การกําหนดราคาสินค้าและบริการ ตัวอย่าง

การตั้งราคาให้กับสินค้าหรือบริการของเราก็เป็นเรื่องที่สำคัญที่เราควรให้เวลากับมันในการหาข้อมูลมาตอบคำถามว่าราคาเท่าไหร่ที่เราควรให้มันเป็น เพราะมันจะส่งผลหลาย ๆ อย่างกับธุรกิจ และไม่มีลูกค้าคนไหนที่จะอยากจ่ายเงินให้กับสินค้าหรือบริการที่ตัวเองรู้ว่ามันแพงมากกว่าปกติ หรือบางครั้งลูกค้าก็กังวลว่าราคาของสินค้าหรือบริการที่ถูกเกินไปนั้นจะทำให้ไม่ได้คุณภาพ บทความนี้ก็เลยจะมาให้ขั้นตอนต่าง ๆ ที่คุณนำไปใช้ในการตั้งราคาสินค้าและบริการของคุณเอง

การกําหนดราคาสินค้าและบริการ ตัวอย่าง

1. คำนวณต้นทุนของคุณ

การคำนวณต้นทุนได้ครบถ้วนและแม่นยำจะช่วยให้คุณตั้งราคาที่ไม่ทำให้คุณขาดทุนในระยะยาว พยายามคำนวณทุกปัจจัยที่ใช้ในการดำเนินธุรกิจ คุณใช้อะไรบ้างในการสร้างสินค้าหรือบริการของคุณ ก่อนนำมาขายให้กับลูกค้า ตัวอย่างเช่น เวลา ค่าจ้างพนักงาน ภาษี หรือค่าเช่าที่ เป็นต้น

2. . เข้าใจตลาดเป้าหมายของคุณ

สำรวจและวิเคราะห์คู่แข่งของคุณ ดูว่าพวกเขาตั้งราคาเท่าไหร่ในสินค้าหรือบริการที่คุณภาพที่พอ ๆ กับของเรา รวมทั้งสำรวจและวิเคราะห์กลุ่มลูกค้า ดูว่าพวกเขาจ่ายไหวมากที่สุดที่ราคาเท่าไหร่ และคำนวณต้นทุนต่าง ๆ ในการดำเนินธุรกิจทั้งทางตรงและทางอ้อมให้ดี หลังจากนั้นเราก็มาตัดสินใจว่าจะตั้งราคาอย่างไร

3. เลือกวิธีการตั้งราคา

การตั้งราคาทำได้หลายวิธี เช่น ตั้งราคาอิงจากต้นทุน ตั้งราคาอิงจากราคาของคู่แข่งในท้องตลาด ตั้งตามคุณค่าของสินค้า(ตีเป็นมูลค่าที่ลูกค้าจะได้รับ) เป็นต้น

หรือใช้กลยุทธ์การตั้งราคา(Pricing Strategy Matrix)

การกําหนดราคาสินค้าและบริการ ตัวอย่าง

  • Skimming Pricing : การตั้งราคาที่สูงกว่าคุณภาพของสินค้า เพื่อเน้นกำไรมากกว่ายอดขาย และเริ่มลดราคาสินค้าลงในภายหลัง เหมาะกับสินค้าที่มีวงจรชีวิตผลิตภัณฑ์สั้น
  • Premium Pricing : การตั้งราคาสูงให้กับสินค้าคุณภาพสูง เพื่อสร้างภาพลักษณ์ที่สะท้อนความพิเศษของสินค้าและแบรนด์ที่มีคุณภาพ‍
  • Economy Pricing : การตั้งราคาต่ำให้กับสินค้าคุณภาพต่ำ เพื่อการแข่งขันแย่งชิงส่วนแบ่งการตลาด ‍
  • Penetration Pricing : การตั้งราคาต่ำให้กับสินค้าคุณภาพสูง เพื่อใช้ราคาในการดึงดูดลูกค้าใหม่ ๆ ให้มาซื้อสินค้าให้มากขึ้น และเริ่มขึ้นราคาให้เทียบเท่าคู่แข่งในภายหลัง

4. ใช้หลักจิตวิทยาเข้าช่วย

บางครั้งราคาเราอาจจะไม่สามารถแตกต่างจากคู่แข่งของเราได้มากนัก ลูกเล่นเหล่านี่ก็จะเข้ามาช่วยทำให้ราคาของเราดูน่าสนใจมากยิ่งขึ้น

  • ตั้งราคาให้ลงท้ายด้วยเลข 9 : ปกติเราอาจจะตั้งราคาที่ 100 บาท แต่ถ้าหากตั้งราคาเป็น 99 บาท มันก็จะช่วยให้สินค้าหรือบริการดูถูกลงมาได้
  • ตั้งราคาให้คำนวณง่าย : ปกติคุณอาจตั้งราคาที่ 5,432 บาท ลองตั้งให้เลขกลม ๆ ดูสิ 5,400 บาท ช่วยให้คนซื้อไม่เหนื่อยคำนวนราคา ซื้อง่ายขายคล่อง
  • ตั้งราคาให้จำนวนพยางค์น้อยกว่า : ปกติคุณอาจตั้งราคาที่ 27.75 บาท (ยี่-สิบ-เจ็ด-บาท-เจ็ด-สิบ-ห้า-สตางค์) ลองตั้ง 27.50 (ยี่-สิบ-เจ็ด-บาท-ห้า-สิบ-สตางค์) ช่วยให้ลูกค้าคิดน้อยลง
  • นำเสนอตัวเลขเป็นราคาต่อหน่วย : ปกติคุณอาจตั้งราคาที่ 500 บาท ซึ่งจะได้สินค้าจำนวน 10 ชิ้น คุณอาจจะนำเสนอตัวเลขว่า "ราคาเฉลี่ยตกเพียงชิ้นละ 50 บาทเท่านั้น"

5. หาจุดคุ้มทุน

หากคุณได้คำนวณต้นทุนจากค่าใช้จ่ายต่าง ๆ สำรวจราคาคู่แข่ง และตั้งราคาเบื้องต้นเป็นที่เรียบร้อย ลำดับต่อไปคือหาจุดคุ้มทุนที่จะเป็นตัวบอกคุณว่าคุณต้องขายมากน้อยแค่ไหนถึงจะทำให้คุณไม่ขาดทุนและทำให้คุณได้กำไร ถ้าหากคำนวณแล้วมันดูจะเป็นไปได้ยาก คุณควรกลับไปเริ่มขั้นตอนแรก ไม่ฉะนั้นคุณจะมีปัญหาตามมาอย่างแน่นอน

*ข้อแนะนำ : อัพเดทข้อมูลอยู่ตลอดเวลา

หมั่นสอดส่องคู่แข่งของคุณว่ามีการปรับเปลี่ยนอะไรหรือไม่ พูดคุยแลกเปลี่ยนกับลูกค้าของคุณเกี่ยวกับความคิดเห็นของพวกเขาในเรื่องของราคากับความคุ้มค่าที่พวกเขาได้รับกลับไป เพื่อคุณจะปรับตัวได้ทันสถานะการณ์ต่าง ๆ ของการแข่งขันในตลาดของคุณ

หากมีคำถามหรือข้อโต้แย้งสามารถคอมเมนต์แลกเปลี่ยนกันได้เลย หากชอบคอนเทนต์แบบนี้ฝากกดแชร์เพื่อเป็นประโยชน์กับเพื่อน ๆ ที่กำลังสนุกกับการทำธุรกิจแล้วเติบโตไปด้วยกัน

การตั้งราคาขายนับเป็นสิ่งที่ยากสำหรับคนที่เริ่มทำธุรกิจใดๆก็ตาม ตั้งแต่พ่อค้าแม่ค้าไปถึงธุรกิจขนาดเล็กจนถึงขนาดใหญ่ ในบทความนี้ได้รวมวิธีการตั้งราคาขายสินค้าที่สามารถเอาไปใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ และกลายเป็นเรื่องง่ายดาย

3 วิธีหลักในการตั้งราคา

  • การตั้งราคาแบบ Cost Plus หรือ การตั้งราคาจากต้นทุน
    ถือว่าเป็นวิธีเก่าแก่ที่ใช้กันอย่างแพร่หลายในการตั้งราคาขายสินค้า โดยเริ่มจากการหาต้นทุนที่ใช้ในการผลิตสินค้าที่ไม่ใช่แค่เพียงต้นทุนวัตถุดิบเท่านั้น แต่ต้องรวมค่าใช้จ่ายอื่นๆและบวกกำไรที่ต้องการเข้าไปด้วย เช่น ค่าวัตถุดิบ ค่าแรง ค่าบรรจุภัณฑ์ ค่าการตลาด นับเป็นวิธีที่มีความชัดเจนแบบตรงไปตรงมา โดยจุดต่าง ก็คือ ตัวกำไรซึ่งหากต้องการกำไรมากก็จะทำให้ราคาสินค้าสูงขึ้น อาจส่งผลให้ราคาขายสินค้าแพงเกินไปเมื่อเทียบกับสินค้าในตลาด

    ตัวอย่าง
    ค่าวัตถุดิบ + ค่าแรง + ค่าบรรจุภัณฑ์ + ค่าการตลาด รวมเป็น 60 บาท
    กำไร 20 บาท รวมเป็น 80 บาท

  • การตั้งราคาจากตลาด
    เป็นอีกหนึ่งวิธีที่เป็นที่นิยมด้วยการดูคู่แข่งในตลาดที่เป็นธุรกิจหรือสินค้าเดียวกัน และตั้งราคาขายที่เท่ากัน หรือใกล้เคียงกัน อาจจะมากกว่าหรือน้อยกว่าได้ซึ่งขึ้นอยู่กับต้นทุนและคุณภาพวัตถุดิบ วิธีการอ้างอิงจากตลาดถือว่าเป็นการตั้งราคาแบบมีประสิทธิภาพมากที่สุดวิธีหนึ่ง ซึ่งแม้ว่าจะเป็นวิธีที่ง่ายแต่ก็จำเป็นต้องดูที่ต้นทุนวัตถุดิบที่อาจทำให้ราคาขายแตกต่างกัน

  • การตั้งราคาจากลูกค้า
    วิธีที่ 3 เป็นวิธีที่ค่อนข้างยากในการตั้งราคาขายสินค้า แต่เป็นวิธีที่ตอบโจทย์การตั้งราคาสินค้ามากที่สุดเมื่อเทียบกับสภาพตลาดในปัจจุบัน ที่จำเป็นต้องมีการทำวิจัย การค้นหาข้อมูลจากกลุ่มลูกค้าถึงราคาขายสินค้าที่กลุ่มลูกค้ารู้สึกว่าเหมาะสมในการซื้อ

ทั้ง 3 วิธีเป็นวิธีการตั้งราคาขายสินค้าโดยพื้นฐานทั่วไปที่ใช้กัน โดยสามารถเลือกใช้วิธีใดวิธีหนึ่ง แต่ก็จำเป็นต้องนำทั้ง 3 วิธีมาผสมผสานใช้ร่วมกัน ที่จำเป็นต้องยึดตัวลูกค้าเป็นสำคัญ

นอกจากนี้ยังมีวิธีการตั้งราคาสินค้าแบบอื่นๆอีก เช่น

  • การตั้งราคาแบบทั่วๆไป ในกรณีที่สินค้าของเราไม่มีความแตกต่างจากตลาด
  • การตั้งราคาแบบผู้นำ ในกรณีที่สินค้าของเรามีจุดเด่นไม่เหมือนใคร หรือเราเป็นเจ้าเดียวในตลาด
  • การตั้งราคาแบบพรีเมี่ยม ในกรณีที่เรามั่นใจว่าสินค้าของเราสูงกว่ามาตรฐานอื่นๆในตลาด
  • การตั้งราคาแบบโปรโมชั่น หรือการที่บวกราคาเพิ่มเข้าไปก่อนตั้งแต่แรกแล้วนำเสนอโปรโมชั่นในแบบต่างๆเพื่อให้เห็นว่าเป็นราคาที่คุ้มค่า
  • การตั้งราคาแบบต่ำกว่าตลาด หรือการตั้งราคาสินค้าใดสินค้าหนึ่งให้ต่ำสุดๆเพื่อดึงดูดให้คนมาสนใจ แต่มีการทำกำไรจากสินค้าตัวอื่นๆ
  • การตั้งราคาเชิงจิตวิทยา หรือการใช้ตัวเลขที่มีผลทางจิตวิทยาของลูกค้ามากำหนดการตัดสินใจซื้อ เช่น 59,79, 99, 199

คุณค่า (Value) กับการกำหนดราคา

การกําหนดราคาสินค้าและบริการ ตัวอย่าง

หลักการตลาดที่ดีนั้นการกำหนดราคาต้องขึ้นอยู่กับคุณค่าที่ผู้บริโภคจะได้รับ ซึ่งโดยทั่วไปแล้วคำว่า คุณค่า (Value) หมายถึง ประโยชน์ด้านการเงินที่ลูกค้าสามารถประหยัดได้ และความพึงพอใจที่ลูกค้าได้รับจากสินค้าหรือบริการ แต่หากเป็นในทางเศรษฐศาสตร์จะหมายถึง คุณค่าจากการใช้งานหรือประโยชน์จากสินค้าหรือบริการที่เราซื้อ รวมคุณค่าจากการแลกเปลี่ยน เช่น ราคาสินค้าร้าน A สูงกว่าร้าน B อยู่ 10 บาท แต่ร้านค้าอยู่ใกล้บ้านมากกว่า ซึ่งช่วยให้ประหยัดเวลาการเดินทางได้ การตั้งราคาสินค้าด้วยคุณค่านั้นจำเป็นต้องตั้งคำถามเหล่านี้ประกอบกัน

> ราคาที่ตั้งนั้นคุ้มค่ากับคุณค่าที่จะได้รับจากสินค้าและบริการหรือไม่
> เราจะสื่อสารคุณค่าของสินค้าและบริการอย่างไร
> เราจะจูงใจให้ลูกค้าหันมามองคุณค่าสินค้าและบริการของเราอย่างไร
> เราจะทำให้สินค้าและบริการมีคุณค่าที่ดีกว่าตลาดกลุ่มนั้นๆได้อย่างไร
> เราจะสร้างกำไรให้มากที่สุดจากการขาย หรือการแบ่งส่วนตลาดได้อย่างไร
> เครื่องมือทางการตลาดอะไรที่เราควรนำมาใช้ ในราคาต้นทุนต่ำ

การผลิตสินค้าที่มีคุณค่าโดยการยึดลูกค้าเป็นสำคัญ (Customer Driven) ธุรกิจจำเป็นต้องเข้าใจความต้องการของลูกค้าอย่างแท้จริง เพื่อผลิตสินค้าที่ตรงตามความต้องการ สินค้าที่ผลิตขึ้นมานั้นต้องมีความพิเศษอย่างใดอย่างหนึ่งที่แตกต่างจากสินค้าที่มีอยู่ในตลาด สินค้าต้องส่งผลให้ลูกค้ามีสุขภาพชีวิตที่ดีขึ้น คุณภาพก็ต้องอยู่ในระดับที่ได้มาตรฐานขึ้นไป และที่สำคัญธุรกิจต้องแสดงถึงความจริงใจในทุกๆด้าน

ธุรกิจใดสามารถนำนวัตกรรม (Innovation) และเทคโนโลยีใหม่ๆมาใช้ในกระบวนการผลิต หรือแม้แต่ผลิตออกมาเป็นสินค้าก็จะมีต้นทุนที่สร้างคุณค่าให้กับลูกค้ามากกว่าคู่แข่งอื่นๆในตลาด โดยผลของนวัตกรรมนั้นต้องสะท้อนจากการยึดความต้องการของตัวลูกค้าเป็นหลัก มีการใส่ความคิดสร้างสรรค์ลงไปในตัวสินค้า และเป็นสิ่งที่ยังไม่มีใครทำมาก่อน คุณค่าจะยิ่งเพิ่มมากขึ้นหากสินค้านั้นมีคุณค่ากับสังคม ชุมชน รวมถึงสิ่งแวดล้อม และต้องมีความรวดเร็วลดเวลาและขั้นตอนการทำงานให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น


ปัจจัยที่มีผลต่อการรับรู้คุณค่าของผู้บริโภค

ในการทำธุรกิจเพื่อนำเสนอคุณค่าที่แท้จริงให้กับผู้บริโภค ธุรกิจจำเป็นต้องเข้าใจปัจจัยที่สร้างผลกระทบต่อการรับรู้คุณค่าของผู้บริโภค เพื่อนำไปพิจารณาในการตั้งราคาด้วยการยึดคุณค่าเป็นหลัก โดยมีผลกระทบอยู่ 9 อย่างด้วยกัน