วิชาเศรษฐศาสตร์แบ่งเป็นกี่ประเภท อะไรบ้าง

เศรษฐศาสตร์คืออะไร มีกี่ประเภท เศรษฐศาสตร์เกี่ยวข้องกับการดำเนินชีวิตอย่างไร

หมวดหมู่ : คำไทยน่ารู้ Tags: เศรษฐศาสตร์

เมื่อพูดถึง “เศรษฐศาสตร์” หลายคนอาจนึกถึงเศรษฐกิจ ซึ่งเป็นเพียงแค่ส่วนหนึ่งของเศรษฐศาสตร์เท่านั้น โดยแท้จริงแล้วนั้นในปัจจุบันชีวิตของทุกคนล้วนเกี่ยวข้องกับเศรษฐศาสตร์ทั้งสิ้น แต่กลับมีน้อยคนนักที่จะรู้ว่าแท้จริงแล้วเศรษฐศาสตร์คืออะไร มีที่มาอย่างไร และเกี่ยวข้องต่อการดำเนินชีวิตอย่างไรบ้าง…?

————– advertisements ————–

เศรษฐศาสตร์คืออะไร
เศรษฐศาสตร์เป็นศาสตร์ที่ก่อตั้งขึ้นโดย อดัม สมิท (Adam Smith’cx) โดยเขาได้ทำการแต่งตำราทางเศรษฐศาสตร์ฉบับแรกของโลกขึ้นชื่อว่า “An Inquiry into the Nature and Causes of the Wealth of Nation” ซึ่งภายในมีเนื้อหาเกี่ยวกับการพัฒนาเศรษฐกิจในเรื่องของมูลค่า การค้าระหว่างประเทศ การคลังสาธารณะ และการเก็บภาษี ดังนั้นเขาจึงได้ชื่อว่าเป็น “บิดาแห่งเศรษฐศาสตร์”
เศรษฐศาสตร์ (Economics) เป็นศาสตร์แขนงหนึ่งในวิชาสังคมศาสตร์ โดยเป็นการศึกษาเกี่ยวกับวิธีการจัดการ รวมถึงการเลือกใช้ทรัพยากรการผลิตที่มีอยู่อย่างจำกัด ในการผลิตสินค้าและบริการให้สามารถนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์ได้สูงสุด เพื่อตอบสนองต่อความต้องการของมนุษย์ที่มีไม่จำกัด
เศรษฐศาสตร์แบ่งออกเป็น 2 ประเภท

โดยการศึกษาเศรษฐศาสตร์สามารถแบ่งแยกย่อยออกเป็น 2 ประเภทด้วยกันตามลักษณะเนื้อหา คือ
1. เศรษฐศาสตร์จุลภาค คือ องค์ประกอบพื้นฐานทางเศรษฐกิจ ได้แก่ ครัวเรือย หน่วยธุรกิจ ผู้ซื้อ ผู้ขาย เป็นต้น
2. เศรษฐศาสตร์มหภาค คือ สภาพเศรษฐกิจในภาครวม ได้แก่ นโยบายการเงิน การเติบโตของเศรษฐกิจ การว่างงาน อุปสงค์และอุปทาน เป็นต้น

นอกจากนี้เศรษฐศาสตร์ยังมีวิธีการวิเคราะห์ 2 แบบด้วยกันคือ ตามความเป็นจริง และตามสิ่งที่ควรจะเป็น ดังนั้นจึงมีการนำแนวคิดและการวิเคราะห์ทางเศรษฐศาสตร์มาประยุกต์ใช้กับความรู้ด้านอื่นๆ อีกมากมายหลายสาขาด้วยกัน ได้แก่ เศรษฐศาสตร์การเมือง ธุรกิจ การเงิน ศาสนา วิทยาศาสตร์ เป็นต้น

เศรษฐศาสตร์เกี่ยวข้องกับการดำเนินชีวิตอย่างไร…?
ในปัจจุบันเศรษฐศาสตร์มีความเกี่ยวข้องกับการดำเนินชีวิตของมนุษย์ทุกคนอย่างจำเป็นและหลีกเลี่ยงไม่ได้ โดยช่วยให้คนสามารถเลือกใช้สินค้าและบริการที่ดีและเหมาะสมกับตัวเองให้เกิดประโยชน์สูงสุด ทั้งยังช่วยตัดสินใจในการลงทุนและการผลิต รวมถึงช่วยรักษาผลประโยชน์ในการลงทุน ที่สำคัญคือช่วยแก้ไขปัญหาและสถานการณ์ทางเศรษฐกิจ หรืออาจเรียกได้ว่าเศรษฐศาสตร์เป็นการจัดการทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัดให้ตอบสนองความต้องการที่ไม่อยู่อย่างไม่จำกัดของมนุษย์ได้อย่างเพียงพอ

-------------- advertisements --------------

-------------- advertisements --------------

Comments

บทที่ 2 แขนงของวิชาเศรษฐศาสตร์

การศึกษาวิชาเศรษฐศาสตร์ จำแนกตามเนื้อหาได้ 2 สาขา คือ เศรษฐศาสตร์จุลภาค (Microeconomics)และเศรษฐศาสตร์มหภาค(Macroeconomics)

    1) เศรษฐศาสตร์จุลภาค (Microeconomics) เป็นแขนงของวิชาเศรษฐศาสตร์ที่ศึกษาถึงปัญหาและพฤติกรรมทางเศรษฐกิจของสังคมในระดับหน่วยย่อยเป็นสำคัญ มุ่งเน้นศึกษาเกี่ยวกับพฤติกรรมของผู้ดำเนินกิจกรรมต่างๆในระบบเศรษฐกิจ ด้านพฤติกรรมของตลาดและกลไกราคา บางครั้งเรียกทฤษฎีเศรษฐศาสตร์จุลภาคว่า ทฤษฎีราคา (Price Theory)

    2) เศรษฐศาสตร์มหภาค (Macroeconomics) เน้นศึกษาเรื่องราวหรือ กิจกรรมทางเศรษฐกิจโดยรวมหรือระดับประเทศ เช่น การบริหารงบประมาณแผ่นดินประจำปี ปัญหาเงินเฟ้อ และรายได้ประชาชาติ เป็นต้น บางครั้งเรียกทฤษฎีเศรษฐศาสตร์มหภาคว่า ทฤษฎีรายได้ประชาชาติ

ในปัจจุบันนี้ นักวิชาการนิยมศึกษาเศรษฐศาสตร์จุลภาคและมหภาคควบคู่กันไป จะเห็นได้ว่ามีการนำผลวิเคราะห์ทางด้านเศรษฐศาสตร์จุลภาคมาประยุกต์ใช้กับทฤษฎีเศรษฐศาสตร์มหภาคมากขึ้น ก็เพราะเศรษฐกิจส่วนรวม ย่อมมีองค์ประกอบที่เป็นเศรษฐกิจหน่วยย่อยๆรวมกัน และพฤติกรรมของแต่ละบุคคลหรือแต่ละหน่วยผลิตซึ่งเป็นเศรษฐกิจหน่วยย่อยๆ เพราะเศรษฐกิจหน่วยย่อยนี้ก็มีอิทธิพลอย่างยิ่งต่อพฤติกรรมและความเป็นไปของเศรษฐกิจในระดับประเทศหรือระดับส่วนรวมของสังคม

      เศรษฐศาสตร์ แบ่งเป็น 2 สาขา

        - เศรษฐศาสตร์จุลภาค หรือ จุลเศรษฐศาสตร์ : MICROECONOMICS  เป็นเศรษฐศาสตร์สาขาหนึ่งซึ่งศึกษาพฤติกรรมและการตัดสินใจของบุคคล ครัวเรือน และบริษัท ในการใช้

ทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกันโดยเฉพาะในตลาดซึ่งมีการซื้อขายสินค้าและบริการ เศรษฐศาสตร์จุลภาคศึกษาว่าพฤติกรรมและการตัดสินใจเหล่านี้มีผลกระทบอย่างไรต่ออุปสงค์และ

อุปทานของสินค้าและบริการ ซึ่งเป็นตัวกำหนดราคา และในทางกลับกัน ราคากำหนดอุปสงค์และอุปทานของสินค้าและบริการอย่างไร

        - เศรษฐศาสตร์มหภาค  หรือมหเศรษฐศาสตร์ : MACROECONOMICS เป็นการศึกษาถึงกิจกรรมทางเศรษฐกิจส่วนรวม เช่น ผลผลิตรวมของประเทศ การจ้างงาน การเงินและการ

ธนาคาร การพัฒนาประเทศ การค้าระหว่างประเทศ อัตราดอกเบี้ย ซึ่งทั้งหมดนั้นเป็นปัญหาที่กว้างขวางกว่าเศรษฐศาสตร์จุลภาค เพราะว่าไม่ได้กระทบเพียงหน่วยธุรกิจเท่านั้น แต่จะ

กระทบถึงบุคคล หน่วยการผลิต อุตสาหกรรมทั้งหมด และเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศ เศรษฐศาสตร์มหภาคนั้นจะมุ่งเน้นที่ผลิตภัณฑ์มวลรวมประชาชาติเบี้องต้น(GNP) และการว่าจ้าง

งาน จะหาว่าอะไรเป็นสาเหตุให้ผลิตผลรวมและระดับการว่าจ้างงานมีการเคลื่อนไหวขึ้นลง เพื่อหาแนวทางแก้ปัญหาต่างๆได้ตรงจุด เช่น ภาวะเงินเฟ้อเงินฝืด และ ปัญหาการว่างงาน 

เป็นต้น