แปล อิศร ญาณ ภาษิต บทที่ 28

บทที่ ๑ 

อิศรญาณชาญกลอนอักษรสาร 

                         เทศนาคำไทยให้เป็นทาน             โดยตำนานศุภอรรถสวัสดี  

คำศัพท์                 ตำนาน      หมายถึง      คำโบราณ 

                          ศุภอรรถ    หมายถึง      ถ้อยคำและความหมายที่ดี 

                          สวัสดี        หมายถึง      ความดี ความงาม   

ถอดความได้ว่า  หม่อมเจ้าอิศรญาณผู้ทรงเชี่ยวชาญในเชิงกลอนทรงนิพนธ์คำกลอนสุภาษิตโบราณ สั่งสอน 

เตือนใจไว้เพื่อเป็นทาน 

บทที่ ๒ 

สำหรับคนเจือจิตจริตเขลา           ด้วยมัวเมาโมห์มากในซากผี  

                       ต้องหาม้ามโนมัยใหญ่ยาวรี          สำหรับขี่เป็นม้าอาชาไนย   

 คำศัพท์               เจือ         หมายถึง   เอาส่วนที่มีน้อยไปประสมลงไปในส่วนมาก 

                         จริต         หมายถึง   กิริยาอาการ หรือแสดงความประพฤติ 

                         โมห์         หมายถึง   ความลุ่มหลง 

                         ซากผี      หมายถึง   ร่างกายของคนที่ตายแล้ว 

                         อาชาไนย หมายถึง   กำเนิดดี พันธุ์ หรือตระกูลดี ฝึกหัดมาดีแล้ว 

                         ม้ามโนมัย หมายถึง   ในบทนี้หมายถึงใจที่รู้เท่าทันกิเลสจะได้เป็นพาหนะไปสู่ความสำเร็จ 

ถอดความได้ว่า  สำหรับคนที่โง่เขลาเบาปัญญาที่ไปลุ่มหลงในความชั่วต้องฝึกใจให้รู้เท่าทันกิเลส คือ เอาใจเป็น 

นายบังคับใจตัวเองให้อยู่เหนือกิเลส เพื่อจะ ได้เป็นพาหนะไปสู่ความสุข 

บทที่ ๓ 

                               ชายข้าวเปลือกหญิงข้าวสารโบราณว่า       น้ำพึ่งเรือเสือพึ่งป่าอัชฌาสัย 

                          เราก็จิตดูเล่าเขาก็ใจ                                              รักกันไว้ดีกว่าชังระวังการ 

 คำศัพท์               อัชฌาสัย      หมายถึง      กิริยาดี นิสัยใจคอ ความรู้จักผ่อนปรน 

ถอดความได้ว่า  ผู้ชายกับผู้หญิงนั้นต่างกันดังข้าวเปลือกกับข้าวสาร(โบราณเขาเปรียบเทียบว่า ผู้ชายเปรียบเสมือo 

ข้าวเปลือกตกที่ไหนก็เจริญงอกงามที่นั่น ส่วน ผู้หญิงก็เปรียบเสมือนข้าวสาร ตกที่ไหนมันไม่ 

สามารถเจริญงอกงามได้ข้าวสาร ก็เน่า แต่เมื่ออยู่ในสังคมเดียวกันก็ย่อมต้องพึ่งพาอาศัยกันเป็น 

ธรรมดา เราก็มีมิตรจิตเขาก็มีมิตรใจฉะนั้นเรารักกันดีกว่าเกลียดกัน 

สุภาษิตที่เกี่ยวข้อง              ชายข้าวเปลือกหญิงข้าวสาร , น้ำพึ่งเรือเสือพึ่งป่า , รักกันดีกว่าชังกัน , มิตรจิตรมิตรใจ 

บทที่ ๔ 

                                               ผู้ใดดีดีต่ออย่าก่อกิจ                        ผู้ใดผิดผ่อนพักอย่าหักหาญ 

                                    สิบดีก็ไม่ถึงกับกึ่งพาล                 เป็นชายชาญอย่าเพ่อคาดประมาทชาย 

คำศัพท์                                 ผู้ใดดีดีต่ออย่าก่อกิจ            หมายถึง  อย่าก่อเรื่อง 

                        ผู้ใดผิดผ่อนพักอย่าหักหาญ  หมายถึง   ผู้ที่ทำไม่ถูกต้องก็ไม่ควรโกรธหรือตัดรอนจนแตกหัก 

                        สิบดีก็ไม่ถึงกับกึ่งพาล         หมายถึง  ทำดีสิบหนไม่เท่ากับทำชั่วเพียงครึ่งหนความดีก็จะหมดไป 

ถอดความได้ว่า  ผู้ใดทำดีต่อเราเราก็ควรทำดีต่อเขาตอบ ผู้ใดที่ทำไม่ดีต่อเราหรือทำไม่ถูกต้องก็ไม่ควรโกรธหรือตัดรอน จนแตกหัก ทำความดีสิบครั้ง ก็ไม่เท่าทำความชั่วครึ่งครั้ง คือ ความชั่วจะทำลายความดีลงจนหมดสิ้น เป็นชายนั้น ไม่ควรดูถูกชายด้วยกัน 

สุภาษิตที่เกี่ยวข้อง 

คนล้มอย่าข้าม   หมายถึง คนที่ตกต่ำไม่ควรลบหลู่ดูถูก เพราะอาจจะกลับาเฟื่องฟูได้อีก 

บทที่ ๕ 

                                               รักสั้นนั้นให้รู้อยู่เพียงสั้น            รักยาวนั้นอย่าให้เยิ่นเกินกฎหมาย 

                                   มิใช่ตายแต่เขาเราก็ตาย                              แหงนดูฟ้าอย่าให้อายเทวดา 

คำศัพท์                                เยิ่น  หมายถึง   ยาวนานออกไป    

ถอดความได้ว่า  รักจะอยู่ด้วยกันสั้น ๆ ก็จงทำสิ่งไม่ดีต่อไป แต่ถ้าเราจะอยู่ด้วยกันนาน ๆ จงทำความดี อย่าทำในสิ่ง 

ที่ผิด กฎหมายหรือทำชั่ว ทุกคนต้องตาย ด้วยกันทั้งนั้น จงทำความดีไว้เถิด เวลาที่แหงนดูฟ้าจะได้ไม่อายเทวดา 

สุภาษิตที่เกี่ยวข้อง 

รักยาวให้บั่นรักสั้นให้ต่อ หมายถึง  รักที่จะมีมิตรไมตรีต่อกันต้องตัดสิ่งที่ไม่ดีออก อย่าไปพูดถึง แต่ถ้า จะคบกันในเวลาสั้น ๆ ให้พูดต่อปากต่อคำ ในที่นี้ต้องการเฉพาะส่วนแรกคือตัดสิ่งที่ไม่ดีออกไป รักยาวให้บั่น รักสั้นให้ต่อ ..เป็นสำนวนเก่าที่ประกอบด้วยคำชวนให้สงสัย คือคำที่มีความหมายขัดกันอยู่ ด้วยวรรคแรกสื่อความหมายว่า ชอบทางยาวแต่ให้บั่น คือตัดหรือทอนออกเสีย วรรคหลังบ่งว่า ชอบทางสั้น แต่กลับ ให้ต่อคือเพิ่มออกไป การเรียบเรียงข้อความโดยใช้คำที่มีความหมายขัดกันนั้น ในทางภาษาถือเป็นกลวิธีอย่างหนึ่ง ที่ทำให้ประโยคมีน้ำหนัก ช่วยให้เกิดรสสะดุดใจน่าฟัง 

            รักยาว คือต้องการให้เรื่องเป็นไปโดยราบรื่น ไม่ติดขัด ไม่สะดุดจะเป็นการดำเนินธุรกิจ การคบเพื่อน การปฏิบัติงาน หรือเรื่องอะไรก็ตาม 

           ให้บั่น คือให้ตัดหรือทอนส่วนที่ขัดข้อง ความกินแหนงแคลงใจเรื่อเล็กน้อยนั้นเสีย ไม่ต้องถือ เป็นอารมณ์ 

           รักสั้น คือต้องการให้เรื่องสิ้นสุดแค่นั้น แตกหักหรือดำเนินต่อไม่ได้ 

           ให้ต่อ คือให้ต่อความยาวสาวความยืดต่อไป ให้นำมาพิจารณาให้ถกเถียง ให้ถือเอา ให้ว่ากันต่อไป หากรักจะคบกันต่อไป ก็ให้ตัดเรื่องราวนั้นเสีย โดยไม่ถือโทษโกรธเคืองไม่โต้เถียงเป็นต้น ลักษณะนี้คือ รักยาวให้บั่น แต่หากรักทางสั้น ไม่ต้องการคบกันอีก ต้องการให้แตกหักกันเลยก็ให้ต่อเรื่องออกไป ลักษณะนี้คือ รักสั้นให้ต่อ 

บทที่ ๖ 

อย่าดูถูกบุญกรรมว่าทำน้อย                         น้ำตาลย้อยหยดเท่าไรได้หนักหนา 

                                       อย่านอนเปล่าเอากระจกยกออกมา             ส่องดูหน้าเสียทีหนึ่งแล้วจึงนอน 

คำศัพท์                                อย่านอนเปล่า    หมายถึง    อย่าเข้านอนเฉยๆ ในที่นี้หมายถึงให้คิดการกระทำของตน 

                       น้ำตาลย้อยหยดเท่าไรได้หนักหนา   หมายถึง  การสะสมความดีทีละน้อย 

ถอดความได้ว่า  อย่าดูถูกความดีหรือความชั่ว ว่าทำเพียงเล็กน้อยเพราะมันจะสะสมไปเรื่อย ๆ และมากขึ้นทุกที 

เวลาก่อนจะนอนให้ส่องกระจกดูหน้าตนเอง ว่ามีสิ่งผิดปกติหรือไม่ เหมือนเป็นการให้สำรวจจิตใจตนเอง 

อยู่เป็นนิจ ว่าคิดใฝ่ดีอยู่หรือเปล่า เพื่อจะได้เตือนตนไว้ได้ทัน (เป็นการเตือนให้เรารู้จักคิด พิจารณา สำรวจตัวเองทุกๆวัน) 

สุภาษิตที่เกี่ยวข้อง            จงเตือนตนด้วยตนเอง     

บทที่ ๗ 

เห็นตอหลักปักขวางหนทางอยู่                    พิเคราะห์ดูควรทึ้งแล้วจึงถอน 

                                          เห็นเต็มตาแล้วอย่าอยากทำปากบอน        ตรองเสียก่อนแล้วจึงทำกรรมทั้งมวล 

  คำศัพท์              ปากบอน  หมายถึง   นำความลับหรือเรื่องที่ไม่ควรพูดไปบอกผู้อื่น 

                          ทึ้ง            หมายถึง   ดึง ถอน 

ถอดความได้ว่า  เห็นสิ่งใดกีดขวางทางอยู่ จงพิจารณาให้รอบคอบก่อนที่จะเก็บ เพราะอาจเป็นอันตรายได้ และเมื่อ 

ไป เห็นการกระทำของใคร อย่าเที่ยวทำปากบอนไปบอกแก่คนอื่น อาจนำผลร้ายมาสู่ตนเองได้ 

(สอนว่า ให้รู้จักคิดใคร่ครวญ ไตรตรองก่อนจะพูดหรือทำสิ่งใด ) 

สุภาษิต สำนวน ที่เกี่ยวข้อง           คิดก่อนพูด แต่อย่าพูดก่อนคิด,