ขายของ ตลาดนัด ต้อง จดทะเบียน การค้า ไหม

กรณีผู้ประกอบการได้จำหน่ายสินค้าตามตลาดนัดช่วงเย็น โดยเจ้าของตลาดนัดเอกชน ?

กรณีผู้ประกอบการได้จำหน่ายสินค้าตามตลาดนัดช่วงเย็น โดยเจ้าของตลาดนัดเอกชนได้จัดล็อคให้จำหน่ายสินค้า และมีหนังสือรับรองให้ผู้ประกอบการได้นำมาเป็นหลักฐานในการขอจดทะเบียนพาณิชย์นั้น ในการพิจารณาของเจ้าหน้าที่รับจดทะเบียนพาณิชย์ มีความเห็นว่า การจัดจำหน่ายสินค้าตามตลาดนัดช่วงเย็นเช่นนั้น หาใช่มีพื้นที่ที่จำหน่ายสินค้า แบบถาวรและไม่มีป้ายร้านค้า ซึ่งหากมีการไปตรวจสอบ ณ สถานที่ตั้งไม่มีความแน่นอนนั้น จึงไม่สามารถจดทะเบียนพาณิชย์ แก่ผู้ประกอบการนั้น ถูกต้องหรือป่าว

ตอบ: ในกรณีที่ใช้ตลาดนัดเป็นสถานที่ประกอบกิจการนั้น ควรต้องมีอาคารถาวร ที่มีเลขที่อาคารในบริเวณนั้น หรืออยู่ในละแวกนั้นในการอ้างอิงเป็นที่ตั้งสำนักงานแห่งใหญ่ และการระบุสถานที่ประกอบการให้ระบุเลขที่ตลาด และล็อค หรือโซนที่ร้านท่านตั้งอยู่ แต่ถ้าไม่เป็นตามที่กล่าวข้างต้น ถือเป็นการค้าแผงลอยที่ พรบ.ประกาศยกเว้นว่าเป็นลักษณะกิจการที่ไม่ต้องจดทะเบียนพาณิชย์

สำนักงานบัญชี มีบริการอะไรบ้าง แล้วจะติดต่อสำนักงานบัญชี รับทำบัญชี ได้อย่างไร ?

47/103 ตำบลบางพูด อำเภอปากเกร็ด
จังหวัดนนทบุรี 11120
โทร.081-931-8341

แก้ไขครั้งสุดท้าย พฤศจิกายน 15, 2022

 

ขายของ ตลาดนัด ต้อง จดทะเบียน การค้า ไหม

          ในตอนนี้มีร้านค้าเกิดขึ้นมากมายเต็มไปหมด แต่ก็ยังมีหลายร้านที่ยังดำเนินการไม่ถูกต้อง ทั้งในเรื่องของการจดทะเบียน และเรื่องภาษี จึงมีหลายคนสงสัยว่า “ทำไมคนค้าขายจะต้องจดทะเบียนการค้าด้วย”

          วันนี้เราจะมาทำความเข้าใจถึงเหตุผลของการจดทะเบียนการค้าบุคคลธรรมดา หรือเจ้าของคนเดียว

          การจดทะเบียนการค้า หรือเรียกเต็ม ๆ ว่า การจดทะเบียนพาณิชย์ จะเป็นหลักฐานสำคัญทางการค้า ซึ่งจะช่วยผู้ค้าขายสร้างความน่าเชื่อถือให้กับร้านค้า และจะทำให้ลูกค้าสามารถมั่นใจได้ว่า ร้านค้าของเรามีอยู่จริง ลูกค้าสามารถรับ คืน เปลี่ยนสินค้าได้ หากสินค้ามีการชำรุดหรือใช้งานไม่ได้ภายในระยะเวลาที่ทางร้านรับประกัน นอกจากนี้ทะเบียนการค้า หรือทะเบียนพาณิชย์นี้ยังสามารถใช้เป็นหลักฐานในการขอกู้ซื้อรถ ซื้อบ้าน และหาเงินลงทุน ในร้านค้าของตนเอง

          จากที่กล่าวไปข้างต้นเป็นประโยชน์ต่อผู้ค้าขายเท่านั้น ซึ่งประโยชน์ของมันยังไม่หมดแต่เพียงเท่านี้ เพราะการที่เราจดทะเบียนการค้าจะทำให้รัฐบาลมีข้อมูลของร้านค้า และสามารถนำข้อมูลเหล่านี้ไปทำสถิติแยกได้ว่าในปัจจุบันมีจำนวนร้านค้าเท่าใด และแบ่งเป็นประเภทใดบ้าง แถมยังช่วยให้รัฐบาลสามารถตัดสินใจได้ว่าควรควบคุม และส่งเสริมการลงทุนกับธุรกิจประเภทใด ที่จะทำให้เกิดประโยชน์ต่อประเทศไทยมากที่สุด

          แต่ไม่ใช่ว่าทุกธุรกิจจะต้องจดทะเบียนการค้าหมด เพราะมีกิจการที่ไม่ต้องจดทะเบียนพาณิชย์ ดังต่อไปนี้

  • พ่อค้าแม่ค้าแผงลอย หรือหาบเร่
  • ผู้ประกอบกิจการค้า เพื่อการบำรุงศาสนา และการกุศล
  • ผู้ประกอบกิจการค้าที่เป็นนิติบุคคล แต่ได้มีพระราชบัญญัติหรือ พระราชกฤษฎีกาจัดตั้งขึ้น
  • กิจการการค้าของกระทรวง ทบวง กรม
  • กิจการการค้าของมูลนิธิ สมาคม สหกรณ์
  • กิจการการค้าของกลุ่มเกษตรกรที่ได้จดทะเบียน

          ดังนั้นผู้ประกอบการคนใดที่จดทะเบียนที่มีคุณสมบัติต้องจดทะเบียนค้า ก็ควรจดให้เรียบร้อย เพราะถ้าหากไม่ได้จด และแสดงรายการต่าง ๆ ไม่ตรงกับความเป็นจริง จะมีโทษปรับไม่เกิน 2,000 บาท

‘อาชีพขายของออนไลน์ - ตลาดนัด’ ช่วยสร้างรายได้งาม ไม่ต้องลาออกจากงานประจำก็ทำได้ อาชีพนี้จึงกลายเป็นแหล่งรายได้ยอดนิยม เมื่อมีรายได้หน้าที่สำคัญตามมาก็คือ ‘การเสียภาษี’ ซึ่งปีนี้กรมสรรพากรเริ่มเอาจริงเอาจังกับพ่อค้าแม่ค้าทั้งหลายที่มีรายได้แต่ไม่ยื่นภาษีให้ถูกต้อง ดังนั้นมาดูกันว่าสิ่งจำเป็นต้องรู้สำหรับพ่อค้า-แม่ค้าตลาดนัดหรือขายของออนไลน์เกี่ยวกับการเสียภาษีมีอะไรบ้าง

ไม่พลาดทุกข้อมูล ข่าวสารที่น่าสนใจ อย่าลืมกดไลก์Facebook bangkokbanksme 

ขายของ ตลาดนัด ต้อง จดทะเบียน การค้า ไหม

ขายของออนไลน์-ตลาดนัดต้องเสียภาษีแบบไหน?

หากไม่ได้มีการเปิดหรือจดทะเบียนในรูปแบบบริษัท จะถือเป็นการเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ซึ่งถูกจัดอยู่ในเงินได้ประเภทที่ 8 คือเงินได้จากการค้าขาย และช่วงเวลาที่พ่อค้าแม่ค้าต้องยื่นภาษีจะมีอยู่ 2 ช่วงคือ

- ยื่นภาษีสิ้นปี (ยื่นแบบ ภ.ง.ด.90) ช่วงเดือนมกราคม-มีนาคม เป็นการสรุปรายได้ทั้งหมดที่เกิดขึ้นในช่วงปีที่ผ่านมา

- ยื่นภาษีกลางปี (ยื่นแบบ ภ.ง.ด.94) ช่วงเดือนกรกฏาคม-กันยายน เป็นการสรุปรายได้ที่เกิดขึ้นในช่วงครึ่งปีภาษีแรกที่ผ่านมา โดยที่ค่าลดหย่อนบางรายการจะถูกหักเหลือครึ่งหนึ่งด้วย เช่น ค่าลดหย่อนส่วนตัวจะลดลงจาก 30,000 บาท เหลือ 15,000 บาท

ขายของตลาดนัด-ออนไลน์เสียภาษีเงินได้อย่างไร รายได้เท่าไหร่ถึงเสียภาษี?

(ตัวอย่าง ค่าใช้จ่ายเหมา 60% และมีเฉพาะค่าลดหย่อนส่วนตัว 60,000 บาท)

- มีรายได้ทั้งปีเกิน 60,000 บาท ถึง 525,049 บาท ต้องยื่นแบบภาษีเงินได้ แต่ไม่มีภาษีต้องเสีย

- มีรายได้ทั้งปี 525,050 บาทขึ้นไป ต้องยื่นแบบภาษีเงินได้ และต้องเสียภาษี เริ่มต้น 1 บาท

- มีรายได้ทั้งปี 1,000,001 บาท ต้องเสียภาษี 11,500 บาท

- มีรายได้ทั้งปี 2,000,000 บาท ต้องเสียภาษี 63,500 บาท

อย่างไรก็ตาม หากมีเอกสารค่าใช้จ่ายจริง เช่น ค่าวัตถุดิบ ต้นทุนการผลิต ต้นทุนสินค้า ค่าขนส่ง ค่าจ้างลูกจ้าง หรือค้าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องกับการขาย และพิสูจน์ได้ว่ามีค่าใช้จ่ายจริงมากกว่าการหักค่าใช้จ่ายเหมา เมื่อนำไปคำนวณภาษีแล้ว สามารถลดจำนวนเงินภาษีที่ต้องเสียได้

ค่าใช้จ่ายที่นำมาคิดภาษีร้านค้าออนไลน์มีกี่แบบ?

1. หักค่าใช้จ่ายตามอัตรา 60% สำหรับร้านค้าออนไลน์ที่ซื้อมา ขายไป ไม่ได้ผลิตเอง

2. หักค่าใช้จ่ายตามจริง สำหรับร้านค้าที่ผลิตสินค้าเอง แต่กรณีนี้ต้องมีเอกสารที่ต้องใช้ยื่นเพื่อยันยืนความถูกต้อง

3. หักค่าใช้จ่ายแบบเหมา คือคิดภาษี 0.5% หากมีรายได้จากการขายของออนไลน์มากกว่า 1,000,000 บาท (หนึ่งล้านบาท)

ร้านค้าตลาดนัด-ออนไลน์ มีรายได้เกินปีละ 1-1.8 ล้านบาท ต้องเสียภาษี

เมื่อเปิดร้านค้าออนไลน์ขึ้นมาแล้วและเกิดรายได้ขึ้นมา ผู้ประกอบการจะเกี่ยวข้องกับการเสียภาษี 2 ประเภทก็คือ ภาษีเงินได้ และ ภาษีมูลค่าเพิ่ม หากเป็นร้านค้าธรรมดาต้องเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาโดยการคำนวณจากเงินได้สุทธิ แต่ถ้าจดทะเบียนเป็นบริษัท นิติบุคคล เป็นห้างหุ้นส่วนหรือในรูปแบบของบริษัท ก็ต้องเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล โดยคำนวณจากกำไรสุทธิ

หากมีรายได้จากการขายทั้งปี 1,800,000 บาทขึ้นไป ซึ่งรายรับจากการขายนี้หรือยังไม่ได้รับยกเว้นจากภาษีมูลค่าเพิ่ม ก็ต้องยื่นคำขอร้องจดทะเบียนภาษี และยื่นในรูปแบบภาษีมูลค่าเพิ่ม (ภ.พ.30) และจะต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม (ถ้ามี)

เงินได้จากการขายของออนไลน์ตลาดนัดถือเป็นเงินประเภทที่ 8 (เงินได้ประเภทอื่นๆ) สามารถเลือกหักค่าใช้จ่ายได้ 2 วิธีคือ แบบเหมารวมในอัตรา 80% ของรายได้ และแบบตามความจำเป็น/ตามสมควร โดยส่วนที่เหลือจากการหักค่าใช้จ่าย ให้นำมาหักค่าลดหย่อนตามกฎหมายเพื่อคำนวณเงินได้สุทธิในขั้นต่อไป

ขายของ ตลาดนัด ต้อง จดทะเบียน การค้า ไหม

ข้อควรรู้เรื่องภาษีออนไลน์ ‘อี-เพย์เมนต์’ (e-Payment)

กรมสรรพากรรู้ว่ามีการขายของออนไลน์เกิดขึ้น เนื่องจากปัจจุบันมีกฎหมายออกมารองรับให้ทางสถาบันการเงินต้องส่งข้อมูลการทำธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์ หรือที่เรียกว่า “อี-เพย์เมนต์ (e-Payment)” ที่เริ่มมีผลบังคับใช้จริงตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 63 เพื่อให้ทางสรรพากรตรวจสอบแต่ไม่ได้ตรวจสอบทุกบัญชี โดยจะมีเงื่อนไขที่เข้าข่ายโดนสรรพากรตรวจสอบดังนี้

- เมื่อมีการฝากหรือรับโอนเงินทุกบัญชี 3,000 ครั้งต่อปีขึ้นไป ไม่ว่ายอดรวมทั้งหมดจะกี่บาทก็ตาม

- ฝากหรือรับโอนเงินทุกบัญชีรวมกัน 400 ครั้งขึ้นไป และมียอดเงินรวมเกิน 2 ล้านบาท

*หากทางธนาคารพบว่าบัญชีใดเข้าข่ายข้อใดข้อหนึ่งจะมีสิทธิ์ถูกตรวจสอบ และทำการส่งข้อมูลเข้าระบบให้กรมสรรพากรต่อไป

การเสียภาษีถือเป็นหน้าที่ของผู้มีรายได้ ซึ่งผู้เป็นเจ้าของร้านค้าออนไลน์ตลาดนัดก็ถือว่าเป็นผู้มีรายได้เช่นกัน หากไม่ทำการยื่นภาษีก็อาจโดนเรียกเก็บภาษีย้อนหลัง และต้องเสียค่าปรับอีกด้วย ดังนั้นการทำให้ถูกต้องตามกฎหมายจึงเป็นการดีที่สุด

แหล่งอ้างอิง :

https://www.rd.go.th/   

ขายของ ตลาดนัด ต้อง จดทะเบียน การค้า ไหม

สมัครสินเชื่อ >>สินเชื่อธุรกิจบัวหลวงSMEs ดีแน่นอน<<

Bangkok Bank SMEเราเป็นเพื่อนคู่คิด มิตรคู่บ้าน ทุกช่วงการเติบโตของธุรกิจ
สนใจลงทุนธุรกิจสามารถปรึกษาธนาคารกรุงเทพคลิกหรือสายด่วน1333

ร้านค้าเเผงลอยจดทะเบียนพาณิชย์ได้ไหม

3. พาณิชยกิจที่ได้รับการยกเว้นไม่ต้องจดทะเบียนพาณิชย์ ได้แก่ 3.1 การค้าเร่ การค้าแผงลอย 3.2 พาณิชยกิจเพื่อการบำรุงศาสนาหรือเพื่อการกุศล

ขายของต้องจดทะเบียนพาณิชย์ไหม

2.สถานที่จดทะเบียนพาณิชย์ การไม่จดทะเบียนพาณิชย์มีความผิดต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 2,000 บาท และปรับวันละ ไม่เกิน 100 บาท จนกว่าจะปฏิบัติให้ถูกต้อง 3.เอกสารประกอบการจดทะเบียนพาณิชย์ (ค่าธรรมเนียมจดทะเบียนพาณิชย์50 บาท/ 1 คาขอ)

จดทะเบียนการค้า แผงลอยที่ไหน

สามารถยื่นจดทะเบียนการค้าได้ที่เทศบาลหรือองค์การบริหารส่วนตำบลในเขตที่ตั้งตั้งธุรกิจอยู่

ค้าขายต้องจดทะเบียนอะไร

การจดทะเบียนการค้า หรือ การจดทะเบียนพาณิชย์ คือ หลักฐานสำคัญทางการค้า ที่จะช่วยสร้างความน่าเชื่อถือให้กับร้านค้า และสร้างความมั่นใจได้ว่าร้านค้านั้นมีตัวตนและมีสถานประกอบการเป็นหลักแหล่ง ทำให้ลูกค้าสามารถรับ-คืน-เปลี่ยนสินค้าได้ หรือหากสินค้าชำรุดหรือใช้งานไม่ได้ภายในระยะเวลารับประกัน ซึ่งกฎหมายกำหนดให้กิจการบางประเภท ...