ขั้นตอนการทําโครงงานวิทยาศาสตร์ มี 5 ขั้นตอน อะไรบ้าง

การทำโครงงาน 5 ขั้น from Pongtong Kannacham

แต่การเรียนวิชาวิทยาศาสตร์เพียงในชั้นเรียนตามเวลาที่กำหนดไว้ในหลักสูตรเท่านั้น ไม่อาจช่วยให้จุดมุ่งหมายดังกล่าวสัมฤทธิ์ผลโดยสมบูรณ์ได้ ทั้งนี้เพราะครูจำเป็นจะต้องสอนเนื้อหาต่าง ๆ ในหลักสูตรให้ครบถ้วนภายในเวลาที่กำหนด นักเรียนจึงไม่ค่อยมีโอกาสมีประสบการณ์ตรงในการใช้ วิธีการทางวิทยาศาสตร์อย่างครบถ้วนทุกขั้นตอนในกระบวนการเรียนรู้

ขั้นตอนการทําโครงงานวิทยาศาสตร์ มี 5 ขั้นตอน อะไรบ้าง

การให้นักเรียนกระทำกิจกรรมโครงงานวิทยาศาสตร์ จะช่วยส่งเสริมให้จุดมุ่งหมายของหลักสูตรสัมฤทธิ์ผลโดยสมบูรณ์ยิ่งขึ้น เพราะในการทำโครงงาน นักเรียนจะได้มีโอกาสดำเนินการศึกษา จะศึกษาเอง การวางแผนการศึกษาเพื่อตอบปัญหานั้น ๆ ด้วยตนเอง ออกแบบการทดลองหรือวิธีการศึกษาด้วยตนเอง ลงมือทดลองเพื่อตรวจสอบสมมุติฐาน

ตลอดจนสรุปผลของการศึกษาด้วยตนเอง โดยมีครูเป็นเพียงผู้ให้คำปรึกษาและชี้แนะ สรุปได้ว่านักเรียนจะมีโอกาสได้รับประสบการณ์ตรงในกระบวนการเสาะแสวงหาความรู้ทุกขั้นตอน มีโอกาสได้ฝึกทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ต่าง ๆ และจะช่วยพัฒนาคุณสมบัติอื่น ๆ ให้แก่นักเรียนด้วย เช่น ความเป็นคนช่างสังเกต มีความคิดริเริ่ม สร้างสรรค์ มีความเชื่อมั่นในตนเอง มีวินัยและซื่อสัตย์ในการทำงาน มีความละเอียดรอบคอบ มีความรับผิดชอบ ยอมรังฟังคำติชมและความคิดเห็นของผู้อื่น มีเจตคติที่ดีต่อวิทยาศาสตร์ รู้จักแบ่งเวลาในการทำงานและการกระทำกิจกรรมอื่น ๆ และทำงานร่วมกับผู้อื่นได้ เป็นต้น

4. ประเภทต่าง ๆ ของโครงงานวิทยาศาสตร์

โครงงานวิทยาศาสตร์ อาจแบ่งได้เป็น 4 ประเภท คือ

  • 4.1 โครงงานประเภทการสำรวจ
  • 4.2 โครงงานประเภทการทดลอง
  • 4.3 โครงการประเภทการพัฒนาหรือการประดิษฐ์
  • 4.4 โครงงานประเภทการสร้างทฤษฎีหรือการอธิบาย เป็นโครงงานที่เสนอทฤษฎีหรือ คำอธิบายสิ่งต่าง ๆ หรือปรากฏการณ์ต่าง ๆ ซึ่งเป็นแนวคิดใหม่ ๆ โดยมีหลักการทางวิทยาศาสตร์ หรือทฤษฎีอื่น ตลอดจนข้อมูลต่าง ๆ สนับสนุน ทฤษฎีหรือคำอธิบายดังกล่าวอาจใหม่ หรือขัดแย้ง หรือขยายแนวความคิด หรือคำอธิบายเดิมที่มีผู้ให้ไว้ก่อนแล้วก็ได้ อาจเป็นการอธิบายปรากฏการณ์เก่าในแนวใหม่ อาจเสนอในรูปของคำอธิบาย สูตร หรือสมการก็ได้ แต่จะต้องมีข้อมูลหรือทฤษฎีอื่นมาสนับสนุนอ้างอิง

    โครงงานภาษาอังกฤษเป็นกิจกรรมที่เน้นนักเรียนเป็นศูนย์กลาง ผู้เรียนได้เรียนรู้ตามความสนใจของตนเอง ตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พุทธศักราช 2542

    โครงงานภาษาอังกฤษ( Project work  in English):
        อีก 1 ทางเลือกของการจัดการเรียนการสอนภาษาอังกฤษ
    *   ขจิต  ฝอยทอง

    ในปัจจุบันโครงงานภาษาอังกฤษเป็นที่แพร่หลายแก่ครู-อาจารย์ที่จัดการเรียนการสอนทั้งในระดับประถมศึกษาและระดับมัธยมศึกษา จากพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ( ฉบับที่ 2 ) พ.ศ. 2545 หมวด 4 แนวการจัดการศึกษา มาตรา 22 การจัดการศึกษาต้องยึดหลักว่าผู้เรียนทุกคนมีความสามารถเรียนรู้และพัฒนาตนเองได้ และถือว่า ผู้เรียนมีความสำคัญที่สุด กระบวนการจัดการศึกษาต้องส่งเสริมให้ผู้เรียนสามารถพัฒนาตามธรรมชาติและเต็มตามศักยภาพ มาตรา 24  การจัดกระบวนการเรียนรู้ ให้สถานศึกษาและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการดังต่อไปนี้

     1) จัดเนื้อหาสาระ และกิจกรรมให้สอดคล้องกับความสนใจและความถนัดของผู้เรียน

    2) ฝึกทักษะกระบวนการคิด การจัดการ การเผชิญสถานการณ์ และการประยุกต์ความรู้มาใช้เพื่อป้องกัน และแก้ไขปัญหา

    3)  จัดกิจกรรมให้ผู้เรียนได้เรียนรู้จากประสบการณ์จริง ฝึกปฏิบัติให้ทำได้ คิดเป็น ทำเป็น รักการอ่านและเกิดความใฝ่รู้อย่างต่อเนื่อง

     4) การจัดการเรียนการสอนโดยผสมสาระความรู้ด้านต่างๆได้อย่างสัดส่วนสมดุลกัน รวมทั้งปลูกฝังคุณธรรม ค่านิยมที่ดีงามและลักษณะที่พึงประสงค์ไว้ในทุกวิชา

     5) ส่งเสริมสนับสนุนให้ผู้สอนสามารถจัดบรรยากาศ สภาพแวดล้อม สื่อการเรียนและอำนวยความสะดวกเพื่อให้ผู้เรียน  เกิดการเรียนรู้และมีความรอบรู้ รวมทั้งสามารถใช้การวิจัยเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการเรียนรู้ ทั้งนี้ผู้สอนและผู้เรียนอาจเรียนรู้ไปพร้อมกัน จากสื่อการเรียนการสอนและแหล่งวิทยาการประเภทต่างๆ 

     6) จัดการเรียนรู้ให้เกิดขึ้นได้ทุกเวลา ทุกสถานที่ มีการประสานร่วมมือกับบิดา มารดา ผู้ปกครอง และบุคลในชุมชนทุกฝ่าย เพื่อร่วมกันพัฒนาผู้เรียนตามศักยภาพ มาตรา 28 หลักสูตรการศึกษาระดับอุดมศึกษายังมีความมุ่งหมายเฉพาะที่จะพัฒนาวิชาการ วิชาชีพชั้นสูงและการค้นคว้า วิจัย เพื่อพัฒนาองค์ความรู้และพัฒนาสังคมและในมาตรา 30 ให้สถานศึกษาพัฒนากระบวนการเรียนการสอนที่มีประสิทธิภาพ รวมทั้งส่งเสริมให้ผู้สอนสามารถวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ที่เหมาะสมกับผู้เรียนในแต่ละระดับการศึกษา  จากพระราชบัญญัติการศึกษาดังกล่าวข้างต้นและจากประสบการณ์ของผู้เขียน โครงงานภาษาอังกฤษทำให้ผู้เรียนเกิดทักษะกระบวนการคิดและเกิดการเรียนรู้ได้ด้วยตนเอง ผู้เรียนได้ลงมือปฏิบัติจริง นอกจากนี้ผู้สอนสามารถบูรณาการ(Integrate)ภาษาอังกฤษให้เข้ากับสาระการเรียนรู้อื่นๆได้  ครู-อาจารย์ผู้สอนภาษาอังกฤษจะต้องรู้จักยั่วยุให้ผู้เรียนคิด
    และอยากทำโครงงาน  ผู้เรียนจะเกิดทักษะทางภาษา  ทักษะกระบวนการคิดวิเคราะห์  การค้นคว้าด้วยตนเองและเกิดการพัฒนาทางด้านภาษาอังกฤษอย่างเต็มตามศักยภาพ

    ความหมายของโครงงานภาษาอังกฤษ ( Definition of English Project Work )
                    Haines ( 1989 ) กล่าวว่า โครงงานภาษาอังกฤษ คือ การใช้กิจกรรมทักษะทางภาษาที่หลากหลาย ซึ่งจะเน้นในเรื่องที่ผู้เรียนสนใจมากกว่าที่จะเน้นเฉพาะเรื่องการทำใบงานทางภาษา
                    Fried-Booth ( 2002 ) กล่าวว่า โครงงานคือการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง ซึ่งเริ่มต้นมาจากความต้องการของผู้เรียน จนกระทั่งถึงผลงานที่ออกมา
                    ผู้เขียนมีความเห็นว่า โครงงานภาษาอังกฤษ คือ กระบวนการจัดการเรียนการสอนที่เกิดจากความต้องการของผู้เรียน ผู้เรียนได้ใช้ทักษะกระบวนการคิดวิเคราะห์ สังเคราะห์ มีการพัฒนาทักษะทางด้านพุทธิพิสัย ( Cognitive Domain ) จิตพิสัย ( Affective Domain ) การค้นคว้าหาความรู้ใหม่ๆได้ด้วยตนเองจากประสบการณ์จริง ผู้เรียนได้พัฒนาทักษะกระบวนการทำงานร่วมกับผู้อื่น(Collaborative) การพัฒนาทักษะทางภาษาในด้านการฟัง(Listening)  การพูด(Speaking) การอ่าน(Reading) และการเขียน(Writing)ภาษาอังกฤษ

    ขั้นตอนในการดำเนินโครงงานภาษาอังกฤษ ( Phases of English Project Work)
                    การดำเนินโครงงานภาษาอังกฤษ จำเป็นอย่างยิ่งที่ผู้สอนต้องสอนขั้นตอนในการดำเนินโครงงานว่าทำอย่างไร ไม่ใช่ปล่อยให้ผู้เรียนทำเอง ถ้าผู้สอนไม่ได้สอนขั้นตอนการทำโครงงานจะทำให้ผู้เรียนท้อและไม่อยากทำโครงงาน เมื่อผู้เรียนสามารถดำเนินโครงงานเองได้ ผู้สอนต้องคอยเป็นที่ปรึกษาให้แก่ผู้เรียน ผู้เขียนได้ดำเนินโครงงานภาษาอังกฤษง่ายๆดังนี้
                    1. ขั้นวิเคราะห์ปัญหา ( Identification of a problem ) ผู้เรียนช่วยกันวิเคราะห์ว่าอะไร(What )เป็นปัญหาของผู้เรียน อาจเป็นปัญหาของผู้เรียนเอง หรือปัญหาของชุมชนก็ได้ การตั้งปัญหาไม่ควรกว้างเกินไป  ผู้เรียนและผู้สอนมีส่วนสำคัญในการทำให้ปัญหาแคบลง โดยการช่วยกันถามว่าอะไรคือปัญหา เมื่อได้ปัญหาแล้วจะดำเนินการต่อไปอย่างไร เช่นนักเรียนของผู้เขียนอยู่ในหมู่บ้านที่ผลิตสับปะรด แต่ผลผลิตของสับปะรดต่อไร่ต่ำมาก นอกจากนี้การใส่ปุ๋ยวิทยาศาสตร์ ยังเพิ่มรายจ่ายให้แก่ครอบครัวของนักเรียนด้วย  ดังนั้นปัญหาของนักเรียนคือต้องการเพิ่มผลผลิตในไร่สับปะรดจะทำอย่างไร โดยไม่ใช้ปุ๋ยวิทยาศาสตร์ (ดูตัวอย่างโครงงานที่ 1 )
                    2. ขั้นตั้งจุดประสงค์ของโครงงาน ( Purpose of  project work ) ผู้เรียนจะต้องตั้งจุดประสงค์ว่าเมื่อทำโครงงานแล้วได้อะไร (What ) มีผลงานในด้านทักษะทางภาษาอังกฤษ(Language Skills ) ในขั้นสุดท้ายออกมาเป็นอะไร เช่น นักเรียนของผู้เขียนได้ทำการเพิ่มผลผลิตในไร่สับปะรด ( ดูตัวอย่างโครงงานที่ 1 ) มีจุดประสงค์คือ การเพิ่มผลผลิตในไร่สับปะรดโดยไม่ใช้ปุ๋ยวิทยาศาสตร์  โครงงานกลอนภาษาอังกฤษนักเรียนตั้งจุดประสงค์เพื่อการเผยแพร่กลอนเป็นภาษาอังกฤษ ในหนังสือพิมพ์ (ดูตัวอย่างกลอนภาษาอังกฤษจากหนังสือพิมพ์Bangkok post ของนักเรียน)
                    3. ขั้นวางแผน ( Planning ) ผู้เรียนจะต้องวางแผนว่า จะทำอะไร ทำที่ไหน และทำอย่างไร นักเรียนของผู้เขียนได้วางแผนการนำเสนอเป็นรูปแบบโปสเตอร์ (Poster )ภาษาอังกฤษ  การวางแผนการดำเนินการควรวางแผนอย่างละเอียด เช่น ถ้าไปสัมภาษณ์ภูมิปัญญาชาวบ้านเกี่ยวกับสับปะรด หรือสัมภาษณ์นักท่องเที่ยวที่มาท่องเที่ยวในท้องถิ่น นักเรียนต้องวางแผนว่า จะสัมภาษณ์ใคร (Who )สัมภาษณ์ที่ไหน(Where) สัมภาษณ์ทำไม (Why) เมื่อได้ผลแล้วจะเอาคำตอบไปทำอย่างไร( How)
                    4. ขั้นดำเนินการ (Processes ) นักเรียนดำเนินการโครงงานภาษาอังกฤษ ตามขั้นตอนที่ได้วางแผนไว้ ตามลำดับขั้นตอน( ดูตัวอย่างโครงงานที่ 1 ในขั้นกระบวนการ(Processes))
                    5. ขั้นประเมินผล (Evaluation ) การประเมินผลโครงงานภาษาอังกฤษ ควรประเมินผู้เรียนเพื่อให้เกิดทักษะทางด้านพุทธิพิสัย ( Cognitive Domain ) จิตพิสัย ( Affective Domain )และทักษะทางด้านภาษาอังกฤษ(Language Skills )  การประเมินผลอาจประเมินโดยตัวนักเรียนเอง(Self-evaluation  ) ประเมินโดยเพื่อนนักเรียน(Peer-evaluation )และประเมินโดยครู(Teacher evaluation )  โครงงานของผู้เขียนผู้ปกครองนักเรียนมีส่วนในการประเมินโครงงานด้วย  ทั้งจากโปสเตอร์และการนำเสนอเป็นภาษาอังกฤษ


    หัวข้อในการดำเนินโครงงานภาษาอังกฤษ
                    การดำเนินโครงงานภาษาอังกฤษไม่มีรูปแบบตายตัว  ครูผู้สอนอาจกำหนดหัวข้อในการดำเนินโครงงานภาษาอังกฤษง่ายๆก็ได้  ผู้เขียนขอเสนอรูปแบบหัวข้อในการดำเนินโครงงานภาษาอังกฤษดังนี้
    1.       หัวข้อโครงงาน (Title )
    2.       ชื่อผู้ทำโครงงาน(Author )
    3.       ชื่อที่ปรึกษาโครงงาน(Advisor )
    4.       ที่มาของปัญหา(Statement of the problem )
    5.       จุดมุ่งหมายของโครงงาน(Object )
    6.       แผนดำเนินการ(Plan )
    7.        วิธีดำเนินการ(Process )
    8.       ผลที่คาดว่าจะได้รับ(Result )
    9.       สรุป (Conclusion )
    10.    เอกสารอ้างอิง (Reference )
    ข้อดีของโครงงานภาษาอังกฤษ ( The advantages of doing English project work)
    1.       นักเรียนได้มีโอกาสเลือกในสิ่งที่นักเรียนอยากเรียน
    2.     นักเรียนได้ฝึกทักษะทั้งการฟัง(Listening ) การพูด(Speaking ) การอ่าน(Reading ) และการเขียน(Writing )ภาษาอังกฤษแบบบูรณาการ(Integration )
    3.       นักเรียนได้ฝึกการทำงานร่วมกับผู้อื่น ( Collaborative )
    4.       นักเรียนได้ค้นคว้าข้อมูลด้วยตนเองตามความสนใจของแต่ละบุคคล (Learner-independence )
    5.       นักเรียนได้เรียนรู้จากการปฏิบัติในสถานการณ์จริง
    ตัวอย่างโครงงานภาษาอังกฤษและผลงานจากโครงงานการเขียนกลอนภาษาอังกฤษของนักเรียน
                    ปัญหาของนักเรียนคือต้องการเพิ่มผลผลิตในไร่สับปะรดโดยไม่ใช้สารเคมี นักเรียนของผู้เขียนออกไปค้นคว้าข้อมูลจากแหล่งเรียนรู้ต่างๆ เช่น ค้นข้อมูลจาก อินเตอร์เน็ต สอบถามผู้รู้ ค้นคว้าจากห้องสมุด  นักเรียนกลุ่มนี้ของผู้เขียนได้เลือกสัมภาษณ์ภูมิปัญญาในท้องถิ่นและนำความรู้มาทดลอง 2 ไร่คือ ไร่ที่ 1 ใช้สารเคมีตามปกติ  ไร่ที่ 2  ใช้น้ำมะพร้าวผสมกากน้ำตาล ผสมหอยเชอรี่( เนื่องจากบริเวณบ้านนักเรียนมีหอยเชอรี่มาก)และใส่สารEM(Effective Microorganism) ซึ่งเป็นจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์  แล้วนำมาเปรียบเทียบ 2 ไร่ ทุก 15 วัน ผลปรากฏว่าไร่ที่ 2 สับปะรดมีผลผลิตและเจริญเติบโตได้ดีกว่าไร่ที่ 1
    ตัวอย่างโครงงานภาษาอังกฤษอย่างง่ายๆของนักเรียนโครงงานที่  1 เรื่องการเพิ่มผลผลิตในไร่สับปะรด


    Statement of the problem-A study of increasing pineapples in a farm


    Objective             1. To study how to increase pineapples in a farm
                                  2. To prove that using natural material can increase pineapple in a farm


    Processes              1. Study books and research how to increase pineapples in farms
                                    2. Write project work
                                    3. Prepare farms
                                    4. Consult with the wisdom person
                                    5. Use Golden Apple Snail , coconut juice, EM, and sugar to fertilize the soil in controlling pineapple farm
                                   6. Compare the amount of products between two farms


    Conclusion         

    Use Golden Apple Snail , coconut juice, EM, and sugar can increase pineapples product


    ตัวอย่างผลงานโครงงานการเขียนกลอนภาษาอังกฤษของนักเรียนในหนังสือพิมพ์ Bangkok post


    My Brother
    by Miss Rungnapa Sungkird, Grade 10
    I am a little girl
    I have my mother
    We love the river
    We will travel with my brother
    I Like
    by Miss Wasana Boomroongket, Grade 10
    I like flowers
    I like to go to the river
    I will travel on summer
    I will go with my sister


    สรุป การดำเนินโครงงานภาษาอังกฤษนักเรียนอาจนำเสนอในรูปแบบของบอร์ดนิทรรศการ (Wall displays ) โปสเตอร์ (Poster ) หนังสือวารสาร(Magazine ) หนังสือพิมพ์ (Newspaper )  การดำเนินโครงงานภาษาอังกฤษไม่ใช่ปล่อยให้นักเรียนทำโครงงานโดยที่ครูผู้สอนไม่ได้ช่วยเหลืออะไรเลย  การดำเนินโครงงานภาษาอังกฤษนั้นครูผู้สอนมีส่วนช่วยเหลือผู้เรียน เช่น  ถ้านักเรียนทำโครงงานภาษาอังกฤษโดยเขียนจดหมายติดต่อกับชาวต่างประเทศ  ครูผู้สอนจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องสอนรูปแบบการเขียนจดหมายให้แก่นักเรียน ยังมีความเข้าใจผิดอยู่ว่าการสอนโครงงานนั้นครูไม่ต้องสอนอะไรเลย ซึ่งไม่เป็นความจริง ถ้านักเรียนไม่มีความสามารถในการเขียนให้ถูกต้องตามหลักไวยากรณ์ (Grammar )  ครูจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องสอนหลักการเขียนให้ถูกต้องตามหลักไวยากรณ์แก่นักเรียนก่อน  ผู้เขียนอยากให้กำลังใจครูผู้สอนทุกท่านว่า โครงงานภาษาอังกฤษไม่ใช่เรื่องยาก เพียงแต่ครูผู้สอนต้องมีความขยัน เตรียมการสอนอย่างดีและมีการวางแผนอย่างเป็นระบบก่อนการจัดการเรียนการสอนโครงงานให้แก่นักเรียน


    บรรณานุกรม


    กองบรรณาธิการ.(2548). สนุกกับภาษาอังกฤษโดยใช้แหล่งเรียนรู้. สานปฎิรูป 8(85): 34-36.
    Fried-Booth. (2002). Project work. Oxford University Press.
    Haines,S.(1989) Project  for  the EFL classroom : Resource material for teachers. UK: Nelson.
    Radzienda,T. (2004). Poet Tree in Kanchanaburi. Bangkok post. 5 October.
    Sheppard,K. , Stoller, F.( 1995). Guidelines for the integration of student projects into ESP   classrooms. FORUM. 33(2) pp.10-22.

    * นายขจิต ฝอยทองนักศึกษาปริญญาเอกทุนโครงการพัฒนาอาจารย์สาขาขาดแคลนจากคณะศิลปศาตร์และวิทยาศาสตร์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน

       ตัวอย่างโครงงานภาษาอังกฤษ

    ขั้นตอนการจัดทําโครงงานวิทยาศาสตร์มีขั้นตอน อะไรบ้าง

    การท าโครงงานวิทยาศาสตร์ เป็นกิจกรรมที่ต่อเนื่องและมีการด าเนินงานหลายขั้นตอนตั้งแต่เริ่มต้นจนถึงขั้น สุดท้าย ดังนี้ 1. การคิดและเลือกหัวข้อเรื่องที่จะท าโครงงาน 2. การศึกษาเอกสารที่เกี่ยวข้อง 3. การจัดท าเค้าโครงของโครงงาน 4. การลงมือท าโครงงาน 5. การเขียนรายงาน 6. การแสดงผลงาน การคิดและเลือกหัวข้อเรื่องที่จะทาโครงงาน

    ขั้นตอนใดเป็นขั้นตอนที่สำคัญที่สุดในการทำโครงงานวิทยาศาสตร์

    ขั้นที่ 1 การคิดและเลือกชื่อเรื่องหรือปัญหาที่จะศึกษา ขั้นตอนนี้เป็นขั้นที่สำคัญที่สุดและยากที่สุด ตามหลักการแล้วนักเรียนควรจะเป็นผู้คิดและเลือกหัวข้อเรื่องที่จะศึกษาด้วยตนเอง แต่ครูอาจมีบทบาทหรือมีส่วนช่วยเหลือให้นักเรียนสามารถคิดหัวข้อเรื่องได้ด้วยตนเอง ดังจะได้กล่าวต่อไป

    โครงงานวิทยาศาสตร์มีกี่ขั้นตอน

    โครงงานวิทยาศาสตร์ อาจแบ่งได้เป็น 4 ประเภท คือ 4.1 โครงงานประเภทการสำรวจ 4.2 โครงงานประเภทการทดลอง 4.3 โครงการประเภทการพัฒนาหรือการประดิษฐ์

    ขั้นตอนในการทำโครงการประเภทสิ่งประดิษฐ์มีอะไรบ้าง

    1.เตรียมคิดรูปแบบสิ่งประดิษฐ์จาก วัสดุเหลือใช้ 2.ประชุมวางแผนงาน วางรูปแบบ งานและ จัดสรรงบประมาณ 3.ร่างโครงการเสนออาจารย์ที่ ปรึกษาโครงการ 4.จัดเตรียมวัสดุอุปกรณ์และ สถานที่ที่จะทาสิ่งประดิษฐ์ 5.จัดทาแผนธุรกิจและแผนกลยุทธ์ 6.ลงมือปฏิบัติงานตามแผนงานและ ขั้นตอนการดาเนินงานที่วางไว้ 7.สรุปผลการปฏิบัติงาน