ครบรอบ กรุงรัตนโกสินทร์ 2565

     กรุงเทพมหานคร เป็นเมืองที่มีประวัติศาสตร์มาอย่างยาวนานค่ะ และจากการสถาปนาเมืองหลวงใหม่ในปี พ.ศ.2325 ทำให้กรุงเทพฯ เป็นที่ตั้งของเมืองหลวงที่สำคัญก็คือ กรุงรัตนโกสินทร์ เพราะฉะนั้น เราจะชวนคนกรุงมา เที่ยวกรุงเทพ รำลึกกว่า 240 ปีของความเป็นมาในงาน ใต้ร่มพระบารมี 240 ปี กรุงรัตนโกสินทร์ The 240th Anniversary of the Foundation of Rattanakosin ซึ่งจะจัดขึ้นในวันที่ 20-24 เมษายน 2565 ที่ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร โรงละครแห่งชาติ และบริเวณพื้นที่รอบเกาะรัตนโกสินทร์ กันค่ะ

  • ประวัติ กรุงเทพมหานคร ที่มาของ บางกอก เมืองหลวงของไทย

เที่ยวกรุงเทพงาน ใต้ร่มพระบารมี 240 ปี กรุงรัตนโกสินทร์

     กระทรวงวัฒนธรรม ชวนกันเที่ยวงาน ใต้ร่มพระบารมี 240 ปี กรุงรัตนโกสินทร์ The 240th Anniversary of the Foundation of Rattanakosin "พระบารมีปกเกล้าทั่วหล้าปวงประชา" เที่ยววัด ไหว้พระ ยลวัง  สัมผัสบรรยากาศพิพิธภัณฑ์ยามค่ำ และ ชมการแสดง แสง สี เสียง อร่อยกับอาหารไทยต้นตำรับ เลือกซื้อผลิตภัณฑ์วัฒนธรรม และสินค้าธงฟ้าราคาประหยัด ใน 9 พื้นที่กิจกรรม ระหว่างวันที่ 20-24 เมษายน 2565 ที่ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร โรงละครแห่งชาติ บริเวณพื้นที่รอบเกาะรัตนโกสินทร์ ตามนี้เลยค่ะ 

ครบรอบ กรุงรัตนโกสินทร์ 2565

กิจกรรมภายในงาน ตามสถานที่ต่างๆ รอบเกาะรัตนโกสินทร์

  1. โซน ย้อนวันวาน ยลงานวัง ณ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร และโครงละครแห่งชาติ
    ลงทะเบียน และเลือกวันเข้าชมได้ที่ 
    21 เมษายน 2565
    22 เมษายน 2565
    23 เมษายน 2565
  2. โซน นั่งกินลม ชมมรดกวัฒนธรรม ณ สวนสันติชัยปราการ
  3. โซน เรียนรู้ความรุ่งเรืองของแผ่นดิน ณ นิทรรศน์รัตนโกสินทร์
  4. โซน เยาวชนสรรค์สร้างงานศิลป์ ณ หอศิลป์ร่วมสมัยราชดำเนิน
    ลงทะเบียนเข้าชมได้ที่ >> ลงทะเบียน
  5. โซน เที่ยวงานวัด ท่องวิถีชุมชน ณ วัดประยุรวงศาวาสวรวิหาร
  6. โซน ชวนย้อนวันวาน ชมมหรสพสมโภช ณ โรงมหรสพหลวงศาลาเฉลิมกรุง
    ลงทะเบียนเข้าชมได้ที่ >> ลงทะเบียน
  7. โซน เรืองโรจน์บารมีแห่งพระภูมินทร์ ณ วัดพระเชตุพนวิมลมัง
  8. โซน ปฐมบทแห่งแผ่นดินรัตนโกสินทร์ ณ ศาลหลักเมือง
  9. โซน เที่ยวยล ชมวัง ไหว้พระ ขอพร ณ พระบรมมหาราชวัง

====================

ไหว้พระ 9 วัด เกาะรัตนโกสินทร์

     นอกจากนี้ ภายในงานยังมีกิจกรรม ไหว้พระเสริมสิริมงคล เยี่ยมยลพิพิธภัณฑ์ ใต้ร่มพระบารมี 240 ปี กรุงรัตนโกสินทร์ ทั้งหมด 9 วัด ด้วยกัน เพื่อความเป็นสิริมงคลอีกด้วยค่ะ 

สถานที่จัดกิจกรรม ไหว้พระ เสริมสิริมงคล ทั้ง 9 วัด คือ

  • วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม
  • วัดราชประดิษฐสถิตมหาสีมาราม
  • วัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม
  • วัดบวรนิเวศวิหาร
  • วัดสุทัศนเทพวราราม
  • วัดชนะสงคราม
  • วัดราชนัดดาราม
  • วัดสระเกศ
  • วัดประยุรวงศาวาส

      ขั้นตอนการลงทะเบียนร่วมงาน ไหว้พระเสริมสิริมงคล เยี่ยมยลพิพิธภัณฑ์ ใต้ร่มพระบารมี 240 ปี กรุงรัตนโกสินทร์

  1. ผู้ร่วมกิจกรรมลงทะเบียนผ่านทาง Google Form >> https://bit.ly/3qnIpFf
  2. เมื่อลงทะเบียนเรียบร้อยให้แคปภาพยืนยันการลงทะเบียน
  3. แสดงภาพหน้าจอที่บันทึกไว้ และแสดงต่อเจ้าหน้าที่ ณ จุดคัดกรอง ก่อนขึ้นรถ

สถานที่จอดรถสำหรับผู้มาร่วมงาน

สนามหลวง (ฝั่งทิศเหนือ)

  • จอดรถได้ 300 คัน
  • เวลา 09.00-23.00 น.

กองสลากเก่า

  • จอดรถได้ 60 คัน
  • เวลา 09.00-23.00 น.

ราชนาวีสโมสร

  • จอดรถได้ 100-120 คัน
  • เวลา 09.00-23.00 น.

รายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ กระทรวงวัฒนธรรม และ TAT Bangkok

ที่เที่ยวกรุงเทพ ที่น่าสนใจอื่นๆ

  • อัพเดท 55 ที่เที่ยวกรุงเทพ เดินชิล ถ่ายรูปสวยในกรุงเทพ จูงมือแฟนเที่ยว ก็ดี ไปเที่ยวคนเดียว ก็ได้!
  • 7 สวนสาธารณะ กรุงเทพ เดินชิลรับอากาศบริสุทธิ์ เติมออกซิเจนบนพื้นที่สีเขียว
  • วัดประจำรัชกาล 1-10 ไหว้พระ 10 วัด 10 รัชกาล ในกรุงเทพ

อาณาจักรรัตนโกสินทร์ครบรอบกี่ปีในปีนี้

ครบรอบ กรุงรัตนโกสินทร์ 2565

อาณาจักรรัตนโกสินทร์ ครบรอบ 240 ในปี พ.ศ. 2565 นับจากผู้สถาปนากรุงรัตนโกสินทร์ คือ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช (รัชกาลที่ 1) ได้รับการสถาปนาเป็นปฐมบรมจักรีวงศ์ เมื่อวันที่ 6 เมษายน พ.ศ. 2325 พระองค์ทรงโปรดให้สร้างพระนครขึ้นใหม่ อยู่ฝั่งตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยา และพระราชทานเมืองชื่อว่า “กรุงเทพมหานคร อมรรัตนโกสินทร์ มหินทรายุธยามหาดิลก ภพนพรัตน์ราชธานีบูรีรมย์ อุดมราชนิเวศมหาสถาน อมรพิมานอวตารสถิต สักกทัตติยวิษณุกรรมประสิทธิ์”

อาณาจักรรัตนโกสินทร์แบ่งออกเป็น “รัตนโกสินทร์ตอนต้น” “รัตนโกสินทร์ตอนกลาง” และ “รัตนโกสินทร์ตอนปลาย”

รัตนโกสินทร์ตอนต้น ตรงกับรัชกาลที่ 1-3

ในช่วงสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น ตรงกับ พ.ศ. 2325-2394 ยุคการปกครองของพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช (รัชกาลที่ 1) พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย (รัชกาลที่ 2) และพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 3) สร้างราชธานีในพื้นที่เขตพระนคร และบริเวณใกล้เคียง โดยบริเวณพระบรมมหาราชวังจะเป็นที่ประทับของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และพระบรมวงศานุวงศ์ ผู้ที่อยู่อาศัยในกำแพงเมือง จะอยู่ในอาณาเขตประตูเมือง และป้อมปราการต่างๆ ที่มีคลองขุดอยู่โดยรอบ (คลองรอบกรุง) ได้แก่ คลองบางลำพู และคลองโอ่งอ่าง ส่วนบ้านเรือนราษฎรที่อยู่โดยรอบกำแพงเมืองจะทำเกษตรกรรม ตั้งแต่คลองมหานาคเป็นต้นไป

ประชากรในรัตนโกสินทร์ตอนต้นนั้นยังมีไม่มากเท่าช่วงรัตนโกสินทร์ตอนปลาย บ้านเรือนราษฎรยังอยู่โดยรอบพระบรมมหาราชวัง สิ่งที่ปฐมกษัตริย์ทรงฟื้นฟูคือขวัญกำลังใจของราษฎรและการสร้างวัดวังต่างๆ ให้กลับมาสมบูรณ์ วัดต่างๆ ที่อยู่ในเขตพื้นที่เดิมก็ได้รับการบูรณะ และข้าราชบริพารบางส่วนก็ร่วมทุนกันสร้างวัดใหม่ๆ ขึ้นมาในเขตพระนคร และยังคงอยู่จนถึงปัจจุบัน

สถานที่สำคัญที่มีมาแต่ยุครัตนโกสินทร์ตอนต้น ได้แก่ วัดพระแก้ว, วัดโพธิ์, วัดอรุณ, คลองรอบกรุง, ศาลหลักเมือง, กำแพงเมือง และประตูเมืองต่างๆ

ครบรอบ กรุงรัตนโกสินทร์ 2565
ศาลเจ้าพ่อหลักเมือง

ครบรอบ กรุงรัตนโกสินทร์ 2565
วัดชนะสงคราม

ครบรอบ กรุงรัตนโกสินทร์ 2565
ไหว้พระวัดโพธิ์

รัตนโกสินทร์ตอนกลาง ตรงกับรัชกาลที่ 4-6

ในช่วงสมัยรัตนโกสินทร์ตอนกลาง ตรงกับ พ.ศ. 2394-2468 ตรงกับรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 4), พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 5) และพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 6) ความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในยุคนี้คือการสร้างบ้านเมืองให้ทันสมัย นำเทคโนโลยีต่างๆ มาใช้กับสาธารณูปโภคพื้นฐาน รวมถึงฟื้นฟูศิลปวัฒนธรรมในสมัยอยุธยา และปรับระบอบการปกครองให้เหมาะสมกับการบริหารประเทศภาพรวม

การเปลี่ยนแปลงบนพื้นที่เกาะรัตนโกสินทร์ที่สำคัญในยุคนี้คือ การขยายที่อยู่อาศัยของประชาชน และขยับขยายวังต่างๆ ของพระบรมวงศานุวงศ์ออกมายังพื้นที่ส่วนอื่นของพระนคร เนื่องจากจำนวนประชากรเพิ่มขึ้น สถานที่สำคัญที่เกิดขึ้นในยุคนี้ เช่น วัดราชบพิธ, วัดบวรนิเวศราชวรมหาวิหาร, วัดประยุรวงศาวาส, วังปารุสกวัน, กระทรวงกลาโหม, ถนนราชดำเนิน, ตึกถาวรวัตถุ, ถนนหน้าพระธาตุ เป็นต้น

ครบรอบ กรุงรัตนโกสินทร์ 2565
หน้ากระทรวงกลาโหม

ครบรอบ กรุงรัตนโกสินทร์ 2565
อาคารนิทรรศการเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพรจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (ตึกถาวรวัตถุ) ถนนหน้าพระธาตุ

งานเฉลิมฉลองกรุงรัตนโกสินทร์ที่เกิดขึ้นในยุคนี้ คืองานสมโภชรัตนโกสินทร์ 100 ปี ตรงกับรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 5) ในวันที่ 21 เมษายน 2525

รัตนโกสินทร์ตอนปลาย ตรงกับรัชกาลที่ 7-รัชกาลปัจจุบัน

ในช่วงสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น ตรงกับ พ.ศ. 2468 ถึงปัจจุบัน ตรงกับรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 7) พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล (รัชกาลที่ 8) พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร (รัชกาลที่ 9) และ พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลปัจจุบัน

งานเฉลิมฉลองกรุงรัตนโกสินทร์ที่เกิดขึ้นในยุคนี้ คืองานสมโภชรัตนโกสินทร์ 150 ปี ตรงกับรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 7) ในวันที่ 4 เมษายน พ.ศ. 2475

ครบรอบ กรุงรัตนโกสินทร์ 2565
อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย เริ่มก่อสร้างเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2482

ครบรอบ กรุงรัตนโกสินทร์ 2565
เรือด่วนเจ้าพระยา โดยบริษัท เรือด่วนเจ้าพระยา จำกัด ก่อตั้งในปี พ.ศ. 2514

การเปลี่ยนแปลงที่สำคัญบนพื้นที่เกาะรัตนโกสินทร์ในยุคนี้ คือเริ่มมีตึกรามบ้านช่องของประชาชน รวมถึงร้านค้าต่างๆ มาเปิดตั้งบนเกาะรัตนโกสินทร์ ทำให้เกิดการบดบังพื้นที่ส่วนเดิมที่เคยสร้างไว้ตั้งแต่รัตนโกสินทร์ตอนต้น จึงมีประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง กำหนดบริเวณห้ามก่อสร้างหรือดัดแปลงอาคารบางชนิดหรือบางประเภท ในเขตกรุงรัตนโกสินทร์ชั้นใน และชั้นนอก เพื่อรักษาพื้นที่ดังเดิมให้คงความสวยงาม โดยมีข้อกำหนดเกี่ยวกับความสูงของอาคารที่สร้างใหม่ และการสร้าง ทาสี อาคาร สถานที่บนพื้นที่ดั้งเดิม (ประกาศ ณ วันที่ 11 ก.ค. 2563)

ไหว้พระรอบเกาะรัตนโกสินทร์ 2565 ในงานใต้ร่มพระบารมี 240 ปี

การจัดกิจกรรมฉลองกรุงรัตนโกสินทร์ 240 ในปี พ.ศ. 2565 มีชื่อว่า “ใต้ร่มพระบารมี 240 ปี กรุงรัตนโกสินทร์” (The 240th Anniversary of the Foundation of Rattanakosin)

ครบรอบ กรุงรัตนโกสินทร์ 2565

สถานที่กิจกรรม "ไหว้พระเสริมสิริมงคล เยี่ยมยลพิพิธภัณฑ์ ใต้ร่มพระบารมี 240 ปี กรุงรัตนโกสินทร์"
1 : วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม
2 : วัดราชประดิษฐสถิตมหาสีมาราม
3 : วัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม
4 : วัดบวรนิเวศวิหาร
5 : วัดสุทัศนเทพวราราม
6 : วัดชนะสงคราม
7 : วัดราชนัดดาราม
8 : วัดสระเกศ
9 : วัดประยุรวงศาวาส

กิจกรรมตามสถานที่ต่างๆ จำนวน 9 โซน

ครบรอบ กรุงรัตนโกสินทร์ 2565

1 : โซน ย้อนวันวาน ยลงานวัง ณ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร และโรงละครแห่งชาติ
2 : โซน นั่งกินลม ชมมรดกวัฒนธรรม ณ สวนสันติชัยปราการ
3 : โซน เรียนรู้ความรุ่งเรืองของแผ่นดิน ณ นิทรรศน์รัตนโกสินทร์
4 : โซน เยาวชนสรรค์สร้างงานศิลป์ ณ หอศิลป์ร่วมสมัยราชดำเนิน
5 : โซน เที่ยวงานวัด ท่องวิถีชุมชน ณ วัดประยุรวงศาวาสวรวิหาร
6 : โซน ชวนย้อนวันวาน ชมมหรสพสมโภช ณ โรงมหรสพหลวงศาลาเฉลิมกรุง
7 : โซน เรืองโรจน์บารมีแห่งพระภูมินทร์ ณ วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม
8 : โซน ปฐมบทแห่งแผ่นดินรัตนโกสินทร์ ณ ศาลหลักเมือง
9 : โซน เที่ยวยล ชมวัง ไหว้พระ ขอพร ณ พระบรมมหาราชวัง

ดูตารางจัดแสดงงาน ได้ที่นี่

ที่มา :
1. สำนักบรรณสารสนเทศ มสธ. [เว็บไซต์] สมโภชกรุงรัตนโกสินทร์. แหล่งที่มา : https://library.stou.ac.th/odi/som-pote-rat-ta-na-ko-sin/home.html [สืบค้นเมื่อ 21 เม.ย. 65]
2. กระทรวงวัฒนธรรม [เว็บไซต์] 8 เม.ย. 65. กระทรวงวัฒนธรรม ขอเชิญเที่ยวงาน "ใต้ร่มพระบารมี 240 ปี กรุงรัตนโกสินทร์". แหล่งที่มา : https://www.prd.go.th/th/content/category/detail/id/39/iid/87435 [สืบค้นเมื่อ 21 เม.ย. 65]

3. สมาคมสถาปนิกสยามในพระบรมราชูปถัมภ์ [เว็บไซต์] 11 ก.ค. 62. บริเวณห้ามก่อสร้างกรุงรัตนโกสินทร์และพื้นที่ต่อเนื่อง. แหล่งที่มา : https://asa.or.th/laws/news20190718/ [สืบค้นเมื่อ 21 เม.ย. 65]