กาลามสูตร” คือคำสอนเกี่ยวกับเรื่องใด

คุณโยมคนหนึ่งมาเลี้ยงเพลที่วัดพุทธธรรมแล้วถามว่า กาลามสูตรเป็นอย่างไร ทำไมเมื่อมีปัญหาเรื่องคำสอนผิดเพี้ยนแปลกๆปรากฏออกมาทางสังคม มักจะมีนักวิชาการด้านพระพุทธศาสนาแนะนำว่า ให้ไปอ่านกาลามสูตรแล้วจะสามารถแยกแยะเรื่องราวต่างๆออกมาว่าอะไร เป็นอะไร ควรเชื่อหรือไม่

เพื่อให้เกิดความเข้าใจตรงกันในเบื้องต้น จะเรียงลำดับความเป็นมาของพระสูตรนี้ดังนี้

พระสูตรที่กล่าวถึงชาวกาลามะ เรียกว่า เกสปุตตสูตร แต่เนื่องจากพระสูตรนี้กล่าวถึงเรื่องราวของชาวกาลามะมากพุทธศาสนิกชนจึงพลอยเรียกพระสูตรนี้ว่า กาลามสูตรไปด้วย

เป็นที่ทราบกันในหมู่พุทธศาสนิกชนว่า สำนวนและภาษาในพระสูตร อ่านเข้าใจยากเพราะเป็นสำนวนแปลที่พยายามรักษารูปแบบศัพท์และประโยคภาษาบาลีไว้อย่างเคร่งครัดประกอบกับสำนวนที่แปลก็เก่าแก่ไกลจากภาษาร่วมสมัยมากหากอ่านกันทั้งดุ้นไม่มีศัพท์ร่วมสมัยเข้าช่วยบ้าง ก็แทบจะไม่เข้าใจทั้งศัพท์แสงและเนื้อหา จึงต้องจัดเรียงลำดับขั้นตอนและปรับภาษาให้ร่วมสมัยบ้างแต่ถ้าภาษาที่แปลอยู่เดิมที่อ่านแล้วเข้าใจง่ายก็จะคงไว้ตามเดิม

สถานที่แสดงพระสูตรนี้

1. โกศลชนบท เขตชนบทในแคว้นโกศล ถ้าเทียบกับอเมริกาปัจจุบันนี้แคว้นโกศล เท่ากับรัฐแคลิฟอร์เนีย เขตชนบทคือพื้นที่ห่างไกลจากเมืองหลวง

2. เกสปุตตนิคม สถานที่ที่อยู่รวมกันเป็นกลุ่มเป็นก้อนเทียบเท่าเมืองเช่นเมืองโพโมน่า เมืองแคลมอนต์ เมืองโควินา
สถานที่แสดงพระสูตรนี้เป็นเมือง เกสปุตตะ จึงเรียกพระสูตรนี้ตามนามเมือง

ประชากรที่อยู่ในเมืองเกสปุตตะนี้ เรียกว่ากาลามะ เป็นพี่น้องร่วมสายโลหิตเดียวกันในตระกูล กาลามะที่สืบทอดเชื้อสายมาหลายชั่วคน คนส่วนใหญ่ที่นี่จะใช้นามสกุล กาลามะ เมื่ออยู่กันเป็นกลุ่มก็เรียกว่า เป็นนิคมของพวกกาลามะคล้ายๆเมืองไทยเคยจัดนิคมการเกษตรในจังหวัดต่างๆมาตั้งแต่ยุคเริ่มแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติโน้นแล้ว

ทำเลของเมืองเกสปุตตะ จะเป็นคล้ายศูนย์กลางทางการค้าและการคมนาคมไปยังเมืองต่างๆพ่อค้าคหบดีนักการศาสนาจะผ่านมาเมืองนี้บ่อยๆ การที่มีนักบวชและนักการศาสนาผ่านเมืองนี้มิได้ขาดทำให้ชาวเมืองกาลามะได้รับรู้ข้อมูลข่าวสารจากทั่วสารทิศจนทำให้ชาวกาลามะสับสนในบางเรื่องว่าเรื่องใดควรเชื่อได้หรือเรื่องใดเชื่อไม่ได้

เมื่อชาวกาลามะทราบข่าวว่า พระพุทธเจ้าเสด็จมายังเมืองนี้ จึงมาเข้าเฝ้ากันอย่างเนืองแน่น ชาวกาลามะที่ได้สดับพระคุณของพระพุทธเจ้าที่ขจรขจายไปแล้วเลื่อมใสมีใจปรารถนาจะมาเฝ้าก็มีมากมาย ส่วนชาวกาลามะที่ได้ทราบพระคุณของพระพุทธเจ้าแล้วแต่ยังไม่เลื่อมใส แค่มาฟังธรรมหรือมาชมพระบารมีของพระพุทธเจ้าเป็นขวัญตาขวัญใจก็มีมาก บางกลุ่มกราบไหว้ รายงานตัวบอกชื่อตระกูลครบถ้วน แต่บางกลุ่มนั่งเฉยๆไม่กราบ ไม่ไหว้ ไม่รายงานตัว เงี่ยหูฟังว่าพระพุทธเจ้าจะมีอะไรมาตรัสบ้าง

เมื่อนั่งเรียบร้อยแล้ว ได้ทูลถามพระพุทธเจ้ามีใจความว่า

นักบวชทุกพวกที่เดินทางผ่านมาทางนี้ล้วนยกย่องลัทธิความเชื่อของตนแล้วโจมตีลบล้าง หักล้าง ดูหมิ่นเหยีดหยามลัทธิความเชื่อของคนอื่นให้หมดความน่าเชื่อถือ เข้ากับสำนวนไทยที่ว่า เอาดีใส่ตัว เอาชั่วใส่คนอื่นแล้วทูลถามพระพุทธเจ้าว่า “พระเจ้าข้า พวกข้าพระองค์ ยังมีความเคลือบแคลงสงสัยในสมณพราหมณ์เหล่านั้นอยู่ทีเดียวว่า ท่านสมณพราหมณ์เหล่านั้น ใครพูดจริง ใครพูดเท็จ”

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า “ดูกร กาลามชนทั้งหลาย ก็ควรแล้วที่ท่านทั้งหลายจะเคลือบแคลงสงสัย” แล้วพระองค์จึงตรัสหลักแห่งความไม่ต้องเชื่อดังนี้

1. ท่านทั้งหลายจงอย่าเชื่อตามที่ได้ยินได้ฟังมา

2. ท่านทั้งหลายอย่าได้ยึดถือตามถ้อยคำสืบๆกันมา

3. ท่านทั้งหลายอย่าได้ยึดถือโดยตื่นข่าวว่า ได้ยินมาอย่างนี้

4. ท่านทั้งหลายอย่าได้ยึดถือโดยอ้างตำรา

5. ท่านทั้งหลายอย่าได้ยึดถือโดยเดาเอาเอง

6. ท่านทั้งหลายอย่าได้ยึดถือโดยคาดคะเน

7. ท่านทั้งหลายอย่าได้ยึดถือโดยตรึกเอาตามอาการ

8. ท่านทั้งหลายอย่าได้ยึดถือโดยชอบใจว่า ต้องกับทิฐิของตัว

9. ท่านทั้งหลายอย่าได้ยึดถือโดยเชื่อว่าผู้พูดสมควรจะเชื่อได้

10. ท่านทั้งหลายอย่าได้ยึดถือโดยความนับถือสมณะนี้เป็นครูของเรา

เมื่อพระพุทธเจ้าตรัสหลักแห่งความไม่น่าเชื่อดังนี้แล้ว จึงได้ตรัสหลักในการตัดสินความเชื่อไว้ว่า

“เมื่อใดท่านทั้งหลายพึงรู้ด้วยตนเองว่า ธรรมเหล่านี้เป็นอกุศล ธรรมเหล่านี้มีโทษ ธรรมเหล่านี้ผู้รู้ติเตียน ธรรมเหล่านี้ใครสมาทานให้บริบูรณ์แล้วเป็นไปเพื่อสิ่งไม่เป็นประโยชน์ เพื่อทุกข์ เมื่อนั้น ท่านทั้งหลายควรละธรรมเหล่านั้นเสีย”

“เมื่อใด ท่านทั้งหลายพึงรู้ด้วยตนเองว่า ธรรมเหล่านี้เป็นกุศล ธรรมเหล่านี้ไม่มีโทษ ธรรมเหล่านี้ผู้รู้สรรเสริญธรรมเหล่านี้ใครสมาทานให้บริบูรณ์แล้วเป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความสุข เมื่อนั้น ท่านทั้งหลาย ควรเข้าถึงธรรมเหล่านั้น”

พระพุทธเจ้าทรงประทานหลักการทั้งที่ควรเชื่อและไม่ควรเชื่อไว้ให้แก่ชาวกาลามะเป็นเวลาสองพันกว่าปีมาแล้ว แต่สถานการณ์ที่ทำให้ชาวพุทธสับสนจนต้องใช้หลักกาลามสูตรในฝ่ายหลักแห่งการตัดสินยังคงมีอยู่ต่อไป เมื่อชาวพุทธจับหลักแห่งกาลามสูตรได้แล้ว พึงใช้กาลามสูตรนี้วิเคราะห์ข้อมูข่าวสารจากลัทธิต่างๆที่มุ่งหมายทำให้เหยื่อตายใจแล้วตบทรัพย์เอาอย่างง่ายดายทำรายได้เป็นกอบเป็นกำ ไม่มีสินค้าประเภทใดที่จะทำให้ผู้ค้าขายได้กำไรมากมายเท่ากับการค้าขายความเชื่อแก่ศรัทธาชนผู้ลุ่มหลงอีกแล้ว พุทธศาสนิกชนทั้งหลายที่ตกอยู่ท่ามกลางสถานการณ์เร่งเร้าเช่นนี้ พึงมีหลักกาลามสูตรเป็นเครื่องป้องกันอันตรายจากการปล้นชิงทรัพย์ของพ่อค้าความเชื่อที่มาในคราบนักบุญที่กระจายตัวอยู่ทุกหนทุกแห่งเถิด ระวัง ระวัง และระวัง คือมนต์ขลังป้องกันการต้มตุ๋นจากโจรร้ายในคราบนักบุญทุกประเภท

กาลามสูตร” คือคำสอนเกี่ยวกับเรื่องใด

เรื่อง. มารู้จัก“กาลามสูตร” ให้ถ่องแท้กันเทอญ

“ตุมฺเห  กาลามา  อตฺตนาวชาเนยฺยาถ  อิเม  ธมฺมา  อกุสลา  อิเม  ธมฺมา  สาวชฺชา  อิเมธมฺมาวิญฺญุครหิตา  อิเม  ธมฺมา  สมตฺตา  สมาทินฺนาอหิตายทุกฺขายสํวตฺตนฺตีติ.”

“เมื่อใดท่านผู้เป็นชาวกาลามะพึงรู้ด้วยตัวเองว่าธรรมเหล่านี้เป็นอกุศลธรรมเหล่านี้มีโทษธรรมเหล่านี้ผู้รู้ติเตียนธรรมเหล่านี้ใครสมาทานแล้วเป็นไปเพื่อสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์เพื่อทุกข์เมื่อนั้นท่านทั้งหลายควรละธรรมเหล่านั้นเสีย.”

เป็นพระสูตรขึ้นต้นของ“กาลามสูตร” เนื่องด้วยพระพุทธองค์ได้เสด็จไปชุมชนแห่งหนึ่งนามว่า“กาลามโคตร” ซึ่งเป็นชุมชนใหญ่ทำให้มีผู้คนเดินทางสัญจรไปมาตลอดเวลาและรวมถึงครูจำนวนมากที่มาเผยแผ่คำสอนซึ่งแตกต่างกันไปดังนั้นชาวกาลามะได้ทูลถามว่าเราจะเชื่อคำสอนใครนำมาปฏิบัติดีจึงเป็นเหตุให้พระพุทธองค์ทรงตรัสสอนเรื่องกาลามสูตร๑๐ประการดังนี้คือ

๑.มาอนุสฺสวเนน- อย่าพึ่งปลงใจเชื่อด้วยการฟังคำพูดที่ได้ยินตามกันมา

๒.มาปรมฺปราย- อย่าพึ่งปลงใจเชื่อตามถ้อยคำการถือสืบๆกันมา

๓.มาอิติกิราย- อย่าพึ่งปลงใจเชื่อด้วยข่าวที่ได้ยินมา

๔.มาปิฏกสมฺปทาเนน- อย่าพึ่งปลงใจเชื่อด้วยการอ้างตำรา

๕.มาตกฺกเหตุ- อย่าพึ่งปลงใจเชื่อเพราะคิดเอาเอง

๖.มานยเหตุ- อย่าพึ่งปลงใจเชื่อเพราะการอนุมาน(คาดคะเน)

๗.มาอาการปริวิตกฺเกน- อย่าพึ่งปลงใจเชื่อด้วยการคิดตรองตามแนวเหตุผล

๘.มาทิฎฐินิชฺฌานกฺขนฺติยา- อย่าพึ่งปลงใจเชื่อเพราะเข้ากันได้กับทฤษฎีที่พินิจไว้แล้ว

๙.มาภพฺพรูปตา- อย่าพึ่งปลงใจเชื่อมองเห็นรูปลักษณะน่าจะเป็นไปได้

๑๐.มาสมโณโนครูติ- ข้อนี้สำคัญที่สุดอย่าพึ่งปลงใจเชื่อเพราะนับถือว่าท่านสมณะนี้เป็นครูของเราซึ่งแม้แต่ตัวพระพุทธองค์ตรัสเองก็อย่าพึ่งปลงใจเชื่อเช่นความโลภมันร้อนอย่างไร? มันเป็นประโยชน์หรือมีโทษอย่างไร? เราทุกท่านสามารถสัมผัสได้ด้วยตนเอง

ในขณะนี้ได้ข่าวเรื่องการดื่มน้ำปัสสาวะเพื่อรักษาโรคซึ่งตามข่าวว่าพระพุทธเจ้าสนับสนุนให้ทุกคนสามารถดื่มน้ำมูตรของตนเองหรือปัสสาวะโดยกล่าวอ้างว่าเป็นเภสัชหรือยา

จึงขอชี้แจ้งดังนี้

-ตามพระสูตรที่๑สนฺตุฏฺฐิสูตร(สันโดษ) ซึ่งพระองค์แนะนำให้ภิกษุอยู่อย่างสันโดษซึ่งตรงนี้มีข้อความท่อนหนึ่งว่า(อรรถกถาขุททกนิกายขุททกปาฐะอิติวุตตกวรรณนา)

“ปุติมุตตตเภสัช” ตามพจนานุกรมพจนานุกรมพุทธศาสน์ฉบับประมวลศัพท์สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์(ป.อ. ปยุตฺโต) ให้ความหมายว่าเป็นยาดองด้วยน้ำมูตรเน่าตามคัมภีร์อรรถกถาจารย์ได้ให้ความหมายว่าเป็นผลไม้ชนิดหนึ่งเรียกว่าลูกสมอที่ดองด้วยปัสสาวะของโค, อรรถกถาจารย์อีกพวกหนึ่งกล่าวว่าเป็นเภสัชชนิดใดชนิดหนึ่งที่เขาสละคือทิ้ง.

-เหตุผลที่พระองค์ตรัสเรื่องน้ำมูตรเน่าอันเนื่องเพราะพระภิกษุในยุคนั้นอาศัยตามป่าซี่งไกลชุมชนและยากไร้ไม่มียารักษาโรคซึ่งไม่ประสงค์จะรบกวนญาติโยมจึงทำให้เกิด“ปุติมุตตตเภสัช” เกิดขึ้นในยุคนั้นเพราะไม่มียาไม่มีหมอรักษาโรคนั่นเอง

-อีกพระสูตรหนึ่งชื่อ“มหาธรรมสมาทานสูตร” หรือธรรมสมาทาน๔” คือข้อที่ยึดถือเอาเป็นหลักความประพฤติปฏิบัติพระองค์ตรัสไว้๔ประเภทดังนี้

๑.ธรรมสมาทานที่ให้ทุกข์ในปัจจุบันและมีทุกข์เป็นผลต่อไป

๒.ธรรมสมาทานที่ให้ทุกข์ในปัจจุบันแต่มีสุขเป็นผลต่อไป

๓.ธรรมสมาทานที่ให้สุขในปัจจุบันแต่มีทุกข์เป็นผลต่อไป

๔.ธรรมสมาทานที่ให้สุขในปัจจุบันและมีสุขเป็นผลต่อไป

-อธิบายโดยย่อของหลักธรรมข้างต้นกล่าวคือหากเรามีวิธีปฏิบัติธรรมอย่างไรเราก็จะได้รับผลเช่นนั้นตัวอย่างหากเราปฏิบัติแบบทรมานกายเราก็จะรับทุกข์ทนเป็นผลหรือวิธีปฏิบัติที่มีสุขเบื้องต้นแล้วมีสุขเป็นผลเป็นต้น

หลักธรรมดังกล่าวมีอยู่ตอนหนึ่งอุปมา“ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! เปรียบเหมือนมูตรเน่าอันระคนด้วยยาต่างๆ. บุรุษที่เป็นโรคผอมเหลืองมาถึงเข้า. ประชุมชนบอกเขาว่าดูกรบุรุษผู้เจริญมูตรเน่าอันระคนด้วยยาต่างๆนี้ถ้าท่านหวังจะดื่มก็ดื่มเถิดมูตรเน่าจักไม่ชอบใจแก่ท่านผู้ดื่มทั้งสีทั้งกลิ่นทั้งรสก็แต่ท่านครั้นดื่มเข้าไปแล้วจักมีสุข. บุรุษนั้นพิจารณาแล้วดื่มมิได้วางก็ไม่ชอบใจทั้งสีทั้งกลิ่นทั้งรสครั้นดื่มแล้วก็มีสุขแม้ฉันใดภท.! เรากล่าวธรรมสมาทานนี้ที่มีทุกข์ในปัจจุบันแต่มีสุขเป็นวิบากต่อไปว่ามีอุปมาฉันนั้น.

ดังนั้นจึงเป็นการดื่มน้ำมูตรตามพระสูตรนี้เป็นการ“เปรียบกับการปฏิบัติธรรมด้วยการทนการยากลำบากแล้วจะได้ผลเป็นสุข” จะเห็นได้ว่าเป็นเพียงอุปมาเปรียบเทียบเท่านั้นเองกับการปฏิบัติธรรมเท่านั้นเองและถ้าจะกล่าวถึงการรักษาโรคก็ระบุแค่โรคผอมเหลืองเท่านั้นเอง

นอกจากน้ำมูตรแล้วพระพุทธองค์ยังทรงตรัสถึงปัณณเภสัช(ยาที่ทำจากใบไม้) มูลเภสัช(ยาที่ทำจากราก) ชตุเภสัช(ยาที่ทำจากยาง) เป็นต้นซึ่งพระพุทธองค์เองบางขณะที่ทรงอาพาธยังต้องอาศัยหมอแสดงว่าปัสสาวะจากน้ำมูตรนั้นไม่สามารถรักษาได้ทุกโรค

(ตัวอย่างของผู้ที่ดื่มน้ำปัสสาวะหรือรับการบำบัดด้วยปัสสาวะอาทิเช่นอดีตนายกรัฐมนตรีประเทศอินเดียชื่อนายโมรัรจีเดไซประกาศว่าเหมาะกับคนอินเดียที่ไม่สามารถจ่ายค่ารักษาพยาบาลได้  สำหรับคนไทยหากท่านใดประสงค์จะดื่มก็แล้วแต่ดุลยพินิจของแต่ละท่าน)

ในฐานะความเป็นฆราวาสอาจพิจารณาเห็นสมควรทดลองดูก็ตามสิทธิของท่านด้วยเพราะท่านอาจพบได้ด้วยตนเองดังเช่นพบว่า“เรารู้ความโกรธเกิดกับเราแล้วไม่ดีเราสามารถนำไปบอกต่อได้” หรือ“ความเมตตานั้นดีทำแล้วดีกับตนเองจึงควรนำไปบอกต่อได้“ แต่มิบังควรนำพระพุทธองค์ไปกล่าวอ้างจึงถือเป็นการทำร้ายพุทธศาสนาอย่างรุนแรงดังนั้นตามข่าวที่ปรากฎว่าปัสสาวะสามารถรักษาได้ทุกโรคจึงควรพิจารณาตามหลัก“กาลามสูตร” ซึ่งเห็นสมควรศึกษาตามพระสูตรที่กล่าวมาและสุดท้ายนี้ท่านควรใช้วิจารณญาณในการรับข่าวสารให้ถ่องแท้ก่อนเชื่อในข้อความที่ได้ยินได้ฟังตามๆกันมา

ด้วยเหตุนี้เราท่านทั้งหลายจงอย่ารีบเชื่อตามที่ได้ฟังกันมาอย่าเพิ่งรีบเชื่อเพราะถูกกับทิฏฐิของท่านหรือรีบเชื่อแม้สมณะนี้เป็นครูของเราสมดังคำกล่าวของท่านพระพุทธทาสว่า