บริษัท การบินไทย จํากัด มหาชน ผู้บริหาร

ตามที่รัฐบาลมีนโยบายพัฒนาท่าอากาศยานสากลกรุงเทพแห่งที่ 2 (สุวรรณภูมิ) เป็นท่าอากาศยานสากลหลักของประเทศ และได้เริ่มดำเนินการโครงการก่อสร้างเพื่อรองรับปริมาณการขนส่งทางอากาศที่จะเพิ่มขึ้นในอนาคต รวมทั้งพัฒนาให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางการขนส่งทางอากาศ (Aviation Hub) ในภูมิภาคเอเชีย-ตะวันออกเฉียงใต้ ตลอดจนเพื่อแก้ไขปัญหาความคับคั่งของการจราจรทางอากาศที่ท่าอากาศยานดอนเมืองนั้น รัฐบาลมีแผนจะดำเนินโครงการก่อสร้างท่าอากาศยานสุวรรณภูมิให้แล้วเสร็จและสามารถเปิดให้บริการได้ในปี 2548 ทั้งนี้ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี เมื่อวันอังคารที่ 14 มกราคม 2546 ได้อนุมัติในหลักการให้บริษัทฯ ดำเนินโครงการลงทุน ณ ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ภายในกรอบวงเงินลงทุนรวม 13,735.51 ล้านบาท รวม 6 รายการ คือ- โครงการพาณิชย์สินค้าและไปรษณียภัณฑ์ วงเงินลงทุน 3,779.12 ล้านบาท- โครงการครัวการบิน วงเงินลงทุน 3,944.46 ล้านบาท- โครงการบริการลานจอดและอุปกรณ์ภาคพื้น วงเงินลงทุน 1,933.17 ล้านบาท- โครงการศูนย์ซ่อมบำรุงอากาศยาน วงเงินลงทุน 2,686.72 ล้านบาท- โครงการบริการลูกค้า วงเงินลงทุน 648.25 ล้านบาท และ- โครงการศูนย์ปฏิบัติการ วงเงินลงทุน 743.79 ล้านบาท

       ใช้เครื่องบินเป็นเครื่องมือหลักในการขนส่งผู้โดยสารและสินค้า โดยมีทั้งการลงทุนซื้อเครื่องบินเพื่อใช้เองและนำส่งผู้โดยสารสินค้าผ่านเครือข่ายพันธมิตร มีกระบวนการซ่อมบำรุงดูแลเครื่องมือหลักในการส่งมอบ เพื่อสร้างความมั่นใจในการให้บริการ และรักษามาตรฐานให้เป็นไปตามข้อกำหนด มีกระบวนการให้บริการแบบครบวงจรทั้งก่อน ระหว่างเดินทาง และหลังการเดินทาง เพื่อให้เกิดการบริการที่ต่อเนื่อง สะดวกสบาย อย่างไร้รอยต่อ มีการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีรวมถึงเครือข่ายสื่อสารเชื่อมโยงการให้บริการครอบคลุมทุกสถานที่ประกอบการ เพื่อให้ผู้รับบริการและบุคลากรผู้ให้บริการได้รับทราบข้อมูลข่าวสารอย่างพร้อมเพรียงทั่วถึง 

       ใช้เครื่องบินเป็นเครื่องมือหลักในการขนส่งผู้โดยสารและสินค้า โดยมีทั้งการลงทุนซื้อเครื่องบินเพื่อใช้เองและนำส่งผู้โดยสารสินค้าผ่านเครือข่ายพันธมิตร มีกระบวนการซ่อมบำรุงดูแลเครื่องมือหลักในการส่งมอบ เพื่อสร้างความมั่นใจในการให้บริการ และรักษามาตรฐานให้เป็นไปตามข้อกำหนด มีกระบวนการให้บริการแบบครบวงจรทั้งก่อน ระหว่างเดินทาง และหลังการเดินทาง เพื่อให้เกิดการบริการที่ต่อเนื่อง สะดวกสบาย อย่างไร้รอยต่อ มีการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีรวมถึงเครือข่ายสื่อสารเชื่อมโยงการให้บริการครอบคลุมทุกสถานที่ประกอบการ เพื่อให้ผู้รับบริการและบุคลากรผู้ให้บริการได้รับทราบข้อมูลข่าวสารอย่างพร้อมเพรียงทั่วถึง 

"การบินไทย" ขยับทีมผู้บริหารใหม่ มีผลหลัง 1 ก.พ. ปี 66 นำทัพโดย “ชาย เอี่ยมศิริ” ดีดีคนล่าสุด พร้อมลุยแผนจัดหาทุนใหม่ 2.5 หมื่นล้านบาท เดินหน้าออกจากแผนฟื้นฟูกิจการ และกลับไปซื้อขายหลักทรัพย์ ภายในปี 67

หลังจาก บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) ได้เริ่มดำเนินการตามแผนฟื้นฟูกิจการมากว่า 1 ปี หลังจากศาลล้มละลายกลางเห็นชอบแผนฟื้นฟูกิจการเมื่อวันที่ 15 มิ.ย.2564 และต่อมาเมื่อวันที่ 20 ต.ค.2565 ศาลล้มละลายกลางได้เห็นชอบการขอแก้ไขแผนฟื้นฟูกิจการการบินไทย

 

หลังจากที่สถานการณ์ด้านการบินปรับตัวดีขึ้น ประกอบการการบินไทยสามารถหารายได้ ลดต้นทุนค่าใช้จ่าย จนกระทั่งมีกระแสเงินสดเพิ่มต่อเนื่อง และมีความจำเป็นของการจัดหาเงินทุนใหม่จาก 5  หมื่นล้านบาท เหลือเพียง 2.5 หมื่นล้านบาท อีกทั้งการบินไทยยังมีเป้าหมายด้วยว่าจะสามารถผลักดันองค์กรหลุดจากการฟื้นฟูกิจการ และกลับไปซื้อขายหลักทรัพย์ในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) ได้เร็วที่สุดภายในปี 2567

 

อย่างไรก็ดี ท่ามกลางการขับเคลื่อนแผนฟื้นฟูให้เป็นไปตามเป้าหมายนั้น ทีมผู้บริหารของการบินไทยก็ถึงเวลาผลัดใบเกษียณอายุ ส่งผลให้เมื่อเร็วๆ นี้ การบินไทยเพิ่งประกาศรายชื่อผู้สมัครตำแหน่งประธานเจ้าหน้าที่บริหาร หรือที่เรียกกันอย่างคุ้นหูว่า “ดีดี” โดยได้คนในที่รู้การทำงานและมีส่วนร่วมในการจัดทำแผนฟื้นฟูกิจการมาอย่างต่อเนื่อง คือ “ชาย เอี่ยมศิริ” ปัจจุบันนั่งตำแหน่งประธานเจ้าหน้าที่สายการเงินและการบัญชี

 


โดยนายชาย เอี่ยมศิริ จะเข้ามารับตำแหน่งดีดีการบินไทยในวันที่ 1 ก.พ.2565 เป็นความหวังใหม่ขององค์กรในการเริ่มต้นภารกิจสำคัญอย่างการจัดหาเงินทุนใหม่ วงเงิน 2.5 หมื่นล้านบาท ประกอบกับต้องจัดทำแผนหารายได้ในช่วงที่อุตสาหกรรมการบินเริ่มฟื้นตัว เนื่องจากในปี 2566 การบินไทยยังมีแผนรับมอบเครื่องบินใหม่เสริมทัพอีก 4 ลำ

 

ทั้งนี้ทีมผู้บริหารชุดใหม่ของการบินไทย ไม่ได้มีเพียงดีดีการบินไทยป้ายแดง แต่ยังมี “กรกฎ ชาตะสิงห์” ที่เพิ่งได้เลื่อนตำแหน่งจากผู้อำนวยการฝ่ายขาย และรักษาการหัวหน้าฝ่ายขายภายในประเทศ มาดำรงตำแหน่งประธานเจ้าหน้าที่สายการพาณิชย์ เมื่อวันที่ 1 พ.ย.ที่ผ่านมา ขณะเดียวกันยังมีการแต่งตั้ง “เฉิดโฉม เทอดสถีรศักดิ์” ให้ดำรงตำแหน่งประธานเจ้าหน้าที่สายการเงิน และการบัญชี มีผลในวันที่ 1 ก.พ.นี้ด้วย

สายการบินบางกอกแอร์เวย์สก่อตั้งโดยนายแพทย์ปราเสริฐ ปราสาททองโอสถ โดยธุรกิจสายการบินได้ก่อตั้งขึ้นตั้งแต่ปี 2511 เริ่มจากการจัดตั้งเป็นแผนกการบินของ บริษัท กรุงเทพสหกล จำกัด ซึ่งมีนายแพทย์ปราเสริฐ ปราสาททองโอสถ เป็นเจ้าของ หลังจากนั้น ในปี 2527 จึงได้ก่อตั้ง บริษัท สหกลแอร์ จำกัด ขึ้น เพื่อรับโอนกิจการต่าง ๆ ซึ่งรวมถึงแผนกการบินจากบริษัท กรุงเทพสหกล จำกัด และในภายหลัง ได้เปลี่ยนชื่อเป็น “บริษัท การบินกรุงเทพ จำกัด”

บริษัทฯ ได้เริ่มให้บริการเที่ยวบินแบบประจำอย่างเป็นทางการภายใต้ ชื่อปัจจุบันคือ “สายการบินบางกอกแอร์เวย์ส” นับตั้งแต่ปี 2529 เป็นต้นมา โดยวันที่ 20 มกราคม 2529 ได้ให้บริการเที่ยวบินแรก (เที่ยวบินปฐมฤกษ์) โดยการให้บริการแบบประจำในช่วงแรก ทำการบินในเส้นทาง กรุงเทพ-นครราชสีมา กรุงเทพ-สุรินทร์ และกรุงเทพ-กระบี่ ด้วยเครื่องบินแบบ BANDEIRANTE EMB-110 ขนาดความจุผู้โดยสาร 18 ที่นั่ง และในปี 2532 บริษัทฯ ได้สร้างสนามบินแห่งแรกที่เกาะสมุย ซึ่งในขณะนั้นเป็นช่วงเริ่มต้นของการพัฒนาเกาะสมุยให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวนานาชาติ โดยบริษัทฯ ได้เริ่มดำเนินงานในสนามบินสมุย และได้รับอนุญาตให้ทำการบินในเส้นทางการบินแรกคือ กรุงเทพฯ-เกาะสมุย พร้อมกับได้รับรหัสการบินจาก IATA คือ รหัสการบิน “PG” ต่อมาในปี 2535 ได้มีการนำเครื่องบินไอพ่น “FOKKER –100” ความจุผู้โดยสาร 107 ที่นั่ง เข้ามาบริการ ในปี 2537 จึงได้เข้าร่วมในสำนักหักบัญชีของ IATA (IATA Clearing House) และได้เริ่มนำเครื่องบินแบบเอทีอาร์ 72 จำนวน 2 ลำ มาใช้ในฝูงบิน

ในปี 2541 บริษัทฯ ได้เริ่มดำเนินการในสนามบินแห่งที่สอง คือ สนามบินสุโขทัย และในปี 2543 ได้เริ่มนำเครื่องบินแบบ โบอิ้ง 717-200 ลำแรกมาใช้ในการดำเนินงาน ซึ่งช่วยเพิ่มความสามารถในการปฏิบัติการการบินของบริษัทฯ เนื่องจากมีความรวดเร็วและมีจำนวนที่นั่งมากขึ้น พร้อมกันนี้บริษัทฯ เริ่มดำเนินงานในส่วนของโรงซ่อมอากาศยานที่สนามบินดอนเมืองและเข้าเป็นสมาชิกของ IATA Billing and Settlement Plan (BSP) ซึ่งทำให้บริษัทฯ เพิ่มฐานการขาย และยังสามารถรับชำระราคาบัตรโดยสารที่จำหน่ายผ่านผู้แทนจำหน่ายบัตรโดยสารที่ได้รับอนุญาตจาก IATA ผ่านระบบชำระเงินของธนาคารที่บริหารจัดการโดย IATA ได้จนกระทั่งในปี 2545 จึงได้เข้าเป็นสมาชิกสามัญของ IATA ซึ่งหมายถึงการเข้าสู่มาตรฐานความปลอดภัยในการบินพาณิชย์สากลนานาชาติภายใต้ IATA Operational Safety Audit (“IOSA”) และในปี 2549 บริษัทฯ ได้เริ่มดำเนินกิจการสนามบินแห่งที่สามคือ สนามบินตราด

วันที่ 9 เมษายน 2550 บริษัทฯ ได้รับพระราชทาน หนังสือตราตั้ง (ตราครุฑ) ซึ่งถือเป็นความภาคภูมิใจและเป็นกำลังใจอันสูงสุดแก่พนักงานทุกคน ต่อมาในวันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2556 บริษัทฯ ได้ทำการจดทะเบียนเป็นบริษัท การบินกรุงเทพ จำกัด (มหาชน)