ตาราง เปรียบเทียบ มาตรา 33 39 40

14 ส.ค. 2564 เวลา 4:00 น. 165.9k

เช็คสิทธิประโยชน์-ความคุ้มครอง ผู้ประกันตนมาตรา 33 มาตรา 39 และมาตรา 40 ได้รับความคุ้มครองอะไรบ้าง ครบจบทุกมาตราที่นี่

ช่วงนี้ ผู้ประกันตนมาตรา 33 มาตรา 39 และมาตรา 40 ถูกกล่าวถึงอย่างมากจากโครงการเยียวยานายจ้างและผู้ประกันตน ม.33 ม.39  และม.40 ในกิจการที่ได้รับผลกระทบจากมาตรการของรัฐ ในพื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวด 29 จังหวัด ใน 9 ประเภทกิจการ ซึ่งนอกจากการรับเงินช่วยเหลือเยียวยาดังกล่าวแล้ว ผู้ประกันตนแต่ละมาตรายังได้รับความคุ้มครองและสิทธิประโยชน์ ดังนี้

ผู้ประกันตนมาตรา 33 

ลูกจ้างที่ยังทำงานในสถานประกอบการที่มีนายจ้าง ได้รับสิทธิประโยชน์ ดังนี้
ว่างงาน

  • เจ็บป่วย
  • คลอดบุตร
  • สงเคราะห์บุตร
  • ทุพพลภาพ
  • ชราภาพ
  • เสียชีวิต

ตาราง เปรียบเทียบ มาตรา 33 39 40

ผู้ประกันตนมาตรา 39

คือ ผู้ประกันตนโดยสมัครใจ คุณสมบัติและเงื่อนไขผู้ประกันตนมาตรา 39 ดังนี้ 

  • เคยเป็นผู้ประกันตนมาตรา 33 
  • ส่งเงินสมทบมากกว่า 12 เดือน 
  • ลาออกจากงานไม่เกิน 6 เดือน

ตาราง เปรียบเทียบ มาตรา 33 39 40

ผู้ประกันตนมาตรา 39 มีสิทธิประโยชน์ ดังนี้

  • เจ็บป่วย
  • คลอดบุตร 
  • สงเคราะห์บุตร
  • ทุพพลภาพ
  • ชราภาพ 
  • เสียชีวิต

ผู้ประกันตนมาตรา 40

บุคคลทั่วไปที่ไม่มีนายจ้าง อายุไม่ต่ำกว่า 15 ปีบริบูรณ์ และไม่เกิน 65 ปี อละไม่เป็นผู้ประกันตนมาตรา 33, มาตรา 39

ความคุ้มครองและสิทธิประโยชน์ประกันสังคม

ทางเลือกที่ 1 จ่าย 70 บาท/เดือน  ผู้ประกันตนได้รับความคุ้มครอง ดังนี้

1.กรณีประสบอันตรายหรือเจ็บป่วย รับค่าทดแทนขาดรายได้

  • ผู้ป่วยใน นอนพักรักษาตัว 1 วันขึ้นไป วันละ 300 บาท
  • ผู้ป่วยนอก(ไม่นอนโรงพยาบาล) ใบรับรองแพทย์ให้หยุด 3 วันขึ้นไป  วันละ 200 บาท
  • เงื่อนการรับสิทธิ ผู้ป่วยในและผู้ป่วยนอกหยุดรวมกัน ไม่เกิน 30 วัน/ปี
  • ผู้ป่วยนอก(ไม่นอนโรงพยาบาล) หยุดไม่เกิน 2 วัน(ปีละไม่เกิน 3 ครั้ง) ครั้งละ 50 บาท

2.กรณีทุพพล รับเงินทดแทนการขาดรายได้

  • ได้รับเงินทดแทนการขาดรายได้รายเดือน(ขึ้นกับระยะเวลาส่งเงินสมทบของผู้ประกันตน) 500-1,000 บาท
  • ได้รับเงินทดแทนการขาดรายได้ เป็นระยะเวลา 15 ปี
  • เสียชีวิตระหว่างทุพพลภาพ ได้รับค่าทำศพ 25,000 บาท

3.กรณีเสียชีวิต ได้รับเงินค่าทำศพ

  • ผู้จัดการศพ ได้รับค่าทำศพ 25,000 บาท
  • จ่ายเงินสมทบครบ 60 เดือนก่อนเสียชีวิต ได้รับเงินเพิ่ม 8,000 บาท

4.กรณีชราภาพ ได้รับเงินก้อนพร้อมดอกผล

  • สะสมบำเหน็จชราภาพ(เงินออม)จากเงินสมทบ เดือนละ(ได้รับเมื่ออายุครบ 60 ปี และสิ้นสุดการเป็นผู้ประกันตน) ไม่คุ้มครอง
  • จ่ายเงินสมทบครบ 180 เดือน รับเงินเพิ่ม ไม่คุ้มครอง
  • ผู้ประกันตนจ่ายเงินออมเพิ่มได้ ไม่เกินเดือนละ ไม่คุ้มครอง

5.กรณีสงเคราะห์บุตร ได้รับรายเดือน

  • ได้รับเงินสงเคราะห์บุตรแรกเกิด ถึง 6 ปีบริบูรณ์(จ่ายเงินสมทบ 24 ใน 36 เดือน) ไม่คุ้มครอง

ทางเลือกที่ 2 จ่าย 100 บาท/เดือน  ผู้ประกันตนได้รับความคุ้มครอง ดังนี้

1.กรณีประสบอันตรายหรือเจ็บป่วย รับค่าทดแทนขาดรายได้

  • ผู้ป่วยใน นอนพักรักษาตัว 1 วันขึ้นไป วันละ 300 บาท
  • ผู้ป่วยนอก(ไม่นอนโรงพยาบาล) ใบรับรองแพทย์ให้หยุด 3 วันขึ้นไป  วันละ 200 บาท
  • เงื่อนการรับสิทธิ ผู้ป่วยในและผู้ป่วยนอกหยุดรวมกัน ไม่เกิน 30 วัน/ปี
  • ผู้ป่วยนอก(ไม่นอนโรงพยาบาล) หยุดไม่เกิน 2 วัน(ปีละไม่เกิน 3 ครั้ง) ครั้งละ 50 บาท

2.กรณีทุพพล รับเงินทดแทนการขาดรายได้

  • ได้รับเงินทดแทนการขาดรายได้รายเดือน(ขึ้นกับระยะเวลาส่งเงินสมทบของผู้ประกันตน) 500-1,000 บาท
  • ได้รับเงินทดแทนการขาดรายได้ เป็นระยะเวลา 15 ปี
  • เสียชีวิตระหว่างทุพพลภาพ ได้รับค่าทำศพ 25,000 บาท

3.กรณีเสียชีวิต ได้รับเงินค่าทำศพ

  • ผู้จัดการศพ ได้รับค่าทำศพ 25,000 บาท
  • จ่ายเงินสมทบครบ 60 เดือนก่อนเสียชีวิต ได้รับเงินเพิ่ม 8,000 บาท

4.กรณีชราภาพ ได้รับเงินก้อนพร้อมดอกผล

  • สะสมบำเหน็จชราภาพ(เงินออม)จากเงินสมทบ เดือนละ(ได้รับเมื่ออายุครบ 60 ปี และสิ้นสุดการเป็นผู้ประกันตน) 50 บาท
  • จ่ายเงินสมทบครบ 180 เดือน รับเงินเพิ่ม ไม่คุ้มครอง
  • ผู้ประกันตนจ่ายเงินออมเพิ่มได้ ไม่เกินเดือนละ ออมเพิ่มได้ 1,000 บาท

5.กรณีสงเคราะห์บุตร ได้รับรายเดือน

  • ได้รับเงินสงเคราะห์บุตรแรกเกิด ถึง 6 ปีบริบูรณ์(จ่ายเงินสมทบ 24 ใน 36 เดือน) ไม่คุ้มครอง

ทางเลือกที่ 3 จ่าย 300 บาท/เดือน  ผู้ประกันตนได้รับความคุ้มครอง ดังนี้

1.กรณีประสบอันตรายหรือเจ็บป่วย รับค่าทดแทนขาดรายได้

  • ผู้ป่วยใน นอนพักรักษาตัว 1 วันขึ้นไป วันละ 300 บาท
  • ผู้ป่วยนอก(ไม่นอนโรงพยาบาล) ใบรับรองแพทย์ให้หยุด 3 วันขึ้นไป  วันละ 200 บาท
  • เงื่อนการรับสิทธิ ผู้ป่วยในและผู้ป่วยนอกหยุดรวมกัน ไม่เกิน 90 วัน/ปี
  • ผู้ป่วยนอก(ไม่นอนโรงพยาบาล) หยุดไม่เกิน 2 วัน(ปีละไม่เกิน 3 ครั้ง) ไม่คุ้มครอง

2.กรณีทุพพล รับเงินทดแทนการขาดรายได้

  • ได้รับเงินทดแทนการขาดรายได้รายเดือน(ขึ้นกับระยะเวลาส่งเงินสมทบของผู้ประกันตน) 500-1,000 บาท
  • ได้รับเงินทดแทนการขาดรายได้ เป็นระนะเวลา ตลอดชีวิต
  • เสียชีวิตระหว่างทุพพลภาพ ได้รับค่าทำศพ 50,000 บาท

3.กรณีเสียชีวิต ได้รับเงินค่าทำศพ

  • ผู้จัดการศพ ได้รับค่าทำศพ 50,000 บาท
  • จ่ายเงินสมทบครบ 60 เดือนก่อนเสียชีวิต ไม่คุ้มครอง

4.กรณีชราภาพ ได้รับเงินก้อนพร้อมดอกผล

  • สะสมบำเหน็จชราภาพ(เงินออม)จากเงินสมทบ เดือนละ(ได้รับเมื่ออายุครบ 60 ปี และสิ้นสุดการเป็นผู้ประกันตน) 150 บาท
  • จ่ายเงินสมทบครบ 180 เดือน รับเงินเพิ่ม 10,000 บาท
  • ผู้ประกันตนจ่ายเงินออมเพิ่มได้ ไม่เกินเดือนละ ออมเพิ่มได้ 1,000 บาท

5.กรณีสงเคราะห์บุตร ได้รับรายเดือน

  • ได้รับเงินสงเคราะห์บุตรแรกเกิด ถึง 6 ปีบริบูรณ์(จ่ายเงินสมทบ 24 ใน 36 เดือน) คนละ 200 บาท(คราวละไม่เกิน 2 คน)

ตาราง เปรียบเทียบ มาตรา 33 39 40

ด้านมาตรการเยียวยานายจ้างและลูกจ้างผู้ประกันตน ม33 ม39 ม40 ในพื้นที่ควบคุมสูงสุด 29 จังหวัด 9 ประเภทกิจการ สามารถตรวจสอบสิทธิเยียวยาได้ทางเวปไซต์สำนักงานประกันสังคม https://www.sso.go.th/eform_news/

ตาราง เปรียบเทียบ มาตรา 33 39 40
ที่มา : สำนักงานประกันสังคม กระทรวงแรงงาน , คู่มือผู้ประกันตน

ประกันสังคมม.33ม.39ม.40ต่างกันอย่างไร

ความหมาย ผู้ประกันตนมาตรา 40 หมายถึง บุคคลที่มิใช่ลูกจ้างตามมาตรา 33 หรือเป็นผู้ประกันตนโดยสมัครใจ มาตรา 39 เรียกว่า ผู้ประกันตนโดยอิสระ คุณสมบัติในการสมัคร อายุ 15-60 ปีบริบูรณ์ ไม่เป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 33 มาตรา 39 ไม่เป็นข้าราชการหรือบุคคลที่ถูกยกเว้นตามกฎหมายประกันสังคม

ประกันสังคมมาตรา33กับ39ต่างกันยังไง

โดยหลักๆแล้วที่เห็นได้ชัดเลยก็คือ มาตรา 33 (ภาคบังคับ) สำหรับพนักงานเอกชนทั่วไป มาตรา 39 (ภาคสมัครใจ) สำหรับผู้ที่ ไม่ทำงานประจำแล้ว อยากส่งเองต่อ มาตา 40 (ภาคสมัครใจ) สำหรับแรงงานนอกระบบ, อาชีพอิสระ

สิทธิประกันสังคมมาตรา 33 ทำอะไรได้บ้าง

สิทธิประกันสังคม สำหรับผู้ประกันตนที่เป็นลูกจ้าง (ผู้ประกันตนตามมาตรา 33) สามารถเบิกเงินกรณีเจ็บป่วย ทุพพลภาพ ตาย คลอดบุตร ชราภาพ สงเคราะห์บุตร และว่างงาน ครม.เห็นชอบ แก้ประกันสังคม ถอนเงินสะสมมาใช้ก่อนได้.
พี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกัน.
พี่น้องร่วมบิดาหรือร่วมมารดา.
ปู่ ย่า ตา ยาย.
ลุง ป้า น้า อา.

ปกส.มาตรา33 หักกี่เปอร์เซ็นต์

ประกันสังคม มาตรา 33. ผู้ประกันตน มาตรา 33 คือ ลูกจ้างหรือพนักงานบริษัทเอกชนทั่วไป ซึ่งโดยปกติต้องส่งเงินสมทบประกันสังคม ในอัตรา 5% ของค่าจ้าง แต่ในเดือนตุลาคม-ธันวาคม 2565 จะได้ปรับลดเหลือ 3% ของค่าจ้าง