โครงสร้างของข้อมูลใดหมายถึง field

ตอบ   เหตุใดจึงต้องมีการออกแบบฐานข้อมูล  ฐานข้อมูลเป็นเรื่องสำคัญสำหรับระบบงานสารสนเทศที่ใช้คอมพิวเตอร์ประมวลผลในปัจจุบัน ในการออกแบบระบบสารสนเทศปัจจุบันก็มีการพัฒนาเทคโนโลยีกันอย่างมากมาย โดยจะมีระบบการออกแบบที่เป็นที่นิยมใช้กันมากในปัจจุบันเรียกว่า Relational Model โดยมีโปรแกรมที่คุณจะศึกษาหรือโปรแกรม MS Access นี้เป็นตัวช่วยในการออกแบบและสร้างฐานข้อมูล ถือว่าเป็น Tool ที่นิยมใช้กันในปัจจุบัน

หมายถึง กลุ่มของข้อมูลที่มีความสัมพันธ์กัน นำมาเก็บรวบรวมเข้าไว้ด้วยกันอย่างมีระบบและข้อมูลที่ประกอบกันเป็นฐานข้อมูลนั้น ต้องตรงตามวัตถุประสงค์การใช้งานขององค์กรด้วยเช่นกัน เช่น ในสำนักงานก็รวบรวมข้อมูลตั้งแต่หมายเลขโทรศัพท์ของผู้ที่มาติดต่อจนถึงการเก็บเอกสารทุกอย่าง

  1. จงบอกข้อดีของการใช้ระบบฐานข้อมูล

1 ลดความจำเจของงานดูแลเอกสาร 

2 ข้อมูลที่จัดเก็บมีความทันสมัย 

3 ลดความซ้ำซ้อนในการจัดเก็บข้อมูล 

4 หลีกเลี่ยงความขัดแย้งของข้อมูลได้ 

5ใช้ข้อมูลร่วมกันได้ 

6 ควบคุมมาตรฐานของข้อมูลได้ 

7 จัดทำระบบการรักษาความปลอดภัยของข้อมูลได้ 

8 ควบคุมความถูกต้องของข้อมูลได้ 

  1. จงอธิบายความหมายของคำศัพท์ต่อไปนี้ พร้อมยกตัวอย่าง

ข้อมูล หมายถึงอะไร

เนื้อหาของข้อมูลที่เราใช้งาน ซึ่งจะถูกเก็บในหน่วยความจำของดาต้าเบสเซิร์ฟเวอร์ โยจะถูกเรียกมาใช้งานจากระบบจัดการฐานข้อมูล ตัวอย่างเช่น ข้อความ ตัวเลข ที่ยังไม่ผ่านกระบ่วนวิเคราะห์ได้ๆ

ฟิลด์ (Field) หมายถึงอะไร

หมายถึง ที่ซึ่งใช้เก็บข้อมูลเฉพาะในโปรแกรมประเภทการจัดการฐานข้อมูล โดยจัดแบ่งให้แต่ละเขตเก็บข้อมูลแต่ละ เรื่อง ตัวอย่างเช่น แบ่งเป็นเขต ชื่อ นามสกุล ที่อยู่ หมายเลขโทรศัพท์ อายุ เพศ ฯ ถ้าเรานำเขตข้อมูลเหล่านี้ หลาย ๆ เขตมารวมกัน จะเรียกว่า “ระเบียน” (record)

เรคคอร์ด(Record) หมายถึงอะไร

หมายถึงหน่วยหนึ่งของข้อมูลที่บันทึกไว้ในฐานหรือคลังข้อมูลโดยปกติ ระเบียนหนึ่งจะประกอบด้วยเขตข้อมูล (field) 1 เขตขึ้นไป ตัวอย่างเช่น ระเบียนของพนักงานของบริษัทแห่งหนึ่ง ประกอบด้วยเขตข้อมูล 10 เขต มี ชื่อ นามสกุล ที่อยู่ วันเข้าทำงาน เงินเดือนที่ได้รับ ตำแหน่งปัจจุบัน ฯ

 ไฟล์ (File) หมายถึงอะไร

หมายถึง ข้อสนเทศหรือข้อมูลทั้งหมดที่เก็บไว้ในสื่อที่มีคุณสมบัติเป็น แม่เหล็กไม่ว่าจะเป็นจานบันทึกธรรมดา หรือจานแข็ง (hard disk) ก็ตาม ข้อสนเทศที่นำไปเก็บนั้น จะถูกนำไปเก็บไว้เป็นเรื่อง ๆ ไป อาจจะเป็นโปรแกรม ข้อมูล หรือภาพ (graphics) ก็ได้ แต่ละเรื่องต่างก็ต้องมีชื่อเป็น ของตนเอง ที่ต้องไม่ซ้ำกัน เรียกว่า “แฟ้มข้อมูล”  ตัวอย่างเช่น File รูปภาพ ก็จะจัดเก็บข้อมูลรูปภาพ File งานก็จะจัดเก็บงานของเรา

ฐานข้อมูล หมายถึงอะไร

ระบบจัดเก็บข้อมูลด้วยคอมพิวเตอร์โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อบำรุงรักษาข้อสนเทศ (Maintain information) และสามารถนำข้อสนเทศเหล่านั้นมาใช้ได้ทุกเมื่อที่ต้องการ ตัวอย่างเช่นฐานข้อมูลเกรดนักศึกษา ฐานข้อมูลชื่อนักศึกษา

โครงสร้างแฟ้มข้อมูล    

โครงสร้างข้อมูลแต่ละแบบจะเหมาะสมกับงานที่แตกต่างกัน และโครงสร้างข้อมูลบางแบบก็ออกแบบมาสำหรับบางงานโดยเฉพาะ แนวความคิดในเรื่องโครงสร้างข้อมูลนี้ส่งผลกับการพัฒนาวิธีการมาตรฐานต่างๆในการออกแบบและเขียนโปรแกรมหลายภาษาโปรแกรมนั้นได้พัฒนารวมเอาโครงสร้างข้อมูลนี้ไว้เป็นส่วนหนึ่งของระบบโปรแกรม เพื่อประโยชน์ในการใช้ซ้ำ

แฟ้มข้อมูล” (file) หมายถึงข้อมูลสารสนเทศหรือข้อมูลทั้งหมดที่เก็บไว้ในสื่อที่มีคุณสมบัติเป็นแม่เหล็กไม่ว่าจะเป็นจานบันทึกธรรมดาหรือจานแข็ง (hard disk) ก็ตามข้อสนเทศที่นำไปเก็บนั้นจะถูกนำไปเก็บไว้เป็นเรื่องๆ ไป อาจจะเป็นโปรแกรมข้อมูล หรือภาพ (graphics) ก็ได้ แต่ละเรื่องต่างก็ต้องมีชื่อเป็นของตนเองที่ต้องไม่ซ้ำกัน ตัวอย่างเช่นเราหารายชื่อนักศึกษาเราก็เริ่มจากหาเป็นคณะ สาขา ห้อง แล้วก็มาเลขที่ตามลำดับ

ประเภทของแฟ้มข้อมูล

 ประเภทของแฟ้มข้อมูล (File Type) เราสามารถจำแนกแฟ้มข้อมูลออกตามลักษณะของข้อมูลที่เก็บบันทึกไว้และสามารถแบ่งแฟ้มข้อมูลออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ คือ

  1. แฟ้มข้อมูลหลัก (Master File) เป็นแฟ้มข้อมูลซึ่งเก็บข้อมูลที่สำคัญ เช่น แฟ้มข้อมูลประวัติ ลูกค้า (Customer master file) ตามที่กล่าวไว้ข้างต้น แฟ้มข้อมูลประวัติผู้จัดส่งสินค้า (Supplier master file) แฟ้มข้อมูลสินค้าคงเหลือ (Inventory master file) แฟ้มข้อมูลบัญชี (Account master file) เป็นต้น
  2. แฟ้มรายการปรับปรุง (Transaction file)เป็นแฟ้มที่บันทึกข้อมูลเกี่ยวกับแฟ้มข้อมูลหลักที่มีการเปลี่ยนแปลงในแต่ละวัน รายการที่เกิดขึ้นต้องนำไปปรับปรุงกับแฟ้มข้อมูลหลักเพื่อให้แฟ้มข้อมูลหลักมีข้อมูลที่ทันสมัยอยู่ตลอดเวลา ตัวอย่างเช่น แฟ้มของมูลแบบหลังเช่นงบดุลแต่ละปียอดขายในแต่หละวัน. แฟ้มรายการปรับปรุง

การจัดโครงสร้างแฟ้มข้อมูล( File Organization)

  1. โครงสร้างของแฟ้มข้อมูลแบบเรียงลำดับ (Sequential File Structure) 
    เป็นโครงสร้างของแฟ้มข้อมูลชนิดพื้นฐานที่สามารถใช้งานได้ง่ายที่สุด เนื่องจากมีลักษณะการจัดเก็บข้อมูลแบบเรียงลำดับเรคคอร์ดต่อเนื่องกันไปเรื่อยๆ
  2. โครงสร้างของแฟ้มข้อมูลแบบสุ่ม (Direct/Random File Structure) 
    เป็นลักษณะของโครงสร้างแฟ้มข้อมูลที่เข้าถึงได้โดยตรง เมื่อต้องการอ่านค่าเรคคอร์ดใดๆสามารถทำการเลือกหรืออ่านค่านั้นได้ทันที ไม่จำเป็นต้องผ่านเรคคอร์ดแรกๆเหมือนกับแฟ้มข้อมูลแบบเรียงลำดับ ซึ่งทำให้การเข้าถึงข้อมูลได้รวดเร็วกว่า ปกติจะมีการจัดเก็บในสื่อที่มีลักษณะการเข้าถึงได้โดยตรงประเภทจานแม่เหล็ก เช่น ดิสเก็ตต์, ฮาร์ดดิสก์หรือ CD-ROM เป็นต้น
    3. โครงสร้างของแฟ้มข้อมูลแบบลำดับเชิงดรรชนี (Index Sequential File Structure) 
    เป็นลักษณะของโครงสร้างแฟ้มข้อมูลที่อาศัยกระบวนการที่เรียกว่า ISAM (Index Sequential Access Method ) ซึ่งรวมเอาความสามารถในการเข้าถึงข้อมูลแบบสุ่มและแบบเรียงตามลำดับเข้าไว้ด้วยกัน การจัดโครงสร้างแฟ้มข้อมูลวิธีนี้ ข้อมูลจะถูกจัดเก็บเรียงกันตามลำดับไว้บนสื่อแบบสุ่ม เช่น ฮาร์ดดิสก์

ระบบฐานข้อมูล  (Database System)  

หมายถึง กลุ่มของข้อมูลที่มีความสัมพันธ์กันนำมาเก็บรวบรวมเข้าไว้ด้วยกันอย่างมีระบบและข้อมูลที่ประกอบกันเป็นฐานข้อมูลนั้น ต้องตรงตามวัตถุประสงค์การใช้งานขององค์กรด้วยเช่นกัน เช่น ในสำนักงานก็รวบรวมข้อมูลตั้งแต่หมายเลขโทรศัพท์ของผู้ที่มาติดต่อจนถึงการเก็บเอกสารทุกอย่างของสำนักงาน

เอนทิตี้  (ENTITY)

หมายถึง  ชื่อของสิ่งใดสิ่งหนึ่ง เปรียบเสมือนคำนาม  อาจได้แก่  คน  สถานที่  สิ่งของ  การกระทำ  ซึ่งต้องการจัดเก็บข้อมูลไว้  เช่น เอนทิตี้ของลูกค้า เอนทิตี้ของพนักงาน เป็นต้น  บางเอนทิตี้อาจจะไม่มีความหมายเลย  หากขาดเอนทิตี้อื่นในฐานข้อมูล  เช่น  เอนทิตี้ประวัตินักสึกษาจะไม่มีความหมาย  หากปราศจากเอนทิตี้นักศึกษา  เพราะจะไม่ทราบว่าเป็นประวัติของนักศึกษาคนใด  http://kaewnamlovely.blogspot.com/p/8-2554.html

แอททริบิวต์  (ATTRIBUTE)

หมายถึง รายละเอียดข้อมูลที่แสดงลักษณะและคุณสมบัติของเอนทิตี้หนึ่งๆ เช่น เอนทิตี้นักศึกษา ประกอบด้วย แอททริบิวต์รหัสนักศึกษา ชื่อนักเรียนศึกษา ที่อยู่นักศึกษา  เป็นต้น

ความสัมพันธ์ (Relationship)

หมายถึง ความสัมพันธ์ระหว่าง Entity ต่างๆ ในระบบ เช่น ในระบบการขายตรง จะ ประกอบด้วย Entity พนักงาน และ Entity ลูกค้า ซึ่งมีความสัมพันธ์กัน แบบหนึ่งต่อกลุ่ม (One-to-Many) หมายความว่า พนักงาน  1 คนสามารถ    มีลูกค้าได้หลาย  ๆ คน ความสัมพันธ์ระหว่าง Entity ที่กล่าวมาสามารถแสดงได้ ดังรูป

ฟิลด์ (Field)

หน่วยข้อมูลที่ประกอบมาจากอักขระต่างๆ หลายอักขระ เช่น ชื่อ ที่อยู่ ที่ประกอบด้วยอักขระหลายๆ ตัว เป็นต้น จากความหมายนี้  Field  คือ Attribute นั่นเอง เราจะใช้คำนี้ เมื่อเราอ้างอิงถึงAttribute ในทางคอมพิวเตอร์ ส่วน Attribute เราจะใช้เมื่ออ้างอิงถึง Entity

เรคคอร์ด

เรคอร์ด (Record)

จะเป็นการนำ Field หลายๆ  Field มารวมกัน เช่น  Record ลูกค้า ก็จะเก็บ Field ข้อมูลของลูกค้า

ทั้งหมดที่ประกอบด้วย เช่น ชื่อ ที่อยู่ หมายเลขโทรศัพท์ เป็นต้น

  ตาราง

ตาราง (Table) จะเป็นการนำ Record หลายๆ  Record มารวมกัน เช่น ตารางลูกค้า จะประกอบด้วย Record ของลูกค้าที่เป็นลูกค้าแต่ละราย ตัวอย่างตารางลูกค้า เป็นดังรูป

ฐานข้อมูลและระบบสารสนเทศ

องค์ประกอบระบบฐานข้อมูลประกอบด้วย 5 องค์ประกอบที่สำคัญ คือฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์ ข้อมูล บุคลากร และผู้ใช้งาน ซึ่งจะมีลักษณะคล้ายๆ กันกับองค์ประกอบของการคอมพิวเตอร์ ดังนี้

  1. ฮาร์ดแวร์หมายถึง เครื่องคอมพิวเตอร์หรือองค์ประกอบต่างๆ ที่มีความสำคัญต่อการทำงาน, อุปกรณ์ต่อพ่วงตลอดจนอุปกรณ์ทุกชนิดด้านเครือข่าย
  2. ซอฟต์แวร์หมายถึง ชุดคำสั่งที่สามารถสั่งให้เครื่องคอมพิวเตอร์สามารถทำงานได้แบ่งออกเป็น 2 ประเภทหลักคือ ซอฟต์แวร์ระบบ และซอฟต์แวร์ประยุกต์

2.1 ซอฟต์แวร์ระบบ คือชุดคำสั่งที่ถูกสร้างขึ้นเพื่อทำหน้าที่เป็นตัวประสานงานควบคุมการทำงานของอุปกรณ์ต่างๆ จัดสรรทรัพยากรที่มีอยู่บนระบบให้แก่โปรแกรมประยุกต์สามารถทำงานได้ในการทำงานนี้ระบบจัดการฐานข้อมูลจำเป็นต้องพึ่งพาระบบปฏิบัติการเช่นหน้าที่ในการอ่านเขียนข้อมูลลงบนหน่วยความจำสำรองหรือการจัดการหน่วยความจำหลักตลอดจนรูปแบบปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้ใช้เป็นต้น

2.2 ซอฟต์แวร์ประยุกต์ คือชุดคำสั่งที่ถูกสร้างเพื่อทำหน้าที่ประการใดประการหนึ่ง เช่น โปรแกรมประยุกต์ทางด้านสำนักงาน โปรแกรมเฉพาะด้านที่ถูกพัฒนาเพื่องานใดงานหนึ่งโดยเฉพาะ โปรแกรมประยุกต์ที่เกี่ยวข้องกับฐานข้อมูลจะถูกเขียนให้มีความสามารถในการเชื่อมต่อและเรียกใช้งานฐานข้อมูลได้หรือเป็นเว็บแอพพลิเคชั่นที่มีคุณลักษณะดังกล่าว

  1. ข้อมูลหน่วยของข้อมูลที่เล็กที่สุดบนระบบคอมพิวเตอร์คือบิตเมื่อกลุ่มของบิตรวมตัวกันจะได้อักขระ  เมื่ออักขระหลายๆ ตัวรวมกันจะได้เป็นกลุ่มอักขระที่เรียกว่าฟิลด์ และหลายฟิลด์รวมกันเพื่อทำหน้าที่สื่อถึงสิ่งใดสิ่งหนึ่งที่จัดเก็บจะเรียกว่าเรคคอร์ด  ในโมเดลฐานข้อมูลแบบเชิงสัมพันธ์นั้นฟิลด์หมายถึงแอททริบิวส์  ส่วนเรคคอร์ดคือทัพเพิล
  2. บุคลากร บุคลากรที่มีความเกี่ยวข้องกับระบบฐานข้อมูลสามารถแบ่งออกเป็น 3 กลุ่มคือผู้บริหารและผู้จัดการฐานข้อมูล ผู้พัฒนาโปรแกรมประยุกต์ และผู้ใช้งานกล่าวคือ

4.1 ผู้บริหารและผู้จัดการฐานข้อมูล มีหน้าที่สำคัญคือการจัดการกับฐานข้อมูลควบคุมระบบรักษาความปลอดภัยของฐานข้อมูลวางแผนป้องกันความผิดพลาดอันอาจจะก่อให้เกิดความเสียหายกับระบบฐานข้อมูล

4.2 ผู้ออกแบบฐานข้อมูล มีหน้าที่ในการรับผิดชอบเกี่ยวกับการออกแบบฐานข้อมูลให้ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ เช่น การกำหนดมุมมองของผู้ใช้แต่ละคนการกำหนดรีเลชั่นความสัมพันธ์ของรีเลชั่นเ ป็นต้น

4.3 นักวิเคราะห์ระบบ ออกแบบวิเคราะห์ระบบและออกแบบโปรแกรมประยุกต์ที่แสดงถึงขั้นตอนในการทำงานของโปรแกรมประยุกต์การออกแบบอินเตอร์เฟช เพื่อติดต่อกับผู้ใช้งาน เป็นต้น

4.4 นักเขียนโปรแกรม ทำหน้าที่เขียนโปรแกรมประยุกต์ด้วยภาษาคอมพิวเตอร์ตามที่นักวิเคราะห์ระบบได้ออกแบบไว้ให้สามารถติดต่อและเข้าใช้ฐานข้อมูลได้

  1. ผู้ใช้งาน แบ่งออกเป็น 2 กลุ่มคือกลุ่มปฏิบัติการและกลุ่มบริหาร

5.1 ผู้ใช้งานระดับปฏิบัติการ เป็นกลุ่มผู้ใช้งานที่มีความเกี่ยวข้องกับการเพิ่มแก้ไขลบข้อมูลที่จะป้อนเข้าสู่ระบบฐานข้อมูลมากที่สุดตลอดจนอาจมีหน้าที่รับผิดชอบในการจัดทำรายงานเบื้องต้นเพื่อส่งต่อให้ผู้บริหารใช้เพื่อการตัดสินใจหรือวางแผน

5.2 ผู้ใช้งานระดับบริหารเป็นกลุ่มที่ใช้ข้อมูลของระบบฐานข้อมูลเพื่อไปใช้เป็นแนวทางในการตัดสินใจเชิงธุรกิจหรือตามวัตถุประสงค์ของหน่วยงานอาจไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการบันทึกเพิ่มแก้ไขข้อมูลโดยตรง

 จงอธิบายความหมายของ Primary Key

หมายถึง คีย์หลักที่กำหนดจากฟิลด์ที่ไม่มีข้อมูลซ้ำซ้อน (unique) ใน Table เดียวกันโดยเด็ดขาด  และจะต้องมีค่าเสมอ จะเป็นค่าว่าง (Null) ไม่ได้  สามารถนำมาจัดเรียงลำดับและแยกแยะข้อมูลแต่ละรายการออกจากกันได้เป็นอย่างดี

  1. จงอธิบายความหมายของ Foreign Key

หมายถึง  คีย์นอกเป็นคีย์ที่เชื่อมTable ที่เกี่ยวข้องหรือมีความสัมพันธ์กัน เช่น ในTable หลักสูตร กำหนดให้รหัสวิชาเป็น Primary Key และทำการเชื่อมโยงไปยัง Table ลงทะเบียนเพื่อต้องการทราบชื่อวิชาและหน่วยกิตที่นักเรียนลงทะเบียน  โดยกำหนดฟิลด์  รหัสวิชา  ใน Table ลงทะเบียนเป็น Foreign Key ในลักษณะความสัมพันธ์ One to Manyหมายความว่า รหัสวิชา  1 วิชา สามารถให้นักเรียนลงทะเบียนได้มากกว่า 1 คน  ดังนั้นจึงมีรหัสซ้ำกันได้ใน Table ลงทะเบียน

  1. การกำหนด Field ใด Field หนึ่งให้เป็น คีย์หลัก ต้องมีคุณสมบัติอะไรบ้าง

ทำให้คีย์เล็กที่สุดเท่าที่เป็นไปได้ เนื่องจากคีย์นี้ใช้เพื่อเชื่อมโยงตารางเข้าด้วยกันดังนั้นส่วนที่ใช้เป็น Primary key จะต้องมีการซ้ำกันของข้อมูลกับ Foreign key ของอีก ตารางหนึ่ง ดังนั้นถ้าขนาดของคีย์เล็กการทำงานจะง่ายกว่า เช่น การพิมพ์รหัสประจำตัวจะง่ายกว่าการพิมพ์ชื่อและนามสกุล

พยายามใช้คีย์ที่เป็นตัวเลข โดยเฉพาะเลขจำนวนเต็มซึ่งจะทำงานได้ดีที่สุด นี้เป็นเรื่องเทคนิคในการจัดเก็บข้อมูลจำนวนเต็มจะใช้เนื้อที่เก็บน้อยกว่าข้อความที่มีขนาดเท่ากันและทำงานได้มีประสิทธิภาพสูงกว่า

เมื่อกำหนดคีย์แล้ว ให้ปล่อยคงไว้ การเปลี่ยนแปลงคีย์อาจเสี่ยงต่อการทำลายการเชื่อมโยงระหว่างตารางที่ทำไว้

อย่าใช้คีย์ซ้ำ แม้ว่าข้อมูลเดิมจะถูกยกเลิกไป เช่น หากมีพนักงานลาออกไป ไม่ควรใส่เลขประจำตัวของคนใหม่โดยใช้หมายเลขของคนเก่า ให้ใช้เลขประจำตัวใหม่แทน

  1. Field ที่มีคุณสมบัติเป็น Primary Key ได้แต่ไม่ได้เป็น Primary Key เราจะเรียก Field นั้นเป็นคีย์อะไร

Primary Key คีย์หลัก (Primary Key :PK)

  1. จงอธิบายความหมายของความสัมพันธ์แบบ One – to – Many มาให้เข้าใจ

หนึ่งต่อกลุ่ม (One – To – Many) เป็นความสัมพันธ์แบบที่ ข้อมูลในเขตข้อมูลหนึ่งระเบียน ในตารางหนึ่ง มีค่าตรงกับ ข้อมูลในเขตข้อมูลของอีกตารางหนึ่งได้หลายระเบียน

  1. เหตุใดจึงต้องมีการออกแบบฐานข้อมูลจงอธิบาย

ฐานข้อมูลที่ได้รับการออกแบบอย่างถูกต้องจะทำให้คุณสามารถเข้าถึงข้อมูลที่ถูกต้องและเป็นข้อมูลล่าสุด เนื่องจากการออกแบบที่ถูกต้องเป็นสิ่งจำเป็นที่จะบรรลุวัตถุประสงค์ในการทำงานกับฐานข้อมูล ดังนั้นจึงจำเป็นที่ต้องใช้เวลาในการเรียนรู้เกี่ยวกับหลักการการออกแบบที่ดี เพื่อว่าในท้ายที่สุด คุณจะได้รับฐานข้อมูลที่ตรงตามความต้องการของคุณ และสามารถแก้ไขได้โดยง่าย

 

อ้างอิง

 

http://mpnn2551.net46.net/Subjects/DBMS32042014/dataBaseIntro.html

https://www.l3nr.org/posts/503782

http://dictionary.sanook.com/search/dict-computer/field

http://dictionary.sanook.com/search/dict-computer/record

http://dictionary.sanook.com/search/dict-computer/file

http://cptd.chandra.ac.th/%5Cselfstud%5Cdbsystem%5C%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%9A%E0%B8%9A%E0%B8%90%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%82%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%A1%E0%B8%B9%E0%B8%A5%E0%B8%84%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%AD%E0%B8%B0%E0%B9%84%E0%B8%A3.html