การพัฒนาประชาธิปไตยของ ประเทศไทย

ความหมายของประชาธิปไตย
ประชาธิปไตยมีรากศัพท์มาจากภาาษากรีกซึ่งหมายถึงอำนาจของประชาชน ดังนั้นความหมายดั้งเดิม จึงหมายถึงการปกครองโดยชนหมู่มากหรือการปกครองโดยหมู่ชนผู้มีอำนาจประชาธิปไตยในสมัยแรกเริ่มนั้น
และต่อมามีการพัฒนาแนวคิดของประชาธิปไตย ออกเป็น 3 รูปแบบคือ
1.  ประชาธิปไตยในฐานะที่เป็นฐานนะที่เป็นรูปแบบการเมืองการปกครอง
2.  ประชาธิปไตยในฐานะที่เป็นอุดมการณ์ทางการเมือง
3.  ประชาธิปไตยในฐานะที่เป็นวิถีการดำเนินชีวิต

หลักการสำคัญของประชาธิปไตย

1.  อำนาจสู.สุดในการปกครอง หรืออำนาจอธิปไตยเป็นของประชาชน ซึ่งหมายถึงประชาชนคึอรัฐนั่นเอง
2.  อำนาจทางการปกครองของรัฐ เกิดขึ้นจากความยินยอมของประชาชน
3.  การมีศรัทธาในความสามารถของมนุษย์
4.  มนุษย์จะต้องมีเสรีภาพ อิสรภาพ ความเป็นอิสระ
5.  ยอมรับในการเสมอภาคของมนุษย์
6.  สิทธิในการคัดค้าน

การปกครองในระบอบประชาธิปไตยในประเทศไทย
พระมหากษัตริย์ทรงใช้อำนาจอธิปไตยนั้นใน 3 ด้าน ได้แก่
1.  ด้านนิติบัญญัติ
2.  ด้านบริหาร
3.  ด้านตุลาการ

ทำไมต้องมีประชาธิปไตย

1. ให้โอกาสแก่ประชาชน ระบอบประชาธิปไตยเป็นระบอบการปกครองที่เปิดโอกาสให้ประชาชนทุกคนมีส่วนร่วมในการปกครองและสามารถเป็นผู้ปกครองเองหรือเลือกตัวแทนไปทำการปกครองตั้งแต่ระดับท้องถิ่น
     จนถึงระดับชาติ
2.  ให้ประโยชน์สูงสุดแก่ประชาชน หัวใจของระบบประชาธิปไตยคือประชาชน ประชาชนในที่นี้หมายถึงคนไทยทุกหมู่เหล่า ทุกสาขา อาชีพ ทุกภูมิภาค ทุกเผ่าพันธุ์ ทุกศาสนา ฯลฯ
3.  มีกติกา กติกาประชาธิปไตย คือ กฏเกณฑ์ที่ใช้เพื่อให้ประชาชนทุกหมู่เหล่ามีส่วนร่วมในการปกครอง อันได้แก่รัฐธรรมนูญพระราชบัญญัติพรรคการเมือง พระราชบัญญัติการเลือกตั้ง และกฏหมายอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง

การพัฒนาการปกครองของระบบประชาธิปไตยในประเทศไทย
1.  การส่งเสริมให้ประชาชนมีส่วนร่วมทางการเมืองนับว่ามีความสำคัญและมีความจำเป็นอย่างยิ่งในการปกครองในระบอบประชาธิปไตย เพราะจะเป็นเครื่องบ่งชี้ระดับการพัฒนาประชาธิปไตยในประเทศนั้นๆ การมีส่วนร่วมทางการเมืองจึงเป็นเงื่อนไขสำคัญประการหนึ่งในการพัฒนาประชาธิปไตย
2.  การส่งเสริมให้ประชาชนมีวิถีชีวิตแบบประชาธิปไตย จะต้องประกอบไปด้วยหลักการดังต่อไปนี้
     2.1 หลักการใช้เหตุผลในการดำเนินชีวิต
     2.2  หลักความสมัครใจ
     2.3  หลักความมีน้ำใจเป็นนักกีฬา และเคารพในเสียงข้างมาก
     2.4  หลักการแก้ไขปัญหาด้วยสันติวิธี
     2.5  หลักการเกี่ยวกับความมีระเบียบวินัย
     2.6  หลักการเคาระในคุณค่าและศักดิ์ศรีของบุคคล

แนวทางการมีส่วนร่วมในการพัฒนาประชาธิปไตยของผู้นำชุมชน กลุ่ม/องค์กรชุมชน และประชาชน
1.  การเตรียมตัว ให้ความสนใจทางการเมือง ศึกษาหาความรู้ให้จริงก่อน ติดตามข่าวการเมือง โดยอ่านหนังสือพิมพ์ ฟังวิทยุ ดูโทรทัศน์ ฯลฯ
2.  การลงมือปฎิบัติ เช่น การนำวิถึชีวติแบบประชาธิปไตยไปใช้ในชีวิตแบบประชาธิปไตยใช้ในชีวิตประจำวัน การรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น การรู้จักใช้เหตุผลนอกจากการแสดงความคิดเห็นและการับฟังความคิดเห็นยึดถือหลักการความถูกต้องและประโยชน์ส่วนร่วม รู้แพ้ รู้ชนะ รู้อภัย หลักการประชาธิปไตยถือเสียงข้างมากเป็นหลักในการดำเนินงาน

ปัญหาและอุปสรรคในการพัฒนาประชาธิปไตย
     ในระบอบประชาธิปไตย ประชาชนเป็นผู้ใช้อำนาจในการปกครองประเทศ โดยเลือกตัวแทนเข้าไปทำหน้าที่บริหารในทุกระดับเริ่มจากระดับท้องถิ่น จนถึงระดับชาติแต่การพันฒาประชาธิปไตยยัไม่ประสบความสำเร็จเท่าที่ควรเพราะ
1.  ระบบการเมืองยังไม่เป็นประชาธิปไตย เนื่องจากประชาชนส่วนมากไม่ค่อยสนในการเมือง และขาดความรู้ความเข้าใจในการเมืองประชาชนคิดว่าเป็นหน้าที่ของผู้ปกครอง ก็เลยไม่คิดว่าตนมีสิทธิมีส่วนทางการเมืองค่านิยมระบบอุปถัมภ์ในสังคมไทยทำให้เห็นแก่พวกพ้องมากกว่าประโยชน์ส่วนร่วม ค่านิยมระบบอาวุโส การซื้อสิทธิขายเสียง ระบบเผด็จการในรัฐสภา ขาดการรวมกลุ่ม ของประชาชนอย่างจริงจัง การไม่นำเอาประชาธิปไตย ไปใช้ในชีวิตประจำวัน
2.  ระบบการมืองยังไม่มีประสิทธิภาพ
      2.1  ประชาชนไม่ใส่ใจศึกษาติดตามการมือง เพื่อจะได้ไปเลือกตั้ง และมีส่วนร่วมทางการเมืองอย่างมีคุณภาพ
      2.2  ระบบการเมืองไม่สามารถนำความเจริญไปสู่ประชาชนได้อย่างทั่วถึงเป็นธรรม
      2.3  ระบบการเมืองไม่สามารถแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของประชาชนได้
      2.4  ระบบการเมืองไม่เปิดโอกาสให้คนดี มีความสามารถเข้าไปบริหารบ้านเมือง
      2.5  ระบบราชการไม่มีประสิทธิภาพ

   จากสภาพปัญหาต่างๆ ที่ทำให้การพัฒนาระบอบประชาธิปไตยไม่ก้าวหน้าโดยสรุปจะเห็นว่าสาเหตุสำคัญ
       เกิดจากตัวประชาชนเองที่ขาดจิตสำนึก ขาดอุดมการณ์สำคัญเกิดจากตัวประชาชนเองที่ขาดจิตสำนึก ขาดอุดมการณ์ประชาธิปไตย จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องส่งเสริมกระบวนการเรียนรู้เกี่ยวกับระบอบการปกครองประชาธิปไตย
และการมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาระบบประชาธิปไตยให้เกิดประสิทธิภาพ

การที่จะทำให้ระบอบประชาธิปไตยนั้นเป็นระบอบการปกครองที่ดีได้ จะต้องมุ่งเน้นให้ผู้ปกครอง ซึ่งเป็นผู้ที่ถูกเลือกโดยประชาชนให้เข้าไปทำหน้าที่ในการบริหารประเทศ จะต้องทำหน้าที่โดยมุ่งเน้นผลประโยชน์ส่วนรวมเป็นหลัก ไม่ใช่เพื่อผลประโยชน์ของตัวเองหรือพวกพ้อง หรือกลุ่มที่สนับสนุนตนเองแต่เพียงเท่านั้น การที่จะทำให้เป็นเช่นนั้นได้ จะต้องอาศัยการมีส่วนร่วมของประชาชน โดยประชาชนต้องตระหนักถึงบทบาทหน้าที่ของตน ทั้งในการเลือกผู้ปกครองที่ดี และการตรวจสอบติดตามการทำงานของตัวแทนที่เลือกไปให้ทำหน้าที่เพื่อประโยชน์ส่วนรวม รวมถึงการถอดถอนตัวแทนหรือผู้ปกครองที่ไม่ดีออกไปด้วย หากภาคประชาชนมีความเข้มแข็ง มีความรู้ความเข้าใจ ก็จะทำให้ตัวแทนที่ถูกเลือกเข้าไปจำเป็นที่จะต้องทำหน้าที่ของตนเองอย่างเต็มที่เพื่อให้ได้รับความไว้วางใจและความศรัทธาเชื่อมั่นจากประชาชน

ตังแต่มีการเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราช มาเป็นระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ในปี ๒๔๗๕ เป็นต้นมา ประเทศไทยได้มีการพัฒนาการทางการเมืองอย่างล่าช้า เนื่องจากต้องเผชิญกับการปฏิวัติรัฐประหารเพื่อยึดอำนาจ และต้องตกอยู่ภายใต้การปกครองในรูปแบบเผด็จการอำนาจนิยมเป็นระยะเวลานาน ตลอดระยะเวลาเหล่านั้น ประชาชนไทยไม่ได้รับการส่งเสริมสนับสนุนให้มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการปกครองในระบอบประชาธิปไตย ทำให้ไม่รู้ถึงสิทธิและหน้าที่ของตนตามร ะบอบประชาธิปไตย นอกจากนี้การที่ประชาชนไทยอยู่ภายใต้การปกครองในระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชมาเป็นเวลานาน ทำให้ประชาชนไทยมีวัฒนธรรมการเมืองแบบไพร่ฟ้า ถึงแม้หลังการเปลี่ยนแปลงการปกครองแล้ว จะเริ่มมีการจัดตั้งสถาบันทางการเมืองและเพิ่มเติมสิทธิเสรีภาพทางการเมืองให้กับประชาชนแล้วก็ตาม แต่ประชาชนส่วนใหญ่ก็ยังมีวัฒนธรรมการเมืองแบบไพร่ฟ้า หรืออย่างดีก็ยกระดับเป็นวัฒนธรรมการเมืองแบบคับแคบ กล่าวคือ มีความเข้าใจที่ผิดและทัศนคติที่ไม่ดีต่อการเมือง โดยมองว่าการเมืองเป็นเรื่องของการแย่งชิงอำนาจและผลประโยชน์ ไม่ใช่เรื่องของคนดีที่จะเข้าไปยุ่งเกี่ยว มีประชาชนจำนวนน้อยที่ได้รับการศึกษาจนมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการเมืองการปกครองเป็นจำนวนน้อยเท่านั้นที่เข้ามามีส่วนร่วมในกระบวนการทางการเมือง

ในปัจจุบัน ด้วยการรณรงค์และประชาสัมพันธ์ รวมถึงการพยายามให้ความรู้ความเข้าใจกับประชาชนเกี่ยวกับการเมือง และการมีส่วนร่วมทางการเมือง จากองค์การต่างๆ ทั้งภาครัฐ ภาคประชาสังคม และสื่อมวลชน ทำให้ประชาชนเริ่มหันมาให้ความสนใจเกี่ยวกับการเมืองมากขึ้น เนื่องจากตระหนักว่าการเมืองย่อมส่งผลต่อวิถีชีวิตของตน แต่ด้วยการศึกษาที่จำกัด ประกอบกับฐานะที่ยากจน จึงยังเป็นช่องว่างที่จะทำให้ผู้มีอำนาจทางการเมืองบางส่วนยังสามารถเข้ามามีอิทธิพลครอบงำความคิดของกลุ่มคนระดับรากหญ้าของประเทศ โดยการใช้ผลประโยชน์ทั้งเชิงนโยบายและผลประโยชน์ที่เป็นตัวเงินตอบแทน จนบิดเบือนความรู้และความสามารถในการคิดวิเคราะห์แยกแยะเหตุผลของกลุ่มคนในระดับรากหญ้าจำนวนหนึ่งได้ จนเกิดเป็นความวุ่นวายเนื่องจากการพยายามเรียกร้องสิทธิที่ตนคิดว่าพึงมีพึงได้รับ ในขณะที่การเรียกร้องสิทธิของตนนั้นกลับเป็นการทำลายสิทธิเสรีภาพของบุคคลอื่น กระทำการอันอาจเป็นเหตุให้ผู้อื่นต้องสูญเสียชีวิตและทรัพย์สิน และสร้างความเดือดร้อนให้กับสังคมโดยรวม ดังจะเห็นได้จากเหตุการณ์ที่กลุ่ม นปช. (เสื้อแดง) นำเอารถแก๊ซมาไว้ในบริเวณแฟลตดินแดง และใช้ชีวิตและทรัพย์สินของบุคคลที่พักอาศัยอยู่ในบริเวณนั้นเป็นเสมือนตัวประกันในการเรียกร้องให้รัฐบาลทำตามความต้องการของกลุ่มของตน หรือการบุกเข้าไปที่โรงแรมโรยัลคลิฟ บีช ในการประชุมผู้นำอาเซียน ซึ่งเป็นการทำลายทรัพย์สินของบุคคลอื่น และเป็นการกระทำที่อาจก่อให้เกิดอันตรายต่อบุคคลระดับผู้นำของกลุ่มประเทศอาเซียนจำนวนมาก เป็นต้น

สำหรับผมเองได้มีโอกาสติดตามข่าวสารในช่วงเวลานั้นอยู่บ้างในฐานะบุคคลที่ไม่เข้าข้างฝ่ายใดทั้งเสื้อเหลืองและเสื้อแดง แต่ต้องการให้สังคมไทยเกิดความสงบสุขมากกว่า อย่างไรก็ดี ผมมีความคิดเห็นต่อความขัดแย้งที่เกิดขึ้นเหล่านี้ว่า เป็นภาพสะท้อนการพัฒนาการอย่างหนึ่งของระบอบประชาธิปไตยของประเทศไทย กล่าวคือ เป็นการเริ่มต้นของการที่ประชาชนจำนวนมากเริ่มให้ความสนใจกับการเมืองการปกครอง มีการติดตามข่าวสาร วิพากษ์วิจารณ์ต่อเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ตัดสินใจเลือกที่จะสนับสนุนกลุ่มที่มีแนวคิดทางการเมืองคล้ายกับตน ติดตามตรวจสอบการทำงานของผู้บริหารประเทศ และกล้าแสดงออกทางความคิดเห็นทางการเมืองตลอดจนการรวมกลุ่มเพื่อเรียกร้องการตอบสนองจากภาครัฐในสิ่งที่กลุ่มของตนปรารถนา แม้จะยังมีการแสดงออกด้วยวิถีทางที่ไม่ถูกต้องสอดคล้องกับหลักกฎหมายและหลักการของประชาธิปไตยอยู่บ้าง แต่หากมองในมุมที่ว่า นี่คือจุดเริ่มต้นและสัญญาณอันดีในการพัฒนาของระบอบประชาธิปไตยแล้ว ผมก็คิดว่า ในความขัดแย้งอย่างรุนแรงที่เกิดขึ้นก็มีประโยชน์ที่ซ่อนอยู่ หลังจากนี้จึงเป็นคำถามต่อผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการเมืองทั้งหมดแล้วว่า จะทำอย่างไรที่จะพัฒนาประชาชนไทย จากจุดที่เริ่มมีส่วนร่วมเกี่ยวกับการเมืองในวิถีทางที่ขาดความรู้ความเข้าใจ ให้กลายเป็นการมีส่วนร่วมทางการเมืองแบบมีเหตุมีผลมากยิ่งขึ้น ในการนี้ต้องอาศัยพลังผลักดันและการสนับสนุนจากองค์การต่างๆ ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคประชาสังคม รวมไปถึงผู้ที่อยู่ในแวดวงการศึกษาและวิชาการ ตลอดจนสื่อสารมวลชนต่างๆ

การที่จะทำให้ระบอบประชาธิปไตยนั้นเป็นระบอบการปกครองที่ดีได้ จะต้องมุ่งเน้นให้ผู้ปกครอง ซึ่งเป็นผู้ที่ถูกเลือกโดยประชาชนให้เข้าไปทำหน้าที่ในการบริหารประเทศ จะต้องทำหน้าที่โดยมุ่งเน้นผลประโยชน์ส่วนรวมเป็นหลัก ไม่ใช่เพื่อผลประโยชน์ของตัวเองหรือพวกพ้อง หรือกลุ่มที่สนับสนุนตนเองแต่เพียงเท่านั้น การที่จะทำให้เป็นเช่นนั้นได้ จะต้องอาศัยการมีส่วนร่วมของประชาชน โดยประชาชนต้องตระหนักถึงบทบาทหน้าที่ของตน ทั้งในการเลือกผู้ปกครองที่ดี และการตรวจสอบติดตามการทำงานของตัวแทนที่เลือกไปให้ทำหน้าที่เพื่อประโยชน์ส่วนรวม รวมถึงการถอดถอนตัวแทนหรือผู้ปกครองที่ไม่ดีออกไปด้วย หากภาคประชาชนมีความเข้มแข็ง มีความรู้ความเข้าใจ ก็จะทำให้ตัวแทนที่ถูกเลือกเข้าไปจำเป็นที่จะต้องทำหน้าที่ของตนเองอย่างเต็มที่เพื่อให้ได้รับความไว้วางใจและความศรัทธาเชื่อมั่นจากประชาชน

สิ่งสำคัญที่จะทำให้ภาคประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการเมืองอย่างเข้มแข็งนั้น ได้แก่ การศึกษา ทั้งในระบบและนอกระบบ ที่จะต้องมุ่งให้ความรู้ความเข้าใจ รวมทั้งปลูกฝังค่านิยม และวัฒนธรรมแบบประชาธิปไตยให้กับผู้เรียน การรณรงค์ให้ความรู้กับผู้ที่ไม่ได้มีโอกาสได้รับการศึกษาก็จำเป็นมาก เมื่อประชาชนมีความรู้ความเข้าใจมากขึ้น และถูกหล่อหลอมให้มีวัฒธรรมการเมืองแบบมีส่วนร่วมมากขึ้น ก็จะทำให้การเลือกตั้งมีคุณภาพมากขึ้น ได้ตัวแทนที่ดีเข้าไปทำหน้าที่สร้างผลประโยชน์ให้กับสังคม รวมทั้งทำให้ตัวแทนที่ไม่ดีจะถูกกำจัดออกไปจากระบบ โดยกระบวนการถอดถอน หรืออาจโดยการไม่เลือกเข้าไปเป็นตัวแทนอีกในสมัยถัดไป

การจะทำให้ระบอบประชาธิปไตยสามารถเป็นความหวังและเป็นอนาคตของประเทศไทยได้นั้น ผมมองว่าหัวใจสำคัญ คือ ตัวประชาชนเอง ที่จะต้องมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับระบอบประชาธิปไตย มีความเชื่อมั่นศรัทธาในระบอบประชาธิปไตย มีความคิดและการแสดงออกที่สะท้อนถึงการมีวัฒนธรรมแบบประชาธิปไตย และใช้อำนาจอธิปไตยที่ตนเองมีในการเลือกผู้แทนที่ดีผ่านทางการเลือกตั้ง ตลอดจนติดตามตรวจสอบและถอดถอนผู้แทนที่ไม่ดี ซึ่งสิ่งเหล่านี้จะเกิดขึ้นได้ ผมขอเสนอแนะแนวทาง ๔ ประการ ดังนี้

  1. การสนับสนุนการศึกษาให้กับประชาชน ทั้งการศึกษาในระบบ การศึกษานอกระบบ และการศึกษาตามอัธยาศัย โดยมุ่งเน้นให้ทุกสถาบันการศึกษาให้ความรู้ความเข้าใจ และจัดกิจกรรมที่จะช่วยส่งเสริมความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับประชาธิปไตยมากขึ้น ในส่วนของการศึกษานั้น ผมมีความคิดเห็นว่า ปัญหาสำคัญประการหนึ่งที่ยังถูกละเลยอยู่ ได้แก่ ปัญหาคุณภาพการศึกษา แม้ในปัจจุบันรัฐบาลจะพยายามบอกว่าเปิดโอกาสทางการศึกษาอย่างเท่าเทียมโดยการให้เรียนฟรี ๑๕ ปี แล้วก็ตาม แต่ต้องยอมรับว่ามาตรฐานของโรงเรียนในแต่ละท้องที่ยังมีความแตกต่างกันในระดับที่สูงมาก อันเนื่องมาจากปริมาณและคุณภาพของบุคลากรครู ซึ่งนักศึกษาเห็นว่าเกิดจากปัญหา ๒ ประการ ประการแรก ค่านิยมของสังคมที่เปลี่ยนไป ไม่เห็นคุณค่าความสำคัญของอาชีพครู ทำให้เกียรติศักดิ์ศรีของวิชาชีพครูลดลง ประการที่สอง เงินเดือนครูที่ต่ำ จนไม่เพียงพอที่จะดูแลครอบครัว เมื่ออาชีพครูมีเกียรติน้อยลง ประกอบกับเงินเดือนที่น้อยอยู่แล้ว ทำให้ไม่ดึงดูดใจบุคลากรที่มีความรู้ความสามารถเข้าสู่อาชีพครูได้ ดังจะเห็นได้จากสถิติการสอบเอนทรานซ์เข้ามหาวิทยาลัย คณะครุศาสตร์ซึ่งเป็นคณะหลักที่ผลิตบุคลากรในวิชาชีพครูได้รับความสนใจเลือกที่จะสอบเข้าเป็นจำนวนน้อย และคะแนนสอบเข้าของคณะฯ ก็ต่ำด้วย การจะสนับสนุนการศึกษาให้มีคุณภาพจึงจะต้องหาทางที่จะดึงดูดให้บุคลากรที่มีความรู้ความสามารถตัดสินใจเข้ามาเป็นครูมากขึ้น 
  2. การรณรงค์เพื่อให้ข้อมูลความรู้ ปรับเปลี่ยนทัศนคติ สร้างวัฒนธรรมแบบมีส่วนร่วมให้กับประชาชน โดยการนำเอาหลักการสื่อสารการตลาดแบบบูรณาการ หรือ IMC (Integrated Marketing Communication) โดยการใช้ทั้งสื่อโฆษณา ทั้งทางโทรทัศน์ วิทยุ และหนังสือพิมพ์ รวมถึงสื่อนิตยสารอื่นๆ ที่สามารถเข้าถึงประชาชนได้ นอกจากสื่อที่ใส่เนื้อหาวิชาการโดยตรง เราอาจเลือกใช้สื่อที่ไม่เป็นทางการ เช่น นวนิยาย หรือการ์ตูน โดยให้ผู้เขียนทำการแต่งเรื่องราวที่สะท้อนถึงวัฒนธรรมการเมืองแบบประชาธิปไตยให้กับสังคม นอกจากสื่อในรูปแบบต่างๆ แล้ว เรายังควรจัดให้มีกิจกรรมรณรงค์ประชาสัมพันธ์ อาทิ การจัด Road Show ให้ความรู้เรื่องประชาธิปไตย โดยใช้บุคคลที่เป็นที่สนใจของสังคม เช่น นักร้อง นักแสดง เป็นผู้ช่วยนำความรู้ความเข้าใจไปให้กับประชาชน
  3. การสนับสนุนองค์การภาคประชาสังคม โดยเฉพาะที่เกี่ยวข้องกับการเมือง ปัจจุบันผมมองว่าภาคประชาสังคมยังมีสิ่งที่ขาดอยู่ ๓ อย่าง ได้แก่ กำลังคน กำลังทรัพย์ และทักษะในการบริหารจัดการ ในส่วนของทักษะในการบริหารจัดการ ผมเห็นว่าควรให้กลุ่มนักวิชาการจากมหาวิทยาลัยต่างๆ เป็นกำลังหลักในการให้ความรู้และทักษะในการบริหารจัดการให้กับอาสาสมัครและผู้บริหารขององค์การภาคประชาสังคม ในส่วนของกำลังทรัพย์ แทนที่รัฐจะเป็นผู้สนับสนุนโดยการจัดสรรงบประมาณให้ อันอาจทำให้องค์การนั้นๆ สูญเสียความเป็นกลางไป รัฐควรสนับสนุนโดยการใช้มาตรการทางภาษีเพื่อจูงใจให้ประชาชนหรือเอกชนที่บริจาคเงินเพื่อสนับสนุนองค์การภาคประชาสังคมสามารถนำมาลดหย่อนภาษีได้ ในส่วนของกำลังคน ผมมองว่ามี ๒ แนวทางที่สามารถดำเนินการได้ แนวทางที่ ๑ คือการบังคับให้นักศึกษาในระดับปริญญาตรีและปริญญาโทในทุกสาขาวิชา ต้องผ่านการฝึกงานในองค์การภาคประชาสังคม ในช่วงเวลาหนึ่ง ทั้งนี้เพื่อเปิดโอกาสให้นักศึกษาเหล่านั้นสามารถนำเอาหลักวิชาที่ได้เรียนรู้และศึกษามา มาประยุกต์ใช้ในการทำงานเพื่อสังคม อีกทั้งยังเป็นการปลูกฝังจิตสาธารณะให้กับนักศึกษาเหล่านั้นไปในตัวด้วย แนวทางที่ ๒ ผมเห็นว่าการที่มีองค์การภาคประชาสังคมมีคนอาสาสมัครเข้ามาทำงานน้อย สาเหตุเป็นเพราะ เงินเดือนที่ต่ำหรือไม่มีเงินเดือนให้เลย ทำให้คนที่อาจจะมีความรู้ความสามารถเข้ามาทำงานในส่วนนี้น้อย รัฐควรจัดให้มีการสนับสนุนบุคลากรที่ทำงานในองค์การภาคประชาสังคม โดยอาจใช้มาตรการงดเว้นภาษีกับคนที่ทำงานให้กับภาคประชาสังคม หรืออาจมีการจัดสวัสดิการพิเศษ รวมถึงการให้รางวัลตอบแทนในคุณงามความดีที่บุคคลเหล่านั้นได้ทำให้กับสังคม
  4. การเปิดโอกาสให้ประชาชนทั่วไปเข้ามามีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็นมากขึ้น โดยการกำหนดให้ทุกหน่วยงานราชการจะต้องมีเว็บบอร์ดที่เปิดโอกาสให้กับประชาชนในการเข้ามาแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับหน่วยงานได้ ในปัจจุบันหน่วยงานราชการส่วนใหญ่จะกลัวคำวิพากษ์วิจารณ์จากประชาชนจนทำให้ไม่กล้าเปิดใช้เว็บบอร์ด โดยมักให้เหตุผลที่เหมือนๆ กันว่า ยากแก่การควบคุม และอาจกลายเป็นเครื่องมือของกลุ่มคนที่ต้องการทำลายเครดิตของรัฐบาลและข้าราชการได้ จึงเลือกที่จะปิดเว็บบอร์ดโดยไม่เสียดายความคิดเห็นดีๆ ที่จะนำมาซึ่งการพัฒนาองค์การได้ นอกจากนี้ยังอาจจัดทำเว็บบอร์ดสำหรับวิจารณ์รัฐบาลโดยเปิดโอกาสให้ประชาชนทั่วไปได้มีโอกาสเข้ามาแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับนโยบายต่างๆ ของรัฐบาล ได้โดยตรงด้วย อย่าไปกังวลกับการที่ฝ่ายตรงข้ามจะใช้ช่องทางเหล่านี้เป็นเครื่องมือทางการเมืองในการโจมตีรัฐบาลเลย เพราะถึงไม่มีช่องทางเหล่านี้ คนเหล่านั้นก็มีช่องทางอีกมากมายในการโจมตีรัฐบาล แต่ความคิดเห็นดีๆ จากประชาชนสิที่มีช่องทางในการแสดงออกน้อย หรือถ้ากังวลมาก ก็อาจจะหาทีมผู้ดูแลระบบดีๆ สักหลายคนคอยตรวจสอบ ตอบคำถาม ชี้แจงประเด็นต่างๆ ให้ชัดเจนและเข้าใจ (ไม่ใช่คอยตามลบข้อความหรือตามบล็อกผู้ไม่ประสงค์ดีนะครับ) 

ขอขอบคุณ ศ.ดร.สมบัติ ธำรงค์ธัญวงศ์ สำหรับความรู้และทัศนะอันล้ำค่าที่ช่วยเปิดโลกทัศน์เกี่ยวกับการเมืองอย่างกว้างขวางมากขึ้นให้กับผม และเป็นผู้ตั้งประเด็นคำถามเกี่ยวกับระบอบประชาธิปไตยของไทย จนทำให้เกิดบทความนี้ครับ