับครูนาไปใช้ในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนในสาระการเรียนรู้นาฏศิลป์

2. นักเรียนที่เรียนด้วยชุดกิจกรรมมีทักษะการคิดสร้างสรรค์ซึ่งเป็นผลการเรียนรู้ที่มีความสำคัญในการเรียนนาฏศิลป์นอกเหนือจากทักษะการปฏิบัติ

การประเมินงานวิจัย

งานวิจัยทางการศึกษาที่มีคุณภาพย่อมมีคุณค่าในการสร้างสรรค์ความรู้และสร้างประโยชน์ให้กับวงการวิชาการและวิชาชีพทางการศึกษา ซึ่งเป็นจุดมุ่งหมายสูงสุดของการวิจัยทางการศึกษาการพิจารณาว่างานวิจัยใดมีคุณภาพน่าเชื่อถือหรือไม่ สมหวัง พิธิยานุวัฒน์ (2527, หน้า 154) ได้เสนอรายการคาถาม 12 ข้อ ตามแนวคิดของเลมานและเมเรน (Lehmann & Mehren) เพื่อเป็นเกณฑ์พิจารณาผลงานวิจัยทั่วไป ซึ่งสามารถนามาเป็นแนวทางในการพิจารณางานวิจัยและพัฒนาทางการศึกษาได้ ดังนี้

1) ผู้วิจัยได้กำหนดปัญหาและเขียนปัญหาอย่างกระจ่างแจ้งหรือไม่

2) ปัญหาที่วิจัยมีหลักการหรือทฤษฎีรองรับหรือไม่

3) ปัญหาที่วิจัยมีความสำคัญเพียงใด

4) ผู้วิจัยได้ศึกษางานเขียนทางวิชาการที่เกี่ยวข้องหรือไม่ ถ้ามี งานเขียนที่เกี่ยวข้องตรงประเด็นกับปัญหาที่วิจัยเพียงใด

5) สมมติฐานในการวิจัยมีหรือไม่ ถ้ามี ผู้วิจัยได้เขียนสมมติฐานอย่างกระจ่างแจ้งชัดเจนเพียงใด

6) มีการกำหนดคานิยามปฏิบัติการของสิ่งที่มุ่งวัดอย่างเหมาะสมและชัดเจนเพียงใด

7) ผู้วิจัยได้บรรยายถึงวิธีการวิจัยหรือวิธีตอบปัญหาอย่างชัดเจนหรือไม่ ผู้วิจัยได้ศึกษาจากกลุ่มตัวอย่างหรือศึกษาจากข้อมูลประชากร ถ้าศึกษาจากกลุ่มตัวอย่างผู้วิจัยได้มาซึ่งกลุ่มตัวอย่าง อย่างไรเหมาะสมเพียงใด

8) แหล่งของความคลาดเคลื่อนอันจะทาให้ผลการวิจัยผิดพลาดมีอะไรบ้าง ผู้วิจัยได้มีวิธีการควบคุมความคลาดเคลื่อนเหล่านี้อย่างไรบ้าง

9) ผู้วิจัยใช้ระเบียบวิธีทางสถิติวิเคราะห์ข้อมูลหรือไม่ ถ้าใช้ระเบียบวิธีทางสถิติเหล่านั้นมีความเหมาะสมเพียงใด

10) ผู้วิจัยได้รายงานผลการวิจัยชัดเจนเพียงไร

11) ผู้วิจัยได้ลงข้อสรุปอย่างชัดแจ้งหรือไม่ ข้อมูลสนับสนุนข้อสรุปหรือไม่ ผู้วิจัยได้สรุปพาดพิงเกินข้อมูลหรือไม่

12) ข้อกาจัดในการวิจัยเรื่องนี้มีหรือไม่ ผู้วิจัยได้เขียนอธิบายไว้อย่างชัดเจนหรือไม่

สำนักงานบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม ได้นาเสนอแบบประเมินวิทยานิพนธ์สำหรับงานวิจัยโดยทั่วไปของนักศึกษา เรียกว่าแบบ บศ. 8 (แสดงในภาคผนวก ข) ดังนั้นนักศึกษาที่กาลังจะทาวิจัยและผู้อยู่ในระหว่างการทาวิจัย ควรได้ศึกษาลักษณะงานวิจัยที่มีคุณภาพให้ชัดเจนและยึดเป็นหลักเกณฑ์ในการปฏิบัติการวิจัยให้มีคุณภาพ