องค์ประกอบของการทําธุรกิจดิจิทัล มีกี่ด้าน

การเริ่มต้นที่ดีในการทำ Digital Marketing นั้นเป็นอย่างไร? และต้องมีองค์ประกอบใดบ้าง? 

Show

หลายๆท่านอาจเข้าใจผิดว่าการทำ Digital Marketing นั้นคงไม่ได้มีอะไรมาก เพียงแค่การทำการตลาดผ่านช่องทางโซเชียลมีเดีย หรือการทำโฆษณาผ่านช่องทางต่างๆเท่านั้น แต่ในความเป็นจริงแล้วมีองค์ประกอบสำคัญอีกหลายๆองค์ประกอบ ที่ทำให้การทำการตลาดออนไลน์ของคุณนั้นมีประสิทธิภาพที่ดี และส่งผลต่อธุรกิจของคุณในระยะยาว จะขอยกตัวอย่างเปรียบเทียบให้เห็นภาพนะคะ

ธุรกิจ A ทำการตลาดโดยการทำโฆษณาผ่านช่องทาง Facebook เพียงอย่างเดียว โดยที่ไม่รู้ว่าลูกค้าของตนเองเป็นกลุ่มไหน เน้นการยิงโฆษณาออกไปให้เยอะที่สุด โดยไม่ได้วางกลยุทธ์หรือเป้าหมายที่ชัดเจน ทำให้ไม่สามารถเก็บข้อมูลว่าแท้จริงแล้วลูกค้าของธุรกิจ คือใคร เขามีความต้องการแบบไหน การสื่อสารที่ออกไปนั้นจึงไม่ตรงต่อความต้องการหรือความสนใจที่แท้จริงของกลุ่มเป้าหมาย ส่งผลให้เสียค่าใช้จ่ายและเวลาไปโดยเปล่าประโยชน์

หลายท่านคงเห็นความสำคัญของการเริ่มต้นในการวางแผนที่ดีและการเห็นภาพรวมของ Digital Marketing แล้วใช่ไหมคะ ว่าธุรกิจ B มีการวางแผนภาพรวมที่ชัดเจนดังนี้

  1. รู้จักตนเอง (Goal & Brand) 
  2. รู้จักลูกค้า (Customer) 
  3. รู้จักตลาด (Channel) 
  4. มีการวัดผลลัพธ์ (KPI) 
  5. มีทีมที่ดี (Team)

บทความแนะนำ 
5 ปัจจัยสำคัญ สำหรับผู้เริ่มต้นทำ Digital Marketing ให้คุณเห็นภาพรวมและพร้อมเติบโตในยุคดิจิทัล
อ่านเพิ่มเติมได้ที่: https://stepstraining.co/strategy/5-factor-digital-marketing

หนึ่งสิ่งที่สำคัญเป็นอย่างมากสำหรับการทำ Digital Marketing เป็นสิ่งที่ทุกๆท่านที่ต้องการเริ่มต้นทำ Digital Marketing นั้นก็คือ “การเข้าใจภาพรวม”  และ “การตั้งเป้าหมาย” แต่จะประกอบไปด้วยอะไรบ้าง วันนี้ทีมงาน STEPS Academy จะมาเล่าให้ฟังกันค่ะ ใครที่ไม่มีพื้นฐานหรือเพิ่งเริ่มต้นนั้น ห้ามพลาดกันเลยทีเดียวค่ะ 

  1. กำหนดเป้าหมายการตลาดดิจิทัลของคุณ 
  2. ระบุกลยุทธ์การตลาดที่จะบรรลุเป้าหมายของคุณ Customer Value Journey
  3. ช่องทางในการสื่อสาร
  4. นำแผนไปปฏิบัติและจ่ายงานสู่ทีม

กำหนดเป้าหมายการตลาดดิจิทัลของคุณ 

การตั้งเป้าหมายในการทำ Digital Marketing ที่เฉพาะเจาะจงนั้น จะช่วยสนับสนุนการตั้งเป้าหมายในระยะยาวสำหรับธุรกิจของคุณ จึงทำให้เครื่องมือ SMART เป็นที่นิยมอย่างแพร่หลายและถูกประเมินว่าเหมาะสมสำหรับการผลักดันให้เกิดกลยุทธ์ที่แตกต่างหรือปรับปรุงกระบวนการทางธุรกิจที่จะช่วยให้คุณสามารถสมหวังในเป้าหมายของคุณได้ โดยการเชื่อมโยง เป้าหมาย กลยุทธ์และ การวัด KPI เอาไว้เพื่อตรวจสอบความคืบหน้าได้อย่างรวดเร็วและสม่ำเสมอ

SMART Goal

องค์ประกอบของการทําธุรกิจดิจิทัล มีกี่ด้าน

ภาพจาก : https://www.smartinsights.com/goal-setting-evaluation/goals-kpis/define-smart-marketing-objectives/

1.Specific เจาะจง

การมีเป้าหมายที่เจาะจงและชัดเจน จะสามารถนำให้ทีมของคุณไปถึงปลายทางได้ และมองเห็นเป้าหมายเป็นจุดเดียวกันทำให้เกิดแรกผลักดันและขับเคลื่อนไปในทิศทางเดียว ส่งผลให้คุณสามารถบรรลุเป้าหมายได้ตามเวลาที่คุณกำหนดไว้โดยที่ไม่เสียเวลาในการลองผิดลองถูก 

2.Measurable สามารถวัดผลได้

การตั้งเป้าหมายนั้นต้อง “สามารถวัดผลได้” ซึ่งคุณสามารถติดตามและประเมินความก้าวหน้าของเป้าหมายได้ รู้ว่าเป้าหมายนั้นเป็นไปได้ รู้ว่าใช้เวลาอีกเท่าไหร่ เมื่อใดที่คุณจะสามารถบรรลุเป้าหมายได้ 

3.Attainable เป็นไปได้

การตั้งเป้าหมายนั้นต้องมีความเป็นไปได้จากการประเมินความสามารถและศักยภาพขององค์กรตามความเป็นจริง ก่อนการตั้งเป้าหมายเพื่อดูถึงโอกาสความเป็นไปได้ โดยการตั้งเป้าหมายต้องออกมาจากการวิเคราะห์สถิติหรือฐานข้อมูลจริงขององค์กร ไม่ใช่การนำมาตราฐานทั่วไปหรือแค่สิ่งที่คุณต้องการนำมาใช้

4.Relevant สมเหตุสมผล

การตั้งเป้าหมายควรเกี่ยวข้องกับบริษัทและอุตสาหกรรมของคุณ มีความสมเหตุสมผลและเป็นเหมือนส่วนหนึ่งของเป้าหมายทีม เพื่อให้คุณตระหนักถึงการตั้งเป้าหมายได้อย่างแท้จริง ในการทำงานเพื่อบรรลุเป้าหมายเดียวกัน

5.Time Based ทันเวลา

ช่วยให้คุณทำตามเป้าหมายได้ภายในเวลาที่กำหนด  การกำหนดเป้าหมายที่ดีนั้นจะต้องไม่ใช้เวลาที่นานเกินไป และการกำหนดเวลาในการทำงานของคุณ จะช่วยให้ทำตามเป้าหมายได้ดีขึ้น และส่งผลให้ทีมของคุณสามารถทำงานบรรลุเป้าหมายได้ซึ่งมีความสำคัญในระยะยาว

ตัวอย่าง

เป้าหมาย : เพิ่มจำนวนผู้อ่านคอนเทนต์

1.Specific : ต้องการเพิ่มอัตราการเข้าชม Blog ของเราโดยการเพิ่มความถี่ในการเผยแพร่คอนเทนต์ต่อสัปดาห์จาก 5 ครั้งเป็น 8 ครั้ง ต่อสัปดาห์ นักเขียนคอนเทนต์ทั้งสองของเราจะเพิ่มภาระงานของพวกเขาจากการเขียน 2 โพสต์ ต่อสัปดาห์เป็น 3 โพสต์ต่อสัปดาห์และบรรณาธิการของเราจะเพิ่มภาระงานของเธอจากการเขียน 1 โพสต์ต่อสัปดาห์เป็น 2 โพสต์ต่อสัปดาห์

2.Measureable : เป้าหมายคือต้องการเพิ่มอัตราการเข้าชม Blog เพิ่มขึ้น 8% 

3.Attainable : ปริมาณการใช้งาน Blog ของเราเพิ่มขึ้น 5% เมื่อเดือนที่แล้ว เมื่อเราเพิ่มความถี่ในการเผยแพร่จาก 3 ครั้ง เป็น 5 ครั้งต่อสัปดาห์ 

4.Relevant : ด้วยการเพิ่มการเข้าชม Blog เราจะเพิ่มการรับรู้แบรนด์และสร้างโอกาสในการขายเพิ่มขึ้นทำให้มีโอกาสในการปิดการขายมากขึ้น

5.Time – bound : โดยเริ่มต้นจากเดือนกรกฎาคม และทำให้ได้เป้าหมายภายในสิ้นเดือนสิงหาคม 

กลยุทธ์การตลาดที่จะบรรลุเป้าหมายของคุณ (Customer Value Journey)

ทำไมกลยุทธ์การตลาดนั้นถึงเกี่ยวข้องกับการเดินทางของลูกค้า ?

เพราะว่าก่อนที่คุณจะเริ่มต้นในการทำการตลาดนั้นคุณจะต้องรู้ก่อนว่าลูกค้าของคุณคือใคร? พวกเขาอยู่ที่ไหน? จะซื้ออะไร? และการที่เรารู้ว่า การเดินทางของลูกค้าตั้งแต่การเป็นคนแปลกหน้าสำหรับแบรนด์ จนกลายเป็นแฟนพันธุ์ของแบรนด์นั้นมีการเดินทางอย่างไรบ้าง จะทำให้เราสามารถรู้กระบวนการแต่ละขั้นตอนสำหรับการดึงดูดและเปลี่ยนจากคนแปลกหน้าให้กลายเป็นลูกค้าที่ชื่นชอบและรักเรา ซึ่ง Customer Value Journey นั้นคือเส้นทาง 8 ขั้นตอนมีอะไรบ้างไปดูกันเลยค่ะ

องค์ประกอบของการทําธุรกิจดิจิทัล มีกี่ด้าน

1.Awareness (การรับรู้)

ขั้นตอนแรกชัดเจนคุณจะต้องอยู่ในเรดาร์ของลูกค้า ที่เกิดขึ้นได้จาก การโฆษณา, บล็อกโพสต์, งานกิจกรรม, การบอกต่อ, โซเชียลมีเดีย, หรือช่องทางใดก็ตามที่คุณสามารถนำเสนอสินค้าบริการหรือสิ่งที่คุณสามารถช่วยแก้ปัญหาของลูกค้าเป้าหมายของคุณได

2.Engagement (การมีส่วนร่วม)

การสร้างการมีส่วนร่วมคือการกำหนดความสัมพันธ์ที่เกี่ยวข้องกับอารมณ์หรือคำมั่นสัญญา ซึ่งเกี่ยวกับการสร้างความสัมพันธ์หรือความผูกพันธ์ระหว่างแบรนด์กับลูกค้า ซึ่งในขั้นตอนนี้จะเกิดขึ้นหลังจากที่ลูกค้าได้มีส่วนร่วมกับแบรนด์ครั้งแรก จะเปิดโอกาสในการดำเนินการต่อผ่านประสบการณ์ทั้งหมดกับแบรนด์ของเราอาจเป็นการสนทนาที่ต่อเนื่องที่เรามีกับลูกค้าในหลายๆช่องทางเช่น การทำ Blog หรือการส่งบทความความรู้ผ่านอีเมลให้ลูกค้า

3.Subscribe (การติดตาม)

เมื่อลูกค้ามีประสบการณ์ที่ดีกับแบรนด์แล้วจะเกิดความไว้วางใจหลังจากนั้น เราอาจเพิ่มความสัมพันธ์ที่มากขึ้นโดยการนำเสนอลูกค้าให้สมัครสมาชิกกับแบรนด์โดยมีข้อเสนอที่ดีหรือให้คำมั่นสัญญากับลูกค้า แลกกับการขออีเมลเพื่อส่งข้อมูลหรือบทความเกี่ยวกับแบรนด์ไปให้ ซึ่งปัญหาเพียงอย่างเดียวของขั้นตอนนี้คือ วันนี้ผู้คนระมัดระวังเกี่ยวกับการให้อีเมลของพวกเขา ดังนั้นเราจะต้องนำเสนอสิ่งที่คุ้มค่าเพียงพอต่อความต้องการของลูกค้า ที่เขาจะยินยอมให้อีเมลแก่เรา

4.Convert (การสร้างลูกค้า)

หากข้อเสนอของคุณมีคุณค่าเพียงพอที่จะช่วยแก้ปัญหาแก่ลูกค้า พวกเขาก็พร้อมที่จะเพิ่มความสัมพันธ์กับแบรนด์มากขึ้น เพียงขอแค่คุณบอกวิธีการ ซึ่งวิธีที่ดีที่สุดคือการเริ่มต้นนำเสนอสิ่งที่ช่วยให้พวกเขาได้ลองสินค้าหรือบริการของแบรนด์ในครั้งแรกก่อนเช่น ฟอกฟันขาวครั้งแรกในราคา 500 บาท และแน่นอนในขั้นตอนนี้คุณอาจยังคาดหวังเรื่องของกำไรไม่ได้เพราะเป็นขั้นตอนที่ทำให้ลูกค้าของคุณลองเปิดใจรับสินค้าบริการของก่อนเพื่อนำไปสู่การขายที่แท้จริง

5.Excite (ทำให้ลูกค้าตื่นเต้นกับแบรนด์ของคุณ)

การสร้างความรู้สึกตื่นเต้นและส่งมอบประสบการณ์ที่น่าจดจำแก่ลูกค้าใหม่ของคุณ เมื่อเขาซื้อสินค้าหรือบริการของคุณ เช่นร้านทำผม ย้อมผมครั้งแรกแถมบริการทำเล็บให้ฟรี จะทำให้พวกเขารู้สึกประทับใจหรือรู้สึกดีในการที่จะเป็นลูกค้าของเรา ซึ่งการสร้างความตื่นเต้นนั้น จะเป็นการทำให้คุณสามารถชนะใจพวกเขาได้ และกระตุ้นให้พวกเขาอยากรู้จักและอยากใช้บริการของคุณอีก

6.Ascend (การซื้อซ้ำ)

ในขั้นตอนนี้เป้าหมายคุณคือสร้างการซื้อซ้ำหรือการจัดโปรโมชั่น สิ่งที่กระตุ้นลูกค้าให้เกิดการอยากซื้อซ้ำหรือใช้สินค้าของเราอย่างต่อเนื่องและเป็นขั้นตอนที่ได้กำไรแท้จริง ซึ่งข้อเสนออาจเป็นเรื่องง่ายๆที่เกิดขึ้นหลังจากการซื้อสินค้าครั้งแรก ด้วยตัวเลือกที่ดีกว่า เช่น หากวันนี้คุณซื้อโน๊ตบุ๊ค ราคา 28,000 บาทเพิ่มอีก 1,000 บาทได้การรับประกันเครื่องหากเกิดปัญหาในระยะเวลา 3 ปี 

7.Advocate (การบอกต่อ)

เมื่อเราสามารถสร้างความประทับใจหรือประสบการณ์ที่ดีแก่ลูกค้า พวกเขาจะมีความสุขและอยากที่จะแบ่งปันประสบการณ์หรือการบอกต่อแก่คนอื่น สิ่งที่ยอดเยี่ยมคือเมื่อไหร่ที่พวกเขาบอกต่อแก่ผู้อื่น นั่นหมายความว่าพวกเขาจะภักดีต่อแบรนด์ของคุณมากขึ้น ดังนั้นในขั้นตอนนี้ของการเดินทางของลูกค้าคือการทำให้ลูกค้าคุณอยากแบ่งปันประสบการณ์เชิงบวกกับแบรนด์ของคุณ โดยการเขียนรีวิว หรือแชร์โพสต์ในโซเชียลมีเดีย

8.Promote (การทำให้ลูกค้าเป็นผู้สนับสนุนเรา)

ในขั้นตอนนี้ความสัมพันธ์ระหว่างแบรนด์และลูกค้ามีความแน่นแฟ้นมากขึ้นทำให้ลูกค้าของคุณจะกระจายข่าวเกี่ยวกับแบรนด์ ผลิตภัณฑ์และบริการของคุณอย่างแข็งขัน พวกเขาบอกเล่าเรื่องราวแนะนำ และแบ่งปันข้อเสนอของคุณ เพราะพวกเขาเชื่อในแบรนด์อย่างแท้จริง

ตัวอย่าง : ธุรกิจโรงแรม

1.Awareness สร้างการรับรู้โดยเลือกส่งโฆษณาไปในช่วงวันหยุดยาวให้แก่กลุ่มพนักงานประจำ และพูดถึงห้องพักและบรรยากาศในโรงแรมว่ามีอะไรเป็นพิเศษเหมาะสมสำหรับคนที่ต้องการพักผ่อนหลังจากทำงานมาเป็นเวลานาน และการพักผ่อนครั้งนี้จะทำให้เรากลับมาทำงานได้อย่างเต็มที่ 100% อีกครั้ง

2.Engagement สร้างคอนเทนต์แนะนำกิจกรรมที่มีภายในโรงแรม ว่ามีกิจกรรมใดบ้างที่เหมาะสมสำหรับกลุ่มที่ไปกับเพื่อนที่ต้องการเวลาพักผ่อนและมีกิจกรรมที่สามารถทำร่วมกัน หรือมีสถานที่ท่องเที่ยวใดน่าสนใจที่อยู่ใกล้ๆกับโรงแรม

3.Subscribe การให้โปรโมชั่นส่วนลดห้องพักแลกกับข้อมูลอีเมลเบอร์โทรของลูกค้าซึ่งมีมูลค่าพอต่อความต้องการของลูกค้า

4.Convert การแนะนำสถานที่ท่องเที่ยวหรือการส่งโปรโมชั่นดีๆให้ลูกค้าในแต่ละเทศกาล จะทำให้ลูกค้าเกิดความสนใจและต้องการที่จะใช้บริการของเรา

5.Excite การสร้างความตื่นเต้นแก่ลูกค้า โดยเมื่อลูกค้าตกลงจองห้องพักกับเรา แล้วทำการส่งวิดีโอโปรโมทกิจกรรมประจำเดือนนั้นไปให้ลูกค้าชมว่ามีการแสดงหรือกิจกรรมพิเศษ ตัวอย่างเช่น กิจกรรมเดือนนี้เป็นปาร์ตี้ริมทะเล เพื่อกระตุ้นให้ลูกค้าเกิดความตื่นเต้นที่จะมาพักโรงแรมของเรา

6.Ascend เมื่อคุณสามารถสร้างความประทับใจแก่ลูกค้าใหม่ที่เพิ่งมาใช้บริการของคุณครั้งแรก แล้วในครั้งต่อไปคุณอาจส่งคูปองส่วนลดที่สามารถอัปเกรดห้องพักของคุณได้ เพียงจ่ายเพิ่มแค่ไม่กี่บาท เป็นการกระตุ้นให้ลูกค้ารู้สึกว่าต้องกลับไปใช้บริการอีกครั้ง

7.Advocate เมื่อลูกค้าได้รับประสบการณ์ที่พิเศษและเกิดความประทับใจ ลูกค้าจะเกิดการบอกต่อหรือทำการถ่ายรูปหรือวิดีโอความประทับใจแชร์ผ่านโลกโซเชียล ก็เป็นเหมือนการบอกต่อสู่คนอื่นๆ

8.Promote จากความประทับสู่การแนะนำ และขั้นสุดท้ายลูกค้าที่จงรักภักดีต่อแบรนด์ของเราจะทำการประชาสัมพันธ์ข่าวต่างๆเกี่ยวกับโรงแรมของเรา หรือมีกิจกรรมใดที่น่าสนใจบ้างในช่วงนี้ จะทำให้เกิดการขยายการรับรู้เพิ่มมากขึ้นซึ่งบางครั้งอาจเกิดเป็นการตกลงซึ่งกันว่าถ้าลูกค้าทำวิดีโอแนะนำโรงแรมของเราจะได้รับสิทธิพิเศษหรือหากแนะนำลูกค้าให้มาพักของโรงแรมเราได้จะมีการให้ค่าคอมมิชชั่นจำนวน X% 

Media

การเริ่มต้นทำ Digital Marketing นั้นเราต้องรู้จักช่องทางในการทำการตลาด ซึ่งเป็นช่องทางออนไลน์ต่างๆ ที่ใช้ในการทำการตลาด หรือให้บริการลูกค้า

องค์ประกอบของการทําธุรกิจดิจิทัล มีกี่ด้าน

ภาพจาก : https://www.allbusiness.com/the-differences-between-paid-earned-owned-and-shared-media-4246-1.html

1.Owned Media (สื่อที่เราเป็นเจ้าของ)

คือ สื่อออนไลน์ใดก็ตามที่คุณสามารถควบคุม โดยเฉพาะเว็บไซต์ของแบรนด์คุณเอง และคอนเทนต์ต่างๆที่คุณทำออกมา(เรื่องราวของแบรนด์) ตัวอย่างเช่น ไฟล์ที่คุณทำออกมาให้ดาวน์โหลดผ่านเว็บไซต์ บล็อก อีเมล ซึ่งกลยุทธ์นี้เป็นการลงทุนแบบระยะยาว

ตัวอย่าง Red Bull หรือ กระทิงแดง เครื่องดื่มชูกำลังที่หลายๆท่านคุ้นเคย ได้กลายเป็นที่รู้จักในเรื่องของกีฬาผาดโผนมากกว่าเครื่องดื่มชูกำลังที่ขาย ซึ่งเป็นเรื่องธรรมชาติสำหรับกลุ่มคนที่ดื่มเครื่องดื่มชูกำลังสนใจหรือชื่นชอบในความตื่นเต้น แทนที่ Red Bull จะสร้างคอนเทนต์เกี่ยวกับอุตสาหกรรมเครื่องดื่มชูกำลัง แต่ Red Bull ได้ดึงดูดผู้ชมด้วยคอนเทนต์และวิดีโอเกี่ยวกับกีฬาผาดโผนต่างๆ ผ่านกลุ่มชุมชนที่ชื่นชอบกีฬาผาดโผน

ในแคมเปญการตลาด Red Bull นั้นให้แนวคิดเราว่า สิ่งที่เราขาย ไม่ได้เป็นกลยุทธ์คอนเทนต์ที่เหมาะสมที่สุดเสมอในการสื่อสารออกไป แต่เป็นวิถีชีวิตที่ลูกค้าของคุณอาศัยอยู่ หรือกิจกรรมที่เขาชื่นชอบอย่างที่ Red Bull ได้ใช้คอนเทนต์กิจกรรมผาดโผนในการสื่อสารผ่านเว็บไซต์ของแบรนด์ซึ่งเป็น Owned Media ค่ะ

องค์ประกอบของการทําธุรกิจดิจิทัล มีกี่ด้าน

ภาพจาก : https://blog.hubspot.com/marketing/digital-strategy-guide

2.Paid Media (สื่อโฆษณา)

โฆษณา Facebook, Google Adwords, แบนเนอร์โฆษณาและรูปแบบอื่นๆ ของการโปรโมทออนไลน์แบบอื่นๆที่อยู่ในหมวดหมู่ของสื่อที่มีค่าใช้จ่ายต้องชำระ ซึ่งโฆษณาออนไลน์สามารถกำหนดเป้าหมายแบบลึกได้เพื่อเข้าถึงลูกค้าคุณได้โดยตรงมากขึ้นและสามารถติดตามการใช้งานบนเว็บไซต์

ตัวอย่าง Grammarly ซอฟต์แวร์ที่จะช่วยให้คุณตรวจสอบการใช้ไวยากรณ์ภาษาอังกฤษได้อย่างถูกต้องได้สร้างแคมเปญโฆษณาในการสร้างแบรนด์ผ่านบนช่องทาง Facebook ซึ่งเป็นช่องทางของ Paid Media ที่ประสบความสำเร็จอย่างมากข้อมูลจาก AdEspresso กล่าวว่ามีผู้ชมโฆษณามากกว่า 5 ล้านคนและ ค่า CPM – Cost per Impressions ลดลงถึง 76% ในการทำแคมเปญโฆษณา แล้วทำไมแคมเปญนี้ถึงประสบความสำเร็จ?

เพราะว่า Grammarly ได้มีการตั้งเป้าหมายที่ชัดเจนก่อนการเริ่มทำแคมเปญนั้นก็คือ การสร้างแบรนด์ ทำให้ Grammarly ต้องออกแบบแคมเปญที่ดึงดูดผู้ชมจำนวนมาก ซึ่งได้ใช้วิธีการเล่าเรื่อง หรือ Brand Storytelling ผ่านเรื่องราวของคุณ Kaz Matsune ผู้ใช้งาน Grammarly จริง ที่เป็นทั้งพ่อครัวทำซูชิ คุณครู และนักเขียน และปิดท้ายวิดีโอด้วยการเน้นประโยค CTA – Call to Action ที่ทรงพลังด้วยคำว่า “Write the Future” หรือ “เขียนอนาคตของคุณ” ซึ่งเป็นคำสั้นๆที่สร้างแรงบันดาลใจที่ส่งต่อไปยังผู้ชมวิดีโอ

บทความแนะนำ 

13 สูตรคำนวณ KPIs ใช้วัดผลแคมเปญโซเชียลมีเดีย เพื่อต่อยอดกลยุทธ์ทางธุรกิจ
อ่านเพิ่มเติมได้ที่: https://stepstraining.co/analytics/13-formula-social-media-kpi

7 สูตรการเล่าเรื่อง Storytelling ให้แบรนด์ของคุณเป็นที่น่าจดจำ
อ่านเพิ่มเติมได้ที่: https://stepstraining.co/content/7-formula-storytelling

3.Earned Media (สื่อที่เกิดจากการบอกต่อ)

Earned Media คือ การตลาดแบบปากต่อปาก การบอกต่อ หรือการถูกกล่าวถึงบนโลกออนไลน์ในเชิงบวก ไม่ว่าจะเป็นการพูดถึงคอนเทนต์ที่เกี่ยวกับคุณจากเว็บไซต์อื่น หรือบนโซเชียลมีเดีย การประชาสัมพันธ์ผลิตภัณฑ์หรือบริการ และโพสต์จากผู้เยี่ยมชม ซึ่งถือว่าเป็นการตลาดรูปแบบหนึงที่มีผู้อื่นกล่าวถึงคุณบนออนไลน์โดยจะลิงก์กลับมาที่เว็บไซต์ของคุณ

ตัวอย่าง แบรนด์ที่มีคอนเทนต์จากผู้ใช้งานเป็นจำนวนมาก และมีการพูดถึงบนช่องทางต่างๆ เป็นอย่างมากนั้นก็คือแบรนด์ GoPro กล้องน้ำหนักเบา ขนาดเล็กที่คุณสามารถถพกไปทุกที่เพื่อบันทึกประสบการณ์และช่วงเวลาที่น่าตื่นเต้นที่สุดในชีวิตคุณ และคุณรู้หรือไม่คะ ว่าวิดีโอที่คุณเห็นในช่องทาง Youtube ของ GoPro นั้นไม่ได้สร้างจากทาง GoPro แต่มาจากผู้ใช้งานที่ชื่นชอบในแบรนด์

GoPro ได้มีการตั้งเป้าหมายที่ชัดเจนในการทำโฆษณา 3 อย่างนั้นก็คือ การสร้างฐานแฟนคลับ โฆษณาสิ่งที่กล้อง GoPro สามารถทำได้ และเพื่อเพิ่มยอดขาย โดยการสนับสนุนให้แฟนๆถ่ายวิดีโอการผจญภัยของพวกเขาและแบ่งปันประสบการณ์ผ่านการโพสต์ในช่องทาง Youtube และติดแท็กลงในวิดีโอ เพื่อใช้เป็นพื้นที่รวบรวมและแลกเปลี่ยนประสบการณ์ซึ่งกันและกัน เสมือนการรีวิวสินค้าโดยผู้ใช้จริงจำนวนมาก นำมาสู่ยอดขายที่เพิ่มขึ้น

4.Social Media (เครือข่ายสังคมออนไลน์)

โซเชียลมิเดีย คือช่องทางใดๆที่องค์กรหรือธุรกิจของบุคคลที่สามเป็นเจ้าของ แต่อนุญาตให้ผู้ใช้งานสร้างคอนเทนต์ แพลตฟอร์มที่หลายๆท่านรู้จักเป็นอย่างดี ได้แก่ FacbookInstagramTwitterYouTubeLinkedIn หรือ Pinterest โดยทั่วไปแล้วแพลตฟอร์มเหล่านี้จะใช้เพื่อเพิ่มการรับรู้แบรนด์ หรือสร้างการมีส่วนร่วมของลูกค้าคุณ

ตัวอย่าง Dove ผลิตภัณฑ์ที่สาวๆคุ้นเคยกันได้สร้างแคมเปญระดับโลกที่เปิดตัวครั้งแรกเมื่อ 15 ปีก่อน แต่มันกลายเป็นมากกว่าแค่แคมเปญแต่ส่วนหนึ่งของภารกิจองค์กรไปแล้วกับแคมเปญ Self Esteem ซึ่ง Dove ได้สนับสนุนให้ผู้ใช้อวดความงามของพวกเขาผ่านการแชร์รูปภาพด้วยการติดแฮชแท็ก #RealBeauty #NoLikesNeeded และ #SpeakBeautiful

ซึ่งสถิติจาก Hootsuite พบว่า 70% ของผู้หญิงไม่ได้รู้สึกว่าตนเองเป็นตัวแทนในการโฆษณาแก่บริษัท และ  Dove ได้ให้คำมั่นสัญญาว่าจะหยุดแต่งภาพถ่ายทั้งหมดที่ใช้ในการตลาดภายในปี 2019 นี้ ซึ่งเป็นแคมเปญที่ทรงพลังและสร้างคลื่นการเปลี่ยนแปลงการทำการตลาดที่เป็นมากกว่าแค่เรื่องของสินค้าผลิตภัณฑ์แต่ได้สร้างทัศนคติเชิงบวกให้เห็นคุณค่าในตนเองอีกด้วยค่ะ

นำแผนไปปฏิบัติและจ่ายงานสู่ทีม

เมื่อเราทำการตั้งเป้าหมาย กำหนดกลยุทธ์ รู้จักช่องทางในการสื่อสารและทำการ Digital Marketing แล้วเราควรนำแผนการทั้งหมดมาลงมือปฎิบัติจริงโดยการแจกจ่ายงานสู่ทีมต่างๆ ซึงดิจิทัลได้เปลี่ยนรูปแบบการทำการตลาดในแง่ของกระบวนการกลยุทธ์และการเข้าถึงเทคโนโลยีดิจิทัลได้สร้างโอกาสและความท้าทายใหม่ๆ ทำให้ฝ่ายการตลาดจึงเป็นศูนย์กลางของขับเคลื่อนองค์กรผ่านการตลาดต่า ซึ่งมีบทบาทสำคัญในการเติบโตและความสำเร็จของทีม ทีมการตลาดในปัจจุบันจึงต้องมีการปรับเปลี่ยนโครงสร้างการทำงานใหม่

แล้วในแต่ละตำแหน่งงาน Digital Marketing นั้นมีทักษะอะไรบ้าง เพื่อที่เราจะสามารถมอบหมายงานที่ตรงต่อทักษะความสามารถของตำแหน่งงานนั้น

1.Content Strategy นักวางกลยุทธ์ทางด้านคอนเทนต์ ที่จะสื่อสารแบรนด์ออกไปสู่ลูกค้าผ่านความคิดสร้างสรรค์ที่ทำให้คอนเทนต์สื่อออกมาได้แตกต่างมากขึ้น

2.DIgital Project Management ผู้จัดการบริหารโครงงานด้านดิจิทัล เป็นตำแหน่งที่ต้องเข้าใจทุกด้าน เก่งเรื่องการบริหารจัดการโครงการ คอยติดตามและประสานงานกับผู้ถูกว่าจ้างต่างๆ ให้โครงการงานลงตัว

3.Data & Analytics นักวิเคราะห์ข้อมูล ต้องอาศัยการคิดวิเคราะห์ แบบมีเหตุผล รู้ที่มาที่ไป และสามารถตอบได้ว่าข้อมูลที่ได้มาข้อมูลใดที่จะสามารถนำไปต่อยอดกับองค์กรได้

4.Brand Marketers นักสร้างแบรนด์ การทำให้แบรนด์ขยายอย่างไร้รอยต่อจากออฟไลน์สู่ออนไลน์ และขยายจากในประเทศไปสู่ต่างประเทศ

5.SEO Specialisation ผู้เชี่ยวชาญทางด้าน SEO ที่จะช่วยให้ผู้คนเสริช์เจอเว็บไซต์ของคุณเป็นอันดับต้นๆและช่วยให้คุณสามารถลดค่าใช้จ่ายในการโฆษณาได้หากคุณสามารถพัฒนาเว็บไซต์ของคุณให้มีประสิทธิ์ภาพที่ดี

6.Website Design & Development นักออกแบบและพัฒนาเว็บไซต์ การพัฒนาและออกแบบเว็บไซต์ให้เหมาะกับการใช้งาน ทันยุคทันสมัยก็เป็นสิ่งสำคัญ เพราะเราต้องประสบการณ์การใช้งานที่ดีแก่ผู้เข้าเยี่ยมชมเว็บไซต์จึงจำเป็นต้องมีการปรับเปลี่ยนตกแต่งและพัฒนาอย่างต่อเนื่อง

บทความแนะนำ

7 ตำแหน่งงานด้าน Digital Marketing ที่เป็นที่ต้องการของตลาดปี 2019

อ่านเพิ่มเติมได้ที่: https://stepstraining.co/entrepreneur/7-job-title-digital-marketing-2019

ตาคุณแล้วค่ะ ที่จะเริ่มต้นการทำ Digital Marketing แล้วโตไปกับเรา หากคุณอยากรู้เรื่องการทำการตลาดออนไลน์มากขึ้นสามารถกดสมัครรับบทความความรู้ดีๆได้เลยค่ะ หรือหากคุณต้องการเรียนรู้ลงมือทำจริงโดยมีผู้เชี่ยวชาญในด้าน Digital Marketing โดยตรงมาเป็นผู้แนะนำให้คุณสามารถอ่านรายละเอียดหลักสูตร Digital Marketing Specialist Certification Course https://stepstraining.co/digital-marketing-specialist

องค์ประกอบของการทำธุรกิจดิจิทัลมีทั้งหมดกี่ด้าน

องค์ประกอบของนวัตกรรมธุรกิจดิจิทัล จะต้องมีองค์ประกอบอย่างน้อย 4 ประการ คือ 1. มีความใหม่ 2. มีองค์ความรู้หรือความคิดเปลี่ยนแปลง นวัตกรรม 3. มีประโยชน์ต่อชุมชนหรือสังคมโดยทั่วไป และ 4. มีโอกาสในการพัฒนาต่อได้ผู้ค้นคิดนวัตกรรม

ประเภทของธุรกิจดิจิทัลมีกี่ประเภท อะไรบ้าง

Digital Business Model แบ่งออกเป็นประเภทต่าง ๆ ดังนี้.
Digital Business Model แบ่งออกเป็นประเภทต่าง ๆ ดังนี้.
1. Freemium. ... .
2. Subscription. ... .
3. Peer-To-Peer, two-sided marketplace. ... .
4. E-Commerce. ... .
5. On-demand. ... .
6. Ad-Supported. ... .
7. Open Source..

ลักษณะของธุรกิจดิจิทัล มีกี่ลักษณะ อะไรบ้าง

ลักษณะของธุรกิจดิจิทัล ธุรกิจดิจิทัลจะมีลักษณะพิเศษ คือ 1) ทรัพยากรทางกายภาพมีจ านวนน้อย 2) เน้นความสร้างสรรค์ 3) ใช้เครื่องมือหรือเทคโนโลยีเพื่อสร้างความชาญฉลาด และ 4) มีความรวดเร็วในบริการและการปรับตัว