ระบบป้องกันไฟฟ้ามีอะไรบ้าง

อุปกรณ์ป้องกันไฟฟ้าแรงสูง มีอะไรบ้าง?

ระบบป้องกันไฟฟ้ามีอะไรบ้าง

งานไฟฟ้า เป็นงานที่ต้องอาศัยความรู้และทักษะความชำนาญในการใช้เครื่องมือและวัสดุอุปกรณ์ รวมไปถึงต้องคำนึงถึงความปลอดภัยต่าง ๆ ในระหว่างการปฏิบัติงานอีกด้วย

อุปกรณ์ป้องกันไฟฟ้าแรงสูง จึงเป็นสิ่งที่สำคัญมาก ๆ สำหรับช่างไฟฟ้า เนื่องจากมันจะช่วยป้องกันอันตรายที่เกิดจากไฟฟ้า ในกรณีที่เกิดไฟฟ้าลัดวงจร ไฟฟ้าช็อต หรือ ไฟดูด ที่อาจจะทำให้เกิดความเสียหายแก่ชีวิตและทรัพย์สินได้

วันนี้เราจะพาทุกคนไปรู้จักกับ อุปกรณ์ป้องกันไฟฟ้าแรงสูง กันว่ามีอะไรบ้าง?

  1. ฟิวส์ (Fuse)
ระบบป้องกันไฟฟ้ามีอะไรบ้าง

เป็นอุปกรณ์นิรภัยที่มีหน้าที่หลักก็คือ การตัดไฟฟ้าภายในสถานที่ที่มีการใช้ไฟฟ้า เพื่อป้องกันการเกิดไฟฟ้าลัดวงจร และการใช้กระแสเกินในวงจรไฟฟ้า โดยการตัดกระแสไฟฟ้าออกจากวงจร เพื่อไม่ให้เกิดไฟฟ้าช็อตหรือไฟดูดต่อผู้ที่อาศัยอยู่ในบริเวณนั้น ๆ 

  1. อะแดปเตอร์ (Adapter)
ระบบป้องกันไฟฟ้ามีอะไรบ้าง

เป็นอุปกรณ์ที่ช่วยป้องกันไม่ให้เราใส่ฟิวส์มากเกินขนาด เพราะการใส่ฟิวส์เกินขนาด จะทำให้ฟิวส์ไม่ขาด หากเกิดเหตุการณ์ไฟฟ้าลัดวงจร ซึ่งอาจจะทำให้เกิดอันตรายได้

  1. เซอร์กิตเบรกเกอร์ (Circuit Breaker)
ระบบป้องกันไฟฟ้ามีอะไรบ้าง

เป็นอุปกรณ์ที่ใช้ป้องกันกระแสเกินหรือลัดวงจรเช่นเดียวกับฟิวส์ แต่จะแตกต่างกันตรงที่ถ้าหากเกิดไฟฟ้าลัดวงจร สะพานไฟที่เชื่อมอยู่จะถูกตัดลงทันที ทำให้กระแสไฟไหลผ่านไปไม่ได้ เป็นการป้องกันการเกิดไฟฟ้าช็อตหรือไฟดูด และถ้าหากต้องการที่จะใช้งานอีกครั้งก็เพียงแค่สับสวิตช์ของฟิวส์ขึ้นเท่านั้น ไม่จำเป็นต้องนำมาเปลี่ยนใหม่เหมือนกับฟิวส์

  1. คอนซูมเมอร์ (Consumer) และ โหลดเซ็นเตอร์ (Load Centre)
ระบบป้องกันไฟฟ้ามีอะไรบ้าง
ระบบป้องกันไฟฟ้ามีอะไรบ้าง

คอนซูมเมอร์ มีหน้าที่ในการแบ่งวงจรไฟฟ้าให้กลายเป็นวงจรย่อย เช่น วงจรเต้ารับ หรือ วงจรแสงสว่าง ภายในตู้คอนซูมเมอร์นั้นประกอบไปด้วย เซอร์กิตเบรกเกอร์ ที่เป็นตัวเมน 1 ตัว และเซอร์กิตเบรกเกอร์ของวงจรย่อย (ขึ้นอยู่กับจำนวนของวงจรย่อย) ซึ่งตัวกล่องทำจากโลหะ และมีจุดเพื่อต่อลงสายดิน ซึ่งการจะนำตู้คอนซูมเมอร์มาใช้งานได้ จะต้องต่อออกจากเอาต์พุตของฟิวส์เมนและเซอร์กิตเบรกเกอร์เมนก่อน เพื่อให้ถูกต้องตามข้อบังคับของการไฟฟ้า

ในส่วนของโหลดเซ็นเตอร์นั้น ก็มีหน้าที่เดียวกันกับคอนซูมเมอร์ แต่แค่จะมีจำนวนของเซอร์กิตเบรกเกอร์ที่มากกว่า ซึ่งก็มีทั้งแบบ 1 เฟส และแบบ 3 เฟส ส่วนใหญ่จึงนิยมนำมาใช้ในโรงงานอุตสาหกรรม

  1. สายไฟฟ้า

เป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่ในการส่งผ่านกระแสไฟฟ้าจากจุดหนึ่งไปยังอีกจุดหนึ่ง โดยสายไฟนั้นก็มีหลากหลายชนิด แต่ที่นิยมใช้กันตามบ้านเรือนมากที่สุด จะมีอยู่ 2 ชนิด ได้แก่ 

1) สาย VAF เป็นสายไฟที่นิยมใช้ในการเดินเกาะไปตามผนัง โดยใช้เข็มขัดในการรัดสาย

ระบบป้องกันไฟฟ้ามีอะไรบ้าง

2) สาย THW เป็นสายไฟที่นิยมใช้ในการเดินร้อยในท่อ หรือ ยึดโยงด้วยฉนวนลูกถ้วย

ระบบป้องกันไฟฟ้ามีอะไรบ้าง

การเข้าสายไฟและการต่อสายไฟ จึงเป็นอีกสิ่งหนึ่งที่มีความสำคัญ เพราะถ้าหากทำไม่ถูกต้อง ก็อาจจะทำให้เกิดอันตรายต่อชีวิตและทรัพย์สินได้ เช่น การเข้าสายหรือต่อสายไฟไม่แน่น ก็อาจจะทำให้เกิดความร้อนหรือเกิดการอาร์ก ซึ่งจะส่งผลให้เกิดเพลิงไหม้ได้ 

โดยการเข้าสายไฟนั้น มีอยู่ด้วยกัน 2 วิธี ดังนี้

5.1) การเข้าสายด้วยการม้วนสาย 

ส่วนใหญ่มักจะทำที่ฟิวส์ หรือ ขั้วหลอดไฟชนิดหลอดไส้ (Incandescent Lamp) สามารถสังเกตได้จากจุดเข้าสาย โดยการใช้สกรูหัวโตและจะไม่มีรูเสียบสาย การเข้าสายด้วยวิธีนี้จะต้องม้วนสายให้กลม ตามทิศทางการขันสกรู (หมุนตามเข็มนาฬิกา) เพื่อเป็นการป้องกันไม่ให้สายคลายออกขณะที่กำลังขันสกรู แต่ถ้าหากสายไฟมีขนาดใหญ่ ควรใช้หางปลาแทนการม้วนสาย เพราะหางปลาจะทำให้หน้าสัมผัสแน่น ทำให้ไม่เกิดความร้อนที่จุดต่อสาย

5.2) การเข้าสายด้วยการเสียบสาย 

อุปกรณ์ที่ใช้ในการเข้าสายด้วยวิธีนี้ ได้แก่ สวิตช์ เต้ารับ และเซอร์กิตเบรกเกอร์ วิธีการเข้าสายที่ ปลอดภัย จะต้องทำโดยการปอกฉนวนสายไฟให้พอดี เพราะถ้าหากปอกฉนวนสายไฟยาวเกินไป ก็จะทำให้มีโอกาสที่สายทองแดงจะลัดวงจรกับสายไฟเส้นอื่น ๆ ได้ง่าย และจะทำให้เกิดอันตรายขึ้นได้ การเข้าสายที่สวิตช์ต้องตัตต่อที่เส้นไฟ เพื่อให้เกิดความปลอดภัยและสะดวกในการตรวจซ่อม และควรใช้สายฉนวนสีดำ

  1. การต่อสายดิน
ระบบป้องกันไฟฟ้ามีอะไรบ้าง

เป็นการต่อสายไฟจากตัวถัง หรือ ตัวโครงที่เป็นโลหะของอุปกรณ์ไฟฟ้า ลงไปยังหลักดิน (Ground Rod) สายดินนั้นมีหน้าที่ในการนำกระแสไฟฟ้าที่รั่วจากอุปกรณ์ไฟฟ้าที่ชำรุดลงสู่ดิน ทำให้ผู้ที่ไปสัมผัสอุปกรณ์ไฟฟ้าที่ชำรุดเหล่านั้นไม่เป็นอันตราย ในส่วนของการตรวจสอบว่าสายดินของอุปกรณ์ไฟฟ้านั้น ๆ เป็นสายดินที่ปลอดภัยหรือไม่ สามารถตรวจสอบได้โดยการนำโอห์มมิเตอร์มาวัดระหว่างสายดินที่ติดตั้งกับสายศูนย์ ซึ่งค่าความต้านทานที่อ่านได้ ไม่ควรเกิน 5 โอห์ม 

  1. อุปกรณ์ป้องกันไฟรั่ว (Earth Leakage Circuit Breaker)
ระบบป้องกันไฟฟ้ามีอะไรบ้าง

เป็นอุปกรณ์ที่ป้องกันไฟดูด ทำหน้าที่ในการตัดวงจรไฟฟ้า เช่นเดียวกับเซอร์กิตเบรกเกอร์ แต่มีวงจรในการตรวจจับกระแสไฟรั่วไหลเพิ่มเข้ามา ทำให้สามารถตรวจจับกระแสไฟที่รั่วไหลผิดปกติได้ ซึ่งมีด้วยกัน 2 ชนิด ดังนี้

7.1) ชนิดปรับค่ากระแสรั่วไหลไม่ได้ 

ส่วนใหญ่วงจรจะตั้งให้ตัดกระแสรั่วไหลที่ 30 mA เหมาะสำหรับการใช้งานเฉพาะจุด เช่น บ้าน 1 หลัง สามารถใช้หลายตัวได้ เนื่องจากมีราคาที่ไม่สูงมาก และมีข้อดีคือสามารถตัดวงจรได้เฉพาะส่วนที่มีปัญหาเท่านั้น

7.2) ชนิดปรับค่ากระแสรั่วไหลได้ 

สามารถตั้งให้วงจรตัดกระแสรั่วไหลได้หลายระดับ เช่น 5, 10, 15, 20, 25, 30 mA แต่ส่วนใหญ่จะนิยมตั้งไว้ที่ค่าต่ำ ๆ เช่น 5 mA แต่ถ้าอุปกรณ์เกิดการตัดวงจร แสดงว่ามีสิ่งผิดปกติเกิดขึ้น ให้ลองปรับไปที่ค่าสูงขึ้น แต่ถ้ายังวงจรยังตัดอีก ก็ให้ปรับไปยังตำแหน่ง Direct ซึ่งเป็นตำแหน่งที่ไม่ผ่านวงจรตรวจจับกระแสรั่วไหล ซึ่งจะเป็นการทำให้เครื่องเปลี่ยนการทำงานไปเป็นเหมือนเซอร์กิตเบรกเกอร์ธรรมดา และเราควรตรวจสอบหาจุดที่ชำรุด และแก้ไขให้กลับมาอยู่ในสภาพปกติ 

เหมาะสำหรับควบคุมวงจรหลักในอาคารที่อยู่อาศัย เช่น บ้าน 1 หลัง ควรใช้ 1 ตัว เนื่องจากมีราคาที่สูงกว่าแบบแรก จึงไม่เหมาะในการใช้ควบคุมวงจรย่อย อีกทั้งมันยังมีข้อเสียก็คือ ถ้าตัดวงจรไฟในบ้านจะดับทั้งหมด

ผู้เขียน :  ศิรดา จิรานันท์สกุล

ช่างไฟดอทคอม
ช่างไฟที่ดีที่สุดในกรุงเทพฯ