ใบกำกับภาษี รับเหมาก่อสร้าง



MGR Online - ปอศ.รวบ 4 นอมินี ออกใบกำกับภาษีเท็จให้บริษัทรับเหมาก่อสร้างเลี่ยงภาษีกว่า 40 ล้านบาท เจ้าตัวอ้างถูกผู้มีบุญคุณนำบัตรประชาชนไปใช้

วันนี้ (19 ส.ค.) พล.ต.ต.พุฒิเดช บุญกระพือ ผบก.ปอศ. สั่งการ พ.ต.อ.ธรรมปพน ชาวกำแพง ผกก.2 บก.ปอศ. นำกำลังจับกุม นายมนูญ วงค์เจริญ อายุ 69 ปี น.ส.อัญชลี แสงสุกใส อายุ 60 ปี นายอรัญ แสงสุขใส อายุ 51 ปี และ นางธัญญรัตน์ ทองย้อย อายุ 46 ปี ในฐานความผิด “ร่วมกันหลีกเลี่ยงหรือพยายามหลีกเลี่ยงการเสียภาษีอากร โดยความเท็จ โดยฉ้อโกงหรืออุบาย หรือโดยวิธีการอื่นใดทำนองเดียวกัน, ร่วมกันออกใบกำกับภาษีใบเพิ่มหนี้ หรือใบลดหนี้โดยไม่มีสิทธิจะออก” อันเป็นความผิดตามมาตรา 37 มาตรา 90/4(7) แห่งประมวลรัษฎากร ประกอบประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 83

ทั้งนี้ สืบเนื่องจากเจ้าพนักงานประเมินกรมสรรพากร ได้ตรวจสภาพกิจการและตรวจประเด็นภาษีมูลค่าเพิ่มของบริษัท รุ่ง อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด ซึ่งจดทะเบียนกิจการประเภทการขายส่ง-ขายปลีก วัสดุก่อสร้างทุกชนิด รับเหมาก่อสร้างและปรึกษา กิจการ ประดับยนต์ อะไหล่รถยนต์และอุปกรณ์ ขายส่ง-ขายปลีก เครื่องอุปโภคบริโภค น้ำมันพืช มีทุนจดทะเบียน 1,000,000 บาท แต่จากการตรวจสอบพบว่าเป็นเพียงบ้านพักอาศัย ลักษณะเป็นบ้านทาวน์เฮาส์ 2 ชั้น มีสภาพเก่า ประตูปิดล็อกไว้ ไม่พบสินค้า และไม่พบการประกอบกิจการของบริษัทตามที่จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มไว้

ต่อมากองตรวจสอบภาษีกลางได้ประกาศรายชื่อ บริษัทดังกล่าวเป็นผู้ออกใบกำกับภาษีโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย อีกทั้งพบว่า บริษัทดังกล่าวประกอบธุรกิจเกี่ยวกับการรับทำบัญชี ออกใบกำกับภาษีเท็จให้กับกลุ่มลูกค้าที่ประกอบธุรกิจรับเหมาก่อสร้าง ซึ่งไม่ตรงตามวัตถุประสงค์ที่แจ้งไว้ โดยมีกรรมการบริษัท คือ น.ส.รุ่งโสภา ภาสะปะหาส (เสียชีวิตแล้ว) และ นายมนูญ ผู้จัดตั้งบริษัท ต่อมา ได้เปลี่ยนกรรมการบริษัททั้งหมดมาเป็น น.ส.อัญชลี นายอรัญ และ นางธัญญรัตน์ จึงจับกุมได้ดังกล่าว

สอบสวนทั้งหมดให้การรับสารภาพว่า มีเพื่อนบ้านและผู้มีบุญคุณที่ให้ที่พักอาศัยขอบัตรประจำตัวประชาชนไปใช้ โดยไม่ได้แจ้งวัตถุประสงค์และไม่มีค่าตอบแทน และมาทราบภายหลังว่าตนนั้นถูกออกหมายจับเป็นผู้ต้องหาคดีดังกล่าว

ทั้งนี้ มีรายงานว่า บริษัท รุ่ง อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด มีเจตนาที่จะหลีกเลี่ยงการเสียภาษีอากร ประกอบกับเมื่อบริษัทฯ ได้รับทราบการประเมินภาษีอากรของเจ้าพนักงานประเมินฯ แล้ว ละเว้นไม่ชำระภาษีอากรตามการประเมิน หรืออุทธรณ์คัดค้านการประเมิน หรือขอผ่อนชำระภาษีอากรตามหนังสือแจ้งการประเมิน เพื่อบรรเทาความเสียหายที่เกิดขึ้นกับกรมสรรพากรแต่อย่างใด บริษัทฯ จึงมีความผิดฐานเจตนาหลีกเลี่ยงหรือพยายามหลีกเลี่ยง การเสียภาษีอากร ตามมาตรา 37 แห่งประมวลรัษฎากร ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่สามเดือนถึงเจ็ดปี และปรับตั้งแต่สองพันบาทถึงสองแสนบาท อีกกระทงหนึ่ง โดยมูลค่าความเสียหายจากภาครัฐที่ไม่สามารถจัดเก็บภาษีได้ จำนวนกว่า 40 ล้านบาท และหาก บริษัทดังกล่าวผิดจริง อาจต้องเสียค่าปรับในอัตราอย่างสูงกว่า 100 ล้านบาท

ใบกำกับภาษี รับเหมาก่อสร้าง


ใบกำกับภาษี รับเหมาก่อสร้าง


ใบกำกับภาษี รับเหมาก่อสร้าง



  • บริษัทก่อสร้าง
  • นอมินี
  • ใบกำกับภาษี

บริษัท ซื้อทรัพย์จากบังคับคดีแล้วมาแต่งขาย ก็เลยใช้นาย ก.มาทำรับเหมาก่อสร้างกับบริษัทซึ่งนาย ก.มีรายได้ต่อปีไม่ถึง 1.8 ล้านก็ไม่ต้องจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม    

 คำถามคือ

1.เวลานาย ก.เก็บเงินกับ บริษัท ต้องคิดเงินค่ารับเหมา Vat7% หรือเปล่าครับ

2.เวลานาย ก.ซื้อสินค้าต้องขอเป็นใบกำกับภาษีหรือไม่

3.นาย ก. ขอใบบิลเงินสดได้ไหมครับ

4.ถ้าใบเสร็จที่ได้มาเป็นใบกำกับภาษี ตรงภาษีซื้อจะเอาออกมาใช้อย่างไรครับ

                                                                                                         บุญเหลือ

เรียน  คุณบุญเหลือ

       ประเด็นที่สอบถามมาขอเรียนชี้แจงดังนี้

1.กรณีนาย ก. ไม่ได้เป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ไม่มีสิทธิเรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มจากกค่าจ้างรับเหมาก่อสร้างแต่อย่างใด กรณีนี้จึงไม่ต้องเรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม 7 % จากผู้ว่าจ้าง

2. กรณีนาย ก. ไม่ได้จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม หากซื้อสินค้า หรือรับบริการ แม้จะถูกเรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม ได้รับใบกำกับภาษี ไม่สามารถขอคืนภาษีซื้อได้ แต่สามารถนำภาษีซื้อดังกล่าวมาหักเปจ่ายในการคำนวณภาษี ในการซื้อสินค้า หรือรับบริการ นาย ก. ไม่จำเป็นต้องขอใบกำกับภาษี แต่ต้องให้ความสำคัญกับ ใบเสร็จรับเงิน เพื่อนำมาหักเป็นรายจ่ายในการคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา กรณีเลือกหักรายจ่ายตามความจำเป็นและสมควร

3. นาย ก. ในฐานะผู้มีเงินได้จากการรับเหมา 40 (7) สามารถเลือกหักรายจ่ายเป็นการเหมา หรือหักรายจ่ายตามความจำเป็นและสมควร โดยมีรายละเอียดสรุปดังนี้

- กรณีเลือกหักรายจ่ายเป็นการเหมา สามารถหักรายจ่ายได้ 70 % ของรายได้ โดยไม่ต้องมีหลักฐาน ใบเสร็จรับเงิน หรือใบกำกับภาษีแต่อย่างใด แต่ในทางปฏิบัติควรที่จะขอใบเสร็จรับเงิน เพื่อเป็นหลักฐาน และเพื่อตัดสินใจภายหลังว่าจะหักรายจ่ายเหมา หรือรายจ่ายตามความจำเป็นและสมควร

-กรณีเลือกหักรายจ่ายตามความจำเป็น และสมควร จะต้องนำหลักฐาน ใบเสร็จรับเงิน ค่าใช้จ่ายต่าง ๆ มาคำนวณหักออกจากรายได้

ลองพิจารณาดูนะครับว่าจะเลือกหักรายจ่ายเหมา หรือหักรายจ่ายตามความจำเป็น และสมควร เมื่อได้ข้อสรุปก็น่าจะที่จะทำให้วางแผนในการทำงานได้อย่างเหมาะสม