เงินได้พึงประเมินประเภทที่ 8 มีอะไรบ้าง

[ประเด็นสำคัญ] เงินได้พึงประเมิน คือเงิน ทรัพย์สิน หรือผลประโยชน์ใด ๆ ที่เราต้องเสียภาษีตามที่กฎหมายกำหนด

ภาษีเงินได้ ถือเป็นภาษีชนิดหนึ่งที่รัฐเรียกเก็บจากผู้มีเงินได้ทุกคนในประเทศ
โดยการเก็บภาษีก็จะมีอัตราการเรียกเก็บที่แตกต่างกันไปตามประเภทของรายได้

ซึ่งรายได้ที่ต้องเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดานั้น จะถูกเรียกว่า เงินได้พึงประเมิน หรือก็คือ
เงิน ทรัพย์สิน หรือผลประโยชน์ใด ๆ ที่เราต้องเสียภาษีตามที่กฎหมายกำหนด

ยกเว้นว่าจะมีการระบุไว้ว่าเป็นเงินที่ได้รับการยกเว้นภาษี

โดยเงินได้พึงประเมิน สามารถแบ่งได้เป็น 8 ประเภท ดังนี้

ประเภทที่ 1 คือ เงินที่ได้จากการจ้างแรงงาน

เป็นเงินได้ที่อยู่ในรูปแบบเงินเดือน หรือเงินประจำ รวมถึงผลประโยชน์อื่น ๆ เช่น โบนัส เบี้ยเลี้ยง หรือเงินค่าที่พักที่ได้รับจากนายจ้าง

โดยเงินได้ก้อนนี้ จะถูกนำไปหักค่าใช้จ่าย 50% ของเงินได้ แต่ไม่เกิน 100,000 บาท

ประเภทที่ 2 คือ เงินที่ได้จากหน้าที่หรือตำแหน่งงานที่ทำ หรือการรับจ้างทำงาน
เช่น ค่าจ้างทั่วไป ค่านายหน้า ค่าตอบแทนต่าง ๆ
ที่ไม่ได้อยู่ในฐานะเจ้านายกับลูกน้อง

โดยหักค่าใช้จ่าย 50% ของเงินได้ แต่ไม่เกิน 100,000 บาท เช่นเดียวกับเงินได้ประเภทที่ 1

อย่างไรก็ดี หากเรามีเงินได้ทั้งจากประเภทที่ 1 และประเภทที่ 2 จะต้องนำมาคิดรวมกัน และหักค่าใช้จ่ายได้ 50% ซึ่งไม่เกิน 100,000 บาทเท่านั้น

ประเภทที่ 3 คือ เงินจากค่าลิขสิทธิ์และทรัพย์สินทางปัญญา
โดยหักค่าใช้จ่าย 50% ของเงินได้ แต่ไม่เกิน 100,000 บาท

นอกจากนี้ยังรวมเงินที่ได้จากพินัยกรรม นิติกรรมอย่างอื่น และคำพิพากษาของศาล
อย่างไรก็ตาม เงินที่กล่าวมานั้น ไม่สามารถนำมาหักค่าใช้จ่ายได้

ประเภทที่ 4 คือ เงินที่ได้ในรูปของดอกเบี้ยและเงินปันผล
ซึ่งกำไรที่ได้จากการซื้อขายคริปโทเคอร์เรนซีก็อยู่ในกลุ่มนี้เช่นกัน

โดยเงินได้ประเภทนี้ ไม่สามารถนำไปหักค่าใช้จ่ายได้เลย
แต่ยังมีดอกเบี้ยบางประเภทที่ไม่ต้องยื่นภาษี เช่น ดอกเบี้ยสลากออมสิน
หรือดอกเบี้ยเงินฝากออมทรัพย์ที่ได้รับจากสหกรณ์ออมทรัพย์

ประเภทที่ 5 คือ เงินที่ได้จากการให้เช่าทรัพย์สินต่าง ๆ
รวมถึงเงินที่ได้จากการผิดสัญญาเช่าซื้อทรัพย์สิน และการผิดสัญญาซื้อขายเงินผ่อน

โดยหักค่าใช้จ่ายแบบเหมา 10-30% ของเงินได้ หรือหักตามจริง

ประเภทที่ 6 คือ เงินที่ได้จากวิชาชีพอิสระ ประกอบไปด้วย 6 อาชีพ
ได้แก่ การประกอบโรคศิลปะ กฎหมาย วิศวกรรม สถาปัตยกรรม บัญชี และประณีตศิลปกรรม

โดยการประกอบโรคศิลปะ สามารถหักค่าใช้จ่ายแบบเหมา 60% ของรายได้ หรือหักตามจริง
ขณะที่อาชีพอื่น ๆ หักค่าใช้จ่ายแบบเหมาได้เพียง 30% ของรายได้ หรือหักตามจริง

ประเภทที่ 7 คือ เงินที่ได้จากการรับเหมา ซึ่งต้องรวมทั้งค่าแรงและเงินค่าของ
โดยนำไปหักค่าใช้จ่ายได้ 60% ของเงินได้ หรือหักตามค่าใช้จ่ายจริงก็ได้

หากเป็นการรับเหมาเฉพาะค่าแรง แต่ลูกค้าซื้อวัสดุและอุปกรณ์เอง จะไม่ถือว่าเป็นเงินได้ประเภทที่ 7 แต่จะเป็นเงินได้ประเภทที่ 2 เพราะเป็นการว่าจ้างธรรมดา

จากคำถามนี้ ขออธิบายแบบชัด ๆ ครับว่า การหักค่าใช้จ่ายของบุคคลธรรมดา กรณีประกอบในรูปแบบการทำธุรกิจ หรือมีเงินได้พึงประเมินประเภทที่ 8 ที่สามารถหักแบบเหมา 60% ได้นั้น จะต้องเป็นไปตามที่กำหนดไว้ ในพระราชกฤษฎีกาฉบับที่ 11 (มาตรา 8) โดยกำหนดไว้ทั้งหมด 43 ประเภท ซึ่งมี 42 ประเภทสามารถหักแบบเหมา 60% และอีก 1 ประเภทที่เหมาแบบมีเพดาน (นั่นคือ กรณีของนักแสดงสาธารณะ)

“มาตรา 8  เงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 (8) แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 10) พ.ศ. 2496 ยอมให้หักค่าใช้จ่าย
เป็นการเหมา ดังต่อไปนี้

                    (1) การเก็บค่าต๋งหรือค่าเกมจากการพนัน การแข่งขันหรือการเล่นต่าง ๆ ร้อยละ 60
                    (2) การถ่าย ล้าง อัด หรือขยายรูป ภาพยนตร์ รวมทั้งการขายส่วนประกอบ ร้อยละ 60
                    (3) การทำกิจการคานเรือ อู่เรือ หรือซ่อมเรือที่มิใช่ซ่อมเครื่องจักร เครื่องกล ร้อยละ 60
                    (4) การทำรองเท้า และเครื่องหนังแท้หรือหนังเทียม รวมทั้งการขายส่วนประกอบ ร้อยละ 60
                    (5) การตัด เย็บ ถัก ปักเสื้อผ้าหรือสิ่งอื่น ๆ รวมทั้งการขายส่วนประกอบ ร้อยละ 60
                    (6) การทำ ตกแต่ง หรือซ่อมแซมเครื่องเรือน รวมทั้งการขายส่วนประกอบ ร้อยละ 60
                    (7) การทำกิจการโรงแรมหรือภัตตาคาร หรือการปรุงอาหาร หรือเครื่องดื่มจำหน่าย ร้อยละ 60
                    (8) การดัด ตัด แต่งผม หรือตกแต่งร่างกาย ร้อยละ 60
                    (9) การทำสบู่ แชมพู หรือเครื่องสำอาง ร้อยละ 60
                    (10) การทำวรรณกรรม ร้อยละ 60
                    (11) การค้าเครื่องเงิน ทอง นาก เพชร พลอย หรืออัญมณีอื่น ๆ รวมทั้งการขายส่วนประกอบ ร้อยละ 60
                    (12) การทำกิจการสถานพยาบาลตามกฎหมายว่าด้วยสถานพยาบาลเฉพาะที่มีเตียงรับผู้ป่วยไว้ค้างคืนรวมทั้งการรักษาพยาบาลและการจำหน่ายยา ร้อยละ 60
                    (13) การโม่หรือย่อยหิน ร้อยละ 60
                    (14) การทำป่าไม้ สวนยาง หรือไม้ยืนต้น ร้อยละ 60
                    (15) การขนส่งหรือรับจ้างด้วยยานพาหนะ ร้อยละ 60
                    (16) การทำบล็อก และตรา การรับพิมพ์ หรือเย็บสมุด เอกสาร รวมทั้งการขายส่วนประกอบ ร้อยละ 60
                    (17) การทำเหมืองแร่ ร้อยละ 60
                    (18) การทำเครื่องดื่มตามกฎหมายว่าด้วยภาษีสรรพสามิต ร้อยละ 60
                    (19) การทำเครื่องกระเบื้อง เครื่องเคลือบ เครื่องซีเมนต์ หรือดินเผา ร้อยละ 60
                    (20) การทำหรือจำหน่ายกระแสไฟฟ้า ร้อยละ 60
                    (21) การทำน้ำแข็ง ร้อยละ 60
                    (22) การทำกาว แป้งเปียกหรือสิ่งที่มีลักษณะทำนองเดียวกันและการทำแป้งชนิดต่าง ๆ ที่มิใช่เครื่องสำอาง ร้อยละ 60
                    (23) การทำลูกโป่ง เครื่องแก้ว เครื่องพลาสติก หรือเครื่องยางสำเร็จรูป ร้อยละ 60
                    (24) การซักรีด หรือย้อมสี ร้อยละ 60
                    (25) การขายของนอกจากที่ระบุไว้ในข้ออื่นซึ่งผู้ขายมิได้เป็นผู้ผลิต ร้อยละ 60
                    (26) รางวัลที่เจ้าของม้าได้จากการส่งม้าเข้าแข่ง ร้อยละ 60
                    (27) การรับสินไถ่ทรัพย์สินที่ขายฝากหรือการได้กรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินโดยเด็ดขาดจากการขายฝาก ร้อยละ 60
                    (28) การรมยาง การทำยางแผ่น หรือยางอย่างอื่นที่มิใช่ยางสำเร็จรูป ร้อยละ 60
                    (29) การฟอกหนัง ร้อยละ 60
                    (30) การทำน้ำตาล หรือน้ำเหลืองของน้ำตาล ร้อยละ 60
                    (31) การจับสัตว์น้ำ ร้อยละ 60
                    (32) การทำกิจการโรงเลื่อย ร้อยละ 60
                    (33) การกลั่นหรือหีบน้ำมัน ร้อยละ 60
                    (34) การให้เช่าซื้อสังหาริมทรัพย์ที่ไม่เข้าลักษณะตามมาตรา 40 (5) แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 16) พ.ศ. 2502 ร้อยละ 60
                    (35) การทำกิจการโรงสีข้าว ร้อยละ 60
                    (36) การทำเกษตรกรรมประเภทไม้ล้มลุกและธัญชาติ ร้อยละ 60
                    (37) การอบหรือบ่มใบยาสูบ ร้อยละ 60
                    (38) การเลี้ยงสัตว์ทุกชนิด รวมทั้งการขายวัตถุพลอยได้ ร้อยละ 60
                    (39) การฆ่าสัตว์จำหน่าย รวมทั้งการขายวัตถุพลอยได้ ร้อยละ 60
                    (40) การทำนาเกลือ ร้อยละ 60
                    (41) การขายเรือกำปั่นหรือเรือที่มีระวางตั้งแต่หกตันขึ้นไป เรือกลไฟหรือเรือยนต์มีระวาง ตั้งแต่ห้าตันขึ้นไป หรือแพ ร้อยละ 60
                    (42) การขายที่ดินเงินผ่อนหรือการให้เช่าซื้อที่ดิน ร้อยละ 60
                   
                    การแสดงของนักแสดงละคร ภาพยนตร์ วิทยุหรือโทรทัศน์ นักร้อง นักดนตรี นักกีฬาอาชีพ หรือนักแสดงเพื่อความบันเทิงใด ๆ
                          (ก) สำหรับเงินได้ส่วนที่ไม่เกิน 300,000 บาท ร้อยละ 60
                          (ข) สำหรับเงินได้ส่วนที่เกิน 300,000 บาท ร้อยละ 40

                    การหักค่าใช้จ่ายตาม (ก) และ (ข) รวมกันต้องไม่เกิน 600,000 บาท”
(แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกา (ฉบับที่ 629) พ.ศ. 2560 ให้ใช้บังคับสำหรับเงินได้พึงประเมินประจำปีภาษี พ.ศ. 2560 ที่จะต้องยื่นรายการใน พ.ศ. 2561 เป็นต้นไป)

                    “เว้นแต่ผู้มีเงินได้จากกิจการตามที่ระบุไว้ในวรรคหนึ่ง แสดงหลักฐานต่อเจ้าพนักงานประเมินและพิสูจน์ได้ว่ามีค่าใช้จ่ายมากกว่านั้น ก็ยอมให้หักค่าใช้จ่ายได้ตามความจำเป็นและสมควร ทั้งนี้ ให้นำมาตรา 65 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 21) พ.ศ. 2517 และมาตรา 65 ตรี แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 16) พ.ศ. 2502 มาใช้บังคับโดยอนุโลม แต่ถ้าตามหลักฐานที่นำมาพิสูจน์นั้นปรากฏว่ามีรายจ่ายที่หักได้ตามกฎหมายน้อยกว่าอัตราค่าใช้จ่ายที่กำหนดไว้ข้างต้นก็ให้ถือว่ามีค่าใช้จ่ายเพียงเท่าหลักฐานที่นำมาพิสูจน์”

ดังนั้น ถ้าเราเป็นบุคคลธรรมดา ที่ทำธุรกิจแล้วมีเงินได้ประเภทที่ 8 จะต้องเช็คก่อนว่าสามารถหักเหมาได้ไหม เพราะไม่เช่นนั้นแล้วต้องหักค่าใช้จ่าย ตามที่เกิดขึ้นจริง (จำเป็นและสมควร) เท่านั้นครับ ซึ่งระบุไว้ในมาตรา 8 ทวิ ดังนี้ครับ

“มาตรา 8 ทวิ เงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 (8) แห่งประมวลรัษฎากรซึ่งได้แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่10) พ.ศ. 2496 ที่มิได้ระบุไว้ในมาตรา 8 ให้หักค่าใช้จ่ายตามความจำเป็นและสมควร ทั้งนี้ ให้นำมาตรา 65 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 21) พ.ศ. 2517 และมาตรา 65 ตรี แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 16) พ.ศ. 2506 มาใช้บังคับโดยอนุโลม”


สุดท้ายนี้ พรี่หนอมฝากทุกคนติดตามบทความภาษีที่ บล็อกภาษีข้างถนน และแฟนเพจ TAXBugnoms ด้วยนะครับ ขอบคุณครับผม 

เงินได้พึงประเมินแบ่งออกเป็นกี่ประเภท อะไรบ้าง

เงินได้พึงประเมินแบ่งออกเป็น 8 ประเภท แต่ละประเภทมีรายละเอียด และนำมาคิดเป็นค่าใช้จ่ายเพื่อหักลบและนำไปคำนวณภาษีแตกต่างกัน

ข้อใดคือเงินได้ 8 ประเภทตามประมวลกฎหมายรัษฎากร

เงินได้ประเภทที่ 8 คือ เงินได้พึงประเมินที่ไม่สามารถจัดให้เข้ากลุ่มเงินได้ประเภทที่ 1 – 7 ได้ และ ไม่ได้รับยกเว้นภาษี ด้วย จึงยังทำให้ผู้รับเงินมีหน้าที่ต้องเสีย ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา อยู่ดี ในวงการภาษีบางครั้งก็เรียกว่า เงินได้ 40(8) 1 เช่น ขายของออนไลน์ เปิดร้านอาหาร กำไรจากการขายกองทุน LTF/RMF เงินส่วนแบ่งกำไรจาก ...

เงินได้พึงประเมินประเภทใดที่กฎหมายไม่ยอมให้หักค่าใช้จ่ายใด ๆ ทั้งสิ้น

4. เงินได้พึงประเมินประเภทที่ 4 ในการคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา กฎหมายไม่ยอมให้หัก ค่าใช้จ่ายใดๆ ทั้งสิ้น

ข้อใดเป็นเงินได้พึงประเมินประเภทที่ 2

โดย ผศ.ดร.ยุทธนา ศรีสวัสดิ์ อาจารย์ประจำวิชากฎหมายภาษีอากร เงินได้ประเภทที่ 2 คือ เงินได้พึงประเมิน ในรูปของ เงินค่าจ้างทั่วไป ค่าคอมมิชชั่น หรือค่าตอบแทนที่คุณไม่ได้อยู่ในฐานะเจ้านายลูกน้อง ที่ทำให้ผู้รับเงินมีหน้าที่ต้องเสีย ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ในวงการภาษีบางครั้งก็เรียกว่า เงินได้ 40(2)