นัก สังคมสงเคราะห์ กับ นัก พัฒนา สังคม

นัก สังคมสงเคราะห์ กับ นัก พัฒนา สังคม

หลายคนคงมีคำถามในใจว่า นักสังคมสงเคราะห์ ทำหน้าที่อะไรบ้าง ทำไมถึงต้องมีอาชีพนี้ขึ้นมาด้วย ใช่คนที่ทำงานตามมูลนิธิต่างๆ หรือเปล่า ซึ่งก็ถือว่าเป็นคำตอบที่ถูกส่วนหนึ่ง แต่ยังไม่ใช่ทั้งหมด งานของนักสังคมสงเคราะห์มีมากกว่านั้น เป็นงานที่จะทำให้คุณได้ตระหนักถึงคุณค่าของมนุษย์มากกว่าที่เคย หากอยากรู้ว่าคืองานแบบไหน ก็ต้องตาม JobsChiangrai ไปดูกันเลย

รู้จักอาชีพ ‘นักสังคมสงเคราะห์’

นัก สังคมสงเคราะห์ กับ นัก พัฒนา สังคม

นักสังคมสงเคราะห์ เป็นอาชีพที่มีความเกี่ยวโยงกับมนุษย์มากที่สุด เพราะต้องทำงานร่วมกับมนุษย์หลากหลายประเภท ตั้งแต่ปัญหาเรื่องส่วนตัวไปจนถึงปัญหาระหว่างครอบครัว หรือ จะเป็นสวัสดิการทางสังคม ที่คนในสังคมๆ นั้นควรจะได้รับ เช่น สิทธิในการรักษาพยาบาล สิทธิทางด้านการศึกษา เป็นต้น ตระหนักให้เห็นถึงคุณค่าของมนุษย์ทุกคน ให้ความช่วยเหลือผู้ที่กำลังเดือดร้อน และต้องเคารพในการตัดสินใจของคนที่กำลังให้ความช่วยเหลือด้วย

ลักษณะงานนักสังคมสงเคราะห์

นัก สังคมสงเคราะห์ กับ นัก พัฒนา สังคม

การทำงานของนักสังคมสงเคราะห์นั้น ขึ้นอยู่กับองค์กรที่เราทำงานด้วยอยู่และเป้าหมายขององค์กร เช่น องค์กรเด็ก องค์กรผู้สูงวัย องค์กรLGBT ฯลฯ ส่วนใหญ่แล้ว จะเป็นองค์กรที่ไม่แสวงหาผลกำไร เพราะหัวใจหลักของการทำงานนี้ ก็คือ ช่วยให้ผู้คนได้รับสวัสดิการที่ควรจะมี ได้รับความช่วยเหลือ ให้เขาเหล่านั้น สามารถตระหนักถึงคุณค่าและศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ของตัวเอง สามารถดำเนินชีวิตได้อย่างปกติสุข

คุณสมบัติของนักสังคมสงเคราะห์

นัก สังคมสงเคราะห์ กับ นัก พัฒนา สังคม

  1. มีทัศนคติในการใช้ชีวิตที่ดี มีพลังบวก เข้าใจตนเองและผู้อื่น มีความเห็นอกเห็นใจในฐานะมนุษย์ ไม่ใช่การพูดตอกย้ำให้คนอื่นรู้สึกแย่กว่าเดิม
  2. มีมนุษยสัมพันธ์ที่ดี ทั้งกับเพื่อนร่วมงานและคนที่ต้องทำงานด้วย ยอมรับความหลากหลาย ทั้งเรื่องเพศ การศึกษา เชื้อชาติ ศาสนา อาชีพ ลักษณะนิสัยต่างๆ มองในจุดแข็งและของดีของผู้อื่น ทำความเข้าใจโดยปราศจากอคติ
  3. สิ่งที่สำคัญมากก็คือ เราต้องเข้าใจผู้อื่น ไม่เอาตัวเองเป็นที่ตั้ง เพราะการที่จะสามารถเข้าถึงปัญหาที่แท้จริงได้นั้น เราก็ต้องเข้าใจสิ่งที่ผู้พบปัญหากำลังประสบอยู่ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องเนื้อหาของปัญหาหรือความรู้สึกก็ตาม
  4. รู้จักอดทน อดกลั้น เพราะเราจะต้องเจอกับผู้คนมากมาย แม้มีบางเรื่องที่ทำให้เรารู้สึกไม่พอใจ หรือ รู้สึกว่า สิ่งๆ นี้ไม่ใช่สิ่งที่เราต้องการ แต่ต้องพยายามอดทนและทำความเข้าใจกับสิ่งๆ นั้น และมุมมองของคนๆ นั้น

อยากเป็นนักสังคมสงเคราะห์ ต้องเรียนอะไร

เราสามารถแบ่งช่วงเวลาในการเรียนและการสอบ สำหรับนักสังคมสงเคราะห์ได้ออกเป็น 3 ช่วง ดังนี้

นัก สังคมสงเคราะห์ กับ นัก พัฒนา สังคม

ระดับมัธยม

  • สายสามัญ - สามารถเลือกต่อสายไหนก็ได้ เช่น สายวิทย์คณิต สายศิลป์คำนวณ สายภาษา เป็นต้น
  • สายอาชีพ - จบปวช. หรือ ปวส. ที่เกี่ยวข้อง

ปริญญาตรี

มหาวิทยาลัยที่เปิดสอนคณะที่มีความเกี่ยวข้องกับสังคมสงเคราะห์ ได้แก่

  • คณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
  • คณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์และสวัสดิการสังคม มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ
  • คณะศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์ สาขาวิชาการพัฒนาสังคมและสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยนครพนม
  • คณะสังคมศาสตร์ สาขาวิชาการพัฒนาสังคม มหาวิทยาลัยนเรศวร
  • คณะศิลปศาสตร์ สาขาวิชาการพัฒนาสังคม มหาวิทยาลัยพะเยา
  • คณะศิลปศาสตร์ สาขาวิชาการพัฒนาสังคม มหาวิทยาลัยหาดใหญ่
  • คณะศิลปศาสตร์ สาขาวิชาการพัฒนาสังคม มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
  • คณะศิลปศาสตร์ สาขาวิชาสังคมสงเคราะห์และการพัฒนาสังคม มหาวิทยาลัยเกริก
  • คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ สาขาวิชาการพัฒนาสังคม มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
  • คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ สาขาวิชาการพัฒนาสังคม มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์

ใบประกอบวิชาชีพ

ก่อนที่จะได้รับใบประกอบวิชาชีพ จะได้รับการทดสอบก่อน 2 อย่าง นั่นก็คือ

  1. สอบข้อเขียน สำหรับใบอนุญาต 1 ปี
  2. ฝึกงาน 240 ชั่วโมง มีการทำ Case review ภายใน 1 ปี และสอบสัมภาษณ์ สำหรับใบอนุญาต 4 ปี

เงินเดือนนักสังคมสงเคราะห์

หลังจากที่เรียนจบปริญญาตรี 4 ปีแล้ว ก็ต้องไปทำเรื่องขอใบอนุญาตในการประกอบวิชาชีพ ซึ่งมีความจำเป็นสำหรับบางหน่วยงานเท่านั้น โดยสามารถแบ่งออกไปสามสายงานตามนี้

นัก สังคมสงเคราะห์ กับ นัก พัฒนา สังคม

พนักงานราชการ

  • เงินเดือนเริ่มต้นที่ 18,000 บาท
  • มีตำแหน่งเฉพาะทางต่างๆ เช่น นักสังคมสงเคราะห์ นักพัฒนาสังคม นักพัฒนาชุมชน เป็นต้น โดยสัญญาจ้าง จะมีการประเมินทุก 3 – 4 ปี

รับราชการ

  1. เงินเดือนเริ่มต้นที่ 15,000 บาท
  2. สอบบรรจุในตำแหน่ง “นักสังคมสงเคราะห์ปฏิบัติการ”
  3. เลื่อนตำแหน่งมาเป็น “นักสังคมสงเคราะห์ชำนาญการพิเศษ”
  4. และเป็นตำแหน่ง “นักสังคมสงเคราะห์เชี่ยวชาญ”

พนักงานเอกชน

หน่วยงาน Non – Government

  • เงินเดือนเริ่มต้นที่ 14,000 บาท

หน่วยงานระหว่างประเทศ

  • เงินเดือนเริ่มต้นที่ 20,000 บาท

นัก สังคมสงเคราะห์ กับ นัก พัฒนา สังคม

สรุป

งานของ นักสังคมสงเคราะห์ นั้น เป็นงานที่ได้ช่วยเหลือผู้คนมากมายที่กำลังเดือดร้อน เราอาจมองว่า สิ่งเหล่านี้เป็นเพียงเรื่องเล็กๆ น้อยๆ เท่านั้น แต่ที่จริงแล้ว การที่จะเป็นนักสังคมสงเคราะห์นั้นไม่ใช่เรื่องง่ายแต่อย่างใด ต้องเป็นคนที่รู้จักเข้าอกเข้าใจผู้อื่นเป็นอย่างดี ไม่ตัดสินใจคนอื่นจากการมองแค่แว๊บแรกเท่านั้น หาวิธีการแก้ปัญหา และทำให้คนที่กำลังประสบปัญหานั้น ตระหนักถึงคุณค่าของตัวเองในฐานะมนุษย์ ให้คนๆ นั้นได้รับสิทธิหรือสวัสดิการทางสังคมอย่างเหมาะสม

ขอบคุณภาพบางส่วนจาก Touro University Worldwide

บทความแนะนำ

  • เชฟ อาชีพของคนที่ชอบทำอาหารเป็นชีวิตจิตใจ
  • มัคคุเทศก์ อาชีพในฝันของคนรักการเที่ยว
  • ‘ทนาย’ อาชีพว่าความ เพื่อช่วยชีวิตคน
  • อาชีพนักบิน อิสรภาพบนท้องฟ้า
  • 5 อาชีพสำหรับคนรักภาษา