การใช้น้ํามันเชื้อเพลิงจะมีผลกระทบต่อสิ่งมีชีวิตและสิ่งแวดล้อมหรือไม่ อย่างไร

ถ้าน้ำมันหมดไป จะใช้อะไรทดแทน

การใช้น้ํามันเชื้อเพลิงจะมีผลกระทบต่อสิ่งมีชีวิตและสิ่งแวดล้อมหรือไม่ อย่างไร

โลกที่ไม่มีน้ำมันจะเป็นอย่างไร อาจไม่ใช่คำถามที่ดูไกลเกินจริงอีกต่อไป อย่างที่ทราบกันว่าน้ำมันเป็นเชื้อเพลิงหลักสำหรับกิจกรรมต่าง ๆ อาทิ การผลิตไฟฟ้า การขนส่ง และการผลิตในภาคอุตสาหกรรม Statistical Review of World Energy ของ British Petroleum และ U.S. Energy Information Administration หรือ EIA พบว่า เมื่อปี 2559 ทั่วโลกมีน้ำมันสำรองประมาณ 1.65 ล้านล้านบาร์เรล และมีการบริโภคน้ำมันประมาณ 3.5 หมื่นล้านบาร์เรลต่อปี ซึ่งหากคำนวณจากปริมาณน้ำมันที่เหลืออยู่จะมีน้ำมันใช้ได้อีกเพียง 47 ปี และเมื่อถึงตอนนั้นเราจะใช้แหล่งพลังงานไหนมาทดแทน

          ปัจจุบันหลายประเทศพยายามศึกษาและค้นหาพลังงานทดแทนน้ำมันในรูปแบบต่าง ๆ รวมถึงแผนเมื่อน้ำมันหมดไปจากโลก พลังงานสะอาดก็เป็นหนึ่งในรูปแบบของพลังงานทดแทนที่หลายประเทศผลักดันในการใช้ เพราะนอกจากจะเป็นพลังงานที่มีประสิทธิภาพแล้ว ยังช่วยรักษาสิ่งแวดล้อมได้อีกด้วย

"ไฟฟ้า" พลังงานทดแทนที่เปลี่ยนแปลงอุตสาหกรรมยานยนต์

          ไฟฟ้าเป็นพลังงานแปรรูปที่สามารถเปลี่ยนเป็นพลังงานอื่น ๆ ได้ง่าย และสามารถผลิตได้จากแหล่งพลังงานสะอาดหลากหลายแหล่ง เช่น แสงอาทิตย์ ลม น้ำ ความร้อนใต้ดิน และคลื่นในทะเล เป็นต้น

          จีนเป็นประเทศหนึ่งที่ประกาศให้พลังงานสะอาดเป็นเครื่องจักรใหม่ทางเศรษฐกิจ (new growth engine) และมีสัดส่วนการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียน[1] สูงที่สุดในโลก รัฐบาลจีนเริ่มแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมอย่างจริงจังมาตั้งแต่ปี 2551 เพราะหลายทศวรรษที่ผ่านมา จีนพยายามพัฒนาไปเป็นประเทศอุตสาหกรรม และพัฒนาเศรษฐกิจในหลาย ๆ ด้าน ซึ่งก่อให้เกิดปัญหาด้านมลพิษรุนแรงขึ้นเรื่อย ๆ ในปี 2559 จีนลงนามในข้อตกลงปารีส (Paris Agreement)[2] ทำให้มีเป้าหมายที่จะต้องมีความเป็นกลางทางคาร์บอน (carbon neutrality) คือลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์หรือก๊าซเรือนกระจกให้เป็นศูนย์ก่อนปี 2603

          เพื่อให้บรรลุเป้าหมายดังกล่าว รัฐบาลจีนจึงให้สิทธิประโยชน์ด้านภาษีสำหรับโครงการที่ผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียน เพื่อสนับสนุนการลงทุนจากบริษัทต่าง ๆ รวมถึงให้สิทธิประโยชน์ด้านภาษีนิติบุคคลสำหรับบริษัทที่ลงทุนในเทคโนโลยีชั้นสูง นอกจากนี้ รัฐบาลยังเพิ่มการลงทุนให้กับหน่วยงานที่ทำการวิจัยและพัฒนา พร้อมทั้งส่งเสริมการจดสิทธิบัตรนวัตกรรมใหม่ ๆ ที่เกี่ยวข้อง

          หนึ่งในอุตสาหกรรมที่มีความเปลี่ยนแปลงอย่างมากจากการใช้พลังงานไฟฟ้าคืออุตสาหกรรมยานยนต์ ในไม่ช้ารถยนต์ไฟฟ้า (Electric Vehicle: EV) จะเข้ามาแทนที่รถยนต์ที่ใช้น้ำมัน ปัจจุบันจีนมีมาตรการสนับสนุนการผลิตและส่งออกรถ EV รวมถึงส่งเสริมความสามารถในการผลิตแบตเตอรี่สำหรับรถ EV ด้วยแรงสนับสนุนจากรัฐบาลส่งผลให้จีนกลายเป็นประเทศที่ครองตลาดรถยนต์ไฟฟ้ามากที่สุดในโลก นอกจากนี้ รัฐบาลจีนยังผลักดันผ่านนโยบายต่าง ๆ เช่น ห้ามมอเตอร์ไซค์ที่ใช้น้ำมันเข้าเขตเมือง และให้เงินสนับสนุนในการซื้อรถ EV ทำให้ประชาชนชาวจีนต่างหันมาใช้มอเตอร์ไซค์และรถยนต์ไฟฟ้ามากขึ้น

การใช้น้ํามันเชื้อเพลิงจะมีผลกระทบต่อสิ่งมีชีวิตและสิ่งแวดล้อมหรือไม่ อย่างไร

สถานีชาร์จไฟสำหรับรถยนต์ไฟฟ้าในประเทศจีน

ไฮโดรเจนสีเขียว พลังงานสะอาดที่น่าจับตามอง

          ไฮโดรเจนสีเขียว (green hydrogen) เป็นเชื้อเพลิงที่เกิดจากการนำพลังงานแสงอาทิตย์และพลังงานลมมาแยกก๊าซไฮโดรเจนออกจากน้ำ และเป็นพลังงานสะอาดเนื่องจากในกระบวนการผลิตจะไม่มีการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ที่เป็นสาเหตุหนึ่งของปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

          ปัจจุบันไฮโดรเจนที่ผลิตทั่วโลกส่วนใหญ่เป็นไฮโดรเจนสีเทาที่ผลิตจากก๊าซธรรมชาติ ซึ่งมีราคาถูกกว่าไฮโดรเจนสีเขียวที่มีกระบวนการผลิตซับซ้อนกว่า แต่ในอนาคต ไฮโดรเจนสีเขียวจะเป็นที่นิยมมากขึ้น เพราะต้นทุนการผลิตจะเริ่มปรับตัวลดลงและเทคโนโลยีก้าวหน้ามากขึ้น

          อีกหนึ่งเหตุผลที่ทำให้ไฮโดรเจนสีเขียวเป็นพลังงานที่น่าจับตามอง คือ มีโครงสร้างพื้นฐานรองรับอยู่แล้ว การเคลื่อนย้ายสามารถส่งผ่านท่อส่งก๊าซธรรมชาติ ทางเรือ หรือรถบรรทุกได้ ทั้งยังสามารถใช้โรงกลั่นเดียวกับที่ใช้ผลิตไฮโดรเจนสีเทาได้อีกด้วย

          ในปี 2563 คณะกรรมาธิการยุโรปประกาศแผนยุทธศาสตร์ด้านการพัฒนาไฮโดรเจนสีเขียวระยะ 30 ปี เพื่อผลักดันให้ไฮโดรเจนสีเขียวเป็นหนึ่งในพลังงานหลักของสหภาพยุโรป โดยในระยะแรก (ช่วงปี 2563-2567) ตั้งเป้าผลิตไฮโดรเจนสีเขียวจำนวน 1 ล้านตัน ระยะที่ 2 (ช่วงปี 2567-2573) จะเพิ่มเป้าการผลิตให้ได้จำนวน 10 ล้านตัน เพื่อนำไปใช้ในภาคอุตสาหกรรมการผลิตเหล็กและขนส่ง และระยะที่ 3 (หลังจากปี 2573) จะขยายการใช้งานในการผลิตไฟฟ้า ปิโตรเคมี และปุ๋ย รวมถึงมีการส่งเสริมการวิจัยและนวัตกรรมเพื่อสร้างความร่วมมือในทุกภาคส่วน

          โครงการพัฒนาเศรษฐกิจไฮโดรเจนของสหภาพยุโรปมีกว่า 120 โครงการ เช่น "Hydrogen Import Coalition" โครงการพัฒนาระบบโลจิสติกส์ในเบลเยียม "NortH2" โครงการผลิต จัดเก็บและขนส่งไฮโดรเจนสีเขียว และ "Porthos" โครงการดักจับคาร์บอนและจัดเก็บใต้ทะเลในเนเธอร์แลนด์ รวมถึง "H2FUTURE"  โครงการผลิตเหล็กปลอดคาร์บอนในออสเตรีย

การใช้น้ํามันเชื้อเพลิงจะมีผลกระทบต่อสิ่งมีชีวิตและสิ่งแวดล้อมหรือไม่ อย่างไร

โครงการ Hydrogen Import Coalition เป็นการพัฒนาระบบขนส่งไฮโดรเจน

"ขยะ" ทางเลือกใหม่ในการสร้างพลังงาน

          แม้ขยะจะไม่ใช่แหล่งพลังงานสะอาด แต่เป็นอีกแหล่งพลังงานที่จะเข้ามาช่วยแก้ปัญหาเรื่องสิ่งแวดล้อมที่เกิดจากปริมาณขยะ ลดปัญหาจากการฝังกลบรวมถึงการสะสมของเชื้อโรค และการแพร่พันธุ์ของพาหะนำโรค

          เราสามารถนำขยะไปผลิตเป็นพลังงานไฟฟ้า ก๊าซชีวภาพ และเป็นเชื้อเพลิงในโรงงานอุตสาหกรรม ทดแทนพลังงานจากน้ำมันและถ่านหินได้ ปัจจุบันมีเทคโนโลยีหลากหลายที่ช่วยนำขยะมาแปลงเป็นพลังงานไฟฟ้า และพัฒนาเตาเผาที่ออกแบบมาสำหรับเผาขยะโดยเฉพาะ ซึ่งมีระบบควบคุมเพื่อป้องกันการปล่อยมลพิษ เช่น ก๊าซพิษ เขม่า และกลิ่น ที่อาจส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม

          ออสเตรเลียเป็นประเทศตัวอย่างที่ให้ความสำคัญกับการบริหารจัดการขยะ ตั้งแต่การคัดแยกไปจนถึงเปลี่ยนขยะให้เป็นพลังงานไฟฟ้า ขยะเศษอาหารจากที่อยู่อาศัยในเมืองซิดนีย์ จะถูกส่งไปยังโรงงานเอิร์ธพาวเวอร์ (EarthPower) เพื่อแปรรูปให้เป็นพลังงานด้วยเทคโนโลยีหมักย่อยแบบไร้อากาศ (anaerobic digestion) ซึ่งจะผลิตก๊าซชีวภาพสำหรับแปลงเป็นพลังงานไฟฟ้าให้บ้านเรือน ส่วนกากอาหารที่เหลือจากกระบวนการดังกล่าวจะถูกอัดเม็ดเป็นปุ๋ย

          ในประเทศไทยก็มีโครงการ Wonder Waste! หรือโครงการสร้างนวัตกรรมการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียน ที่จัดโดยสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ และมีกองทุนพัฒนาไฟฟ้า สํานักงานคณะกรรมการกํากับกิจการพลังงานเป็นผู้สนับสนุนงบประมาณ โดยโครงการ Wonder Waste! จะเน้นการสร้างความรู้ ความเข้าใจ และการมีส่วนร่วมเรื่องการคัดแยกขยะในชุมชนเพื่อเปลี่ยนขยะมูลฝอยเป็นพลังงานไฟฟ้า ซึ่งปัจจุบันมีการดำเนินการในพื้นที่ต้นแบบ ได้แก่ (1) PowerPick ย่านเจริญกรุง กรุงเทพฯ ที่เราสามารถนำขยะจากบรรจุภัณฑ์อาหารและเครื่องดื่ม มาส่ง ณ จุดรับฝาก เพื่อแปลงเป็นเชื้อเพลิงขยะ (Refuse Derived Fuel: RDF)[3] สำหรับผลิตไฟฟ้า และผู้ร่วมกิจกรรมสามารถสะสมคะแนนพลังงาน (Waste to Energy Point) เพื่อลุ้นรางวัลได้ด้วย (2) care4 ย่านหนองแขม กรุงเทพฯ โครงการที่เพิ่มแรงจูงใจในการแยกขยะ เพราะจะมีบริการเก็บขยะถึงหน้าบ้าน มีระบบการจัดการขยะ 4 ขั้นตอน คือ แยก รับ พัก และส่ง โดยโครงการจะรับขยะที่แยกอย่างถูกวิธีจากชุมชนไปจัดเก็บที่จุดพักรอและส่งต่อให้กับโรงเผาขยะ โรงงานรีไซเคิล หรือนำไปทำปุ๋ย ซึ่งคนในชุมชนที่เข้าร่วมโครงการจะได้รับสิ่งตอบแทน เช่น ปุ๋ยจากขยะของตนเอง (3) BABA WASTE ย่านเมืองเก่า จ.ภูเก็ต เป็นการจัดการขยะสำหรับร้านอาหารและบ้านเรือน โดยมี BABABIN ถังขยะสำหรับแยกส่วนบรรจุภัณฑ์และเศษอาหาร ที่สามารถกรองและแยกของเหลวในการลดความชื้นของขยะเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการนำไปเผาสำหรับผลิตไฟฟ้า BABABAG ถุงสีสำหรับแยกขยะแต่ละประเภทเพื่อความง่ายในการคัดกรอง และ BABACONE ชุดหมักเศษอาหารเพื่อนำไปทำเป็นปุ๋ยใส่ในกระถางต้นไม้ (4) บุญบุญ ย่านศรีจันทร์ จ.ขอนแก่น มีถังขยะหุ่นยนต์แมว 2 ประเภท ได้แก่ แมวเล็กใช้ภายในร้านค้าที่จะวิ่งไปรับขยะจากคน และแมวใหญ่ใช้ภายนอกร้านค้าที่จะรับขยะจากร้านค้าที่แยกขยะไว้แล้ว


บุญบุญ หุ่นยนต์แมวเก็บขยะ


BABABAG ถุงใส่ขยะที่แยกสีตามประเภทของขยะ

ในอนาคตหากน้ำมันหมดไป ยังมีแหล่งพลังงานทดแทนอื่น ๆ ที่จะเป็นทางเลือกให้คนใช้ชีวิตและดำเนินธุรกิจต่อได้ตามปกติ และคงจะดีไม่น้อย ถ้าแหล่งพลังงานในอนาคตจะสร้างผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมน้อยที่สุด และจะดีที่สุดหากเลือกใช้แหล่งพลังงานหมุนเวียนที่ไม่มีวันหมด

ข้อมูลอ้างอิง :

- ปริมาณน้ำมันสำรองและการบริโภคน้ำมัน I bp.com

- องค์กรพลังงานระหว่างประเทศ I iea.org

- ข้อมูลสหภาพยุโรป I thaieurope.net

- EarthPower food waste to energy plant I wastemanagementreview.com.au

- โครงการ Wonder Waste I cea.or.th

[1] พลังงานหมุนเวียน (renewable energy) คือ พลังงานที่ได้จากแหล่งพลังงานที่เกิดขึ้นต่อเนื่องซ้ำ ๆ ไม่หมดไป โดยมากมักมีแหล่งกำเนิดมาจากธรรมชาติ อาทิ แสงอาทิตย์ ลม น้ำ ความร้อนใต้พิภพ และชีวมวลหรือผลผลิตและวัสดุเหลือทิ้งจากการเกษตร ซึ่งสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้อย่างไม่มีจำกัด

[2] ข้อตกลงปารีส (Paris Agreement) เป็นกรอบอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เพื่อกำหนดมาตรการลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ตั้งแต่ปี 2563 เป็นต้นไป

[3] เชื้อเพลิงขยะ (Refuse Derived Fuel: RDF) เป็นการปรับปรุงและแปลงสภาพของขยะมูลฝอยให้เป็นเชื้อเพลิงแข็งที่เหมาะสมในการผลิตไฟฟ้าหรือความร้อน


การใช้เชื้อเพลิงต่างๆมีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมหรือไม่ อย่างไร

ต่อสิ่งแวดล้อม การเผาไหม้เชื้อเพลิงจากราก ก า ร ก่อให้เกิดก๊าซพิษต่างๆ ซึ่งเป็นตัวการที่ก่อให้เกิดปัญหาสิ่งแวดล้อมที่สาคัญ ได้แก่ โลกร้อนขึ้น (Global Warming) อากาศเปนพิษ (Air Pollution) และ ฝนกรด (Acid Rain) ผลกระทบ --- โลก ร้อนขึ้น

การใช้เชื้อเพลิงประเภทใดมีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมมากที่สุด

ถ่านหิน เป็นตัวสร้างมลพิษมากกว่าแหล่งพลังงานอื่นๆ การเผาถ่านหินทำให้เกิดเขม่า หมอกควัน ฝนกรดส่งผลกระทบต่อภาวะโลกร้อน นอกจากนี้ยังก่อให้เกิดของเสียมากมายรวมถึงกากตะกอน สารเคมีที่เป็นพิษและความร้อน ในทุกขั้นตอนของกระบวนการผลิตพลังงานนับตั้งแต่การขุด การขนส่ง การจัดเก็บ จนถึงการเผาไหม้ล้วนก่อให้เกิดมลพิษทั้งสิ้น มันเป็น ...

การใช้พลังงานมีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมอย่างไร

การใช้ทรัพยากรพลังงาน โดยเฉพาะพลังงานฟอสซิลเป็นปัจจัยสําคัญในการทําให้อากาศเป็นพิษ โดย ก๊าซหรือเขม่าที่เกิดจากการเผาไหม้เชื้อเพลิงพลังงาน เข้าไปปนเปื้อนกับก๊าซที่มีอยู่ในอากาศ แล้วทําให้ องค์ประกอบของอากาศเปลี่ยนแปลงไป เช่น ทําให้ปริมาณของก๊าซตัวหนึ่งตัวใดหรือหลายๆ ตัว สูงเกินค่า มาตรฐาน จนเป็นเหตุให้เกิดอันตรายต่อ ...

ผลกระทบจากการใช้พลังงานมีอะไรบ้าง

ทรัพยากรพลังงาน.
ทำให้เกิดการเจ็บป่วย ล้มตาย.
ทำให้สิ่งของและทรัพยากรธรรมชาติเสียหาย.
ทำลายสภาพแวดล้อมและสิ่งมีชีวิต.
เกิดภาวะมลพิษทั้งทางดิน น้ำ และอากาศ.