ความสมดุลของสุขภาพกายและสุขภาพจิตหมายถึงอะไร

8.3 วิธีสร้างสมดุลของสุขภาพกายและสุขภาพจิต

สุขภาพจิตมีความสำคัญไม่แพ้สุขภาพร่างกาย เพราะจะส่งผลต่อความคิด ความรู้สึก รวมถึงการรับมือกับความเครียดและปัญหาต่าง ๆ ในชีวิต ซึ่งใคร ๆ ก็สามารถมีสุขภาพจิตที่ดีได้ เพียงปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิตบางอย่าง และปรับมุมมองที่มีต่อโลกให้เป็นไปในแง่ดี เพื่อให้มีความสุขกับชีวิตมากยิ่งขึ้น

ความสมดุลของสุขภาพกายและสุขภาพจิตหมายถึงอะไร

นิยามของสุขภาพจิตที่ดี

สุขภาพจิตที่ดี คือ สภาวะจิตใจที่เป็นสุข มีความรู้สึกที่ดีต่อตนเองและผู้อื่น มีวุฒิภาวะทางอารมณ์ สามารถปรับตัวเพื่อให้ผ่านพ้นปัญหาหรือความเปลี่ยนแปลงใด ๆ ไปได้ และใช้ชีวิตในสังคมได้เป็นปกติ สุขภาพจิตที่ดีจึงเป็นสิ่งสำคัญในการดำเนินชีวิตไม่ว่าจะอยู่ในช่วงวัยใดก็ตาม ทั้งวัยรุ่น วัยผู้ใหญ่ วัยสูงอายุ หรือแม้กระทั่งวัยเด็ก

โดยผู้เชี่ยวชาญด้านจิตวิทยาชี้ว่า ผู้ที่มีสุขภาพจิตดีมักมีลักษณะดังนี้

  • ไม่ค่อยรู้สึกสิ้นหวัง
  • เข้าสู่โหมดอารมณ์แง่ลบได้ยาก และปรับอารมณ์ให้กลับมาเป็นปกติได้เร็ว
  • มีแนวโน้มจะนึกถึงช่วงเวลาที่ดีมากกว่าช่วงเวลาที่เลวร้าย
  • เข้าใจถึงความหมายของชีวิต และสามารถใช้ชีวิตอย่างมีจุดมุ่งหมาย
  • ให้ความสนใจกับสิ่งที่สำคัญจริง ๆ และคำนึงถึงการคงไว้ซึ่งอารมณ์และสุขภาพจิตที่ดี
  • มีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับผู้อื่นมากกว่าผู้ที่มีสุขภาพจิตไม่ดี

นอกจากนี้ มีงานวิจัยพบว่าการมีสุขภาพจิตดีและการมองโลกในแง่ดีนั้นสัมพันธ์กับสุขภาพร่างกายที่ดีขึ้นด้วย โดยอาจช่วยลดความดันโลหิต ลดความเสี่ยงในการเกิดโรคหัวใจ ทั้งยังช่วยให้มีน้ำหนักและระดับน้ำตาลในเลือดอยู่ในเกณฑ์ที่ดีต่อสุขภาพมากขึ้น มีอายุยืนยาวขึ้น และมีปัญหาสุขภาพที่รบกวนการใช้ชีวิตประจำวันน้อยลง อย่างไรก็ตาม อาจยังสรุปชัดเจนไม่ได้ว่าสุขภาพจิตที่ดีจะนำไปสู่สุขภาพโดยรวมที่ดีขึ้น หรือการมีสุขภาพกายที่ดีเป็นปัจจัยหนึ่งที่ทำให้อารมณ์ดี อีกทั้งอาจมีปัจจัยอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องรวมอยู่ด้วยเช่นกัน

เคล็ดลับการมีสุขภาพจิตที่ดี

การมีสุขภาพจิตดีจะช่วยส่งเสริมสุขภาพที่ดีโดยรวม แต่นิยามคำว่าสุขภาพจิตดีไม่ได้หมายความว่าต้องไม่เคยมีความคิดหรือความรู้สึกในแง่ลบเลย เพราะอารมณ์เศร้า เสียใจ หงุดหงิด หรือโกรธ ล้วนเกิดขึ้นได้เป็นปกติ อีกทั้งความรู้สึกแง่ลบนั้นใช่ว่ามีแต่ข้อเสีย เพราะในระยะสั้นจะช่วยให้เรารู้ว่าสิ่งใดเป็นปัญหาและควรจัดการกับมันอย่างไรเพื่อให้เอาตัวรอดผ่านพ้นไปได้ ทว่าในระยะยาวก็ควรรู้จักปรับทัศนคติเพื่อรักษาสมดุลระหว่างแง่บวกกับแง่ลบด้วย และคงไว้ซึ่งสุขภาพจิตที่ดี ไม่ปล่อยให้ความรู้สึกในแง่ลบส่งผลให้ตัวเองจมอยู่กับอดีต หรือวิตกกังวลถึงอนาคตจนไม่มีความสุขกับชีวิตในปัจจุบัน

ทั้งนี้ สุขภาพจิตที่ดีไม่ใช่นิสัยหรือสิ่งที่มีติดตัวมาแต่กำเนิด แต่เป็นสิ่งที่ทุกคนสร้างได้ด้วยตนเอง เพียงปรับเปลี่ยนมุมมอง และหมั่นเติมพลังบวกให้ตัวเองตามคำแนะนำต่อไปนี้

สยามรัฐออนไลน์ 12 ธันวาคม 2559 10:52 น. ผีเสื้อกระพือปีก

ชัยวัฒน์ สุรวิชัย - วันเวลากระแสน้ำไม่คอยท่า ธรรมชาติของการเกิดแก่เจ๊บตาย อันเป็นของจริงแน่แท้ของมนุษย์ที่ไม่มีใครฝืนได้ มาเยือนปู่จิ๊บ เช่นเดียวกับคนอื่นๆ ที่เคารพรัก สนิทสนม คุ้นเคย ไม่ว่า คนรุ่นก่อน ที่จากไป และยังอยู่ อาจารย์คึกฤทธิ์ ปราโมช พี่ไขแสง สุกใส อ.ทวี หมื่นนิกร พี่นพพร สุวรรณพานิช ท่านอานันท์ ปันยารชุน นพ.ประเวศ วะสี ดร.ภูษณ ปรีมาโนช พี่ประพันธ์ศักดิ์ กมลเพชร อ.ธีรยุทธ บุญมี ดร.ประสาร ไตรรัตน์วรกุล ดร.เทียนชัย วงศ์ชัยสุวรรณ ยุค ศรีอาริยะ สมภพ บุญนาค ไชยวัฒน์ สินสุวงค์ สหายสุข ชมจันทร์ ฯลฯ ปู่จิ๊บ จากคนหนุ่มแน่นแข็งแรง จากอายุ 24 ปี เมื่อเป็นกบฏเรียกร้องรัฐธรรมนูญเหตุการณ์ 14 ตุลา2516 มาถึงวันนี้ ก็เหลืออีก 3 ปี จะผ่านเข้าเลข 7 และ ไม่รู้ว่า จะอยู่ถึง 80-85 ปีหรือไม่ ก็ไม่มีใครรู้แม้แต่ตัวเอง ความจริง หากตายในวันนี้ ก็ไม่เคยเสียดายชีวิต เพราะได้ใช้ชีวิตคุ้มที่สุด ที่คนๆหนึ่ง จะได้ทำในชีวิตของตน ได้เป็นลูกที่ดีของป๋าแม่ เป็นน้องเป็นพี่ที่ดี เป็นอาน้าเป็นลุงที่ดีของครอบครัว เป็นเพื่อนที่ดีของเพื่อน เป็นสหายที่ดีของสหายร่วมรบ เป็นคนดีของประชาชนและบ้านเมือง และที่ไม่คิด คือ เป็นคน 2 รัชกาลแล้ว แต่ใจ ก็ยังอยากจะอยู่ต่อไป เพื่อดู "ความฝันความหวังและความเชื่อที่มี จะมาถึงจริงหรือไม่" อันความจริงนั้น มีเรื่องส่วนตัวอยู่บ้าง แต่เรื่องหลัก เป็นเรื่องของบ้านเมือง เรื่องอนาคตลูกหลานไทย เรื่องที่ตัวเอง ได้ให้ความสำคัญของสุขภาพทั้งตนและครอบครัว เอาใจใส่จดจ่อ หาความรู้และปฏิบัติตนมากขึ้น ก็เพื่อให้ "ตัวเองและคนที่รัก" ได้อยู่ร่วมกันไปให้นานที่สุด เท่าที่จะทำได้ มีได้ เพื่อที่จะ 1. การเปลี่ยนแปลงสังคมไทย ที่จะก้าวข้ามผ่าน “ วัฏจักรวงจรอุบาทว์ทางการเมือง “ ในรัชกาลปัจจุบัน ร.10 อันเป็นอุดมคติของคนหนุ่มสาวยุคแสวงหา ( 14 ตุลา2516 ) เสรีภาพ เสมอภาค ประชาธิปไตย ภราดรภาพฯ 2. ชีวิตของวีรชน และผู้คนที่ได้เสียสละไปในการต่อสู้เพื่อบ้านเมือง จะได้รับการตอบแทนยกย่องจากสังคม เพื่อนมิตรและประชาชน ที่ร่วมต่อสู้มาบนถนนสายใหญ่ร่วมกัน และได้แยกเป็น สาย ที่ขัดแย้งกันเผชิญหน้ากัน จะหันกลับมาจับมือ ปรับความคิดความเข้าใจ บนพื้นฐานของความเป็นมิตรสหายสู้รบ ได้ไหม เมื่อไร 3. ผู้นำภาครัฐ การเมืองสังคม ผู้นำทางศาสนา ในส่วนที่ได้ก่อกรรมใหญ่ให้กับประชาชนและประเทศชาติจะได้รับการลงโทษ ตามกระบวนการยุติธรรม ตามกฎแห่งกรรม และพลังทางสังคม หรือไม่ 4. เยาวชน คนหนุ่มสาว โดยเฉพาะเด็กไทย ที่เพิ่งเกิดในช่วงนี้ จะอยู่ดีกินดี มีอนาคตสดใส ในส่วนนี้ ปู่จิ๊บ ก็มีเรื่องส่วนตัวอยู่ด้วย คือ “ หลานน้ำผึ้ง “ ผู้ทำให้ชีวิตในยามชรา ยามเป็นปู่เป็นย่า มีสุข 5. คู่ชีวิตคู่รักญาติพี่น้องเพื่อนมิตรสหาย ที่ร่วมสู้รบ ร่วมทำงานมาเป็นช่วงๆ จะได้อยู่เห็นผลที่ได้เสียสละไปเพราะได้มีส่วนร่วมปลูกต้นไม้แห่งอนาคตของสังคมไทยร่วมกันมาต่อเนื่องยาวนาน ด้วยความยากลำบาก นี่เป็นเหตุเป็นผล ของการให้ความสำคัญ กับ "สุขภาพกายและใจ" ที่เราสร้างได้ - เรื่องการมีสุขภาพกายและใจที่ดี เป็นส่วนหนึ่งที่สำคัญจะทำให้เรา มีชีวิตอยู่ได้ด้วยดีในสังคมไทยโดยมีหลักการสำคัญที่เราต้องรับรู้ด้วยความเข้าใจ เรื่องของสุขภาพกายและใจ 1. เรื่องของสุขภาพกายและใจ เป็นเรื่องของชีวิตมนุษย์ ที่เป็นองค์รวม เกี่ยวเนื่องสัมพันธ์กับชีวิตและสังคม 2. เป็นสิ่งที่คนเรา สร้างได้ ด้วยความรู้ความเข้าใจ การใช้สติปัญญากำกับ และความเอาใจจดจ่อแก้ไขนิสัยฯ 3. ที่สำคัญ มีพลังในการสร้างสรรค์เปลี่ยนแปลงชีวิต และการมีเป้าหมายที่ใหญ่ในการที่จะอยู่ได้ยืนยาวด้วยความคิด ความฝัน ความหวัง และความเชื่อมั่น เป็นพลังชี้ขาด - คำจำกัดความของคำว่า สุขภาพกาย และสุขภาพจิต ( องค์การอนามัยโลก ) สุขภาพกาย หมายถึง สภาพของร่างกายที่เจริญเติบโต แข็งแรง สมบูรณ์ ปราศจากโรคภัยไข้เจ็บ ไม่ทุพพลภาพ อวัยวะต่างๆ อยู่ในสภาพที่ดีมีความสมบูรณ์ แข็งแรง สามารถทำงานได้ตามปกติ และ มีความสัมพันธ์กันทุกส่วนได้เป็นอย่างดีและก่อให้เกิดประสิทธิภาพในการทำงานด้วย สุขภาพจิต หมายถึง ความสามรถของบุคคลที่จะปรับตัวให้มีความสุขอยู่กับสังคมและสิ่งแวดล้อมได้ดี มีสัมพันธภาพอันดีกับบุคคลอื่น และดำรงชีวิตอยู่ได้ด้วยความสมดุลอย่างสุขสบาย รวมทั้งสนองความสามารถของตนเองในโลกที่กำลังเปลี่ยนแปลงได้ โดยไม่มีข้อขัดแย้งภายในจิตใจ และไม่ขัดกับสภาพความเป็นจริงในสังคมที่บุคคลนั้นดำรงชีพอยู่ ความมีสุขภาพกายและสุขภาพจิตที่ดีส่งผลให้ 1. สภาพร่างกายและจิตใจมีการพัฒนาการและเจริญเติบโตได้เหมาะสมกับวัย 2. การทำงานของอวัยวะต่างๆ มีความสมบูรณ์แข็งแรง และทำงานได้อย่างปกติ 3. บุคคลมีความสามารถในการปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อมได้เป็นอย่างดี - คุณค่าของภาวะความสมดุลระหว่างสุขภาพกายและสุขภาพจิต นักปราชญ์ชาวกรีกโบราณที่กล่าวถึงความเชื่อในเรื่องดังกล่าวไว้ว่า “ A Sound Mind in a Sound Body” “จิตใจที่ดีย่อมอยู่ในร่างกายที่สมบูรณ์” ถ้าคนเราร่างกายสมบูรณ์และแข็งแรงดี จิตใจก็จะเป็นสุข สดชื่น แจ่มใส เบิกบาน แต่ถ้าร่างกายอ่อนแอ เจ็บไข้ได้ป่วยบ่อยๆ จิตใจก็จะหดหู่ ไม่สดชื่นแจ่มใส ดังนั้นคนเราถ้าจิตใจไม่สบายไม่เป็นสุข มีความเครียด มีความวิตกกังวลใจ ก็จะมีผลต่อร่างกาย เช่น กินไม่ได้ นอนไม่หลับ อาหารไม่ย่อย ร่างกายซูบผอม หน้าซีดเซียวเศร้าหมอง นี่เป็นเครื่องพิสูจน์ว่าร่างกายและจิตใจแยกขาดออกจากกันไม่ได้ ฉะนั้นเราจึงควรดูแลรักษาสุขภาพร่างกายและจิตใจควบคู่กันไป สำหรับคำว่า ภาวะความสมดุลระหว่างสุขภาพกายและสุขภาพจิต จะหมายถึง สภาวะที่ร่างกายและจิตใจมีความปกติในด้านความสัมพันธ์ระหว่างกัน ในทางตรงกันข้ามหากสุขภาพส่วนใดส่วนหนึ่งมีความบกพร่องหรือมีสภาวะที่ผิดปกติไป ก็ถือว่าเกิดความไม่สมดุลระหว่างสุขภาพทั้งสองด้านขึ้น - พฤติกรรมสุขภาพของผู้สูงอายุในปัจจุบันนั้น พวกเขามีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคมากมาย เช่น โรคยอดฮิตที่เป็นกันมากอย่าง เบาหวาน โรคหัวใจ ความดันโลหิตสูง และอื่นๆ อีกนับไม่ถ้วน เรามารู้จักกับการปฏิบัติตน ตามหลักการดูแลสุขภาพที่ถูกต้องและเหมาะสมกับผู้สูงอายุ จากหลัก 5 อ. ( น.พ.ธีรพล โตพันธานนท์ รองอธิบดีกรมอนามัย ) 1.อ.อาหาร การรับประทานอาหารให้ได้หลากหลาย ครบ 5 หมู่ ทานให้เพียงพอไม่มากจนเกินไป เน้นอาหารที่ย่อยง่ายและสะอาด หลีกเลี่ยงอาหารที่มีไขมันสูง อย่างเช่น อาหารหวานจัด เค็มจัด และ เครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ จะเป็นผักผลไม้ที่มีประโยชน์กับร่างกาย และดื่มน้ำให้ได้ตามที่ร่ายกายต้องการ 2.อ.ออกกำลังกาย ควรออกกำลังกายเป็นประจำ และขยับร่างกายให้ได้ทุกสัดส่วนเพื่อกระตุ้นเต้นของหัวใจ ที่สำคัญควรทำอย่างเหมาะสมเป็นประจำด้วยนะ ไม่ว่าจะเป็น การยืดเส้นยืดสาย ที่ช่วยให้กล้ามเนื้อแข็งแรง การเดินเร็ว ขี่จักรยาน ว่ายน้ำ หรือที่ผู้สูงอายุเขาฮิตๆ กัน จะเป็นโยคะ หรือ รำไทเก๊ก ฯ 3.อ.อารมณ์ คนเราไม่ว่าจะวัยใด ก็ควรมีอารมณ์ร่าเริง แจ่มใส เสริมความสุขด้วยการยิ้ม มองโลกในแง่บวก ไม่เครียด เพื่อให้ตัวเองมีความสุข เพราะความสุขมักจะเริ่มจากที่ใจเราก่อนเสมอ หรือแม้กระทั่ง การช่วยเหลือให้คำแนะนำแก่ลูกหลาน คนรอบข้าง ด้วยสิ่งที่ดีๆ ก็เป็นวิธีทางหนึ่งที่ทำให้เรามีความสุขและมีอายุยืน 4.อ.อดิเรก ผู้สูงอายุส่วนใหญ่ มีเวลาว่างมากและหลายคนอยู่เฉยๆ ไม่รู้จะทำอะไร ลองหางานอดิเรกอะไรทำ หากิจกรรมที่เพิ่มพูนคุณค่า อาจเป็นงานอดิเรกที่ชอบ ทำแล้วเพลิดเพลินมีความสุข หรือจะลองงานอดิเรกแปลกๆ ใหม่ๆ ที่เป็นผลดีกับสุขภาพกายและจิตใจ อย่างเช่น การนั่งสมาธิ อ่านหนังสือธรรมะ ฟังเทศน์ฟังธรรม พบปะสังสรรค์ ให้คำปรึกษาแนะนำ หรือจะออกแนวๆ เหมือนวัยรุ่นเขาทำบ้างจะเป็นไรไป อย่าง การฟังเพลง เต้นลีลาศ เต้นรำ ทำอาหาร ปลูกต้นไม้ เป็นต้น 5.อ.อนามัย ควรสร้างอนามัยดีแก่ตัวเอง จะทำให้อายุยืนยาว ไม่เสี่ยงกับเชื้อโรคที่อาจทำลายสุขภาพ หมั่นใส่ใจในการตรวจรักษาสุขภาพ น้อยปีละครั้ง ปฏิบัติตนให้ถูกสุขลักษณะ การดูแลสุขภาพช่องปากและฟัน งด ละ เลิกอบายมุข บุหรี่ เหล้า ของมึนเมา และสารเสพติด อย่างไรก็ตาม การที่ผู้สูงอายุจะมีสุขภาพแข็งแรง มีอายุยืนยาวอย่างมีความสุขนั้น ลูกหลานและครอบครัวก็ควรเป็นส่วนหนึ่งในการช่วยกันดูแลเอาใจใส่ผู้สูงอายุ เพื่อที่ท่านจะได้อยู่กับเราไปนานๆ และการทำได้เช่นนี้นอกจากจะทำให้สุขภาพดี ก็จะทำให้คนรอบข้างมีความสุขไปตามๆ กันด้วย...

สุขภาพกายและสุขภาพจิตมีความสมดุลกันหรือไม่ อย่างไร

ภาวะความสมดุลระหว่างสุขภาพกายและสุขภาพจิตหมายถึงสภาวะที่ร่างกายและจิตใจมีความปกติในด้านความสัมพันธ์ระหว่างกัน ในทางตรงกันข้ามหากสุขภาพส่วนใดส่วนหนึ่งมีความบกพร่องหรือมีสภาวะที่ผิดปกติ ก็จะเกิดความไม่สมดุลระหว่างสุขภาพทั้งสองด้านขึ้น

องค์ประกอบในการสร้างความสมดุลของสุขภาพกายและสุขภาพจิตมีอะไรบ้าง

1. มีสติ รอบคอบ สุขุม สงบ เยือกเย็น 2. จิตใจร่าเริง มีอารมณ์ขัน 3. มีมโนธรรม คุณธรรม ศีลธรรม 4. สุขใจเมื่อทำความดี ละอายใจเมื่อทำความชั่ว จะเห็นได้ว่าการสร้างความสมดุลของสุขภาพกายและสุขภาพจิต โดยคำนึงถึงการกินเป็น อยู่เป็น สังคมเป็น และสมาธิเป็น นั้นเป็นสิ่งที่จำเป็นและพึงปฏิบัติ แต่ในขณะเดียวกันการรักษาความสมดุลของ

นักเรียนมีวิธีการดูแลสภาพความสมดุลของสุขภาพกายและสุขภาพจิตอย่างไร

สร้างสมดุลให้ชีวิต.
1. กินอาหารที่มีประโยชน์ ... .
2. ทำงานอย่างมีความสุข ... .
3. การทำสมาธิ ... .
4. นอนหลับพักผ่อน ... .
5. การทำความดี ... .
6. คบหาเพื่อนที่ดี ... .
7. ค้นหาแรงบันดาลใจ.

สุขภาพกายและสุขภาพจิตมีความสำคัญต่อร่างกายอย่างไรบ้าง

ความมีสุขภาพกายและสุขภาพจิตที่ดีส่งผลให้ 1. สภาพร่างกายและจิตใจมีการพัฒนาการและเจริญเติบโตได้เหมาะสมกับวัย 2. การทำงานของอวัยวะต่างๆ มีความสมบูรณ์แข็งแรง และทำงานได้อย่างปกติ 3. บุคคลมีความสามารถในการปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อมได้เป็นอย่างดี