จังหวัดที่มีรายได้มากที่สุด 2564

ยุคที่ศรีสะเกษยังเป็นจังหวัดรายได้ต่อหัวต่ำสุดของประเทศไทย จนเป็นเหตุให้นักพัฒนาชนบทยุคโน้นตัดสินใจหยิบยกจังหวัดนี้มาเป็นจังหวัดทดลอง “นำร่อง” ซึ่งหากเป็นยุคปัจจุบันคงเรียกกันว่า “ศรีสะเกษแซนด์บ็อกซ์” ไปแล้วล่ะ

Show

ช่วยกันทำโน่นนิดนี่หน่อยจนจังหวัดศรีสะเกษเจริญก้าวหน้าตามลำดับ จนล่าสุดไม่ใช่จังหวัดจนที่สุดของประเทศไทยอีกต่อไปแล้ว ตามตัวเลขที่ค้นเจอในกูเกิลน่าจะอยู่อันดับที่ 63 ของประเทศ หรือประมาณ 12 หรือ 13 อันดับจากล่างสุด

วันนี้ผมขออนุญาตเขียนต่อนะครับเพราะไปพบในการสืบค้นจากกูเกิลเช่นกันว่า จังหวัดที่จนที่สุดหรือมีรายได้ต่อหัวต่ำสุดในปัจจุบันนี้คือ “แม่ฮ่องสอน” นั่นเอง

เห็นตัวเลขแล้วก็นึกถึงความหลังขึ้นมาอีกเพราะนี่ก็เป็นอีกหนึ่งจังหวัดที่ผมชื่นชอบมากๆ--อยากจะเขียนให้กำลังใจเช่นกัน

ในแผนภูมิหลายๆแผนภูมิที่ผมเจอในกูเกิลสรุปว่า ค้นต่อมาจากสภาพัฒน์และบอกว่าเป็นตัวเลขของปี 2563 นั้นสรุปรายได้ต่อหัวของ 10 จังหวัดต่ำสุดของประเทศไทยไว้ดังต่อไปนี้

1.แม่ฮ่องสอน (รายได้ต่อหัว 4,864 บาท/เดือน), 2.ยโสธร (5,005 บาท/เดือน), 3.หนองบัวลำภู (5,065 บาท/เดือน), 4.นราธิวาส (5,172 บาท/เดือน), 5.มุกดาหาร (5,231 บาท/เดือน), 6.สกลนคร (5,340 บาท/เดือน), 7.อำนาจเจริญ (5,479 บาท/เดือน), 8.บุรีรัมย์ (5,595 บาท/เดือน), 9.บึงกาฬ (5,623 บาท/เดือน) และ 10.ชัยภูมิ (5,811 บาท/เดือน)

รวมความแล้วก็คือ แม่ฮ่องสอน ของภาคเหนือครับที่ถือว่ายากจนที่สุดตามข้อมูลนี้ ส่วนที่ยากจนรองๆลงมาก็จะอยู่ในภาคอีสานเกือบทั้งหมด มี นราธิวาส จากภาคใต้แทรกอยู่ที่จนอันดับ 4 เพียงจังหวัดเดียวเท่านั้น

แต่ในขณะที่ผมค้นหาไปเรื่อยๆนั้น ก็ไปเจอการสำรวจชิ้นหนึ่งจัดทำโดย ศูนย์เครือข่ายวิชาการเพื่อสังเกตการณ์และวิจัยความสุขชุมชนของมหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ เมื่อ 9 ปีที่แล้วคือ พ.ศ.2556

แม้จะเป็นข้อมูลเก่าแต่ผมก็ยังเชื่อว่า ไม่น่าจะเปลี่ยนแปลงมากนัก เพราะผมแว่บไปบางจังหวัดเมื่อ 3-4 ปีที่แล้ว (ก่อนโควิด-19 อาละวาด) ก็พบว่า ยังคงน่าอยู่อาศัยและมีความสุขเหมือนเดิม

นี่คือจังหวัดที่ประชาชนอยู่แล้วมีความสุขที่สุด 10 จังหวัดแรกครับ...ได้แก่ 1.แม่ฮ่องสอน (ได้คะแนน 60.9%) 2.พังงา (ได้คะแนน 60.7%) 3.ชัยภูมิ (60.0%) 4.ปราจีนบุรี (57.0%) 5.อุทัยธานี (56.6%)

อันดับ 6 ได้คะแนนเท่ากัน 2 จังหวัด ได้แก่ จันทบุรี และ สุโขทัย ได้คะแนนร้อยละ 56.3

อันดับ 7 ก็มี 2 จังหวัด ได้แก่ พะเยา และ แพร่ ได้คะแนนร้อยละ 55.6

อันดับ 8 น่าน (54.8%) อันดับ 9 หนองคาย (54.3%) และอันดับ 10 ลำปาง (53.9%)

เห็นอย่างนี้แล้วก็ชื่นใจแทน แม่ฮ่องสอน ซึ่งแม้จะมีรายได้ต่อหัวต่ำสุดหรือจนที่สุด แต่ก็ได้ชื่อว่าเป็นจังหวัดที่มี ดัชนีความสุข สูงสุด

ผมว่าน่ายินดีกว่าเป็นจังหวัดที่รวยที่สุดหรือรวยมากๆแต่ความสุขน้อยๆเสียอีกด้วยซ้ำ

ทุกจังหวัดใน 10 อันดับแรกผมมีโอกาสแวะไปก่อนโควิด-19 ถึง 6-7 จังหวัด รวมทั้ง แม่ฮ่องสอน ด้วย ยืนยันและเห็นด้วยกับการสำรวจของมหาวิทยาลัยอัสสัมชัญเลยครับว่า น่าอยู่...และอยู่แล้วเป็นสุขที่สุดจริงๆ

ส่วนจังหวัดที่ได้คะแนนน้อยสุดแปลว่า อยู่แล้วความสุขน้อยที่สุด ความจริงในรายงานเขาก็ระบุไว้ 10 จังหวัดเช่นกัน แต่เนื้อที่ผมจะหมดแล้ว ขอลงแค่ 3 จังหวัดดังนี้ครับ

อันดับ 75 (รองบ๊วยอันดับ 2) ภูเก็ต (24.2%) อันดับ 76 (รองบ๊วยอันดับ 1) สมุทรปราการ (22.0%)

และบ๊วย...ได้แก่...(ดนตรี)...กรุงเทพมหานคร (20.8%)!

เฮ้อ! ก็เป็นไปตามที่คาดหมายไว้...ผมงงๆหน่อยที่ภูเก็ตมาติดอันดับเกือบบ๊วยกับเขาด้วย แต่สำหรับ สมุทรปราการ และ กทม. แล้วไซร้ เห็นด้วยพันเปอร์เซ็นต์ครับ ความสุขน้อยกว่าจังหวัดอื่นๆจริง

แต่จะทำไงได้ ตัดสินใจเลือกที่จะอยู่แล้วนี่นา...หวังว่าท่านผู้ว่าฯคนใหม่จะช่วยทำให้อันดับความสุขดีขึ้นนะครับ (ปล.เขียนในวันที่ กกต.รับรองผลการเลือกตั้งพอดีเลยครับ)

“ซูม”

สนับสนุน โดย  Hampton Suites Rayong

          ปีแล้วปีเล่าที่เมื่อมีการเปิดเผยผลิตภัณฑ์มวลรวมจังหวัด (Gross Provincial Product : GPP) ดัชนีที่สะท้อนถึงความมั่งคั่งและศักยภาพทางเศรษฐกิจของแต่ละจังหวัดในประเทศ ก็จะได้พบชื่อของ ‘ระยอง’ ติดโผในอันดับที่หนึ่งมาถึง 15 ปีติดต่อกัน เพราะอะไร ‘ระยอง’ ถึงเป็นจังหวัดที่มีความแข็งแกร่งทางเศรษฐกิจยาวนานขนาดนี้ Terra Researchขอนำเสนอในบทความนี้

15 ปี GPP และ GPP Per Capita สะท้อนความมั่งคั่งของระยอง

          นับตั้งแต่ปี 2547 – 2563 นับเป็นเวลารวมกันกว่า 15 ปี จังหวัดระยองมีตัวเลข GPP เติบโตโดยเฉลี่ยถึง 7.7% ต่อปี ข้อมูลจากรายงานสภาวะเศรษฐกิจการคลัง จังหวัดระยอง โดยในปี 2562 (ปีล่าสุด) จังหวัดระยองมีผลิตภัณฑ์มวลรวมจังหวัดสูงถึง 993,978 ล้านบาท เป็นอับดับสองของประเทศรองจากจังหวัดชลบุรีเมืองพี่น้องเท่านั้น (ผลิตภัณฑ์มวลรวมจังหวัดชลบุรี 1,059,797 ล้านบาท) โดยกิจกรรมการผลิตที่สร้างมูลค่าสูงสุด 3 อันดับแรก ได้แก่ ภาคอุตสาหกรรม 797,837 ล้านบาท, ภาคการผลิต 452,299 ล้านบาท และภาคการทำเหมืองแร่และเหมืองหิน 272,907 ล้านบาท สะท้อนให้เห็นถึงความมั่งคั่งในภาคเศรษฐกิจของจังหวัดได้เป็นอย่างดี

จังหวัดที่มีรายได้มากที่สุด 2564

          ในขณะเดียวกัน ตัวเลขของผลิตภัณฑ์มวลรวมจังหวัดต่อหัว (GPP Per Capita) ของจังหวัดระยอง ตั้งแต่ปี 2547 – 2562 เติบโตโดยเฉลี่ย 4.3% ต่อปี โดยในปี 2562 จังหวัดระยองมี GPP per capita สูงเป็นอันดับหนึ่งของประเทศโดยสูงถึง 988,748 บาทต่อคนต่อปี ซึ่งทำให้จังหวัดระยอง ยังรักษาตำแหน่งจังหวัดที่มี GPP per capita สูงที่สุดของประเทศติดต่อกันถึง 15 ปีซ้อน

จังหวัดที่มีรายได้มากที่สุด 2564

          ในด้านรายได้เฉลี่ยของประชากรในจังหวัดระยอง ในปี 2562 ประชากรจังหวัดระยองมีรายได้โดยเฉลี่ย 24,229 บาทต่อครัวเรือน โดยในช่วง 15 ปีที่ผ่านมา นับตั้งแต่ปี 2547 – 2562 มีการเติบโตของรายได้ต่อครัวเรือนเฉลี่ย 8.72% ต่อปี

ระยอง เมืองอุตสาหกรรมหลักของประเทศ ดีมานด์คุณภาพ

          คงไม่ได้ต้องเกริ่นอะไรให้มากความกันอีกแล้วเพราะการที่ระยองนั้นเป็นเมืองอุตสาหกรรมหลักอันดับหนึ่งของประเทศนั้นสามารถการันตีด้วยด้วยตัวเลขของ GPP และ GPP per capita ที่สูงเป็นอันดับหนึ่งและสองของประเทศตลอดหลายปีที่ผ่านมา โดยมูลค่าอุตสาหกรรมของจังหวัดระยอง มีสัดส่วนถึง 15.17% ของอุตสาหกรรมทั้งประเทศ

          ด้วยการเป็นจังหวัดที่ตั้งมั่นของภาคอุตสาหกรรม ทำให้มีนิคมอุตสาหกรรมชั้นนำขนาดใหญ่หลายแห่ง ไม่ว่าจะเป็น นิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด, นิคมอุตสาหกรรม WHA ระยอง 36, นิคมอุตสาหกรรม WHA Eastern Seaboard, นิคมอุตสาหกรรมหลักชัยเมืองยาง, นิคมอุตสาหกรรมเอเชีย, นิคมอุตสาหกรรม Eastern Seaboard หรือ นิคมอุตสาหกรรมอมตะซิตี้ เป็นต้น

จังหวัดที่มีรายได้มากที่สุด 2564

          จำนวนนิคมอุตสาหกรรมชั้นนำหลายแห่งในจังหวัดระยองเหล่านี้ เป็นที่ตั้งของโรงงานจำนวนถึง 2,927 โรงงาน ซึ่งเป็นบริษัทที่มีมูลค่าเงินทุนรวมกันถึงประมาณ 834,600 ล้านบาท จำนวนพนักงานถึงประมาณ 187,600 คนโดยเป็นกลุ่มอุตสาหกรรมขนาดใหญ่และเป็นบริษัทข้ามชาติหลายประเภท  ได้แก่ อุตสาหกรรมการผลิต, อุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์โลหะ, อุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์ยานพาหนะ, ผลิตภัณฑ์พลาสติก, ผลิตภัณฑ์เคมีและเคมีภัณฑ์ และอื่น ๆ เป็นต้น ทำให้บุคลากรภายในโรงงานส่วนใหญ่ มักเป็นกลุ่มงานประเภทวิศวกรรมการผลิต,วิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม, ช่างเทคนิคและช่างชำนาญการ เป็นต้น

จังหวัดที่มีรายได้มากที่สุด 2564

          Terra Researchได้ทำการสำรวจประกาศหาตำแหน่งงานว่างในนิคมอุตสาหกรรม จังหวัดระยอง จำนวน 200 ตำแหน่ง พบว่าตำแหน่งที่เปิดรับ มีอัตราค่าจ้างเริ่มต้นสำหรับตำแหน่งงานทั่วไปอยู่ที่ 8,500 – 15,000 บาทต่อเดือน, ระดับพนักงานทั่วไป (Officer) อยู่ที่ประมาณ 18,000 – 25,000 บาทต่อเดือน, ระดับพนักงานระดับสูง (Supervisor) มีอัตราค่าจ้าง 30,000 – 50,000 บาทต่อเดือน โดยตำแหน่งส่วนใหญ่ได้แก่ วิศวกร, ช่างเทคนิค, ฝ่ายจัดซื้อ, การตลาด, ฝ่ายขาย, โปรแกรมเมอร์, ฝ่ายดูแลการผลิต, โลจิสติกส์ และล่ามแปลภาษาญี่ปุ่น, เกาหลี และจีน ซึ่งนับว่าเป็นอัตรารายได้ที่ใกล้เคียงกับกรุงเทพมหานครเลยทีเดียว

           แต่ถ้าหากเป็นบริษัทชั้นนำในนิคมอุตสาหกรรมในอุตสาหกรรมประเภทปิโตรเคมีและเคมีภัณฑ์, อุตสาหกรรมไฟฟ้าและโรงไฟฟ้า และอุตสาหกรรมการผลิตชิ้นส่วนรถยนต์ เช่น PTT Global Chemecal, PTT Asahi, PTT Phemol, TPE หรือ SCG บุคลากรในบริษัทเหล่านี้จะมีเงินเดือนโดยเฉลี่ยสูงถึง 58,000 บาทต่อเดือน และยังสวัสดิการ Housing Allowance อยู่ที่ประมาณ 15-30% ของฐานเงินเดือน หรือประมาณ 8,000-20,000 บาทต่อเดือนอีกด้วย

จังหวัดที่มีรายได้มากที่สุด 2564

          สำหรับจำนวนชาวต่างชาติที่เข้ามาในจังหวัดระยอง จากสถิติจำนวนคนต่างด้าวที่ได้รับอนุญาตทำงานคงเหลือทั่วราชอาณาจักร ประจำเดือนมิถุนายน 2564, กรมการจัดหางาน พบว่าตัวเลขของบุคลากรต่างชาติในจังหวัดระยอง ตามมาตรา 59 ประเภททั่วไป ที่ส่วนใหญ่จะมาทำงานในตำแหน่ง ผู้จัดการฝ่าย, ผู้ประกอบอาชีพด้านการสอน และผู้บริหาร มีจำนวน 1,559 คน และมาตรา 62 ประเภทส่งเสริมธุรกิจ ที่ส่วนใหญ่เข้ามาในตำแหน่ง ผู้จัดการฝ่าย, ช่างเทคนิค และผู้บริหารระดับสูง มีจำนวน 2,775 คน โดย 3 อันดับแรกเป็นชาวญี่ปุ่น, จีน, เกาหลี ทำให้ระยองเป็นจังหวัดที่มีบุคลากรต่างชาติเข้ามาทำงานมากที่สุดเป็นอันดับ 2 ของภาคตะวันออก รองจากจังหวัดชลบุรี โดยชาวต่างชาติกลุ่มนี้คืออีกหนึ่งดีมานด์คุณภาพในตลาดเช่าคอนโดมิเนียมและที่อยู่อาศัยในระยอง

ระยองเมืองที่รวยและยังสวย ด้วยศักยภาพด้านการท่องเที่ยว

          ระยอง ไม่เพียงแต่เป็นหมุดหมายยุทธศาสตร์ที่สำคัญในเชิงเศรษฐกิจด้านอุตสาหกรรมเท่านั้น แต่ในด้านการท่องเที่ยวเอง ระยองก็เป็นจังหวัดที่ทำได้ดีไม่แพ้กัน ทำให้ถ้าเปรียบระยองเป็นหญิงสาว คงเป็นหญิงสาวที่มีทั้งความมั่งคั่งทางทรัพย์สินและรูปโฉมเลยทีเดียว

จังหวัดที่มีรายได้มากที่สุด 2564
 

          ด้วยการเป็นเมืองติดทะเลและมีเกาะหลายแห่งที่ติดโผเกาะยอดนิยมของการท่องเที่ยว ทำให้ทะเลระยองกลายเป็นจุดหมายการท่องเที่ยวของทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติ ในช่วงปี 2558 – 2562 ตัวเลขจำนวนผู้เยี่ยมเยือนจังหวัดระยองเติบโตเฉลี่ย 5.10% โดยปี 2562 จังหวัดระยองมีผู้เยี่ยมเยือนรวม 7.87 ล้านคน เป็นชาวไทย 7.31 ล้านคน และชาวต่างชาติ 566,780 คนสร้างรายได้จากการท่องเที่ยวรวม 37,081 ล้านบาท แต่ในปี 2563 ที่มีวิกฤตโรคระบาดโควิด 19 เข้ามา ตัวเลขการท่องเที่ยวของระยองก็ปรับตัวลดลงเช่นเดียวกับพื้นที่อื่น ๆ ในประเทศไทย โดยมีผู้เยี่ยมเยือนรวม 3.12 ล้านคน เป็นชาวไทย 3 ล้านคน และชาวต่างชาติ 121,594 คน รายได้จากการท่องเที่ยวลดลงเหลือ 12,563 ล้านบาท

          พฤติกรรมของนักท่องเที่ยวที่เข้ามาในจังหวัดระยอง จากสถิติสถานการณ์ท่องเที่ยวภายในประเทศ เป็นรายจังหวัด พ.ศ. 2553 - 2562 สำนักงานปลัดกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา ปี 2562 โดยส่วนใหญ่นักท่องเที่ยวชาวไทยจะเข้ามาพำนักเป็นเวลา 2-3 วันต่อครั้ง ใช้จ่ายประมาณ 1,680.64 บาทต่อคนต่อวัน แต่นักท่องเที่ยวชาวต่างชาติจะใช้ระยะเวลาในการพำนักนานกว่า โดยมักอยู่ที่ 3 – 4 วันต่อครั้ง และใช้จ่ายประมาณ 1,781.12 บาทต่อคนต่อวัน อัตราการเข้าพักในจังหวัดระยองอยู่ที่ 69.91% มีจำนวนผู้เข้าพักทั้งหมด 4,303,480 คน โดยเป็นคนไทยจำนวน 3,949,238 คน และเป็นชาวต่างชาติ 354,242 คน โดยส่วนใหญ่เลือกพักในโรงแรม, รีสอร์ท, อพาร์ตเมนท์ เป็นต้น

ตลาดคอนโดมิเนียมในทำเลระยอง

          ตลอด 10 ปีที่ผ่านมา สถานการณ์คอนโดมิเนียมในทำเลระยองมี Supply โครงการใหม่เปิดตัวอย่างต่อเนื่อง โดยในปี 2556 มี Supply เข้ามาเป็นจำนวนมากจากการที่ Developer ทั้งรายเล็กรายใหญ่ได้มีขยายการลงทุนไปยังตลาดต่างจังหวัดมากขึ้น ระยองก็เป็นหนึ่งในจังหวัดที่บริษัทพัฒนาอสังหาฯมองเห็นศักยภาพ โดยในช่วง 2555-2557 มีราคาเปิดตัวเฉลี่ย 44,000-47,000 บาทต่อตารางเมตร จากนั้นระดับราคาเฉลี่ยค่อยๆ ปรับตัวขึ้นจนถึง 80,000 บาทต่อตารางเมตรในปัจจุบัน โดยราคาเปิดตัวโครงการใหม่เติบโตเฉลี่ยถึง 10% ต่อปีด้วยความเป็นเมืองอุตสาหกรรมที่มีนิคมฯ และแหล่งงานจำนวนมากมาย ความต้องการที่อยู่อาศัยในทำเลนี้จึงมีเข้ามาเรื่อยๆ และในปี 2564 นี้ก็มี Supply คอนโดโครงการใหม่เข้ามาในทำเลนี้อีกเกือบ 900 ยูนิตเลยทีเดียว

จังหวัดที่มีรายได้มากที่สุด 2564

        สำหรับสถานการณ์ตลาดคอนโดมือสองในทำเลระยองมีอัตราผลตอบแทนที่น่าสนใจเป็นอย่างมาก Rental Yield สูงเทียบเท่าเมืองเศรษฐกิจหลักอย่างกรุงเทพฯ เลยทีเดียวสามารถสร้างผลตอบแทนจากการปล่อยเช่า Rental Yield ได้ถึง 6%-8% ต่อปีจากการสำรวจอัตราค่าเช่าคอนโดที่ปล่อยเช่าในระยอง พบว่ามีอัตราค่าเช่าอยู่ที่ประมาณ 4,500-15,000 บาทต่อเดือน (170-420 บาท/ตร.ม./เดือน) ขึ้นอยู่กับขนาดและตำแหน่งของห้อง โดยส่วนใหญ่รูปแบบห้องที่นิยมปล่อยเช่าและสามารถปล่อยเช่าได้จะเป็นรูปแบบ 1 ห้องนอนขนาดตั้งแต่ 23-45 ตารางเมตร ราคาที่ปล่อยเช่าตั้งแต่ 6,000-11,000 บาทต่อเดือน Rental Yield เฉลี่ยของ 1 ห้องนอน 6%-9% ต่อปี ผลตอบแทนค่อนข้างสูงเทียบเท่าโซนสีลม-สาทรเลยทีเดียว รองลงมาคือห้องแบบ Studio ปล่อยเช่าได้ 4,500-6,000 บาทต่อเดือน สร้าง Rental Yield ได้ 5%-7.5% ต่อปี ผลตอบแทนเทียบเท่าโซนทองหล่อ-เอกมัยและ 2 ห้องนอน อัตราค่าเช่าต่อเดือนตั้งแต่ 7,700-15,000 บาท สร้าง Rental Yield ได้ 4.5%-7% ต่อปี ซึ่ง Yield ประมาณนี้เทียบเท่าโซนอโศกของกรุงเทพฯ เลยก็ว่าได้

        โซนที่ปล่อยเช่าแล้วได้รับผลตอบแทนดีคือโซนในเมืองของระยองที่อยู่ใกล้กับนิคมฯ มาบตะพุดรวมถึงโครงการคอนโดที่อยู่ติดถนนหลักซึ่งสะดวกต่อการเดินทางไปแหล่งงานนิคมฯของผู้เช่ากลุ่มลูกค้าที่มาเช่าส่วนใหญ่เป็นพนักงานบริษัทระดับสูงในนิคมฯ ต่างๆ ส่วนใหญ่คือพนักงานจากนิคมฯมาบตะพุด บริษัทในนิคมฯ นี้ อาทิ SCG, ปตท ฯลฯ เป็นต้น รวมถึงมีชาวต่างชาติ (Expat) ที่เข้ามาทำงานในนิคมฯ ซึ่งทางบริษัทผู้ว่าจ้างก็จะเช่าคอนโดให้อยู่อาศัย สำหรับนักท่องเที่ยวต้องบอกว่าไม่ใช่กลุ่มลูกค้าหลักที่มาเช่าคอนโด เพราะการมาเป็นครั้งคราวรวมถึงมาเป็นครอบครัวหลายคนก็จะไปเช่าเป็นบ้านมากกว่า

จังหวัดที่มีรายได้มากที่สุด 2564

         ด้วยความที่ระยองเป็นพื้นที่ที่ขับเคลื่อนเศรษฐกิจและเป็นแหล่งรวมอุตสาหกรรมบริษัทชั้นนำของไทยและต่างชาติมากมาย ซึ่งแน่นอนว่ากำลังซื้อของคนเหล่านี้ค่อนข้างสูงจากกลุ่มผู้บริหารของบริษัทหรือโรงงานต่างๆ พนักงานระดับสูง วิศวกร ฯ ทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติ ซึ่งพวกเขามักมองหาที่อยู่อาศัยระดับ High end ที่มาพร้อมการบริการทั้งแบบระยะสั้นและระยะยาว Service Apartment จึงเป็นอีกทางเลือกของคนเหล่านี้ ทางด้าน Supply ของตลาด Service Apartment ในทำเลนี้ก็มีอยู่พอสมควรทั้ง Segment ระดับ Economy class และ Main class ที่ราคาค่าเช่าพอๆกับคอนโด ส่วน Segment ระดับ Upper class ต้องบอกว่ามีไม่กี่แห่งในทำเลนี้ ซึ่งหากเทียบกับดีมานด์ศักยภาพสูงที่มีตอนนี้และที่กำลังจะเข้ามาในอนาคต ตลาด Upper class ยังมีช่องว่างทางการตลาดและโอกาสในการเติบโตได้อีก

         อัตราค่าเช่าแบ่งตามรูปแบบห้องพักที่คล้ายกับโรงแรมโดยห้องแบบ Standard ขนาด 28-45 ตร.ม. ปล่อยเช่าได้ตั้งแต่ 29,000-35,000 บาทต่อเดือน แบบ Superior ขนาด 28-70 ตร.ม. อัตราค่าเช่าต่อเดือนอยู่ที่ 33,000-44,000 บาท แบบ 1 ห้องนอน ขนาด 30-120 ตร.ม. ปล่อยเช่าที่ราคาตั้งแต่ 27,000-65,000 บาทต่อเดือน และ 2 ห้องนอน ขนาดตั้งแต่ 70-120 ตร.ม. ราคาที่ปล่อยเช่าได้มีตั้งแต่ 40,000-66,000 บาทต่อเดือนผลตอบแทนค่าเช่าของ Service Apartment ตลาด Upper class โซนระยองนี้เรียกได้ว่าสูงเลยทีเดียว

จังหวัดที่มีรายได้มากที่สุด 2564

          จากศักยภาพด้านการลงทุนของตลาดคอนโดและ Service Apartment ของทำเลระยองนี้ เชื่อว่าหลายคนคงเห็นโอกาสในการลงทุนแบบปล่อยเช่าเพราะจากผลตอบแทน Rental Yield ของคอนโดที่สูงไม่ต่างจากทำเลในกรุงเทพฯ รวมถึงตลาด Serviced Apartment ที่มีโอกาสทางการตลาดที่น่าลงทุนอีกทั้งทำเลระยองยังอยู่ไม่ไกลจากกรุงเทพฯ มากนัก การดูแลทรัพย์สินค่อนข้างสะดวกและง่าย รวมถึงเป็นการกระจายความเสี่ยงจากการลงทุนในกรุงเทพฯ ไปจังหวัดอื่นๆ นอกจากนี้หากไม่ได้ปล่อยเช่าแล้วก็เก็นไว้เป็นที่พักผ่อนตากอากาศได้อีกด้วย 

          ล่าสุดระยองกำลังจะมีคอนโดเปิดตัวใหม่มาในรูปแบบ Service Residences ที่อยู่อาศัยที่มาพร้อมการบริการที่เป็นมาตรฐานระดับโรงแรมพร้อมการบริหารและจัดการหาผู้เช่าให้จากทีมบริหารสินทรัพย์มืออาชีพ ประกอบกับศักยภาพของทำเล “ระยอง“ ที่เป็นเมืองอุตสาหกรรมหลักของประเทศ พื้นที่เศรษฐกิจที่มีเม็ดเงินสะพัดมากมายมหาศาล เป็นแหล่งงานและบริษัทชั้นนำหลากหลายแห่งซึ่งดึงดูด Demand ที่มีศักยภาพสูงทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติระดับผู้บริหาร พนักงานระดับสูงเข้ามาในทำเลตามมาซึ่งความต้องการในที่อยู่อาศัยอย่างแน่นอน“Service Residences ในทำเลระยอง“ จึงเป็นหนึ่งในตลาดที่ควรค่าแก่การลงทุนเป็นอย่างยิ่ง