กํา หน ด วิสัย ทัศน์ พันธ กิจ นโยบายและแผนกลยุทธ์

Show

๑.๒.๒ ร้อยละของจำนวนเรื่องที่เสนอเข้าสู่การพิจารณาของ ครม. ที่มีความเห็นของ สลค. เพื่อประกอบการพิจารณาของครม.(กนธ., กวค., กสค., กอค.)

๑.๒.๓ ร้อยละของจำนวนเรื่องที่ ครม. มีมติตามความเห็นของ สลค.(กนธ., กวค., กสค., กอค.)

๑.๓ มติคณะรัฐมนตรีมีความถูกต้อง ชัดเจนสามารถปฏิบัติได้

๑.๓.๑ จำนวนมติ ครม. หรือข้อสั่งการที่ส่วนราชการขอทบทวน เนื่องจากคลาดเคลื่อน หรือไม่ชัดเจนในสาระสำคัญ(กนธ., กพต., กวค., กสค., กอค.)

๑.๓.๒ ร้อยละความสำเร็จของการตรวจสอบร่างอนุบัญญัติแล้วเสร็จภายในเวลาที่กำหนด(กคอ.)

๑.๔ การจัดประชุมครม. มีมาตรฐานและพร้อมตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลง

๑.๔.๑ ร้อยละของความพึงพอใจของผู้ประสานงานในการจัดประชุมครม. (กปค.)

๑.๔.๒ จำนวนครั้งของการผลิตเอกสารเรื่องจำเป็น/เร่งด่วน ไม่ทันต่อการประชุม/การพิจารณาของครม.(กปค.)

กลยุทธ์

๑) สร้างความเข้าใจให้แก่ส่วนราชการเกี่ยวกับแนวปฏิบัติในการเสนอเรื่องฯ ตามพ.ร.ฎ. เสนอเรื่องฯ (ระเบียบฯ และแนวทางปฏิบัติ) อย่างต่อเนื่อง

๒) พัฒนา/ถ่ายทอด/บริหารจัดการองค์ความรู้ในการวิเคราะห์เรื่องเสนอ ครม. และการจัดทำร่างมติ ครม.

๓) เสริมสร้าง/พัฒนาเทคโนโลยีและแนวปฏิบัติในการจัดประชุม ครม.

๔) จัดทำและปรับปรุงคู่มือการปฏิบัติงาน

ยุทธศาสตร์ที่ ๒

การพัฒนาระบบติดตามผลการดำเนินการตามนโยบายและมติคณะรัฐมนตรี และพัฒนาฐานข้อมูลสำหรับการเสนอแนะเชิงนโยบาย

เป้าประสงค์

ตัวชี้วัด

๒.๑ ส่วนราชการรายงานผลการดำเนินการตามนโยบายและมติ ครม. ตามระยะเวลาที่กำหนด

๒.๑.๑ ร้อยละของจำนวนเรื่องที่ส่วนราชการรายงานผลการดำเนินการตามมติ ครม.(กสค.)

๒.๑.๒ ร้อยละความสำเร็จในการประสานงาน/ติดตามให้ส่วนราชการรายงานความก้าวหน้าในการดำเนินการตามมติ ครม. ภายในระยะเวลาที่กำหนด (กสค)

๒.๒ ครม. มีข้อมูลการติดตามผลการดำเนินการตามนโยบายและมติ ครม. เพื่อประกอบการพิจารณาตัดสินใจ

๒.๒.๑ จำนวนประมวลมติ ครม. ที่มีรายงานผลการดำเนินการตามนโยบายและมติ ครม. อย่างครบถ้วน ที่ปรับปรุงหรือจัดทำขึ้นใหม่แล้วเสร็จตามเป้าหมายที่กำหนด (กพต.)

๒.๒.๒ ร้อยละความพึงพอใจที่มีต่อประมวลมติ ครม. (กพต.)

กลยุทธ์

๑) พัฒนาฐานข้อมูลการติดตามและประเมินผลการปฏิบัติงานตามนโยบายและมติ ครม.

๒) พัฒนาระบบการติดตามและประเมินผลการปฏิบัติงานตามนโยบายและมติ ครม.

๓) พัฒนากลไกผู้ประสานงาน ครม. และรัฐสภา (ปคร.)

๔) พัฒนาองค์ความรู้ในการติดตามผลการดำเนินการตามมติ ครม.

๕) พัฒนาบุคลากรให้มีความรู้ความสามารถทันต่อเหตุการณ์ และก้าวทันต่อความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น

ยุทธศาสตร์ที่ ๓

การเพิ่มประสิทธิภาพการปฏิบัติงานเกี่ยวกับราชการในพระองค์

เป้าประสงค์

ตัวชี้วัด

๓.๑ การปฏิบัติงานเกี่ยวกับราชการในพระองค์เป็นไปตามโบราณประเพณีและธรรมเนียมปฏิบัติที่สมพระเกียรติ

๓.๑.๑ จำนวนครั้งที่การปฏิบัติงานหน้าพระที่นั่งผิดพลาด (กอค.)

๓.๑.๒ จำนวนครั้งที่การขอพระราชทานพระมหากรุณาในเรื่องต่างๆ ผิดพลาด (กอค.)

๓.๑.๓ ร้อยละขององค์ความรู้ในการปฏิบัติงานด้านราชการในพระองค์ที่ปรับปรุงหรือจัดทำขึ้นใหม่แล้วเสร็จตามเป้าหมายที่กำหนด (กอค.)

กลยุทธ์

๑) พัฒนาองค์ความรู้/คู่มือ/แนวทางการปฏิบัติเกี่ยวกับราชการในพระองค์

๒) พัฒนาระบบงานและฐานข้อมูลเกี่ยวกับราชการในพระองค์

๓) พัฒนาเครือข่ายการประสานงานเกี่ยวกับราชการในพระองค์

๔) พัฒนาบุคลากรด้านราชการในพระองค์

ยุทธศาสตร์ที่ ๔

การพัฒนากระบวนการเผยแพร่ข้อมูลสำคัญในราชกิจจานุเบกษา

เป้าประสงค์

ตัวชี้วัด

๔.๑ ระบบงานราชกิจจานุบกษามีมาตรฐาน

๔.๑.๑ จำนวนครั้งที่ไม่สามารถนำเรื่องประกาศในราชกิจจานุเบกษาบนเว็บไซต์ได้ ภายในระยะเวลาที่กำหนด (กรจ.-กอค.)

๔.๑.๒ ร้อยละขององค์ความรู้หรือคู่มือการปฏิบัติงานที่ได้รับการพัฒนาหรือปรับปรุงแล้วเสร็จตามเป้าหมายที่กำหนด (กรจ.-กอค.)

๔.๒ สลค. เป็นศูนย์กลางในการเผยแพร่กฎหมายและข้อมูลสำคัญ

๔.๒.๑ ร้อยละของจำนวนกฎหมายและข้อมูลสำคัญที่เผยแพร่ในเว็บไซต์ สลค. (กนธ., กบส., กรจ.-กอค.)

๔.๓ ประชาชนรับรู้ข้อมูลสำคัญในราชกิจจานุเบกษาอย่างถูกต้องและรวดเร็ว

๔.๓.๑ ร้อยละที่เพิ่มขึ้นของจำนวนผู้ที่เข้ามาใช้ข้อมูลผ่านช่องทางที่เผยแพร่ เทียบกับปีก่อน (กบส., กรจ.-กอค.)

กลยุทธ์

๑) พัฒนาเทคโนโลยีเกี่ยวกับระบบงานราชกิจจานุเบกษาให้มีประสิทธิภาพ

๒) พัฒนาระบบและฐานข้อมูลกฎหมาย

๓) พัฒนากระบวนการเผยแพร่ในราชกิจจานุเบกษาให้รองรับกับเทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลงไป

๔) พัฒนาบุคลากรให้มีทักษะรองรับเทคโนโลยีในการเผยแพร่

ยุทธศาสตร์ที่ ๕

การพัฒนาระบบบริหารจัดการเพื่อสนับสนุนการปฏิบัติงานในภารกิจหลักที่เกี่ยวข้อง

เป้าประสงค์

ตัวชี้วัด

๕.๑ บุคลากรมีศักยภาพสูงและปฏิบัติงานได้ในทุกสถานการณ์ เอื้อต่อการพัฒนาองค์กร สลค. ในอนาคต

๕.๑.๑ ร้อยละขององค์ความรู้ในการปฏิบัติงานที่ปรับปรุงหรือจัดทำขึ้นใหม่แล้วเสร็จตามเป้าหมายที่กำหนด (สลธ., กบส., กพร.)

๕.๑.๒ ร้อยละของบุคลากรที่ได้รับการพัฒนาในแต่ละปี เทียบกับบุคลากรทั้งหมด (กพร.)

๕.๒ ระบบการบริหารจัดการและระบบงานมีมาตรฐานมีประสิทธิภาพและทันสมัย

๕.๒.๑ ระดับความสำเร็จในการจัดทำแผนการบริหารทรัพยากรบุคคล (Human Resource Management) (สลธ.)

(๑) เส้นทางความก้าวหน้าในสายอาชีพ (Career Path)

(๒) แผนการสืบทอดตำแหน่ง (Seccession Plan)

(๓) แผนสร้างความผูกพันของบุคลากร สลค.

๕.๒.๒ ร้อยละความพึงพอใจของบุคลากร สลค. ที่มีต่อระบบบริหารงานบุคคล การสร้างเส้นทางความก้าวหน้าในสายอาชีพและความเป็นธรรมในองค์กร (สลธ.)

๕.๒.๓ ร้อยละของความสำเร็จในการดำเนินการตามแผนสร้างความผูกพันของบุคลากร สลค. (สลธ.)

๕.๒.๔ ร้อยละของความสำเร็จในการดำเนินการตามแผนชีวอนามัยความปลอดภัย (สลธ.)

๕.๒.๕ ผลการประเมินเกณฑ์คุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐ (PMQA) (กพร., สำนัก/กอง/กลุ่ม)

๕.๒.๖ ร้อยละของความสำเร็จในการเชื่อมโยงระบบฐานข้อมูลสำคัญที่ใช้การปฏิบัติภารกิจของ สลค. ตามเป้าหมายที่กำหนด (กบส.)

๕.๒.๗ ร้อยละของความสำเร็จในการจัดหาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศรองรับการเปลี่ยนแปลงในอนาคต (กบส.)

๕.๓ การส่งเสริมธรรมาภิบาลต่อต้านการทุจริตและประพฤติมิชอบ

๕.๓.๑ ผลการประเมินคุณธรรมและความโปร่งใส่ (ITA) (ศปท.,/สำนัก/กอง/กลุ่ม)

กลยุทธ์

๑) พัฒนาบุคลากรให้สามารถปรับตัวรองรับการเปลี่ยนแปลง/การพัฒนาในอนาคตและมีทักษะในการวิเคราะห์อย่างมีเหตุผล และมีภูมิคุ้มกันต่อการเปลี่ยนแปลง (พัฒนาอย่างต่อเนื่อง)

๒) พัฒนาบุคลากรให้รองรับการเปลี่ยนแปลง (ทุกกลุ่มภารกิจ)

๓) พัฒนาระบบการบริหารทรัพยากรบุคคล

๔) พัฒนาระบบการบริหารจัดการให้มีมาตรฐาน มีประสิทธิภาพและทันสมัย

๕) ปรับปรุงระบบเทคโนโลยีสารสนเทศให้ทันสมัย และสนับสนุนการปฏิบัติงานได้ในทุกสถานการณ์

๖) ส่งเสริมและพัฒนากลไกธรรมาภิบาลต่อต้านทุจริตและประพฤติมิชอบ

ปรับปรุงข้อมูล ณ วันที่ ๒๓ มิถุนายน ๒๕๖๓