คณะรัฐศาสตร์และนิติศาสตร์ ภาษาอังกฤษ

รัฐศาสตร์ และ นิติศาสตร์ ถือเป็นคณะที่มีการเรียนที่ดูเหมือนจะคล้ายกัน จากโครงสร้างในการเรียนการสอน จนทำให้หลายๆ คนเข้าใจผิดว่าทั้งสองคณะนี้เป็นคณะเดียวกัน แต่ความจริงแล้ว ทั้งสองคณะ เรียกว่าแตกต่างกันทั้งคู่ ไม่ว่าจะเป็นการเรียนการสอน ตลอดจนถึงการที่จบมาแล้วนำความรู้ที่ได้มาประกอบอาชีพเลยด้วยนะ

รัฐศาสตร์

คณะรัฐศาสตร์ เปิดสอนศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับการบริการรัฐ การเมืองการปกครอง รวมไปถึงความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ซึ่งการศึกษาวิชารัฐศาสตร์นั้น เป็นการศึกษาในลักษณะของสหวิทยาการ กล่าวคือ ต้องอาศัยศาสตร์หลาย ๆ ศาสตร์เข้ามาประกอบการศึกษา อธิบายภาวะต่าง ๆ ทางสังคม ที่เกิดขึ้นได้

  • รัฐศาสตร์เรียนอะไร แล้วจบมาสามารถทำงานอะไรได้บ้าง?

รัฐศาสตร์เรียนอะไรบ้าง?

สาขาการเมืองการปกครอง

เรียนเกี่ยวกับปรัชญาและความคิดทางการเมืองเช่น รัฐธรรมนูญ รัฐสภา พรรคการเมือง การเลือกตั้งและปัญหาทางการเมือง และสังคมที่สำคัญๆ เช่น ธุรกิจกับการเมือง ทหารกับการเมือง การเมืองของผู้ใช้แรงงาน

สาขารัฐประศาสนศาสตร์

เรียนเกี่ยวกับการบริหารและการจัดการในหน่วยงานและองค์การต่าง ๆ เกี่ยวกับระบบราชการและหน่วยงานของรัฐ ภายใต้ภาวะแวดล้อมทางสังคมที่เปลี่ยนแปลง เป้าหมายของสาขานี้ คือปากท้อง ความสุขของส่วนรวมประชาชน

สาขาการระหว่างประเทศ

เรียนเกี่ยวกับด้านการเมืองระหว่างประเทศนโยบายต่างประเทศของกลุ่มประเทศต่างๆ องค์การระหว่างประเทศและประวัติศาสตร์การทูตทำความเข้าใจกับระบบความสัมพันธ์ระหว่างประเทศต่างๆ ความสำคัญทั้งต่อภาครัฐบาลและภาคเอกชนเกี่ยวข้องกับเรื่อง การพัฒนา สิ่งแวดล้อม อำนาจการปกครองของแต่ละประเทศ และสิทธิมนุษยชนในระดับระหว่างประเทศ

แนวทางการประกอบอาชีพ

สามารถประกอบอาชีพได้ทั้งในหน่วยงานราชการและเอกชน โดยเฉพาะงานทางด้านบริหารจัดการข้อมูล และวิจัย สามารถทำงานราชการในตำแหน่งงานที่ ก.พ.กำหนด ทำงานด้านการทูต งานด้านวิเทศสัมพันธ์ หรือกิจการต่างประเทศ งานที่เกี่ยวข้องกับการวิจัย และการวางแผนในภาคราชการ รัฐวิสาหกิจและเอกชน

นิติศาสตร์

นิติศาสตร์ เป็นวิชาที่ว่าด้วยกฎหมายและกระบวนการยุติธรรม สามารถแบ่งออกเป็นหลายแขนงได้ตามแง่มุมที่ศึกษา เช่น วิชานิติศาสตร์โดยแท้ (legal science proper), นิติศาสตร์ทางข้อเท็จจริง (legal science of facts) และ นิติศาสตร์เชิงคุณค่า (legal science of values) การเรียนที่เน้นเกี่ยวกับตัวบทกฎหมาย ทำความเข้าใจข้อบังคับใช้กฎหมายต่างๆ

  • นิติศาสตร์ เรียนอะไร แล้วจบมาสามารถทำงานอะไรได้บ้าง?

นิติศาสตร์ เรียนอะไรบ้าง?

เรียนเกี่ยวกับตัวบทกฎหมาย ทำความเข้าใจข้อบังคับใช้กฎหมายต่างๆ ศึกษาเกี่ยวกับ กฎเกณฑ์ ความประพฤติ ของบุคคลที่อยู่ร่วมกันในสังคม โดยกำหนดออกมาเป็น กฎหมาย เพื่อให้ทุกคนอยู่ร่วมกัน อย่างมีระเบียบและมีความสุข

ปี 1 เรียนวิชาพื้นฐานทั่วไป

เรียนเหมือนกันทุกสาขา เช่น จิตวิทยา ภาษาอังกฤษ ภาษาไทย ในด้านภาษาและการสื่อสาร เน้นการ ฟัง พูด อ่าน เขียน และเริ่มเรียนความรู้พื้นฐาน เกี่ยวกับกฎหมายและระบบกฎหมาย

ปี 2 เริ่มเรียนวิชาบังคับ

ปีนี้จะเริ่มเรียนกฎหมายในลักษณะหนี้ กฎหมายลักษณะละเมิด เช่นซื้อขาย เช่า จำนอง จำนำ กู้ยืม ฯลฯ เรียนกฎหมายอาญาภาคทั่วไป
กฎหมายมหาชนเบื้องต้น และเรียนวิชาเลือกที่เกี่ยวกับกฎหมาย เช่นการใช้ศัพท์และสำนวนกฎหมายภาษาอังกฤษ

ปี 3 เรียนในด้านกฎหมายเข้มข้นขึ้น

เรียนเกี่ยวกับกฎหมายปกครอง กฎหมายลักษณะครอบครัว กฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา กฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีเมือง กฎหมายภาษีและวิชาเลือก

ปี 4 เรียนในเชิงลึกขึ้น

ปีสุดท้ายที่เรียนก็จะมีเรียนกฎหมายนิติปรัชญา เช่นแนวความคิดปรัชญาทางกฎหมาย ตั้งแต่ในอดีตจนถึงปัจจุบัน และเรียนหลักวิชาชีพนักกฎหมาย กฎหมายแรงงาน หลักวิชาชีพนักกฎหมาย กฎหมายการคลัง การภาษีอากร และวิชาเลือกทางกฎหมายที่คณะกำหนด

แนวทางการประกอบอาชีพ

การเป็น ผู้พิพากษา อัยการ หรือทนายความ นอกจากนั้น การจบนิติศาสตร์ยังสามารถทำงานเป็นที่ปรึกษาให้กับหน่วยงานของรัฐ หรือเอกชน และยังสามารถทำงานด้านกฎหมายทั่วไปได้ด้วย

ชื่อปริญญา
  • ภาษาไทย: รัฐศาสตรบัณฑิต
  • ภาษาอังกฤษ: Bachelor of Political Science
สาขาวิชาเอก
  1. การเมืองการปกครอง (Government)
  2. ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ (International Relations)
  3. อาเซียนศึกษา (ASEAN Studies)
ปรัชญา / ความสำคัญ  

ไม่อาจปฏิเสธได้ว่าความไม่เท่าเทียมทางสังคมเป็นปัญหาสำคัญประการหนึ่งของสังคมไทยปัจจุบัน เพราะความไม่เท่าเทียมส่งผลต่อสิทธิในการเข้าถึงทรัพยากร รวมถึงศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ ซึ่งปรากฏออกมาทั้งในลักษณะของความเหลื่อมล้ำทางชนชั้น อคติทางวัฒนธรรม ชาติพันธุ์ และการกดขี่ทางเพศ เป็นต้น แน่นอนว่าปัญหาเหล่านี้ปรากฏขึ้น ดำรงอยู่ และเปลี่ยนรูปอย่างซับซ้อนภายใต้องค์ประกอบและเงื่อนไขหลายประการ องค์ประกอบที่สำคัญยิ่งประการหนึ่งก็คือรัฐส่วนกลางและแบบแผนอำนาจที่ถูกสถาปนาขึ้นผ่านรัฐดังกล่าว อย่างไรก็ตาม ไม่มีแบบแผนอำนาจใดสามารถครอบงำหรือควบคุมคนกลุ่มต่างๆ ได้ตลอดไป เฉกเช่นเดียวกับสรรพสิ่งซึ่งต่างก็มีการเปลี่ยนแปลงไม่หยุดนิ่ง สภาพสังคมที่รองรับแบบแผนอำนาจของรัฐส่วนกลางเองก็ย่อมเปลี่ยนแปลงไปเช่นกัน  โลกาภิวัตน์ การขยายตัวของทุนนิยมและลัทธิเสรีนิยมใหม่ (neo-liberalism) ความก้าวหน้าของเทคโนโลยีการสื่อสาร ซึ่งนำมาด้วยการสร้างเครือข่ายภาคประชาชนข้ามชาติ ตลอดจนการเปิดประชาคมอาเซียน คือเงื่อนไขที่ทำให้สภาพสังคมไทยเปลี่ยนไปและส่งผลต่อแบบแผนอำนาจที่ถูกสถาปนาโดยรัฐส่วนกลาง ซึ่งมีทั้งความเปราะบาง ความอ่อนแอ อันในที่สุดจะนำมาสู่การเคลื่อนไหวเพื่อต่อต้าน ขัดขืน กระทั่งเปลี่ยนแปลงแบบแผนดังกล่าวได้เสมอ

ด้วยสถานการณ์ดังกล่าวของสังคมไทยปัจจุบัน จึงปฏิเสธไม่ได้เช่นกันถึงความจำเป็นที่มหาวิทยาลัยในฐานะสถาบันการศึกษาระดับสูงของสังคมจะต้องบรรจงสร้างบัณฑิตผู้รู้เท่าทันความเปลี่ยนแปลง ทั้งเข้าใจพลวัตที่ต่อเนื่องจากอดีตถึงปัจจุบัน และตระหนักถึงความซับซ้อนหลากหลายของปรากฏการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้น ขณะเดียวกัน ก็ควรเป็นบัณฑิตซึ่งพร้อมที่จะยืนอยู่เคียงข้างความถูกต้อง และยึดมั่นในอุดมคติที่จะสร้างสังคมที่มีความเท่าเทียมและน่าอยู่สำหรับคนทุกคน

เพื่อสร้างกำลังคนให้มีคุณลักษณะตามที่กล่าวมาข้างต้น หลักสูตรรัฐศาสตรบัณฑิต มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ จึงจำเป็นต้องใช้กระบวนทัศน์ทางรัฐศาสตร์แนวใหม่ในการจัดการเรียนการสอน กระบวนทัศน์ดังว่านี้ประกอบด้วยแนวคิดและวิธีการศึกษาปรากฏการณ์ที่ทันสมัย ข้ามพ้นข้อจำกัดของศาสตร์วิชาใดวิชาหนึ่ง เปิดพื้นที่การเรียนรู้ให้แก่ผู้เรียนอย่างกว้างขวาง รอบด้าน สอดคล้องกับสถานการณ์ในปัจจุบัน พร้อมกับบ่มเพาะให้ผู้เรียนได้มีโอกาสศึกษาเรียนรู้จากปรากฏการณ์จริง อันจะเป็นสร้างความเข้าใจในเรื่องที่ศึกษาได้ลึกซึ้งขึ้น และสามารถช่วยปลูกฝังจิตสำนึกให้ผู้เรียนพร้อมที่จะสำเร็จการศึกษาออกไปทำงานโดยพร้อมจะเป็นปากเป็นเสียงให้แก่ผู้ยากไร้และขาดแคลนโอกาสในสังคม

วัตถุประสงค์
  1. เพื่อสร้างบัณฑิตที่รอบรู้และเข้าใจองค์ความรู้และการวิจัยทางรัฐศาสตร์ โดยเฉพาะด้านการเมืองการปกครอง ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ และอาเซียนศึกษา
  2. เพื่อผลิตบัณฑิตที่มีความรู้และความสามารถให้สอดคล้องกับความต้องการของภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาชน โดยเฉพาะโครงการต่างๆ ที่ต้องการกำลังคนเพื่อพัฒนาสังคมในมิติใหม่ๆ อันจะส่งเสริมความเท่าเทียมให้แก่สังคมในทุกระดับ
  3. เพื่อสร้างบัณฑิตที่มีจิตสำนึกสาธารณะ มุ่งทำงานให้เกิดประโยชน์ต่อส่วนรวม สามารถออกไปปฏิบัติงานทั้งในภาครัฐ ภาคเอกชน และทำงานร่วมกับคนทุกกลุ่มได้
แนวทางประกอบอาชีพ
  1. บุคลากรด้านการปกครองและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
  2. บุคลากรทางการเมืองและการทูต
  3. บุคลากรในองค์กรอิสระ
  4. บุคลากรในงานด้านการวิจัยและโครงการพัฒนา
  5. บุคลากรในองค์กรเอกชนทั้งภายในประเทศและระหว่างประเทศ
  6. บุคลากรทั้งในหน่วยงานของรัฐและเอกชนที่ทำงานในภูมิภาคอาเซียน
แนวทางการศึกษาต่อ

สามารถศึกษาต่อระดับปริญญาโท และปริญญาเอก ในหลักสูตรรัฐศาสตรบัณฑิต หรือสาขาอื่น ๆ ได้ ในทุกสถาบันการศึกษาทั้งในและต่างประเทศ

ระบบการศึกษา

เป็นระบบไตรภาค (Trimester System) โดยหนึ่งปีการศึกษาแบ่งออกเป็น 3 ภาคการศึกษา และหนึ่งภาคการศึกษามีระยะเวลาศึกษาไม่น้อยกว่า 12 สัปดาห์

ค่าธรรมเนียมการศึกษา

ค่าธรรมเนียมการศึกษาต่อภาคการศึกษา 12,700 บาท
ค่าธรรมเนียมการศึกษาตลอดหลักสูตร 152,400 บาท

โครงสร้างหลักสูตร