Quality Management System คือ

Quality Management System คือ

10 Sep วิธีการทำระบบบริหารงานคุณภาพ (Quality Management System)

Posted at 04:51h in Articles

วิธีการทำระบบบริหารงานคุณภาพแบบง่ายๆ  (Quality Management System)

1) พูดในสิ่งที่คุณทำ

ให้เรามีวิธีการเขียนวิธีการทำงาน หรือขั้นตอนการทำงานเพื่อใช้เป็นวิธีการหรือแนวทางปฎิบัติ อาจจะเขียนหรือเป็นรูปภาพแสดงขั้นตอนก็ได้ เช่น คู่มือการทำงาน WI, SOP ,แผนผังกระบวนการ Process Flow Diagram, แผนภูมิเต่า Turtle Diagram, กระบวนการ / ขั้นตอนการปฎิบัติงาน, แผนการควบคุม Control Plan, คำแนะนำในการทำงาน Condition Standard, Q-Point

2) ทำในสิ่งที่คุณพูด

เราปฏิบัติตามวิธีการที่ระบุไว้เป็นขั้นตอนการทำงาน เมื่อมีการเปลี่ยนแปลง ให้ทดลองสรุปผลถ้าได้ผลรับตามที่ต้องการให้ปรับเปลี่ยนขั้นตอนการทำงาน และปฎิบัติตามขั้นตอนการทำงานใหม่

3) สามารถพิสูจน์ได้

เราสามารถแสดงหลักฐานว่าเราทำงานของเราตามขั้นตอนที่กำหนดไว้ สามารถทวนสอบกลับได้ถ้าหากว่าพบปัญหา หรือจะนำข้อมูลมาปรับปรุง

บันทึก, แบบฟอร์มกระดาษ, ข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์, SPC, ผลการตรวจสอบงาน เช่น ลึกหนาบาง, ป้าย สถานะการระบุ Lot เป็นต้น

Visual Control board ต่างๆเพื่อเป็นการติดตามผลลัพท์เทียบกับเป้าหมาย หรือ สถานะแสดงให้เราเห็นว่าเรากำลังทำอะไรอยู่

4) ตอบสนองต่อปัญหา

หากบางสิ่งอยู่นอกการควบคุมหรือไม่ได้ตามมาตรฐานเราต้องทำการแก้ไขและมีหลักฐานว่าเราได้ทำอะไรเพื่อตอบสนองกับปัญหา

Corrective Action Report (CAR), Non conformity report (NCR), 8D Report ใบแจ้งเตือนปัญหา, Hold tag

5) ดีขึ้นเมื่อเวลาผ่านไป

มีโครงการปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง เช่นทำกิจกรรม QCC, Small Group activity, Kaizen แผนการปรับปรุงเป้าหมายเป็นต้น

Sukhum Rattanasereekiat

Quality Management Trainer and Consultant.

www.pmcexpert.com

#pmcexpert.co.th

Quality Management System คือ

Quality Management System คือ

บทที่ 2 การบริหารงานคุณภาพ 
ความหมายของระบบบริหารงานคุณภาพ (Quality Management System : QMS)


      มาตรฐานระบบบริหารงานคุณภาพ (Quality Management System : QMS) ที่ประกาศใช้อย่างเป็นทางการครั้งแรก คือ มาตรฐาน BS 5750 1987 Quality systems กำหนดโดยสถาบันมาตรฐานแห่งประเทศอังกฤษ (British Standards Institution : BSI) ต่อมาในปี ค.ศ. 1987 องค์การระหว่างประเทศว่าด้วยมาตรฐาน (International Organization for Standardization : ISO) โดยคณะกรรมการวิชาการคณะที่ 176 (Technical Committee : TC 176) ประกาศใช้มาตรฐานคุณภาพ ISO 9000 : 1997 เป็นครั้งแรก และมีประเทศสมาชิก ISO รับเอามาตรฐานดังกล่าวไปใช้กันอย่างแพร่หลายรวมทั้งประเทศไทยด้วย โดยสำนักมาตรฐานผลิตภัณฑ์ อุตสาหกรรม (สมอ.)ได้ประกาศใช้อนุกรมมาตรฐาน มอก. 9000 ในปี พ.ศ. 2534 โดยมีเนื้อหา รูปแบบเช่นเดียวกับอนุกรมมาตรฐาน ISO 9000 ทุกประการ


      ระบบบริหารงานคุณภาพ (Quality Management System : QMS) คือการจัดการบริหารองค์กร อย่างถูกต้องและมีคุณภาพ เพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้า เป็นข้อกำหนดของระบบบริหารคุณภาพตามมาตรฐาน ISO 9000 : 2000 ซึ่งได้มาจากการปรับปรุงแก้ไข มาตรฐาน ISO 9000 : 1994 เพื่อให้มีความสอดคล้องกับระบบบริหารองค์กรที่มีเป้าหมายสร้างความพึงพอใจให้กับลูกค้าและต้องการปรับปรุง ประสิทธิภาพขององค์กรอย่างต่อเนื่อง หลักการบริหารคุณภาพ 8 ประการ มีความสำคัญต่อความสำเร็จในการจัดระบบบริหารงานคุณภาพ จะทำให้องค์กรบรรลุเป้าหมายคุณภาพมาตรฐาน ISO 9000 : 2000

ความหมาย และความสำคัญของมาตรฐาน ISO 9000
      ISO ย่อมาจาก International Organization for Standardization หรือ International Standard Organization ซึ่งเป็น องค์การสากล ที่ทำหน้าที่เกี่ยวกับการกำหนด หรือปรับมาตรฐานนานาชาติของเกือบทุกประเทศ (ยกเว้นทางด้านไฟฟ้า ซี่งเป็นหน้าที่ของ IEC) เพื่อให้ประเทศต่างๆ ในโลกสามารถใช้มาตรฐานเดียวกันเนื่องจากแต่ละประเทศมีมาตรฐานคุณภาพของตนเอง

      ปัจจุบันองค์กรระหว่างประเทศว่าด้วยมาตรฐาน หรือ ISO มีสำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ที่กรุงเจนิวา ประเทศสวิสเซอร์แลนด์ ประกอบด้วย สมาชิกจากประเทศต่างๆ ทั่วโลกปัจจุบัน 137 ประเทศโดยมีภารกิจหลักๆ ดังนี้
1. ให้การสนับสนุนพัฒนามาตรฐาน และภารกิจที่เกี่ยวข้องเพื่อตอบสนองต่อการขาย การแลกเปลี่ยนสินค้า และการบริการ ของนานาชาติทั่วโลก 
2. พัฒนาความร่วมมือในด้านวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี เศรษฐศาสตร์ และภูมิปัญญาของมวลมนุษยชาติ

ระบบบริหารคุณภาพ ISO 9000 เป็นระบบการบริหารงานเพื่อให้เกิดคุณภาพ ซึ่งมีความเกี่ยวข้องกับการจัดการ และการ ประกันคุณภาพโดยเน้นความพึงพอใจของลูกค้าเป็นสำคัญ และตั้งอยู่บนความคิดพื้นฐานที่ว่าเมื่อกระบวนการดี ผลที่ได้ออกมาก็จะ ดีตามไปด้วย พนักงานจะต้องได้รับการอบรมเพื่อให้เกิดทักษะ และมีความรับผิดชอบที่จะปฏิบัติงานให้ถูกต้องเป็นระบบทุกขั้นตอน ตามเอกสารที่ได้จัดทำขึ้น มีการปรับปรุงอย่างต่อเนื่องและยืดหยุ่นได้ สามารถนำไปใช้ในการบริหารงานได้ในทุกธุรกิจ ไม่ว่าจะเป็น ด้านอุตสาหกรรม การผลิตและการบริการทุกขนาด เป็นระบบการบริหารงานที่นำไปใช้กันมากที่สุดในโลก

ลักษณะสำคัญของ มาตรฐาน ISO 9000
1. เป็นมาตรฐาน เกี่ยวกับระบบบริหารคุณภาพเพื่อให้ลูกค้าพึงพอใจด้วยการยึดหลักของคุณภาพ 
2. เป็นมาตรฐานระบบคุณภาพที่สามารถนำไปใช้กับกิจกรรมทุกประเภท  
3. เป็นมาตรฐานที่นานาชาติยอมรับ และใช้เป็นมาตรฐานของประเทศ  
4. เป็นระบบการบริหารคุณภาพที่เกี่ยวกับทุกแผนกงาน และทุกคนในองค์กรมีส่วนร่วม  
5. เป็นการบริหารคุณภาพจากขั้นตอนในกระบวนการนั้น ๆ  
6. เป็นการบริหารที่ให้ความสำคัญในเรื่องของเอกสารการปฏิบัติงาน โดยนำสิ่งที่มีการปฏิบัติอยู่มาทำเป็นเอกสาร แล้วจัดเป็น หมวดหมู่มีระบบทำให้นำไปใช้งานได้สะดวกและเกิดประสิทธิภาพ  
7. เป็นระบบงานที่เปิดโอกาสให้มีการแก้ไขปรับปรุงขั้นตอนในการปฏิบัติงาน วิธีการปฏิบัติงาน และมาตรฐานการทำงานได้ ตลอดเวลา  
8. เป็นมาตรฐานขององค์กรทั้งหมด  
9. เป็นมาตรฐานคุณภาพที่ประเทศไทยรับรองเป็นมาตรฐานคุณภาพ มอก. 9000

วัตถุประสงค์ที่ต้องจัดทำมาตรฐาน ISO 9000 : 2000
1. เพื่อทำให้ลูกค้ามีความมั่นใจในคุณภาพสินค้า ผลิตภัณฑ์และการบริการที่จะได้รับ 
2. เพื่อทำให้มีระบบการบริหารงานที่เป็นลายลักษณ์อักษรและเกิดประสิทธิผล 
3. เพื่อสามารถควบคุมกระบวนการดำเนินธุรกิจได้ครบวงจรตั้งแต่ต้นจนจบ 
4. เพื่อสร้างความมั่นใจให้แก่ผู้บริหารว่าสามารถบรรลุความต้องการของลูกค้าได้ 
5. เพื่อให้มีการปรับปรุง และพัฒนาระบบการปฏิบัติงานให้เกิดประสิทธิผลยิ่งขึ้นซึ่งเป็นพื้นฐานในการสร้างระบบบริหารคุณภาพ 
6. เพื่อลดความสูญเสียจากการดำเนินการที่ไม่มีคุณภาพ ทำให้เกิดการประหยัดค่าใช้จ่าย

ประโยชน์ของการจัดทำมาตรฐาน ISO 9000 : 2000
ในการนำระบบ ISO 9000 มาใช้ก่อให้เกิดประโยชน์ต่อพนักงานที่ปฏิบัติงาน ต่อองค์กร หรือบริษัท รวมทั้งผู้ซื้อ ซึ่งมี รายละเอียด ดังนี้

1. ประโยชน์ต่อพนักงาน 
  - มีส่วนร่วมในการดำเนินงานของระบบคุณภาพ 
  - ทำให้เกิดความพอใจในการทำงาน 
  - พนักงานมีจิตสำนึกในเรื่องคุณภาพมากขึ้น 
  - การปฏิบัติงานมีระบบ และมีขอบเขตที่ชัดเจน 
  - พัฒนาการทำงานเป็นทีมหรือเป็นกลุ่ม
2. ประโยชน์ต่อองค์กร หรือบริษัท 
  - พัฒนาองค์กร การบริหารงาน การผลิต ตลอดจนการบริหารให้เป็นไปอย่างมีระบบ และมีประิสิทธิภาพ 
  - ทำให้ผลิตภัณฑ์เป็นที่น่าเชื่อถือ และได้รับการยอมรับทั้งตลาดภายในประเทศ และต่างประเทศ 
  - ขจัดปัญหาข้อโต้แย้ง และการกีดกันทางการค้าระหว่างประเทศ 
  - ทำให้ภาพลักษณ์ขององค์กรดีขึ้น 
  - ช่วยประหยัดต้นทุนในการดำเินินงานซึ่งเกิดจากการทำงานอย่างมีระบบ มีประสิทธิภาพมากขึ้น
3. ประโยชน์ต่อผู้ซื้อ ผู้บริโภค 
- ช่วยให้มั่นใจในผลิตภัณฑ์ หรือบริการ 
- มีความสะดวก ประหยัดเวลา และค่าใช้จ่ายโดยไม่ต้องตรวจสอบคุณภาพของสินค้าซ้ำอีก 
- ง่ายต่อการค้นหารายชื่อหน่วยงาน / องค์กรที่ได้รับมารตรฐาน ISO 9000 
- ได้รับความคุ้มครองทั้งในด้านคุณภาพ ความปลอดภัย และการใช้งาน

หลักการบริหารคุณภาพ (Quality Management Principle)

หลักการบริหารคุณภาพ 8 ประการ มีดังนี้
หลักการที่ 1 มุ่งที่ลูกค้า (Customer focus) 
หลักการที่ 2 ความเป็นผู้นำ (Leader ship) 
หลักการที่ 3 การมีส่วนร่วมของพนักงาน (Involvement of people) 
หลักการที่ 4 การดำเนินงานเป็นกระบวนการ (Process approach) 
หลักการที่ 5 ความเป็นระบบในการบริหาร (System approach to management) 
หลักการที่ 6 ปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง (Continual improvement) 
หลักการที่ 7 การใช้ข้อเท็จจริงเป็นมาตรฐานในการตัดสินใจ (Factual approach to decision making) 
หลักการที่ 8 ความสัมพันธ์กับผู้ส่งมอบบนผลประโยชน์เท่าเทียมกัน (Mutually benificial supplier relationship)

เครดิต : คุณประเทือง จุลวาทิน.http://www.uttvc.ac.th.


Quality System มีอะไรบ้าง

ระบบบริหารคุณภาพ (Quality Management System) หรือ QMS เป็นระบบการบริหารจัดการโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้การดำเนินงานตามภารกิจและวัตถุประสงค์ขององค์กร เกิดการพัฒนาคุณภาพอย่างต่อเนื่อง มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล ระบบบริหารคุณภาพมีหลายระบบ ได้แก่ ระบบ Input-Process-Output-Outcome (IPOO) ระบบ Total Quality Management (TQM) ...

การบริหารคุณภาพเป็นอย่างไร

การบริหารคุณภาพโดยรวม” คือ แนวทางการบริหารองค์กรที่ยึดถือคุณภาพเป็น ศูนย์กลาง และอาศัยการมีส่วนร่วมของสมาชิกทุก ๆ คนในองค์กรโดยมุ่งเป้าหมายไปที่ ความสำเร็จระยะยาวขององค์กร จากการสร้างความพึงพอใจให้แก่ลูกค้า และเอื้อประโยชน์ ต่อสมาชิกทุกคนในองค์กร และต่อสังคม องค์ประกอบของการบริหารคุณภาพโดยรวม (TQM)

ระบบบริหารงานคุณภาพมีความสำคัญอย่างไร

ระบบบริหารงานคุณภาพ” ถ้าให้ความหมายกันตามชื่อ คือ การกำหนดระบบการบริหารจัดการในองค์กรใด องค์กรหนึ่ง ทั้งที่มุ่งเน้นผลกำไร และไม่แสวงหากำไร ให้มีการบริหารจัดการ ที่มีการกำหนด เป้าหมาย แผนงาน มาตรฐานงานแต่ละขั้นตอน ให้มีความสัมพันธ์กัน มุ่งสร้าง ระบบที่มีการส่งมอบผลลัพธ์ที่ดี ตรงกับความต้องการของผู้ใช้ในขั้นตอนถัดไป