พระราชกรณียกิจ ร.3 ด้านการค้ากับต่างประเทศ

สยามรัฐออนไลน์ 31 มีนาคม 2563 08:09 น. วัฒนธรรม

พระราชกรณียกิจ ร.3 ด้านการค้ากับต่างประเทศ

เชิงสารคดี/บูรพา โชติช่วง: พระบาทสมเด็จพระนั่งกล้าฯ ผู้สร้างมรดกความทรงจำแห่งโลก วันที่ 31 มีนาคม วันที่ระลึกพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว พระมหาเจษฎาราชเจ้า หรือ วันเจษฎาบดินทร์ รัชกาลที่ 3 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อครั้งทรงดำรงพระราชอิสริยยศ สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ กรมหมื่นเจษฎาบดินทร์ หรือ พระองค์ชายทับ ทรงกำกับราชการกรมท่า ทรงแต่งสำเภาบรรทุกสินค้าออกไปค้าขายในต่างประเทศมีรายได้เพิ่มขึ้นในท้องพระคลังเป็นอันมาก พระราชบิดา (พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ 2) ทรงเรียกพระองค์ว่า “เจ้าสัว” พระองค์นอกจากทรงปราดเปรื่องในทางกฎหมาย การค้า การปกครองแล้ว ยังทรงเสริมสร้างกำลังป้องกันราชอาณาจักร โปรดให้สร้างป้อมปราการตามปากแม่น้ำสำคัญหัวเมืองชายทะเล และในเวลาเดียวกัน พระองค์ทรงเลื่อมใสในพระพุทธศาสนามาก ได้ทรงสร้างพระพุทธรูปมากมาย สร้างวัดใหม่ขึ้น 3 วัด และบูรณปฏิสังขรณ์วัดเก่าอีก 35 วัด หนึ่งในนี้มีวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม

พระราชกรณียกิจ ร.3 ด้านการค้ากับต่างประเทศ
พระองค์เสด็จพระราชดำเนินมาพระราชทานพระกฐินที่วัดพระเชตุพนฯ หรือ วัดโพธิ์ (เป็นวัดเก่ามีมาตั้งแต่สมัยอยุธยาเรียกชื่อว่า วัดโพธาราม เมื่อพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชทรงสร้างกรุงเทพฯ เป็นราชธานีใน พ.ศ.2325 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าให้บูรณปฏิสังขรณ์วัดโพธาราม แล้วพระราชทานนามวัดว่า วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาวาศ และมาเปลี่ยนชื่อเป็น วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม ในสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว) ทอดพระเนตรเห็นสิ่งก่อสร้างต่างๆ ทรุดโทรมเป็นอันมาก จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ปฏิสังขรณ์ครั้งใหญ่ (เริ่มปฏิสังขรณ์ พ.ศ.2375 ใช้เวลาบูรณะนานถึง 16 ปี 7 เดือน) อีกทั้งพระองค์ มีพระราชประสงค์ให้พระอารามแห่งนี้เป็น “มหาวิทยาลัย” สำหรับประชาชนทั่วไป พระองค์จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้นำองค์ความรู้จากปราชญ์ของไทยและสรรพศิลปวิทยาการต่างๆ เช่น ตำราการแพทย์ โบราณคดี และวรรณกรรม โคลง ฉันท์ กาพย์ กลอนทั้งหลาย ฯลฯ มาจารึกลงบนศิลา (แผ่นหินอ่อน) ประดับไว้ตามบริเวณผนังต่างๆ เสาพระระเบียงรอบพระอุโบสถ พระวิหาร วิหารคด และศาลารายรอบพระมณฑปภายในวัดพระเชตุพนฯ ซึ่งรวมเรียกกันในปัจจุบันว่า ประชุมจารึกวัดพระเชตุพน
พระราชกรณียกิจ ร.3 ด้านการค้ากับต่างประเทศ
เมื่อเวลาล่วงผ่าน เป็นที่น่ายินดีที่คณะกรรมการแห่งชาติว่าด้วยแผนงานความทรงจำแห่งโลกได้เสนอชื่อจารึกวัดพระเชตุพน ต่อองค์การยูเนสโก (UNESCO) ขึ้นทะเบียนมรดกความทรงจำแห่งโลกแห่งภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ซึ่งมีมติรับรองเมื่อวันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2551 และต่อมาเมื่อวันที่ 16 มิถุนายน 2554 ยูเนสโกยังได้รับรองสิ่งดังกล่าวนี้จำนวน 1,440 ชิ้น เป็นมรดกความทรงจำแห่งโลกในทะเบียนนานาชาติ (Memory of the World) อีกด้วย แบ่งเป็นหมวด ประวัติศาสตร์ จารึกเรื่องทรงสร้างวัดพระเชตุพน ครั้งรัชกาลที่ 1, โคลงดั้นเรื่องปฏิสังขรณ์วัดพระเชตุพน (พระนิพนธ์สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระปรมานุชิตชิโนรส) ฯลฯ พระพุทธศาสนา จารึกพระสาวกเอตทัคคะ 41 องค์, จารึกเรื่องฎีกาพาหุง 8 บท, จารึกเรื่องอรรถกถาชาดก, จารึกเรื่องเรื่องเวชสันดรชาดก ฯลฯ วรรณคดี จารึกเรื่องรามเกียรติ์, จารึกนิทานสิบสองเหลี่ยม, จารึกตำราฉันท์วรรณพฤติ ฯลฯ ทำเนียบ จารึกทำเนียบตราตำแหน่งสมณศักดิ์, จารึกหัวเมืองขึ้นของกรุงสยามและผู้ครองเมือง, จารึกโคลงภาพคนต่างภาษา ฯลฯ ประเพณี จารึกเรื่องรามัญหุงข้าวทิพย์, จารึกเรื่องมหาสงกรานต์, จารึกเกี่ยวกับริ้วกระบวนแห่พระกฐินพยุหยาตราทางสถลมารค ฯลฯ สุภาษิต จารึกฉันท์กฤษณาสอนน้อง, จารึกฉันท์พาลีสอนน้อง, จารึกสุภาษิตพระร่วง, จารึกโคลงนิติ (420 บท) ฯลฯ อนามัย จารึกโคลงภาพฤาษีดัดตน (80 ท่าแก้ปวดเมื่อยของอวัยวะต่างๆ โปรดเกล้าฯ ให้ปั้นรูปสลักหินฤาษีดัดตนในท่าต่างๆ จำนวนทั้งหมด 80 ท่า สำหรับอธิบายประกอบตำรับตำรา ปัจจุบันเหลืออยู่ 24 ท่า) เป็นต้น เหล่านี้เป็นหลักฐานสำคัญที่แสดงถึงพระมหากรุณาธิคุณของพระองค์ที่มีต่อปวงชนชาวไทยในด้านสรรพศิลปวิทยาการ เป็นมรดกความทรงจำแห่งโลกในเวลาต่อมา หมายเหตุ : คัดจากบทความ “เจ้าสัว ผู้สร้างมรดกความทรงจำแห่งโลก” มหาวิทยาลัยศิลปากรร่วมกับวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม วันพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ประจำปี 2554
พระราชกรณียกิจ ร.3 ด้านการค้ากับต่างประเทศ

 

พระราชกรณียกิจ ร.3 ด้านการค้ากับต่างประเทศ
 

พระราชประวัติรัชกาลที่ แห่งราชวงศ์จักรี

พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว

(ประสูติพ.ศ.2330 ขึ้นครองราชย์พ.ศ.2367-พ.ศ.2394)

มีพระนามเดิมว่าพระองค์ชายทับ

          พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงเป็นพระมหากษัตริย์ไทยองค์ที่ 3 แห่งราชวงศ์จักรี เป็นพระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย และสมเด็จพระศรีสุราลัย ( เจ้าจอมมารดาเรียม ) ประสูติ ณ วันจันทร์ เดือน 4 แรม 10 คํ่า ปีมะแม ตรงกับวันที่ 31 มีนาคม พุทธศักราช 2330 มีพระนามเดิมว่า "พระองค์ชายทับ"

           พ.ศ. 2365 พระองค์ชายทับ ได้รับสถาปนาเป็นกรมหมื่นเจษฎาบดินทร์กํากับราชการกรมท่า กรมพระคลังมหาสมบัติ กรมพระตํารวจว่าการฎีกา นอกจากนี้ยังได้ทรงรับพระกรุณาให้แต่งสําเภาหลวงออกไปค้าขาย ณ เมืองจีน พระองค์ทรงได้รับพระสามัญญานามว่า "เจ้าสัว"ในขณะที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในรัชการที่ 2 ทรงพระประชวรและเสด็จสวรรคต โดยมิได้ตรัสมอบราชสมบัติให้แก่พระราชโอรสองค์ใด พระบรมวงศานุวงศ์ และบรรดาเสนาบดีผู้เป็นประทานในราชการจึงปรึกษากัน เห็นควรถวายราชสมบัติแก่พระเจ้าลูกยาเธอกรมหมื่นเจษฎาบดินทร์ อันที่จริงแล้วราชสมบัติควรตกแก่ เจ้าฟ้ามงกุฎ ( พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ) เพราะเจ้าฟ้ามงกุฎ เป็นราชโอรสที่ประสูติจากสมเด็จพระบรมราชินีในรัชกาลที่ 2 โดยตรงส่วนกรมหมื่นเจษฎาบดินทร์ เป็นเพียงราชโอรสที่เกิดจากเจ้าจอมเท่านั้น โดยที่พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ตั้งพระราชหฤทัยไว้แล้วว่าเมื่อสิ้นรัชกาลพระองค์แล้วจะคืนราชสมบัติ ให้แก่สมเด็จพระอนุชา ( เจ้าฟ้ามงกุฎ) ดังนั้นพระองค์จึงไม่ทรงสถาปนาพระบรมราชินี คงมีแต่เจ้าจอมมารดา และเจ้าจอมพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ขึ้นครองราชย์ในวันที่ 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2367 ขึ้น 7 คํ่า เดือน 9 ปีวอกฉศก มีพระชนมายุได้ 37 พรรษา

การทํานุบํารุงบ้านเมือง

การปกครอง เป็นตามแบบเดิมที่เคยมีมา ในรัชกาลที่ 2รายได้ของประเทศ มีการปรับปรุงภาษีอากรใหม่ ยกเลิกภาษีฝิ่นอากรค่านํ้า และอากรรักษาเกาะ ส่วนการค้าขาย ส่วนใหญ่จะค้าขายกับจีน

ศาสนา  เป็นยุคของการฟื้นฟูบูรณะเกี่ยวกับพระพุทธศาสนาอย่างแท้จริง มีการปฎิสังขรณ์วัดวาอาราม การศึกษาพระปริยัติธรรม การตั้งธรรมยุติกนิกาย และมีการเผยแพร่ศาสนาอื่นเข้ามาในไทยอีกวัดที่ทรงสร้างและปฎิสังขรณ์ที่สําคัญมี วัดเฉลิมพระเกียรติ วัดราชนัดดา วัดเทพธิดาราม วัดอรุณ วัดกลางเมือง วัดนางนอง วัดพระพุทธบาท วัดมหาธาตุ วัดโมลีโลกยาราม วัดยานนาวา

วรรรคดีและกวี วงการกวีและวรรรคดีจะเฟื่องฟูในยุคต้นๆเท่านั้นบทพระราชนิพนธ์ คือ

          1. เสพาขุนช้างขุนแผน

          2. บทละครเรื่องสังข์ศิลปไชย

          3. เพลงยาวรัชกาลที่ 3

          4. โคลงปราบดาภิเษก

กวีที่สําคัญอีกท่านหนึ่งคือ สมเด็จกรมพระปรมานุชิตโนรส มีพระนิพนธ์ที่สําคัญคือ ลิลิตตะเลงพ่าย พระปฐมสมโพธิกถา สรรพสิทธิ์คําฉันท์ กฤษณาสอนน้องคําฉันท์ศิลปกรรม ทางด้านสถาปัตยกรรมได้รับอิทธิพลจากอารยธรรมของต่างประเทศ เช่น ศิลปการช่างของจีน ปฎิมากรรมที่สําคัญได้แก่ การสร้างพระพุทธรูปประจํารัชกาลที่ 1 และรัชกาลที่ 2สร้างเมือง และป้อม สร้างเมืองใหม่ขึ้น คือ ได้แก่ พนัสนิคม ( เมืองพระรถ ) กบินทร์บุรี ประจันตคาม คําเขื่อนแก้ว ภูเวียงขุนคลองบองบาก คลองบางขุนเทียน เพื่อสะดวกแก่การคมนาคม และการเกษตรป้อมที่สร้างเพิ่มเติม สร้างป้อมที่เมืองสมุทรปราการ เมืองจันทบุรี เมืองสมุทรสงคราม เพื่อป้องกันการรุกรานของข้าศึก

การติดต่อกับประเทศเพื่อนบ้าน

          ติดต่อกับพม่า ในรัชกาลที่ 3 นี้ อังกฤษติดต่อกับไทยเพื่อขอความช่วยเหลือ ในการยกทัพไปพม่า รัชกาลที่ 3 โปรดให้พระยารัตนจักร คุมกองมอญไปล่วงหน้า และโปรดให้เจ้าพระยามหาโยธา (ทอเรีย)  คุมกองทัพมอญออกไปทางด่านพระเจดีย์ 3 องค์ พระยาชุมพรคุมกองเรือชุมพรไปไชยา ยกไปทางเรือเพื่อตีเมืองมะริด และเมืองทวาย พระยามหาอำมาตย์กับพระยาวิชิตณรงค์ขึ้นไปเกณฑ์หัวเมืองฝ่ายเหนือ ยกทัพออกทางด่านแม่มะเมา

          การติดต่อกับญวน ในรัชกาลที่ 3 ญวนสนับสนุนให้เจ้าอนุวงศ์แห่งเวียงจันทน์เป็นกบฎต่อไทย เท่ากับแสดงตนเป็นอริกับไทย ไทยจึงคิดปราบปรามญวนให้หายกําเริบเสียบ้าง จึงโปรดให้เจ้าพระยาบดินทร์เดชา ( สิงห์ สิงหเสนีย์ ) เป็นแม่ทัพบก ยกไปไล่ญวนในประเทศเขมร จนจดไซ่ง่อน และให้เจ้าพระยาพระคลังเป็นแม่ทัพเรือ ตีหัวเมืองเขมรและญวนแถบชายทะเล ทําสงครามอยู่นานในที่สุดได้เลิกสงครามกัน พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงโปรดให้นักองค์อิน เป็นเจ้าเมืองพระตะบอง และให้นักองค์ด้วงไปครองเมืองมงคลบุรี

         ติดต่อกับลาว ลาวมีความสัมพันธ์อันดีกับไทยมาตั้งแต่รัชกาลก่อนพอเปลี่ยนแผ่นดินมาเป็นรัชกาลที่ 3 ลาวก็มีท่าทีกระด้างกระเดื่อง สาเหตุมาจากเจ้าอนุวงศ์มาถวายพระเพลิงพระบรมศพรัชกาลที่ 2 ในปี พ.ศ. 2368 และทูลขอครอบครัวชาวเวียงจันทน์ แต่รัชกาลที่ 3 ไม่โปรดให้

          พ.ศ. 2369 เกิดมีข่าวลือว่าอังกฤษจะทําสงครามกับไทย เจ้าอนุวงศ์จึงเข้ามากวาดต้อนผู้คนของไทยไป ทรงโปรดให้กรมพระราชวังบวรมหาศักดิ์พลเสพเป็นแม่ทัพ แต่ไม่ทันได้สู้รบกัน เจ้าอนุวงศ์กวาดต้อนผู้คนไปจันทน์คุณหญิงโมภรรยาปลัด เมืองนครราชสีมา เป็นหัวหน้ารวบรวมพวกเชลยไทยต่อสู้ พอทัพจากกรุงเทพ ฯ ยกขึ้นไปช่วย เจ้าอนุวงศ์ จึงถอยทัพกลับไปเวียงจันทน์โดยวางกำลัง คอยต้านทานกองทัพไทย ที่ยกไปตีเวียงจันทร์ไว้ที่เมืองหล่มเก่า และ เมืองภูเขียว โปรดให้กรมพระราชวังบวร เป็นแม่ทัพ ยกทัพผ่านนครราชสีมา ขึ้นไปตีเวียงจันทร์สายหนึ่ง อีกสายหนึ่ง ให้กรมหมื่นสุรินทร์รักษ์เป็นแม่ทัพ ยกไปตีฝ่ายเจ้าอนุวงศ์ ที่มายึดเมืองอุบล และเมืองร้อยเอ็ด แล้วไปบรรจบกับ กองทัพใหญ่ที่เวียงจันทร์ อีกสายหนึ่งให้ เจ้าพระยาอภัยภูธรเป็นแม่ทัพ ยกไปตีฝ่ายเจ้าอนุวงศ์ที่เมืองหล่มสัก แล้วไป บรรจบทัพใหญ่ที่เวียงจันทร์ กองทัพไทย ปราบกบฎเจ้าอนุวงศ์ได้ราบคาบ ตีกรุงเวียงจันทร์แตก จับเจ้าอนุวงศ์ได้

          ในปี พ.ศ. 2371 พอเสร็จศึกทรงโปรดให้แต่งตั้งคุณหญิงโมเป็นท้าวสุรนารี และแม่ทัพสําคัญที่ปราบพวกกบฎอีกสองท่านคือ พระยาราชสุภาวดี และเจ้าพระยาอภัยภูธร ได้ราบคาบ จนสามารถจังเจ้าอนุวงศ์กับครอบครัวขังกรงประจานที่ท้องสนามไชย หน้าพระที่นั่งพุทไธสวรรย์ จนตาย

การติดต่อกับอังกฤษ เมื่อเริ่มรัชกาล ไทยเคยช่วยอังกฤษรบกับพม่า แต่ไม่สําเร็จ จน พ.ศ. 2368 ผู้สําเร็จราชการอังกฤษประจําอินเดียได้ส่ง ร้อยเอกเฮนรี่ เบอร์นี่ เป็นทูตเข้ามาเจรจากับไทยให้ช่วยรบกับพม่า เมื่อรบชนะ อังกฤษไม่ได้ให้อะไรกับไทย ไทยจึงหันมาตกลงเรื่องเมืองไทรบุรีกับอังกฤษ ไทยกับอังกฤษทําสัญญากัน เรียกว่า "สัญญาเบอร์นี่" ทั้งสองฝ่ายได้ให้สัตยาบัน เมื่อ 17 มกราคม พ.ศ. 2369

การติดต่อกับอเมริกา ได้เริ่มขึ้นในรัชกาลที่ 3 นี้เอง พ.ศ. 2375 ประธานาธิบดี แอนดรูว์ แจ็คสัน ส่งเอ็ดมันต์ โรเบิร์ต เป็นทูตเข้ามาเพื่อทําสัญญาการค้า

เทคโนโลยีของไทยภายใต้อิทธิพลของชาวตะวันตก

          การพิมพ์ หมอบรัดเล่ย์ มิชชั่นนารีอเมริกา นํ้าแท่นพิมพ์เป็นภาษาไทย แท่นแรกจากสิงคโปร์ เมื่อ พ.ศ. 2379  ตัวพิมพ์อักษรไทย ร้อนโทเจมส์โลว์ เป็นผู้ประดิษฐ์แบบอักษรไทยขึ้นสําเร็จเป็นครั้งแรก เมื่อ พ.ศ. 2371 การแพทย์ พวกมิชชั่นนารีจําหน่ายยาแก่คนทั่วไป ดําเนินการครั้งแรกพักริมวัดเกาะตอนสําเพ็ง พ.ศ. 2379 เริ่มมีการปลูกฝีป้องกันไข้ทรพิษ พ.ศ. 2379 การผ่าตัดตามวิธีศัลยกรรมแผนปัจจุบัน พ.ศ. 2390 การใช้ยาสลบ โดยหมอเฮ้าส์ พวกมิชชั่นนารีอเมริกา เป็นผู้ถ่ายทอดความรู้แก่คนไทย เช่น พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงศึกษาวิชาดาราศาสตร์ เดินเรือ วิชาช่าง และต่อกลเรือไฟได้เป็นครั้งแรก สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ ได้ศึกษาวิชาการต่อเรือกําปั่นใบแบบฝรั่งเศสได้อย่างดี ต่อลําแรกได้สําเร็จเมื่อ พ.ศ. 2378 และตัดแปลงเป็นเรือรบ

ดาราศาสตร์และวิทยาศาสตร์เบื้องต้น

          หมอเฮ้าส์ มิชชั่นนารี ผู้ที่ทําให้คนไทยรู้จักดาราศาสตร์และวิทยาศาสตร์ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงเลื่อมใสและแต่งตั้งให้เป็นที่ปรึกษาการศึกษา การศึกษาภาษาอังกฤษ มิชชั่นนารีอเมริกันชื่อ เจสซี่ คาสแวส์ ได้ถวายการสอนภาษาอังกฤษ แก่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าฯ ขณะที่ทรงผนวชอยู่ที่วัดบวรนิเวศน์ขนบธรรมเนียมและประเพณี จากการที่มีพวกมิชชั่นนารีมาอยู่ในไทย ทําให้มีการเปลี่ยนแปลงขนบธรรมเนียมประเพณี เช่น เลิกประเพณีเข้าเฝ้าโดยไม่ใส่เสื้อ

เสด็จสวรรคต

          พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้เสด็จสวรรคตวันพุธ เดือน 5 ขึ้น 1 คํ่า ตรงกับวันที่ 2 เมษายน พ.ศ. 2394 เวลา 8 นาฬิกา สิริพระชนมายุได้ 64 พรรษา มีพระราชบุตร 22 พระองค์ พระราชบุตรี 29 พระองค์

พระราชลัญจกรประจำรัชกาลที่ ๓

          เป็นรูปปราสาท เป็นพระราช สัญลักษณ์ของพระบรมนามาภิไธย ว่า "ทับ" อันหมายถึง ที่อยู่ หรือ เรือน 

พระราชกรณียกิจที่สำคัญของร.3 มีอะไรบ้าง

พระราชกรณียกิจ.
ด้านความมั่นคง.
ด้านการคมนาคม.
ด้านการทำนุบำรุงพระพุทธศาสนา.
ด้านการศึกษา.
ด้านสังคมสงเคราะห์.
ด้านการค้ากับต่างประเทศ.
ด้านศิลปกรรม.

รัชกาลที่3 ทำการค้ากับชาติใด

ส่วนใหญ่ทำการค้ากับจีน และค้าขายกับหัวเมืองมลายู พ่อค้าจีนในกรุงเทพฯ ได้ส่งสำเภาไปค้าขายถึงสิงคโปร์และเกาะหมาก การเปลี่ยนแปลงทางการค้าในสมัยรัชกาลที่ 3 มีดังนี้ 1. การค้าโดยการแต่งสำเภาหลวงออกไปค้าขายลดน้อยลง 2. ผ่อนคลายการค้าแบบผูกขาดและยกเลิกประเพณีการค้าขายของทางราชการบางประการ อันเนื่องมาจาก

รัชกาลที่3มีความสามารถด้านใด

พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงเป็น พระมหากษัตริย์ที่ทรงพระปรีชาสามารถรอบด้าน และทรงมีความรู้เป็นเลิศ ทั้งในด้านการรบ การปกครอง การค้า ความสัมพันธ์กับต่างประเทศ ทั้งในภูมิภาคเอเชียและกับมหาอำนาจตะวันตกพระปรีชาสามารถดังกล่าวปรากฏชัด

รัชกาลที่ 3 มีผลงานอะไรบ้าง

1. ทรงสร้างและบูรณปฏิสังขรณ์วัดวาอารามเป็นจำนวนมาก ทั้งในเมืองหลวงและหัวเมืองวัดที่ทรงสร้างใหม่ 3 วัด บูรณะปฏิสังขรณ์อีกถึง 35 วัด วัดที่ทรงสร้างคือ วัดเฉลิมพระเกียรติ วัดเทพธิดาราม วัดราชนัดดาราม ส่วนวัดพระศรีรัตนศาสดาราม วัดพระเชตุพนฯ วัดสุทัศน์เทพวราราม ก็ทรงปฏิสังขรณ์เสริมสร้างดุจดังว่าสร้างขึ้นมาใหม่