ภิกษุรักษาวินัยดีแล้วย่อมได้อานิสงส์อะไร

๑๔. สังหาริมทรัพย์ และ อสังหาริมทรัพย์ คือทรัพย์เช่นไร ภิกษุจะต้องอาบัติถึงที่สุดเพราะลักทรัพย์ทั้ง ๒ อย่างนั้นเมื่อใด

ตอบ สังหาริมทรัพย์ คือ ทรัพย์ที่เคลื่อนที่ได้ ได้แก่ ปศุสัตว์ และสัตว์พาหนะ เช่นแพะ แกะ สุกร โค กระบือ เป็นต้น อสังหาริมทรัพย์ คือ ทรัพย์ที่เคลื่อนที่ไม่ได้ ได้แก่ที่ดิน เรือน เป็นต้น ฯภิกษุต้องอาบัติถึงที่สุดเพราะลักสังหาริมทรัพย์ เมื่อทรัพย์เคลื่อนจากฐาน  อสังหาริมทรัพย์ เมื่อเจ้าของเดิมสละกรรมสิทธิ์ ฯ

๑๕. อุตตริมนุสสธรรม คืออะไร มีอะไรบ้าง

ตอบ อุตตริมนุสสธรรม คือ ธรรมอันยิ่งของมนุษย์ มี ๗ อย่าง ได้แก่ ฌาน วิโมกข์สมาธิ สมาบัติ มรรค ผล นิพพาน ฯ

๑๖. ปาราชิก ๔ ข้อไหนเป็นสจิตตกะ ข้อไหนเป็นอจิตตกะ ทำไมเป็นเช่นนั้น ข้อไหนเป็น สาณัตติกะ ข้อไหนเป็นอนาณัตติกะ

ตอบ ปาราชิกทั้ง ๔ ข้อเป็นสจิตตกะ ที่เป็นเช่นนั้น เพราะต้องด้วยจงใจ เกิดขึ้นโดยมีเจตนาเป็นสมุฏฐาน ฯ
ข้อ ๑ และ ๔ เป็น อนาณัตติกะ เพราะใช้ให้ผู้อื่นทำไม่เป็นอาบัติ ข้อ ๒ และ ๓ เป็นสาณัตติกะ เพราะใช้ให้ผู้อื่นทำก็ต้องอาบัติ ฯ

๑๗. อทินนาทานสิกขาบท กำหนดราคาทรัพย์ เป็นวัตถุแห่งอาบัติไว้อย่างไรบ้าง
ตอบ ทรัพย์ราคาตั้งแต่ ๕ มาสก หรือ ๑ บาทขึ้นไป ต้องปาราชิก, ๑ - ๔ มาสกต้องถุลลัจจัย ตั้งแต่ ๑ มาสกลงมา ต้องทุกกฎ ฯ

๑๘. ภิกษุมีความกำหนัดจับต้องกายหญิง กะเทย บุรุษ สัตว์ดิรัจฉานเพศผู้ สัตว์ดิรัจฉานเพศเมีย ต้องอาบัติอะไร

ตอบ ภิกษุมีความกำหนัด จับต้องกายหญิงต้องสังฆาทิเสส, กะเทย หรือบัณเฑาะว์ต้องถุลลัจจัย, บุรุษ และสัตว์ดิรัจฉาน ต้องทุกกฏ ฯ

๑๙. คำว่า มาตุคาม ในสังฆาทิเสส สิกขาบทที่ ๒, ๓, ๔ และ ๕ ต่างกันอย่างไร
ตอบ มาตุคามใน สิกขาบทที่ ๒ ถือเอาหญิงแม้ที่สุดเกิดในวันนั้น สิกขาบทที่ ๓ - ๕ ถือเอาความรู้เดียงสาเป็นหลัก ฯ

๒๐. คำว่า สจิตตกะ กับ อจิตตกะ มีความหมายว่าอย่างไร
ตอบ สจิตตกะ คือ อาบัติที่ต้องเพราะมีเจตนาล่วงละเมิด อจิตตกะ คือ อาบัติที่ต้องแม้ไม่มีเจตนาล่วงละเมิด ฯ

๒๑. ภิกษุที่ต้องอาบัติเพราะทรัพย์ของตนเองนั้นมีหรือไม่ จงชี้แจง

ตอบ มี คือ การหนีภาษี หรือ สุงกฆาตะ ต้องอาบัติตามจำนวนเงินที่หนีภาษี ฯ

๒๒. ที่ลับตา กับ ที่ลับหู ต่างกันอย่างไร ที่ลับทั้ง ๒ นั้น เป็นทางให้ปรับอาบัติได้มากน้อยกว่ากันอย่างไร

ตอบ ที่ลับตา คือ ที่ที่มีวัตถุกำบัง แลเห็นไม่ได้ ที่ลับหู คือ ที่แจ้ง แลเห็นได้ แต่ห่างไม่ได้ยินเสียงพูด
ภิกษุนั่งในที่ลับตากับหญิงสองต่อสอง(หนึ่งต่อหนึ่ง) เป็นทางให้ปรับอาบัติปาราชิกสังฆาทิเสส หรือ ปาจิตตีย์ภิกษุนั่งในที่ลับหูกับหญิงสองต่อสอง(หนึ่งต่อหนึ่ง) เป็นทางให้ปรับอาบัติสังฆาทิเสสหรือ ปาจิตตีย์ที่ลับตาเป็นทางให้ปรับอาบัติมากกว่า ฯ

๒๓. ผ้าไตรจีวรคือผ้าอะไร ได้แก่อะไรบ้าง  อธิษฐานจีวรกับ อติเรกจีวร ต่างกันอย่างไร

ตอบ ผ้าไตรจีวรคือผ้า ๓ ผืน ที่ทรงอนุญาตให้ภิกษุอธิษฐานไว้ใช้สำหรับตนเอง ได้แก่สังฆาฏิ (ผ้าคลุม), อุตตราสงค์ (ผ้าห่ม), อัตตรวาสก (ผ้านุ่ง) อธิษฐานจีวร หมายถึงผ้าที่ทรงอนุญาตให้ภิกษุมีได้ ๓ ผืน อติเรกจีวร ได้แก่จีวรอันไม่ใช่ของอธิษฐาน ไม่ใช่ของวิกัป ทั้งไม่จำกัดจำนวน ฯ

๒๔. ผ้าจีวรที่ทรงอนุญาตให้ใช้ได้ทำด้วยวัตถุกี่ชนิด อะไรบ้าง

ตอบ ผ้าจีวรที่ทรงอนุญาตให้ใช้ได้ ทำด้วยวัตถุ ๖ ชนิด ดังนี้
๑. โขมํ ทำด้วยเปลือกไม้ เช่น ผ้าลินิน
๒. กปฺปาสิกํ ทำด้วยฝ้าย คือ ผ้าสามัญ
๓. โกเสยฺยํ ทำด้วยไหม คือ ผ้าแพร
๔. กมฺพลํ ทำด้วยขนสัตว์ เช่น ผ้าสักหลาด
๕. สาณํ ทำด้วยเปลือกไม้สาณะ เช่น ผ้าป่าน
๖. ภงฺคํ ทำด้วยสัมภาระเจือกัน

๒๕. เภสัช ๕ ที่ภิกษุรับประเคนแล้วเก็บไว้ฉันได้ไม่เกิน ๗ วัน ได้แก่อะไรบ้าง  น้ำตาลจัดเข้าเภสัชชนิดใด
ตอบ เภสัช ๕ ได้แก่ เนยใส เนยข้น น้ำมัน น้ำผึ้ง น้ำอ้อย น้ำตาลจัดเข้าน้ำอ้อย ฯ

๒๖. เมื่อภิกษุได้จีวรใหม่มา ก่อนที่จะนุ่งห่ม ต้องทำพินทุด้วยสี ๓ สี อย่างใดอย่างหนึ่ง คือสีอะไรบ้าง  จีวร ผ้านิสีทนะ อังสะ ผ้าเช็ดหน้า ย่ามผ้า เมื่อจะใช้สอย อย่างไหนควรพินทุ อย่างไหนไม่ควร เพราะเหตุใด  คำว่า“พินทุกัปปะ” คืออะไร

ตอบ จีวรใหม่ ควรพินทุด้วยสี ๓ สี คือ สีเขียวคราม, สีโคลน, สีดำคล้ำ จีวร และอังสะ ควรพินทุ เพราะใช้ห่ม ผ้านิสีทนะ ผ้าเช็ดหน้า และย่ามผ้า ไม่ต้องพินทุ เพราะไม่ได้ใช้นุ่งห่ม “พินทุกัปปะ” คือการทำให้เสียสี ฯ

๒๗. บริขาร ๘ มีอะไรบ้าง ภิกษุซ่อนบริขารของผู้อื่นเพื่อล้อเล่นต้องอาบัติอะไร
ตอบ บริขาร ๘ มี สังฆาฏิ ๑, อุตตราสงค์ ๑, อันตรวาสก ๑, บาตร ๑, มีดโกน ๑,กล่องเข็ม ๑, รัดประคด ๑, หม้อกรองน้ำ ๑, ภิกษุซ่อนบริขาร ๘ อย่างนี้ ของภิกษุอื่นเพื่อล้อเล่น ต้องอาบัติปาจิตตีย์ ตามสิกขาบทที่ ๑๐ แห่งสุราปานวรรค, ถ้าซ่อนบริขารอื่นนอกจาก ๘ อย่างนี้ ต้องอาบัติทุกกฎ, ถ้าซ่อนบริขารของอนุปสัมบัน ต้องอาบัติทุกกฎ ฯ

๒๘. ผ้าไตรครอง มีอะไรบ้าง ต่างจากอติเรกจีวรอย่างไร

ตอบ มี สังฆาฏิ อุตตราสงค์ อันตรวาสก ฯต่างกันอย่างนี้ ผ้าไตรครองเป็นผ้าที่ภิกษุอธิษฐาน มีจำนวนจำกัด คือ ๓ ผืน ส่วน อติเรกจีวร คือผ้าที่นอกเหนือจากผ้าไตรครอง มีได้ไม่จำกัดจำนวน ฯ

๒๙. พระ ก. นำเบียร์มาให้พระ ข. ดื่ม โดยหลอกว่าเป็นน้ำอัดลม พระ ข.หลงเชื่อจึงดื่มเข้าไป ถามว่า พระ ก. และพระ ข. ต้องอาบัติอะไรหรือไม่

หมายความว่า ด้ายร้อยดอกไม้ควบคุมดอกไม้ไว้ไม่ให้กระจัดกระจายฉันใด พระวินัยย่อมรักษาสงฆ์ให้ตั้งอยู่เป็นอันดีฉันนั้น

.

ย่อมได้อานิสงส์ คือไม่ต้องเดือดร้อนใจ ได้รับความแช่มชื่นว่า ได้ประพฤติดีงาม จะเข้าหมู่ภิกษุผู้มีศีลก็องอาจไม่สะทกสะท้าน



.

.

อาบัติที่เป็นโลกวัชชะหมายความว่าอย่างไร ? จงยกตัวอย่างประกอบ

.

อาบัติที่เป็นปัณณัตติวัชชะหมายความว่าอย่างไร ? จงยกตัวอย่างประกอบ

ตอบ:

.

หมายความว่า อาบัติที่มีโทษซึ่งภิกษุทำเป็นความผิดความเสีย

คนสามัญทำ ก็เป็นความผิดความเสียเหมือนกัน เช่น ทำโจรกรรม เป็นต้น

.

หมายความว่า อาบัติที่มีโทษเฉพาะภิกษุทำ แต่คนสามัญทำไม่เป็นความผิดความเสีย เช่น ขุดดิน เป็นต้น



.

.

ภิกษุฆ่าสัตว์ให้ตายเป็นอาบัติอะไร ?

.

ภิกษุพยายามจะฆ่าตนเองเป็นอาบัติอะไร ?

ตอบ:

.

ถ้าเป็นสัตว์มนุษย์ เป็นอาบัติปาราชิก

สัตว์ที่เรียกว่าอมนุษย์ เช่นยักษ์ เปรต และดิรัจฉานมีฤทธิ์จำแลงกายเป็นมนุษย์ได้ เป็นอาบัติถุลลัจจัย ดิรัจฉานทั่วไป เป็นอาบัติปาจิตตีย์

.

เป็นอาบัติทุกกฏ



.

.

พูดอย่างไรเรียกว่า อวดอุตตริมนุสสธรรม ?

.

ภิกษุพูดอวดอุตตริมนุสสธรรมซึ่งไม่มีจริงในตน เมื่อคนอื่นฟังแล้วเข้าใจแต่ไม่เชื่อ ภิกษุนี้จะต้องอาบัติอะไร ?

ตอบ:.

.

พูดอวดคุณพิเศษอันยิ่งของมนุษย์ เช่น ฌาน วิโมกข์ สมาธิ สมาบัติ มรรค ผล นิพพาน เรียกว่า อวดอุตตริมนุสสธรรม

.

ต้องอาบัติปาราชิก



.

.

จงอธิบายความหมายของคำต่อไปนี้ อเตกิจฉา อจิตตกะ

.

คำว่า มาตุคาม (หญิง) ในสังฆาทิเสสสิกขาบทที่ ๒, , , ต่างกันอย่างไร ?

ตอบ:

.

อเตกิจฉา อาบัติที่แก้ไขไม่ได้

อจิตตกะ อาบัติที่ไม่จงใจ

.

มาตุคาม ในสิกขาบทที่ ๒ หมายถึง หญิงมนุษย์โดยที่สุดเกิดในวันนั้น

มาตุคาม ในสิกขาบทที่ ๓, ๔ หมายถึง หญิงผู้รู้เดียงสา



.

.

คำว่า นิสสัคคิยปาจิตตีย์ หมายความว่าอย่างไร ?

.

ปาจิตตีย์แบ่งเป็น นิสสัคคิยปาจิตตีย์ และสุทธิกปาจิตตีย์ เพราะเหตุไร ?

ตอบ:

.

หมายความว่า อาบัติปาจิตตีย์ที่จำต้องสละสิ่งของ

.

เพราะว่านิสสัคคิยปาจิตตีย์นั้น จำต้องเสียสละวัตถุอันเป็นเหตุให้ต้องอาบัตินั้นเสียก่อน จึงแสดงอาบัติได้ ส่วนสุทธิกปาจิตตีย์นั้น ภิกษุพึงแสดงอาบัติได้เลย ไม่มีวัตถุใด ๆ ที่จำต้องสละ



.

.

ภิกษุนำ เตียง ตั่ง ฟูก เก้าอี้ ของสงฆ์ ไปใช้ในที่แจ้งแล้ว ครั้นหลีกไปจากที่นั้น ไม่เก็บหรือไม่มอบหมายให้ผู้อื่นเก็บให้เรียบร้อย ต้องอาบัติอะไรหรือไม่