ข้อใดคือเทคนิคการวาดวัตถุผิวมัน

ถ้าคุณอยากให้ภาพลายเส้นที่คุณวาดดูโดดเด่นขึ้นมาและให้ความรู้สึกเหมือนภาพสามมิติ ให้เติมความเข้มของแสงเงาลงไปในภาพนั้น การแรเงาช่วยเพิ่มความลึก ความตัดกันและช่วยนำสายตาของผู้ชมไปยังจุดโฟกัสของชิ้นงานศิลปะของคุณ หลังจากคุณเลือกวิธีการแรเงาได้แล้ว ก็สามารถเริ่มใช้ในการวาดภาพและทำให้ภาพมีชีวิตชีวามากขึ้นได้เลย!

  1. ข้อใดคือเทคนิคการวาดวัตถุผิวมัน

    1

    เริ่มด้วยการวาดเส้นขนานสำหรับการแรเงาขั้นพื้นฐาน. การวาดเส้นแรเงาคือการวาดเส้นขนานเรียงต่อกันเพื่อให้มันเสมือนเป็นเงาในภาพวาด คุณสามารถบีบให้เส้นนั้นเรียงชิดกันเพื่อทำเป็นเงาเข้ม หรือถ่างเส้นออกจากกันเพื่อทำให้บริเวณตรงนั้นดูสว่างขึ้นก็ได้ ขีดเส้นแรเงาเหล่านี้ภายในการตวัดครั้งเดียวเพื่อทำให้มันดูสม่ำเสมอกัน [1]

    • เส้นแรเงานี้สามารถใช้ได้ทั้งเส้นแนวนอน แนวตั้งหรือแนวทแยงองศาเท่าไหร่ก็ได้
    • ใช้แบบเส้นแรเงาของคุณนั้นวาดไปตามเหลี่ยมมุมของวัตถุเพื่อทำให้มันดูเป็นสามมิติ เช่น แรเงาวัตถุทรงกลมด้วยเส้นโค้งแทนที่จะเป็นเส้นตรง

  2. 2

    ใช้การวาดเส้นแรเงาแบบกางเขนเพื่อให้แรเงาได้เร็วขึ้น. การวาดเส้นแรเงาแบบกางเขนนั้นจะเพิ่มเส้นอีกชั้นหนึ่งที่มีทิศทางไปในทางตรงกันข้าม เช่น ในตอนแรกวาดเส้นแนวนอนแล้วค่อยวาดเส้นแนวตั้งทับลงไป วิธีแรเงาแบบนี้จะช่วยให้คุณทำพื้นที่บริเวณนั้นให้เข้มข้นกว่าการวาดเส้นแรเงาพื้นฐาน[2]

    • วาดเส้นแรเงาแบบกางเขนชิดกันเพื่อให้บริเวณนั้นเข้มมากขึ้น หรือถ่างมันออกให้มันดูสว่างขึ้น
    • ใช้การวาดเส้นแรเงาโดยไม่ต้องวาดซ้อนอีกชั้นถ้าจะให้เงานั้นจางลง

  3. 3

    ใช้วิธีการลงจุดเพื่อให้ดูมีสไตล์มากขึ้น. การลงจุดเป็นวิธีการยกดินสอขึ้นลงบนกระดาษทำให้เกิดกลุ่มจุดบนภาพวาด ลงจุดชิดๆ กันจะทำให้บริเวณนั้นดูเข้มขึ้น [3]

    • แทนที่จะมีแต่จุด ลงวาดเส้นสั้นๆ ที่เหลื่อมซ้อนกันจะทำให้การแรเงามีลักษณะคล้ายภาพสไตล์อิมเพรสชั่นนิสต์มากขึ้น
    • การลงจุดใช้ได้ดีกับการแรเงาด้วยปากกาหรือดินสอสีชนิดหัวหนา

  4. 4

    ใช้การเกลี่ยเพื่อให้ดูกลมกลืนกัน. การเกลี่ยเงาจะทำให้ภาพดูนุ่มนวลกลมกลืนและดูสมจริงแต่ต้องอาศัยเวลาและเทคนิคมากที่สุดถ้าจะทำให้ออกมาได้ถูกต้อง ให้แรเงาด้วยปลายด้านข้างของดินสอดำไส้อ่อน แล้วค่อยเพิ่มแรงกดหนักเบาบนกระดาษเพื่อลงเงามืดและจาง [4]

    • ดินสอสีมีระดับความแข็งของไส้แตกต่างกัน ซึ่งจะถูกแยกด้วยตัวเลขและตัวอักษรไม่ B ก็ H ไส้แบบอ่อนนั้นจะใช้สัญลักษณ์ตัวอักษร B และจะยิ่งอ่อนลงเมื่อตัวเลขสูงขึ้น ดินสอไส้แข็งจะใช้สัญลักษณ์ตัวอักษร H และจะยิ่งใช้แรเงายากขึ้นเมื่อตัวเลขยิ่งสูงขึ้น ดินสอเลข 2 มาตรฐานนั้นจะมีความแข็งที่ HB ซึ่งเป็นค่ากึ่งกลางระหว่างไส้แบบอ่อนและแข็ง
    • ฝึกลงแรเงาบนรูปทรงหลายเหลี่ยมมุม อย่างเช่นรูปลูกบาศก์หรือทรงกลมก่อนจะกระโดดไปแรเงาภาพวาด

    โฆษณา

  1. ข้อใดคือเทคนิคการวาดวัตถุผิวมัน

    1

    ดูทิศทางแหล่งกำเนิดแสง. แหล่งกำเนิดแสงจะเป็นตัวชี้ว่าจุดไหนจะต้องลงเงาเข้มและจุดไหนเป็นจุดสว่างไฮไลท์บนภาพวาด เงานั้นจะอยู่ด้านตรงข้ามกับแหล่งกำเนิดแสง ในขณะที่จุดสว่างไฮไลท์จะเกิดตรงที่แหล่งกำเนิดแสงชี้ไปกระทบ[5]

    • ฝึกจากชีวิตจริงหรือภาพถ่ายเพื่อทำความเข้าใจว่าแสงมีผลกระทบต่อวัตถุที่คุณวาดอย่างไร ลองขยับแสงดูถ้าคุณอยากเล่นกับมุมของเงาที่แตกต่างกัน
    • คนที่ชมภาพวาดของคุณจะถูกดึงดูดไปยังบริเวณที่สว่างที่สุดของภาพวาด ตัดสินดูว่าบริเวณไหนที่คุณอยากดึงจุดโฟกัสของผู้ชมไปและทำให้จุดนั้นสว่างที่สุด

  2. 2

    กำหนดค่าความหนักจากเบาไปเข้มลงบนกระดาษต่างแผ่นกัน. วาดรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้ายาวแล้วใช้เส้นแบ่งมันออกเป็นสี่เหลี่ยมจัตุรัส 10 ส่วนเท่าๆ กัน แรเงาสี่เหลี่ยมทางปลายด้านหนึ่งของสี่เหลี่ยมผืนผ้าแล้วแรเงาให้เข้มที่สุด แล้วเริ่มแรเงาสี่เหลี่ยมชิ้นติดกันให้เบากว่าค่าที่เข้มที่สุด ทำไปเรื่อยๆ ให้แรเงาอ่อนลงไปเรื่อยๆ จนกระทั่งมาถึงปลายอีกข้าง ทิ้งสี่เหลี่ยมรูปสุดท้ายไว้อย่างนั้นให้เป็นค่าที่สว่างที่สุด[6]

    • ใช้แต่ความหนักเบาบนลำดับของคุณในขณะแรเงา
    • ใช้กระดาษแบบเดียวกับที่คุณจะใช้วาดรูป กระดาษที่แตกต่างกันจะมีพื้นผิวต่างกันและมีผลกระทบว่ามันจะแรเงาออกมาเป็นอย่างไร
    • ตั้งเป้าที่จะให้มันค่อยๆ กลืนกันไปในสี่เหลี่ยมจัตุรัสแต่ละรูปมากกว่าจะให้มันตัดกันเลย สี่เหลี่ยมที่อยู่ถัดจากชิ้นที่สว่างที่สุดไม่ควรจะเข้มเกินไป

  3. 3

    ใช้ดินสอลงเบาๆ เพื่อสร้างชั้นฐานของการแรเงา. ใช้ดินสอไส้อ่อน อย่างระดับ 4B เพื่อทำเงากลางๆ ขยับแขนไปมาแทนการหมุนข้อมือเพื่อให้มันมีจังหวะที่กลมกลืน[7]

    • อย่ากดดินสอแรงเกินไปเพราะจะทำให้ยากจะลบจุดที่กำหนดไว้มากขึ้นในภายหลัง

  4. 4

    แรเงาบริเวณที่ห่างจากแหล่งกำเนิดแสงมากที่สุดนั้นให้เข้มที่สุด. ใช้ดินสอกดลงมากขึ้นทำให้เงาด้านตรงข้ามกับแหล่งกำเนิดแสงเข้มขึ้น ค่อยๆ เพิ่มชั้นการแรเงาไล่ไปหาส่วนที่เข้มที่สุดของภาพวาด [8]

    • เงาที่เข้มที่สุดเรียกว่าเงาหลัก
    • รูปทรงกลมมนจะมีเงาตกกระทบลงบนด้านตรงข้ามกับแหล่งกำเนิดแสง เงาพวกนี้จะจางกว่าเงาหลักแต่จะเข้มกว่าเงาที่ถูกแสงกระทบ

  5. 5

    ลบบริเวณที่มีแสงตกกระทบ. บริเวณที่อยู่ใกล้กับแหล่งกำเนิดแสงจะเป็นส่วนที่สว่างที่สุดของภาพวาด ใช้ยางลบค่อยๆ ลบชั้นแรเงาให้จางลงเพื่อทำให้มันเกลี่ยจากสว่างเป็นมืดอย่างกลมกลืน [9]

    • เติมดินสอสีขาวเพื่อทำให้บริเวณที่เป็นสีขาวนั้นเป็นขาวเข้มและโดดเด่นขึ้นมา ใช้น้อยๆ ก็พอจะได้ไม่ดูเป็นการเน้นมากเกินไป
    • วัสดุแต่ละอย่างจะสะท้อนแสงแตกต่างกัน วัตถุที่เป็นผิวโลหะจะมีจุดไฮไลท์ที่แสงตกกระทบสว่างกว่า ในขณะที่วัสดุผิวด้านจะดูทึมกว่า

  6. 6

    เกลี่ยการแรเงาด้วยดินสอเกลี่ยเงาเพื่อทำให้ได้งานที่ดูกลมกลืนนุ่มนวล. ผสมความหนักเบาเข้าด้วยกัน โดยไล่จากส่วนที่เข้มที่สุดของรูปมายังส่วนที่สว่างที่สุด ใช้ด้านข้างของดินสอเกลี่ยเงาในการทำให้ค่าความหนักเบาที่ต่างกันของเงาถูกเกลี่ยไล่อย่างกลมกลืน [10]

    • สามารถหาซื้อดินสอเกลี่ยเงาได้ตามร้านขายอุปกรณ์ทางศิลปะหรือออนไลน์
    • อย่าใช้นิ้วเกลี่ยเงา นิ้วบังคับได้ยากกว่าดินสอเกลี่ยเงา และไขมันจากผิวยังมีผลกระทบต่อภาพวาดด้วย

  7. 7

    เติมเงาตกเพื่อดูสมจริงขึ้น. ถ้าคุณต้องการให้วัตถุดูเป็นสามมิติ การมีเงาตกจะทำให้มันดูเหมือนรูปที่วาดนั้นอยู่ในพื้นที่ที่มีความลึกลงไป เงาตกจะมีรูปทรงเหมือนรูปทรงของวัตถุทาบลงไป ตัดสินดูว่าเงานั้นควรกระทบตกลงพื้นผิวที่จุดไหน แล้วใช้ด้านข้างของดินสอแรเงาตกนั้น [11]

    • ดูภาพถ่ายหรือภาพนิ่งว่ามุมของแสงกระทบต่อเงาตกอย่างไรบ้าง
    • เส้นตัดของขอบเงาตกจะชัดเจนหรือไม่ขึ้นอยู่กับความแรงของแหล่งกำเนิดแสง แสงที่สว่างกว่าจะทำให้ขอบเงาเห็นชัดในขณะที่แสงสลัวกว่าก็จะทำให้ขอบเงาเลือนกว่า

    โฆษณา

เคล็ดลับ

  • เริ่มฝึกแรเงาจากรูปทรงพื้นฐาน เช่น รูปกรวย ลูกบาศก์ รูปทรงกระบอก และรูปทรงกลม รูปทรงเหล่านี้เป็นพื้นฐานของรูปทรงทุกรูปแบบที่คุณจะต้องแรเงา
  • ถ่านหรือกราไฟต์เป็นอุปกรณ์ที่ใช้งานง่ายที่สุดถ้าคุณกำลังลองฝึกการเกลี่ยเงาให้กลมกลืน ส่วนปากกา มาร์กเกอร์ หรือหมึกนั้นเหมาะจะแรเงาแบบขีดเส้นแรเงามากกว่า

โฆษณา

สิ่งที่ต้องใช้

  • กระดาษ
  • ดินสอที่มีไส้กราไฟต์อ่อน (HB หรือต่ำกว่านั้น)
  • ยางลบ
  • ดินสอเกลี่ยเงา (ไม่จำเป็น)

เกี่ยวกับวิกิฮาวนี้

มีการเข้าถึงหน้านี้ 43,950 ครั้ง

บทความนี้เป็นประโยชน์กับคุณไหม