วิจัยพฤติกรรมการบริโภคอาหารของคนไทย 2562

พฤติกรรมการบริโภคอาหารของประชาชนในเขตพื้นที่ตำบลคลองพิไกร อำเภอพรานกระต่าย จังหวัดกำแพงเพชร

Article Sidebar

วิจัยพฤติกรรมการบริโภคอาหารของคนไทย 2562

PDF

เผยแพร่แล้ว: เม.ย. 16, 2022

คำสำคัญ:

ปัจจัยส่วนบุคคล พฤติกรรมการบริโภคอาหาร ประชาชน

Main Article Content

วสุนธรา รตโนภาส

คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร

ตรรกพร สุขเกษม

คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร

บทคัดย่อ

            การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมการบริโภคอาหาร และความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคลกับพฤติกรรมการบริโภคอาหารของประชาชนในเขตพื้นที่ตำบลคลองพิไกร อำเภอพรานกระต่าย จังหวัดกำแพงเพชร โดยกลุ่มตัวอย่างจํานวน 375 คน ใช้วิธีการสุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบชั้นภูมิ โดยเครื่องมือที่ใช้รวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถาม และวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบความสัมพันธ์ด้วย ค่าไคสแควร์ ผลการวิจัยพบว่า พฤติกรรมการบริโภคอาหารของประชาชนในเขตพื้นที่ตำบลคลองพิไกร อำเภอ พรานกระต่าย จังหวัดกำแพงเพชร ส่วนใหญ่อยู่ในระดับปานกลาง และพบว่าปัจจัยส่วนบุคคลที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการบริโภคอาหาร คือ อายุ อาชีพ รายได้ และการเจ็บป่วยอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ผลการวิจัยครั้งนี้ สามารถนําไปเป็นแนวทางในการดําเนินงานส่งเสริมพฤติกรรมการบริโภคอาหารให้กับหน่วยงานสุขภาพ ที่อยู่ในพื้นที่ต่อไป 

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

ฉบับ

ปีที่ 16 ฉบับที่ 1 (2022): (มกราคม-เมษายน 2565)

บท

บทความวิจัย

วิจัยพฤติกรรมการบริโภคอาหารของคนไทย 2562

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.

References

กระทรวงสาธารณสุข. กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ. กองสุขศึกษา. (2558). การเรียนรู้เพื่อการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคอาหารสำหรับวัยทำงาน. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร: บริษัทโอ-วิทย์ (ประเทศไทย) จำกัด.

กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม. สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2561). การสำรวจพฤติกรรมการบริโภคอาหารของประชากร พ.ศ. 2560. กรุงเทพมหานคร: ม.ป.ท.

กระทรวงสาธารณสุข. กรมอนามัย. สำนักโภชนาการ. (2562). แผนปฏิบัติการด้านโภชนาการระดับชาติ 5 ปี พ.ศ. 2562–2566 ภายใต้ยุทธศาสตร์ที่ 3 อาหารศึกษา กรอบยุทธศาสตร์การจัดการด้านอาหารของประเทศไทย ฉบับที่ 2 (พ.ศ. 2561–2580). นนทบุรี: บริษัทอมรินทร์ พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง จำกัด (มหาชน).

กฤติน ชุมแก้ว และชีพสุมน รังสยาธร. (2557). ความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมการบริโภคอาหารของผู้สูงอายุในจังหวัดสงขลา. ว.เกษตรศาสตร์ (สังคม), 35(ม.ค.-เม.ย.): 16–29.

ชัชวาลย์ เผ่าเพ็ง และคณะ. (2560). ความแตกต่างของพฤติกรรมการบริโภคอาหารของประชากรไทย: ลักษณะประชากร เศรษฐกิจและสังคมและสถานะสุขภาพส่งผลอย่างไร. วารสารวิจัยระบบสาธารณสุข, 11(ก.ค.–ก.ย.): 316–326.

ผกามาศ เชื้อประดิษฐ์. (2561). พฤติกรรมการบริโภคอาหารจานด่วนของบุคคลวัยทำงานเขตจอมทอง จังหวัดกรุงเทพมหานคร. การศึกษาค้นคว้าอิสระ มหาวิทยาลัยสยาม.

พิชศาล พันธุ์วัฒนา. (2562). พฤติกรรมการบริโภคอาหารของคนเมืองวัยทำงานในกรุงเทพมหานคร. สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 7 ขอนแก่น, 26(พ.ค.-ส.ค.): 93–103.

วรรณวิมล เมฆวิมล. (2555). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อพฤติกรรมการรับประทานอาหารของผู้สูงอายุจังหวัดสมุทรสงคราม. วิทยานิพนธ์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา กรุงเทพมหานคร.

วันทนีย์ เกรียงสินยศ และคณะ. (2559). องค์ความรู้ด้านอาหารและโภชนาการสำหรับทุกช่วงวัย. นนทบุรี: สำนักงานอาหารและยา.

ศุภณัฐ ลีฬหาวงศ์. (2557). การศึกษาพฤติกรรมการบริโภคผลิตภัณฑ์เครื่องดื่มชาและกาแฟของผู้บริโภคในเขตตําบล สะบารัง อําเภอเมือง จังหวัดปัตตานี. วิทยานิพนธ์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม กรุงเทพมหานคร.

สมหวัง ซ้อนงาม และคณะ. (2556). พฤติกรรมการบริโภคอาหารของผู้ป่วยเบาหวานที่มีผล HbA1C มากกว่า 7 ของ อำเภอเนินมะปราง จังหวัดพิษณุโลก. (ออนไลน์) สืบค้น กรกฎาคม 7, 2564, จากเว็บไซต์ http://61.19.22.109/ncd//index.php?view=article&catid=44%3A%E0%B9%92 %E0%B9%95%E0%B9%95%E0%B9%96-%25m-%E0%B9%90%E0%B9%97-%E0%B9%90%E0% B9%97-%25M-%25S&id=155%3A-hba1c-7-&format=pdf&option=com_ content&Itemid=62.

สุระเดช ไชยตอกเกี้ย. (2558). ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการบริโภคอาหารของวัยผู้ใหญ่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ.

กรุงเทพมหานคร: สำนักงานพัฒนานโยบายสุขภาพระหว่างประเทศ (IHPP).

Arunee Nakmongkol. (2009). The study of consumer’s attitudes and behaviors towards carbonate

soft drinks. Master of business administration, Bangkok University.

Contini, C., Boncinelli, F., Gerini, F., Scozzafava, G. and Casini, L. (2018). Investigating the role of personal and context- related factors in convenience foods consumption. Appetitepp,126: 26–35.

Wagner, M. G., Kim, Y. J. and Rhee, Y. (2017). Healthy and unhealthy dietary behaviors among adults: a

                วัยชราหรือวัยผู้ใหญ่สูงอายุ จัดเป็นวัยสุดท้ายของชีวิต วัยชราเป็นวัยที่เปลี่ยนแปลงทางด้านพัฒนาการทุกด้าน มีปัญหาต้องยอมรับและรู้จักปรับตัว มีระเบียบแบบแผน มีชีวิตที่เป็นสุขและสิ้นหวัง มีจุดมุ่งหมายในชีวิต และมีความต้องการเช่นเดียวกับคนในวัยอื่น ๆ ถึงแม้ว่าผู้ใหญ่ในวัยตอนต้นและวัยกลางคนจะมีช่วงชีวิตที่สดชื่น น่าชื่นชมและสดใสกว่าวัยชรา ซึ่งมักจะนำความผิดหวังเศร้าใจมาสู่คนชรา โดยทั่วไปเรากำหนดให้อายุ 60 ปี เป็นเส้นแบ่งระหว่างวัยกลางคนกับวัยชรา แต่การตัดสินจากอายุตามปฏิทินว่าใครเริ่มเข้าสู่วัยชราแล้วเป็นเกณฑ์ที่ไม่แน่นอน เพราะการเข้าสู่ภาวะชราภาพนั้น แตกต่างไปในแต่ละบุคคล เนื่องจาอัตราความเสื่อมถอยทางร่างกายของแต่ละคนไม่เหมือนกัน บางคนแก่เร็ว แต่บางคนอาจจะแก่ช้าก็ได้ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับการดำเนินชีวิตในวัยเด็ก วัยหนุ่มสาว และวัยกลางคน เพราะความชราคือผลของการพัฒนาการที่ต่อเนื่องกันในชีวิตของบุคคลนั่นเอง