รายงาน เรื่อง ภาษาพูดและภาษาเขียน

รายงาน เรื่อง ภาษาพูดและภาษาเขียน

ภาษานอกจากจะใช้เป็นเครื่องมือในการสื่อสารแล้ว ยังใช้สร้างความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล ทั้งนี้สามารถสังเกตระดับความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลได้จากภาษาที่ใช้สื่อสารกัน มนุษย์ใช้ภาษาโดยคำนึงถึงความสัมพันธ์ระหว่างกัน โอกาส กาลเทศะ และวัตถุประสงค์ในการสื่อสาร ภาษาจึงมีลักษณะแตกต่างกันเป็นหลายระดับเพื่อให้การสื่อสารสัมฤทธิผลตามวัตถุประสงค์ในการสื่อสาร โดยภาษา สามารถแบ่งได้อย่างกว้าง ๆ ออกเป็น ๒ ระดับ ได้แก่ ภาษาพูดและภาษาเขียน

ภาษาพูด เป็นภาษาที่ใช้ติดต่อสื่อสารกันอย่างไม่เป็นทางการ เพื่อความเข้าใจได้อย่างรวดเร็วจึงไม่ค่อยคำนึงถึงความถูกต้องทางหลักภาษามากนัก มักใช้คำสแลง คำตัด คำทับศัพท์ภาษาต่างประเทศ คำภาษาถิ่น ฯลฯ ภาษาพูดนิยมใช้ติดต่อสื่อสารกันกับคนสนิทหรือคนใกล้ชิด เพื่อสร้างความเป็นกันเองในหมู่เพื่อนฝูง ในครอบครัว ในที่ทำงาน การใช้ภาษาพูดที่ดีควรใช้ภาษาที่สุภาพ และควรคำนึงถึงกาลเทศะและบุคคล ภาษาพูดมักใช้ในโอกาสต่าง ๆ เช่น การสนทนาระหว่างบุคคล การสัมภาษณ์ การค้าขาย การโต้วาที การอภิปราย หากเป็นงานเขียนมักปรากฏในการเขียนฝากข้อความ การเขียนจดหมายถึงคนสนิท การเขียนสั่งอาหาร การเขียนนวนิยาย การเขียนเรื่องสั้น การเขียนพาดหัวข่าว การเขียนบทความลงคอลัมน์ในนิตยสารต่าง ๆ และสื่อสังคมออนไลน์

ภาษาเขียน เป็นภาษาที่ใช้สื่อสารอย่างเป็นทางการ ต้องคำนึงถึงการใช้ภาษาให้ถูกต้องตามแบบแผนของหลักภาษา ใช้คำที่สุภาพ เหมาะสมกับบุคคลและกาลเทศะ ไม่ใช้คำฟุ่มเฟือย กระชับและไม่เล่นคำมากเกินไป มักใช้ในการเขียนมากกว่าการพูด ส่วนใหญ่จะปรากฏในงานเขียนที่เป็นทางการ เช่น การเขียนบทความทางวิชาการ รายงานวิชาการ หรือสารคดี การเขียนจดหมายกิจธุระหรือจดหมายทางราชการ การเขียนตำราหรือหนังสือเรียน ฯลฯ หรืออาจปรากฏในการพูด เช่น การกล่าวรายงาน การกล่าวปาฐกถา

รายงาน เรื่อง ภาษาพูดและภาษาเขียน

Download

ดูเพิ่มเติมได้ที่ หลักภาษาและการใช้ภาษาไทย 1 (ฉบับใบอนุญาต)

   ภาษาพูด  คือ ภาษาเฉพาะกลุ่ม  หรือเรียกว่า ภาษษปาก เช่น พวกภาษากลุ่มวัยรุ่น บางครั้งฟังแล้วดูไม่สุภาพ มักใช้พูดระหว่างคนที่สนิทสนมกันมากๆ

    ภาษาเขียน คือ  ภาษาเขียนที่ลักษณะเคร่งครัด ในหลักทางภาษา เรียกว่า ภาษาแบบแผน ระดับไม่เคร่งครัดมากนัก เรียกว่า ภาษากึ่งแบบแผน หรือ ภาษาไม่เป็นทางการ

                   ตัวอย่างเปรียบเทียบภาษาพูดและภาษาเขียน

 ๑.ภาษาพูดเป็นภาษาเฉพาะกลุ่มหรือเฉพาะวัย เช่น

           วัยโจ๋  = วัยรุ่น

          เจ๋ง     = เยี่ยมมาก

         แห้ว     = ผิดหวัง

         เดี้ยง    = พลาดและเจ็บตัว

        มั่วนิ่ม    = ทำไม่จริงจังและปิดบัง

 ๒.ภาษาพูด มักเป็นภาษาไทยแท้ คือ ภาษาชาวบ้าน เข้าใจง่าย  เป็นภาษากึ่งแบบแผน  เช่น

      ผัวเมีย    = สามี ภรรยา

     ดาราหนัง = ดาราภาพยนตร์

    ปอดลอย  = หวาดกลัว

๓.ภาษาพูดมักเปลี่ยนแปลงเสียวสระและเสียงพยัญชนะ รวมทั้งนิยมตัดคำให้สั้นลง เช่น

     เริ่ด   = เลิศ

     เพ่     = พี่

    จิงอะป่าว   = จริงหรือเปล่า

 ๔.ภาษาพูด ยืมคำภาษาต่างประเทศ และมักตัดคำให้สั้นลง เช่น

        เว่อร์ (Over) = เกินควร เกินกำหนด

       จอย (Enjoy) = สนุก เพลิดเพลิน

       ก๊อบ(Coppy) = สำเนา ต้นฉบับ  

ความแตกต่างระหว่างภาษาพูดกับภาษาเขียน

          เป็นการยากที่จะตัดสินว่า   คำใดเป็นภาษาพูด   คำใดเป็นภาษาเขียน    ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับกาลเทศะในการใช้คำนั้นๆ บางคำก็ใช้เป็นภาษาเขียนอย่างเดียว    บางคำก็ใช้พูดอย่างเดียว   และบางคำอยู่ตรงกลางคืออาจเป็นทั้งภาษาพูดและภาษาเขียนก็ได้    ความแตกต่างระหว่างภาษาพูดกับภาษาเขียนพออธิบายได้ดังนี้

๑. ภาษาเขียนไม่ใช้ถ้อยคำหลายคำที่เราใช้ในภาษาพูดเท่านั้น เช่น  เยอะแยะ  โอ้โฮ  จมไปเลยแย่ ฯลฯ

๒. ภาษาเขียนไม่มีสำนวนเปรียบเทียบหรือคำสแลงที่ยังไม่เป็นที่ยอมรับในภาษาเช่น  ชักดาบ  พลิกล็อค  โดดร่ม

๓. ภาษาเขียนมีการเรียบเรียงถ้อยคำที่สละสลวยชัดเจน  ไม่ซ้ำคำหรือซ้ำความโดยไม่จำเป็น  ในภาษาพูดอาจจะใช้ซ้ำคำหรือซ้ำความได้  เช่น   การพูดกลับไปกลับมา เป็นการย้ำคำหรือเน้นข้อความนั้นๆ

๔. ภาษาเขียน   เมื่อเขียนเสร็จเรียบร้อยแล้ว   ผู้เขียนไม่มีโอกาสแก้ไขเปลี่ยนแปลงได้  แต่ถ้าเป็นภาษาพูด ผู้พูดมีโอกาสชี้แจงแก้ไขในตอนท้ายได้     นอกจากนี้ยังมีข้อแตกต่างระหว่างภาษาพูดและภาษาเขียนอีกหลายประการ คือ

 ๑) ภาษาเขียนใช้คำภาษามาตรฐาน   หรือภาษาแบบแผน   ซึ่งนิยมใช้เฉพาะในวงราชการหรือในข้อเขียนที่เป็นวิชาการทั้งหลายมากกว่าภาษาพูด เช่น

ภาษาเขียน ภาษาพูด             ภาษาเขียน ภาษาพูด             ภาษาเขียน - ภาษาพูด

สุนัข               หมา                   สุกร              หมู                         กระบือ       ควาย

แพทย์            หมอ                 เครื่องบิน         เรือบิน            เพลิงไหม้         ไฟไหม้

ภาพยนตร์        หนัง                รับประทาน      ทาน,กิน           ถึงแก่กรรม       ตาย,เสีย

ปวดศีรษะ        ปวดหัว             เงิน               ตัง(สตางค์)                 อย่างไร      ยังไง

ขอบ้าง            ขอมั่ง            กิโลกรัม , เมตร     โล,กิโล     

๒) ภาษาพูดมักจะออกเสียงไม่ตรงกับภาษาเขียน คือ   เขียนอย่างหนึ่งเวลาออกเสียงจะเพี้ยนเสียงไปเล็กน้อย    ส่วนมากจะเป็นเสียงสระ เช่น

ภาษาเขียน ภาษาพูด             ภาษาเขียน ภาษาพูด             ภาษาเขียน - ภาษาพูด

ฉัน                   ชั้น                    เขา                 เค้า                      ไหม        ไม้(มั้ย)

เท่าไร           เท่าไหร่                    หรอ,         เร้อะ                  แมลงวัน          แมงวัน

สะอาด          ซาอาด              มะละกอ          มาลากอ                      นี่         เนี่ยะ

๓) ภาษาพูดสามารถแสดงอารมณ์ของผู้พูดได้ดีกว่าภาษาเขียน คือ   มีการเน้นระดับเสียงของคำให้สูง-ต่ำ-สั้น-ยาว ได้ตามต้องการ เช่น

ภาษาเขียน ภาษาพูด             ภาษาเขียน ภาษาพูด             ภาษาเขียน ภาษาพูด

ตาย               ต๊าย                       บ้า                บ๊า                    ใช่                 ช่าย

เปล่า              ปล่าว                  ไป                 ไป๊                    หรือ               รึ(เร้อะ)

ลุง                 ลุ้ง                       หรอก             หร้อก                  มา                 ม่ะ

๔) ภาษาพูดนิยมใช้คำช่วยพูดหรือคำลงท้าย    เพื่อช่วยให้การพูดนั้นฟังสุภาพและไพเราะยิ่งขึ้น  เช่น   ไปไหนคะ  ไปตลาดค่ะ   รีบไปเลอะ   ไม่เป็นไรหรอก  นั่งนิ่งๆ ซิจ๊ะ

๕) ภาษาพูดนิยมใช้คำซ้ำ  และคำซ้อนบางชนิด  เพื่อเน้นความหมายของคำให้ชัดเจนยิ่งขึ้น   เช่น

คำซ้ำ             ดี๊ดี  เก๊าเก่า  ไปเปย  อ่านเอิ่น  ผ้าห่มผ้าเหิ่ม  กระจกกระเจิก  อาหงอาหาร

คำซ้อน           มือไม้  ขาวจั้ะ ดำมิดหมี  แข็งเป็ก  เดินเหิน  ทองหยอง……

ภาษาพูด

ภาษาเขียน

        ๑.   เป็นไง

๒.  เอาไงดี

๓. จริง ๆ  แล้ว

๔. งานยุ่งชะมัด

๕. ขนุนลูกนี้อร่อยจัง

๖. ที่ริมคลองมีต้นไม้เยอะแยะเลย

๗.  ข้อสอบนี้กล้วยมาก

๑.เป็นอย่างไร

๒.ทำอย่างไรดี

๓.อันที่จริง

๔.มีงานมาก

๕.ขนุนลูก (ผล) นี้อร่อยมาก

๖.ที่ริมคลองมีต้นไม้มากมาย

         หลายชนิด

๗.ข้อสอบนี้ง่ายมาก

ที่มา: http://info.muslimthaipost.com/main/index.php?page=sub&category=26&id=17125