นักเรียนสามารถใช้ผลงานที่มีลิขสิทธิ์ของผู้อื่นได้หรือไม่ อย่างไร

นักเรียนสามารถใช้ผลงานที่มีลิขสิทธิ์ของผู้อื่นได้หรือไม่ อย่างไร

ทรัพย์สินทางปัญญา (Intellectual Property) หมายถึง ผลงานอันเกิดจากการประดิษฐ์ คิดค้น หรือ การสร้างสรรค์ของมนุษย์ ซึ่งเน้นที่ผลผลิตของสติปัญญาและความชำนาญ โดยไม่จำกัดชนิดของผลงานที่สร้างสรรค์ หรือวิธีการแสดงออกในรูปแบบของสิ่งที่จับต้องได้

ทรัพย์สินทางปัญญา แบ่งออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่ ลิขสิทธิ์ (Copyright) และทรัพย์สินทางอุตสาหกรรม (Industrial Property)

ลิขสิทธิ์ถูกสร้างขึ้นเพื่อคุ้มครองผลงานสร้างขึ้นโดยความคิดของผู้สร้างสรรค์เอง โดยเจ้าของลิขสิทธิ์หรือผู้สร้างสรรค์มีสิทธิแต่เพียงผู้เดียวที่จะกระทำการใด ๆ กับงานลิขสิทธิ์นั้นก็ได้ ไม่ว่าจะทำซ้ำ ดัดแปลง เผยแพร่ต่อสาธารณชน ให้เช่าต้นฉบับหรือสำเนางาน ให้ประโยชน์อันเกิดจากลิขสิทธิ์แก่ผู้อื่น หรืออนุญาตให้ผู้อื่นใช้ผลงานนั้น กฎหมายลิขสิทธิ์จึงคุ้มครองความคิดสร้างสรรค์ของเจ้าของลิขสิทธิ์เพื่อตอบแทนความคิดสร้างสรรค์ที่สร้างประโยชน์ให้กับสังคม และเพื่อเป็นแรงจูงใจให้ผู้สร้างสรรค์หรือเจ้าของลิขสิทธิ์มีแรงจูงใจในการสร้างสรรค์งานใหม่ ๆ ต่อไป

อย่างไรก็ดีในอีกมุมหนึ่ง เพื่อที่จะเผยแพร่องค์ความรู้ที่เกิดจากงานลิขสิทธิ์ และเพื่อให้สังคมได้ใช้ประโยชน์จากงานลิขสิทธิ์นั้นพัฒนาองค์ความรู้ให้ก่อเกิดแก่สังคมต่อไป กฎหมายจึงได้มีการกำหนดข้อยกเว้นการละเมิดลิขสิทธิ์ เรื่อง การใช้งานลิขสิทธิ์ที่เป็นธรรม (Fair Use) ไว้ เพื่อให้บุคคลอื่นในสังคมใช้งานลิขสิทธิ์ได้ตามความเหมาะสมโดยไม่เป็นการละเมิดลิขสิทธิ์

หลักการใช้งานลิขสิทธิ์ที่เป็นธรรม (Fair Use) ตามกฎหมายลิขสิทธิ์ไทยปรากฏอยู่ในพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 มาตรา 32 วางหลักว่า

การกระทำแก่งานอันมีลิขสิทธิ์ของบุคคลอื่นตามพระราชบัญญัตินี้ หากไม่ขัดต่อการแสวงหาประโยชน์จากงานอันมีลิขสิทธิ์ตามปกติของเจ้าของลิขสิทธิ์และไม่กระทบกระเทือนถึงสิทธิ อันชอบด้วยกฎหมายของเจ้าของลิขสิทธิ์เกินสมควร มิให้ถือว่าเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์

ภายใต้บังคับบทบัญญัติในวรรคหนึ่ง การกระทำอย่างใดอย่างหนึ่งแก่งานอันมีลิขสิทธิ์ ตามวรรคหนึ่ง มิให้ถือว่าเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ ถ้าได้กระทำดังต่อไปนี้

(๑) วิจัยหรือศึกษางานนั้น อันมิใช่การกระทำเพื่อหากำไร

(๒) ใช้เพื่อประโยชน์ของตนเอง หรือเพื่อประโยชน์ของตนเองและบุคคลอื่นในครอบครัวหรือญาติสนิท

(๓) ติชม วิจารณ์ หรือแนะนาผลงานโดยมีการรับรู้ถึงความเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ในงานนั้น

(๔) เสนอรายงานข่าวทางสื่อสารมวลชนโดยมีการรับรู้ถึงความเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ในงานนั้น

(๕) ทำซ้ำ ดัดแปลง นำออกแสดง หรือทำให้ปรากฏ เพื่อประโยชน์ในการพิจารณาของศาลหรือเจ้าพนักงานซึ่งมีอำนาจตามกฎหมาย หรือในการรายงานผลการพิจารณาดังกล่าว

(๖) ทาซ้ำ ดัดแปลง นำออกแสดง หรือทำให้ปรากฏโดยผู้สอน เพื่อประโยชน์ในการสอน ของตน อันมิใช่การกระทำเพื่อหากำไร

(๗) ทาซ้ำ ดัดแปลงบางส่วนของงาน หรือตัดทอนหรือทำบทสรุปโดยผู้สอนหรือสถาบันศึกษา เพื่อแจกจ่ายหรือจำหน่ายแก่ผู้เรียนในชั้นเรียนหรือในสถาบันศึกษา ทั้งนี้ ต้องไม่เป็นการกระทำเพื่อหากำไร

(๘) นำงานนั้นมาใช้เป็นส่วนหนึ่งในการถามและตอบในการสอบ

(๙) (ยกเลิก)

จะเห็นได้ว่าจากบทบัญญัติมาตรา 32 ของพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ การพิจารณาว่าการใช้ลิขสิทธิ์ในกรณีหนึ่งเป็นไปตามหลักการใช้ลิขสิทธิ์ที่เป็นธรรมหรือไม่ จะพิจารณาจากหลักเกณฑ์ 4 ประการ

ประการที่ 1 วัตถุประสงค์และความเหมาะสมหรือลักษณะในการใช้งานลิขสิทธิ์

การพิจารณาตามเกณฑ์ข้อนี้จะพิจารณาวัตถุประสงค์การใช้งานลิขสิทธิ์ของผู้อื่นว่าจะต้องไม่มีลักษณะการกระทำเพื่อการค้า หากำไร หรือใช้ในเชิงพาณิชย์ ในกรณีต้องการใช้งานลิขสิทธิ์สำหรับวัตถุประสงค์การค้า หากำไร หรือใช้ในเชิงพาณิชย์ จะต้องมีการจ่ายค่าใช้ลิขสิทธิ์ เช่น การนำเพลงของบุคคลอื่นไปดัดแปลงเพื่อขาย การถ่ายสำเนาตำราเรียนเพื่อขายในราคาเกินกว่าต้นทุน (ขายเพื่อเอากำไร) นอกจากนี้ในการใช้งานลิขสิทธิ์ของผู้อื่น จะต้องเป็นการใช้โดยไม่มีเจตนาทุจริต การใช้โดยเจตนาทุจริต เช่น การนำงานลิขสิทธิ์มาใช้โดยไม่อ้างอิงถึงที่มา หรือใช้ในลักษณะที่ทำให้ผู้เข้าใจว่าเป็นงานของตนเอง และต้องเป็นการใช้งานลิขสิทธิ์ของผู้อื่นเพื่อก่อให้เกิดประโยชน์แก่สังคม

ประการที่ 2 ลักษณะของงานลิขสิทธิ์

การพิจารณาตามเกณฑ์ข้อนี้จะพิจารณาระดับของการสร้างสรรค์งาน กล่าวคือ หากเป็นหากที่ต้องใช้ระดับการสร้างสรรค์หรือใช้จินตนาการมาก เช่น นวนิยาย

เมื่อมีผู้นำงานไปใช้ ก็มีโอกาสที่จะถือว่าเป็นการใช้งานลิขสิทธิ์ที่ไม่เป็นธรรมจะมากกว่างานลิขสิทธิ์ที่ประกอบด้วยข้อเท็จจริงจำนวนมาก เช่น รายงานข้อเท็จจริง สรุปข่าว เป็นต้น

นอกจากจะพิจารณาจากระดับของการสร้างสรรค์งานแล้ว ยังมีการพิจารณาเรื่องการโฆษณาของงานลิขสิทธิ์นั้นด้วย เช่น หากเป็นงานที่ยังไม่มีการโฆษณาคือยังไม่ทราบเป็นการทั่วไป ผู้ที่นำงานลิขสิทธิ์นั้นมาใช้จะอ้างเรื่องหลักการใช้ลิขสิทธิ์ที่เป็นธรรมไม่ได้ เพราะ เจ้าของลิขสิทธิ์สามารถเลือกที่จะโฆษณางานของตนเมื่อไหร่ก็ได้

ประการที่ 3 ปริมาณการใช้งานและสัดส่วนของงาน

การพิจารณาตามเกณฑ์ข้อนี้จะพิจารณาจากปริมาณการนำงานลิขสิทธิ์ของผู้อื่นมาใช้ หากนำงานลิขสิทธิ์ของคนอื่นมาใช้ในปริมาณมาก ก็ถือว่าเป็นการใช้ที่ไม่เป็นธรรม แต่บางครั้งแม้จะเป็นการนำงานมีลิขสิทธิ์ของบุคคลอื่นมาใช้ในปริมาณน้อยก็อาจเป็นการละเมิดได้ หากส่วนที่นำมาใช้เป็นสาระสำคัญของงานลิขสิทธิ์นั้น

เช่น ในการใช้งานลิขสิทธิ์ที่เป็นธรรมในการเรียนการสอนสำหรับงานดนตรีกรรม ผู้สอนสามารถทำสำเนาหนึ่งชุดหรือหลายชุด จากท่อนใดท่อนหนึ่งของงานดนตรีกรรมเพื่อการศึกษาได้ (ต้องไม่ใช่เพื่อการออกแสดง) แต่ต้องไม่เกินร้อยละ 10 ของแต่ละงาน และไม่เกิน 1 สำเนาต่อ 1 ผู้เรียน เป็นต้น

ประการที่ 4 ผลกระทบต่อการตลาดหรือมูลค่าของงานลิขสิทธิ์

การพิจารณาตามเกณฑ์ข้อนี้จะพิจารณาว่าการใช้ลิขสิทธิ์ดังกล่าวส่งผลกระทบต่อความสามารถในการสร้างรายได้ของเจ้าของลิขสิทธิ์หรือไม่ หากไม่มีผลกระทบหรือมีผลกรทบเพียงเล็กน้อยก็จะถือว่าเป็นการใช้งานลิขสิทธิ์ที่เป็นธรรม เช่น การคัดลอกบางส่วนของงานวรรณกรรมที่ไม่ได้พิมพ์จำหน่ายมาเป็นเวลานานแล้วไม่กระทบสิทธิเจ้าของลิขสิทธิ์ในการสร้างรายได้ เนื่องจากหนังสือหรืองานวรรณกรรมนั้นไม่มีขายในท้องตลาดนานแล้ว เป็นต้น

ทั้งนี้ แม้ว่าจะเป็นการกระทำตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ มาตรา 32 (1) – (8) ที่กฎหมายกำหนดมิให้ถือว่าเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ เช่น การใช้งานมีลิขสิทธิ์เพื่อการศึกษา วิจัย หรือการใช้งานมีลิขสิทธิ์เพื่อวิจารณ์ ก็ต้องอยู่ภายใต้หลักเกณฑ์พิจารณาการใช้ลิขสิทธิ์ที่เป็นธรรมทั้ง 4 ประการที่กล่าวไปข้างต้นเช่นกัน

IP-Thailand ให้บริการจดลิขสิทธิ์แก่ผลงานทุกประเภท และพร้อมให้คำปรึกษาฟรีในทุกประเด็น ติดต่อเราได้เลยผ่านไลน์ @ipthailand

ที่มา ipthailand http://www.ipthailand.go.th/images/781/manual_copyright.pdf

สามารถใช้ผลงานที่มีลิขสิทธิ์ของผู้อื่นได้ไหม

กฎหมายลิขสิทธิ์กำหนดว่าหากการดัดแปลงผลงานอันมีลิขสิทธิ์โดยได้รับอนุญาตจากเจ้าของลิขสิทธิ์แล้ว ให้ผู้ได้รับอนุญาตได้ลิขสิทธิ์ในงานที่ได้ดัดแปลง แต่ทั้งนี้ต้องไม่กระทบกระเทือนสิทธิของเจ้าลิขสิทธิ์ที่มีอยู่ในงานของผู้สร้างสรรค์เดิมที่ถูกดัดแปลง

เจ้าของลิขสิทธิ์สามารถโอนงานลิขสิทธิ์ของตนเองให้แก่บุคคลอื่นได้หรือไม่ อย่างไร

เจ้าของลิขสิทธิ์สามารถโอนงานลิขสิทธิ์ของตนเองให้แก่บุคคลอื่นได้หรือไม่ อย่างไร ตอบ เจ้าของลิขสิทธิ์สามารถโอนงานลิขสิทธิ์ของตนเองให้แก่บุคคลอื่นได้ทั้งหมดหรือบางส่วน และสามารถโอนโดยกำหนดระยะเวลาหรือตลอดอายุแห่งการคุ้มครองลิขสิทธิ์ หากการโอนงานลิขสิทธิ์ดังกล่าวมิใช่ทางมรดกต้องทำเป็นหนังสือลงลายมือชี่อผู้โอนและผู้รับโอน

การใช้งานลิขสิทธิ์ที่เป็นธรรม มีอะไรบ้าง

(๑) วิจัยหรือศึกษางานนั้น อันมิใช่การกระทำเพื่อหากำไร (๒) ใช้เพื่อประโยชน์ของตนเอง หรือเพื่อประโยชน์ของตนเองและบุคคลอื่นในครอบครัวหรือญาติสนิท (๓) ติชม วิจารณ์ หรือแนะนาผลงานโดยมีการรับรู้ถึงความเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ในงานนั้น (๔) เสนอรายงานข่าวทางสื่อสารมวลชนโดยมีการรับรู้ถึงความเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ในงานนั้น

หลักเกณฑ์การใช้สิทธิ์ของผู้อื่นโอยชอบธรรม มีอะไรบ้าง

การใช้ลิขสิทธิ์ของผู้อื่นโดยชอบ เป็นหลักการที่อนุญาตให้ใช้เนื้อหาที่มีลิขสิทธิ์โดยไม่ต้องขออนุญาตเจ้าของลิขสิทธิ์ ตัวอย่างการใช้งาน เช่น ใช้ในการวิจารณ์ เสิร์ชเอนจิน การล้อเลียน การรายงานข่าว งานวิจัย การเรียนการสอน การเก็บงานเอกสาร เป็นต้น