อุทยานประวัติศาสตร์คืออะไร

            อาณาจักรสุโขทัยเริ่มต้นประวัติศาสตร์โดยมีหลักฐานชัดเจนในสมัยพ่อขุนศรีอินทราทิตย์(พ่อขุนบางกลางหาว พ.ศ.1781 - 1822) ต่อมาอาณาจักรสุโขทัยเจริญรุ่งเรืองสูงสุดในรัชสมัยของพ่อขุนรามคำแหงมหาราช อำนาจของอาณาจักรสุโขทัยในช่วงรัชสมัยของพระองค์มีความมั่นคงจาก ทรงแผ่อาณาเขตออกไปโดยรอบ วัฒนธรรมไทยได้เจริญขึ้นทุกสาขา ดังปรากฎในศิลาจารึกหลักที่ 1 ซึ่งเจริญ ทั้งด้านประวัติศาสตร์ การสงคราม ภูมิศาสตร์ กฎหมาย ประเพณี การปกครอง การเศรษฐกิจ การสังคม ปรัชญา พระพุทธศาสนา การประดิษฐ์อักษรไทย ราชวงศ์พ่อขุนศรีอินทราทิตย์ (พระร่วง หรือ สุโขทัย) ได้ปกครองอาณาจักรสุโขทัยสืบต่อมาเป็นเวลา 200 ปี ก็ถูกรวมเข้ากับ อาณาจักรอยุธยา 

            ผังเมืองสุโขทัยมีลักษณะเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า มีความยาวประมาณ 2 กิโลเมตร กว้างประมาณ 1.6 กิโลเมตร มีประตูเมืองอยู่ตรงกลางกำแพงเมืองแต่ละด้าน ภายในยังเหลือร่องรอยพระราชวัง และวัดมากถึง 26 แห่ง วัดที่ใหญ่ที่สุดคือวัดมหาธาตุ อุทยานประวัติศาสตร์แห่งนี้ ได้รับการบูรรปฏิสังขรณ์โดยกรมศิลปากร ซึ่งได้รับความช่วยเหลือจากองค์การยูเนสโก มีผู้เยี่ยมชมหลายแสนคนต่อปี นักท่องเที่ยวสามารถเดินเท้า นั่งรถราง หรือ ขี่จักรยาน เที่ยวชมได้อย่างสะดวกปลอดภัย

            ในวันที่ 12 ธันวาคม พ.ศ.2534 องค์การยูเนสโก ได้ประกาศให้อุทยานแห่งนี้เป็นแหล่งมรดกโลก ร่วมกับอุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร และ อุทยานประวัติศาตร์ศรีสัชนาลัย ภายใต้ชื่อว่า “เมืองประวัติศาสตร์สุโขทัยและเมืองบริวาร” (Historic Town of Sukhothai and Associated Historic Towns) เนื่องจากหลักฐานที่ปรากฎแสดงให้เห็นถึงผลงานทางสถาปัตยกรรมที่โดดเด่นนับเป็น ตัวแทนของศิลปกรรมไทยยุคแรก และเป็นต้นกำเนิดของการสร้างประเทศไทย

นักท่องเที่ยวสามารถเที่ยวชมได้ ๓ วิธี คือ เดินเท้า ปั่นจักรยาน และ การนั่งรถรางไฟฟ้า โดยทางอุทยานฯ มีรถจักรยานให้เช่าด้วย นอกจากนี้ หน้าโบราณสถานที่ขึ้นทะเบียนแต่ละแห่งยังมีป้าย OR Code สำหรับผู้ใช้สมาร์ทโฟน สามารถสแกนเข้าไปอ่านเรื่องราวเพิ่มเติมได้ มีให้เลือก ๔ ภาษา ได้แก่ ไทย จีน ญี่ปุ่น และฝรั่งเศส

เมืองสุโขทัย ก่อตั้งขึ้นราวกลางพุทธศตวรรษที่ ๑๘ สันนิษฐานว่าสุโขทัยในยุคแรกได้รับอิทธิพลของศิลปะแบบขอมจากละโว้หรือลพบุรี ต่อมายกฐานะเป็นราชธานี โดยมีพ่อขุนบางกลางหาว หรือพ่อขุนศรีอินทราทิตย์ เป็นปฐมกษัตริย์ เป็นจุดเริ่มต้นอาณาจักรแห่งแรกของไทย ราวปี ๑๗๙๒ อาณาจักรสุโขทัยรุ่งเรืองถึงขีดสุดในสมัยพ่อขุนรามคำแหง กษัตริย์องค์ที่ ๓ บันทึกในศิลาจารึกบอกถึงเขตอาณาจักรอันกว้างขวาง ทิศเหนือจดเมืองแพร่ น่าน หลวงพระบาง ทิศใต้จดเมืองนครศรีธรรมราช ทิศตะวันออกจดเมืองเวียงจันทน์ และทิศตะวันตกจดเมืองหงสาวดี การปกครองเป็นระบบ พ่อปกครองลูก เอื้อสิทธิเสรีภาพให้ประชาชน

จุดเด่นของผังเมืองสุโขทัยคือระบบชลประทาน เป็นระบบที่กระจายน้ำเพื่อการทำเกษตรกรรม อุปโภค บริโภคให้ชาวเมืองได้อย่างทั่วถึง และยังสามารถช่วยระบายน้ำเอ่อล้นช่วงหน้าน้ำหลากได้ดีเช่นกัน ในช่วงการปกครองของพ่อขุนรามคำแหงชาวเมืองสุโขทัยมีความเป็นอยู่อย่างสงบร่มเย็น ด้วยพระองค์ทรงมีความเอาใจใส่ทำนุบำรุงศาสนาอย่างเต็มที่ สังเกตจากลักษณะพระพักตร์ของพระพุทธรูปที่สร้างขึ้น ส่วนใหญ่จะมีพระโอษฐ์ยิ้ม สะท้อนเอกลักษณ์ของยุคสมัย และจำนวนวัดวาที่ถูกสร้างขึ้นอย่างมากมาย เมื่อปี ๒๕๓๔ องค์การยูเนสโกได้ประกาศให้อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัยเป็นแหล่งมรดกโลกร่วมกับอีก ๒ แห่ง ได้แก่ อุทยานประวัติศาสตร์ศรีสัชนาลัย และอุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร ภายใต้ชื่อว่า “เมืองประวัติศาสตร์สุโขทัยและเมืองบริวาร”

เที่ยวชมวัด ย้อนรอยสุโขทัยก่อนยุคราชธานี

ปั่นจักรยานย้อนกลิ่นอายความเป็นมาตั้งแต่ยุคเริ่มต้น ที่ วัดพระพายหลวง และ วัดศรีชุม  ซึ่งตั้งอยู่ด้านนอกกำแพงเมืองทางทิศเหนือ เป็นจุดเริ่มต้นของชุมชนก่อนที่จะสถาปนาเป็นอาณาจักรสุโขทัย จุดเด่นของวัดพระพายหลวง คือ เป็นศาสนาสถานที่มีองค์ประธานเป็นพระปรางค์แบบขอม ๓ องค์ ปัจจุบันเหลือเพียงพระปรางค์องค์เหนือ มีหลักฐานลวดลายปูนปั้นที่คล้ายกับพระปรางค์วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ ลพบุรี สื่อถึงการถ่ายทอดทางวัฒนธรรมขอมสู่สุโขทัยผ่านอาณาจักรละโว้ซึ่งริเริ่มก่อตั้งสุโขทัยขึ้นมา

จากวัดพระพายหลวง มีทางเชื่อมต่อมาถึงวัดศรีชุม คำว่า ศรี มาจากภาษาถิ่นดั้งเดิมว่า สะหลี แปลว่าต้นโพธิ์ ดังนั้นวัดศรีชุมจึงคาดว่าน่าจะหมายถึงวัดที่ตั้งอยู่ในดงต้นโพธิ์ ต่อมาในสมัยอยุธยาเพี้ยนมาเป็นวัดฤาษีชุม เป็นวัดแห่งเดียวในเมืองสุโขทัยที่มีมณฑปศิลปะพุกาม จุดที่น่าสนใจคือมีอุโมงค์เจาะเป็นช่องลึกเข้าไปในผนัง บนเพดานของอุโมงค์มีภาพจารลายเส้นวาดบอกเล่าเรื่องราวพุทธชาดกด้วยอักษรสุโขทัย โดยอุโมงค์นี้เจาะเชื่อมเป็นทางเดินขนาดพอดีตัวคนวนถึงรอบมณฑปซึ่งเป็นที่ ประดิษฐาน พระอจนะ พระพุทธรูปปางมารวิชัยขึ้นดินฉาบปูนองค์ใหญ่ ลักษณะสกุลช่างสุโขทัย จุดเด่นคือ พระพักตร์รูปไข่ หากลองมองไล่ตั้งแต่ฐานพระไปจนถึงพระเศียรจะพบกับยอดมณฑปด้านบนที่ไม่มีหลังคารวมถึงภาพของกรอบสี่เหลี่ยมหยักมุมที่ล้อมองค์พระ มีท้องฟ้าสีฟ้าสดเป็นฉากหลังสวยงามรับกันอย่างน่าประทับใจ ถือเป็นจุดต้องห้ามพลาดมาชม

สู่ยุครุ่งเรือง เมืองหลวงของอาณาจักรสุโขทัย

ภายในเขตกำแพงเมือง คือที่ตั้งชุมชนแห่งใหม่หลังเริ่มต้นการสถาปนาเมืองสุโขทัยเป็นราชธานี มีวัดสำคัญคือวัดมหาธาตุ ตั้งอยู่เกือบกึ่งกลางเมือง เปรียบเสมือนพระอารามหลวง มีพื้นที่กว้างขวางที่สุดในบรรดาวัดทั้งหมด มีเจดีย์กว่า ๒๐๙ องค์ เจดีย์ประธานเป็นสถาปัตยกรรมแบบสุโขทัยแท้ ทรงดอกบัวตูม หรือ ทรงพุ่งข้าวบิณฑ์ ภายในแกนกลางบรรจุพระบรมสารีริกธาตุของพระพุทธเจ้า ล้อมรอบทั้งสี่ทิศด้วยเจดีย์ขนาดเล็ก จุดที่น่าสนใจคือเหนือซุ้มวงโค้ง (ซุ้มจระนำ) ของพระปรางค์องค์หน้าสุด มีรูปปูนปั้นตอนพระนางสิริมหามายากำลังโน้มกิ้งสาละเพื่อประสูติเจ้าชายสิทธัตถะ ลายผ้านุ่งที่ปรากฎในปูนปั้น ปัจจุบันนำมาประยุกต์เป็นลวดลายบนเครื่องแต่งกายสำหรับฟ้อนรำสุโขทัย

นอกจากนี้ยังมีวัดเด่นๆ อยู่ไม่ไกลกัน เช่น วัดศรีสวาย เป็นศาสนสถานของพราหมณ์ ลักทธิไศวะนิกาย รูปแบบปราสาทขอม ๓ องค์ เป็นวัดเพียงแห่งเดียวที่หันหน้าไปทางทิศใต้ สันนิษฐานประการแรกว่าเพื่อการสักการะเมืองละโว้ (ลพบุรี) ซึ่งเป็นเมืองแม่ ศูนย์กลางอารยธรรมขอมในขณะนั้นประการที่สอง คือเพื่อหันไปทางแนวเขาหลวง ภูเขาศักดิ์สิทธิ์ที่ชาวเมืองเชื่อว่าเป็นที่สถิตของเทวดาและหมู่ผีที่ปกปักรักษาเมืองคำว่า สวาย แปลว่า มะม่วง บ่งบอกว่าวัดนี้ตั้งอยู่ในดงมะม่วง ซึ่งรอบบริเวณก็ยังมีต้นมะม่วงป่าต้นสูงใหญ่ แผ่กิ่งก้านแตกใบเป็นพุ่มราวตัดแต่งดูแปลกตา

ตระพังทั้ง ๔ มาจากคำว่า ตระเปรียง ในภาษาขอมโบราณ แปลว่าสระน้ำ ตามหลักศิลาจารึกระบุว่าภายในกำแพงเมืองมีตระพังใหญ่ ๔ แห่ง เป็นแหล่งน้ำกินน้ำใช้จากการรองน้ำฝนและรับน้ำจากคูเมืองผ่านทางเชื่อมใต้ดิน ทุกตระพังล้อมรอบวัดและอุโบสถไว้ตรงกลาง วัดตระพังทั้ง ๔ ได้แก่ วัดสระศรี (ตระพังตระกวน) วัดตระพังเงิน วัดตระพังทอง และวัดตระพังสอ

ก่อนกลับแวะสักการะ อนุสาวรีย์พ่อขุนรามคำแหง รูปหล่อพระองค์ท่านประทับบนพระแท่น ถัดลงมาด้านล่างเยื้องไปด้านข้างมีหลักศิลาจารึก และเมื่อเดินเข้ามาจะพบระฆังร้องทุกข์ที่สร้างจำลองไว้ตรงด้านหน้า เชื่อว่าถ้าลั่นระฆังแล้วขอพรจากพ่อขุมรามคำแหง เสมือนหนึ่งลูกมาพึ่งพ่อจะนำมาซึ่งความเป็นสิริมงคล

ก๋วยเตี๋ยวสุโขทัย มีเอกลักษณ์ด้วยเครื่องเคราแสนอร่อยอย่างเนื้อหมูชิ้น หมูสับเครื่องในลวก หมูแดงฝานเป็นผ่านบางๆ ถั่วฝักยาวหั่นแฉลบ โรยถั่วลิสงคั่วไชโป๊วฝอย ที่เมื่อคลุกเคล้ากันแล้วมีรสชาติหวานนำเล็กน้อย แต่อร่อยกำลังดี สั่งได้ทั้งแบบน้ำและแห้ง ถ้าอยากชิมรสชาติดั้งเดิมต้องสั่งก๋วยเตี๋ยวเส้นเล็กเท่านั้น

เครื่องสังคโลก เป็นชื่อเรียกเครื่องปั้นเคลือบที่ผลิตขึ้นในสุโขทัย มีความรุ่งเรืองราวพุทธศตวรรษที่ ๑๙ – ๒๒ ซึ่งเป็นช่วงที่สุโขทัยอยู่ภายใต้อำนาจของอยุธยา โดยเป็นแหล่งผลิตใหญ่สำหรับการส่งออกไปดินแดนใกล้เคียง เช่น เกาะชวา เกาะสุมาตรา เกาะบอร์เนียว เกาะเซบู เกาะมินดาเนา ในคาบสมุทรเกาหลี และญี่ปุ่น ลักษณะเด่นของเครื่องสังคโลกคือ การเขียนลายลงบนดินขึ้นรูปที่เผาแล้ว ก่อนนำไปเคลือบ เรียกว่า การเขียนใต้เคลือบ และนำไปเผาอีกครั้งด้วยความร้อนสูง จนได้ออกมาเป็นวัตถุเคลือบใสทับบนสี ไม่หลุดร่อน แตกลายงาทั่วพื้นผิวเป็นเอกลักษณ์จำเพาะ มักผลิตเป็นภาชนะ หม้อ ไห ตุ๊กตา หรือชิ้นส่วน ประดับอาคาร

ศรีสัชนาลัย เมืองอุปราช หรือ เมืองลูกหลวงชั้นต้น อีกทั้งยังเรียกในชื่อ ราชธานีแฝด และ ศรีสัชนาลัยสุโขทัย ตามที่ปรากฏในหลักศิลาจารึก มีความเจริญควบคู่กันมากับสุโขทัย รุ่งเรืองด้านการผลิตเครื่องสังคโลกดังปรากฏหลักฐานของกลุ่ม เตาทุเรียง เตาเผาสังคโลกแบบโบราณตั้งกระจายตัวไปตามริมฝั่งแม่น้ำยม ที่บ้านเกาะน้อย อำเภอศรีสัชนาลัย ในปัจจุบัน

ศรีสัชนาลัย แปลว่า เมืองอันเป็นที่อยู่ของคนดี เดิมศูนย์กลางของเมืองตั้งอยู่ช่วงแหลมโค้งข้อศอกของแม่น้ำยมทางทิศใต้ ห่างจากกำแพงเมืองประมาณ ๑.๙ กิโลเมตร เรียกว่า เมืองเชลียง มีหลักฐานว่าตั้งอยู่ก่อนที่เมืองสุโขทัยเป็นราชธานี แต่เนื่องจากลักษณะภูมิประเทศเป็นเหมือน กระเพาะหมู หรือ ขดหอยสังข์ มีแม่น้ำยมล้อมตีโอบพื้นที่ไว้ตรงกลางคล้ายถุง เป็นเหตุให้ต้องย้ายชัยภูมิเพราะไม่สามารถขยายเมืองออกไปทางใดได้ และด้วยการสันนิษฐานว่าเมืองเชลียงนี้เป็นปลายทางของเส้นทางอารยธรรมขอมแบบบายน ดังนั้นโบราณสถานต่างๆ จึงมีลักษณะพื้นฐานของศิลปะขอม เช่น การใช้ศิลาแลง การสร้างองค์พระปรางค์ การออกแบบลวดลายต่างๆ ก่อนจะผสมผสานศิลปะสุโขทัยเข้ามาภายหลัง

ด้วยร่องรอยอารยธรรมที่ยาวนาน ประกอบกับความเลื่อมใสในพระพุทธศาสนาของพญาลิไท ผู้ครองเมืองในขณะนั้น จึงทำให้เมืองศรีสัชนาลัยมีวัดและสิ่งก่อสร้างทางศาสนาจำนวนมาก โดยอุทยานประวัติศาสตร์ศรีสัชนาลัยมีโบราณสถานรวมทั้งสิ้น ๒๘๓ แห่ง

อุทยานประวัติศาสตร์ศรีสัชนาลัย ซึ่งได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลก พร้อมกับอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย และอุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร โดยอุทยานฯ ได้จัดระเบียบให้เป็นพื้นที่โลว์คาร์บอน เปิดให้นักท่องเที่ยวเข้าชมภายในกำแพงเมืองด้วยการเดินเท้า ปั่นจักรยาน หรือนั่งรถรางไฟฟ้า ภายในศูนย์บริการนักท่องเที่ยวมีการจัดแสดงนิทรรศการขนาดย่อม บอกเล่าเรื่องราวและความเป็นมาของเมืองศรีสัชนาลัย มีสื่อความรู้ เช่น แผ่นผับข้อมูล แผนที่ภายในอุทยานฯ ป้าย QR Code ที่สามารถใช้สมาร์ทโฟนสแกนเข้าไปดูข้อมูลโบราณสถานต่างๆ ได้ถึง ๕ ภาษา ได้แก่ ไทย อังกฤษ จีน ญี่ปุ่น และฝรั่งเศส

ผังเมืองศรีสัชนาลัยมีลักษณะเป็นรูปสี่เหลี่ยม มีกำแพงเมือง ๓ ชั้นเช่นเดียวกับสุโขทัย คือเป็นคันดินสลับคูน้ำ ชั้นในสุดก่อด้วยศิลาแลง สร้างเลียบแม่น้ำยม ประตูที่ใช้เป็นทางเข้าออกหลัก คือ ประตูรามณรงค์ จากด้านหน้าศูนย์บริการนักท่องเที่ยวปั่นจักรยานไปบนทางที่ปูด้วยอิฐ ข้ามคูเมืองเก่าไปสู่กำแพงเมืองที่ซ่อนตัวอยู่ภายใต้แมกไม้ ให้บรรยากาศราวกับย้อนยุคไปสู่ห้วงเวลาของอดีต พื้นที่ภายในกำแพงเมืองได้รับการดูแลให้เป็นพื้นที่สีเขียว เต็มไปด้วยต้นไม้ใหญ่ให้ร่มเงาเย็นสบาย ถนนภายในอุทยานฯ สะอาดสะอ้าน มีที่ทิ้งสิ่งปฎิกูลวางกระจายตามจุดต่างๆ อย่างเป็นระเบียบ มีป้ายอธิบายข้อมูลด้านหน้าโบราณสถานแต่ละแห่ง พร้อมทั้งข้อปฏิบัติในการเที่ยวชม โดยเฉพาะเรื่องการเรียงหินบนโบราณสถาน เจ้าหน้าที่เน้นย้ำว่าเป็นการทำลายทัศนียภาพ ซึ่งไม่ใช่วัฒนธรรมที่ถูกต้อง อีกทั้งยังอาจทำให้หินล้มลงมาแตกหักได้ หากเจ้าหน้าที่พบเห็น จะมีการเข้าไปชี้แจงให้เกิดความเข้าใจ

วัดในเขตกำแพงเมืองที่โดดเด่นคือ วัดช้างล้อม วัดเจดีย์เจ็ดแถว และวัดนางพญา เริ่มด้วย วัดช้างล้อม ตั้งอยู่เกือบกึ่งกลางเมือง เป็นวัดที่สวยงามขึ้นชื่อด้วยเอกลักษณ์ปูนปั้นรูปช้างเต็มตัว ๓๙ เชือก สร้างล้อมรอบเจดีย์ทรงระฆังแบบลังกา ระหว่างช้างแต่ละเชือกขั้นสลับด้วยเสาประทีปสำหรับวางคบไฟ ช้างเชือกที่อยู่ตรงหัวมุมทั้ง ๔ ด้านมีขนาดใหญ่กว่าและต่างจากช้างบริวารทั้งหมด เรียกว่า ช้างทรงเครื่อง เนื่องด้วยประดับลายปูนปั้นที่คอ ต้นขา และข้อเท้าอย่างงดงาม

นักวิชาการบางคนสันนิษฐานว่าวัดช้างล้อมน่าจะเป็นวัดที่ปรากฏในหลักศิลาจารึกหลักที่ ๑ ซึ่งระบุว่า พ่อขุนรามคำแหงมีพระราชลดำริให้ขุดพระธาตุขึ้นมาบูชา แล้วนำมาฝังลงที่เมืองศรีสัชนาลัยแล้วก่อพระเจดีย์ทับไว้ สำหรับส่วนที่เป็นช้างล้อมสันนิษฐานว่าบูรณะเพิ่มเติมขึ้นมาในสมัยพญาลิไท ทางด้านหลังวัดช้างล้อมมีอีก ๒ วัด คือวัดเขาพนมเพลิง และวัดเขาสุวรรณคีรี ตั้งอยู่บนยอดเขา ต้องเดินขึ้นบันไดศิลาแลงอีก ๑๑๔ ขั้น

ด้านหน้าวัดช้างล้อมคือ วัดเจดีย์เจ็ดแถว เดิมทีเรียกตามการประเมินจำนวนองค์เจดีย์ด้วยสายตาของชาวบ้านละแวกนั้นว่าน่าจะแบ่งได้เป็น ๗ แถว แต่ต่อมาเมื่อได้รับการบูรณะ พบว่าแบ่งออกเป็น ๙ แถว แต่ไม่ได้มีการเปลี่ยนชื่อแต่อย่างใด วัดนี้ถือเป็นศูนย์รวมรูปแบบศิลปะที่ได้รับอิทธิพลจากดินแดนต่างๆ เช่น ล้านนา ลังกา พุกาม โดยมีเจดีย์ประธานเป็นทรงพุ่มข้าวบิณฑ์ตามรูปแบบสุโขทัย

ด้านหลังเจดีย์ประธานมีเจดีย์ทางปราสาทรูปแบบล้านนาที่มีพระพุทธรูปปางนาคปรกที่ยังคงสภาพสมบูรณ์ ลวดลายปูนปั้นนั้นชัดเจน ยกเว้นส่วนเศียรพระที่ชำรุดและกรมศิลปากรซ่อมแซมขึ้นมาใหม่ นอกจากนี้ภายในยังประดิษฐานพระพุทธรูปยืนปูนปั้น มีภาพจิตรกรรมวาดด้วย สีเอกรงค์ คือใช้สีแดงวาดแล้วตัดเส้นด้วยสีดำ เป็นภาพพระพุทธเจ้าและมีเหล่าเทวดามาแวดล้อมถวายดอกไม้ แต่ปัจจุบันภาพเริ่มซีดจางตามกาลเวลา เพราะเป็นสีผสมแบบธรรมชาติ สันนิษฐานวัดเจดีย์เจ็ดแถวเป็นที่ประดิษฐานพระอัฐิของพระราชวงศ์สุโขทัยด้วย

ย้อนกลับมาทางกำแพงเมืองที่ วัดนางพญา ตั้งชื่อเพื่อให้เกียรติผู้สร้างวัดซึ่งเป็นผู้หญิงคือ พระนางพสุจะเทวี ธิดาพระเจ้ากรุงจีน อัครมเหสีของพระร่วง สร้างขึ้นราวพุทธศตวรรษที่ ๒๑ สมัยอยุธยาตอนต้านที่เริ่มแผ่อำนาจเข้ามาในอาณาจักรสุโขทัย สังเกตได้จากเจดีย์ประธานทรงระฆังที่สร้างซ้อนทับเจดีย์ทรงพุ่มข้าวบิณฑ์ของสุโขทัย รวมถึงการสร้างวิหารแบบยกฐานสูงผนังทึบแบบเจาะช่องแสงอันเป็นสัญลักษณ์ของกรุงศรีอยุธยา โดยนอกผนังวิหารด้านหนึ่ง ยังมีลวดลายปูนปั้นสภาพค่อนข้างสมบูรณ์ให้เห็น เช่น ลายดอกไม้ที่ร้อยเรียงเกี่ยวกันลงมา เรียกว่า ลายดอกรักร้อยลายแข้งสิงห์ มีลักษณะคล้ายลายกนก ลายพรรณพฤกษา ลายเทพพนมประจำยามและลายเป็นรูปมนุษย์กึ่งวานร ซึ่งลายเหล่านี้ได้กลายเป็นต้นแบบของลายเครื่องเงินเครื่องทองโบราณศรีสัชนาลัย และเนื่องจากวัดนางพญาเป็นวัดที่สตรีสร้างขึ้น จึงมีความเชื่อว่าหากสตรีใดมากราบขอพร จะสมหวังทุกประการ

หากมีเวลา ยังมีวัดนอกเขตกำแพงเมืองหรือเขตอรัญญิกหลายวัดที่น่าสนใจให้ปั่นจักรยานเที่ยวชม หนึ่งในนั้นคือ วัดพระศรีรัตนมหาธาตุราชวรวิหาร หรือวัดพระบรมธาตุเมืองเชลียง ตั้งอยู่บริเวณที่เคยเป็นเมืองเชลียง สถาปัตยกรรมผสมผสานด้วยศิลปะหลากหลายที่ตกทอดตามยุคสมัย เริ่มจากซุ้มประตูทั้งด้านหน้าและด้านหลัง เป็นศิลปะรูปแบบขอมบายน เรียกว่า ซุ้มเฟื้อง ก่อสร้างเป็นหลังคายอด ส่วนองค์เจดีย์ปรางค์ในสมัยอยุธยา ซึ่งถ้าเดินเข้าไปในองค์เจดีย์จะเห็นร่องรอยการสร้างซ้อนกันอยู่

ฐานะของวัดในปัจจุบันเป็นพระอารามหลวงชั้นเอก ชนิดราชวรวิหาร โดยสร้างอุโบสถลงบนฐานศิลาแลงของอุโบสถเดิม ประดิษฐาน หลวงพ่อธรรมจักร พระพุทธรูปสำริด ปางประทานพร พระหัตถ์มีรูปกงจักร สันนิษฐานว่าสร้างขึ้นสมัยเมืองเชลียง

อุทยานประวัติศาสตร์หมายถึงอะไร

อุทยานประวัติศาสตร์ หมายถึง บริเวณสถานที่ ซึ่งมีความสำคัญทางประวัติศาสตร์ และโบราณคดี ที่มีองค์ประกอบสำคัญ 3 ประการ คือ 1. อาคารสถาปัตยกรรม ซากโบราณสถาน ที่อยู่อาศัย วัดวาอาราม และศาสนสถาน 2. สภาพแวดล้อมของโบราณสถานรวมทั้งสิ่งก่อสร้างอื่นๆ เช่น สระน้ำ คูคลอง ถนนและทางเดิน สวนป่า

อุทยานประวัติศาสตร์มีความสําคัญอย่างไร

อุทยานประวัติศาสตร์ หมายถึง บริเวณสถานที่ ซึ่งมีความสำคัญทางประวัติศาสตร์ และโบราณคดี ที่มีองค์ประกอบสำคัญ ๓ ประการ คือ ๑. อาคารสถาปัตยกรรม ซากโบราณสถาน ที่อยู่อาศัย วัดวาอาราม และศาสนสถาน ๒. สภาพแวดล้อมของโบราณสถานรวมทั้งสิ่งก่อสร้างอื่นๆ เช่น สระน้ำ คูคลอง ถนนและทางเดิน สวนป่า

ทำไมจึงมีอุทยานประวัติศาสตร์

เพื่อเป็นการอนุรักษ์โบราณสถานเหล่านั้นให้คงสภาพที่ดี และมีการบูรณะตกแต่งอย่างถูกต้องตามหลักวิชาการ โดยสภาพแวดล้อมภายนอกก็ดูร่มรื่นสวยงาม จึงมีการจัดตั้งเป็น “อุทยานประวัติศาสตร์” ขึ้นมา และในปัจจุบัน ประเทศไทยมีอุทยานประวัติศาสตร์จำนวน 11 แห่ง ดังนี้ วัดพระศรีสรรเพชญ์ อุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา

อุทยานประวัติศาสตร์มีกี่แห่ง

อุทยานประวัติศาสตร์ในประเทศไทย อยู่ในการดูแลของกรมศิลปากร ซึ่งเป็นหน่วยงานในกระทรวงวัฒนธรรม ปัจจุบันในประเทศไทยมีอุทยานประวัติศาสตร์ 12 แห่ง โดยล่าสุด กรมศิลปากรได้สำรวจโบราณสถาน และอนุรักษ์พัฒนาปราสาทสด๊กก๊อกธม และประกาศจัดตั้งปราสาทสด๊กก๊อกธมขึ้นเป็นอุทยานประวัติศาสตร์แห่งใหม่ แห่งที่ 12 เมื่อปี 2560 ซึ่งจาก 12 แห่ง ...